Sorarus - May Article 5 (โซ ล่า รู ฟ ท็ อป)-01-cover

โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ? พร้อมการทำงาน เหมาะกับใครบ้าง

ด้วยสภาวะโลกร้อนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำให้ผู้คนเกิดการตื่นตัวจนเป็นกระแสในการลดภาระการใช้พลังงานเชื้อเพลิง โดยหลายประเทศที่มีแดดจัดได้หันมาใช้ โซลาร์รูฟท็อปกันมากขึ้น ซึ่งโซลาร์รูฟท็อปเป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน รับแสงอาทิตย์ในยามกลางวันนำมาเป็นพลังงาน โดยในบทความนี้จะพาไปรู้จักว่าโซลาร์รูฟท็อปคืออะไร มีหลักการในการทำงานเพื่อผลิตไฟฟ้าแบบไหน แล้วเหมาะสำหรับใครบ้าง 

โซลาร์รูฟท็อปคืออะไร

โซลาร์รูฟท็อปคืออะไร

โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ การนำแผงพลังงานแสงอาทิตย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ แผงโซลาร์เซลล์ มาติดตั้งบนหลังคาที่พักอาศัย โรงงานอุตสาหกรรม หรืออาคารต่างๆ จุดเด่นของโซลาร์รูฟท็อปอยู่ที่ระบบการทำงานที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์กลับมาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ลักษณะการทำงานของโซลาร์รูฟท็อปตัวแผงที่ติดตั้งจะผลิตไฟฟ้าเป็นกระแสตรง (DC) ออกมาแล้วส่งเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟกระแสสลับ (AC) เพื่อให้สามารถนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้งานได้จะต้องมีตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) ที่ทำหน้าที่ควบคุมและจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ภายในบ้านหรือสถานที่ติดตั้ง เพียงเท่านี้ก็จะมีพลังงานไฟฟ้าพร้อมใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น ทีวี เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น นอกจากการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ได้เองแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้จากการส่งขายไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์รูฟท็อปคืนให้กับหน่วยงานของรัฐตามโครงการที่จัดขึ้นเป็นรอบ ๆ ได้อีกด้วย 

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อป

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อป

ก่อนที่จะนำพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์รูฟท็อปมาใช้งาน ต้องรู้ถึงหลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อปก่อนว่ามีขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าอย่างไร โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. แผงพลังงานแสงอาทิตย์หรือแผงโซลาร์เซลล์จะรับแสงจากดวงอาทิตย์
  2. กระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์จะส่งผ่านอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (DC Fuse) แล้วส่งต่อไปยังเครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter)
  3. เครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter) จะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นกระแสสลับ (AC) และส่งผ่านต่อไปยังอุปกรณ์ป้องกันแรงดันกระชาก (AC Surge Protector)
  4. อุปกรณ์ป้องกันแรงดันกระชาก (AC Surge Protector) จะส่งกระแสไฟผ่านตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน
  5. ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมการส่งกระแสไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆ ของบ้านที่ใช้ไฟฟ้ารวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ 

ระบบที่มีของโซลาร์รูฟท็อป

ระบบที่มีของโซลาร์รูฟท็อป

โดยทั่วไปแล้ว โซลาร์รูฟท็อปมีด้วยกันอยู่ 3 ระบบ ดังนี้

ระบบออนกริด (On-Grid System)

โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริด (On-Grid System) เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เหมาะกับอาคาร บ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าช่วงเวลากลางวันมากที่สุด โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดสามารถผลิตไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ โดยเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า หากมีไฟฟ้าเหลือจากการผลิตสามารถส่งขายให้กับภาครัฐได้ 

หลักการทำงานระบบออนกริด (On-Grid System)

หลักการทำงานของ โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริด มีดังนี้

  •  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะเริ่มทำงานทันทีเมื่อมีแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์
  • แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นส่งผ่านเครื่องแปลงไฟฟ้าเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
  • จากนั้นไฟฟ้ากระแสสลับจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  • เมื่อดวงอาทิตย์หรี่แสง และการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะไม่ใช้ไฟจากการไฟฟ้า และไฟที่ผลิตได้จะไม่ไหลย้อนกลับไปยังการไฟฟ้าเนื่องจากมีอุปกรณ์ป้องกันการไหลย้อนกลับของกระแสไฟ
  • หากมีเงาบังแสงอาทิตย์เครื่องอินเวอร์เตอร์จะประมวลผลการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก โซลาร์รูฟท็อปและการไฟฟ้ามาใช้ร่วมกันเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
  • ช่วงที่ไม่มีแสงในเวลากลางคืน  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะหยุดทำงานแล้วสลับกลับมาใช้ไฟฟ้าตามปกติ
  • ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์ โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะกลับมาทำงานอีกครั้ง โดยลดการใช้ไฟฟ้าปกติแล้วเริ่มใช้ไฟฟ้าที่ผลิตโดยโซลาร์รูฟท็อปอีกครั้ง

ระบบออฟกริด (Off-Grid System)

โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออฟกริด (Off-Grid System) เหมาะกับบ้านที่ยังไม่มีระบบไฟฟ้ารองรับ โดยเป็นระบบที่โซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยเก็บกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ในช่วงกลางวันอินเวอร์เตอร์จะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน พลังงานไฟฟ้าที่เหลือจะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้ในตอนกลางคืน อีกทั้งไม่มีการเชื่อมต่อกับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าโดยตรง  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออฟกริดจึงจำเป็นต้องมีแบตเตอรี่เพื่อใช้สำรองไฟฟ้าที่จะใช้ในตอนกลางคืน 

หลักการทำงานระบบออฟกริด (Off-Grid System)

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อประบบออฟกริด มีดังนี้

  •  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออฟกริดจะเริ่มทำงานทันทีเมื่อมีแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์
  • แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรงจากนั้นส่งผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์เพื่อชาร์จแบตเตอรี่
  • ขณะเดียวกัน ระบบจะดึงไฟจากแบตเตอรี่เพื่อจ่ายไฟฟ้าเป็นกระแสสลับผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์เพื่อจ่ายกระแสไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  • ในช่วงกลางคืนระบบจะดึงไฟจากแบตเตอรี่ที่เก็บพลังงานในตอนกลางวันมาใช้งานผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์เพื่อจ่ายกระแสไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  • หากแบตเตอรี่หมดโซลาร์รูฟท็อประบบออฟกริดจะไม่สามารถผลิตไฟได้ ทำให้ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้

ระบบไฮบริด (Hybrid System)

โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบไฮบริด (Hybrid System) เป็นระบบที่บริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เหมาะกับอาคาร บ้านเรือนที่พบกับปัญหาไฟตกบ่อย เพราะมีระบบสำรองไฟฟ้าเพื่อใช้ในช่วงที่ไฟฟ้าดับ เมื่อแผงโซลาร์เซลล์ได้รับแสงจะทำการผลิตพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงแล้วส่งไปยังไฮบริดอินเวอร์เตอร์ ซึ่งจะทำการแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแล้วจ่ายไฟให้กับเครื่องใช้ภายในบ้าน ไฟฟ้าส่วนที่เหลือจะถูกนำไปเก็บที่แบตเตอรี่เพื่อสำรองไฟฟ้าไว้ใช้ 

หลักการทำงานระบบไฮบริด (Hybrid System)

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อประบบไฮบริด มีดังนี้

  •  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบไฮบริดจะเริ่มทำงานทันทีเมื่อมีแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์
  • แผงโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้ากระแสตรงผ่านอินเวอร์เตอร์เพื่อทำการชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จนเต็ม
  • ขณะเดียวกัน อินเวอร์เตอร์ก็จะจ่ายไฟกระแสสลับ โดยส่งไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน
  • หากมีเงาบังแสงอาทิตย์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น อินเวอร์เตอร์จะทำการประมวลผลใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์รูฟท็อปและการไฟฟ้ามาใช้ร่วมกันเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
  • ช่วงเวลากลางคืนโซลาร์รูฟท็อปแบบระบบไฮบริดจะหยุดทำงานและสลับไปใช้ไฟฟ้าปกติจากการไฟฟ้าแทน
  • กรณีไฟดับ ระบบจะนำพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้จนหมด

โซลาร์รูฟท็อปเหมาะสำหรับใคร

โซลาร์รูฟท็อปเหมาะสำหรับใคร

ก่อนที่จะใช้โซลาร์รูฟท็อปจะต้องพิจารณาการใช้ไฟของสถานที่ก่อน เพราะแต่ละที่มีการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งการจะใช้โซลาร์รูฟท็อปให้คุ้มค่าจะต้องเป็นที่ที่ใช้ไฟฟ้ากันเป็นจำนวนมากในตอนกลางวัน อย่างที่พักอาศัย บ้านเรือนที่ทำเป็นโฮมออฟฟิศ ผู้อาศัยที่ทำงาน WFH หรือแม้กระทั่งโรงงานขนาดเล็ก ด้วยเหตุผลนี้เองจึงเป็นผู้ที่เหมาะกับการใช้โซลาร์รูฟท็อปเพราะสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่

ข้อดีของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป

ข้อดีของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป

การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปนั้นมีข้อดีหลายอย่าง ตั้งแต่การช่วยประหยัดไฟฟ้าไปจนถึงช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดังนี้

  1. ประหยัดค่าไฟได้มากขึ้นเพราะสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ 
  2. มีรายได้จากการนำไฟฟ้าส่วนที่เหลือขายให้กับหน่วยงานของรัฐ
  3. อุณหภูมิภายในสถานที่ที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปลดลง เพราะแผงโซลาร์เซลล์จะช่วยบังแสงแดดไม่ให้ส่องมายังหลังคาโดยตรง
  4. คืนทุนได้ในระยะเวลาภายใน 8 ปี
  5. ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมุ

ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปประหยัดแค่ไหน

ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปประหยัดแค่ไหน

หากต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด จะต้องดูจากพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก โดยพิจารณาช่วงเวลาการใช้ไฟฟ้าและปริมาณความต้องการใช้ไฟ จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบกัน หากใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันมากกว่า การคืนทุนย่อมเร็วและคุ้มกว่า ซึ่งการผลิตไฟฟ้าใช้เองได้สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้ 3.80 บาทต่อหน่วย และถ้าเหลือไฟฟ้าจากการใช้งานสามารถขายกับภาครัฐได้ในอัตราไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วย

สรุป

 โซลาร์รูฟท็อป คือ ระบบที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือน อาคารต่างๆ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม โดยโซลาร์รูฟท็อป ได้แก่ ระบบออนกริดที่เหมาะกับผู้ที่ใช้ไฟในตอนกลางวันในปริมาณมาก ระบบออฟกริดที่เหมาะกับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง และระบบไฮบริดซึ่งเหมาะกับผู้ที่พบเจอปัญหาไฟตกบ่อย เรียกได้ว่าโซลาร์รูฟท็อปถือเป็นการใช้พลังงานทางเลือกที่ช่วยลดโลกร้อนและประหยัดค่าไฟได้

หากสนใจต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป สามารถใช้บริการจาก Sorarus ได้ ทีมงานและวิศวกรจาก Sorarus มีประสบการณ์ในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมาแล้วกว่า 1,000 ไซต์งาน ครอบคลุมตั้งแต่บ้านไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่ พร้อมให้คำปรึกษาด้านประหยัดพลังงานกับทุกธุรกิจและองค์กร 

Sorarus - May Article 3 ( Net Metering )-01-cover

ทำความรู้จักระบบ Net Metering คืออะไร และมีดียังไง

Net Metering คือ ระบบที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถนำเอาพลังงานหมุนเวียน (renewable energy) มาใช้ เพื่อเป็นการช่วยลดไฟฟ้า รวมถึงลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า เพราะในการผลิตไฟฟ้านั้น มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ส่งผลให้เกิดปฏิกริยาเรือนกระจก โลกร้อน และฝนกรดได้ แต่ Net Metering นั้น จะดีจริงหรือเปล่า หรือดียังไง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบให้คุณ 

ระบบ Net Metering คืออะไร

ระบบ Net Metering คืออะไร

Net Metering คือ ระบบที่นำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ ซึ่งก็คือ พลังงานจากแสงอาทิตย์ (solar energy) ที่มาจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดโลกร้อน และปัญหาสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่มาจากการผลิตไฟฟ้า รวมทั้งเป็นการนำเอาพลังงานสะอาดมาใช้ และช่วยประหยัดค่าไฟจากการนำพลังงานที่เหลือใช้จากผลิตพลังงานเองตามครัวเรือนขายให้กับการไฟฟ้าเพื่อลดหย่อนค่าไฟได้อีกด้วย

 

Net Metering มีจุดเริ่มต้นจากรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีคริสตศักราช 1979 Steven Strong ได้ทำการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สองที่ด้วยกัน ก็คือ อพาร์ตเมนต์ Granite Place และ Carlisle House ซึ่งผลปรากฎว่าเขาสามารถผลิตไฟฟ้าได้มาก และพลังงานดังกล่าวจึงถูกส่งกลับไปยังระบบโครงข่ายไฟฟ้า ปัจจุบันก็มีหลายประเทศที่นำเอาระบบ Net Metering มาใช้ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น อินเดีย เลบานอน แม็กซิโก ปานามา โปตุเกส อุรุกวัย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เป็นต้น 

 

สำหรับประเทศไทยนั้น มีการใช้ระบบมิเตอร์ไฟฟ้าที่วัดการทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ใช้วัดปริมาณกระแสไฟฟ้าสลับในครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้ง มีหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้าเป็นแบบกิโลวัตต์ชั่วโมง

โดยอัตราค่าไฟฟ้าในไทยจะคิดแบบอัตราก้าวหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้งาน 

หากใช้งานเยอะราคาต่อหน่วยก็จะแพงขึ้น

 

Net Metering จะแตกต่างกับมิเตอร์ไฟฟ้าที่ประเทศไทยใช้ ที่ยังไม่สามารถคำนวณข้อมูลไฟฟ้าไหลย้อนได้ สำหรับ Net Metering เมื่อไฟฟ้าส่วนเกินผลิตได้ย้อนกลับไปยังกริด มิเตอร์จะย้อนกลับมา และเมื่อเราดึงพลังงานจากกริดมาใช้ มิเตอร์ก็จะเพิ่มขึ้น ผลคือปริมาณไฟฟ้าที่ใช้จากรัฐและค่าไฟฟ้าลดลง 

ระบบ Net Metering มีการทำงานยังไง

ระบบ Net Metering มีการทำงานยังไง

ระบบ Net Metering จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อไฟฟ้าจากบ้านเรือนไปยังระบบโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งจะมาจากบ้านที่นำเอาโซลาร์เซลล์มาใช้ ในการใช้โซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าอาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อาทิ วันที่ฝนตก แสงแดดน้อย มีเมฆมาก เวลากลางคืน อาจทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าในช่วงดังกล่าวได้ จึงต้องดึงพลังงานจากกริดมาใช้ แต่ Net Metering เปิดโอกาสให้เราขายไฟฟ้าที่ผลิตเกินไปยังกริดได้ และเราก็จะถูกคิดค่าไฟแค่จำนวนที่ใช้จากกริดไปเท่านั้น 

เริ่มทำ Net Metering ยังไง

เริ่มทำ Net Metering ยังไง

ทีนี้ก็อาจจะเกิดคำถามที่ตามมาก็คือ แล้วจะเริ่มต้นนำ Net Metering มาใช้ได้อย่างไร สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกเลยก็คือ เราอาศัยอยู่ในบริเวณที่รองรับ Net Metering หรือเปล่า ในไทยยังไม่รองรับการทำ Net Metering เพราะว่ายังมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องผลกระทบต่อรายได้ของการไฟฟ้า การปรับระบบการทำงานใหม่ เนื่องจากในไทยใช้ระบบมิเตอร์แบบจานหมุน ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลไฟฟ้าย้อนกลับได้เหมือน Net Metering 

 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้ผลิตไฟฟ้าใช้เองในครัวเรือน โดยการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา ในโครงการ “โซลารูฟท็อปภาคประชาชน” และนำเอาพลังงานที่เหลือใช้มาขายได้ในอัตรารับซื้อ 2.20 บาท แต่ยังถือว่าระบบนี้ไม่ใช่ระบบ Net Metering แต่คือระบบ Bill Metering เพราะไม่ได้หักลบค่าไฟฟ้ากับหน่วยไฟฟ้านั่นเอง

ข้อดีของ Net Metering

ข้อดีของ Net Metering

Net Metering เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน และยังเป็นระบบที่หลายๆ ประเทศได้มีการนำมาใช้ เพื่อผลประโยชน์ที่ดีต่อโลกและประชาชน ซึ่งข้อดีของ Net Metering มีดังนี้

ช่วยลดค่าไฟฟ้า

สำหรับการใช้ Net Metering นั้น จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก ระบบ Net Metering ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถแลกเครดิตพลังงานไฟฟ้าเหลือใช้ที่ผลิตได้เองให้กับภาครัฐ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนแต่ละเดือนได้อย่างมาก

ช่วยสร้างรายได้ 

ระบบ Net Metering ไม่สามารถช่วยสร้างรายได้ให้คุณได้ แต่ช่วยเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ และเหลือจากการใช้งานเป็นเครดิต นำไปหักกลบลบกับหน่วยไฟฟ้าที่ดึงจากกริดมาใช้ เพื่อช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณได้มากเลยทีเดียว

สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน

เมื่อระบบหักลบกลบหน่วยอย่าง Net Metering ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจากค่าไฟได้ ยิ่งทำให้ผู้คนหันมาสนใจระบบนี้กันมากขึ้น เพราะยังสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดอย่าง แสงอาทิตย์ หรือลม เข้ามาใช้ผลิตไฟฟ้าได้เองในภาคครัวเรือน รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ลดการพึ่งพาพลังงานเชื้อเพลิงอย่างฟอสซิลที่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม

ช่วยลดมลพิษ

ในการผลิตไฟฟ้านั้นต้องใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานฟอสซิลซึ่งเป็นสารอินทรีย์ใต้พื้นโลก ที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืช ซากสัตว์จำนวนมากบวกกับความร้อนใต้ผืนโลก กลายเป็นแหล่งสะสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) เมื่อฟอสซิลเกิดการเผาไหม้ในกระบวนการต่างๆ จะส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งให้เกิดโลกร้อนและมลพิษในอากาศนั่นเอง

ข้อเสียของ Net Metering

ข้อเสียของ Net Metering

ถึงแม้ว่าระบบ Net Metering จะมีข้อดีอยู่มากมาย แต่ทว่าก็ยังมีข้อเสีย และข้อจำกัดอยู่ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

กระทบต่อรายได้ของการไฟฟ้า

ในประเทศไทยการนำ Net Metering เข้ามาใช้ถือว่ายังมีข้อจำกัดในเรื่องผลกระทบต่อรายได้ของการไฟฟ้าอยู่ เนื่องจากต้องมีการชดเชยต้นทุนสำหรับการลงทุนให้กับการไฟฟ้าในการขายปลีกไฟฟ้า เพราะการไฟฟ้าจะต้องลงทุนไปกับระบบสายส่งที่ส่งไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างครอบคลุม รวมถึงพื้นที่ห่างไกล โดยให้สามารถใช้ไฟฟ้าในอัตราเดียวกันทั้งประเทศได้ด้วย

ไฟฟ้าไม่คงที่

การใช้พลังงานไฟฟ้าจากการผลิตด้วยแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของสภาพอากาศ เนื่องจากการผลิตพลังงานในรูปแบบนี้ ต้องพึ่งพาพลังงานจากแสงแดด หากวันไหนที่ฝนตก อากาศมืดครึ้ม หรือเวลากลางคืน ก็จะทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ทำให้ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานสามารถดึงเอาพลังงานจากกริดมาใช้ในระหว่างที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง

บางพื้นที่ไม่สามารถทำได้

Net Metering ไม่สามามารถทำได้ในทุกพื้นที่ อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า Net Metering จะต้องมีการเชื่อมต่อกับกริดเนื่องจากต้องมีการส่งไฟฟ้าไปยังกริด รวมถึงการดึงมาใช้ในกรณีที่จำเป็นด้วย ทำให้ต้องมีการลงทุนทำสายส่งให้บริการกับประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และยังต้องมีการปรับใช้มิเตอร์ที่รองรับ Net Metering อีกด้วย ทำให้ในหลายๆ ประเทศก็ยังไม่รองรับระบบนี้ รวมถึงในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

สรุป

Net Metering ก็คือ ระบบที่สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าฟ้าใช้เอง ผลิตได้เท่าไร ใช้ไปมากเพียงใด และเหลือไฟฟ้าจากการใช้แค่ไหน ก็สามารถนำไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้งานไปขายเพื่อแลกเครดิต นำมาหักกลบลบหน่วย เพื่อลดภาระค่าไฟได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่ว่า หากจะใช้ Net Metering  เราจะต้องมั่นใจว่าพื้นที่ของเรานั้นรองรับระบบนี้ด้วย แต่น่าเสียดาย สำหรับในไทยยังมีข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุน การกระทบกับรายได้ของการไฟฟ้า จึงทำให้ระบบนี้ยังไม่พร้อมใช้งาน

Sorarus- May Article 4 (อายุการใช้งาน แผงโซล่าเซลล์) cover-01

แผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานกี่ปี? ถ้าหมดอายุแล้วต้องจัดการอย่างไร

แผงโซลาร์เซลล์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงได้อย่างไม่จำกัด มีอายุการใช้งานยาวนาน เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมโรงงาน และครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์สามารถลดลงตามอายุการใช้งานได้ บทความนี้จะมาบอกว่าแผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานกี่ปี มีวิธีดูแลรักษาแผงโซลาร์เซลล์อย่างไรบ้าง และต้องจัดการอย่างไรกับแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุ

แผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานนานแค่ไหน

แผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานนานแค่ไหน

โดยปกติแล้ว แผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานประมาณ 25-30 ปี อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุดของแผงโซลาร์เซลล์อยู่ในช่วงประมาณ 1-10 ปีแรกหลังการติดตั้ง หลังจากนั้นประสิทธิภาพจะค่อยๆ เสื่อมลง โดยแผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้ปกติ แต่เป็นการผลิตในปริมาณที่น้อยลง นอกจากนี้ อายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์ยังขึ้นอยู่กับคุณภาพ การติดตั้ง และการบำรุงรักษาอีกด้วย

แผงโซลาร์เซลล์เสื่อมสภาพเมื่อพ้นอายุการใช้งานหรือไม่

แผงโซลาร์เซลล์เสื่อมสภาพเมื่อพ้นอายุการใช้งานหรือไม่

โดยปกติแล้วแผงโซลาร์เซลล์จะเสื่อมประสิทธิภาพลงประมาณ 0.5-3% ในทุกๆ ปี และเมื่อเวลาผ่านไปหลังจาก 25-30 ปี แผงโซลาร์เซลล์จึงสูญเสียกำลังผลิตไฟฟ้าประมาณ 12-15% โดยลดลงเป็นขั้นบันได แต่ยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อยู่ในปริมาณที่น้อยลง ซึ่งผู้ผลิตส่วนใหญ่มักรับประกันอายุการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์เพียง 25 ปี นอกจากนี้ ควรตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น สายไฟ เบรกเกอร์ อินเวอร์เตอร์ว่ายังสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบการชำรุดเสียหาย หรือรอยขีดข่วนบนแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อให้มั่นใจว่าแผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตพลังงานได้ตามปกติ

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์

แม้ประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์อาจมีการลดลงตามอายุการใช้งาน แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์หลายประการ ทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ดังนี้

คุณภาพของแผงโซลาร์เซลล์

คุณภาพของแผงโซลาร์เซลล์มีส่วนสำคัญที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และชะลอการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน โดยสามารถสังเกตได้จากประเภท และการรับประกันจากโรงงานผลิต ยิ่งมีระยะประกันที่ยาวนาน ก็ยิ่งเป็นการบ่งบอกว่าโรงงานผลิตมั่นใจในคุณภาพ และการใช้งานได้ยาวนานของสินค้า

การติดตั้งที่ถูกต้อง

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์อย่างถูกวิธีในบริเวณที่เหมาะสม มีส่วนช่วยให้แผงโซลาร์เซลล์ใช้งานได้ยาวนาน หากติดตั้งไม่ถูกวิธี หรือไม่เหมาะสม อายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์อาจเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้น การเลือกบริษัทจำหน่าย และติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ พร้อมมีบริการซ่อมบำรุงรักษา จะช่วยให้สามารถดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้อย่างถูกต้อง และยังตรวจสอบข้อขัดข้องก่อนจะเกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้

การบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี

การบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์อย่างถูกวิธีจะส่งผลต่ออายุการใช้งาน สิ่งแวดล้อม และประหยัดค่าใช้จ่ายจากค่าซ่อมบำรุงรักษา หากอยากให้แผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น การดูแลรักษา เช่น การป้องกันไม่ให้มีเศษขยะ กิ่งไม้ หรือใบไม้สะสมบนแผงโซลาร์เซลล์จนไปขัดขวางการรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือรอยขีดข่วนที่อาจทำให้แผงโซลาร์เซลล์แตกหัก ดังนั้น ควรหมั่นทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์เป็นประจำ และควรติดตั้งตะแกรงกันสิ่งแปลกปลอมที่อาจส่งผลกระทบต่อแผงโซลาร์เซลล์

ปัจจัยภายนอกอื่นๆ

ปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยธรรมชาติที่คาดเดาไม่ได้ อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์จนทำให้สูญเสียคุณภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ รวมถึงสภาพอากาศ และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น  พายุฝนฟ้าคะนอง อากาศร้อน ความเข้มข้นของรังสียูวีสูง ความชื้นในอากาศสูงเป็นเวลานาน

การจัดการแผงโซลาร์เซลล์

การจัดการแผงโซลาร์เซลล์

เมื่อแผงโซลาร์เซลล์หมดอายุจะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องมีการนำไปรีไซเคิล หรือกำจัดทิ้งให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และลดปริมาณการฝังกลบของเสีย ซึ่งการจัดการแผงโซลาร์เซลล์จะอยู่ในความรับผิดชอบบริษัทผู้ผลิต เพื่อให้วัสดุถูกแยกภายใต้กระบวนการที่เหมาะสม

วิธีการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์

การรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ แผงโซลาร์เซลล์ซิลิกอน และแผงโซลาร์เซลล์แบบฟิล์มบาง โดยแผงโซลาร์เซลล์ทั้งสองประเภท มีวิธีการรีไซเคิลที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • แผงโซลาร์เซลล์แบบซิลิกอน สามารถรีไซเคิลได้โดยการแยกส่วนที่เป็นแก้ว และอะลูมิเนียมออกเป็นวัสดุที่นำเอากลับมาใช้ใหม่ได้ (Reuse) จากนั้นนำส่วนที่เหลือไปผ่านความร้อน 500 องศาเซลเซียส จนระเหยนำไปเป็นพลังงานความร้อน หรือทำการหลอมละลายแผ่นเวเฟอร์ (Wafer) เพื่อนำไปผลิตเป็นแผงโซลาร์เซลล์ใหม่
  • แผงโซลาร์เซลล์แบบฟิล์มบาง สามารถรีไซเคิลได้โดยการตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อนำสารเคลือบออก จากนั้นแยกส่วนที่เป็นของแข็ง และของเหลว จากนั้นใช้กรดเพื่อนำฟิล์มออกมาเป็นแก้ว แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้

ค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์

ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะรวมค่าธรรมเนียมในการรีไซเคิลกับราคาของแผงโซลาร์เซลล์แล้ว ซึ่งต้นทุนจริงของการกำจัดแผงพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นอยู่น้ำหนักของเสีย 1.5 PLN/กก. สุทธิ รวมค่าขนส่ง โดยหากคำนวนต้นทุนของการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ระดับครัวเดือนจะตกอยู่ราว 300–850 PLN สุทธิ

การบำรุงรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์

การบำรุงรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์

เช่นเดียวกันกับอุปกรณ์อื่นๆ ภายในบ้าน แผงโซลาร์เซลล์ต้องการการบำรุงรักษา และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น และคงประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานเมื่อเวลาผ่านไป โดยวิธีในการดูแลรักษาให้แผงโซลาร์เซลล์คงทน มีดังนี้

เลือกแผงโซลาร์เซลล์ และทีมงานติดตั้งที่มีคุณภาพ

การเลือกแผงโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ การรับประกันจากบริษัทผู้ผลิตที่ไว้วางใจได้ มีบริการหลังการขาย มีทีมงานติดตั้งที่ชำนาญเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์ให้สามารถทำงานได้อย่างปกติ และเสื่อมประสิทธิภาพได้ช้าลงจากปัจจัยภายใน และภายนอก

ตรวจสอบ และบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์อย่างสม่ำเสมอ

การบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์ เช่น การทำความสะอาดลดฝุ่น หรือคราบสกปรกที่เกาะบนแผงโซลาร์เซลล์ ช่วยป้องกันไม่ให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลดลงได้ ดังนั้น จึงควรหมั่นตรวจสอบสภาพ และการทำงานของอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์ให้ยาวนานขึ้น

ป้องกันแผงโซลาร์เซลล์จากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

การป้องกันแผงโซลาร์เซลล์จากปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกที่อาจเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยวางแผนการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในบริเวณที่ปลอดภัย และการเชื่อมต่อหลายๆ แผงเข้าด้วยกันจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียหาย แตกหัก หรือสาเหตุอื่นๆ ทำให้แผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้นานมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในระหว่างการบำรุงรักษา อีกทั้งยังปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน

เมื่อไหร่ที่ควรวางแผนการเปลี่ยนแผงโซลาร์เซลล์

เมื่อไหร่ที่ควรวางแผนการเปลี่ยนแผงโซลาร์เซลล์

สัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าควรวางแผนเปลี่ยนแผงโซลาร์เซลล์ คือ ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงจนทำให้ไม่สามารถจ่ายพลังงานได้เท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเปลี่ยนไปตามระยะเวลาการใช้งาน โดยสามารถตรวจสอบได้จากเครื่องวัด หรือแอปพลิเคชันว่าแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้อยู่นั้นผลิตพลังงานเท่าไหร่ หากผลิตได้น้อยลง และต้องจ่ายค่าไฟในราคาที่สูงขึ้น ก็เป็นสัญญาณว่าถึงเวลาที่ควรจะเปลี่ยนแผงโซลาร์เซลล์ใหม่แล้ว

สรุป

แผงโซลาร์เซลล์มีอายุโดยเฉลี่ย 25-30 ปี โดยประสิทธิภาพจะค่อยๆ ลดลงตามระยะเวลา และหากแผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานมาก หรือส่งสัญญาณการผลิตไฟฟ้าที่ลดลง ควรนำไปรีไซเคิลกับบริษัทผู้ผลิตตามกฎหมาย หากใครมีแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้มานานแล้วอยากตรวจสภาพ ซ่อมแซม หรือบำรุงรักษา สามารถใช้บริการกับทาง Sorarus ได้ ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเรามีประสบการณ์เฉพาะด้านในการให้บริการซ่อมบำรุง และดูแลระบบโซลาร์เซลล์ให้ปลอดภัย ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ คงระยะเวลาการใช้งานยาวนานมากขึ้น

Sorarus - May Article 2 (carbon neutral กับ net zero )-Cover-01

ทำความรู้จัก Carbon neutral กับ Net zero คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

ด้วยปัญหาทางภูมิอากาศในปัจจุบัน ทั้งอากาศแปรปรวน ฝุ่นควัน มลพิษ หรือมีสภาพอากาศรุนแรงบ่อยครั้ง อันเกิดจากภาวะโลกร้อน ทำให้หลายๆ บริษัท ไม่ว่าจะเป็น Start-up หรือบริษัทใหญ่ ก็หันมาให้ความสนใจในเทรนด์ Carbon neutral กับ Net zero กันมากขึ้น ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีจุดประสงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม หลายๆ คนยังมีข้อสงสัยว่า Carbon neutral กับ Net zero แตกต่างกันอย่างไร แม้ทั้งสองจะมีจุดประสงค์เดียวกัน แต่มีวิธีที่แตกต่างกัน บทความนี้จะพามาทำความเข้าใจกับทั้งสองคำนี้ว่าคืออะไร มีข้อแตกต่าง และวิธีการอย่างไรบ้าง

ทำความรู้จัก Carbon neutral คืออะไร

ทำความรู้จัก Carbon neutral คืออะไร

Carbon neutral หรือ Carbon neutrality คือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน หมายถึง ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับมาโดยผ่านป่า ผืนดิน มหาสมุทร หรือด้วยวิธีการต่าง ๆ 

ทำไมต้องเป็น Carbon neutral

ทำไมต้องเป็น Carbon neutral

อย่างที่ทราบกันดีว่าคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นการที่ธุรกิจต่างๆ หันมาทำ Carbon neutral จะช่วยชะลอการเกิดภาวะโลกร้อนได้ นอกจากนั้น เป้าหมายของการเป็น Carbon neutral คือการลดและชดเชยการปล่อยคาร์บอนจนเป็นกลาง เพื่อไม่ให้คาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจนส่งผลอันตรายต่อโลก ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่หลายๆ รายจึงหันมาทำ Carbon neutral กันมากขึ้น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนและลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น 

    • Apple ได้ประกาศเป็น Carbon neutrality อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2030 พร้อมมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซลง 75% และลงทุนในแหล่งพลังงานสะอาดเพื่อชดเชยส่วนที่เหลืออีก 25% 
    • Starbucks วางแผนเป็น Carbon neutrality ภายในปี 2025 โดยขั้นตอนแรกคือลดการปล่อยก๊าซโดยการลดของเสียและใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และชดเชยโดยการลงทุนในกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ (Forest Carbon Partnership Facility: FCPF)

 

ทำความรู้จัก Net zero คืออะไร

ทำความรู้จัก Net zero คืออะไร

Net zero emissions คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หมายถึง การทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับกลับมามีค่าเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาก่อนหน้า ทำให้เกิดภาวะสมดุล และไม่มีก๊าซเรือนกระจกส่วนเกินที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้

ทำไมต้องเป็น Net zero

ทำไมต้องเป็น Net zero

เป้าหมายของการเป็น Net zero คือ การลดและกำจัดก๊าซเรือนกระจกในระยะยาว จะเป็นการหยุดเพิ่มภาระให้กับชั้นบรรยากาศโลก Net zero จึงมีความสำคัญในแง่ที่สามารถทำให้โลกเข้าสู่ภาวะสมดุล หากบริษัทต่างๆ หรือประเทศในโลกสามารถสำเร็จเป้าหมาย Net zero ได้ ก็จะสามารถหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ และหยุดการเกิดภาวะโลกร้อนได้ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่หันมาทำ Net zero เช่น

    • Amazon มุ่งมั่นที่จะเป็น Net zero ภายในปี 2040 โดยการกำจัดการปล่อยมลพิษจากการดำเนินงาน การขนส่ง และการปล่อยมลพิษที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่บริษัทซื้อมาเพื่อใช้งาน นอกจากนั้นยังประกาศว่าจะลงทุนในโครงการปลูกป่าทั่วโลกอีกด้วย
    • FedEx วางแผนก้าวไปสู่การเป็น Net zero ภายในปี 2040 โดยขั้นตอนแรกคือลดการปล่อยก๊าซลง 30% ภายในปี 2025 และชดเชยการปล่อยก๊าซที่เหลืออยู่ด้วยคาร์บอนเครดิต

Carbon neutral กับ Net zero ต่างกันยังไง

Carbon neutral กับ Net zero ต่างกันยังไง

Carbon neutral กับ Net zero มีความคล้ายคลึงกันตรงที่เป็นการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน แต่เป้าหมายและวิธีการของทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกัน 

 

โดย Carbon neutral ใช้วิธีการลดการปล่อยคาร์บอน และชดเชยการปล่อยคาร์บอนด้วยวิธีการต่างๆ แต่ Net zero เป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และใช้วิธีกำจัดก๊าซเรือนกระจกส่วนเกิน Net zero จึงเป็นการดำเนินงานที่กว้างและทำได้หลากหลายกว่า Carbon neutral เพราะก๊าซเรือนกระจกนั้นไม่ได้มีแค่คาร์บอน แต่รวมไปถึงก๊าซทุกตัวที่ส่งผลต่ออุณหภูมิของโลกด้วย 

 

นอกจากนั้น Net zero จะต้องดูดซับก๊าซเรือนกระจกบนชั้นบรรยากาศในระยะยาว และต้องควบคุมไม่ให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ต้นจนจบห่วงโซ่การผลิตอีกด้วย ทำให้ Net zero มีความท้าทายมากกว่า Carbon neutral และมักจะเป็นเป้าหมายในระดับประเทศมากกว่า 

ทำไมต้องมี Carbon neutral กับ Net zero

ทำไมต้องมี Carbon neutral กับ Net zero

อย่างที่กล่าวไปว่า Carbon neutral กับ Net zero มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน เป็นการเยียวยาให้โลกกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นจากการประชุมระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโลกร้อนและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อันส่งผลเลวร้ายต่อโลก และเกิดเป็นข้อตกลงการเยียวยาภาวะโลกร้อนที่สำคัญ ดังนี้

Kyoto Protocol

พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เกิดขึ้นจากการประชุม COP ครั้งที่ 3  ที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในปี 1997 โดยสาระสำคัญของพิธีสารเกียวโต คือ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้อยู่ในระดับต่ำกว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 1990 โดยแต่ละประเทศจะต้องส่งข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปี 1990 ให้ทางสหประชาชาติ เพื่อแสดงและเปรียบเทียบให้เห็นการปล่อยก๊าซที่ลดลงในประเทศตัวเอง 

ทั้งนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก ไม่ได้เข้าร่วมในพิธีสารนี้ ทำให้พิธีสารเกียวโตนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเต็มที่ และต่อมาจึงมีความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่เป็นส่วนขยายเพิ่มเติมจากพิธีสารเกียวโต

Paris Agreement

ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เกิดขึ้นจากการประชุม COP ครั้งที่ 21 ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี 2015 เป็นส่วนขยายเพิ่มเติมจากพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในปี 1997 โดยสาระสำคัญของความตกลงปารีส คือ จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกในศตวรรษนี้ให้ต่ำกว่า 2°C เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และก้าวไปสู่เป้าหมายการรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5°C ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เข้าร่วมในความตกลงปารีส โดยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20-25% ภายในปี 2030

จุดมุ่งหมาย 1.5°C

1.5°C คือตัวเลขอุณหภูมิโลกที่ต้องควบคุมไว้ไม่ให้เกินไปจากนี้ เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศได้คาดการณ์ว่าโลกจะร้อนขึ้นถึง 1.5°C ภายในสองทศวรรษข้างหน้า ถึงแม้ว่าประเทศต่างๆ จะลดการปล่อยก๊าซลงอย่างมากในทันทีก็ตาม หากโลกเข้าสู่อุณหภูมิ 1.5°C จะเกิดผลกระทบร้ายแรงต่อโลก เช่น อากาศร้อนมากขึ้น เกิดภัยแล้งและน้ำท่วม น้ำแข็งอาร์กติกละลาย รวมถึงเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ุของสัตว์หลายๆ ชนิดอีกด้วย ทำให้จุดมุ่งหมาย 1.5°C เป็นสิ่งที่เตือนให้ทุกประเทศทั่วโลกตระหนักถึงภาวะโลกร้อน และต้องมีการดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุด

ทำไมต้องลดคาร์บอน และก๊าซเรือนกระจก

ทำไมต้องลดคาร์บอน และก๊าซเรือนกระจก

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) เป็นก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ มีความสามารถในการกักเก็บความร้อนจากแสงแดดที่ส่องเข้ามายังโลก โดยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญมีหลายชนิด เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide, CO2) ก๊าซมีเทน (methane, CH4) ก๊าซไนโตรัสออกไซด์ (nitrous oxide, N2O) และก๊าซฟลูออร์ไรด์ (fluorinated gas) ซึ่งหากมีก๊าซชนิดใดมากเกินไป จะส่งผลให้ชั้นบรรยากาศเสียสมดุล และก่อให้เกิดผลกระทบต่อโลก ดังนี้

    • พลังงานรังสีความร้อนสะสมบนผิวโลกและชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น
    • ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ทำให้รังสีอันตรายสามารถส่งลงมายังพื้นโลกได้มากขึ้น
    • เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศของโลก เช่น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อากาศร้อน ฯลฯ

ด้วยผลกระทบเหล่านี้จะทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นทำให้ผู้คนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมมากขึ้น เป็นต้น หากไม่เร่งแก้ไขก็จะไม่สามารถควบคุมภาวะโลกร้อนได้ ฉะนั้น การลดคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกด้วยการทำ Carbon neutral กับ Net zero จะส่งผลดีต่อโลกและต่อบริษัทที่ทำได้ดังนี้

    • ประหยัดต้นทุนในการดำเนินงาน เนื่องจากต้องลดการปล่อยคาร์บอน ทำให้ลดการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป และใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพแทน
    • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัทได้ เนื่องจากปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม บริษัทที่ทำ Carbon neutral กับ Net zero จึงให้ภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    • ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมใหม่ เนื่องจากต้องค้นหาและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุด จึงสร้างโอกาสในการพัฒนาบริษัทให้มีนวัตกรรมใหม่ได้

เราจะช่วยลดคาร์บอน และก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไร

เราจะช่วยลดคาร์บอน และก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไร

เพื่อไม่ให้โลกต้องรับผลกระทบที่รุนแรงจากภาวะโลกร้อน จึงต้องลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมายการทำ Carbon neutral กับ Net zero ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่และเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน โดยเราทุกคนสามารถลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกได้ ดังนี้

    • บริโภคอย่างพอดี สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคปศุสัตว์นั้นคาดการณ์ว่าสูงถึง 51% ซึ่งมีต้นเหตุมาจากกระบวนการผลิตเนื้อที่ปล่อยคาร์บอนจำนวนมาก รวมไปถึงการทำการเกษตรเพื่อนำมาเป็นอาหารสัตว์ยังทำลายพื้นที่ป่าไม้ที่ช่วยดูดซับคาร์บอน ดังนั้นการบริโภคอย่างพอดีจะสามารถช่วยลดกระบวนการผลิต ลดการทำลายป่า และลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศได้ 
    • ลดการสร้างขยะ และนำขยะมารีไซเคิล กองขยะที่ทับถมกันเป็นจำนวนมาก จะสร้างก๊าซมีเทนที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และเพื่อเป็นการลดขยะให้น้อยลง ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้ เป็นการลดขยะประเภทใช้แล้วทิ้ง อีกทั้งการแยกขยะก่อนทิ้งจะช่วยลดกระบวนการแยกขยะ และนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายยิ่งขึ้น
    • ประหยัดพลังงานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งพลังงานไฟฟ้า พลังงานเชื้อเพลิง ต่างก็เป็นพลังงานสำคัญที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งพลังงานเหล่านี้ต้องผ่านกระบวนการเผาไหม้และก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก หากสามารถลดการใช้พลังงานและใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ โดยสามารถเริ่มต้นง่ายๆ ได้หลายวิธี เช่น ปิดไฟเมื่อไม่ใช้งาน, ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสัญลักษณ์เบอร์ 5, ใช้พาหนะที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ฯลฯ
    • รักษาและเพิ่มพื้นที่ป่า รักษาป่าที่ยังคงเหลืออยู่ พร้อมกับฟื้นฟูและทดแทนป่าที่เสียไปโดยการปลูกป่าเพิ่มเติม เพื่อให้มีป่าที่สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจก และลดปริมาณการปล่อยก๊าซสู่ชั้นบรรยากาศ
    • เลือกใช้พลังงานทดแทน ใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ทดแทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก นอกจากนั้นพลังงานทดแทนยังเป็นพลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป จึงสร้างความยั่งยืนให้กับโลกและประเทศที่ใช้พลังงานทดแทนด้วย การเลือกใช้พลังงานทดแทนจากดวงอาทิตย์สามารถทำได้โดยหันมาใช้โซลาร์เซลล์ นอกจากจะช่วยลดคาร์บอนแล้วยังช่วยลดค่าไฟได้อีกด้วย หากสนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือมีคำถาม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้กับทาง Sorarus ได้เลย

สรุป

Carbon neutral กับ Net zero มีความสำคัญต่อโลกอย่างมาก เพราะมีส่วนช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจกอันเป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ โดยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับไปจากการทำ Carbon neutral กับ Net zero นั้น จะปรับสมดุลให้ชั้นบรรยากาศโลกและยับยั้งการเกิดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อโลกได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทุกคนควรหันมาใส่ใจในเรื่องนี้ ทั้งภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม ไปจนถึงภาคระดับประเทศ หากปล่อยให้โลกเผชิญกับภาวะโลกร้อนและไม่รีบแก้ไข อาจเกินการควบคุมและสายเกินไปที่จะเยียวยาโลกแล้ว

Sorarus-May 1-01 cover

11 เคล็ดไม่ลับ วิธีประหยัดไฟฟ้าเห็นผล ลดค่าใช้จ่าย สบายกระเป๋าตังค์

ด้วยสภาพอากาศของเมืองไทยที่ร้อนจัด อีกทั้งปัญหาสภาพอากาศในปัจจุบัน ทั้งปัญหาฝุ่นละออง และปัญหามลพิษทางอากาศ ทำให้คนเราต้องหาวิธีคลายร้อนด้วยการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดแอร์ เครื่องฟอกอากาศ หรือพัดลม สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ค่าไฟสูงขึ้นทั้งนั้น ในบทความนี้ทาง Sorarus จะมาแชร์เคล็ดไม่ลับ 11 วิธีประหยัดไฟฟ้าอย่างเห็นผลกัน! 

คำนวณค่าไฟด้วยตนเอง เพื่อวางแผนการใช้ไฟฟ้า

1. คำนวณค่าไฟด้วยตนเอง เพื่อวางแผนการใช้ไฟฟ้า

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 1 ลองคำนวณค่าไฟด้วยตนเอง เพื่อวางแผนประหยัดค่าไฟ โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละตัว มีกำลังไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า ‘จำนวนวัตต์’ ที่แตกต่างกันออกไป โดยให้ใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

ยกตัวอย่างการคำนวณ ดังนี้

    • หลอดไฟขนาด 50 วัตต์ จำนวน 4 ดวง เปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง =  50 x 4 ÷  1000 x 8 = 1.6 ยูนิตต่อวัน (เดือนละ 48 หน่วย)
    • ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง = 125 x 1 ÷  1000 x 24 = 3 ยูนิตต่อวัน (เดือนละ 90 หน่วย)
    • แอร์ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน 3 เครื่อง เปิดใช้งาน 10 ชั่วโมง = 1,200 x 3 ÷  1000 x 10 = 36 ยูนิตต่อวัน (เดือนละ 1,080 หน่วย)

รวมทั้งสิ้นเดือนละ 1,218 หน่วย

นำหน่วยที่ได้มาเทียบกับอัตราค่าบริการตามค่าพลังงานไฟฟ้า 

    • 35 หน่วยแรก หน่วยละ 3.2405 = 35 x 3.2405 = 113.5 บาท
    • 115 หน่วยถัดไป หน่วยละ 3.7171 = 115 x 3.7171 = 427.5 บาท
    • 250 หน่วยถัดไป หน่วยละ 4.2218 = 250 x 4.2218 = 1,055.5 บาท
    • เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 4.4217 = (1,080 – 400 หน่วย = 680 หน่วย) นำ 680 x 4.4217 = 3,007 บาท

ค่าไฟต่อเดือนจะอยู่ที่ 4,603.5 บาท โดยราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่การไฟฟ้าเรียกเก็บ สำหรับใครที่อยากประมาณค่าไฟของทางการไฟฟ้าผ่านระบบคำนวณ สามารถเข้าไปใช้ระบบคำนวณค่าไฟของการไฟฟ้านครหลวง และระบบคำนวณค่าไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เลย

ลดการใช้แอร์

2. ลดการใช้แอร์

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 2 ลดการใช้แอร์ แน่นอนว่าเครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในชีวิตประจำวัน การลดใช้แอร์ แล้วหันมาใช้พัดลม หรือเปิดหน้าต่างรับลม ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการประหยัดค่าไฟฟ้า หากเริ่มทำแรกๆ อาจจะยังไม่ชิน แนะนำให้ลองปรับระยะเวลาการใช้งานในแต่ละวันดูก่อน เช่น จากเดิมเปิดแอร์ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นการหันมาเปิดแอร์ 12 ชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น ก็จะประหยัดค่าไฟได้หลายบาทเลยทีเดียว หรืออีกวิธีที่ช่วยลดการใช้แอร์ได้คือการเปิดแอร์อุณหภูมิไม่ต่ำมากพร้อมกับเปิดพัดลม จะช่วยให้แอร์ไม่ต้องทำงานหนัก และสามารถลดค่าไฟได้อีกด้วย

จัดตู้เย็นเป็นระเบียบ

3. จัดตู้เย็นเป็นระเบียบ

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 3 การจัดระเบียบตู้เย็น เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยประหยัดค่าไฟได้ หากตู้เย็นของคุณเต็มไปด้วยสิ่งของต่างๆ ทั้งที่แกะแล้วหรือยังไม่แกะ จะทำให้ตู้เย็นทำงานหนักขึ้นหลายเท่า อีกทั้งยังมีเชื้อแบคทีเรียสะสมในตู้เย็นด้วย การจัดระเบียบตู้เย็นให้เรียบร้อย วางสิ่งของให้เป็นระเบียบ ก็จะช่วยให้ตู้เย็นกินไฟน้อยลงได้นั่นเอง

วางแผนซักรีดให้ดี

4. วางแผนซักรีดให้ดี

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 4 วางแผนการซักรีดให้ดี อีกหนึ่งปัญหาที่เพิ่มค่าไฟภายในบ้านอยู่ตลอด เพราะต้องใช้ทั้งเครื่องซักผ้า เตารีด หรือบางบ้านอาจมีเครื่องอบผ้าอีก การซักผ้าบ่อยๆ จะทำให้ค่าไฟเพิ่มมากขึ้น และยังเปลืองน้ำอีกด้วย การจัดตารางซักรีดให้ดี ซักผ้าทีละเยอะๆ และไม่ซักบ่อยๆ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีลดค่าไฟฟ้าในบ้านได้ดีอีกด้วย ดังนั้นจึงควรวางแผนว่าปริมาณเสื้อผ้ามีมากน้อยขนาดไหน สามารถรวมซักครั้งเดียวสัปดาห์ละ 1 ครั้งได้หรือไม่? หากมีเสื้อผ้าค่อนข้างเยอะจนซักแค่ครั้งเดียวต่อสัปดาห์ไม่ไหว แนะนำให้ลองซักทุกๆ 3 วันดูก่อน แล้วจึงปรับลดจำนวนวันที่จะซักผ้าตามความเหมาะสม

วางแผนซักรีดให้ดี

5. ถอดปลั๊กทุกครั้งที่ไม่ใช้งาน

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 5 ถอดปลั๊กหลังใช้งานเสร็จทุกครั้ง บางคนอาจยังเข้าใจผิดอยู่ว่า การเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ไม่ได้กินไฟแต่อย่างใด ซึ่งการเสียบปลั๊กทิ้งไว้ แต่ไม่ได้ใช้งาน เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะว่ากระแสไฟฟ้าอาจกำลังไหลวนอยู่ระหว่างเต้ารับกับสายไฟก็ได้ พฤติกรรมนี้นอกจากจะกินไฟแล้วยังเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรอีกด้วย จึงควรถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อให้บ้านมีระเบียบ ปลอดภัย และประหยัดค่าไฟมากขึ้น

ลดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ

6. ลดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 6 ลดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น เครื่องซักผ้า หรือเครื่องอบผ้า เครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องปรับอากาศ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟอันดับต้นๆ ในบ้าน หากเราสามารถลดการใช้งานพวกนี้ได้ก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดค่าไฟฟ้าในบ้านได้ด้วย ลองหันมาดูดฝุ่นสัปดาห์ละครั้ง รวมผ้ามาซักสัปดาห์ละครั้งถึงสองครั้ง หรือตั้งเวลาเปิดปิดแอร์ให้เหมาะสม เท่านี้ค่าไฟก็จะช่วยลดค่าไฟได้แล้ว

หมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า

7. หมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 7 ยิ่งทำความสะอาด ยิ่งประหยัด! เครื่องใช้ไฟฟ้ายิ่งมีฝุ่นเยอะเท่าไร การทำงานก็จะหนักขึ้นแล้วค่าไฟเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น จึงควรหันมาทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอเช่น ควรล้างแอร์ทุก 6 เดือน เพื่อนำเศษฝุ่นและสิ่งสกปรกออกมา เพื่อให้แอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังช่วยลดค่าไฟได้อีกด้วย 

ติดตั้งเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว

8. ติดตั้งเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 8 ติดเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวภายในบ้านช่วยประหยัดค่าไฟ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีอาการหลงๆ ลืมๆ อาจลืมปิดไฟก่อนออกจากบ้าน เซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวจะทำการปิดไฟ และปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นให้แบบอัตโนมัตินั่นเอง

เลือกใช้หลอดไฟ LED

9. เลือกใช้หลอดไฟ LED

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 9 เลือกใช้หลอดไฟ LED โดยเฉลี่ยแล้วการเลือกใช้หลอดไฟ LED ช่วยประหยัดค่าไฟไปได้ถึง 50-80% เมื่อเทียบกับการใช้ไฟแบบปกติ นอกจากนี้หลอดไฟ LED ช่วยให้บ้านดูสว่างมากขึ้น แล้วยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานเฉลี่ย 50,000 ชั่วโมง หรือมากกว่า 5 ปี ดังนั้นยิ่งเปลี่ยนหลอดไฟภายในบ้านเป็นหลอดไฟ LED ได้มากเท่าไหร่ จะยิ่งประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีประหยัดค่าไฟที่คนส่วนใหญ่เริ่มเปลี่ยนเป็นอันดับแรก

เลือกใช้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

10. เลือกใช้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 10 เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า ‘เวลาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้เลือกใช้เครื่องที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5’ ซึ่งจริงๆ แล้วฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นฉลากที่มีการระบุข้อมูลเบื้องต้น ทั้งยังมีการคำนวณค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปี รวมถึงประสิทธิภาพของสินค้า ทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจในคุณภาพสินค้าที่ได้รับมาตรฐานจากสลากเบอร์ 5 และสามารถคำนวณค่าไฟได้ง่ายขึ้นเพื่อวางแผนลดค่าไฟฟ้าอีกด้วย

ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

11. ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 11 เลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอีกหนึ่งวิธีประหยัดค่าไฟที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากโซลาร์เซลล์สามารถลดค่าไฟได้มากถึง 40-60% จากราคาค่าไฟปกติ ทำให้คนเริ่มหันมาใช้โซลาร์เซลล์กันมากขึ้น โดยโซลาร์เซลล์มีข้อดีหลักๆ ดังนี้

    • โซลาร์เซลล์เป็นระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้ได้แบบไม่มีวันหมด อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นเมืองร้อน ทำให้หมดกังวลว่าจะไม่มีแสงแดดในการผลิตไฟฟ้า
    • ช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้น แผงโซลาร์เซลล์สามารถสะท้อนความร้อนออกไป ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้มากถึง 3-5 องศาเซลเซียส
    • โซลาร์เซลล์ติดตั้งได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ในปัจจุบันสามารถสั่งซื้อแผงโซลาร์เซลล์มาติดตามบ้านได้เลย โดยหลังจากการติดตั้งสามารถใช้งานได้ทันที ซึ่งทาง Sorarus เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำด้านโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะที่มีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี ที่พร้อมดูแลตลอดทุกขั้นตอนตั้งแต่การติดตั้ง จนถึงบริการหลังการขาย หากสนใจติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทาง Sorarus ได้เลย

สรุป

จากที่ได้รู้เคล็ดไม่ลับทั้ง 11 วิธีประหยัดค่าไฟฟ้ากันไปครบแล้ว จะเห็นว่าการวางแผนการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นสิ่งสำคัญ หากเรารู้จักปรับลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น และสำหรับใครที่สนใจอยากติดโซลาร์เซลล์เพื่อลดค่าไฟ ไม่ว่าจะเป็นติดตั้งที่บ้าน หรือที่บริษัท สามารถติดต่อทาง Sorarus ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์คุณภาพ พร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือตลอดการใช้งาน ให้คุณได้ประหยัดเงินในระยะยาว และได้ใช้ไฟอย่างเต็มที่

Cover

อาคารสีเขียวคืออะไร? รวม 10 วิธีออกแบบโรงงานให้ประหยัดพลังงาน

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ‘โลกร้อน’ ได้กลายเป็นหนึ่งปัญหาหนักที่สร้างความเสียหายทั่วโลก ทั้งปัญหาภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ภาวะขาดแคลนอาหาร ปัญหาภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงมากขึ้น ปัญหาสุขภาพ ความความยากจน และสิ่งมีชีวิตเสี่ยงสูญพันธุ์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั่วโลกหันมาโฟกัสและพยายามหาทางแก้ปัญหานี้ร่วมกัน โดยหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาแบบยั่งยืนที่หลาย ๆ ประเทศเริ่มให้ความสนใจคือ การสร้างมาตรฐานอาคารสีเขียวหรืออาคารประหยัดพลังงาน

อาคารสีเขียว คืออะไร

ทำความรู้จัก! อาคารประหยัดพลังงาน หรือ อาคารสีเขียว คืออะไร?

ถ้าพูดถึง ‘อาคารสีเขียว’ คนส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่าหมายถึงอาคารแนว Vertical Forest หรืออาคารป่าแนวตั้งที่ออกแบบพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ได้จำนวนมากเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว อย่างอาคาร Bosco Verticale มิลาน ประเทศอิตาลี The Nanjing Green Towers นานกิง ประเทศจีน โครงการ 1000 Trees เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน หรืออพาร์ตเมนต์ M6B2 Tower ปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่ในความจริงแล้วความหมายของอาคารสีเขียวหรืออาคารประหยัดพลังงาน คือ อาคารแบบยั่งยืน (Sustainability) ที่วางแนวทางปฏิบัติให้เกิดการใช้ทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการจัดการทรัพยากรน้ำ ไฟฟ้า พื้นที่ การก่อสร้าง การจัดการของเสีย โดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวคิดอาคารประหยัดพลังงาน สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับอาคารเก่าและอาคารใหม่ สำหรับกรณีอาคารเก่าเป็นการนำระบบและวัสดุใหม่เข้าไปแทนระบบเก่าหรือวัสดุเก่าที่ขาดประสิทธิภาพ ในขณะที่การสร้างอาคารใหม่ ควรเริ่มวางแผนการตั้งแต่การออกแบบและวางระบบการระบบการจัดการพลังงานภายในอาคารให้ตรงตามมาตรฐานอาคารสีเขียว

มาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน

มาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานมีอะไรบ้าง

  • TREES หรือ Thai’s Rating of Energy and Environment Sustainability: 
  • LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design: 
  • EDGE หรือ Excellence in Design for Greater Efficiencies: 
  • WELL Building Standard

สำหรับการระบุว่าอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมใดได้มาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน ไม่ได้พิจารณาแค่ว่าเป็นอาคารที่ใช้พลังงานน้อย ใช้เฉพาะพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีการจัดการระบบของเสียที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ต้องผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาอาคารประหยัดพลังงาน ได้แก่

  • TREES หรือ Thai’s Rating of Energy and Environment Sustainability: เป็นหลักเกณฑ์การประเมินของสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) ประเทศไทย 

หน่วยงานอิสระที่ไม่แสวงผลกำไร จดทะเบียนนิติบุคคลภายใต้มูลนิธิอาคารเขียวไทย โดยทางสถาบันฯ จะยึดการประเมินตามแนวทางความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอิงตามหลักเกณฑ์เดียวมาตรฐานสากลที่ใช้ในประเทศต่างๆ แต่ปรับให้เหมาะสมกับประเทศไทยมากขึ้น ด้วยการระบุให้ผู้ประกอบการสามารถใช้วัสดุก่อสร้างที่ผลิตในประเทศไทยได้

  • LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design: เป็นหลักเกณฑ์การประเมินอาคารประหยัดพลังงานหรือสิ่งก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ U.S. Green Building Council (USGBC) ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถใช้ประเมินได้ทั้งอาคารที่อยู่ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นทั่วโลก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ LEED เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ได้รับนิยมมากที่สุด รวมทั้งยังถูกนำไปใช้แนวทางในสร้างมาตรฐานการรับรองอาคารประหยัดพลังงานของประเทศต่าง ๆ อีกด้วย ปัจจุบันการขอใบรับรองอาคารประหยัดพลังงานจาก LEED สามารถยื่นเอกสารเพื่อขอการรับรองที่ผ่านทางเว็บไซต์ของ LEED ถ้าคะแนนถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับใบรับรองแบบถาวร   
  • EDGE หรือ Excellence in Design for Greater Efficiencies: เป็นหลักเกณฑ์การประเมินอาคารประหยัดพลังงาน การวัดผลการก่อสร้างอย่างยั่งยืน และนวัตกรรมในการรับรองมาตรฐานความเป็นเลิศในการออกแบบอาคาร สำหรับตลาดเกิดใหม่ของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศหรือ IFC (International Finance Corporation) ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจะคล้ายคลึงกับเกณฑ์ของ LEED แต่เพิ่มการประเมินปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย เนื่องจากมีแอพพลิเคชั่นในการประเมินด้วยตัวเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งหลังจากผ่านการประเมินอาคารจาก EDGE Auditor เรียบร้อยแล้ว อาคารที่ผ่านการประเมินจะได้รับใบรับรองถาวร เช่นเดียวกับ LEED
  • WELL Building Standard เป็นหลักเกณฑ์การประเมินอาคารประหยัดพลังงานของประเทศแคนาดา จากสถาบันสถาบัน IWBI (International WELL Building Institute) ที่เกิดจากความร่วมมือกับผู้พัฒนาหลักเกณฑ์มาตรฐาน LEED เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินคุณภาพผู้อยู่อาศัยในอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ในการประเมินทั้งหมด 10 ข้อ สำหรับการขอใบรับรองจาก WELL Building Standard นอกจากส่งเอกสารแล้ว ยังต้องรับการประเมินจากผู้ตรวจ หากอาคารผ่านการประเมินจะได้รับใบรับรอง แต่มาตรฐาน WELL Building Standard จะต้องต่ออายุใบรับรองทุก 3 ปี

ออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงาน

อยากออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงาน ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

ตามหลักเกณฑ์อาคารประหยัดพลังงานแบบต่าง ๆ ไม่ว่า TREES, LEED, EDGE หรือ WELL Building Standard เห็นได้ว่าการสร้างอาคารที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรม หรือปรับปรุงอาคารเดิมเพื่อให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานอาคารสีเขียว ต้องให้ความสำคัญและใส่ใจทั้งการออกแบบโครงสร้าง การเลือกวัสดุก่อสร้าง และการวางระบบการจัดการพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งถึงแม้ว่าไม่สามารถทำได้ครบในทุกข้อ แต่การเริ่มเปลี่ยนก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการลดการใช้พลังงานในอาคาร นำไปสู่การลดค่าใช้จ่าย การจัดการแบบยั่งยืน พร้อมก้าวไปเป็นอาคารสีเขียวแบบสมบูรณ์แบบ สำหรับวิธีการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานควรคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ

การสร้างอาคารประหยัดพลังงานใหม่ค่อนข้างจัดการได้ง่ายกว่า ในเรื่องการวางตำแหน่งของอาคารให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เพราะสามารถกำหนดทิศทางของอาคารที่ส่งผลดีต่อการประหยัดพลังงานในอาคารแบบยั่งยืนได้ง่ายกว่าอาคารเก่า โดยในการออกแบบอาคารควรตรวจสอบตำแหน่งทิศทางของลม ทิศทางของแสงและการลาดเอียงของพื้นดินก่อนเขียนแบบอาคาร เช่น

  • การออกแบบส่วนที่มีความแคบน้อยไปทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกเพื่อให้อาคารโดนแสงอาทิตย์น้อยลง ลดการสะสมความร้อนภายใน 
  • การวางตำแหน่งอาคารด้านที่มีหน้าต่างให้รับลมประจำถิ่นได้ง่ายขึ้น กรณีประเทศไทย ลมฤดูร้อนจะพัดจากทางทิศใต้หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขณะที่ลมฤดูหนาวพัดจากทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 
  • การปรับปรุงพื้นที่โดยรอบด้วยการสร้างแหล่งน้ำ เพื่อให้กระแสลมพัดไปยังอาคาร การปรับเนินดินให้กระแสลมผ่านได้ง่ายขึ้นหรือการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างความร่มรื่น

2. การจัดการกับปริมาณแสง

สิ่งสำคัญที่สุดของการจัดการกับปริมาณแสงคือ คุณภาพของแสงที่ส่งผ่านเข้าไปในอาคารต้องเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้งาน จึงทำให้ค่อนข้างยากต่อการลดจำนวนอุปกรณ์ให้แสงสว่างโดยเฉพาะการประหยัดพลังงานในโรงงาน เนื่องจากอาจส่งผลกระทบและเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในอาคาร ดังนั้นการจัดการกับปริมาณแสงที่ง่าย ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบน้อยที่สุดคือ การเลือกใช้หลอดไฟที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับพื้นที่ การเลือกใช้หลอดไฟอัตโนมัติ การปิดเมื่อไม่มีการใช้งาน และการดูแลรักษาให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

3. การถ่ายเทอากาศ

ข้อดีแรกของการวางระบบการถ่ายเทอากาศในอาคารประหยัดพลังงาน คือ ช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศในระยะยาว ซึ่งสิ่งเหมาะสมที่สุดคือ การสร้างช่องลมระบายอากาศให้สูง เพื่อให้ลมลอยขึ้นไปและระบายออกสู่ตัวอาคาร อย่างไรก็ตามการสร้างช่องเปิดตามธรรมชาติเพื่อรับแสง รับลม หรือระบายอากาศ ต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณแสงและความร้อนที่เข้ามา ไม่ควรสร้างช่องลม ช่องแสงขนาดใหญ่ แต่หากจำเป็นต้องออกแบบให้กว้าง ควรติดตั้งอุปกรณ์บังแดด เพื่อลดความร้อนที่ไหลเข้ามา

4. รูปร่างและรูปทรงของตัวอาคาร

สำหรับลักษณะของอาคารประหยัดพลังงานที่มีประสิทธิภาพเป็นอาคารที่มีอัตราส่วนพื้นที่ต่ำ พื้นที่ใช้สอยน้อย และรูปทรงโค้งมน เพราะจะทำให้การรั่วซึมของอากาศเย็นภายในน้อยกว่าอาคารขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ใช้สอยสูง ซึ่งถ้าเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก คือ ทรง Cylinder ทรง Cube ทรง Box และ ทรง Complex form แต่ทั้งนี้หากปรับเป็นการออกแบบอาคารในลักษณะจั่วสูงก็จะช่วยระบายอากาศและความร้อนได้ดีมากขึ้น

5. การใช้ผนังทึบและผนังใสในบริเวณต่าง ๆ 

ความแตกต่างระหว่างการใช้ผนังทึบกับผนังใสคือ การต้านทานความร้อน โดยผนังแบบทึบสามารถต้านทานความร้อนได้มากกว่าผนังใสหรือกระจกใส ดังนั้นอาคารประหยัดพลังงานจึงนิยมใช้เป็นผนังทึบที่มีการติดตั้งฉนวนความร้อน ใช้สีโทนอ่อนที่มีการดูดกลืนความร้อนน้อยกว่าโทนเข้มเพื่อเพิ่มคุณสมบัติการต้านทานความร้อนให้กับอาคารมากขึ้น แต่กรณีเลือกใช้ผนังโปร่งหรือกระจกเพื่อความสวยงาม ควรเลือกใช้กระจกที่มีคุณสมบัติกันความร้อนทดแทน เช่น

  • กระจกเคลือบผิวสะท้อนแสง (Reflecting Metallic Coating) ลดได้ทั้งความร้อนและแสงสว่าง แต่ข้อเสียคือ สามารถแผ่ความร้อนภายในห้องได้ จึงไม่เหมาะกับประเทศในเขตร้อน
  • กระจกสองชั้น (Double Glazing) สามารถลดความร้อนได้สูงถึง 80% และแสงผ่านได้ดี ป้องกันรังสี UV จึงช่วยทั้งลดความร้อนและประหยัดพลังงานจากอุปกรณ์ส่องสว่าง แต่ข้อเสียคือ มีราคาสูงกว่ากระจกประเภทอื่น
  • กระจกติดฟิล์ม Low E (Low Emissivity) กระจกใสที่มีการเคลือบ Sun Protection ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การแผ่รังสีต่ำ จึงคุณสมบัติเด่นเรื่องช่วยลดความร้อนเข้าสู่อาคาร
  • กระจกลามิเนต ช่วยป้องกันความร้อนได้ดี อีกทั้งยังลดอันตรายเวลาแตก เพราะเศษกระจกยังยึดเกาะกัน ไม่ร่วงหล่นเหมือนกระจกแบบอื่น เหมาะสำหรับส่วนที่ไม่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ

6. ระบบปรับอากาศ

จากข้อมูลจากสถาบันอาคารเขียวไทยพบว่าระบบปรับอากาศเป็นการใช้พลังงานที่มากที่สุดในอาคาร โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 65% จากการใช้พลังงานทั้งหมด ดังนั้นหากต้องการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคาร นอกจากต้องปรับลดการใช้พลังงานส่วนนี้ลงแล้ว ต้องให้ความสำคัญกับการเลือกเครื่องปรับอากาศที่ได้มาตรฐานประหยัดพลังงาน ขนาด และประเภทของเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่ สำหรับประเภทเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่

  • เครื่องปรับอากาศติดผนัง ขนาดเล็กกระทัดรัด ดูแลรักษาง่าย เหมาะสำหรับห้องที่มีขนาดเล็ก 
  • เครื่องปรับอากาศแขวนใต้ฝ้า กระจายความเย็นได้ทั่วถึง เหมาะสำหรับห้องที่มีคนจำนวนมาก อย่างห้องสำนักงาน โซนให้บริการลูกค้า หรือร้านขายของ
  • เครื่องปรับอากาศฝังในเพดาน เป็นเครื่องปรับอากาศที่ซ่อนส่วนของตัวเครื่องและท่อต่าง ๆ ในฝ้าเพดาน เหมาะกับห้องที่ต้องการความสวยงาม
  • เครื่องปรับอากาศแบบตู้ตั้งพื้น เป็นแบบที่กระจายความเย็นได้ดี แข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับใช้งานในห้องขนาดใหญ่ที่มีคนใช้งานจำนวนมาก อย่างในโรงงานอุตสาหกรรมหรือห้องประชุมขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตามนอกจากประเภทแล้ว ควรดูขนาด BTU หรือขนาดการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศให้สัมพันธ์กับขนาดห้องด้วย เพราะหากเลือกขนาด BTU ต่ำเกินไปก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก อายุการทำงานสั้นลง แต่ถ้าเลือกขนาด BTU สูงกว่าขนาดพื้นที่คอมเพรสเซอร์จะตัดบ่อยเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น 

7. วัสดุของหลังคา

หลังคาเป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับแสงโดยตรง เพราะฉะนั้นหากต้องการปรับให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานแบบยั่งยืน ควรเลือกหลังคาทึบสีอ่อนที่มีมวลสารน้อยรวมถึงสะสมความร้อนน้อยด้วย และที่สำคัญต้องมีการบุฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ซึ่งจะช่วยสะท้อนความร้อนและลดการสะสมของความร้อนในอาคาร สำหรับฉนวนกันความร้อนที่นิยม ได้แก่

  • ฉนวนใยแก้ว เรียกอีกชื่อว่าไฟเบอร์กลาส กันความร้อน ไม่ลามไฟ  กันเสียงได้ดี
  • ฉนวนโฟม PE ป้องกันและสะท้อนความร้อนได้พร้อมกัน 
  • ร็อควูล คุณสมบัติใกล้เคียงกับฉนวนใยแก้ว แต่ทนไฟและซับเสียงได้ดีกว่า
  • อลูมินั่มฟอยล์ สะท้อนความร้อนได้สูงสุด 97% ทนแรงดึง แข็งแรงไม่ฉีกขาดง่าย
  • แอร์บับเบิ้ล ป้องกันและสะท้อนความร้อนได้พร้อมกัน สามารถติดตั้งกับหลังคาได้หลายส่วน

8. อุปกรณ์บังแดดภายนอกและการปลูกต้นไม้

หากต้องการปรับปรุงอาคารเดิมให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานหรือติดข้อจำกัดด้านการออกแบบ สามารถแก้ไขด้วยการเสริมอุปกรณ์บังแดดแบบถาวรในจุดที่รับแสงอาทิตย์ แต่กรณีที่ไม่ต้องการให้อุปกรณ์บังแดดบดบังความสวยงามของภูมิทัศน์ อาจเลือกเป็นการเปลี่ยนพื้นที่โดยรอบให้เป็นสวนที่มีความร่มรื่น ด้วยการปลูกพืชคลุมดิน ไม้พุ่ม และแหล่งน้ำ เพื่อปรับบรรยากาศโดยรอบให้เย็นลง

9. ใช้พลังงานหมุนเวียน

นอกจากการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าจะเป็นหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณารับรองอาคารประหยัดพลังงานของสถาบันต่าง ๆ การวางระบบเพื่อหมุนเวียนยังเป็นการลดการใช้พลังงานและประหยัดค่าใช้จ่ายต่อปีได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย สำหรับระบบการหมุนเวียนพลังงานที่นิยมใช้การลดพลังงานในโรงงานหรืออาคารประเภทต่าง ๆ ได้แก่

  • ระบบการจัดการน้ำ ปัจจุบันมีทั้งการรีไซเคิลน้ำประปาเพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ล้างสุขภัณฑ์ ช่วยประหยัดน้ำประปา การกักเก็บน้ำฝนเพื่อใช้ในการรดน้ำต้นไม้
  • การติดต้้งสารแผงโซลาเซลล์ (Solar Cell) เพื่อผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งข้อดีนอกจากจะเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีวันหมดแล้ว ยังเป็นการลงทุนวางระบบครั้งเดียวที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวอีกด้วย

10. ติดตั้งระบบ SCADA

เพื่อประสิทธิภาพที่มากขึ้นในการประหยัดพลังงานในโรงงานหรือองค์กร ระบบ SCADA หรือ Supervisory Control and Data Acquisition ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ขาดไม่ได้ในการบริหารจัดการระบบควบคุมการใช้พลังงาน เพราะระบบ SCADA คือ ซอฟแวร์ที่ทำให้จัดการ ตรวจสอบ ติดตาม และวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานภายในอาคารแบบ Real-Time ทำให้การควบคุมพลังงานได้ง่ายและครอบคลุมมากขึ้น

สรุป

จะเห็นได้ว่าอาคารประหยัดพลังงานมีประโยชน์ ทั้งในแง่ของการประหยัดต้นทุน ประหยัดพลังงาน และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างหรือเปลี่ยนอาคารเก่าให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน เพราะแม้ว่าต้องลงทุนในด้านการออกแบบและวางระบบจัดการมากขึ้น แต่สามารถคืนทุนได้ภายใน 3 – 5 ปี หลังจากนั้นเป็นการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในระยะยาว 

ซึ่งผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติและกำลังสร้างอาคารประหยัดพลังงานหรือเปลี่ยนอาคารเก่าให้เป็นอาคารสีเขียวแบบยั่งยืน แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหน แนะนำ  Sorarus ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบประหยัดพลังงาน คร่ำหวอดอยู่ในวงการด้านการผลิตน้ำร้อนจากพลังงานทดแทนและให้ปรึกษากับภาคธุรกิจมากว่า 40 ปี ติดตั้งมาแล้วกว่า 1,000 แห่ง การันตีวัสดุติดตั้งใช้งานได้นานกว่า 100 ปี รับประกันคืนทุนไวและประหยัดต้นทุนทรัพยากรได้มากถึง 50-70% แน่นอน

Sorarus-Feb4-banner

มาทำความรู้จักกับ Carbon Footprint คืออะไร

ในปัจจุบัน โลกของเรามีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมามากมาย ซึ่งก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปมากด้วยเช่นกัน มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศต่างๆ เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นเราทุกคนต้องรีบหันมาใส่ใจกับปัญหานี้ โดยบทความนี้จะพูดถึงเรื่องของ Carbon Footprint ที่จะเป็นส่วนช่วยให้เราได้ประเมินว่าสิ่งต่างๆ มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนเท่าไหร่ เพื่อทำให้เราตระหนักถึงสิ่งที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แล้ว Carbon Footprint คืออะไร มาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่า

carbon footprint คืออะไร

Carbon Footprint คืออะไร

คาร์บอนฟุตพรินท์ (Carbon Footprint : CF) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากพฤติกรรมของมนุษย์เรา การใช้ชีวิตกระจำวันต่าง ๆ การคมนาคม อุตสาหกรรมการผลิตสินค้า ปศุสัตว์ การใช้ไฟฟ้า รวมไปถึงของเสียที่เกิดจากอาหาร ล้วนก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งนั้น

โดย Carbon Footprint จะมาช่วยเป็นแนวทางที่ใช้ประเมินว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ชนิด คือ 1.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.ก๊าซมีเทน 3.ก๊าซไนตรัสออกไซด์ 4.กลุ่มก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน 5.กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน 6.ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ 7.ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ ซึ่งก๊าซแต่ละชนิดจะมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อนแตกต่างกันไป

โดยการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น มีทั้งทางตรงและทางอ้อม

  • ทางตรง เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง รวมไปถึงการใช้พลังงานในบ้าน และการใช้รถยนต์
  • ทางอ้อม เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่เราใช้โดยคำนวณรวมทั้งกระบวนการผลิต จนถึงการกำจัดของเสีย ซึ่งก็คือตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA : Life Cycle Assessment)

ซึ่งเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินท์ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่าตลอดทุก ๆ กระบวนการของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกในปริมาณเท่าไหร่บ้าง ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของกระบวนการ ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อให้แก่ผู้บริโภค และสร้างความตื่นตัวในกลุ่มผู้บริโภคให้เลือกสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า โดยสามารถเปรียบเทียบได้จากสินค้าชนิดเดียวกันแต่คนละแบรนด์

Carbon Footprint ถูกแนะนำขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ภายใต้การดูแลของ Carbon Trust โดยคาดหวังว่าการดำเนินโครงการนี้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต การขนส่ง หรือบรรจุภัณฑ์
ในหลาย ๆ ประเทศได้เริ่มมีการทำ Carbon Footprint มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศศ สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น ซึ่งการลงทุนที่เกี่ยวกับการช่วยลดภาวะโลกร้อนนี้จะช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้เป็นอย่างมาก เพราะมันจะแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม การรับรู้ และช่วยให้มีการสื่อสารที่ดีระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคอีกด้วย

carbon footprint เกิดจากอะไรได้บ้าง

Carbon Footprint เกิดจากอะไรได้บ้าง

คาร์บอนฟุตพรินท์ นั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย อย่างที่ได้เกริ่นไปช่วงต้นว่าเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ หรือจากอุตสาหกรรมมากมาย เพราะฉะนั้นในส่วนนี้เรามาดูสาเหตุของคาร์บอนฟุตพรินท์ เพื่อจะได้นำไปแก้ปัญหาได้ถูกจุด โดยสาเหตุหลัก ๆ จะมีดังนี้

คาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กร

คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมการดำเนินงานต่าง ๆ ภายในองค์กร เช่น การใช้เชื้อเพลิงภายในองค์กร เป็นต้น

คาร์บอนฟุตพรินท์ของบริการ

คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาในการให้บริการนั้น ๆ โดยจะมาจากทั้งผลิตภัณฑ์และองค์กร เช่น กิจกรรมการพักผ่อนต่าง ๆ เป็นต้น

คาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์

คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมากตลอดวัฏจักรผลิตภัณฑ์ พูดง่าย ๆ คือ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การคมนาคมขนส่ง การใช้งานผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการกำจัดของเสียเมื่อหมดอายุการใช้งาน
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์จะมีเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินท์แสดงข้อมูลก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตลอดกระบวนการของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาให้ปริมาณเท่าไหร่บ้าง เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

การคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์

การคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์

​​คาร์บอนมีส่วนทำให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้นได้ ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อมนุษย์เราอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นการรู้ว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมานั้นมีเท่าไหร่บ้าง จะช่วยทำให้เราตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นตามมา ในส่วนนี้เราเลยจะแนะนำวิธีการคำนวนคาร์บอนฟุตพรินท์ว่าทำอย่างไร

ทางคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ได้กำหนดค่าที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนของแต่ละก๊าซให้เทียบกับศักยภาพการเกิดภาวะโลกร้อนของก๊าซคาร์บอนออกไซด์ 

โดยต้องเข้าใจก่อนว่าก๊าซเรือนกระจกมีหลายชนิด การที่จะสามารถบอกปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ จำเป็นจะต้องนำมาเทียบและแปลงค่าก๊าซทุกตัวให้มีหน่วยเดียวกัน เพราะฉะนั้นการคำนวนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมานั้นจะใช้หน่วยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ในการคำนวน

ก๊าซมีเทน (CH4) มีค่าที่ทำให้โลกร้อน 28 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีค่าทำให้โลกร้อน 256 เท่าของก๊าซคาร์ไดออกไซด์

ดังนั้นหากเราปล่อยก๊าซมีเทน 1 kg หมายความว่า ค่าที่เราปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์ = 28 kgCO2e
และหากเราปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ 1 kg จะหมายความว่าค่าที่เราปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์ = 256 kgCO2e

โดยวิธีการคำนวน Carbon Footprint คือ นำข้อมูลของกิจกรรมที่ทำ (Activity Data) ที่เกิดจากมนุษย์ทั้งหลาย x ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้ในการแปลงค่าข้อมูลเบื้องต้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อคิดเป็นค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมนั้น ๆ

ยกตัวอย่างเช่น หากเราใช้ไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์/ชั่วโมง (kWh) โดยค่า Emission factor ของไฟฟ้าคือ 0.4999 kgCO2e
จะหมายความว่า ค่าที่เราปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้า คือ 1 x 0.4999 = 0.4999 kgCO2e

ซึ่งโดยปกติแล้วกิจกรรมที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซพิษมากที่สุด เช่น

  • การใช้เชื้อเพลงภายในองค์กรหรือภายในบ้านเรือน
  • กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจต่าง ๆ
  • บริการสาธารณะ
  • การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • การคมนาคมขนส่ง
  • การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
  • โรงงานรถยนต์
  • การเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบิน
  • อาหารและเครื่องดื่ม

แนวทางที่ช่วยลด carbon

แนวทางที่ช่วยลด Carbon

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์เรา จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันต่าง ๆ มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสม โดยจะส่งผลให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย และทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศต่าง ๆ รวมถึงเศรษฐกิจและสังคม เพราะฉะนั้นหากเราไม่ช่วยกันป้องกัน และลดจำนวน Carbon Footprint อาจจะส่งผลที่รุนแรงในภายหลังก็เป็นได้ ดังนั้น ตอนนี้เรามาดูสิ่งที่เราสามารถเริ่มต้นทำกันได้ง่าย ๆ เพื่อช่วยโลกของเรากันเถอะ

ใช้พลังงานสะอาด

​​การประหยัดพลังงานโดยอาจจะเริ่มจากอะไรง่าย ๆ เช่น เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือไฟ LED ในขนาดที่พอเหมาะ หรือการถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้งานเสร็จแล้ว เป็นต้น นอกจากนี้การเลือกใช้พลังงานสะอาด อย่างเช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม ก็มีส่วนช่วยลดคาร์บอนได้ และอาจจะถึงเวลาที่ต้องเริ่มใช้พลังงานหมุนเวียนกันอย่างจริงจังแล้ว นอกจากนี้การใช้โซลาเซลล์ก็สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ประมาณ 101 ต้นเลยทีเดียว ซึ่งโซลาเซลล์เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด ขอแค่มีแสงก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้เรื่อย ๆ แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

แนวทางที่ช่วยลดคาร์บอน

ปรับพฤติกรรมการกิน

เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ปรับมากินอาการที่เป็นพืชออแกนิค และกินเนื้อแต่พอดี สัดส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนปศุสัตว์สูงสุดอยู่ที่ 18% และอาจจะสูงขึ้นอีกถึง 51% และต้นเหตุนั้นมาจากกระบวนการในการผลิตเนื้อ โดยเฉพาะการทำไร่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ทำให้พื้นที่ป่าไม้ที่คอยดูดซับก๊าซคาร์บอนก็น้อยลง การหันมากินพืชออแกนิค จะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีที่ผ่านการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีส่วนทำให้เกิดคาร์บอน นอกจากนี้ การกินอาหารให้หมด จะช่วยลดปริมาณเศษอาหารที่เหลือ ช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการย่อยสลายเศษอาหารอีกด้วย

ซื้อของท้องถิ่น สนับสนุนชุมชน

การซื้อของในท้องถิ่น กินของที่มีอยู่ในชุมชน จะช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการคมนาคมขนส่ง ที่ต้องขนส่งจากสถานที่ไกล ๆ ซึ่งจะเป็นการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งได้ แถมได้อาหารที่สดใหม่ ปลอดสารพิษ ปลอดสารกันบูด และยังเป็นการไม่สนับสนุนผลผลิตที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูกอีกด้วย

ลด carbon footprint

ปลูกต้นไม้

การปลูกต้นไม้ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การปลูกต้นไม้ 1 ต้น สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 9-15 kgCO2 ต่อปี และยังช่วยผลิตออกซิเจนอีกด้วย ยิ่งปลูกต้นไม้ก็จะยิ่งช่วยลดวิกฤตโลกร้อนได้มากขึ้น ซึ่งอาจจะเริ่มจากปลูกต้นไม้ในสวนที่บ้าน หรือเสนอโครงการออฟฟิศสีเขียวที่บริษัท เป็นต้น

ลดการใช้ยานพาหนะ

การเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ และเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ เพราะฉะนั้นการลดการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว หันมาเดินทางโดยขนส่งสาธารณะ หรือเลือกปั่นจักรยาน หรือเดินแทนการใช้รถยนต์ เพราะจะช่วยลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากรถยนต์ที่มีมากบนถนน และในอนาคตควรมีการผลักดันให้พัฒนาเทคโนโลยีที่ผลิตก๊าซคาร์บอนต่ำให้เร็วที่สุด

สรุป

Carbon Footprint คือสิ่งที่เอาไว้บอกปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันของเราทุกคน ทั้งการบริโภคอาหาร การใช้ไฟฟ้า น้ำประปา เติมน้ำมัน หรือการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน ล้วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดอุณหภูมิโลกสูงขึ้น ระบบนิเวศก็จะเปลี่ยนแปลง

ซึ่งหากมีการวางแผน ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตก็จะสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ จากการเลือกบริโภค การปลูกต้นไม้ การคิดก่อนใช้ และพยายามใช้ทรัพยากรทุกอย่างให้คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด เท่านี้ก็สามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยของก๊าซเรือนกระจก หรือ Carbon Footprint ได้เป็นอย่างมากเลยล่ะ นอกจากนี้การใช้พลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์อย่างการใช้โซลาเซลล์ก็สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดีเลยทีเดียว นอกจากจะช่วยลด Carbon Footprint แล้ว โซลาเซลล์จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แถมสามารถผลิตพลังงานได้เรื่อย ๆ ขอเพียงแค่มีแสงอาทิตย์

Cover

ก่อนติดตั้งโซลาเซลล์ต้องรู้! แบตเตอรี่โซลาเซลล์สำคัญอย่างไร

ปัจจุบันมนุษย์มีการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ช่วยจัดเก็บพลังงานไว้ใช้ต่อไป จึงมีการนำแบตเตอรี่มาใช้กับอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมไปถึงระบบไฟฟ้าภายในบ้านอย่างแบตเตอรี่โซลาเซลล์ด้วยเช่นกัน เพราะสามารถลดค่าไฟฟ้าภายในครัวเรือนและมีประโยชน์อีกมากมาย หลาย ๆ คนจึงเลือกที่จะติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานส่วนเกินไว้ใช้ บทความนี้จึงจะพามาทำความรู้จักกับแบตเตอรี่โซลาเซลล์ พร้อมบอกวิธีบำรุงรักษาเพื่อให้แบตเตอรี่โซลาเซลล์มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น

แบตเตอรี่โซลาเซลล์คืออะไร

แบตเตอรี่โซลาเซลล์คืออะไร

แบตเตอรี่โซลาเซลล์ (Solar Battery) คือ อุปกรณ์เสริมของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ภายในบ้าน ทำหน้าที่จัดเก็บไฟฟ้า โดยในระหว่างวันแผงโซลาเซลล์จะผลิตพลังงานไฟฟ้าออกมา พลังงานส่วนที่เกินจะถูกกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่โซลาเซลล์นั่นเอง ซึ่งเป็นการสำรองพลังงานสะสมไว้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าในตอนที่ไฟฟ้าดับ หรือแผงโซลาเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอ รวมถึงในตอนกลางคืน วันที่มีฝนตก หรือมีเมฆมากด้วยเช่นกัน ทั้งนี้หากไม่ได้ติดตั้งแบตเตอรี่โซลาเซลล์ พลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกส่งไปยังกริดที่เป็นเครือข่ายเชื่อมต่อสำหรับการจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งหมายความว่าคุณกำลังผลิตไฟฟ้าและนำไปจ่ายให้กับบ้านของผู้อื่นใช้แทน

ประเภทของแบตเตอรี่โซลาเซลล์

ประเภทของแบตเตอรี่โซลาเซลล์

แบตเตอรี่โซลาเซลล์นั้นมีความแตกต่างและมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป สามารถเลือกใช้แบตเตอรี่ตามความต้องการได้

แบตเตอรี่ตะกั่วกรด (Lead-Acid)

แบตเตอรี่ตะกั่วกรด เป็นแบตเตอรี่ที่ถูกเลือกใช้มานาน และเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับแบตเตอรี่ที่นิยมใช้กับยานยนต์และอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย มีความทนทานสูง ราคาไม่แพงมาก ดูแลรักษาง่าย เพราะไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และมีค่า DoD (Depth of Discharge) ต่ำ แม้ว่าอายุการใช้งานแบตเตอรี่โซลาเซลล์ประเภทนี้มีระยะเวลาสั้นกว่าประเภทอื่น ๆ แต่ปัจจุบันก็มีการพัฒนาปรับปรุงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ตะกั่วกรด และยังคงเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือได้สำหรับการใช้งานในการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ภายในบ้าน

แบตเตอรี่ลิเธียม (Lithium-Ion)

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เป็นแบตเตอรี่โซลาเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูง และได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ จึงสามารกักเก็บพลังงานได้เป็นจำนวนมากทั้งที่มีขนาดกะทัดรัด มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่แรงและคงที่ ระยะเวลาในการชาร์จไฟฟ้าเต็มได้เร็ว รวมถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้จึงทำให้แบตเตอรี่ลิเธียมมีราคาแพงกว่าแบตเตอรี่โซลาเซลล์ประเภทอื่น ๆ

แบตเตอรี่นิกเกิล (Nickel-Cadmium)

แบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียม เป็นแบตเตอรี่ที่พบเห็นการติดตั้งได้น้อยภายในที่อยู่อาศัย แต่นิยมใช้มากที่สุดในการใช้งานในสายการบินและอุตสาหกรรม เพราะมีความทนทานสูง สามารถทนความร้อนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งไม่ต้องการการดูแลบำรุงรักษามากเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียมมีองค์ประกอบที่เป็นมลพิษสูง หากไม่ได้กำจัดมลพิษนั้นอย่างเหมาะสมก็อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมได้

แบตเตอรี่เหลว (Flow)

แบตเตอรี่เหลว เป็นแบตเตอรี่ที่มีการทำงานขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาทางเคมี โดยพลังงานจะถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยสารละลายอิเล็กโทรไลต์ซึ่งเป็นของเหลวที่ไหลไปมาระหว่างสองห้องภายในตัวแบตเตอรี่ ถึงแม้แบตเตอรี่เหลวจะมีประสิทธิภาพสูง สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ดี แต่พลังงานนั้นมีความหนาแน่นต่ำ นั่นหมายความว่าต้องมีถังบรรจุสารละลายอิเล็กโทรไลต์ขนาดใหญ่ เพื่อกักเก็บพลังงานให้ได้จำนวนมาก จึงทำให้แบตเตอรี่เหลวเป็นตัวเลือกที่มีราคาแพง และไม่เหมาะกับการติดตั้งใช้งานภายในครัวเรือน

แบตเตอรี่กับโซลาเซลล์ดีอย่างไร

ใช้แบตเตอรี่กับโซลาเซลล์ดีอย่างไร

การใช้แบตเตอรี่กับโซลาเซลล์นั้นนอกจากจะช่วยเพิ่มความเสถียรภาพของระบบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ยังมีประโยชน์มากมายทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เช่น

กักเก็บพลังงานสำรองไว้ใช้ในครัวเรือน

การที่มีแบตเตอรี่สำรองพลังงานไว้จะช่วยให้สามารถดึงพลังงานไฟฟ้ามาใช้ได้ในตอนกลางคืน และตอนที่ฝนตก หรือมีเมฆมาบดบังแสงอาทิตย์ ซึ่งแผงโซลาเซลล์จะทำงานได้ไม่เต็มที่ และรวมถึงในกรณีฉุกเฉินอย่างไฟฟ้าดับ ก็ยังมีกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่โซลาเซลล์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานจากกริดของเครือข่ายไฟฟ้า

ลดการพึ่งพาพลังงานจากโรงไฟฟ้า และประหยัดค่าไฟภายในครัวเรือน

หากอยู่ในพื้นที่ที่มีกระแสไฟฟ้าไม่เสถียรจากเครือข่ายโรงไฟฟ้า หรือเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับบ่อย การใช้แบตเตอรี่โซลาเซลล์สามารถช่วยจ่ายพลังงานเข้าไปในระบบไฟฟ้าภายในบ้านได้อย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมง ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของระบบไฟฟ้าภายในบ้านอีกด้วย

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

พลังงานไฟฟ้าจากกริดของโรงไฟฟ้า ส่วนใหญ่ถูกผลิตขึ้นจากถ่านหินและฟอสซิล ซึ่งกระบวนการผลิตเป็น Carbon Footprint ที่ทำให้โลกร้อน การใช้แบตเตอรี่กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานบริสุทธิ์นั้น จึงช่วยลดสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนได้ และเพิ่มโอกาสในการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

ไม่ก่อมลพิษทั้งทางเสียงและอากาศ

กระบวนการผลิตไฟฟ้าของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงและอากาศ เพราะใช้แสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าและสำรองไว้ในแบตเตอรี่ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องเสียงรบกวนเพื่อนบ้านและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

สิ่งที่ควรรู้ วิธีเลือกแบตเตอรี่โซลาเซลล์

แนะสิ่งที่ควรรู้ วิธีเลือกแบตเตอรี่โซลาเซลล์

การเลือกแบตเตอรี่สำหรับใช้กับโซลาเซลล์นั้นต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายสิ่ง เพราะแบตเตอรี่โซลาเซลล์มีต้นทุนที่แตกต่างไปตามความจุของแบตเตอรี่และระดับพลังงาน จึงจำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดว่าแบตเตอรี่โซลาเซลล์ทำงานอย่างไร สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานภายในครัวเรือนได้หรือไม่ ไม่เช่นนั้นหากเลือกแบตเตอรี่ที่ไม่เหมาะสมมาใช้ อาจทำให้แบตเตอรี่โซลาเซลล์เสื่อมได้ไว จนต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่โซลาเซลล์หลายครั้งซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลายได้ โดยราคาแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

  • วัสดุและวิธีการผลิต
  • อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ (Battery Life Cycle)
  • ความจุของแบตเตอรี่ (Storage Capacity)
  • ความจุที่ใช้ได้ (Usable Capacity)

แบตเตอรี่โซลาเซลล์สำหรับใช้ภายในบ้านมีหลายขนาด ตามหน่วยความจุเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh: Kilowatt-hour) คือ ปริมาณพลังงานที่ถูกใช้ 1,000 วัตต์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แบตเตอรี่โซลาเซลล์ส่วนใหญ่มีความจุคงที่เริ่มต้นที่ประมาณ 2 – 14 กิโลวัตต์ชั่วโมง ทั้งยังสามารถเพิ่มความจุพลังงานได้ด้วยการสร้างโมดูลแบตเตอรี่เสริมบนระบบเพื่อเพิ่มการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์

แบตเตอรี่โซลาเซลล์มีอายุการใช้งานนานเท่าไร

แบตเตอรี่โซลาเซลล์ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉพาะ ทำให้ระบบมีความเสถียรภาพมากขึ้น เก็บพลังงานไฟฟ้าได้นาน และสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมง อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่โซลาเซลล์ก็มีอายุการใช้งานด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยเฉลี่ยสามารถใช้งานได้ตั้งแต่ 5 – 6 ปี หรือ 10 – 15 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดแบตเตอรี่และขนาด เช่น แบตเตอรี่แบบลิเธียมจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการบำรุงรักษาอีกด้วย หากมีการใช้งานและแบตเตอรี่โซลาเซลล์มีค่าคายประจุสูง (DoD) จะส่งผลให้รอบการใช้งานของแบตเตอรี่ลดลง หรือการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส จะทำให้อายุการใช้ของแบตเตอรี่โซลาเซลล์ลดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้แบตเตอรี่โซลาเซลล์มีอายุการใช้งานนาน ๆ ไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่โซลาเซลล์บ่อยครั้ง จึงต้องคำนึงถึงทั้งการเลือกแบตเตอรี่ สภาพแวดล้อมการทำงาน และการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม

สรุป

แบตเตอรี่โซลาเซลล์ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมพลังงานจากกระแสไฟฟ้าที่ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตได้ในระหว่างวัน ซึ่งมีประโยชน์ในการสำรองไว้เพื่อนำไปใช้ในช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานได้ เป็นการช่วยลดค่าไฟฟ้าภายในครัวเรือน อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งทางเสียงและอากาศอีกด้วย สำหรับแบตเตอรี่โซลาเซลล์นั้นมีอายุการใช้งานประมาณ 5 – 6 ปี โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ชนิดและขนาดของแบตเตอรี่ สภาพแวดล้อมการใช้งานและการบำรุงรักษา เป็นต้น

Sorarus-Feb2-banner

5 ประโยชน์ของแผงโซล่าเซลล์ พลังงานทางเลือกที่ไม่ได้มีดีแค่ผลิตไฟฟ้า

ปัจจุบันนี้ภาวะโลกร้อนได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นและยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปนั้นถูกใช้ไปจนเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ พลังงานทางเลือกจึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนเริ่มให้ความสนใจและได้รับความนิยมมากขึ้น หนึ่งในพลังงานทางเลือกที่หลายคนเลือกใช้นั่นก็คือ “การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์” ที่นอกจากช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังมีข้อดีอีกมากมาย ประโยชน์ของโซล่าเซลล์ที่ทุกคนควรรู้ มีด้วยกัน 5 ข้อ ดังนี้

ประโยชน์ของโซล่าเซลล์ ประหยัดไฟ

1. ช่วยคุณประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว

หนึ่งในประโยชน์ของโซล่าเซลล์ที่หลาย ๆ คนทราบกันดีอยู่แล้วคือสามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ เพราะส่วนใหญ่ในบ้านมักใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ากันอยู่เป็นประจำ นั่นหมายความว่าทุก ๆ วันจะต้องมีการใช้ไฟฟ้าอยู่แล้ว

หากติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังไฟฟ้าได้ ก็จะลดการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งอื่น ทำให้บิลค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนลดลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ การที่คุณสามารถผลิตไฟฟ้ามาใช้เองได้นั้น เท่ากับว่าไม่ต้องรับผลกระทบจากการเพิ่มราคาค่าไฟต่อหน่วยเลย

ประโยชน์ของแผงโซล่าเซลล์

2. เป็นพลังงานที่ไม่จำกัด

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป (Inexhaustible natural resources) ทำให้โซล่าเซลล์สามารถดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ได้อย่างไม่จำกัด นอกจากนั้นประเทศไทยยังเป็นเมืองร้อนที่มีแสงแดดแทบตลอดทั้งปี จึงทำให้ประเทศไทยเหมาะแก่การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อย่างมาก เพราะมีแสงให้ดึงมาใช้ได้ตลอด ไม่ต้องกังวลเรื่องการขาดแคลนพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวอย่างประเทศแถบตะวันตก

ประโยชน์โซล่าเซลล์

3.  พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด

โดยปกติแล้วการผลิตพลังงานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันจะมีกระบวนการหลายขั้นตอน ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากและยังก่อให้เกิดมลภาวะอีกด้วย แต่กระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์นั้นไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อชั้นบรรยากาศ เรียกได้ว่าประโยชน์ของโซล่าเซลล์คือการใช้พลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยไม่ทำร้ายโลกและสิ่งแวดล้อมก็ว่าได้

 ข้อดีของโซล่าเซลล์

4. หมดข้อกังวลใจเมื่อไฟฟ้าดับ

การมีแผงโซล่าเซลล์ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องไฟฟ้าดับอีกต่อไป เพราะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากแหล่งอื่น หรือสามารถควบคุมได้ว่าจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งใด ทั้งจากแผงโซล่าเซลล์ จากแบตเตอรี่สำรอง หรือจากการไฟฟ้าแบบปกติก็สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ เพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เพื่อให้บ้านหรือชุมชนบริเวณนั้นมีไฟฟ้าใช้ได้ตลอดเวลา อาจกล่าวได้ว่า ข้อดีของโซล่าเซลล์ไม่ใช่แค่การตัดปัญหาเรื่องไฟฟ้าดับ แต่ยังเป็นการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนให้สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้อีกด้วย

แผงโซล่าเซลล์ ประโยชน์

5. ได้ลดหย่อนภาษีจากการขอ BOI

ประโยชน์ของโซล่าเซลล์ที่น่าสนใจอีกข้อ คือสำหรับนักลงทุนหรือผู้ที่มีกิจการของตัวเอง การติดตั้งโซล่าเซลล์สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากภาครัฐสนับสนุนให้ใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด จึงมีนโยบายการลดหย่อนภาษี โดยการให้นักลงทุนขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI สำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีนำเข้าอุปกรณ์ติดตั้ง ทั้งในส่วนบริษัทผลิตไฟฟ้าและการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อลดค่าไฟฟ้าของตัวเอง

โดยกิจการที่สามารถขอ BOI ได้นั้นต้องเป็นกิจการตามประเภทที่ BOI กำหนดไว้ สามารถยื่นคำขอได้ที่สำนักงาน BOI หรือช่องทางออนไลน์ตามความสะดวก

ข้อดีของโซล่าเซลล์

4 ข้อควรรู้ก่อนติดตั้งแผงโซลาเซลล์

ทราบกันไปแล้วว่าประโยชน์ของโซล่าเซลล์นั้นมีอะไรบ้าง แต่อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์ในทันที เพราะการติดตั้งโซล่าเซลล์ก็เหมือนกับการลงทุนที่ย่อมมีความเสี่ยง ก่อนติดตั้งควรศึกษาเกี่ยวกับโซล่าเซลล์ก่อนว่ามีประเภทใดบ้าง ควรคำนึงถึงเรื่องผู้ให้บริการติดตั้ง การทำเรื่องขอติดตั้ง และการดูแลหลังติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้ดีเสียก่อน ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

1. ทำความรู้จักแผงโซล่าเซลล์แต่ละประเภท

ระบบโซล่าเซลล์มีด้วยกัน 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกันไป ตามรายละเอียดดังนี้

  • โซล่าเซลล์ระบบออนกริด (On Grid) เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่เชื่อมสายเข้ากับการไฟฟ้า โดยในช่วงกลางวันใช้แผงโซล่าเซลล์เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จากนั้นส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ แล้วจึงนำไฟฟ้ามาใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในอาคาร ส่วนในเวลากลางคืนสลับมาใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าแทน ระบบนี้เหมาะสำหรับสถานที่ที่มีการใช้งานไฟฟ้าจำนวนมากในช่วงกลางวัน เช่น บ้านเรือนทั่วไป ออฟฟิศ สถานศึกษา เป็นต้น
  • โซล่าเซลล์ระบบออฟกริด (Off Grid) เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่มีอิสระ สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าเซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสตรงเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าได้โดยตรง โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้า มีการสำรองไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน ระบบนี้จึงเหมาะกับสถานประกอบการที่ต้องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องหรือสถานที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ในยามจำเป็น
  • โซล่าเซลล์ระบบไฮบริด (Hybrid) เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ประยุกต์จากระบบ On Grid และ Off Grid มารวมกัน ทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าโดยตรงได้ทั้งจากแผงโซล่าเซลล์ จากแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้า และจากระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้ ทำให้มีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง ระบบนี้จึงเหมาะกับสถานที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง รวมไปถึงสถานที่ที่มีปัญหาไฟตกบ่อย ๆ ด้วย

2. เลือกผู้ให้บริการรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

แน่นอนว่าแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งจะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ด้วย เทคนิคในการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งสามารถดูได้ดังนี้

ให้บริการแบบครบวงจร

ขั้นตอนการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มีหลายขั้นตอนมาก ทั้งการสำรวจบริเวณรอบๆ การคำนวณพื้นที่ การเขียนแบบวางแผนการติดตั้งที่ต้องได้รับการรับรองจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ การเดินเอกสารขออนุญาตติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ รวมถึงยังต้องเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการติดตั้งอีก เพื่อลดปัญหาความยุ่งยากเหล่านี้ ควรเลือกบริษัทรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่ให้บริการแบบครบวงจร จะช่วยให้ขั้นตอนต่าง ๆ ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว

เลือกผู้เชี่ยวชาญด้านโซล่าเซลล์

แม้ว่าในปัจจุบันเราสามารถหาข้อมูลเรื่องการติดตั้งโซล่าเซลล์ด้วยตัวเองได้ แต่ทางที่ดีควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโซล่าเซลล์เป็นผู้ติดตั้งให้จะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากจะสามารถให้คำปรึกษา คำแนะนำ และตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานโซล่าเซลล์ได้ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญสามารถเลือกเครื่องมือและอุปกรณ์ติดตั้งที่มีคุณภาพตามเกณฑ์กำหนดได้อย่างถูกต้อง ทำให้มั่นใจได้ว่าปลอดภัยแน่นอน

ให้บริการหลังการขาย พร้อมการรับประกัน

เพราะการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้นมีราคาสูง จึงควรเลือกบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ให้บริการหลังการขายและมีการรับประกันสินค้า พร้อมศึกษาเงื่อนไขการบริการหลังการขายอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดปัญหาในการใช้งาน บริษัทที่ติดตั้งจะสามารถมาติดตาม ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพราะการแก้ไขปัญหาที่ล่าช้า อาจนำไปสู่ความเสียหายหรือทำให้เสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากได้

3. ทำเรื่องขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

ขั้นตอนสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้ คือ การขออนุญาตติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เหตุผลที่ต้องทำเรื่องขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ แม้ว่าจะติดตั้งในบ้านของตนเองก็ตาม เนื่องจากการติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องใช้ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า จึงต้องยื่นขออนุญาตและมีการรับรองจากวิศวกรไฟฟ้า เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลังและเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน โดยวิธีการขออนุญาตนั้น ต้องยื่นขอกับหน่วยงานรัฐ 3 หน่วยงาน มีเอกสารต่างๆ ที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • หน่วยงานส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาลท้องถิ่น อบต. ให้ทำการยื่นเรื่องขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร โดยเตรียมเอกสารดังนี้
    • แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ( ข.1 ) 
    • เอกสารแบบแปลนที่แสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
    • เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบ 
  • คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หลังจากได้รับอนุญาตจากหน่วยงานท้องถิ่นแล้ว ให้ทำการขออนุญาตประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต ณ สำนักงาน กกพ. หรือลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.erc.or.th พร้อมด้วยเอกสารดังนี้
    • สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานท้องถิ่น
    • รูปถ่ายการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
    • เอกสาร Single Line Diagram ที่มีวิศวกรไฟฟ้าลงชื่อรับรอง
    • เอกสารแบบแปลนที่แสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
    • เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบ 
  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หลังจากได้รับหนังสืออนุญาตจาก กกพ. แล้ว ให้แจ้งการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่ในการติดตั้ง ให้เข้ามาตรวจสอบระบบและการเชื่อมต่อของโซล่าเซลล์ และชำระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้าได้กำหนดไว้ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
    • แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร ( ข.1 ) 
    • เอกสารแบบแปลนที่แสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
    • เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบ 

ทั้งนี้ เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาตติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาคารและลักษณะการติดตั้ง ดังนั้นเพื่อลดภาระในการเดินเรื่องเอกสาร ควรเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่มีความเชี่ยวชาญ จะสามารถช่วยประหยัดเวลาและลดความวุ่นวายในการดำเนินเรื่องขออนุญาตได้

4. การดูแลแผงโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์ก็เหมือนกับข้าวของเครื่องใช้ในบ้านอื่น ๆ ที่ต้องให้ความใส่ใจในการดูแลรักษา เพราะแผงโซล่าเซลล์คืออุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าที่ต้องเผชิญทั้งแสงแดด ลม ฝน ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา หากคราบสกปรกสะสมอยู่ที่แผงโซล่าเซลล์มาก ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าลดลง ดังนั้นหากพบว่าแผงโซล่าเซลล์เต็มไปด้วยสิ่งสกปรก ก็สามารถทำความสะอาดได้โดยการใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสบู่อ่อนหรือใช้แปรงขนนุ่มชุบน้ำเปล่า ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ให้สะอาดเหมือนใหม่ได้ นอกจากนั้นควรหมั่นดูแลและตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำ หากมีการชำรุดหรือเกิดความเสียหายบนแผงโซล่าเซลล์ จะได้แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

สรุป

ประโยชน์ของโซล่าเซลล์นั้นมีมากมาย เพราะสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดมาใช้ได้ไม่จำกัด ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง เป็นการประหยัดค่าไฟฟ้า หมดกังวลเรื่องไฟฟ้าดับ และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด จึงไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นตัวการทำร้ายโลกได้ 

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะดีหรือคุ้มค่าหรือไม่นั้น ควรศึกษาวิธีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อย่างละเอียด รวมไปถึงเลือกผู้ให้บริการติดตั้งที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างที่ Sorarus มีทีมงานและวิศวกรที่มากด้วยประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษา ติดตั้ง และบริการซ่อมบำรุงแผงโซล่าเซลล์อย่างครบวงจร เพื่อให้คุณได้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าการลงทุน มั่นใจได้ว่าปลอดภัย

Cover

Power Purchase Agreement การขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าคืออะไร?

ในปัจจุบันอุปกรณ์สร้างพลังงานทดแทนบางประเภทมีราคาที่ถูกลง จนประชาชน คนทั่วไป หรือเอกชนสามารถติดตั้งและผลิตไฟฟ้าใช้งานได้เอง แต่ในบางครั้งไฟฟ้าที่ผลิตออกมาอาจมีมากเกินกว่าที่ใช้ ทำให้การทำข้อตกลง Power Purchase Agreement (PPA) คือ วิธีที่เกิดขึ้น เพื่อจัดการกับพลังงานส่วนเกินนี้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถขายไฟให้การไฟฟ้าได้นั่นเอง

ppa คือ

Power Purchase Agreement คืออะไร?

Power Purchase Agreement (PPA) คือ เอกสารสัญญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า (Power generator) กับผู้ซื้อพลังงานไฟฟ้า (Power purchaser) โดยในสัญญานี้ระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขการจัดซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างสองฝ่าย รวมถึงราคาซื้อขาย ระยะเวลาของสัญญา การส่งมอบพลังงานไฟฟ้า การรับประกันคุณภาพของพลังงานไฟฟ้า การแก้ไขข้อผิดพลาดและการชดเชย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เป็นต้น

สัญญา PPA มักถูกใช้ในการสร้างโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล เพื่อให้ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า สามารถขายพลังงานไฟฟ้าให้กับผู้ซื้อพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงในการรับรู้กำไรและลดความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วย

PPA vs Private PPA ต่างกันอย่างไร?

PPA (Power Purchase Agreement) คือ ข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าขึ้นมาใช้เอง เช่น ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจที่มีพลังงานหมุนเวียนและสามารถผลิตไฟฟ้าได้ และธุรกิจที่ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในภาคธุรกิจหรือการใช้งานในครัวเรือน

ส่วน Private PPA เป็นข้อตกลงการซื้อขายพลังงานหมุนเวียนระหว่างเอกชนกับเอกชน โดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาดหรือบริษัทที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์พร้อมสัญญา เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ที่สนใจ โดยไม่ต้องไปติดต่อกับทางภาครัฐเอง

power purchase agreement คือ

PPA ในไทย ครอบคลุมถึงพลังงานแบบไหนบ้าง?

ในปัจจุบันการใช้พลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญอย่างมาก ในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในธุรกิจต่างๆ ในไทย การทำ PPA (Power Purchase Agreement) คือวิธีหนึ่งที่ดีในการต่อยอดธุรกิจและช่วยลดการใช้พลังงานที่มาจากแหล่งพลังงานที่เป็นแหล่งหมุนเวียน ดังนั้น PPA ในไทยจึงครอบคลุมถึงพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ได้แก่

  • พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่มีอยู่มากมายในธรรมชาติ สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) โดยที่โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์และระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำมีอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ รวมไปถึงสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อสาธิตและศึกษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์อีกด้วย
  • พลังงานลม เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิและความกดอากาศ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ทำให้อากาศเคลื่อนที่ และนำพลังงานลมมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยใช้เทคโนโลยีกังหันลม เมื่อลมพัดมาปะทะกับใบพัดของกังหันลม จะทำให้เกิดการเปลี่ยนพลังงานลมเป็นพลังงานกลและนำพลังงานกลนี้ไปใช้งานได้ทันที ระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานลม ในปัจจุบันมีตั้งอยู่หลายที่ในประเทศ เช่น กังหันลมผลิตไฟฟ้าที่แหลมพรหมเทพ ภูเก็ตและกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่อ่างพักน้ำตอนบน โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา นครราชสีมา
  • พลังงานความร้อนใต้พิภพ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหิน น้ำฝนที่ไหลลงไปใต้ดินจึงได้รับความร้อนจากชั้นหิน สะสมเป็นน้ำร้อนหรือไอน้ำร้อน น้ำร้อนนี้สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ โดยการถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลวหรือสารทำงานที่มีจุดเดือดต่ำ จนกระทั่งเป็นไอ แล้วนำไอนี้ไปหมุนกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป ปรากฏในรูปของบ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน ไอน้ำร้อน บ่อโคลนเดือดและแก๊ส เป็นต้น
  • พลังงานชีวมวล (Biomass) เก็บเกี่ยวจากเศษซากพืชหรือวัสดุเหลือใช้จากเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น มูลสัตว์ ไม้โตเร็ว ฟางข้าว กาบและกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยมีวิธีการผลิตเป็น 2 ประเภท คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลโดยตรง (Direct Combustion) และกระบวนการเคมีความร้อนเพื่อสร้างก๊าซชีวภาพ (Thermochemical Conversion) เช่น การหมักกากมันสำปะหลังหรือน้ำเสียจากอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (Biogas Power Plant)

ข้อดีของการใช้พลังงานสะอาดและข้อตกลง ppa

ข้อดีของการใช้พลังงานสะอาดและข้อตกลง PPA

การใช้พลังงานสะอาดเป็นวิธีการที่เมื่อผนวกเข้ากับข้อตกลง PPA แล้วมีข้อดีอยู่หลายด้าน เช่น 

  • ช่วยชะลอภาวะโลกร้อน การหันมาใช้พลังงานสะอาดในการผลิตไฟฟ้าจะช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และการใช้เชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงานสิ้นเปลืองให้น้อยลง ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสุขภาพที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัยโดยรอบได้มากขึ้นอีกด้วย
  • ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย การทำสัญญา PPA มีหลักการคิดค่าไฟฟ้าแบบเฉลี่ยคงที่ (Flat Rate) จึงช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก การใช้พลังงานแสงอาทิตย์และการทำข้อตกลง PPA กับภาครัฐให้ชัดเจน ยังช่วยให้มีการกำหนดและลดงบประมาณต่อปีได้มหาศาล โดยการทำ PPA จะช่วยลดความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของราคาเชื้อเพลิงด้วย
  • นำพลังงานหมุนเวียนเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ การใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า ไม่เพียงช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์แต่ยังช่วยนำพลังงานที่เหลือใช้จากการผลิตธุรกิจหรืออุตสาหกรรมมาใช้ประโยชน์ ซึ่งถ้าไม่นำมาใช้ต้องมีการจ่ายเงินเพิ่มเติมในการจัดการหรือกำจัดพลังงานเหลือใช้ จึงไม่เพียงช่วยลดค่าใช้จ่ายแต่ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจด้วย
  • กระจายอำนาจการผลิตและป้องกันความเสี่ยง การใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า เป็นการกระจายอำนาจการผลิตไฟฟ้าออกไปให้กับบุคคลหรือธุรกิจที่ต้องการใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีภัยพิบัติหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลให้ภาครัฐไม่สามารถจัดหาไฟฟ้าได้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนหรือธุรกิจได้

ความสำคัญของข้อตกลง ppa

ทำไมการทำข้อตกลง PPA จึงมีความสำคัญกับผู้ที่ต้องการผลิตไฟฟ้าเอง

เรื่องการผลิตพลังงานไฟฟ้าเองกลายเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากมีความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นและสภาพแวดล้อมที่ก้าวหน้าขึ้น แต่การผลิตพลังงานไฟฟ้าเองมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ต้นทุนการลงทุนในอุปกรณ์และเทคโนโลยีสูง การบำบัดและจัดการกับขยะอุตสาหกรรม และการจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเอง

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกที่ทำให้การทำข้อตกลง PPA (Power Purchase Agreement) คือสิ่งสำคัญที่ผู้ต้องการผลิตไฟฟ้าเองควรพิจารณา เพราะ PPA เป็นสัญญาที่ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเองทำกับผู้ซื้อพลังงานไฟฟ้า ในที่นี้คือผู้ใช้ไฟฟ้า เพื่อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น โดยมีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับอัตราการชำระเงินและระยะเวลาของสัญญา ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและประหยัดต้นทุนในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเองได้

นอกจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลังงานไฟฟ้าเองที่ได้กล่าวมาแล้ว การทำข้อตกลง PPA ยังช่วยแก้ไขปัญหาอื่นๆ ด้วย อย่างการจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเองอาจไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้า ถ้าผู้ผลิตไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงใกล้เคียง แล้วต้องนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า การนำเข้าแหล่งเชื้อเพลิงนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายสูงและเป็นกังวลเกี่ยวกับการหมดไปของแหล่งเชื้อเพลิงในอนาคต

เนื่องจากการทำข้อตกลง PPA เป็นการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีอัตราการชำระเงินและระยะเวลาของสัญญาที่ถูกกำหนดไว้ การทำข้อตกลง PPA จึงช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเอง โดยลดความเสี่ยงในด้านการขาดแรงจูงใจในการผลิตพลังงานไฟฟ้า การเสียเงินจากค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์และเทคโนโลยี

ทำความรู้จัก! Solar PPA ที่หลายคนให้ความสนใจ

Solar PPA หรือ Solar Power Purchase Agreement คือ การเช่าพื้นที่บนหลังคาของเจ้าของสถานที่กับผู้ให้บริการ Solar ซึ่งจะติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา มีหน้าที่ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อจำหน่ายไปยังเจ้าของสถานที่ในราคาต่ำ โดย Solar PPA ก็มีข้อดีมากมาย เช่น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงาน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยป้องกันการเสียหายจากภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น อุทกภัยและไฟป่า และช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากการใช้พลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โดยในปัจจุบันนี้เรามีหลายทางเลือกในการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานน้ำหรือกังหันลม แต่หากเทียบกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่มาจาก Solar PPA นั้นมีข้อดีบางอย่างที่ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์น่าสนใจมากกว่า เช่น

  • ราคาถูกกว่า พลังงานแสงอาทิตย์มีราคาถูกกว่าพลังงานน้ำหรือกังหันลม ซึ่งทำให้การใช้ Solar PPA เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากกว่าในการลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงาน
  • ติดตั้งง่าย การติดตั้ง Solar PPA ไม่จำเป็นต้องมีการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่เหมือนกับการใช้พลังงานน้ำหรือกังหันลม ทำให้การติดตั้งง่ายและรวดเร็วขึ้น

จึงไม่แปลกเลยที่ Solar PPA จะเป็นที่สนใจมากกว่าทางเลือกอื่น ๆ

การขายพลังงานไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า

รวมสิ่งที่ต้องรู้ในการขายพลังงานไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า

หากมีการติดตั้งโซลาเซลล์หรือผลิตพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เองจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าลงไปได้ โดยหากยังมีพลังงานเหลือจากการใช้งานยังสามารถนำไปขายได้อีกด้วย โดยผู้ที่สนใจจะขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA) ก็ควรจะรู้สิ่งเหล่านี้ไว้ด้วย ได้แก่

  • ราคาที่ PEA รับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจะอยู่ที่ 2.2 บาท/หน่วย (kWh) ระยะเวลา 10 ปี
  • ผู้ยื่นขอขายไฟฟ้าจะเป็นผู้ลงทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เองทั้งหมด
  • PEA จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบ ภายหลังได้รับการพิจารณา ในราคา 2,000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

นอกเหนือจากนั้นแล้ว ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาควรรู้เงื่อนไขต่อไปนี้ด้วย

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการยื่น

ผู้ที่ต้องการยื่นขายไฟให้การไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 บ้านอยู่อาศัยกับ PEA ดูได้จากใบแจ้งค่าไฟฟ้า PEA และตัวเลขแรกคือประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า เช่น 1125
  • ยังคงสถานะใช้ไฟฟ้า (ไม่ถูกตัดมิเตอร์)
  • ชื่อผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าต้องตรงกับชื่อในใบแจ้งค่าไฟฟ้า
  • ที่อยู่บิลค่าไฟฟ้าต้องตรงกับบ้านเลขที่ตามทะเบียนบ้านที่เป็นปัจจุบัน
  • ระดับแรงดันที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 10 kW
  • รูปแบบไฟฟ้าแรงดันต่ำกว่า 400 V

 เตรียมข้อมูล และเอกสาร

การขายไฟให้การไฟฟ้าก็ต้องเตรียมข้อมูล ดังนี้

  • บิลค่าไฟฟ้าหรือหลักฐานการเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน (บิลค่าไฟฟ้าไม่ควรเกิน 3 เดือน) สอดคล้องกับข้อมูลผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการและผู้ใช้ไฟฟ้า 
  • ข้อมูลชื่อ-นามสกุล
  • ข้อมูลเลขที่บ้านที่ติดตั้ง
  • ข้อมูลประเภทใช้ไฟฟ้า

หากข้อมูลดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ต้องติดต่อสำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่ใช้ไฟฟ้า ตามที่ปรากฏในบิลค่าไฟฟ้า เพื่อขอแก้ไขข้อมูลให้เสร็จสิ้น ก่อนเข้าร่วมโครงการ

ซึ่งการขายไฟให้การไฟฟ้าก็ต้องตรียมเอกสาร ดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการพร้อมกับรับรองสำเนาถูกต้อง ที่เป็นเจ้าของเครื่องวัดไฟฟ้า
  • สำเนาใบแจ้งค่าไฟฟ้าของบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ หรือหลักฐานแสดงหมายเลขเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า
  • สำเนาแบบ ภ.พ01 หรือ แบบ ภ.พ20 (ถ้ามี)
  • รูปถ่ายบ้านที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ตั้งของที่อยู่อาศัยที่จะติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์
  • แนบบิลค่าไฟฟ้าในรอบเดือนล่าสุดหรือไม่ควรย้อนหลังเกิน 3 เดือน พร้อมทั้งภาพถ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า
  • เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
  • หนังสือมอบอำนาจให้ผู้มายื่นแบบคำขอแทน (ในกรณีที่มอบอำนาจให้ยืนแบบคำขอขายไฟฟ้าแทน)

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่มอบอำนาจให้ยืนแบบคำขอขายไฟฟ้าแทน)

เตรียมค่าใช้จ่าย

การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ผู้ติดตั้งต้องออกค่าใช้จ่ายเองกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยค่าดำเนินการไม่รวมภาษี อยู่ที่ 2,000 บาท รวมกับภาษี 7.00% มูลค่า 140 บาท เป็นค่าดำเนินการรวมภาษีทั้งหมด 2,140 บาท

ขั้นตอนการขออนุญาต

การขายไฟให้การไฟฟ้ามีขั้นตอน ดังนี้

  1. ลงทะเบียนใช้งาน (Log in) ในระบบ PPIM
  2. กรณีเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเป็นผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเอง ให้เลือกหมายเลข CA ที่ประสงค์จะขอยื่นผลิตไฟฟ้า พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดตามแบบคำขอและอัปโหลดเอกสารรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายแบบคำขอขายไฟฟ้า
  3. กรณีเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าไม่ได้เป็นผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเอง  ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจกรอกหมายเลข CA และรายละเอียดตามแบบคำขอขายไฟฟ้า พร้อมทั้งอัปโหลดเอกสารรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายแบบคำขอขายไฟฟ้า
  4. จะมี E-mail แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าทราบ
  5. PEA จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกในระบบ PPIM ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ยื่นคำขอขายไฟฟ้า
  6. ผู้ผ่านการคัดเลือกชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าและจัดส่งต้นฉบับแบบคำขอขายไฟฟ้าพร้อมเอกสารประกอบแบบคำขอ รายการเอกสารประกอบการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และสำเนาใบเสร็จค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ ภายใน 30 วับ นับจากวันประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก หากพ้นกำหนดถือว่าคำขอขายไฟฟ้าเป็นอันยกเลิก
  7. นามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ภายใน 270 วัน นับจากวันที่ทำสัญญาฯ
  8. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากตรวจสอบ ติดตั้งระบบให้เป็นไปตามที่ยื่นไว้ และขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ
  9. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
  10. PEA เข้าตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า เปลี่ยนมิเตอร์ และทดสอบวันเชื่อมต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าครั้งแรก (First Synchronization)
  11. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ไม่เกินวัน SCOD ตามข้อ 7

สรุป

PPA (Power Purchase Agreement) คือ ข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าขึ้นมาใช้เอง นอกจากจะให้ประโยชน์ในด้านการลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังอาจเป็นรายได้เสริมเพิ่มให้กับเอกชนอีกด้วย โดยที่การซื้อขายที่นิยมก็จะอยู่ในรูปของ Solar PPA ที่จะใช้การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าขึ้นมา 

ซึ่งในประเทศไทยเองก็จะมีโครงการที่ประชาชนสามารถขายไฟให้กับการไฟฟ้าผ่านโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งหากใครสนใจการติดตั้งพลังงานทดแทนเหล่านี้ ทาง Sorarus เองเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดีในการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมอย่างครบวงจร ในการประหยัดพลังงาน

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด