ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ใช้ระบบอะไร ปลอดภัย และทำได้หรือไม่

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าหลายคนหันมาสนใจติดโซลาร์เซลล์กันมากขึ้น  เนื่องจากการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์นั้น จะเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสำรองไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ทำให้สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นการช่วยลดค่าไฟได้ แต่หลายๆ คนคงสงสัยว่าหากติดแผงโซลาร์เซลล์ แล้วในฤดูฝนที่มักจะมีแสงแดดน้อย จะสลับการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านได้หรือไม่ มาหาคำตอบได้ในบทความนี้ไปพร้อมๆ กัน

 

แผงโซลาร์เซลล์ใช้กับไฟบ้าน ระบบออนกริดคืออะไร

 

แผงโซลาร์เซลล์ใช้กับไฟบ้าน ระบบออนกริดคืออะไร

สำหรับการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน จะเป็นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด ที่ทำงานแบบต่อเข้ากับระบบสายส่งจากการไฟฟ้าโดยตรง ทำให้ระบบไฟฟ้าภายในบ้านจะมี 2 ระบบ คือ ระบบไฟฟ้าที่มาจากโซลาร์เซลล์ และ ระบบไฟบ้านปกติ ซึ่งทั้งสองระบบทำงานควบคู่กันบนสายไฟฟ้าเดียวกันที่ถูกติดตั้งไว้ตั้งแต่เริ่มแรก สำหรับระบบไฟฟ้าที่มาจากโซลาร์เซลล์ จะทำการผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีแสงแดดมาก ซึ่งจะเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์มาจ่ายไฟให้กับ Grid Tie Inverter (หม้อแปลงไฟ) แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) มาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) และต่อเข้าระบบไฟฟ้าของบ้าน ทำให้สามารถใช้งานอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าภายในบ้านได้ แต่เมื่อในวันที่มีแสงแดดน้อย หรือวันที่ฝนตก พลังงานไฟฟ้าที่มาจากโซลาร์เซลล์หมด ไฟฟ้าภายในบ้านก็จะเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟบ้านปกติแบบอัตโนมัติทันที โดยไม่ต้องสลับเอง

 

ระบบการทำงานของโซลาร์เซลล์ ระบบออนกริด

 

ระบบการทำงานของโซลาร์เซลล์ ระบบออนกริด

ระบบออนกริด จะเชื่อมต่อและขนานไฟกับระบบไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีระบบการทำงาน คือจะเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์มาจ่ายไฟให้กับ Grid Tie Inverter (หม้อแปลงไฟ) แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) มาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และต่อเข้าระบบไฟฟ้าของบ้าน ระบบออนกริดนี้ สามารถใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ทำให้ใช้ไฟฟ้าได้ตลอด แม้ในวันที่มีแสงแดดน้อย วันที่ฝนตกหรือพลังงานไฟฟ้าที่มาจากโซลาร์เซลล์หมด เพราะระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจะทำงานทันที เมื่อไม่ได้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ แต่ถ้าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับลง ระบบไฟฟ้าในบ้านก็จะดับด้วย ซึ่งแตกต่างกับระบบออฟกริด ที่โซลาร์เซลล์นั้นจะไม่เชื่อมต่อกับระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ทำได้อย่างไร

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ทำได้อย่างไร

หากบ้านเชื่อมต่อกับแหล่งไฟฟ้าทั้งสองแห่ง คือ โซลาร์เซลล์และไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เมื่อแสงแดดกระทบแผงโซลาร์เซลล์ผ่านอินเวอร์เตอร์ จะเกิดการเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้ แต่เมื่อแสงแดดหมดลงหรือมีเมฆมาก ทำให้โซลาร์เซลล์ไม่ทำงานหรือมีพลังงานไฟฟ้าไม่มากพอ ระบบไฟฟ้าของบ้านที่มาจากการไฟฟ้า ก็จะทำการจ่ายไฟทันที และเมื่อแหล่งพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เก็บพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากพอ ระบบไฟฟ้าก็จะเปลี่ยนกลับไปใช้แบบเดิม

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน จะมีปัญหาเรื่องการใช้ไฟไหม

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน จะมีปัญหาเรื่องการใช้ไฟไหม

เมื่อมีการเปลี่ยนจากพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบโซลาร์เซลล์ไปใช้ไฟฟ้าแบบเดิม ในวันที่มีเมฆมากหรือแสงแดดน้อย แทบจะไม่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ และจะไม่ประสบปัญหาไฟฟ้าขัดข้องในระหว่างที่สลับไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไปใช้ไฟบ้าน เช่น ไฟฟ้าที่มาจากระบบโซลาร์เซลล์ดับชั่วคราว ระบบการทำงานของไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ก็จะทำงานทันที แต่สำหรับบ้านที่อยู่ในพื้นที่ชนบท ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง จะเหมาะสำหรับการใช้โซลาร์เซลล์ระบบออฟกริด ที่สามารถสำรองแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดี

 

บ้านแบบไหนที่ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านได้

 

บ้านแบบไหนที่ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านได้

บ้านที่เหมาะสำหรับใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านนั้น จะต้องเป็นบ้านที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเข้าถึง เพราะโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทันที มีประสิทธิภาพผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในตอนกลางวันได้ดีที่สุด โดยระบบนี้ไม่สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอร์รี่เพื่อใช้งานในภายหลังได้ เมื่อวันที่มีแสงแดดน้อยหรือวันที่ฝนตก ทำให้โซลาร์เซลล์ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอ กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ก็จะทำงานต่อเนื่องทันที

 

ข้อดีของการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน

 

ข้อดีของการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน

เหตุผลที่ควรเลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด เพื่อใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน มีข้อดีดังนี้

  • เพิ่มมูลค่าของบ้าน สำหรับบ้านที่ต้องการปรับปรุงและซ่อมแซมที่จะเพิ่มมูลค่าของบ้านเมื่อพร้อมขาย การติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่สามารถใช้ร่วมกับไฟบ้าน จะช่วยเพิ่มจุดขายของบ้าน เพราะเป็นเทคโนโลยีและทันสมัยมากขึ้น ซึ่งจะดึงดูดผู้ซื้อได้มากขึ้น
  • ขายไฟคืนเข้าระบบ การใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ถ้ามีการผลิตไฟได้เกินความต้องการใช้ในบ้าน สามารถขายไฟคืนเข้าระบบได้
  • ใช้ไฟฟ้าได้ตลอด เพราะการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจะทำงานทันที เมื่อไม่ได้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์
  • ราคาถูก การติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ร่วมกับไฟบ้าน มีราคาไม่แพงมากและง่ายต่อการสร้างและบำรุงรักษา เนื่องจากไม่จำเป็นต้องซื้อแบตเตอรี่ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่มีราคาแพง จึงไม่ต้องกังวลว่าแบตเตอรี่จะเสียหายจากการชาร์จไฟน้อยเกินไปหรือมากเกินไปและไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษาเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อยๆ
  • ช่วยประหยัดค่าไฟ การใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน สามารถช่วยประหยัดค่าไฟในบางส่วนได้ เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เป็นหลักแทนการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า อีกทั้งยังไม่ต้องพะวงว่าต้องใช้ไฟฟ้ามากขนาดไหน เพราะเมื่อใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตได้จนหมดแล้ว กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ก็จะทำงานต่อเนื่องทันที
  • เพิ่มความปลอดภัย การติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ร่วมกับไฟบ้าน หากเกิดปัญหาไฟดับ เจ้าหน้าที่สามารถเข้ามาซ่อมและแก้ไขสายไฟโดยไม่ต้องรบกวนระบบโซลาร์เซลล์เลย ช่วยให้เกิดความปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านอย่างไร ให้ประหยัด

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านอย่างไร ให้ประหยัด

การใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านให้ประหยัด จะมีเคล็ดลับอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

ใช้ไฟฟ้าตอนกลางวัน

โซลาร์เซลล์สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทันที มีประสิทธิภาพผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในตอนกลางวันที่ดีที่สุด หากต้องการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านให้ประหยัด ควรใช้ไฟกลางวันมากกว่ากลางคืน อย่างเช่น การรีดผ้า ซักผ้า ทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรือทำอย่างอื่นที่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้แบบสบายๆ เลย

ลงทุนซื้อแบตเตอรี่สำรอง

การลงทุนซื้อแบตเตอรี่สำรอง เพื่อสำรองพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้แทนระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟได้ดี เป็นการลงทุนที่นับว่าคุ้มค่า

ขายไฟฟ้าส่วนเกินให้การไฟฟ้า

การใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านนั้น หากมีการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์เซลล์มากเกินความจำเป็น สามารถนำไฟฟ้าเหล่านั้นมาขายเป็นไฟฟ้าส่วนเกินให้กับการไฟฟ้าได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ผู้ที่ต้องการขายไฟให้ดำเนินการสมัครบัญชีผู้ใช้งานในระบบ PPIM แล้วก็ลงทะเบียนเพื่อเข้าระบบให้เรียบร้อย ลงทะเบียนยื่นความจำนงได้ที่ โครงการพลังงานหมุนเวียน หรือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (PPIM)
  2. ผู้ยื่น หรือ ผู้ขายระบบโซลาร์เซลล์ที่ได้รับมอบอำนาจ อัปโหลดเอกสาร หลังจากนั้นจะต้องรอการไฟฟ้า พิจารณาแบบคำขอขายไฟฟ้า ประมาณ 7-10 วัน พร้อมทั้งตรวจสอบ Capacity หรือขนาดพิกัดสูงสุดของหม้อแปลงว่าสามารถรับกำลังผลิตระบบโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่
  3. หลังจากนั้นจะแจ้งผล ซึ่งตั้งแต่เริ่มการยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้า จนถึงประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เมื่อเสร็จแล้วจะต้องดำเนินการชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่เขตพื้นที่การไฟฟ้าที่ให้การดูแล โดยเริ่มต้นที่ประมาณ 8,000 บาท มี (ราคานี้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)  และ ลงนามซื้อขาย
  4. การไฟฟ้าจะพิจารณาเอกสารต่างๆ แล้วแจ้งผลการพิจารณาให้กับผู้ยื่นขอขายไฟผ่านทางอีเมล
  5. การไฟฟ้าจะประกาศผลการคัดเลือกในระบบ PPIM ภายใน 45 วัน
  6. ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องชำระค่าเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า และจัดส่งต้นฉบับแบบคำขอขายไฟฟ้าพร้อมเอกสารประกอบตามที่การไฟฟ้ากำหนด ที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบภายใน 30 วัน หากพ้นกำหนดคำขอจะถูกยกเลิก
  7. ผู้ผ่านการคัดเลือกลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยมีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายใน 270 วัน
  8. ผู้ยืนขอทำการตรวจสอบระบบ และติดตั้งระบบต่างๆ ให้ตรงกับรายละเอียดที่ยื่นไว้กับการไฟฟ้า และขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าในเขตพื้นที่ให้เรียบร้อย
  9. ทางการไฟฟ้าจะเข้าทำการตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า และเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ พร้อมกับทดสอบการเชื่อมต่อเข้าระบบโครงค่ายไฟฟ้า

ข้อดีของการขายไฟฟ้าส่วนเกิน

  • มีรายได้กลับมาหลังจากลงติดตั้งโซลาร์เซลล์
  • ไม่ทิ้งส่วนไฟที่ผลิตเกินออกมา สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
  • เป็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

ข้อเสียของการขายไฟฟ้าส่วนเกิน

  • ใช้เวลาดำเนินเรื่องการขายคืนนาน ต้องรอหลายวัน
  • การไฟฟ้าเปิดรับซื้อในโควตาที่จำกัดในแต่ละพื้นที่

 

ปัญหาที่ควรระวังของแผงโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด

 

ปัญหาที่ควรระวังของแผงโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด

ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบใดๆ ก็ตาม ย่อมมีปัญหาตามมาเสมอ หากติดตั้งไม่ถูกต้องหรือมีความประมาท เลินเล่อ โดยปัญหาที่พบบ่อย มีดังนี้

ติดแบบไม่ได้ขออนุญาต และมีกันย้อน

ถ้าเราติดแบบไม่ได้ขออนุญาตและมีกันย้อน เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้น จะถูกปล่อยทิ้งไปเฉยๆ หากเราติดระบบออนกริดที่ใหญ่เกินความต้องการ ก็จะไม่ได้ลดค่าใช้จ่ายอะไรให้กับบ้านเลย

ติดแบบไม่ได้ขออนุญาต และไม่มีกันย้อน

ถ้าเราติดแบบไม่ได้ขออนุญาตและไม่มีกันย้อนสิ่งที่เกิดขึ้นคือมิเตอร์จะหมุนถอยหลังช่วงที่ไม่มีการใช้ไฟ หากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาเห็นพอดีว่ามันหมุนถอยหลัง อาจจะโดนแจ้งให้เราถอดระบบ หรือให้เอามิเตอร์มาเปลี่ยนเป็นมิเตอร์ดิจิตอลแทน ดังนั้น ควรขออนุญาตการติดตั้ง เพื่อการติดตั้งที่ถูกต้องและปลอดภัย เพื่อป้องกันปัญญาดังกล่าว

สรุป

การใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน เป็นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด ที่ทำงานแบบต่อเข้ากับระบบไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การติดตั้งนั้นจะต้องขออนุญาต 3 หน่วยงานด้วยกัน ได้แก่ หน่วยงานราชการปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานและยื่นขอขนานไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งการติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด สามารถขายระบบไฟฟ้าที่ผลิตออกมาเกินความต้องการ คืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย นอกจากการช่วยเพิ่มรายได้แล้ว การเลือกติดแผงโซลาร์เซลล์ยังช่วยลดค่าไฟในเวลากลางวันได้อีกด้วย หากสนใจอยากติดแผงโซลาร์เซลล์ ต้องแผงโซลาร์เซลล์ของ Sorarus ผู้นำด้านบริการประหยัดพลังงานความร้อนครบวงจร มีบริการให้คำปรึกษาฟรี พร้อมออกแบบการติดตั้ง ซ่อมบำรุง และให้คำปรึกษาหลังการขาย มั่นใจได้ว่าโซลาร์เซลล์ที่คุณติดตั้งจะไม่มีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน

Leave a comment



สงวนลิขสิทธิ์ © 2021 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด