5 เทคโนโลยีด้านพลังงานในอนาคตน่าจับตามอง เพื่อโลกที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น

 

Key Takeaway

  • เทคโนโลยีด้านพลังงาน คือกระบวนให้ได้มาซึ่งพลังงานสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การจัดเก็บ เพื่อนำพลังงานเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
  • เทคโนโลยีพลังงาน มีด้วยกันหลักๆ 3 ชนิด ได้แก่ เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีพลังงานไม่หมุนเวียน และเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า
  • สำหรับภาคครัวเรือนที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการรักษ์โลก อยากหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ติดต่อ Sorarus เพื่อปรึกษาติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านของคุณ

 

ในปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเริ่มเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะได้พลังงานสะอาดแล้ว ยังช่วยลดมลพิษที่ทำร้ายโลกได้อีกด้วย บทความนี้จะพาไปทำความรู้จัก เทคโนโลยีด้านพลังงาน ว่าคืออะไร มีกี่ชนิด พร้อมแนะนำเทรนด์เทคโนโลยีพลังงานในอนาคตที่น่าจับตามอง จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

 

เทคโนโลยีด้านพลังงาน กับทางเลือกที่หลากหลาย

เทคโนโลยีด้านพลังงาน กับทางเลือกที่หลากหลาย

เทคโนโลยีด้านพลังงาน คือกระบวนให้ได้มาซึ่งพลังงานสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การจัดเก็บ เพื่อนำพลังงานเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในแง่ของครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยตัวเลือกเทคโนโลยีด้านพลังงานในชีวิตประจำวันมีการพัฒนาเพื่อเสาะหาแหล่งพลังงานทางเลือกที่หลากหลายให้เป็นตัวเลือกสำหรับการผลิตพลังงานได้อย่างยั่งยืน ส่งผลกระทบต่อโลก สิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตให้น้อยที่สุด รวมถึงเพื่อให้ได้ใช้พลังงานได้อย่างปลอดภัยด้วยเช่นกัน

 

เทคโนโลยีพลังงาน มีกี่ชนิด

ในปัจจุบัน ความต้องการใช้พลังงานมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพลังงานไฟฟ้า ทำให้มีการพัฒนาเพื่อคิดค้นเทคโนโลยีด้านพลังงานทางเลือก สำหรับตอบสนองความต้องการใช้พลังงานดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น โดยวิธีการต่างๆ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามแหล่งพลังงาน รูปแบบการแปรรูปพลังงาน รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Technology) คือการจัดหาพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สามารถนำพลังงานเหล่านั้นมาใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ ไม่จบสิ้น เป็นแหล่งพลังงานยั่งยืนที่น่าจับตามองในอนาคต เพราะมุ่งเน้นไปที่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตให้น้อยที่สุด

ตัวอย่างของเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนในชีวิตประจำวัน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ เป็นต้น

  • เทคโนโลยีพลังงานไม่หมุนเวียน (Non-renewable Energy Technology) คือการจัดหาพลังงานจากแหล่งไม่หมุนเวียน โดยพลังงานลักษณะนี้จะเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

ตัวอย่างของเทคโนโลยีพลังงานไม่หมุนเวียนในชีวิตประจำวัน ได้แก่ พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ พลังงานจากถ่านหิน พลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น

  • เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า (Electricity Technology) คือพลังงานที่ได้จากการแปรรูปทั้งพลังงานหมุนเวียน และพลังงานไม่หมุนเวียน เพื่อนำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จากนั้นจะแจกจ่ายพลังงานเหล่านี้ออกไปยังแหล่งต่างๆ ผ่านระบบสายส่งไฟแรงสูงและเสาไฟฟ้า

หลังจากที่ได้พลังงานจากเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าแล้ว จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ไฟฟ้า EV เป็นต้น

 

รวม 5 เทรนด์เทคโนโลยีพลังงานในอนาคตที่น่าจับตามอง

รวม 5 เทรนด์เทคโนโลยีพลังงานในอนาคตที่น่าจับตามอง

เทคโนโลยีพลังงานในอนาคต มีแนวโน้มที่จะหันไปใช้พลังงานไม่หมุนเวียน เพราะเป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม ช่วยลดโลกร้อน พร้อมลดมลพิษทางอากาศจากการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความนี้ยังได้รวบรวมเอา 5 เทรนด์เทคโนโลยีพลังงานในอนาคตที่น่าจับตามอง มาไว้ให้ด้วย จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

 

พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ (Solar Energy)

1. พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ (Solar Energy) 

พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ (Solar Energy) คือหนึ่งในเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน มีการแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้ออกมาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง โดยรับเอาแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel) จากนั้นแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าผ่านสารตัวกึ่งนำ เพื่อผลิตเป็นไฟฟ้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน 

สาเหตุที่ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์เป็นเทคโนโลยีด้านลพลังงานทางเลือกที่สำคัญในอนาคต เพราะเป็นการผลิตไฟฟ้าให้ใช้ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องส่งพลังงานผ่านเสาไฟฟ้าและยังไม่มีการเผาไหม้จากการผลิตไฟฟ้า ช่วยแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศได้ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ทั้งยังเป็นพลังงานหมุนเวียนที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่มีวันหมดไปนั่นเอง

ข้อดี

  • พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติที่ไม่มีวันหมดไป ที่ไม่เพียงแต่เป็นพลังงานสะอาด แต่ยังเป็นพลังงานที่มีราคาถูก นำมาผลิตไฟฟ้าได้ง่ายอีกด้วย
  • พลังงานแสงอาทิตย์มีมากมาย ไม่จำกัด เพราะแสงอาทิตย์มีทุกวันอยู่แล้ว 
  • สามารถกักเก็บพลังงานไว้ใช้ตอนกลางคืนได้ ผ่านระบบกักเก็บแบตเตอรี่
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาน้อย
  • ใช้งานในครัวเรือนได้ เพราะโซลาร์เซลล์เข้าถึงง่าย
  • ติดตั้งบนหลังคาบ้านได้ทันที ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ

ข้อจำกัด

  • พลังงานอาจไม่เพียงพอในบางวันที่ไม่มีแดด แต่หากมีการติดตั้งระบบกักเก็บแบตเตอรี่ก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
  • มีอายุการใช้งานที่จำกัด ต้องเปลี่ยนแผงโซลาร์เซลล์ทุก 25 ปี

 

พลังงานลมจากกังหันลม (Wind Energy)

2. พลังงานลมจากกังหันลม (Wind Energy)

พลังงานลมจากกังหันลม (Wind Energy) เป็นอีกหนึ่งในเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน ที่เปลี่ยนการหมุนของกังหันลมให้กลายมาเป็นกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยกังหันลมขนาดเล็กสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในครัวเรือนได้ถึงหนึ่งหลัง

กังหันลมมักจะถูกติดตั้งบริเวณใกล้ชายฝั่ง เพราะมีลมแรงเหมาะสำหรับการผลิตไฟฟ้าได้ทั้งวัน จากนั้นจึงจะนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าหรือกักเก็บพลังงานเพื่อนำไปใช้ในอนาคตได้ อีกทั้ง พลังงานลมเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีวันหมดเหมือนกันกับพลังงานแสงอาทิตย์ เทคโนโลยีพลังงานลมจากกังหันลมจึงเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจในยุคปัจจุบันและน่าจับตามองในอนาคต

ข้อดี

  • พลังงานลม เป็นพลังงานสะอาด และหมุนเวียนได้อย่างไม่มีวันหมด
  • ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า
  • พลังงานลมมีการเติบโตขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดการสร้างงานให้กับคนในพื้นที่
  • มีค่าใช้จ่ายในการผลิตพลังงาน รวมถึงค่าบำรุงรักษากังหันลมที่ต่ำ
  • ที่ดินสำหรับกังหันลมใช้ร่วมกับการทำเกษตรกรรมได้

ข้อจำกัด

  • ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและความแรงลม
  • สร้างมลพิษทางเสียงและบดบังวิสัยทัศน์การมองเห็น
  • ใบพัดแรงและคม อาจทำร้ายสัตว์และสิ่งมีชีวิตบริเวณนั้น และรบกวนสิ่งมีชีวิตโดยรอบได้
  • จำเป็นต้องมีตัวกลางในการจ่ายพลังงาน การจ่ายไฟฟ้าอาจไม่ทั่วถึงทุกครัวเรือนได้

 

พลังงานน้ำจากเขื่อน (Hydro Energy)

3. พลังงานน้ำจากเขื่อน (Hydro Energy)

พลังงานน้ำจากเขื่อน (Hydro Energy) คือเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่สร้างพลังงานโดยอาศัยพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ของน้ำในเขื่อน โดยน้ำที่ถูกเก็บไว้ในที่สูงจะไหลผ่านท่อสู่กังหันน้ำ เมื่อกังหันน้ำหมุนก็จะสร้างพลังงานไฟฟ้าออกมาได้

สาเหตุที่เทคโนโลยีพลังงานน้ำจากเขื่อน เป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองในอนาคต เพราะว่าน้ำในเขื่อนก็ยังอยู่และไหลได้เท่าเดิม ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าออกมาได้เรื่อยๆ อย่างไม่มีวันหมด แม้การสร้างเขื่อนจะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็นับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ได้

ข้อดี

  • คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง
  • ค่าบำรุงรักษาเขื่อนมีราคาต่ำ
  • เขื่อนสามารถใช้ร่วมกับการชลประทานได้ เป็นแหล่งน้ำจืดให้กับพื้นที่โดยรอบได้อย่างดี
  • ไม่สร้างมลพิษ ไม่เป็นอันตรายต่ออากาศและน้ำโดยรอบ

ข้อจำกัด

  • ในช่วงสร้างเขื่อน อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการรุกรานที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตโดยรอบ
  • ต้องอาศัยน้ำจากธรรมชาติอย่างน้ำฝน
  • หากเกิดภัยแล้ง การผลิตไฟฟ้าอาจติดขัดได้
  • มีราคาต้นทุนที่สูง

 

พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy)

4. พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy)

พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy) คืออีกหนึ่งแหล่งเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน ผลิตไฟฟ้าจากการดึงความร้อนจากเหมืองทั้งในรูปแบบน้ำ และรูปแบบไอน้ำที่มีแรงดันสูง โดยใช้แรงดันเหล่านั้นเป็นตัวขับเคลื่อนกังหันผลิตพลังงานไฟฟ้าให้หมุนและผลิตไฟฟ้าส่งออกสู่ครัวเรือน

นอกจากนี้ แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานความร้อนได้อีกด้วย ดังนี้

  • แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่มีไอน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก (Steam Dominated) คือแหล่งพลังงานที่อาศัยแรงดันไอน้ำสำหรับหมุนกังหันพลังงานไฟฟ้าโดยตรง
  • แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่มีน้ำร้อนเป็นองค์ประกอบหลัก (Hot Water Dominated) คือแหล่งพลังงานที่เน้นไปที่การใช้น้ำร้อนใต้พื้นดิน เช่นบ่อน้ำพุร้อน โดยจะใช้น้ำเป็นตัวขับเคลื่อนกังหันพลังงานไฟฟ้า
  • แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพหินร้อนแห้ง (Hot Dry Rock) คือแหล่งพลังงานที่ใช้หินแห้งความร้อนสูงใต้พื้นดิน ที่เมื่อฉีดอัดน้ำลงไปในหินเหล่านั้นก็จะได้น้ำร้อนออกมา จากนั้นจึงสูบน้ำร้อนที่ได้มาเป็นตัวขับเคลื่อนกังหันพลังงานไฟฟ้า

แม้กระบวนการผลิตไฟฟ้าจะเกี่ยวกับความร้อน จนดูเหมือนเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน แต่ในความเป็นจริงแล้วกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากเทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพนั้นปล่อยมลพิษทางอากาศที่ต่ำมาก และยังเป็นแหล่งพลังงานที่มีความเสถียรสูง จึงทำให้กลายมาเป็นเทรนด์เทคโนโลยีพลังงานในอนาคตที่น่าจับตามองได้เช่นกัน

ข้อดี

  • เป็นแหล่งพลังงานที่มีความน่าเชื่อถือ คาดเดาได้
  • โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพมีขนาดเล็ก ไม่กินพื้นที่
  • เหมืองมีอายุยืนยาว 20-50 ปี

ข้อจำกัด

  • เพิ่มโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กจากการฉีดน้ำแรงดันสูงลงหลุมใต้พื้นโลก
  • เพิ่มโอกาสทรุดตัวของแผ่นดินจากการดึงน้ำใต้พิภพมาใช้
  • ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของน้ำใต้พิภพจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า
  • บริเวณที่มีความร้อนเพียงพอสำหรับผลิตไฟฟ้ามีแค่บางพื้นที่เท่านั้น
  • ใช้ทุนในการสร้างเหมืองสูง

 

ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen)

5. ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen)

ไม่เพียงแต่การผลิตไฟฟ้าเท่านั้นที่เริ่มหันมาใช้งานพลังงานหมุนเวียน เพราะในวงการคมนาคมเองก็กำลังเฟ้นหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน โดยเทรนด์เทคโนโลยีพลังงานในอนาคตสำหรับการคมนาคมที่น่าจับตามองก็คือไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen)

ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) คือเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนแบบปราศจากคาร์บอน ใช้ในอุตสาหกรรมการเดินทาง เป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์รูปแบบใหม่ที่นอกเหนือจากน้ำมันและแก๊ส เป็นเชื้อเพลิงที่แทบจะปราศจากการปล่อยคาร์บอน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ และน่าจับตามองในอนาคตเป็นอย่างมาก

ข้อดี

  • เป็นพลังงานที่เข้าถึงง่าย
  • กระบวนการสร้างพลังงานไม่ก่อให้เกิดเป็นมลพิษทางอากาศ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • เป็นแหล่งพลังงานที่มีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ดีกว่าพลังงานเชื้อเพลิงและแก๊ส
  • สามารถหมุนเวียน นำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ

ข้อจำกัด

  • ปัจจุบันยังมีราคาต้นทุนสูงเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานอื่นๆ
  • จัดเก็บและขนส่งได้ยาก
  • วัตถุไวไฟ ต้องมีการเก็บรักษาอย่างดี
  • ต้องผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนผ่านเชื้อเพลิงฟอสซิล

 

สรุป

เทคโนโลยีพลังงาน คือกระบวนการผลิตพลังงานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเทรนด์เทคโนโลยีพลังงานที่น่าจับตามองในอนาคต ส่วนมากจะมุ่งเน้นไปที่พลังงานแบบหมุนเวียน เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น

  • พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ (Solar Energy)
  • พลังงานลมจากกังหันลม (Wind Energy)
  • พลังงานน้ำจากเขื่อน (Hydro Energy)
  • พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy)
  • ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen)

โดยเทคโนโลยีพลังงานเหล่านี้ยังมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ทั้งยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเพื่อประสิทธิภาพที่สูงสุดอีกด้วย ไม่แน่ว่าในอนาคตข้างหน้า หากเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีพลังงานเหล่านี้แล้วจะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนที่กำลังวิกฤติอยู่ในขณะนี้ก็ได้

สำหรับภาคครัวเรือนที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการรักษ์โลก อยากหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ติดต่อ Sorarus เพื่อปรึกษาติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านของคุณ เพราะที่นี่เป็นผู้นำด้านบริการประหยัดพลังงานความร้อนครบวงจร มั่นใจได้ว่าโวลาร์เซลล์ที่ติดตั้งจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคงทนอย่างแน่นอน

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด