โซลาร์ฟาร์ม โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจที่น่าจับตามอง

โซลาร์ฟาร์ม เป็นธุรกิจโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่กำลังเป็นที่น่าจับตามอง เพราะนอกจากประหยัดค่าใช้จ่าย ก็ยังเป็นพลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาศึกษาการลงทุนโซลาร์ฟาร์ม และแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ ไปพร้อมกันได้ในบทความนี้

โซลาร์ฟาร์ม ธุรกิจพลังงานทางเลือกที่คุ้มค่า

โซลาร์ฟาร์ม ธุรกิจพลังงานทางเลือกที่คุ้มค่า

โซลาร์ฟาร์ม คือโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ มีอุปกรณ์สำคัญอย่าง แผงโซลาร์เซลล์ ในการรับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งการทำฟาร์มโซล่าเซลล์ เป็นตัวช่วยให้มีพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนใช้ได้ตลอด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม

โซลาร์ฟาร์ม มีกี่รูปแบบ

โซลาร์ฟาร์มมีหลายรูปแบบ โดยแต่ละแบบก็จะมีความแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและลักษณะการติดตั้ง ดังนี้

1. การติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System)

การติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System) คือ การติดตั้งที่มีระบบหมุนตามดวงอาทิตย์ เพื่อให้โซลาร์เซลล์ได้รับแสงและความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ได้ตลอดวัน ข้อดีของการทำโซล่าฟาร์มรูปแบบนี้ คือ โซลาร์เซลล์จะรับแสงอาทิตย์ได้ตลอดวัน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้ามากกว่าการติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่ถึง 20% แต่การติดตั้งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไรนัก ส่วนของการติดตั้งจะมีโปรแกรมควบคุมการหมุนของแผงโซลาร์เซลล์ โดยเป็นระบบเซนเซอร์หรือการตั้งเวลา

2. การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ (Floating System)

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ (Floating System) คือ การติดตั้งโซลาร์เซลล์กับทุ่นลอยน้ำ เหมาะกับคนที่มีพื้นที่จำกัดในการทำโซล่าฟาร์ม เพราะไม่ต้องสูญเสียพื้นดิน จุดเด่นและข้อดี คือ มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้ดีกว่าบนพื้นดิน อีกทั้งแผงโซลาร์เซลล์มีความร้อนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากไม่ได้มีการระบายอากาศที่ดี แผงจะพังและเสียหายได้ไว ทำให้การทำโซล่าฟาร์มบนผิวน้ำ ไอระเหยของน้ำ และความเย็นของผิวน้ำรอบๆ จะช่วยระบายความร้อนและยืดอายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์ จึงนิยมติดตั้งตามแหล่งเพราะปลูกที่มีการใช้น้ำเป็นหลัก วิธีติดตั้งในการทำโซล่าฟาร์ม คือการนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดกับอุปกรณ์ลอยตัวและทุ่นลอยน้ำ เพื่อให้แผงโซลาร์เซลล์ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ

3. การติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่ (Fixed System)

การติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่ (Fixed System) คือ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่มีตำแหน่งชัดเจนและเป็นตำแหน่งที่รับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด ข้อดีในการติดตั้ง คือต้นทุนในการติดตั้งและค่าบำรุงรักษาต่ำกว่าการติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์และการติดตั้งแบบทุ่นลอยน้ำ แต่การรับแสงอาทิตย์และการผลิตพลังงานไม่ได้เต็มที่ตลอดวัน ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการทำโซล่าฟาร์ม จึงมักนำไปติดตั้งตามที่อยู่อาศัย อย่างหลังคาบ้านหรือตามอาคารมากกว่า วิธีการติดตั้งคือต้องสำรวจพื้นที่ในการติดตั้งก่อนว่ามีพื้นที่บริเวณไหนบ้างที่สามารถรับแสงอาทิตย์ได้มากและนานที่สุด จากนั้นจึงค่อยทำดำเนินการติดตั้งต่อไป

ข้อดีของโซลาร์ฟาร์ม

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายของค่าไฟฟ้า เพราะในโรงงานอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องและใช้ในปริมาณสูง ซึ่งหากทำโซล่าฟาร์มที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลักในการผลิตไฟฟ้า จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การทำฟาร์มโซล่าเซลล์เป็นการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด มาเป็นตัวการผลิตพลังงานไฟฟ้า จึงไม่มีการใช้เชื้อเพลิง ไม่มีการเผ้าไหม้ที่เป็นมลพิษต่ออากาศ และช่วยลดการเกิดภาวะเรือนกระจก
  • การทำโซล่าฟาร์ม ติดตั้งได้ง่ายๆ ไม่มีความซับซ้อน เพียงแค่มีโซลาร์เซลล์ สายไฟ แบตเตอรี่ ก็สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ได้อย่างรวดเร็ว 

ข้อจำกัดโซลาร์ฟาร์ม

  • พลังงานไฟฟ้าที่ได้อาจไม่คุ้มค่า เพราะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้แค่เฉพาะตอนกลางวันหรือตอนที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้า 24 ชั่วโมง อาจต้องมีอุปกรณ์เสริมสำหรับการติดตั้ง
  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก โดยเฉพาะโซล่าฟาร์มที่ต้องใช้งานแผงโซลาร์เซลล์เป็นจำนวนมาก จึงใช้พื้นที่ติดตั้งเยอะตามไปด้วย ทำให้ต้องมีพื้นที่ที่เพียงต่อการติดตั้ง
  • ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง เนื่องจากโซล่าฟาร์มจำเป็นต้องใช้พื้นที่เยอะ บวกกับค่าใช้จ่ายจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผงโซลาร์เซลล์ สายไฟ แบตเตอรี่ และอื่นๆ ที่ต้องใช้ในการติดตั้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อนการติดตั้ง ก็ควรคำนวณพื้นที่และค่าใช้จ่ายก่อนการติดตั้ง เพื่อให้คุ้มค่าและคุ้มทุน

การลงทุนที่คุ้มค่าของโซลาร์ฟาร์ม

การลงทุนที่คุ้มค่าของโซลาร์ฟาร์ม

สำหรับการลงทุนเกี่ยวกับโซลาร์ฟาร์ม ก็ได้มีตัวอย่างการลงทุนที่คุ้มค่าของโซลาร์ฟาร์มมาให้ศึกษา 2 แบบ ดังนี้

โซลาร์ฟาร์ม 1 MW ใช้งบการลงทุนเท่าไร

โซลาร์ฟาร์ม 1 MW เฉลี่ยพื้นที่การลงทุนประมาณ 10 ไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 30 ล้านบาท เมื่อเฉลี่ยเงินลงทุนต่อไร่จะมีเงินลงทุนอยู่ที่ไร่ละ 3 ล้านบาท วิธีคิด คือ โซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ผลิตไฟฟ้าได้ 15,000 หน่วยต่อเดือน เท่ากับว่า โซลาร์ฟาร์ม 1 MW ที่ใช้พื้นที่ประมาณ 10 ไร่ จะผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 150,000 หน่วยต่อเดือน และการไฟฟ้ารับซื้อไฟอยู่ที่ 2.20 บาทต่อหน่วย 

ดังนั้น จึงสามารถสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า โดยคิดเป็น 150,000 หน่วยต่อเดือน x 2.20 บาทต่อหน่วย = สร้างรายได้เฉลี่ย 330,000 บาท ต่อเดือน หรือเฉลี่ย 3,960,000 ต่อปี ความคุ้มค่าของการลงทุนโซลาร์ฟาร์ม 1 MW ภายใน 1 ปี อาจเหมาะสำหรับคนที่มีเงินลงทุนที่มากกว่า เพราะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง แต่หากมีพื้นเยอะจะยิ่งทำให้คืนทุนไว

โซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ใช้งบการลงทุนเท่าไร

โซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ เฉลี่ยเงินลงทุนไร่ละ 3 ล้านบาท และผลิตไฟฟ้าได้ 15,000 หน่วยต่อเดือน การไฟฟ้ารับซื้อไฟอยู่ที่ 2.20 บาทต่อหน่วย ดังนั้น สามารถสร้างรายได้ จากการขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า โดยคิดเป็น 15,000 หน่วยต่อเดือน x 2.20 บาทต่อหน่วย = สร้างรายได้เฉลี่ย 33,000 ต่อเดือน หรือเฉลี่ย 396,000 ต่อปี ซึ่งความคุ้มค่าของการลงทุนโซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ใน 1 ปี เหมาะกับคนที่เริ่มต้นลงทุนและมีเงินลงทุนไม่มาก มีขนาดพื้นที่กำลังพอดีที่ดูแลได้ทั่วถึง แต่พื้นที่ขนาดเล็ก อาจทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าน้อยลง และระยะเวลาคืนทุนที่นานกว่าเดิม

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากการที่รัฐบาลส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทน พร้อมกับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคเอกชนและนักลงทุน เกี่ยวกับการลงทุนโซลาร์ฟาร์ม และ ROI (ผลตอบแทนจากการลงทุน) ที่มั่นคงในระยะยาว ทำให้ได้ผลตอบรับที่น่าสนใจ อีกทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ต้นทุนอุปกรณ์โซลาร์ฟาร์มลดลง ส่งผลต่อธุรกิจโซลาร์เซลล์ในไทย กลายเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีการแข่งขันสูงและมีศักยภาพสูง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทยในปี 2567 ก็ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากนโยบายของรัฐบาล ที่มีการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (RE) และการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน ที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ อัตรา 2.20 บาทต่อหน่วย

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มมีวิธีการดำเนินการอย่างไร

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มมีวิธีการดำเนินการอย่างไร

หากใครที่มีข้อสงสัยและกำลังหาคำตอบสำหรับการทำโซล่าฟาร์มที่จำเป็นต้องยื่นจดทะเบียนไหม? คำตอบคือ จำเป็นต้องยื่นจดทะเบียน เพราะการทำโซลาร์ฟาร์ม เป็นการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบระบบออนกริด หรือระบบไฮบริด ที่มีการเชื่อมต่อกับไฟของการไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องขอนุญาตก่อนการติดตั้ง รวมถึงขออนุญาตขนานไฟฟ้าและการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

เพื่อให้การติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับโซลาร์ฟาร์มเป็นไปด้วยความปลอดภัย และติดตั้งอย่างถูกกฎหมาย ผู้ติดตั้งต้องดำเนินการ ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

  1. สำรวจพื้นที่ในการติดตั้ง การทำโซลาร์ฟาร์ม ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งมาก จึงควรสำรวจพื้นที่ให้ชัดเจนว่าพื้นที่เพียงพอหรือไม่ ตำแหน่งแสงอาทิตย์ สามารถรับแสงสูงสุดได้นานกี่ชั่วโมง และรับแสงอาทิตย์ได้ดีเท่าที่ควรหรือไม่
  2. ยื่นจดทะเบียนขออนุญาตทำโซล่าฟาร์ม หลังจากที่ได้สำรวจพื้นที่ในการติดตั้ง ต่อมาคือ การยื่นจดทะเบียนเพื่อขอติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับการทำโซล่าฟาร์ม
  3. ออกแบบการติดตั้งและดำเนินการก่อสร้าง เมื่อยื่นขออนุญาตเรียบร้อย จึงออกแบบการก่อสร้างและเริ่มติดตั้งได้ทันที แนะนำให้ติดตั้งกับบริษัทที่รับติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยตรงจะดีที่สุด เพราะจะได้ช่างที่มีความชำนาญ การออกแบบที่ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งคุณภาพ การดูแล และการรับประกันเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  4. ลงทะเบียนแจ้งขอเชื่อมต่อไฟกับการไฟฟ้า และทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า ติดต่อการไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อไฟฟ้า รวมถึงขอใบอนุญาตขนานไฟฟ้า และการลงทะเบียนทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

ขั้นตอนการขอใบอนุญาตติดตั้งของโซลาร์ฟาร์มในปี 2567

ขั้นตอนการขอใบอนุญาตติดตั้งของโซลาร์ฟาร์มในปี 2567

ก่อนจะไปดูวิธีการขอใบอนุญาตติดตั้งของโซลาร์ฟาร์มในปี 2567 ต้องพิจารณาจากขนาดการผลิตกระแสไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง โดยแยกเป็น 3 เงื่อนไข มีอะไรบ้าง

เงื่อนไขที่ 1: แผงโซล่าเซลล์ ต้องมีกำลังไฟ น้อยกว่า 200 กิโลวัตต์ (kWp) หรือน้อยกว่า 200,000 วัตต์ (watt)

เงื่อนไขที่ 2: แผงโซล่าเซลล์ ต้องมีกำลังไฟ มากกว่า หรือ เท่ากับ 200 กิโลวัตต์ (kWp) แต่ต้องไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ (kWp) หรือเป็นจำนวน 200,001 วัตต์ ถึง 1,000,000 วัตต์

เงื่อนไขที่ 3: แผงโซล่าเซลล์ ต้องมีกำลังไฟ มากกว่า หรือ เท่ากับ 1,000 กิโลวัตต์ (kWp) หรือ 1,000,000 วัตต์ ขึ้นไป

เมื่อได้รู้ถึงขนาดการผลิตกระแสไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งเป็นที่เรียบร้อย ต่อมาเป็นขั้นตอนการขอใบอนุญาตติดตั้งโซลาร์ฟาร์ม ในปี 2567 ที่ผู้ติดตั้งสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. ยื่นใบอนุญาติก่อสร้าง

ยื่นแบบ อ.1. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ ที่อาศัยอยู่ เช่น สำนักงานเขต หรือสำนักงานเทศบาล เพื่อการดัดแปลงโครงสร้างก่อนการติดตั้ง

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1 คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร
  • แบบแปลนแสดงรายละเอียดการก่อสร้าง เช่น แผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์  พร้อมรายละเอียดการติดตั้ง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรองรับของวิศวกรออกแบบและวิศวกรคุมงาน (โยธา)

เมื่อได้รับเอกสารอนุญาตติดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงสามารถติดตั้งได้ทันที

2. การลงทะเบียน

ลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่สำนักงาน กกพ. หรือลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ที่ https://cleanenergyforlife.net/login

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • สำเนาหลักฐานการยื่นแบบคำขอ จากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
  • แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) ที่วิศวกรไฟฟ้าเซ็นรับรอง
  • แบบแโครงสร้างในการติดตั้ง รายการคำนวณโครงสร้าง ที่วิศวกรวิศวกรคุมงาน (โยธา) เซ็นรับรอง
  • ภาพถ่ายการติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อของแผงโซลาร์เซลล์
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อของอินเวอร์เตอร์ ที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า และเป็นรุ่นตามมาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
  • สำเนาบัตรประชาชน ที่ตรงกับหมายเลขผู้ใช้ไฟ ตามใบแจ้งหนี้ของการไฟฟ้า
  • บิลค่าไฟ
  • กรณีมอบอำนาจ ต้องมีเอกสารมอบอำนาจ
  • ติดต่อการไฟฟ้าในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ เพื่อตรวจสอบ และทดสอบการเชื่อมต่อ

หลังจากที่ได้รับหนังสืออนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกพ. ให้ผู้ติดตั้ง แจ้งกับการไฟฟ้าในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 

3. แจ้ง กฟน. หรือ กฟภ. (PEA)

ติดต่อ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ที่ https://myenergy.mea.or.th/ หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่ https://ppim.pea.co.th:4433/app/project/eco เพื่อร่วมโครงการขายไฟ หรือขอขนานกับระบบไฟฟ้า

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1 คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร
  • แบบแปลนของแผนผังและโครงสร้างหลังคา
  • บัตรประชาชน พร้อมหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้า
  • แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) ที่วิศวกรไฟฟ้าเซ็นรับรอง และสำเนาใบประกอบวิชาชีพ (ใบกว.)
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อของแผงโซลาร์เซลล์
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อของอินเวอร์เตอร์ ที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า และเป็นรุ่นตามมาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
  • ข้อมูลแผนที่บ้าน รูปถ่ายบ้าน รูปถ่ายแผงโซลาร์เซลล์ทุกแผง
  • กรณีมอบอำนาจ ต้องมีเอกสารมอบอำนาจ

4. ยื่นสำเนาหนังสือรับ

ยื่นสำเนาหนังสือแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตให้กับการไฟฟ้าพร้อมชำระค่าบริการ จากนั้นการไฟฟ้าจะตรวจสอบระบบโซลาร์เซลล์ ระบบการผลิตไฟ หากผ่านตามข้อกำหนด การไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับโซลาร์เซลล์และเชื่อมต่อ COD เข้าระบบการไฟฟ้า เมื่อเรียบร้อยก็สามารถใช้โซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ทันที

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • สำเนาหนังสือแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต
  • เงินสำหรับชำระค่าบริการ

 

สรุป

โซลาร์ฟาร์ม คือ โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้งาน ซึ่งโซลาร์ฟาร์มเป็นอีกหนึ่งธุรกิจพลังงานสะอาด เพราะไม่มีการใช้เชื้อเพลิง ไม่มีการเผาไหม้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในปี 2567 การลงทุนในธุรกิจนี้ยังคงคุ้มค่าแก่การลงทุน เพราะการส่งเสริมจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและนักลงทุน พร้อมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ช่วยลดต้นทุนและผลของการลงทุนที่มั่นคง ทำให้เป็นที่น่าสนใจ ส่งผลต่อการขยายตัวของธุรกิจให้เติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ก่อนการติดตั้งต้องทำการยื่นจดทะเบียนก่อนทุกครั้ง ทำได้โดยการสำรวจพื้นที่ในการติดตั้ง จากนั้นยื่นจดทะเบียนขอติดตั้งโซลาร์เซลล์ เมื่อผ่านเรียบร้อยจึงติดตั้งได้ทันที ที่สำคัญต้องศึกษาข้อดี ข้อเสีย และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน เพราะเป็นการลงทุนที่ใช้เงินเป็นจำนวนมากและความพร้อมหลายๆ อย่างทั้งพื้นที่ อุปกรณ์ ความชำนาญในการติดตั้ง รวมถึงค่าบำรุงรักษา 

สำหรับที่อยากติดแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้าน โรงงานอุตสาหกรรม หรือเพื่อการเกษตร ขอแนะนำ โซลาร์เซลล์ Sorarus โดยใช้วัสดุที่มีคุณภาพในการผลิต แผงโซลาร์เซลล์มีประสิทธิภาพสูง ทนทานต่อแดด และความร้อนได้ดี พร้อมมีบริการปรึกษาฟรี การติดตั้งจากวิศวกร และทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ และบริการหลังการขาย ในการซ่อมบำรุง และดูแล เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

Leave a comment



สงวนลิขสิทธิ์ © 2021 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด