Sorarus - May Article 5 (โซ ล่า รู ฟ ท็ อป)-01-cover

โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ? พร้อมการทำงาน เหมาะกับใครบ้าง

ด้วยสภาวะโลกร้อนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำให้ผู้คนเกิดการตื่นตัวจนเป็นกระแสในการลดภาระการใช้พลังงานเชื้อเพลิง โดยหลายประเทศที่มีแดดจัดได้หันมาใช้ โซลาร์รูฟท็อปกันมากขึ้น ซึ่งโซลาร์รูฟท็อปเป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน รับแสงอาทิตย์ในยามกลางวันนำมาเป็นพลังงาน โดยในบทความนี้จะพาไปรู้จักว่าโซลาร์รูฟท็อปคืออะไร มีหลักการในการทำงานเพื่อผลิตไฟฟ้าแบบไหน แล้วเหมาะสำหรับใครบ้าง 

โซลาร์รูฟท็อปคืออะไร

โซลาร์รูฟท็อปคืออะไร

โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ การนำแผงพลังงานแสงอาทิตย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ แผงโซลาร์เซลล์ มาติดตั้งบนหลังคาที่พักอาศัย โรงงานอุตสาหกรรม หรืออาคารต่างๆ จุดเด่นของโซลาร์รูฟท็อปอยู่ที่ระบบการทำงานที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์กลับมาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ลักษณะการทำงานของโซลาร์รูฟท็อปตัวแผงที่ติดตั้งจะผลิตไฟฟ้าเป็นกระแสตรง (DC) ออกมาแล้วส่งเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟกระแสสลับ (AC) เพื่อให้สามารถนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้งานได้จะต้องมีตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) ที่ทำหน้าที่ควบคุมและจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ภายในบ้านหรือสถานที่ติดตั้ง เพียงเท่านี้ก็จะมีพลังงานไฟฟ้าพร้อมใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น ทีวี เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น นอกจากการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ได้เองแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้จากการส่งขายไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์รูฟท็อปคืนให้กับหน่วยงานของรัฐตามโครงการที่จัดขึ้นเป็นรอบ ๆ ได้อีกด้วย 

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อป

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อป

ก่อนที่จะนำพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์รูฟท็อปมาใช้งาน ต้องรู้ถึงหลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อปก่อนว่ามีขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าอย่างไร โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. แผงพลังงานแสงอาทิตย์หรือแผงโซลาร์เซลล์จะรับแสงจากดวงอาทิตย์
  2. กระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์จะส่งผ่านอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (DC Fuse) แล้วส่งต่อไปยังเครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter)
  3. เครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter) จะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นกระแสสลับ (AC) และส่งผ่านต่อไปยังอุปกรณ์ป้องกันแรงดันกระชาก (AC Surge Protector)
  4. อุปกรณ์ป้องกันแรงดันกระชาก (AC Surge Protector) จะส่งกระแสไฟผ่านตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน
  5. ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมการส่งกระแสไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆ ของบ้านที่ใช้ไฟฟ้ารวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ 

ระบบที่มีของโซลาร์รูฟท็อป

ระบบที่มีของโซลาร์รูฟท็อป

โดยทั่วไปแล้ว โซลาร์รูฟท็อปมีด้วยกันอยู่ 3 ระบบ ดังนี้

ระบบออนกริด (On-Grid System)

โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริด (On-Grid System) เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เหมาะกับอาคาร บ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าช่วงเวลากลางวันมากที่สุด โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดสามารถผลิตไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ โดยเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า หากมีไฟฟ้าเหลือจากการผลิตสามารถส่งขายให้กับภาครัฐได้ 

หลักการทำงานระบบออนกริด (On-Grid System)

หลักการทำงานของ โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริด มีดังนี้

  •  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะเริ่มทำงานทันทีเมื่อมีแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์
  • แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นส่งผ่านเครื่องแปลงไฟฟ้าเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
  • จากนั้นไฟฟ้ากระแสสลับจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  • เมื่อดวงอาทิตย์หรี่แสง และการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะไม่ใช้ไฟจากการไฟฟ้า และไฟที่ผลิตได้จะไม่ไหลย้อนกลับไปยังการไฟฟ้าเนื่องจากมีอุปกรณ์ป้องกันการไหลย้อนกลับของกระแสไฟ
  • หากมีเงาบังแสงอาทิตย์เครื่องอินเวอร์เตอร์จะประมวลผลการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก โซลาร์รูฟท็อปและการไฟฟ้ามาใช้ร่วมกันเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
  • ช่วงที่ไม่มีแสงในเวลากลางคืน  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะหยุดทำงานแล้วสลับกลับมาใช้ไฟฟ้าตามปกติ
  • ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์ โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะกลับมาทำงานอีกครั้ง โดยลดการใช้ไฟฟ้าปกติแล้วเริ่มใช้ไฟฟ้าที่ผลิตโดยโซลาร์รูฟท็อปอีกครั้ง

ระบบออฟกริด (Off-Grid System)

โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออฟกริด (Off-Grid System) เหมาะกับบ้านที่ยังไม่มีระบบไฟฟ้ารองรับ โดยเป็นระบบที่โซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยเก็บกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ในช่วงกลางวันอินเวอร์เตอร์จะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน พลังงานไฟฟ้าที่เหลือจะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้ในตอนกลางคืน อีกทั้งไม่มีการเชื่อมต่อกับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าโดยตรง  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออฟกริดจึงจำเป็นต้องมีแบตเตอรี่เพื่อใช้สำรองไฟฟ้าที่จะใช้ในตอนกลางคืน 

หลักการทำงานระบบออฟกริด (Off-Grid System)

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อประบบออฟกริด มีดังนี้

  •  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออฟกริดจะเริ่มทำงานทันทีเมื่อมีแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์
  • แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรงจากนั้นส่งผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์เพื่อชาร์จแบตเตอรี่
  • ขณะเดียวกัน ระบบจะดึงไฟจากแบตเตอรี่เพื่อจ่ายไฟฟ้าเป็นกระแสสลับผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์เพื่อจ่ายกระแสไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  • ในช่วงกลางคืนระบบจะดึงไฟจากแบตเตอรี่ที่เก็บพลังงานในตอนกลางวันมาใช้งานผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์เพื่อจ่ายกระแสไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  • หากแบตเตอรี่หมดโซลาร์รูฟท็อประบบออฟกริดจะไม่สามารถผลิตไฟได้ ทำให้ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้

ระบบไฮบริด (Hybrid System)

โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบไฮบริด (Hybrid System) เป็นระบบที่บริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เหมาะกับอาคาร บ้านเรือนที่พบกับปัญหาไฟตกบ่อย เพราะมีระบบสำรองไฟฟ้าเพื่อใช้ในช่วงที่ไฟฟ้าดับ เมื่อแผงโซลาร์เซลล์ได้รับแสงจะทำการผลิตพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงแล้วส่งไปยังไฮบริดอินเวอร์เตอร์ ซึ่งจะทำการแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแล้วจ่ายไฟให้กับเครื่องใช้ภายในบ้าน ไฟฟ้าส่วนที่เหลือจะถูกนำไปเก็บที่แบตเตอรี่เพื่อสำรองไฟฟ้าไว้ใช้ 

หลักการทำงานระบบไฮบริด (Hybrid System)

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อประบบไฮบริด มีดังนี้

  •  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบไฮบริดจะเริ่มทำงานทันทีเมื่อมีแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์
  • แผงโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้ากระแสตรงผ่านอินเวอร์เตอร์เพื่อทำการชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จนเต็ม
  • ขณะเดียวกัน อินเวอร์เตอร์ก็จะจ่ายไฟกระแสสลับ โดยส่งไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน
  • หากมีเงาบังแสงอาทิตย์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น อินเวอร์เตอร์จะทำการประมวลผลใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์รูฟท็อปและการไฟฟ้ามาใช้ร่วมกันเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
  • ช่วงเวลากลางคืนโซลาร์รูฟท็อปแบบระบบไฮบริดจะหยุดทำงานและสลับไปใช้ไฟฟ้าปกติจากการไฟฟ้าแทน
  • กรณีไฟดับ ระบบจะนำพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้จนหมด

โซลาร์รูฟท็อปเหมาะสำหรับใคร

โซลาร์รูฟท็อปเหมาะสำหรับใคร

ก่อนที่จะใช้โซลาร์รูฟท็อปจะต้องพิจารณาการใช้ไฟของสถานที่ก่อน เพราะแต่ละที่มีการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งการจะใช้โซลาร์รูฟท็อปให้คุ้มค่าจะต้องเป็นที่ที่ใช้ไฟฟ้ากันเป็นจำนวนมากในตอนกลางวัน อย่างที่พักอาศัย บ้านเรือนที่ทำเป็นโฮมออฟฟิศ ผู้อาศัยที่ทำงาน WFH หรือแม้กระทั่งโรงงานขนาดเล็ก ด้วยเหตุผลนี้เองจึงเป็นผู้ที่เหมาะกับการใช้โซลาร์รูฟท็อปเพราะสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่

ข้อดีของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป

ข้อดีของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป

การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปนั้นมีข้อดีหลายอย่าง ตั้งแต่การช่วยประหยัดไฟฟ้าไปจนถึงช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดังนี้

  1. ประหยัดค่าไฟได้มากขึ้นเพราะสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ 
  2. มีรายได้จากการนำไฟฟ้าส่วนที่เหลือขายให้กับหน่วยงานของรัฐ
  3. อุณหภูมิภายในสถานที่ที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปลดลง เพราะแผงโซลาร์เซลล์จะช่วยบังแสงแดดไม่ให้ส่องมายังหลังคาโดยตรง
  4. คืนทุนได้ในระยะเวลาภายใน 8 ปี
  5. ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมุ

ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปประหยัดแค่ไหน

ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปประหยัดแค่ไหน

หากต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด จะต้องดูจากพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก โดยพิจารณาช่วงเวลาการใช้ไฟฟ้าและปริมาณความต้องการใช้ไฟ จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบกัน หากใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันมากกว่า การคืนทุนย่อมเร็วและคุ้มกว่า ซึ่งการผลิตไฟฟ้าใช้เองได้สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้ 3.80 บาทต่อหน่วย และถ้าเหลือไฟฟ้าจากการใช้งานสามารถขายกับภาครัฐได้ในอัตราไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วย

สรุป

 โซลาร์รูฟท็อป คือ ระบบที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือน อาคารต่างๆ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม โดยโซลาร์รูฟท็อป ได้แก่ ระบบออนกริดที่เหมาะกับผู้ที่ใช้ไฟในตอนกลางวันในปริมาณมาก ระบบออฟกริดที่เหมาะกับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง และระบบไฮบริดซึ่งเหมาะกับผู้ที่พบเจอปัญหาไฟตกบ่อย เรียกได้ว่าโซลาร์รูฟท็อปถือเป็นการใช้พลังงานทางเลือกที่ช่วยลดโลกร้อนและประหยัดค่าไฟได้

หากสนใจต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป สามารถใช้บริการจาก Sorarus ได้ ทีมงานและวิศวกรจาก Sorarus มีประสบการณ์ในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมาแล้วกว่า 1,000 ไซต์งาน ครอบคลุมตั้งแต่บ้านไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่ พร้อมให้คำปรึกษาด้านประหยัดพลังงานกับทุกธุรกิจและองค์กร 

Sorarus - May Article 3 ( Net Metering )-01-cover

ทำความรู้จักระบบ Net Metering คืออะไร และมีดียังไง

Net Metering คือ ระบบที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถนำเอาพลังงานหมุนเวียน (renewable energy) มาใช้ เพื่อเป็นการช่วยลดไฟฟ้า รวมถึงลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า เพราะในการผลิตไฟฟ้านั้น มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ส่งผลให้เกิดปฏิกริยาเรือนกระจก โลกร้อน และฝนกรดได้ แต่ Net Metering นั้น จะดีจริงหรือเปล่า หรือดียังไง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบให้คุณ 

ระบบ Net Metering คืออะไร

ระบบ Net Metering คืออะไร

Net Metering คือ ระบบที่นำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ ซึ่งก็คือ พลังงานจากแสงอาทิตย์ (solar energy) ที่มาจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดโลกร้อน และปัญหาสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่มาจากการผลิตไฟฟ้า รวมทั้งเป็นการนำเอาพลังงานสะอาดมาใช้ และช่วยประหยัดค่าไฟจากการนำพลังงานที่เหลือใช้จากผลิตพลังงานเองตามครัวเรือนขายให้กับการไฟฟ้าเพื่อลดหย่อนค่าไฟได้อีกด้วย

 

Net Metering มีจุดเริ่มต้นจากรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีคริสตศักราช 1979 Steven Strong ได้ทำการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สองที่ด้วยกัน ก็คือ อพาร์ตเมนต์ Granite Place และ Carlisle House ซึ่งผลปรากฎว่าเขาสามารถผลิตไฟฟ้าได้มาก และพลังงานดังกล่าวจึงถูกส่งกลับไปยังระบบโครงข่ายไฟฟ้า ปัจจุบันก็มีหลายประเทศที่นำเอาระบบ Net Metering มาใช้ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น อินเดีย เลบานอน แม็กซิโก ปานามา โปตุเกส อุรุกวัย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เป็นต้น 

 

สำหรับประเทศไทยนั้น มีการใช้ระบบมิเตอร์ไฟฟ้าที่วัดการทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ใช้วัดปริมาณกระแสไฟฟ้าสลับในครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้ง มีหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้าเป็นแบบกิโลวัตต์ชั่วโมง

โดยอัตราค่าไฟฟ้าในไทยจะคิดแบบอัตราก้าวหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้งาน 

หากใช้งานเยอะราคาต่อหน่วยก็จะแพงขึ้น

 

Net Metering จะแตกต่างกับมิเตอร์ไฟฟ้าที่ประเทศไทยใช้ ที่ยังไม่สามารถคำนวณข้อมูลไฟฟ้าไหลย้อนได้ สำหรับ Net Metering เมื่อไฟฟ้าส่วนเกินผลิตได้ย้อนกลับไปยังกริด มิเตอร์จะย้อนกลับมา และเมื่อเราดึงพลังงานจากกริดมาใช้ มิเตอร์ก็จะเพิ่มขึ้น ผลคือปริมาณไฟฟ้าที่ใช้จากรัฐและค่าไฟฟ้าลดลง 

ระบบ Net Metering มีการทำงานยังไง

ระบบ Net Metering มีการทำงานยังไง

ระบบ Net Metering จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อไฟฟ้าจากบ้านเรือนไปยังระบบโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งจะมาจากบ้านที่นำเอาโซลาร์เซลล์มาใช้ ในการใช้โซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าอาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อาทิ วันที่ฝนตก แสงแดดน้อย มีเมฆมาก เวลากลางคืน อาจทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าในช่วงดังกล่าวได้ จึงต้องดึงพลังงานจากกริดมาใช้ แต่ Net Metering เปิดโอกาสให้เราขายไฟฟ้าที่ผลิตเกินไปยังกริดได้ และเราก็จะถูกคิดค่าไฟแค่จำนวนที่ใช้จากกริดไปเท่านั้น 

เริ่มทำ Net Metering ยังไง

เริ่มทำ Net Metering ยังไง

ทีนี้ก็อาจจะเกิดคำถามที่ตามมาก็คือ แล้วจะเริ่มต้นนำ Net Metering มาใช้ได้อย่างไร สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกเลยก็คือ เราอาศัยอยู่ในบริเวณที่รองรับ Net Metering หรือเปล่า ในไทยยังไม่รองรับการทำ Net Metering เพราะว่ายังมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องผลกระทบต่อรายได้ของการไฟฟ้า การปรับระบบการทำงานใหม่ เนื่องจากในไทยใช้ระบบมิเตอร์แบบจานหมุน ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลไฟฟ้าย้อนกลับได้เหมือน Net Metering 

 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้ผลิตไฟฟ้าใช้เองในครัวเรือน โดยการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา ในโครงการ “โซลารูฟท็อปภาคประชาชน” และนำเอาพลังงานที่เหลือใช้มาขายได้ในอัตรารับซื้อ 2.20 บาท แต่ยังถือว่าระบบนี้ไม่ใช่ระบบ Net Metering แต่คือระบบ Bill Metering เพราะไม่ได้หักลบค่าไฟฟ้ากับหน่วยไฟฟ้านั่นเอง

ข้อดีของ Net Metering

ข้อดีของ Net Metering

Net Metering เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน และยังเป็นระบบที่หลายๆ ประเทศได้มีการนำมาใช้ เพื่อผลประโยชน์ที่ดีต่อโลกและประชาชน ซึ่งข้อดีของ Net Metering มีดังนี้

ช่วยลดค่าไฟฟ้า

สำหรับการใช้ Net Metering นั้น จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก ระบบ Net Metering ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถแลกเครดิตพลังงานไฟฟ้าเหลือใช้ที่ผลิตได้เองให้กับภาครัฐ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนแต่ละเดือนได้อย่างมาก

ช่วยสร้างรายได้ 

ระบบ Net Metering ไม่สามารถช่วยสร้างรายได้ให้คุณได้ แต่ช่วยเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ และเหลือจากการใช้งานเป็นเครดิต นำไปหักกลบลบกับหน่วยไฟฟ้าที่ดึงจากกริดมาใช้ เพื่อช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณได้มากเลยทีเดียว

สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน

เมื่อระบบหักลบกลบหน่วยอย่าง Net Metering ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจากค่าไฟได้ ยิ่งทำให้ผู้คนหันมาสนใจระบบนี้กันมากขึ้น เพราะยังสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดอย่าง แสงอาทิตย์ หรือลม เข้ามาใช้ผลิตไฟฟ้าได้เองในภาคครัวเรือน รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ลดการพึ่งพาพลังงานเชื้อเพลิงอย่างฟอสซิลที่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม

ช่วยลดมลพิษ

ในการผลิตไฟฟ้านั้นต้องใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานฟอสซิลซึ่งเป็นสารอินทรีย์ใต้พื้นโลก ที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืช ซากสัตว์จำนวนมากบวกกับความร้อนใต้ผืนโลก กลายเป็นแหล่งสะสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) เมื่อฟอสซิลเกิดการเผาไหม้ในกระบวนการต่างๆ จะส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งให้เกิดโลกร้อนและมลพิษในอากาศนั่นเอง

ข้อเสียของ Net Metering

ข้อเสียของ Net Metering

ถึงแม้ว่าระบบ Net Metering จะมีข้อดีอยู่มากมาย แต่ทว่าก็ยังมีข้อเสีย และข้อจำกัดอยู่ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

กระทบต่อรายได้ของการไฟฟ้า

ในประเทศไทยการนำ Net Metering เข้ามาใช้ถือว่ายังมีข้อจำกัดในเรื่องผลกระทบต่อรายได้ของการไฟฟ้าอยู่ เนื่องจากต้องมีการชดเชยต้นทุนสำหรับการลงทุนให้กับการไฟฟ้าในการขายปลีกไฟฟ้า เพราะการไฟฟ้าจะต้องลงทุนไปกับระบบสายส่งที่ส่งไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างครอบคลุม รวมถึงพื้นที่ห่างไกล โดยให้สามารถใช้ไฟฟ้าในอัตราเดียวกันทั้งประเทศได้ด้วย

ไฟฟ้าไม่คงที่

การใช้พลังงานไฟฟ้าจากการผลิตด้วยแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของสภาพอากาศ เนื่องจากการผลิตพลังงานในรูปแบบนี้ ต้องพึ่งพาพลังงานจากแสงแดด หากวันไหนที่ฝนตก อากาศมืดครึ้ม หรือเวลากลางคืน ก็จะทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ทำให้ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานสามารถดึงเอาพลังงานจากกริดมาใช้ในระหว่างที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง

บางพื้นที่ไม่สามารถทำได้

Net Metering ไม่สามามารถทำได้ในทุกพื้นที่ อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า Net Metering จะต้องมีการเชื่อมต่อกับกริดเนื่องจากต้องมีการส่งไฟฟ้าไปยังกริด รวมถึงการดึงมาใช้ในกรณีที่จำเป็นด้วย ทำให้ต้องมีการลงทุนทำสายส่งให้บริการกับประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และยังต้องมีการปรับใช้มิเตอร์ที่รองรับ Net Metering อีกด้วย ทำให้ในหลายๆ ประเทศก็ยังไม่รองรับระบบนี้ รวมถึงในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

สรุป

Net Metering ก็คือ ระบบที่สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าฟ้าใช้เอง ผลิตได้เท่าไร ใช้ไปมากเพียงใด และเหลือไฟฟ้าจากการใช้แค่ไหน ก็สามารถนำไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้งานไปขายเพื่อแลกเครดิต นำมาหักกลบลบหน่วย เพื่อลดภาระค่าไฟได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่ว่า หากจะใช้ Net Metering  เราจะต้องมั่นใจว่าพื้นที่ของเรานั้นรองรับระบบนี้ด้วย แต่น่าเสียดาย สำหรับในไทยยังมีข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุน การกระทบกับรายได้ของการไฟฟ้า จึงทำให้ระบบนี้ยังไม่พร้อมใช้งาน

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด