มิเตอร์ไฟฟ้า TOU คืออะไร ช่วยให้ประหยัดไฟได้มากกว่าเก่าจริงหรือไม่

มิเตอร์ TOU คือมิเตอร์ที่คิดอัตราค่าไฟตามช่วงเวลาการใช้งานของคนที่ใช้ไฟฟ้า เหมาะกับบ้าน หรือธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อเทียบกับมิเตอร์ธรรมดาจะมีอัตราค่าไฟที่ถูกลงกว่าปกติ แล้วมิเตอร์ประเภทนี้สามารถประหยัดค่าไฟกว่ามิเตอร์ธรรมดาได้อย่างไร ไปดูเพิ่มเติมกันได้ในบทความนี้

มิเตอร์ไฟฟ้า TOU คืออะไร

มิเตอร์ไฟฟ้า TOU คืออะไร

มิเตอร์ไฟฟ้า TOU คือมิเตอร์ที่คิดค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ช่วงเวลากลางวันที่คนใช้ไฟฟ้าเยอะ และช่วงเวลากลางคืนที่คนใช้ไฟฟ้าน้อย โดยคุณสมบัติของ มิเตอร์ไฟฟ้า TOU ประเภทนี้ จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของค่าไฟฟ้า ไม่ให้มากเกินความจำเป็นนั่นเอง

อัตราค่าไฟแบบ TOU ที่คิดตามช่วงเวลา

อัตราค่าไฟแบบ TOU ที่คิดตามช่วงเวลา

โดยอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ที่คิดตามช่วงเวลาการใช้งาน สามารถแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้

ช่วงเวลา On Peak 

อัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ช่วงเวลา On Peak หรือเวลากลางวัน เป็นช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาสูง เพราะผู้คนต้องใช้ไฟฟ้าในการประกอบกิจกรรม หรือการทำงาน ทำให้ช่วงเวลานี้ต้องมีการใช้เชื้อเพลิงมาผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก โดยช่วงเวลา On Peak จะแบ่งเป็นวันจันทร์ถึงศุกร์ และวันพืชมงคลช่วงเวลา 9.00- 22.00 น.

ช่วงเวลา Off Peak

อัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ช่วงเวลา Off Peak หรือช่วงเวลากลางคืน เป็นช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาต่ำ เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน ที่ผู้คนไม่ได้มีการประกอบกิจกรรม หรือทำงานใดๆ ทำให้ช่วงเวลานี้สามารถใช้เชื้อเพลิงต้นทุนต่ำมาผลิตไฟฟ้าได้ จึงทำให้อัตราค่าไฟถูกลง โดยช่วงเวลา Off Peak จะแบ่งเป็น วันจันทร์-ศุกร์ และวันพืชมงคล ช่วงเวลา 22.00-9.00 น. และวันเสาร์–อาทิตย์เวลา 00.00-24.00 น. ของวันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคล วันแรงงานแห่งชาติ และวันหยุดชดเชย)

ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้มิเตอร์ TOU

ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้มิเตอร์ TOU

จากลักษณะการใช้งาน และการคิดค่าไฟแบบมิเตอร์ TOU อาจเหมาะกับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าตอน Off-Paek หรือใช้งานไฟฟ้าเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ที่มีการใช้ไฟฟ้าหลังสี่ทุ่ม จนถึงเก้าโมงเช้า กล่าวคือ อาจเหมาะกลุ่มคนวัยทำงาน พนักงานออฟฟิศ ที่ในวันธรรมดาเวลากลางวันจะออกไปทำงาน และกลับมาใช้ไฟบ้านในตอนกลางคืน ซึ่งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบ TOU เหมาะจะใช้กับบ้านที่อยู่อาศัย หรือธุรกิจ และกิจการขนาดเล็กที่ต้องใช้ไฟตอนกลางคืน โดยเฉพาะสำหรับตู้แช่ หรือตู้เก็บความเย็นต่างๆ เพราะจะมีอัตราค่าไฟที่ถูกกว่าค่าไฟปกติ และเป็นตัวเลือกที่ดี ที่จะทำให้เสียค่าไฟได้น้อยลงกว่าเดิม

ใช้มิเตอร์ TOU ค่าไฟถูกลงจริงไหม?

ใช้มิเตอร์ TOU ค่าไฟถูกลงจริงไหม?

อีกหนึ่งคำถามที่น่าสงสัย คือ ถ้าหากเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ TOU แล้วจะช่วยลดค่าไฟได้จริงไหม? ดังนั้น เพื่อให้รู้ว่าค่าไฟถูกลงกว่าเดิมมากแค่ไหน จึงต้องมาพิจารณาดูอัตราค่าไฟกัน ดังนี้

อัตราค่าไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน 

สำหรับการหาค่าไฟต่อเดือนในการใช้มิเตอร์ TOU สามารถคำนวณได้โดยการนำอัตราค่าไฟต่างๆ ที่นับเป็นหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) ไปคำนวณ ดังนี้

  • หน่วยที่ 1–150 คิดเป็นอัตราค่าไฟหน่วยละ 2.7628 บาท
  • หน่วยที่ 151-399 คิดเป็นอัตราค่าไฟหน่วยละ 3.7362 บาท
  • ตั้งแต่ 400 หน่วยขึ้นไป คิดเป็นอัตราค่าไฟหน่วยละ 3.9361 บาท

อัตราค่าไฟฟ้าของมิเตอร์ TOU

วิธีคำนวณอัตราค่าไฟวิธีต่อมา ที่อัตราค่าไฟของ TOU ไม่นับเป็นหน่วย แต่นับเป็นช่วงเวลา ดังนี้

  • ช่วงเวลา On peak (เวลากลางวัน) ตั้งแต่เวลา 9.00-21.59 น. หน่วยละ 5.2674 บาท
  • ช่วงเวลา Off peak (เวลากลางคืน) ตั้งแต่เวลา 22.00-8.59 หน่วยละ 2.1827 บาท

ทั้งนี้ หากมีการใช้มิเตอร์ TOU ไม่ได้ทำให้ค่าไฟถูกลง แต่ถ้ารู้ช่วงเวลาในการใช้ไฟฟ้าก็จะทำให้ประหยัดค่าไฟลงได้ เช่น การใช้ไฟเยอะในช่วงกลางคืน บวกกับการติดโซลาร์เซลล์ เพราะกลางวันสามารถใช้ไฟฟรีจากดวงอาทิตย์ และกลางคืนค่าไฟก็จะถูกลง

ต้องการใช้มิเตอร์ TOU ทำได้อย่างไร

ต้องการใช้มิเตอร์ TOU ทำได้อย่างไร

การขอติดตั้งมิเตอร์ TOU สามารถขอใช้ได้ที่การไฟฟ้าตามเขตที่ระบุในบิลค่าไฟ หรือทางออนไลน์ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายของเครื่องวัดแรงดัน TOU ตามระดับแรงดันที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และจะมีค่าใช้จ่ายหลัก ที่เป็นค่าเปลี่ยนมิเตอร์ 700 บาท และค่ามิเตอร์ TOU 6,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ยังไม่ได้รวมค่าสายไฟเข้าบ้าน และค่าติดตั้งสายดิน

ขอใช้มิเตอร์ TOU ในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา

การยื่นขอติดตั้งมิเตอร์ TOU ในนามบุคคลธรรมดา มีเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่จะขอติดตั้งมิเตอร์ TOU
  • บิลค่าไฟ
  • กรณีเปลี่ยนชื่อ ต้องมีสำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อแนบไปด้วย
  • กรณีผู้ขอยื่นติดตั้งมิเตอร์ TOU ไม่ใช่เจ้าของบ้านโดยตรง จะต้องใช้เอกสารแสดงความสัมพันธ์กับเจ้าของบ้านตัวจริง เช่น สัญญาซื้อขาย เป็นต้น
  • แบบฟอร์มขอใช้ไฟฟ้า ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง

ขอใช้มิเตอร์ TOU ในกรณีเป็นนิติบุคคล

การยื่นขอติดตั้งมิเตอร์ TOU ในนามนิติบุคคล มีเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • หนังสือรับรองนิติบุคคลอายุไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่จะขอติดตั้งมิเตอร์ TOU
  • กรณีที่มีการมอบอำนาจ ต้องมีใบมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบ ที่มีกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อพร้อมประทับตราบริษัท
  • แบบฟอร์มขอใช้ไฟฟ้า ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง

ขอใช้มิเตอร์ TOU ที่ช่องทางออนไลน์

การยื่นขอติดตั้งมิเตอร์ TOU ผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถยื่นเรื่องทางเว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง หรือโทรสอบถามได้ที่คอลเซนเตอร์ของการไฟฟ้านครหลวง ที่ MEA Call Center 1130 ตลอด 24 ชั่วโมง

สรุป

มิเตอร์ TOU คือ การคิดค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาที่มีการใช้งาน ซึ่งต่างจากมิเตอร์ทั่วไป ที่คิดค่าไฟฟ้าแบบอัตราก้าวหน้า ที่หากมีการใช้ไฟฟ้าเยอะ อัตราค่าไฟก็จะยิ่งมากขึ้นตามการใช้งาน ในการคิดอัตราค่าไฟแบบมิเตอร์ TOU จะแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ On Peak ที่เป็นช่วงที่ค่าไฟมีราคาสูง และ Off Peak ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาต่ำ โดยการติดตั้งมิเตอร์ TOU เหมาะกับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าเยอะตอนกลางคืน ถ้าติดโซลาร์เซลล์ก็จะยิ่งประหยัดค่าไฟลงได้อีก

หากใครที่สนใจใช้มิเตอร์ TOU สามารถติดต่อได้ทั้งที่การไฟฟ้าใกล้บ้าน และทางออนไลน์ ทั้งนี้ยังสามารถเลือกดูโซลาร์เซลล์ที่ดี มีคุณภาพได้ที่ Sorarus โดยสามารถปรึกษากับทีมงานก่อนติดตั้งได้ รวมถึงเมื่อจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ ก็จะมีทีมงานมาติดตั้งให้ มีประกัน และบริการหลังการขายอีกด้วย

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด