สรุปขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ควรรู้ไว้ก่อนติดตั้ง

การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนลงมือติดตั้งโซลาร์เซลล์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง แต่เหตุผลว่าทำไมต้องทำการขออนุญาตและจะทำการขออนุญาตได้อย่างไร ในบทความนี้มีคำตอบ

 

ทำไมต้องขออนุญาตก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์

 

ทำไมต้องขออนุญาตก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์

การขออนุญาตก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าจะการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน (Solar Rooftop) หรือการทำโซล่าฟาร์ม (Solar farm) โดยวัตถุประสงค์ของ การขออนุญาตสำหรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ คือ เพื่อความปลอดภัย และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างใช้งานโซลาร์เซลล์ในภายหลัง แต่การขออนุญาตสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้งาน จะต้องมีการขออนุญาตเฉพาะกับระบบโซลาร์เซลล์ ที่ต้องทำงานคู่กันระบบการไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งจะหมายถึงระบบโซลาร์เซลล์แบบออนกริด (On Grid) และระบบไฮบริด (Hybrid) ที่ใช้งานระบบออนกริดและออฟกริดควบคู่กัน แต่การขออนุญาตสำหรับระบบไฮบริด จะมีการขออนุญาตเป็นบางรุ่นเท่านั้น

หากมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ทำงานคู่กับระบบไฟฟ้า แล้วไม่มีการขอนุญาตก่อนการติดตั้ง หรือแจ้งสามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะทำให้เกิดปัญหาในภายหลังได้ เพราะกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ กระแสไฟฟ้าเหล่านี้ จะไหลเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า ส่งผลให้มิเตอร์ไฟฟ้ามีการไหลกลับ และการไฟฟ้าก็จะทราบว่าเจ้าของบ้านมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยที่ไม่มีการขออนุญาตจากสามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเจ้าของบ้านจะถูกแจ้งให้ถอดแผงโซลาร์เซลล์ และมีการเสียค่าปรับในราคาที่สูงมาก โดยค่าปรับที่ต้องเสีย จะคำนวณจากค่าไฟฟ้าที่ถูกผลิตได้จากโซลาร์เซลล์และคำนวนพร้อมดอกเบี้ย

 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ผิดกฎหมายไหม

 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ผิดกฎหมายไหม

การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้งานนั้นไม่ผิดกฎหมาย แต่เจ้าของบ้าน ต้องมีการยื่นขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างถูกต้อง โดยยื่นขอกับหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ซึ่งระบบที่ต้องยื่นขอการติดตั้ง จะเป็นระบบโซลาร์เซลล์ออนกริด (On Grid) และระบบโซลาร์เซลล์ไฮบริด (Hybrid) เพราะสองระบบนี้จะต้องมีการทำงานและใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า ส่วนการติดตั้งจะต้องมีวิศวกรไฟฟ้าเซ็นต์รับรองก่อนการติดตั้ง

 

ติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบไหน ไม่ต้องขออนุญาต

 

ติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบไหน ไม่ต้องขออนุญาต

สำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบออฟกริด (off grid) ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต เพราะเป็นระบบโซลาร์เซลล์แบบอิสระ (Stand Alone) ที่ไม่ได้ใช้ไฟจากการไฟฟ้า หรือเชื่อมต่อระบบไฟของการไฟฟ้า จึงทำให้เมื่อติดตั้งแล้ว สามารถใช้งานได้เลย ซึ่งโซลาร์เซลล์ระบบออฟกริด ที่เจ้าของบ้านสามารถติดตั้งเองได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เช่น โคมไฟโซลาร์เซลล์ที่เป็นทั้งโคมไฟริมรั้ว หรือโคมไฟติดตั้งในสวน หลอดไฟโซลาร์เซลล์ หรือปั๊มน้ำโซลาร์เซลล์ เป็นต้น รวมถึงโซลาร์เซลล์แบบออฟกริด ที่ต้องใช้แบตเตอรี่ในการเก็บพลังงาน ก็ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตการติดตั้งเช่นกัน แต่หากต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าเพื่อใช้งานอย่าง hybrid off grid ต้องมีการขออนุญาตจากสามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในการใช้งาน

 

สรุป 4 ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทำได้อย่างไร

 

สรุป 4 ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทำได้อย่างไร

เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และทำให้การติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นไปอย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีการขออนุญาตก่อนการติดตั้ง โดยการขออนุญาตก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีด้วยกันหลักๆ 4 ขั้นตอน ดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 1 ยื่นใบอนุญาตก่อสร้าง

เจ้าของบ้านต้องมีการยื่นใบขออนุญาตก่อนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยการยื่นคำขอสำหรับการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1) และนำเอกสารไปยื่นกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ เช่น สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล หรืออบต. เพื่อขออนุญาตดัดแปลงโครงสร้างบนหลังคา ก่อนทำการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1 คือ แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร สามารถขอแบบฟอร์มได้ที่ฝ่ายโยธา โดยขอผ่านเว็บไซต์สำนักงานเขต หรือสำนักงานเทศบาลในเขตพื้นที่ ที่ตนเองอาศัยอยู่
  • แบบแปลนแสดงแผนผังการติดตั้ง แบบโครงสร้างหลังคา แบบโครงสร้างสำหรับการติดตั้ง และโครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์ พร้อมรายละเอียดทั้งหมดของการติดตั้ง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร และเอกสารรับรองของวิศวกรโยธา ที่ควบคุมงานและออกแบบ

 

ขั้นตอนที่ 2 ลงทะเบียน

ให้เจ้าบ้านลงทะเบียนขออนุญาตหลังจากติดตั้งโซลาร์เซลล์เสร็จ ที่สำนักงาน กกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) หรือหากใครไม่สะดวกเดินทาง ก็สามารถลงทะเบียนผ่านระบบเว็บไซต์ออนไลน์ได้ที่ www.erc.or.th (กกพ.) เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • สำเนาบัตรประชาชนที่ตรงกับชื่อผู้ใช้ไฟและบิลค่าไฟ
  • สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง รวมถึงอินเวอร์เตอร์ ต้องเป็นรุ่นที่มีการขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้าหรือเป็นรุ่นที่ได้มาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
  • แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
  • แบบ Single Line Diagram (แผนภูมิระบบไฟฟ้า) พร้อมการรับรองของวิศวกรไฟฟ้ากำลัง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร และเอกสารรับรองของวิศวกรโยธา ที่ควบคุมงานและออกแบบ
  • ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์แบบครบชุดและอินเวอร์เตอร์
  • เอกสารมอบอำนาจ (กรณีมีการมอบอำนาจ)
  • ติดต่อการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในเขตพื้นที่ของการติดตั้ง เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อ

 

ขั้นตอนที่ 3 แจ้งไปที่ กฟน. หรือ กฟภ. (PEA)

หลังจากที่ได้รับหนังสืออนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต จากทาง กกพ. เรียบร้อยแล้ว เจ้าบ้านจะต้องนำหนังสือขออนุญาตการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในเขตพื้นที่ของการติดตั้ง หรือยื่นต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ และทดสอบการเชื่อมต่อระบบโซลาร์เซลล์กับระบบไฟของการไฟฟ้า พร้อมทั้งชำระค่าใช้จ่าย เพื่อให้สำนักงาน กกพ. ออกหนังสือแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1 คือ แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
  • บัตรประชาชนของผู้ใช้ไฟฟ้า พร้อมหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า ตามใบแจ้งหนี้จากการไฟฟ้า
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง และอินเวอร์เตอร์ ที่มีการขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า หรือเป็นรุ่นที่ได้มาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
  • ข้อมูลของแผนที่บ้าน รูปถ่ายหน้าบ้าน และรูปถ่ายที่เห็นแผงโซลาร์เซลล์ครบทุกแผง
  • แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา
  • แบบโครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์ พร้อมรายละเอียดการติดตั้ง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร และเอกสารรับรองของวิศวกรโยธา ที่ควบคุมงานและออกแบบ
  • แบบ Single Line Diagram (แผนภูมิระบบไฟฟ้า) พร้อมการรับรองของวิศวกรไฟฟ้ากำลัง พร้อมแนบสำเนาใบประกอบวิชาชีพ (ใบกว.)
  • เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ)

 

ขั้นตอนที่ 4  ยื่นหนังสือรับ

ขั้นตอนสุดท้ายของการขออนุญาตสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ คือ นำหลักฐานการตรวจสอบ และการทดสอบระบบของโซลาร์เซลล์ ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า พร้อมเอกสารการชำระเงินจากการไฟฟ้า และนำไปยื่นต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อรับหนังสือยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต และหลังจากได้รับหนังสือยกเว้น ก็นำไปยื่นต่อที่การไฟฟ้า เพื่อให้การไฟฟ้าเข้ามาตรวจสอบตามข้อกำหนด และเมื่อผ่านตามข้อกำหนด การไฟฟ้าก็จะเปลี่ยนประเภทมิเตอร์ไฟฟ้า ให้เป็นมิเตอร์สำหรับโซลาร์เซลล์ จากนั้นเจ้าบ้านก็สามารถเริ่มใช้งานไฟฟ้าจากระบบโซลาร์เซลล์ได้เลย

โดยขั้นตอนการยื่นจะมีระยะเวลาการพิจารณา ประมาณ 30 วัน และค่าใช้จ่ายในการยื่นขออนุญาต 9,095 บาท (8,500 บาท + VAT 595 บาท) เป็นค่าเปลี่ยน Smart Meter

 

กฟน. และ กฟภ. มีที่ไหนบ้าง

กฟน. และ กฟภ. มีที่ไหนบ้าง

ในขั้นตอนการแจ้งติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)  และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)  ควรศึกษาเขตพื้นที่ให้ดีว่าพื้นที่ที่จะติดตั้งอยู่ที่ไหน เพื่อที่จะแจ้งได้ถูกเขต โดยมีดังนี้

กฟน. 18 เขตพื้นที่

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ และแบ่งออกเป็น 18 เขตพื้นที่ มีดังนี้

  1. เขตคลองเตย
  2. เขตวัดเลียบ
  3. เขตยานนาวา
  4. เขตสามเสน
  5. เขตลาดพร้าว
  6. เขตบางกะปิ
  7. เขตธนบุรี
  8. เขตราษฎร์บูรณะ
  9. บางขุนเทียน
  10. เขตนนทบุรี
  11. เขตบางใหญ่
  12. เขตบางบัวทอง
  13. เขตบางเขน
  14. เขตสมุทรปราการ
  15. เขตมีนบุรี
  16. เขตลาดกระบัง
  17. เขตประเวศ
  18. เขตบางพลี

กฟภ. 12 เขตพื้นที่

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แบ่งออกเป็น 4 ภาค โดยแต่ละภาค แบ่งเป็น 3 เขตย่อย ทำให้มีกฟภ. 12 เขตพื้นที่ มีดังนี้

ภาคเหนือ

  • กฟน.1 เชียงใหม่ มีพื้นที่บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง และลำพูน
  • กฟน.2 พิษณุโลก มีพื้นที่บริการ 8 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์
  • กฟน.3 ลพบุรี มีพื้นที่บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • กฟฉ.1 อุดรธานี มีพื้นที่บริการ 8 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น หนองบัวลำภู เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร
  • กฟฉ.2 อุบลราชธานี มีพื้นที่บริการ 8 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร และศรีสะเกษ
  • กฟฉ.3 นครราชสีมา มีพื้นที่บริการ 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง

  • กฟก.1 พระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่บริการ 7 จังหวัด  ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สระบุรี ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
  • กฟก.2 ชลบุรี มีพื้นที่บริการ 5 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด
  • กฟก.3 นครปฐม มีพื้นที่บริการ 4 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี (เฉพาะอำเภอบ้านโป่ง)

ภาคใต้

  • กฟต.1 เพชรบุรี มีพื้นที่บริการ 6 จังหวัด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สมุทรสงคราม และราชบุรี (ยกเว้นอำเภอบ้านโป่ง)
  • กฟต.2 นครศรีธรรมราช มีพื้นที่บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ ภูเก็ต พังงา และสุราษฎร์ธานี
  • กฟต.3 ยะลา มีพื้นที่บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี สงขลา สตูล และพัทลุง

 

สรุป

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งาน จึงทำให้มีพลังงานหมุนเวียนใช้ได้อย่างไม่มีวันหมด อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ที่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนด้วย แต่หากใครวางแผนจะติดตั้ง ควรจะขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ก่อน สามารถทำโดยการยื่นใบขออนุญาติการติดตั้งโซลาร์เซลล์ กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานเขต หรือสำนักงานเทศบาล พร้อมทั้งลงทะเบียน เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงาน ที่สำนักงาน กกพ. และแจ้งต่อการไฟฟ้า เพื่อให้เจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้า มาตรวจสอบให้ได้ตามข้อกำหนด เพื่อให้ใช้งานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่ถูกต้องตามข้อกำหนด ป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาภายหลัง เช่น ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ จะไหลเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า เมื่อไฟมีการไหลเข้าสู่ระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าก็จะทราบเรื่องว่าไม่มีการขออนุญาตก่อนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ก็จะทำให้ถูกถอดแผงโซลาร์เซลล์ และการเสียค่าปรับพร้อมดอกเบี้ย ดังนั้น หากใครที่กำลังวางแผนจะติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบออนกริด (On Grid) ระบบไฮบริด (Hybrid) หรือระบบที่ต้องใช้ไฟฟ้าควบคู่กันไปด้วย ก็ควรทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้

 

Leave a comment



สงวนลิขสิทธิ์ © 2021 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด