Sorarus - Dec 5 1-1

ใช้ไฟเยอะต้องรู้! ไฟ 3 เฟส ตัวช่วยไฟเสถียร พร้อมช่วยประหยัดค่าไฟ

ระบบไฟ 3 เฟส เป็นระบบที่เหมาะกับบ้านขนาดใหญ่ อาคารสถานที่ที่ต้องใช้ไฟเยอะๆ หรือโรงงานที่ต้องใช้ไฟทีละมากๆ เนื่องจากระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะช่วยทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนต่างๆ ของอาคารสถานที่มีความเสถียร และหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นไฟฟ้าก็ยังคงทำงานได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วยเช่นกัน มารู้จักไฟ 3 เฟสให้มากขึ้นได้ที่บทความนี้กันเลย

ระบบไฟฟ้า คืออะไร?

ไฟฟ้าเป็นพลังงานอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของพวกเราอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสังคมยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยการใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ต่างต้องการพลังงานจากกระแสไฟฟ้าทั้งนั้น

ระบบไฟฟ้าที่ถูกใช้งานมากที่สุดคือระบบไฟฟ้า 1 เฟส กับ 3 เฟส โดยระบบไฟฟ้า 1 เฟส เหมาะสำหรับการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่ไม่ต้องการกระแสไฟมากนัก เพียงแต่ใช้กระแสไฟตามความต้องการในการดำเนินชีวิต ในขณะที่ ไฟ 3 เฟส เหมาะสำหรับการใช้กระแสไฟฟ้าในระบบอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้กระแสไฟเป็นจำนวนมากนั่นเอง  

ระบบไฟ 3 เฟส คืออะไร?

ระบบไฟ 3 เฟส คืออะไร?

ระบบไฟ 3 เฟส เป็นการที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่าง สายไลน์กับไลน์ 380 – 400 โวลต์ พร้อมการทำงานของแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์และสายนิวทรอลในขนาด 220 – 230 โวลต์ โดยมีความถี่อยู่ที่ 50 Hz ซึ่งจะมีสายไฟในระบบจำนวน 4 สาย ได้แก่ สายไลน์ (มีไฟ) 3 เส้น และ สายนิวทรอล (ไม่มีไฟ) 1 เส้น 

อย่างที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้นแล้วว่าไฟ 3 เฟส มักใช้กับไฟฟ้าในระบบอุตสาหกรรม เนื่องจากมักต้องใช้กระแสไฟและแรงดันไฟฟ้าสูง อีกทั้งโรงงานอุตสาหกรรมมักต้องการใช้ไฟพร้อมกันในอัตราที่มากๆ ไม่ว่าจะเป็นกระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องจักร สำหรับสำนักงาน หรือเพื่อให้แสงสว่างในโรงงานด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้ไฟ 3 เฟส ในครัวเรือนก็สามารถทำได้ แต่ลักษณะการทำงานจะเป็นการที่นำไฟ 3 เฟส แบ่งเป็น 3 ชุด ชุดละ 1 เฟส เพื่อกระจายกระแสไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆ ของบ้าน

ความแตกต่างของระบบไฟ 1 เฟส กับระบบไฟ 3 เฟส

ความแตกต่างของระบบไฟ 1 เฟส กับระบบไฟ 3 เฟส

ระบบไฟ 1 เฟส มีกระแสแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 220 – 230 โวลต์ มีความถี่ 50 Hz โดยมีสายไฟ 2 เส้น ได้แก่ สายไลน์ หรือ สายไฟ และสายนิวทรอล ซึ่งไฟ 1 เฟส เหมาะแก่การใช้งานภายในครัวเรือน เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่ต้องการแรงดันไฟฟ้าที่ 220 โวลต์

ไฟ 1 เฟส กับ ไฟ 3 เฟส มีกำลังแรงดันไฟที่แตกต่างกัน ลักษณะการใช้งานก็แตกต่างกัน เนื่องจากไฟ 1 เฟส เหมาะกับการใช้ภายในครัวเรือน ส่วนไฟ 3 เฟส จะเหมาะกับโรงงานนั่นเอง 

ระบบไฟ 3 เฟส จำเป็นอย่างไร?

ระบบไฟ 3 เฟส จำเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้งานกระแสไฟฟ้าในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน หรือโรงพยาบาล ที่ต้องการใช้ไฟจำนวนมาก เนื่องจากไฟ 3 เฟส จะช่วยให้กำลังในการส่งกระแสแรงดันไฟฟ้ามีความเสถียร สถานที่ต่างๆ จึงสามารถใช้ไฟได้อย่างไม่ติดขัด หรือหากเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ ก็จะยังมีกระแสไฟมากพอที่จะช่วยให้การทำงานไม่ขัดข้อง อีกทั้งไฟ 3 เฟสแม้ว่าอาจจะต้องเริ่มลงทุนในระยะแรก แต่ในระยะยาวแล้วการเลือกใช้ไฟ 3 เฟส จะช่วยให้ประหยัดได้มากกว่า

ระบบไฟฟ้า 3 เฟสดีกว่าอย่างไร?

ระบบไฟฟ้า 3 เฟสดีกว่าอย่างไร?

เมื่อได้รู้จักกับระบบไฟ 3 เฟสกันไปแล้วว่าคืออะไร เหมาะกับการใช้งานแบบไหน มาดูข้อดีของระบบไฟ 3 เฟสเพิ่มเติมกันได้เลย

1. ราคาที่ถูกกว่า

เนื่องจากไฟ 3 เฟส สามารถกระจายและส่งออกกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณมาก หากเมื่อนำมาเปรียบเทียบราคาก็จะเห็นได้ถึงความคุ้มค่าคุ้มราคามากกว่า อีกทั้งหากเลือกใช้ไฟ 3 เฟส ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 

2. ให้พลังงานที่มากกว่า

แน่นอนว่าการใช้ไฟ 3 เฟส จะให้แรงดันกระแสไฟที่มากกว่า สามารถจ่ายไฟฟ้า และพลังงานได้มากกว่าระบบไฟฟ้าอื่นๆ จึงทำให้ระบบไฟ 3 เฟส เหมาะกับการนำไปใช้ในระบบอุตสาหกรรม หรือสถานที่ที่ต้องใช้ไฟจำนวนมากเป็นอย่างยิ่ง 

3. พลังงานที่เสถียรยิ่งขึ้น

ไฟ 3 เฟส นั้นสามารถให้กระแสไฟได้มากยิ่งกว่าระบบไฟ 1 เฟส จึงทำให้ช่วยลดปัญหาการจ่ายไฟที่ไม่เสถียรได้ และหากใช้งานร่วมกับเครื่องสำรองไฟ จะช่วยป้องกันเหตุไฟฟ้าขัดข้องอย่างไฟดับ ไฟตก หรือไฟกระชากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องคอยกังวลใจว่าปัญหาเหล่านี้จะทำให้การใช้งานไฟฟ้าติดขัด

4. ใช้ไฟฟ้าน้อยลงกว่าที่เคย

ในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกระแสไฟจำนวนมาก หรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ หากเลือกใช้ไฟ 1 เฟส จะต้องทำให้จ่ายไฟมากกว่าที่ควรเป็น หากแต่เมื่อใช้ไฟ 3 เฟส ก็จะช่วยให้การจ่ายไฟสามารถกระจายได้อย่างเหมาะสม และไม่ต้องจ่ายไฟมากเท่าระบบไฟ 1 เฟส 

5. การทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีขึ้น

การทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงาน โรงงาน หรือสถานที่ต่างๆ อาจต้องใช้ไฟเป็นจำนวนมาก หรือเครื่องใช้บางประเภทจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟในปริมาณมากแตกต่างไปจากอุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นการทำงานและการจ่ายไฟของไฟ 3 เฟส จะช่วยทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

6. แก้ไขปัญหาไฟฟ้าติดขัดได้ดี

บางครั้งการใช้ไฟ 1 เฟส อาจพบปัญหาขัดข้องอยู่บ้างในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นจากระบบไฟฟ้าเอง หรือจากปัจจัยอื่นๆ ในขณะที่ไฟ 3 เฟส มีการจ่ายกระแสไฟที่สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง จึงทำให้กระแสไฟฟ้ามีความคงที่มากยิ่งขึ้น 

7. ไม่ต้องซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าบ่อยๆ

เนื่องจากไฟ 3 เฟส มีการทำงานที่เสถียร สม่ำเสมอ และคงที่ จึงทำให้ระบบไฟฟ้าสามารถทำงานได้อย่างไหลลื่นตามประสิทธิภาพของระบบไฟ จึงทำให้ช่วยยืดอายุการทำงาน และรักษาประสิทธิภาพของการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ระบบไฟ 3 เฟส ดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าอย่างไร

ระบบไฟ 3 เฟส นั่นส่งผลกระทบที่ดีต่อโลกและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไฟ 3 เฟส จะช่วยทำให้การทำงานของระบบไฟฟ้าสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้ว่าระบบไฟ 3 เฟส อาจไม่สามารถเป็นพลังงานสะอาดได้เท่าพลังงานจากธรรมชาติ แต่นับได้ว่าไฟ 3 เฟส จะช่วยทำให้ในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีหนทางในการเลือกใช้ระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ในปริมาณที่น้อยที่สุด

แผงโซลาร์เซลล์ กับระบบไฟ 3 เฟส เพื่อคุณภาพที่ดีกว่า

แผงโซลาร์เซลล์ กับระบบไฟ 3 เฟส เพื่อคุณภาพที่ดีกว่า

การใช้ระบบไฟ 3 เฟส ควบคู่กับแผงโซลาร์เซลล์ จะช่วยให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีความเสถียร คุ้มค่า และสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งหากใช้ร่วมกันกับแผงโซลาร์เซลล์ก็จะช่วยในการประหยัดพลังงานและช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อย่างดีมากยิ่งขึ้น

สรุป

กล่าวได้ว่าไฟ 1 เฟส คือไฟสำหรับครัวเรือน ที่จะจ่ายกระแสไฟได้ทีละไม่มากนัก ในขณะที่ไฟ 3 เฟส สามารถจ่ายกระแสไฟได้มากกว่า และมีความเสถียรมากกว่า ซึ่งจะช่วยลดความขัดข้องในระหว่างการทำงานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหากนำไฟ 3 เฟส มาใช้ควบคู่กับโซลาร์เซลล์ก็จะช่วยในด้านของประสิทธิภาพในการทำงานของระบบไฟฟ้าได้ดีมากยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

โดย Sorarus มีบริการรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ พร้อมกับการดูแล และซ่อมบำรุง อีกทั้งจะช่วยในการให้คำปรึกษาฟรีสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องโซลาร์เซลล์ และผู้ที่สนใจหันมาเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานไฟฟ้าให้คุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อโลกและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด

Sorarus - Dec 4 1-1

การเลือกขนาด Heat Pump เครื่องทำน้ำร้อนประหยัดพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพ

ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล สถานพยาบาลต่างๆ จำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานความร้อน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องฮีทปั๊มมาใช้งาน เพราะนอกจากจะสร้างพลังงานความร้อนได้เป็นอย่างดีแล้วยังช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายได้ด้วยเช่นกัน ในบทความนี้เราจะพามารู้จักกับฮีทปั๊มมากยิ่งขึ้นว่าคืออะไร มีวิธีเลือก Heat Pump อย่างไร เพื่อนำไปปรับใช้กับธุรกิจต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม 

เครื่องทำความร้อน (Heat Pump) คืออะไร

ฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือ ปั๊มให้ความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้ความร้อนจากแหล่งที่มีอุณหภูมิต่ำไปยังแหล่งที่ต้องการอุณหภูมิที่สูงขึ้น โดยสามารถให้ความร้อนได้ 3-5 เท่า ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ซึ่งอุณหภูมิปกติของฮีทปั๊มจะทำความร้อนได้ไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส ในอุตสาหกรรม ธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างเช่น โรงแรม โรงพยาบาล จำเป็นที่จะต้องใช้ฮีทปั๊มเพื่อสร้างความร้อน ไม่ว่าจะเพื่อใช้ทำความร้อนในเครื่องทำน้ำอุ่น ความร้อนสำหรับเครื่องอบผ้า หรือสำหรับเครื่องให้ความร้อนในการฆ่าเชื้อ เป็นต้น 

ฮีทปั๊มนั้นสามารถให้ความร้อนได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันหากมีวิธีการเลือก Heat Pump ที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นขนาด มาตรฐาน รวมไปถึงสถานที่ติดตั้ง ก็ช่วยประหยัดพลังงานและลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ด้วยเช่นกัน จึงทำให้ในธุรกิจขนาดใหญ่หลากหลายแห่งเลือกที่จะติดตั้งฮีทปั๊มเพื่อให้ความร้อนในการทำงานของอุปกรณ์และระบบต่างๆ ของธุรกิจ

หลักการทำงานของ Heat Pump

ฮีทปั๊มมีหลักการทำงานโดยการถ่ายความร้อนจากอีกตำแหน่งไปสู่อีกตำแหน่งที่มีความต้องการใช้ความร้อน โดยเป็นการทำงานแบบวัฏจักรแบบเทอร์โมไดนามิก ที่เรียกว่า Carnot Cycle 

การทำงานแบบวัฏจักรของฮีทปั๊มนั้นคล้ายกับการทำงานแบบอัดไอ (Mechanical Vapour Compression System) ที่ให้ความเย็นในเครื่องปรับอากาศ แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่ระบบของฮีทปั๊มจะเป็นการให้ความร้อนแทน

วิธีเลือก Heat Pump ให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

วิธีเลือก Heat Pump ให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

วิธีเลือกฮีทปั๊มให้เหมาะสมกับการใช้งานและเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีหลักการในการเลือกดังต่อไปนี้ 

1. เลือกขนาดของ Heat Pump ให้เหมาะสม

การเลือกขนาดของ Heat pump ให้เหมาะสม เป็นหนึ่งในข้อสำคัญที่ควรพิจารณาในการเลือกติดตั้งฮีทปั๊ม โดยวัดจากความต้องการในการใช้งานและการผลิตความร้อนให้เหมาะสมกับขนาดและกำลังของฮีทปั๊ม เพื่อที่จะทำให้การทำความร้อนสามารถกระจายไปได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ 

2. เลือก Heat Pump ที่มีมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัย

อีกหนึ่งวิธีเลือกซื้อ Heat Pump ที่ไม่ควรละเลย คือการเลือกซื้อฮีทปี๊มที่ได้มาจรฐาน โดยมาตรฐานที่ดีของฮีทปั๊มจะต้องดูตามค่า COP ที่จะต้องมากกว่า 4.0 โดยระบบควบคุมของอุปกรณ์จะต้องใช้งานได้ง่ายและสามารถบอกค่า Error ได้ อีกทั้งวัสดุและอุปกรณ์ของเครื่องฮีทปั๊มควรจะต้องได้มาตรฐานสากล

3. เลือกสถานที่ติดตั้ง Heat Pump ที่มีอากาศถ่ายเท

เมื่อรู้ว่าวิธีเลือกฮีทปั๊มที่ดี จะต้องมีขนาดเหมาะสม และมีมาตรฐานแล้ว อย่าลืมว่าสถานที่ติดตั้งฮีทปั๊มเองก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้เช่นกัน สถานที่ที่เหมาะสมกับการติดตั้งฮีทปั๊มคือสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ว่าจะเป็นภายนอกอาคาร ใต้หลังคา หรือภายในห้องที่มีการระบายและการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม โดยจะต้องเป็นที่ที่สามารถเข้าไปเซอร์วิส และดูแลเครื่องฮีทปั๊มได้อย่างสะดวกด้วยเช่นกัน 

4. เลือกซื้อ Heat Pump กับบริษัทผู้เชี่ยวชาญ

มือใหม่ที่กำลังมองหาวิธีเลือกซื้อ Heat Pump พิจารณาเลือกซื้อ Heat Pump กับบริษัทผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากจะได้รับการดูแลและการให้คำแนะนำตั้งแต่ก่อนการติดตั้งไปจนถึงการให้บริการหลังการขาย อีกทั้งยังได้รับการดูแลและการซ่อมบำรุงเพื่อทำให้ฮีทปั๊มสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วเช่นกัน

โดย SORARUS มีบริการให้คำปรึกษาในการแนะนำฮีทปั๊มให้เหมาะสมกับการใช้งาน รวมทั้งยังมีบริการติดตั้งและช่วยดูแลฮีทปั๊มจากทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และมากประสบการณ์โดยเฉพาะ มั่นใจได้แน่นอน

Heat Pump ใช้กับธุรกิจประเภทใดบ้าง

Heat Pump ใช้กับธุรกิจประเภทใดบ้าง

ฮีทปั๊มเหมาะสำหรับหลากหลายธุรกิจ โดยมีประเภทของธุรกิจดังต่อไปนี้

  • ธุรกิจโรงแรม หรือที่พัก โดยมักใช้ฮีทปั๊มสำหรับการทำน้ำอุ่น น้ำร้อน หรือเครื่องอบผ้า และฆ่าเชื้อโรคเป็นต้น
  • สถานพยาบาล และโรงพยาบาล ใช้ฮีทปั๊มสำหรับระบบน้ำร้อน และการให้ความร้อนสำหรับฆ่าเชื้อโรคเพื่อความสะอาดและความปลอดภัย
  • ธุรกิจร้านอาหาร โดยมักจะใช้ฮีทปั๊มเพื่อนำน้ำร้อนสำหรับล้างภาชนะ ซึ่งช่วยในการลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี 
  • โรงงานอุตสาหกรรม บางประเภทที่ต้องการการผลิตความร้อน หรือระบบนำร้อนในการผลิต และการใช้งาน

ประโยชน์ของ Heat Pump ที่มีต่อโลกและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของ Heat Pump ที่มีต่อโลกและสิ่งแวดล้อม

ฮีทปั๊มนั้นนับได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยผลิตความร้อน โดยประโยชน์ของฮีทปั๊มนั้นนอกจากจะดีต่อผู้ใช้งานแล้วยังส่งผลดีต่อโลกและสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เมื่อได้รู้วิธีการเลือกซื้อ Heat Pump กันไปแล้ว มาดูประโยชน์ของฮีทปี๊มว่ามีอะไรบ้าง ดังนี้

1. ช่วยประหยัดพลังงาน

เครื่องฮีทปั๊มทำงานด้วยการนำความร้อนจากภายนอกมายังเครื่องเพื่อผลิตความร้อนและส่งออกไป ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าชิดอื่นจำเป็นที่จะต้องผลิตความร้อนโดยระบบและอุปกรณ์ภายในอยู่ตลอดเวลา และนอกจากนี้แล้วฮีทปั๊มยังใช้พลังงานเพียงแค่ 20-30% ในการสร้างความร้อน นับได้ว่าเป็นการใช้พลังงานที่น้อยมากๆ 

2. ลดมลภาวะทางอากาศ

ฮีทปั๊มมีรูปแบบการทำงานที่ไม่สร้างพิษและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้ระบบการทำงานโดยการถ่ายเทความร้อนด้วยสารทำความเย็นซึ่งมีคุณสมบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน

3. นำลมเย็นกลับมาใช้งานได้

การทำงานของฮีทปั๊มจะระบายลมเย็นออกมา ซึ่งสามารถนำลมเย็นไปใช้งานและใช้ประโยชน์ได้ต่อ เช่น นำลมเย็นมาให้ความเย็นแทนแอร์ ซึ่งจะช่วยในการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี 

4. ดูแลรักษาได้ง่าย

เครื่องฮีทปั๊มเป็นอุปกรณ์ที่ดูแลรักษาได้ง่าย เนื่องจากระบบการทำงานมีความคล้ายคลึงกับเครื่องปรับอากาศ โดยสามารถทำความสะอาดได้ง่ายๆ จากการทำความสะอาดและรักษาแผ่นกรองไม่ให้มีสิ่งสกปรกมาอุดตันเพียงเท่านั้น

5. มีความปลอดภัยสูง

ฮีทปั๊มสามารถทำงานให้ความร้อนกับน้ำได้โดยที่น้ำไม่ต้องเข้าไปอยู่ในระบบและไม่ต้องสัมผัสกับระบบไฟฟ้าโดยตรง จึงทำให้ลดโอกาสเสี่ยงที่จะถูกไฟดูดได้ ซึ่งนี่นับว่าเป็นหนึ่งในข้อดีอย่างยิ่งของการใช้ฮีทปั๊ม

ข้อดีของการใช้ Heat Pump

ข้อดีของการใช้ฮีทปั๊มมีหลายประการด้วยกัน ดังนี้

  • ใช้ไฟน้อยกว่าฮีทเตอร์ไฟฟ้ากว่า 3 – 4เท่า 
  • ประหยัดพลังงานมากกว่าอีทเตอร์ไฟฟ้า 
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ไม่เป็นพิษทำลายสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มทางเลือกในการผลิตน้ำร้อนและยังช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี
  • ลดความเสี่ยงมนการรั่วไหลของไฟฟ้า และลดโอกาสการถูกไฟช็อต เนื่องจากน้ำร้อนไม่ได้สัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยตรง
  • สามารถนำความเย็นที่ระบายออกมาไปใช้ในการให้ความเย็นแทนเครื่องปรับอากาศได้

Heat Pump ใช้งานร่วมกับแผงโซลาร์เซลล์ได้ไหม

Heat Pump ใช้งานร่วมกับแผงโซลาร์เซลล์ได้ไหม

เราสามารถนำแผงโซลาร์เซลล์มาใช้ร่วมกันกับฮีทปั๊มได้ โดยการเลือกแผงโซลาร์เซลล์นันจะเข้ามาช่วยในการผลิตพลังงานเพื่อการทำงานของฮีทปั๊ม ซึ่งขนาดของแผงโซลาร์เซลล์จะปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการใช้พลังงานของฮีทปั๊ม การเลือกใช้การให้พลังงานความร้อนเพื่อการทำน้ำร้อนในระบบอุตสาหกรรมหรือธุรกิจขนาดใหญ่นั้น ควรเลือกใช้ฮีทปั๊มในการผลิตพลังงานความร้อน เพราะทำให้สามารถผลิตพลังงานความร้อนได้มาก แต่ในขณะเดียวกันก็ประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหากนำมาใช้ควบคู่กับแผงโซลาร์เซลล์ก็จะช่วยทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และได้ใช้พลังงานจากธรรมชาติได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

SORARUS มีการให้บริการแนะนำให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการเลือกติดตั้งโซลร์เซลล์เพื่อใช้งานควบคู่กับฮีทปั๊มให้เหมาะกับความต้องการของคุณ รวมไปถึงการการเลือกขนาด Heat Pump ให้เหมาะสม อีกทั้งยังให้บริการติดตั้ง ตลอดจนการดูแลหลังการติดตั้งด้วยเช่นกัน

 

สรุป

ฮีทปั๊มเป็นเครื่องที่จะช่วยในการผลิตความร้อน น้ำร้อน ซึ่งมีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกับเครื่องปรับอากาศ หากแต่ในขณะเดียวกันฮีทปั๊มจะนำความร้อนจากธรรมชาติมาผลิตความร้อนแทนการใช้ระบบไฟฟ้าจากตัวอุปกรณ์ จึงทำให้ประหยัดพลังงาน และมีความปลอดภัยสูง ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ อีกทั้งการทำงานของฮีทปั๊มยังไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อมของเรา 

วิธีเลือกฮีทปั๊ม จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของเรา ทั้งการเลือกขนาด Heat Pump ให้เหมาะสม เลือกฮีทปั๊มที่ได้การรับรองมาตรฐาน อีกทั้งควรเลือกซื้อและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีความเป็นมืออาชีพอย่าง SORARUS เพื่อจะช่วยให้การติดตั้ง การใช้งาน และการบำรุงรักษาฮีทปั๊ม รวมถึงการติดตั้งฮีทปั๊มควบคู่กับระบบโซลาร์เซลล์ มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานในทุกขั้นตอน 

Sorarus - Dec 3 1-1

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา เหมาะกับบ้านรูปแบบไหน มาดูกัน!

โซลาร์เซลล์คือพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ที่มีปริมาณไม่จำกัด หลายบ้านอาจสนใจและอยากที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ แต่ไม่มีพื้นที่เพียงพอ การติดบนหลังคาบ้านก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี บทความนี้จะพาไปดูว่าการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านมีประโยชน์อย่างไร การติดตั้งโซลาร์เซลล์เหมาะกับหลังคาบ้านแบบไหน

การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน มีประโยชน์อย่างไร

การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน มีประโยชน์อย่างไร

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านนั้นมีประโยชน์ในหลายด้าน มีประโยชน์ต่อทั้งเจ้าของบ้าน ต่อส่วนรวม และต่อโลก ซึ่งสามารถแจกแจงเป็นรายละเอียดได้ ดังนี้

ประโยชน์ต่อเจ้าของบ้าน

  • ช่วยลดค่าไฟในแต่ละเดือนได้ ในกรณีที่ติดตั้งเพื่อใช้ในอาคารของตนเอง
  • ช่วยสร้างรายได้พิเศษ ในกรณีที่ขายให้กับการไฟฟ้า ซึ่งจะขายได้ในราคา 6.96 บาทต่อหน่วย ในขนาดที่ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2566)
  • ช่วยลดความร้อนบนหลังคา เนื่องจากหลังคาบ้านโซลาร์เซลล์ช่วยบังแสงแดดที่ตกกระทบหลังคาได้

ประโยชน์ต่อโลก

  • ช่วยลดมลภาวะ ช่วยลดโลกร้อน เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีมลพิษ
  • ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เพราะเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์
  • ช่วยในการรณรงค์โครงการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Cut)
  • ช่วยลดการสร้างระบบสายส่งไฟฟ้า ช่วยลดการสูญเสียไฟฟ้าในระบบ 
  • ช่วยประหยัดงบประมาณในประเทศ ช่วยสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ
  • ช่วยชะลอการสร้างโรงงานไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิง น้ำ หรือนิวเคลียร์ ช่วยลดความขัดแย้งทางสังคม

หลังคาบ้านแบบไหนเหมาะที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์

หลังคาบ้านแบบไหนเหมาะที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์

ก่อนที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านนั้น ก็มีข้อควรพิจารณาถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมด้วย ดังนี้

วัสดุของหลังคา

ก่อนจะติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาก็ต้องดูที่วัสดุของหลังคาก่อน ซึ่งในความเป็นจริงแผงโซลาร์เซลล์สามารถติดตั้งได้กับวัสดุทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้อง เมทัลชีท ซีเมนต์ โลหะ ไม้ ไวนิล หินชนวน และอื่นๆ แต่เพื่อความปลอดภัยก็ควรตรวจสอบความแข็งแรงของวัสดุ และโครงสร้างของหลังคาก่อน ว่ามีชำรุดหรือเสียหายหรือไม่ สามารถรองรับน้ำหนักได้แค่ไหน โดยทั่วไปหลังคาต้องรองรับน้ำหนักได้ 50 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

อายุของหลังคา

ก่อนที่จะทำหลังคาโซลาร์เซลล์บ้านเรื่องที่จะพลาดไม่ได้เลยคือ ต้องตรวจสอบอายุของหลังคาก่อนเสมอ ว่ามีอายุการใช้งานมานานเท่าไหร่แล้ว โดยให้วิศวกรตรวจสอบว่าหลังคามีสภาพเป็นเช่นไร ต้องทำการเปลี่ยนหรือปรับปรุงก่อนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาหรือไม่ เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ และแผงโซลาร์เซลล์จะมีอายุประมาณ 25 ปี หลังการติดตั้ง ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบอายุและสภาพของหลังคาให้ดีก่อนเสมอ

ทิศทางของหลังคา

ทิศทางของหลังคาก็มีความสำคัญต่อการทำหลังคาบ้านโซลาร์เซลล์เช่นกัน เพราะมีผลต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยทิศใต้จะเป็นทิศที่เหมาะสมที่สุดในการติดตั้งในประเทศไทย เพราะจะสามารถรับแสงอาทิตย์ได้เกือบตลอดทั้งวัน แต่ทิศตะวันออกและตะวันตกก็สามารถติดตั้งได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอ

ขนาดของหลังคา

ขนาดหลังคาโซลาร์เซลล์บ้านเป็นอีกหนึ่งข้อที่ควรนำมาพิจารณาเช่นกัน ยิ่งหลังคามีขนาดพื้นที่กว้างมากเท่าใด ก็เหมาะสมสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มากขึ้นเท่านั้น โดยรูปทรงที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งมากที่สุดจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะสามารถใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นหลังติดตั้งจะต้องเผื่อพื้นที่ว่างไว้ประมาณ 20% เพื่อไว้สำหรับให้ช่างปีนขึ้นไปทำการบำรุงรักษาและซ่อมแซมในอนาคตอีกด้วย

องศาของหลังคา

องศาของหลังคาก็มีความสำคัญไม่แพ้กันสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน โดยระยะองศาที่เหมาะสมในการติดตั้งจะอยู่ที่มุมเอียงระหว่าง 15-40 องศา แต่ถึงแม้ว่าหลังคาจะมีทรงแบนแต่หากติดตั้งได้ระยะมุมองศาที่เหมาะสม ก็จะทำให้การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน

แสงกระทบ

ข้อสุดท้ายที่ควรพิจารณาสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์หลังคาบ้านก็คือแสงที่มาตกกระทบนั่นเอง หากมีเงามาบดบังอาจจะทำให้การผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ได้ประสิทธิภาพ เช่น ต้นไม้สูงที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น อาจจะต้องทำการตัดต้นไม้สูงๆ เพื่อไม่ให้เกิดเงาบนแผงโซลาร์เซลล์ และให้แสงอาทิตย์ตกกระทบได้อย่างเต็มที่

แนะนำ 4 แบบหลังคาบ้านที่เหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์

แนะนำ 4 แบบหลังคาบ้านที่เหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์

หลังคาบ้านในประเทศไทยมีมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่หลังคาที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน มีดังนี้

หลังคาบ้านทรงแบน (Flat Roof)

1. หลังคาบ้านทรงแบน (Flat Roof)

หลังคาทรงแบนจะเป็นบ้านแบบสไตล์โมเดิร์น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะทำด้วยซีเมนต์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบ้าน หรือจะเรียกว่าดาดฟ้าก็ได้เช่นกัน เป็นหลังคาที่มีลักษณะแบบเป็นพื้นราบเดียวกัน ซึ่งเป็นหลังคาที่เหมาะกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา เพราะช่างสามารถทำงานได้ง่ายและสะดวก รวมทั้งการซ่อมบำรุงอีกด้วย

หลังคาบ้านทรงจั่ว (Gable Roof)

2. หลังคาบ้านทรงจั่ว (Gable Roof)

หลังคาบ้านที่เหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์อีกแบบก็คือทรงจั่ว ซึ่งเป็นหลังคาที่มีรูปทรงคล้ายกับสี่เหลี่ยมแต่มีการตัดมุมให้กลายเป็นแปดเหลี่ยม ซึ่งจะทำให้มีความแข็งแรงและพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เพราะรวมส่วนปลายที่สูงขึ้นมาด้วย หลังคาทรงจั่วจึงเหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา เพราะมีพื้นที่และความแข็งแรงเพียงพอ

หลังคาบ้านทรงเพิงแหงน (Lean-to Roof)

3. หลังคาบ้านทรงเพิงแหงน (Lean-to Roof)

หลังคาทรงเพิงแหงนเป็นหลังคาบ้านที่คล้ายกับทรงจั่ว แต่จะแตกต่างกันตรงที่มีส่วนปลายยกขึ้น ซึ่งทำให้หลังคาทนต่อแรงลม และแรงเหวี่ยงได้ดี มีความแข็งแรง ที่สำคัญยังเป็นทรงหลังคาที่รับแสงอาทิตย์ได้ดี จึงเหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา

หลังคาบ้านทรงปั้นหยา (Hip Roof)

4. หลังคาบ้านทรงปั้นหยา (Hip Roof)

สำหรับหลังคาทรงสุดท้ายที่เหมาะกับการทำหลังคาโซลาร์เซลล์บ้านคือทรงปั้นหยา ซึ่งลักษณะโดยรวมจะดูเหมือนกับสี่เหลี่ยม แต่มีส่วนปลายที่ยกสูงขึ้นไปทั้งสองด้าน เลยมีลักษณะคล้ายกับรูปสามเหลี่ยมตั้งโต๊ะ ซึ่งหลังคาทรงปั้นหยาจะเหมาะกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มากกว่าทรงจั่ว เพราะรับแสงอาทิตย์ได้ดีกว่านั่นเอง

สรุป

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านมีประโยชน์ต่อทั้งตัวเจ้าของบ้านเอง ต่อส่วนรวม และต่อโลก เพราะเป็นการนำพลังงานธรรมชาติที่สะอาดมาใช้ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ไม่สูญเสียเชื้อเพลิง ซึ่งดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดโลกร้อน และที่สำคัญยังช่วยประหยัดค่าไฟอีกด้วย ซึ่งการจะติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาก็มีข้อควรพิจารณาหลายด้าน เช่น วัสดุหลังคา อายุ ขนาด ทิศทาง องศา และแสงที่ตกกระทบ ซึ่งมีหลังคาหลายทรงที่เหมาะแก่การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ได้แก่ ทรงแบน ทรงจั่ว ทรงเพิงแหงน ทรงปั้นหยา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเจ้าของบ้านก็ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรมาตรวจสอบโครงสร้างหลังคา ความแข็งแรง และความเหมาะสมก่อนติดตั้ง เพื่อที่จะได้ใช้งานได้อย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพ

1

โซลาร์ฟาร์ม โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจที่น่าจับตามอง

โซลาร์ฟาร์ม เป็นธุรกิจโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่กำลังเป็นที่น่าจับตามอง เพราะนอกจากประหยัดค่าใช้จ่าย ก็ยังเป็นพลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาศึกษาการลงทุนโซลาร์ฟาร์ม และแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ ไปพร้อมกันได้ในบทความนี้

โซลาร์ฟาร์ม ธุรกิจพลังงานทางเลือกที่คุ้มค่า

โซลาร์ฟาร์ม ธุรกิจพลังงานทางเลือกที่คุ้มค่า

โซลาร์ฟาร์ม คือโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ มีอุปกรณ์สำคัญอย่าง แผงโซลาร์เซลล์ ในการรับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งการทำฟาร์มโซล่าเซลล์ เป็นตัวช่วยให้มีพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนใช้ได้ตลอด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม

โซลาร์ฟาร์ม มีกี่รูปแบบ

โซลาร์ฟาร์มมีหลายรูปแบบ โดยแต่ละแบบก็จะมีความแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและลักษณะการติดตั้ง ดังนี้

1. การติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System)

การติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System) คือ การติดตั้งที่มีระบบหมุนตามดวงอาทิตย์ เพื่อให้โซลาร์เซลล์ได้รับแสงและความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ได้ตลอดวัน ข้อดีของการทำโซล่าฟาร์มรูปแบบนี้ คือ โซลาร์เซลล์จะรับแสงอาทิตย์ได้ตลอดวัน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้ามากกว่าการติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่ถึง 20% แต่การติดตั้งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไรนัก ส่วนของการติดตั้งจะมีโปรแกรมควบคุมการหมุนของแผงโซลาร์เซลล์ โดยเป็นระบบเซนเซอร์หรือการตั้งเวลา

2. การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ (Floating System)

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ (Floating System) คือ การติดตั้งโซลาร์เซลล์กับทุ่นลอยน้ำ เหมาะกับคนที่มีพื้นที่จำกัดในการทำโซล่าฟาร์ม เพราะไม่ต้องสูญเสียพื้นดิน จุดเด่นและข้อดี คือ มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้ดีกว่าบนพื้นดิน อีกทั้งแผงโซลาร์เซลล์มีความร้อนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากไม่ได้มีการระบายอากาศที่ดี แผงจะพังและเสียหายได้ไว ทำให้การทำโซล่าฟาร์มบนผิวน้ำ ไอระเหยของน้ำ และความเย็นของผิวน้ำรอบๆ จะช่วยระบายความร้อนและยืดอายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์ จึงนิยมติดตั้งตามแหล่งเพราะปลูกที่มีการใช้น้ำเป็นหลัก วิธีติดตั้งในการทำโซล่าฟาร์ม คือการนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดกับอุปกรณ์ลอยตัวและทุ่นลอยน้ำ เพื่อให้แผงโซลาร์เซลล์ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ

3. การติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่ (Fixed System)

การติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่ (Fixed System) คือ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่มีตำแหน่งชัดเจนและเป็นตำแหน่งที่รับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด ข้อดีในการติดตั้ง คือต้นทุนในการติดตั้งและค่าบำรุงรักษาต่ำกว่าการติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์และการติดตั้งแบบทุ่นลอยน้ำ แต่การรับแสงอาทิตย์และการผลิตพลังงานไม่ได้เต็มที่ตลอดวัน ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการทำโซล่าฟาร์ม จึงมักนำไปติดตั้งตามที่อยู่อาศัย อย่างหลังคาบ้านหรือตามอาคารมากกว่า วิธีการติดตั้งคือต้องสำรวจพื้นที่ในการติดตั้งก่อนว่ามีพื้นที่บริเวณไหนบ้างที่สามารถรับแสงอาทิตย์ได้มากและนานที่สุด จากนั้นจึงค่อยทำดำเนินการติดตั้งต่อไป

ข้อดีของโซลาร์ฟาร์ม

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายของค่าไฟฟ้า เพราะในโรงงานอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องและใช้ในปริมาณสูง ซึ่งหากทำโซล่าฟาร์มที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลักในการผลิตไฟฟ้า จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การทำฟาร์มโซล่าเซลล์เป็นการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด มาเป็นตัวการผลิตพลังงานไฟฟ้า จึงไม่มีการใช้เชื้อเพลิง ไม่มีการเผ้าไหม้ที่เป็นมลพิษต่ออากาศ และช่วยลดการเกิดภาวะเรือนกระจก
  • การทำโซล่าฟาร์ม ติดตั้งได้ง่ายๆ ไม่มีความซับซ้อน เพียงแค่มีโซลาร์เซลล์ สายไฟ แบตเตอรี่ ก็สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ได้อย่างรวดเร็ว 

ข้อจำกัดโซลาร์ฟาร์ม

  • พลังงานไฟฟ้าที่ได้อาจไม่คุ้มค่า เพราะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้แค่เฉพาะตอนกลางวันหรือตอนที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้า 24 ชั่วโมง อาจต้องมีอุปกรณ์เสริมสำหรับการติดตั้ง
  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก โดยเฉพาะโซล่าฟาร์มที่ต้องใช้งานแผงโซลาร์เซลล์เป็นจำนวนมาก จึงใช้พื้นที่ติดตั้งเยอะตามไปด้วย ทำให้ต้องมีพื้นที่ที่เพียงต่อการติดตั้ง
  • ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง เนื่องจากโซล่าฟาร์มจำเป็นต้องใช้พื้นที่เยอะ บวกกับค่าใช้จ่ายจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผงโซลาร์เซลล์ สายไฟ แบตเตอรี่ และอื่นๆ ที่ต้องใช้ในการติดตั้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อนการติดตั้ง ก็ควรคำนวณพื้นที่และค่าใช้จ่ายก่อนการติดตั้ง เพื่อให้คุ้มค่าและคุ้มทุน

การลงทุนที่คุ้มค่าของโซลาร์ฟาร์ม

การลงทุนที่คุ้มค่าของโซลาร์ฟาร์ม

สำหรับการลงทุนเกี่ยวกับโซลาร์ฟาร์ม ก็ได้มีตัวอย่างการลงทุนที่คุ้มค่าของโซลาร์ฟาร์มมาให้ศึกษา 2 แบบ ดังนี้

โซลาร์ฟาร์ม 1 MW ใช้งบการลงทุนเท่าไร

โซลาร์ฟาร์ม 1 MW เฉลี่ยพื้นที่การลงทุนประมาณ 10 ไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 30 ล้านบาท เมื่อเฉลี่ยเงินลงทุนต่อไร่จะมีเงินลงทุนอยู่ที่ไร่ละ 3 ล้านบาท วิธีคิด คือ โซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ผลิตไฟฟ้าได้ 15,000 หน่วยต่อเดือน เท่ากับว่า โซลาร์ฟาร์ม 1 MW ที่ใช้พื้นที่ประมาณ 10 ไร่ จะผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 150,000 หน่วยต่อเดือน และการไฟฟ้ารับซื้อไฟอยู่ที่ 2.20 บาทต่อหน่วย 

ดังนั้น จึงสามารถสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า โดยคิดเป็น 150,000 หน่วยต่อเดือน x 2.20 บาทต่อหน่วย = สร้างรายได้เฉลี่ย 330,000 บาท ต่อเดือน หรือเฉลี่ย 3,960,000 ต่อปี ความคุ้มค่าของการลงทุนโซลาร์ฟาร์ม 1 MW ภายใน 1 ปี อาจเหมาะสำหรับคนที่มีเงินลงทุนที่มากกว่า เพราะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง แต่หากมีพื้นเยอะจะยิ่งทำให้คืนทุนไว

โซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ใช้งบการลงทุนเท่าไร

โซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ เฉลี่ยเงินลงทุนไร่ละ 3 ล้านบาท และผลิตไฟฟ้าได้ 15,000 หน่วยต่อเดือน การไฟฟ้ารับซื้อไฟอยู่ที่ 2.20 บาทต่อหน่วย ดังนั้น สามารถสร้างรายได้ จากการขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า โดยคิดเป็น 15,000 หน่วยต่อเดือน x 2.20 บาทต่อหน่วย = สร้างรายได้เฉลี่ย 33,000 ต่อเดือน หรือเฉลี่ย 396,000 ต่อปี ซึ่งความคุ้มค่าของการลงทุนโซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ใน 1 ปี เหมาะกับคนที่เริ่มต้นลงทุนและมีเงินลงทุนไม่มาก มีขนาดพื้นที่กำลังพอดีที่ดูแลได้ทั่วถึง แต่พื้นที่ขนาดเล็ก อาจทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าน้อยลง และระยะเวลาคืนทุนที่นานกว่าเดิม

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากการที่รัฐบาลส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทน พร้อมกับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคเอกชนและนักลงทุน เกี่ยวกับการลงทุนโซลาร์ฟาร์ม และ ROI (ผลตอบแทนจากการลงทุน) ที่มั่นคงในระยะยาว ทำให้ได้ผลตอบรับที่น่าสนใจ อีกทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ต้นทุนอุปกรณ์โซลาร์ฟาร์มลดลง ส่งผลต่อธุรกิจโซลาร์เซลล์ในไทย กลายเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีการแข่งขันสูงและมีศักยภาพสูง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทยในปี 2567 ก็ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากนโยบายของรัฐบาล ที่มีการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (RE) และการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน ที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ อัตรา 2.20 บาทต่อหน่วย

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มมีวิธีการดำเนินการอย่างไร

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มมีวิธีการดำเนินการอย่างไร

หากใครที่มีข้อสงสัยและกำลังหาคำตอบสำหรับการทำโซล่าฟาร์มที่จำเป็นต้องยื่นจดทะเบียนไหม? คำตอบคือ จำเป็นต้องยื่นจดทะเบียน เพราะการทำโซลาร์ฟาร์ม เป็นการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบระบบออนกริด หรือระบบไฮบริด ที่มีการเชื่อมต่อกับไฟของการไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องขอนุญาตก่อนการติดตั้ง รวมถึงขออนุญาตขนานไฟฟ้าและการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

เพื่อให้การติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับโซลาร์ฟาร์มเป็นไปด้วยความปลอดภัย และติดตั้งอย่างถูกกฎหมาย ผู้ติดตั้งต้องดำเนินการ ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

  1. สำรวจพื้นที่ในการติดตั้ง การทำโซลาร์ฟาร์ม ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งมาก จึงควรสำรวจพื้นที่ให้ชัดเจนว่าพื้นที่เพียงพอหรือไม่ ตำแหน่งแสงอาทิตย์ สามารถรับแสงสูงสุดได้นานกี่ชั่วโมง และรับแสงอาทิตย์ได้ดีเท่าที่ควรหรือไม่
  2. ยื่นจดทะเบียนขออนุญาตทำโซล่าฟาร์ม หลังจากที่ได้สำรวจพื้นที่ในการติดตั้ง ต่อมาคือ การยื่นจดทะเบียนเพื่อขอติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับการทำโซล่าฟาร์ม
  3. ออกแบบการติดตั้งและดำเนินการก่อสร้าง เมื่อยื่นขออนุญาตเรียบร้อย จึงออกแบบการก่อสร้างและเริ่มติดตั้งได้ทันที แนะนำให้ติดตั้งกับบริษัทที่รับติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยตรงจะดีที่สุด เพราะจะได้ช่างที่มีความชำนาญ การออกแบบที่ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งคุณภาพ การดูแล และการรับประกันเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  4. ลงทะเบียนแจ้งขอเชื่อมต่อไฟกับการไฟฟ้า และทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า ติดต่อการไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อไฟฟ้า รวมถึงขอใบอนุญาตขนานไฟฟ้า และการลงทะเบียนทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

ขั้นตอนการขอใบอนุญาตติดตั้งของโซลาร์ฟาร์มในปี 2567

ขั้นตอนการขอใบอนุญาตติดตั้งของโซลาร์ฟาร์มในปี 2567

ก่อนจะไปดูวิธีการขอใบอนุญาตติดตั้งของโซลาร์ฟาร์มในปี 2567 ต้องพิจารณาจากขนาดการผลิตกระแสไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง โดยแยกเป็น 3 เงื่อนไข มีอะไรบ้าง

เงื่อนไขที่ 1: แผงโซล่าเซลล์ ต้องมีกำลังไฟ น้อยกว่า 200 กิโลวัตต์ (kWp) หรือน้อยกว่า 200,000 วัตต์ (watt)

เงื่อนไขที่ 2: แผงโซล่าเซลล์ ต้องมีกำลังไฟ มากกว่า หรือ เท่ากับ 200 กิโลวัตต์ (kWp) แต่ต้องไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ (kWp) หรือเป็นจำนวน 200,001 วัตต์ ถึง 1,000,000 วัตต์

เงื่อนไขที่ 3: แผงโซล่าเซลล์ ต้องมีกำลังไฟ มากกว่า หรือ เท่ากับ 1,000 กิโลวัตต์ (kWp) หรือ 1,000,000 วัตต์ ขึ้นไป

เมื่อได้รู้ถึงขนาดการผลิตกระแสไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งเป็นที่เรียบร้อย ต่อมาเป็นขั้นตอนการขอใบอนุญาตติดตั้งโซลาร์ฟาร์ม ในปี 2567 ที่ผู้ติดตั้งสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. ยื่นใบอนุญาติก่อสร้าง

ยื่นแบบ อ.1. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ ที่อาศัยอยู่ เช่น สำนักงานเขต หรือสำนักงานเทศบาล เพื่อการดัดแปลงโครงสร้างก่อนการติดตั้ง

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1 คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร
  • แบบแปลนแสดงรายละเอียดการก่อสร้าง เช่น แผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์  พร้อมรายละเอียดการติดตั้ง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรองรับของวิศวกรออกแบบและวิศวกรคุมงาน (โยธา)

เมื่อได้รับเอกสารอนุญาตติดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงสามารถติดตั้งได้ทันที

2. การลงทะเบียน

ลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่สำนักงาน กกพ. หรือลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ที่ https://cleanenergyforlife.net/login

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • สำเนาหลักฐานการยื่นแบบคำขอ จากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
  • แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) ที่วิศวกรไฟฟ้าเซ็นรับรอง
  • แบบแโครงสร้างในการติดตั้ง รายการคำนวณโครงสร้าง ที่วิศวกรวิศวกรคุมงาน (โยธา) เซ็นรับรอง
  • ภาพถ่ายการติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อของแผงโซลาร์เซลล์
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อของอินเวอร์เตอร์ ที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า และเป็นรุ่นตามมาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
  • สำเนาบัตรประชาชน ที่ตรงกับหมายเลขผู้ใช้ไฟ ตามใบแจ้งหนี้ของการไฟฟ้า
  • บิลค่าไฟ
  • กรณีมอบอำนาจ ต้องมีเอกสารมอบอำนาจ
  • ติดต่อการไฟฟ้าในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ เพื่อตรวจสอบ และทดสอบการเชื่อมต่อ

หลังจากที่ได้รับหนังสืออนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกพ. ให้ผู้ติดตั้ง แจ้งกับการไฟฟ้าในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 

3. แจ้ง กฟน. หรือ กฟภ. (PEA)

ติดต่อ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ที่ https://myenergy.mea.or.th/ หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่ https://ppim.pea.co.th:4433/app/project/eco เพื่อร่วมโครงการขายไฟ หรือขอขนานกับระบบไฟฟ้า

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1 คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร
  • แบบแปลนของแผนผังและโครงสร้างหลังคา
  • บัตรประชาชน พร้อมหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้า
  • แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) ที่วิศวกรไฟฟ้าเซ็นรับรอง และสำเนาใบประกอบวิชาชีพ (ใบกว.)
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อของแผงโซลาร์เซลล์
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อของอินเวอร์เตอร์ ที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า และเป็นรุ่นตามมาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
  • ข้อมูลแผนที่บ้าน รูปถ่ายบ้าน รูปถ่ายแผงโซลาร์เซลล์ทุกแผง
  • กรณีมอบอำนาจ ต้องมีเอกสารมอบอำนาจ

4. ยื่นสำเนาหนังสือรับ

ยื่นสำเนาหนังสือแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตให้กับการไฟฟ้าพร้อมชำระค่าบริการ จากนั้นการไฟฟ้าจะตรวจสอบระบบโซลาร์เซลล์ ระบบการผลิตไฟ หากผ่านตามข้อกำหนด การไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับโซลาร์เซลล์และเชื่อมต่อ COD เข้าระบบการไฟฟ้า เมื่อเรียบร้อยก็สามารถใช้โซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ทันที

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • สำเนาหนังสือแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต
  • เงินสำหรับชำระค่าบริการ

 

สรุป

โซลาร์ฟาร์ม คือ โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้งาน ซึ่งโซลาร์ฟาร์มเป็นอีกหนึ่งธุรกิจพลังงานสะอาด เพราะไม่มีการใช้เชื้อเพลิง ไม่มีการเผาไหม้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในปี 2567 การลงทุนในธุรกิจนี้ยังคงคุ้มค่าแก่การลงทุน เพราะการส่งเสริมจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและนักลงทุน พร้อมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ช่วยลดต้นทุนและผลของการลงทุนที่มั่นคง ทำให้เป็นที่น่าสนใจ ส่งผลต่อการขยายตัวของธุรกิจให้เติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ก่อนการติดตั้งต้องทำการยื่นจดทะเบียนก่อนทุกครั้ง ทำได้โดยการสำรวจพื้นที่ในการติดตั้ง จากนั้นยื่นจดทะเบียนขอติดตั้งโซลาร์เซลล์ เมื่อผ่านเรียบร้อยจึงติดตั้งได้ทันที ที่สำคัญต้องศึกษาข้อดี ข้อเสีย และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน เพราะเป็นการลงทุนที่ใช้เงินเป็นจำนวนมากและความพร้อมหลายๆ อย่างทั้งพื้นที่ อุปกรณ์ ความชำนาญในการติดตั้ง รวมถึงค่าบำรุงรักษา 

สำหรับที่อยากติดแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้าน โรงงานอุตสาหกรรม หรือเพื่อการเกษตร ขอแนะนำ โซลาร์เซลล์ Sorarus โดยใช้วัสดุที่มีคุณภาพในการผลิต แผงโซลาร์เซลล์มีประสิทธิภาพสูง ทนทานต่อแดด และความร้อนได้ดี พร้อมมีบริการปรึกษาฟรี การติดตั้งจากวิศวกร และทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ และบริการหลังการขาย ในการซ่อมบำรุง และดูแล เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

cover

มิเตอร์ไฟฟ้า TOU คืออะไร ช่วยให้ประหยัดไฟได้มากกว่าเก่าจริงหรือไม่

มิเตอร์ TOU คือมิเตอร์ที่คิดอัตราค่าไฟตามช่วงเวลาการใช้งานของคนที่ใช้ไฟฟ้า เหมาะกับบ้าน หรือธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อเทียบกับมิเตอร์ธรรมดาจะมีอัตราค่าไฟที่ถูกลงกว่าปกติ แล้วมิเตอร์ประเภทนี้สามารถประหยัดค่าไฟกว่ามิเตอร์ธรรมดาได้อย่างไร ไปดูเพิ่มเติมกันได้ในบทความนี้

มิเตอร์ไฟฟ้า TOU คืออะไร

มิเตอร์ไฟฟ้า TOU คืออะไร

มิเตอร์ไฟฟ้า TOU คือมิเตอร์ที่คิดค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ช่วงเวลากลางวันที่คนใช้ไฟฟ้าเยอะ และช่วงเวลากลางคืนที่คนใช้ไฟฟ้าน้อย โดยคุณสมบัติของ มิเตอร์ไฟฟ้า TOU ประเภทนี้ จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของค่าไฟฟ้า ไม่ให้มากเกินความจำเป็นนั่นเอง

อัตราค่าไฟแบบ TOU ที่คิดตามช่วงเวลา

อัตราค่าไฟแบบ TOU ที่คิดตามช่วงเวลา

โดยอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ที่คิดตามช่วงเวลาการใช้งาน สามารถแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้

ช่วงเวลา On Peak 

อัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ช่วงเวลา On Peak หรือเวลากลางวัน เป็นช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาสูง เพราะผู้คนต้องใช้ไฟฟ้าในการประกอบกิจกรรม หรือการทำงาน ทำให้ช่วงเวลานี้ต้องมีการใช้เชื้อเพลิงมาผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก โดยช่วงเวลา On Peak จะแบ่งเป็นวันจันทร์ถึงศุกร์ และวันพืชมงคลช่วงเวลา 9.00- 22.00 น.

ช่วงเวลา Off Peak

อัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ช่วงเวลา Off Peak หรือช่วงเวลากลางคืน เป็นช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาต่ำ เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน ที่ผู้คนไม่ได้มีการประกอบกิจกรรม หรือทำงานใดๆ ทำให้ช่วงเวลานี้สามารถใช้เชื้อเพลิงต้นทุนต่ำมาผลิตไฟฟ้าได้ จึงทำให้อัตราค่าไฟถูกลง โดยช่วงเวลา Off Peak จะแบ่งเป็น วันจันทร์-ศุกร์ และวันพืชมงคล ช่วงเวลา 22.00-9.00 น. และวันเสาร์–อาทิตย์เวลา 00.00-24.00 น. ของวันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคล วันแรงงานแห่งชาติ และวันหยุดชดเชย)

ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้มิเตอร์ TOU

ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้มิเตอร์ TOU

จากลักษณะการใช้งาน และการคิดค่าไฟแบบมิเตอร์ TOU อาจเหมาะกับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าตอน Off-Paek หรือใช้งานไฟฟ้าเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ที่มีการใช้ไฟฟ้าหลังสี่ทุ่ม จนถึงเก้าโมงเช้า กล่าวคือ อาจเหมาะกลุ่มคนวัยทำงาน พนักงานออฟฟิศ ที่ในวันธรรมดาเวลากลางวันจะออกไปทำงาน และกลับมาใช้ไฟบ้านในตอนกลางคืน ซึ่งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบ TOU เหมาะจะใช้กับบ้านที่อยู่อาศัย หรือธุรกิจ และกิจการขนาดเล็กที่ต้องใช้ไฟตอนกลางคืน โดยเฉพาะสำหรับตู้แช่ หรือตู้เก็บความเย็นต่างๆ เพราะจะมีอัตราค่าไฟที่ถูกกว่าค่าไฟปกติ และเป็นตัวเลือกที่ดี ที่จะทำให้เสียค่าไฟได้น้อยลงกว่าเดิม

ใช้มิเตอร์ TOU ค่าไฟถูกลงจริงไหม?

ใช้มิเตอร์ TOU ค่าไฟถูกลงจริงไหม?

อีกหนึ่งคำถามที่น่าสงสัย คือ ถ้าหากเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ TOU แล้วจะช่วยลดค่าไฟได้จริงไหม? ดังนั้น เพื่อให้รู้ว่าค่าไฟถูกลงกว่าเดิมมากแค่ไหน จึงต้องมาพิจารณาดูอัตราค่าไฟกัน ดังนี้

อัตราค่าไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน 

สำหรับการหาค่าไฟต่อเดือนในการใช้มิเตอร์ TOU สามารถคำนวณได้โดยการนำอัตราค่าไฟต่างๆ ที่นับเป็นหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) ไปคำนวณ ดังนี้

  • หน่วยที่ 1–150 คิดเป็นอัตราค่าไฟหน่วยละ 2.7628 บาท
  • หน่วยที่ 151-399 คิดเป็นอัตราค่าไฟหน่วยละ 3.7362 บาท
  • ตั้งแต่ 400 หน่วยขึ้นไป คิดเป็นอัตราค่าไฟหน่วยละ 3.9361 บาท

อัตราค่าไฟฟ้าของมิเตอร์ TOU

วิธีคำนวณอัตราค่าไฟวิธีต่อมา ที่อัตราค่าไฟของ TOU ไม่นับเป็นหน่วย แต่นับเป็นช่วงเวลา ดังนี้

  • ช่วงเวลา On peak (เวลากลางวัน) ตั้งแต่เวลา 9.00-21.59 น. หน่วยละ 5.2674 บาท
  • ช่วงเวลา Off peak (เวลากลางคืน) ตั้งแต่เวลา 22.00-8.59 หน่วยละ 2.1827 บาท

ทั้งนี้ หากมีการใช้มิเตอร์ TOU ไม่ได้ทำให้ค่าไฟถูกลง แต่ถ้ารู้ช่วงเวลาในการใช้ไฟฟ้าก็จะทำให้ประหยัดค่าไฟลงได้ เช่น การใช้ไฟเยอะในช่วงกลางคืน บวกกับการติดโซลาร์เซลล์ เพราะกลางวันสามารถใช้ไฟฟรีจากดวงอาทิตย์ และกลางคืนค่าไฟก็จะถูกลง

ต้องการใช้มิเตอร์ TOU ทำได้อย่างไร

ต้องการใช้มิเตอร์ TOU ทำได้อย่างไร

การขอติดตั้งมิเตอร์ TOU สามารถขอใช้ได้ที่การไฟฟ้าตามเขตที่ระบุในบิลค่าไฟ หรือทางออนไลน์ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายของเครื่องวัดแรงดัน TOU ตามระดับแรงดันที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และจะมีค่าใช้จ่ายหลัก ที่เป็นค่าเปลี่ยนมิเตอร์ 700 บาท และค่ามิเตอร์ TOU 6,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ยังไม่ได้รวมค่าสายไฟเข้าบ้าน และค่าติดตั้งสายดิน

ขอใช้มิเตอร์ TOU ในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา

การยื่นขอติดตั้งมิเตอร์ TOU ในนามบุคคลธรรมดา มีเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่จะขอติดตั้งมิเตอร์ TOU
  • บิลค่าไฟ
  • กรณีเปลี่ยนชื่อ ต้องมีสำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อแนบไปด้วย
  • กรณีผู้ขอยื่นติดตั้งมิเตอร์ TOU ไม่ใช่เจ้าของบ้านโดยตรง จะต้องใช้เอกสารแสดงความสัมพันธ์กับเจ้าของบ้านตัวจริง เช่น สัญญาซื้อขาย เป็นต้น
  • แบบฟอร์มขอใช้ไฟฟ้า ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง

ขอใช้มิเตอร์ TOU ในกรณีเป็นนิติบุคคล

การยื่นขอติดตั้งมิเตอร์ TOU ในนามนิติบุคคล มีเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • หนังสือรับรองนิติบุคคลอายุไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่จะขอติดตั้งมิเตอร์ TOU
  • กรณีที่มีการมอบอำนาจ ต้องมีใบมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบ ที่มีกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อพร้อมประทับตราบริษัท
  • แบบฟอร์มขอใช้ไฟฟ้า ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง

ขอใช้มิเตอร์ TOU ที่ช่องทางออนไลน์

การยื่นขอติดตั้งมิเตอร์ TOU ผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถยื่นเรื่องทางเว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง หรือโทรสอบถามได้ที่คอลเซนเตอร์ของการไฟฟ้านครหลวง ที่ MEA Call Center 1130 ตลอด 24 ชั่วโมง

สรุป

มิเตอร์ TOU คือ การคิดค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาที่มีการใช้งาน ซึ่งต่างจากมิเตอร์ทั่วไป ที่คิดค่าไฟฟ้าแบบอัตราก้าวหน้า ที่หากมีการใช้ไฟฟ้าเยอะ อัตราค่าไฟก็จะยิ่งมากขึ้นตามการใช้งาน ในการคิดอัตราค่าไฟแบบมิเตอร์ TOU จะแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ On Peak ที่เป็นช่วงที่ค่าไฟมีราคาสูง และ Off Peak ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาต่ำ โดยการติดตั้งมิเตอร์ TOU เหมาะกับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าเยอะตอนกลางคืน ถ้าติดโซลาร์เซลล์ก็จะยิ่งประหยัดค่าไฟลงได้อีก

หากใครที่สนใจใช้มิเตอร์ TOU สามารถติดต่อได้ทั้งที่การไฟฟ้าใกล้บ้าน และทางออนไลน์ ทั้งนี้ยังสามารถเลือกดูโซลาร์เซลล์ที่ดี มีคุณภาพได้ที่ Sorarus โดยสามารถปรึกษากับทีมงานก่อนติดตั้งได้ รวมถึงเมื่อจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ ก็จะมีทีมงานมาติดตั้งให้ มีประกัน และบริการหลังการขายอีกด้วย

1

ทำความรู้จัก Rapid Shutdown เทคโนโลยีระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน

โซลาร์เซลล์เป็นพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดและปลอดภัย การติดตั้งโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อการประหยัดค่าไฟฟ้า แต่ถึงแม้ว่าระบบโซลาร์เซลล์จะได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดอันตรายต่างๆ ได้ เช่น เกิดไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร จนทำเกิดไฟไหม้ได้ ในปัจจุบันจึงมีเทคโนโลยี อุปกรณ์ติดตั้งเสริมสำหรับโซลาร์เซลล์ เรียกว่า Rapid Shutdown ขึ้นมา ในกรณีที่ระบบโซลาร์เซลล์เกิดมีปัญหาขัดข้อง Rapid Shutdown ก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด บทความนี้ ชวนไปดูว่า Rapid Shutdown คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร และมีความสำคัญอย่างไร

Rapid Shutdown คืออะไร

Rapid Shutdown คืออะไร

Rapid Shutdown คือ อุปกรณ์เสริมในระบบโซลาร์เซลล์ ทำหน้าที่ลดแรงดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น หรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน Rapid Shutdown เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในระดับโลกสำหรับระบบโซลาร์เซลล์จาก NEC (National Electrical Code) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมาตรฐาน NEC จะออกกฏใหม่ทุกๆ 3 ปี 

Rapid Shutdown เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับระบบโซลาเซลล์ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ระบบไฟฟ้าขัดข้อง อินเวอร์เตอร์ดับ หรือมีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า Rapid Shutdown จะมีปุ่มกดให้ระบบตัดไฟ เมื่อกดปุ่มนั้นแล้ว ระบบโซลาร์เซลล์จะหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้า DC ในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้แรงดันไฟฟ้าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน โดยที่ไม่ต้องสัมผัสกับสายไฟ หรือไฟฟ้าแรงดันสูงโดยตรง ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินได้ 

Rapid Shutdown ติดตั้งที่ไหนได้บ้าง

Rapid Shutdown ติดตั้งที่ไหนได้บ้าง

Rapid Shutdown มักนิยมติดตั้งที่โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัยและความถูกต้องตามกฎระเบียบที่บังคับใช้ในกฎหมาย โดยเวอร์ชันอัปเดตล่าสุดของ Rapid Shutdown อยู่ในปี พ.ศ. 2563 เพื่อให้มีความมั่นใจว่า ระบบโซลาร์เซลล์เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสูงสุด ตลอดจนป้องกันชีวิตของผู้คนและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้ง การดูแลบำรุงรักษา ไปจนถึงการทำงานของระบบในระหว่างที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น

นอกจากนี้ การติดตั้ง Rapid Shutdown ยังช่วยให้นักดับเพลิงสามารถเข้าไปควบคุมไฟใหม้ในอาคารได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดความเสียหายต่างๆ และสามารถช่วยเหลือผู้คนที่ติดอยู่ภายในอาคารได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น Rapid Shutdown จึงเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ และเหมาะกับการติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่ที่มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์

คุณสมบัติของระบบ Rapid Shutdown

คุณสมบัติของระบบ Rapid Shutdown 

  • ช่วยลดแรงดันไฟฟ้าในบริเวณ Array boundary ให้เหลือไม่เกิน หรือต่ำกว่า 80 โวลต์ ภายใน 30 วินาที
  • เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดไฟดูด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อพนักงานดับเพลิง ทั้งนี้ ระบบ Rapid Shutdown จะต้องมีผลการทดสอบตามขั้นตอน หรือตามมาตรฐานสากล UL 3741 ซึ่งระบบนั้นจะต้องผ่าน PV Hazard Control System
  • ช่วยลดแรงดันไฟฟ้าในสายเคเบิลที่อยู่นอกบริเวณ Array boundary ให้เหลือไม่เกิน หรือต่ำกว่า 30 โวลต์ ภายใน 30 วินาที กล่าวคือภายใน 30 วินาที นักดับเพลิงสามารถดับเพลิงได้ทันที (Array boundary คือ ขอบเขตโดยรอบของ PV array ในระยะ 300 มิลลิเมตรของทุกทิศทาง)
  • Rapid Shutdown ต้องติดตั้งในพื้นที่ที่เข้าถึงง่าย เพื่อให้สะดวกและปลอดภัยสำหรับพนักงานดับเพลิง เช่น ติดตั้งบริเวณผนังภายนอกหน้าอาคาร

Rapid Shutdown มีความสำคัญอย่างไร

Rapid Shutdown มีความสำคัญอย่างไร

ระบบ Rapid Shutdown เป็นระบบที่สร้างความปลอดภัยด้วยการลดแรงดันไฟฟ้าได้ภายในระยะเวลาอันสั้น เป็นอุปกรณ์เสริมในระบบโซลาร์เซลล์ มีหน้าที่ลดแรงดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน อีกทั้ง Rapid Shutdown ยังมีความสำคัญ ดังนี้

ปลอดภัยต่อคนซ่อมบำรุง

ในกรณีที่มีช่าง หรือทีมซ่อมบำรุงเข้าไปทำความสะอาด หรือตรวจสอบแผงโซลาร์เซลล์ ถึงแม้ว่าจะมีการปิดระบบกระแสไฟฟ้าไปแล้ว แต่อาจยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุไฟฟ้าช็อตได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อช่าง ทีมซ่อมบำรุง หรืออาจส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรจนเกิดเพลิงไหม้ได้ในที่สุด การกดปุ่ม Rapid Shutdown จะช่วยลดแรงดันไฟฟ้าได้ภายในระยะเวลาอันสั้นได้ ทำให้สามารถดำเนินงานซ่อมบำรุงได้อย่างปลอดภัย

ปลอดภัยต่อนักดับเพลิง

ถึงแม้ว่าจะทำการตัดวงจรไฟฟ้าทั้งหมด แต่แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งเป็นแรงดันไฟฟ้าแรงสูงของแผงโซลาร์เซลล์ที่ยังคงทำงานอยู่ อาจเกิดไฟไหม้ได้ หากระบบโซลาร์เซลล์เป็นแบบสตริงอินเวอร์เตอร์ แล้วเกิดไฟไหม้ขึ้น ความร้อนของไฟไหมไหม้ที่มีมากกว่า 600 โวลต์ ก็จะลามไปสู่แผงโซลาร์เซลล์ทั้งหมด เพราะระบบโซลาร์เซลล์แบบสตริงอินเวอร์เตอร์จะต่ออนุกรมเดียวกัน ทำให้เป็นสาเหตุในการเกิดไฟไหม้ใหญ่ขึ้นได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อนักดับเพลิงโดยตรง การติดตั้งระบบ Rapid Shutdown จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อความปลอดภัยต่อนักดับเพลิงขณะปฏิบัติงานนั่นเอง

มาตรฐานการติดตั้ง Rapid Shutdown ของประเทศไทย

มาตรฐานการติดตั้ง Rapid Shutdown สำหรับประเทศไทยจากสภาวิศวกร ได้มีการกำหนดไว้ในระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ. 2559 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 โดยการติดตั้งระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน ได้ถูกระบุเอาไว้ในหัวข้อ 4.3.13 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 

  • ให้ติดตั้ง Rapid Shutdown สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่มีสายเคเบิลภายในอาคารยาวมากกว่า 1.5 เมตร หรือสายเคเบิลของโซลาเซลล์ยาวมากกว่า 3 เมตร
  • หากระบบอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน เมื่อกลับมาเริ่มทำงาน สายเคเบิลจะต้องมีแรงดันไม่เกิน 30 โวลต์ และ 240 โวลต์-แอมแปร์ ภายในเวลา 10 วินาทีเท่านั้น โดยแรงดันไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า จะต้องวัดระหว่างสายเคเบิลสองเส้น และระหว่างสายเคเบิลเส้นใดเส้นหนึ่งกับดิน
  • ควรมีการระบุอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดทำงานฉุกเฉิน โดยติดตั้งสวิตช์ของระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) ในตำแหน่งที่นักดับเพลิงสามารถเข้าถึงได้อย่างง่าย เช่น ติดตั้งบริเวณผนังใกล้ทางเข้าอาคาร หรือติดตั้งบริเวณภายนอกอาคาร

ส่วนในปี พ.ศ. 2565 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้ประกาศใช้มาตรฐานการติดตั้งระบบหยุดทำงานฉุกเฉินไว้เช่นกัน โดยนับตั้งแต่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 คือ มีการเพิ่มข้อบังคับสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่หยุดทำงานฉุกเฉิน ในระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เรียกว่า Rapid Shutdown

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้สอดคล้องกับระบบ Rapid Shutdown

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้สอดคล้องกับระบบ Rapid Shutdown

การติดตั้ง Rapid Shutdown ให้มีความสอดคล้องกับระบบโซลาร์เซลล์ จะต้องมีการนำอุปกรณ์มาใช้ ดังนี้

ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro-Invertor)

อุปกรณ์ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro-Invertor) มีขนาดเล็ก และติดตั้งอยู่ในทุกๆ แผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ โดยจะแปลงไฟฟ้า DC หรือไฟฟ้ากระแสตรง เป็นไฟฟ้า AC ไฟฟ้ากระแสสลับ หรือเป็นการแปลงกระแสไฟฟ้าจากระบบโซลาร์เซลล์ เป็นกระแสไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านโดยทันที 

อุปกรณ์ไมโครอินเวอร์เตอร์จะช่วยตัดระบบการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานระบบ Rapid Shutdown โดยอุปกรณ์ไมโครอินเวอร์เตอร์ เหมาะสำหรับการติดตั้งในโครงการโซลาร์เซลล์ขนาดเล็ก หรือติดตั้งบริเวณบ้าน เพราะมีราคาที่สูงมาก หากติดตั้งในโครงการขนาดใหญ่ อาจส่งผลให้การคืนทุนทำได้ช้าลงมากๆ

พาวเวอร์ออฟติไมเซอร์ (Power Optimizer)

อุปกรณ์พาวเวอร์ออฟติไมเซอร์ (Power Optimizer) จะติดตั้งอยู่ใต้แผงโซลาร์เซลล์ ใช้ควบคู่กับอุปกรณ์ไมโครอินเวอร์เตอร์ เพื่อควบคุมการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ในแต่ละแผง เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานในระบบแผงโซลาร์เซลล์ ที่จะทำการปรับกระแสและแรงดันในฝั่งไฟฟ้ากระแสตรงให้เหมาะสมก่อนส่งไปยังสตริงอินเวอร์เตอร์ โดยอุปกรณ์พาวเวอร์ออฟติไมเซอร์ 1 ตัว จะสามารถเชื่อมต่อกับแผงโซล่าร์เซลล์ได้หลายแผง หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบต่อแผงในสตริงเดียวกันกับแผงที่เกิดไฟไหม้เพียงเท่านั้น ซึ่งระบบการทำงานของอุปกรณ์พาวเวอร์ออฟติไมเซอร์ สามารถหยุดการทำงานเองได้อัตโนมัติทันที เมื่อระบบไฟฟ้าเกิดขัดข้องหรือมีปัญหา อีกทั้งการตั้งค่าระบบการทำงานยังสามารถทำให้เป็นไปตามมาตรฐานของระบบ Rapid Shutdown ได้ โดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ อุปกรณ์พาวเวอร์ออฟติไมเซอร์ เหมาะสำหรับการติดตั้งในโรงงานเป็นหลัก เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าอุปกรณ์ไมโครอินเวอร์เตอร์

สวิตช์ปุ่มฉุกเฉิน

ระบบ Rapid Shutdown จะต้องมีการเชื่อมสวิตช์ปุ่มฉุกเฉินกับอุปกรณ์ตัดการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ด้วยสายสัญญาณ เพื่อเริ่มต้นระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน ทั้งนี้ การติดตั้งสวิตซ์ปุ่มฉุกเฉิน ควรติดตั้งในตำแหน่งที่นักดับเพลิงสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น ติดตั้งบริเวณผนังใกล้ทางเข้าอาคาร หรือติดตั้งบริเวณภายนอกอาคาร เพื่อให้สามารถกดสวิตซ์ปุ่มฉุกเฉิน ให้ระบบโซลาร์เซลล์หยุดการทำงานโดยอัตโนมัติได้ทันที เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น

สรุป

ระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน หรือ Rapid Shutdown คือ อุปกรณ์เสริมในระบบโซลาร์เซลล์ ทำหน้าที่ลดแรงดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น เป็นอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าระดับโลกสำหรับระบบโซลาร์เซลล์จาก NEC (National Electrical Code) ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ระบบ Rapid Shutdown ยังมีความสำคัญต่อคนซ่อมบำรุงและนักดับเพลิง ในการช่วยป้องกันอันตรายต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ควรติดตั้งเสมอหากมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ สำหรับใครที่สนใจอยากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ และระบบ Rapid Shutdown Sorarus มีทีมงานที่พร้อมให้คำปรึกษา มีการลงพื้นที่เข้าไปดูสถานที่ และสภาพแวดล้อมในการติดตั้ง เพื่อแนะนำว่าควรติดตั้งอย่างไร ตลอดจนจัดจำหน่ายโซลาร์เซลล์ที่ได้มาตรฐาน พร้อมให้บริการครบวงจร มีการรับประกัน และมีบริการหลังการขายตลอดการใช้บริการ

Sorarus - Jan 4 1-1

ค่าไฟแพงเพราะอะไร? มาดูวิธีประหยัดไฟฟ้า เพื่อค่าใช้จ่ายที่ถูกลงทันที

จากสภาพเศรษฐกิจในทุกวันนี้ มีปัญหาหลักๆ ที่เชื่อว่าหลายคนเริ่มหันมาให้ความสนใจมากขึ้นหลังจากมีประกาศว่าค่าไฟฟ้ากำลังจะสูงขึ้นในช่วงนี้ และยังคงมีการปรับราคาต่อยูนิตอยู่เรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ที่อยู่อาศัยในบ้าน คอนโด บ้านเช่า หรือแม้แต่หอพักก็ตาม เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนอาจจะสงสัยว่าค่าไฟแพงเพราะอะไร จะเช็กค่าไฟเองต้องดูอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ พร้อมวิธีประหยัดค่าไฟอย่างเห็นผล ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้สูงมากขึ้นแน่นอน

การคำนวณค่าไฟ พิจารณาจากอะไรบ้าง

การคำนวณค่าไฟ พิจารณาจากอะไรบ้าง

ก่อนที่จะทราบวิธีการคำนวณค่าไฟด้วยตัวเองนั้น ต้องขอเกริ่นถึงองค์ประกอบหลักของค่าไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดค่าไฟขึ้นมาในแต่ละหน่วย โดยหลักๆ จะมีอยู่ 4 อย่าง ได้แก่ 

  • ค่าไฟฐาน (ค่าพลังงานไฟฟ้า)
  • ค่า Ft (ค่าไฟฟ้าผันแปร)
  • ค่าบริการ 
  • ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือค่า VAT 7% อันเป็นมาตรฐานค่าใช้จ่ายภาษีตามกฎหมาย 

ถ้าหากรู้องค์ประกอบของค่าไฟแล้วก็จะสามารถตรวจสอบค่าไฟได้ง่ายมาก จากการดูองค์ประกอบหลัก ดังนี้

1. ค่าไฟฐาน หรือค่าพลังงาน

ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากค่าไฟฐาน หรือค่าพลังงานไฟฟ้าหลักส่วนนี้ มาจากพลังงานไฟฟ้าที่แล่นเข้าสู่ตัวมิเตอร์แล้วคิดค่าพลังงานตามรูปแบบของสถานที่อยู่อาศัย โดยมิเตอร์จะได้รับจากการขอติดตั้งระบบไฟฟ้าของเจ้าของสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นการขอมิเตอร์ค่าไฟบ้านเดี่ยวทั่วไปสำหรับอยู่อาศัย และการขอมิเตอร์สำหรับสถานที่เพื่อการทำกิจการต่างๆ รวมถึง การขอไฟฟ้าเพื่อการใช้สำหรับกิจกรรมต่างๆ ชั่วคราวก็ตาม จะนับเป็นค่าไฟฐานทั้งหมด 

2. ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า Ft

ค่า Ft หรือค่าไฟฟ้าผันแปรนี้จะมาจากกฎของทางหน่วยงานการไฟฟ้าของประเทศ ที่จะมีการประกาศค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าเป็นราคายูนิตค่าไฟต่อหน่วยนั่นเอง ทำให้เราสามารถนำเรตราคาตรงนี้ ไปคำนวณร่วมกับจำนวนหน่วยของค่าไฟฐาน (ค่าพลังงานไฟฟ้า) รวมกับค่าบริการเสริมอื่นๆ ก็จะสามารถเช็กยอดค่าไฟฟ้าด้วยตัวเองได้แล้ว 

3. ค่าบริการ

ค่าบริการจะมีระบุไว้เป็นกฎชัดเจนว่าเป็นค่าบริการเสริมสำหรับประชาชนเดือนละเท่าไร ในส่วนนี้จะเป็นเหมือนค่าบริการเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง หรือต้องการเรียกใช้บริการของทางหน่วยงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก็สามารถแจ้งเหตุได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีค่าบริการระบุรวมไว้ชัดเจน

4. ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%)

ค่าไฟฟ้าถือเป็นค่าใช้จ่ายแบบสาธารณูปโภคที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งก็คือเป็นราคา VAT 7 % เหมือนกับสินค้าอุปโภค บริโภค และการบริการสาธารณะอื่นๆ นั่นเอง มีระบุราคา VAT 7 % ไว้ในบิลค่าไฟชัดเจน

ปัจจุบัน ค่าไฟฟ้าหน่วยละกี่บาท?

ปัจจุบัน ค่าไฟฟ้าหน่วยละกี่บาท?

สถานการณ์ค่าไฟปี 2567 ที่ทางภาครัฐได้ให้ข้อมูลล่าสุดไว้เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 นี้ ได้แจ้งข้อมูลค่าไฟฟ้าปีล่าสุดที่เตรียมปรับราคาแต่ละช่วง ดังนี้

  • เดือนมกราคม – เมษายน 2567 ตรึงราคาค่าไฟฟ้าของบ้านที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ให้ราคาต่อหน่วยอยู่ที่ 3.99 บาท
  • เดือนมกราคม – เมษายน 2567 ตรึงราคาค่าไฟฟ้าของบ้านที่ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 300 หน่วยต่อเดือน ให้ราคาต่อหน่วยตรึงไว้ที่ 4.20 บาท

ยังคงเป็นมติการปรับค่าไฟฟ้าเบื้องต้นในช่วง 4 เดือนแรกนี้ ส่วนทางภาครัฐจะสามารถตรึงราคานี้ไว้ได้ต่อไปหรือไม่ ในอนาคตค่าไฟหน่วยละกี่บาท ในส่วนนี้ยังคงต้องติดตามอัปเดตกันต่อไป ส่วนการใช้งานไฟฟ้าตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน จนถึงธันวาคมของปี 2566 ที่ผ่านมา จัดอยู่ในราคายูนิตละ 3.99 บาท

หากค่าไฟแพงขึ้นจนผิดปกติ ร้องเรียนได้ไหม?

หากค่าไฟแพงขึ้นจนผิดปกติ ร้องเรียนได้ไหม?

สำหรับราคาค่าไฟที่สูงขึ้น มีปัจจัยจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการขัดข้องของเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือระบบไฟฟ้าภายในบ้านก็เป็นไปได้สูงมาก แต่ถ้าหากผู้อยู่อาศัยพบว่าราคาค่าไฟแพงมากเกินไป และผิดปกติอย่างชัดเจน ในปัญหาส่วนนี้ก็สามารถร้องเรียนได้ทันที ที่หน่วยงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เบอร์โทรติดต่อ 1129 หรือสามารถร้องเรียนทาง การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เบอร์โทรติดต่อ 1130 ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน สามารถดูข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกับพื้นที่ของผู้อยู่อาศัยได้ที่ท้ายใบเสร็จค่าไฟฟ้า

สาเหตุที่ทำให้ค่าไฟแพง

 

สาเหตุที่ทำให้ค่าไฟแพง

ราคาค่าไฟฟ้าเป็นค่าใช้จ่ายที่มีความผันผวนอย่างมากในทุกๆ เดือน ซึ่งบางเดือนอาจพบว่าค่าไฟแพงมากกว่าปกติ ในส่วนนี้สามารถตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้ราคาค่าไฟแพงผิดปกติเบื้องต้นก่อนได้ หากสาเหตุตรงกับข้อมูลต่อไปนี้ ก็นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายโดยทั่วไปที่ยังสามารถควบคุมได้ แต่ถ้าหากไม่มีสาเหตุของราคาค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นตามการตรวจสอบข้างต้นเลย ก็สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบบริเวณที่อยู่อาศัยของเราได้ตามท้ายใบเสร็จ ซึ่งสาเหตุที่ต้องตรวจสอบ ได้แก่

1. ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ที่เพิ่มขึ้น 

ค่า Ft หรือราคาค่าไฟฟ้าผันแปรต่อหน่วยมีการประกาศเพิ่มขึ้นจากภาครัฐ ต้องติดตามข่าวสารราคาค่าไฟฟ้าและภาพรวมเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพราะสาเหตุหลักๆ ที่มักพบเจอเยอะที่สุดของราคาค่าไฟแพงมักจะเป็นการเพิ่มขึ้นของค่า Ft ที่ก้าวกระโดดหลายบาท

2. พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า

การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ประเภท จะค่อนข้างกินกำลังไฟเยอะ ดังนั้น ยิ่งมีการใช้งานนานมากก็จะยิ่งเพิ่มราคาค่าไฟฟ้าให้สูงตาม ในส่วนนี้ต้องตรวจสอบพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของผู้อยู่อาศัย สามารถดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกเมื่อเลิกใช้งาน เพื่อเป็นการประหยัดการไหลเวียนของไฟฟ้าโดยสิ้นเปลืองได้

3. เครื่องใช้ไฟฟ้ามีปัญหา

ปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดราคาค่าไฟแพงอย่างผิดปกติ อาจมาจากปัญหาของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการเสื่อมสภาพ หรือชำรุดเกิดไฟรั่วได้ ดังนั้น ถ้าหากพบว่าราคาค่าไฟฟ้าสูงมากขึ้นแบบผิดปกติ ต้องรีบตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลักในทันที เพื่อป้องกันทั้งราคาค่าไฟแพงผิดปกติ และป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงได้

4. อากาศร้อนเกินไป

อากาศที่ร้อนมาก ก็จะยิ่งเป็นต้นเหตุของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าเป็นอุณหภูมิความเย็นต่างๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องทำน้ำแข็ง หรืออื่นๆ ก็ตาม สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการทำงานเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าไปเป็นพลังงานรูปแบบอื่นๆ จะเป็นประเภทกินกำลังไฟหนักมากนั่นเอง

10 เคล็ดลับประหยัดไฟ ทำได้ยังไงบ้าง

10 เคล็ดลับประหยัดไฟ ทำได้ยังไงบ้าง

ในเมื่อราคาต่อหน่วยของค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ค่าไฟแพงมากขึ้น เป็นต้นเหตุของค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่มากเกินจำเป็น ดังนั้น ต้องมาดูเคล็ดลับการประหยัดไฟที่สามารถช่วยลดราคาค่าไฟฟ้าได้สูงมากและทำได้ง่ายมาก ไม่ต้องลงทุนใดๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้น ดังนี้

1. ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า

การทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ก็จะเป็นวิธีที่ช่วยให้อุปกรณ์ทำงานไม่หนักมาก ไม่กินกำลังไฟฟ้าเยอะ เช่น ตู้เย็นที่ไม่ต้องมีการดึงระบบทำความเย็นเยอะมากเกินไปจากของที่รกไม่มีการจัดระเบียบของในตู้ หรือเครื่องดูดฝุ่น และเครื่องกรองอากาศที่ต้องปรับกำลังไฟฟ้าให้สูงขึ้นเพื่อการทำความสะอาดรอบใหม่แทนที่กองฝุ่น หรือสิ่งสกปรกตกค้างสะสมจากการใช้งานมานาน ดังนั้น การทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าก็เป็นหนึ่งในวิธีการประหยัดค่าไฟที่ดีมากเช่นกัน

2. จัดระเบียบตู้เย็น

แนะนำว่าควรมีการจัดระเบียบตู้เย็นอยู่เสมอ เพื่อให้ระบบการทำความเย็นไปได้ทั่วถึง และไม่ต้องดึงกำลังไฟฟ้ามาใช้งานมากจนเกินความจำเป็น

3. ติดมู่ลี่บังแดด

หนึ่งในวิธีง่ายๆ ที่หลายคนมองข้ามไป วิธีการเลือกติดมู่ลี่ หรือม่านบังแดดชนิดกัน UV จะช่วยให้พื้นที่อยู่อาศัยร่วมรื่น และเย็นสบายมากขึ้น รวมถึงการใช้งานเครื่องปรับอากาศก็มีการเปลี่ยนอุณหภูมิให้เหมาะสมกับพื้นที่อยู่อาศัยอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

4. ถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน

กระแสไฟฟ้ามีการจ่ายให้กับอุปกรณ์อยู่ตลอดเวลาเมื่อมีการเสียบปลั๊กไฟอยู่ ถึงแม้ว่าจะปิดสวิตช์การใช้งานไปแล้วก็ตาม แนะนำให้ถอดปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หลังจากไม่ได้ใช้งานแล้วทุกครั้ง จะเห็นผลลัพธ์ของราคาค่าไฟฟ้าที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนแน่นอน

5. เปิดแอร์ให้ถูกวิธี

สาเหตุหลักที่เป็นปัญหาเรื่องราคาค่าไฟแพงของผู้อยู่อาศัยส่วนมาก มักจะเป็นการเปิดแอร์อย่างสิ้นเปลืองที่เกินความจำเป็น โดยการเปิดแอร์ให้ถูกวิธี และประหยัดราคาค่าไฟได้มากที่สุด แต่ก็ยังคงได้รับความเย็นสบายเช่นเดิม คือ ควรเปิดแอร์เฉพาะช่วงที่จำเป็นมาก หรือมีอากาศที่ร้อนจัดจริงๆ โดยควรลองเปิดพัดลมดูก่อน อาจเป็นพัดลมไอน้ำก็ทดแทนได้ และประหยัดมากกว่า ซึ่งหลายๆ คน มีพฤติกรรมติดการใช้แอร์จนชินเป็นนิสัยโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าอากาศยังไม่ได้ร้อนมาก หรือสามารถทดแทนด้วยเครื่องทำปรับอากาศทำความเย็นประเภทอื่นๆ ได้นั่นเอง 

หากต้องเปิดจริงๆ และอยากประหยัดรายจ่ายไปด้วย ควรเปิดที่ 25 องศา ประมาณ 1 – 3 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนมาเปิดเป็นพัดลมแทน จะช่วยปรับอากาศโดยรวมให้เย็นยาวนานมากขึ้น และที่สำคัญคือห้ามมีช่องว่างจากการเปิดหน้าต่างระบาย หรือเปิดประตูให้แอร์รั่วไหลออกไปเด็ดขาด

6. เปลี่ยนมาใช้ไฟ LED

หลอดไฟแบบ LED เป็นหลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟธรรมดา ถึงแม้ว่าราคาจะสูงมากกว่าเล็กน้อย แต่ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า แถมยังมีอายุการใช้งานที่นานกว่าอีกด้วย

7. หมั่นตรวจเช็กมิเตอร์ไฟ

การตรวจสอบค่าไฟด้วยตัวเอง เริ่มได้ง่ายมาจากการจดหน่วยมิเตอร์ไฟฟ้าแต่ละเดือนไว้ให้เรียบร้อย แล้วนำมาเทียบกับบิลค่าไฟฟ้าว่าตรงกันหรือไม่ อาจไม่จำเป็นต้องคำนวณแล้วพอดีแบบ 100% แต่ต้องไม่ควรมีความต่างที่มากเกินไป และเป็นวิธีการตรวจสอบค่าไฟแพงผิดปกติได้ชัดเจนมากที่สุด ควรถ่ายรูปของมิเตอร์ไฟฟ้าในวันที่ไปตรวจเช็กจดเลขยูนิตไว้เป็นหลักฐานด้วย

8. หันมาใช้ระบบเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว

การเลือกเปลี่ยนระบบไฟฟ้าเป็นการใช้งานของเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวให้มีการเปิดใช้งานเมื่อมีคนอยู่ และปิดตัวเมื่อไม่มีใครอยู่บริเวณนั้นแล้ว จะช่วยป้องกันการลืมปิดการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือหลอดไฟบริเวณต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ อาจเป็นการลงทุนช่วงแรกแต่รับรองว่าเห็นผลระยะยาวอย่างชัดเจน ประหยัดมากขึ้นแม้ว่าภาครัฐจะประกาศเพิ่มค่า Ft ยูนิตค่าไฟฟ้าขึ้นในทุกๆ ปีก็ไม่มีกังวล

9. เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ 5

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสติกเกอร์การันตีเบอร์ 5 ติดอยู่ เป็นสัญลักษณ์ของการรับรองจากหน่วยงานการไฟฟ้าอย่างถูกต้องว่าเป็นระบบประหยัดการใช้พลังงาน และประหยัดค่าไฟแน่นอน

10. ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

หนึ่งในอุปกรณ์ที่คุ้มค่ามากที่สุดในเรื่องการช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าที่สุด จนหลายๆ บ้าน จ่ายค่าไฟฟ้าไม่ถึง 200 บาทต่อเดือนก็เกิดขึ้นได้จริง และยังคงสามารถใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อำนวยความสะดวกสบายได้ตามปกติ แต่อาจต้องวางแผนการลงทุนเพิ่มเติมระบบนี้เล็กน้อย แต่รับประกันความคุ้มค่าสูงด้วยระบบการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่จะดึงพลังงานแสงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน มาจัดเก็บในรูปแบบของพลังงานสำรอง และสามารถใช้งานเป็นพลังงานตลอดทั้งวันได้เรื่อยๆ เหมาะกับประเทศไทยที่มีอากาศร้อนแดดจัดอย่างมาก 

หากใครที่กำลังสนใจแต่ยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลโดยละเอียด ต้องขอแนะนำทุกบริการด้านข้อมูลที่เข้าใจง่าย และมีคำปรึกษาดีๆ ในการช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าแก้ปัญหาค่าไฟแพง ช่วยประหยัดเงินทุนของการทำระบบแผงโซลาร์เซลล์กับทาง Sorarus ที่มีโซลาร์เซลล์ได้มาตรฐาน พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการติดตั้ง หากกำลังมองบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่เชื่อถือได้ มาที่นี่ได้เลย

สรุป

ค่าไฟแพงดูได้จากสาเหตุหลักๆ เบื้องต้น ซึ่งผู้อยู่อาศัยสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า และการเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศให้ถูกวิธี เพราะเป็นเรื่องที่เชื่อว่าหลายๆ คน มักใช้งานอย่างสิ้นเปลืองกำลังไฟ และเป็นสาเหตุของราคาค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้าหากตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ แล้วว่าไม่มีปัญหาขัดข้องชำรุดใดๆ สามารถแจ้งร้องเรียนเพื่อขอตรวจสอบราคาค่าไฟแพงผิดปกติไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตามท้ายใบเสร็จค่าไฟฟ้า โดยจะมีอยู่ 2 หน่วยงานหลัก ได้แก่ หน่วยงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เบอร์โทรติดต่อ 1129 หรือสามารถร้องเรียนทาง การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เบอร์โทรติดต่อ 1130 ตลอด 24 ชั่วโมง

Sorarus - Jan 3 1-1

RCCB กับ RCBO คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน

RCCB กับ RCBO คือประเภทของเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ RCD (Residual Current Device) สำหรับตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อมีกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าและออกจะมีค่าไม่เท่ากัน เช่น การรั่วไหลจากเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดิน ซึ่งเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติมีชื่อเรียกอีกมากมาย เช่น เครื่องตัดวงจรกระแสเหลือ (RCD, RCBO, RCCB) หรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน (ELCB, GFCI) ที่นำไปใช้งานร่วมกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ประเภทอื่นๆ เช่น เบรกเกอร์ MCCB โดยทั่วไปแล้วระบบ RCD แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ RCCB กับ RCBO ซึ่งบทความนี้ก็จะพาไปดูว่า RCCB กับ RCBO ต่างกันอย่างไร มีหน้าที่อะไร และการใช้งานร่วมกับโซลาร์เซลล์ต้องใช้แบบไหนถึงจะดีกว่ากัน

RCCB กับ RCBO คืออะไร

เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ RCD (Residual Current Device) เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดไฟรั่วทำหน้าที่ในการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าภายในตัวบ้าน เพื่อเป็นการป้องกันไฟรั่วไฟดูด โดยจะมีการตัดวงจรอัตโนมัติหากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วตามค่าที่กำหนด โดยทั่วไปก็จะแนะนำให้ตั้งอยู่ที่ 30 มิลลิแอมป์ เนื่องจากเป็นระดับที่อันตรายถึงแก่ชีวิต โดยเบรกเกอร์กันไฟดูดแบ่งออกมาเป็น 2 ประเภทคือ RCCB กับ RCBO

  • RCCB มีหน้าที่ในการป้องกันไฟดูดไฟรั่ว แต่จะไม่สามารถป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ โดยปกติแล้วก็จะแนะนำให้ติดตั้งควบคู่กับเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
  • RCBO ทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับ RCCB คือจะตัดวงจรเมื่อเกิดไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้ารั่ว รวมไปถึงมีการป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน และกระแสไฟฟ้าลัดวงจรให้อีกด้วย ซึ่งเปรียบเสมือนกับการนำเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) กับ RCCB มารวมเข้าด้วยกัน

หลักการทำงานของ RCCB กับ RCBO

หลักการทำงานของ RCCB กับ RCBO

หลักการทำงานของ RCCB กับ RCBO จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยสามารถทำความเข้าใจได้ ดังนี้

  • การทำงานของ RCCB คือเป็นอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้ารั่วที่ทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ เมื่อมีการตรวจสอบและพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่ว โดยจะทำการตรวจจับการไหลของกระแสไฟฟ้า และหากมีการไหลของกระแสไฟฟ้าที่ไม่ปกติเกินค่าที่กำหนดไว้ อุปกรณ์ก็จะทำการตัดการจ่ายไฟฟ้า เพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างท่วงที โดยการเลือกใช้ RCCB ควรพิจารณาตามประเภทของวงจรไฟฟ้าที่ต้องการป้องกัน หากเป็นที่พักอาศัยก็ควรเลือกกำหนดค่าอยู่ที่ 30 มิลลิแอมป์ ซึ่งจะช่วยตรวจจับและตัดวงจรไฟฟ้าได้ทันทีเมื่อพบการรั่วไหล ส่วนในสถานที่ที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือโรงงานอุตสาหกรรม อาจจำเป็นที่จะต้องใช้ RCCB ที่มีค่าที่สูงขึ้น
  • การทำงานของ RCBO คือเป็นอุปกรณ์การป้องกันไฟฟ้าแรงต่ำจากการสัมผัสทางตรงและทางอ้อม ซึ่งมักทำการติดตั้งในกล่องจ่ายไฟฟ้าในครัวเรือนโดยทั่วไป เพื่อรักษาความปลอดภัยของทุกคนที่พักอาศัย โดย RCBO ทำหน้าที่ด้วยกัน 2 อย่าง คือ การป้องกันกระแสการรั่วไหลที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่สัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้า และการป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินเมื่อใช้งานเกินพิกัดกระแสของไฟฟ้าในบ้าน อีกทั้งยังช่วยป้องกัน หรือตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้อีกด้วย

RCCB กับ RCBO ต่างกันอย่างไร

RCCB กับ RCBO ต่างกันอย่างไร

RCD คืออุปกรณ์การป้องกันความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้ารั่ว โดยมีอุปกรณ์ด้วยกัน 2 ชนิด คือ RCBO VS RCCB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานโดยตรง จึงต้องมีสำนักงานมาตรฐานผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่คอยกำหนดมาตรฐาน เพื่อควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายในประเทศให้มีคุณภาพ โดยในแต่ละชนิดก็จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  • RCCB มีมาตรฐานการรับรอง มอก.2425-2560 (Type AC, A) มีมาตรฐาน (IEC) ที่ IEC-EN 61008 โดยมีหน้าที่ในการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว ซึ่งมีชนิดการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว คือ Type AC, A, F, B และมีพิกัดกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่ที่ 10mA, 30mA, 100mA, 300mA และ 500mA
  • RCBO มีมาตรฐานการรับรอง มอก.909-2548 (Type AC, A) มีมาตรฐาน (IEC) ที่ IEC-EN 61009 โดยมีหน้าที่ในการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วเกิน และกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งมีชนิดการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วคือ Type AC, A, F, B และมีพิกัดกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่ที่ 30mA, 100mA และ 300mA

ชนิดของ RCCB กับ RCBO

ชนิดของ RCCB กับ RCBO

เนื่องจากในปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ทำให้กระแสไฟฟ้ารั่วที่เกิดขึ้นมีหลากหลายสาเหตุ และหลากหลายปัจจัยมากขึ้น ดังนั้น ควรรู้ว่าอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วมีกี่ชนิด และในแต่ละชนิดมีข้อแตกต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะชนิดของ RCCB กับ RCBO ที่แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • Typa AC เหมาะสำหรับการใช้ตรวจจับกระแสไฟฟ้ารั่วของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ อยู่ที่ 50 Hz ซึ่งเป็นชนิดการใช้งานสำหรับครัวเรือน หรือที่อยู่อาศัยทั่วไป
  • Type A เหมาะสำหรับการตรวจจับกระแสไฟฟ้ารั่วของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ อยู่ที่ 50 Hz เหมือนกับ Type AC แต่จะเพิ่มความสามารถในการตรวจจับไฟฟ้ารั่ว ที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นขนาดเล็ก และมีการซ้อนทับกันอยู่บนระบบไฟฟ้ากระแสตรง
  • Type F เหมาะสำหรับการตรวจจับกระแสไฟฟ้ารั่วของระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีหลายความถี่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ Type A แต่เพิ่มความสามารถในการตรวจจับไฟรั่วในวงจรที่มีการแปลงความถี่ของไฟฟ้าด้วย
  • Type B เหมาะสำหรับการตรวจจับกระแสไฟฟ้ารั่วของระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีหลายความถี่ มีความสามารถเหมือนกับ Type F แต่เพิ่มความสามารถที่ใช้ในการตรวจจับไฟรั่วที่ความถี่สูงถึง 1,000 Hz และมีขนาดของกระแสไฟฟ้ารั่ว AC ที่มีการซ้อนทับบนระบบไฟฟ้ากระแสตรง จึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้งานกับอินเวอร์เตอร์ของโซลาร์เซลล์ และ EV Charger ต่างๆ 

ประโยชน์ของ RCCB กับ RCBO

RCCB กับ RCBO นอกจากทำหน้าที่ช่วยตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าเข้าออกที่ไม่เท่ากันแล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ มากมาย เช่น การป้องกันอันตรายที่มาจากการโดนไฟฟ้าดูด ป้องกันอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่มีไฟฟ้ารั่วในวงจรไฟฟ้า หรือการรั่วไหลของไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่ไม่มีระบบป้องกันที่ดี ดังนั้น RCCB กับ RCBO จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีจุดใดภายในบ้าน หรือสำนักงานที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว เพื่อให้สามารถหาสาเหตุ และทำการแก้ไขปัญต่อไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้น

การเลือกติดตั้ง RCBO สำหรับระบบโซลาร์เซลล์

การเลือกติดตั้ง RCBO สำหรับระบบโซลาร์เซลล์

การเลือกติดตั้ง RCCB กับ RCBO สำหรับระบบโซลาร์เซลล์ ถือว่าเป็นสิ่งที่วิศวกร หรือผู้ออกแบบระบบไฟฟ้าและระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานโซลาร์เซลล์อาจมีความคุ้นเคย เนื่องจากเป็นมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่กำหนดให้ผู้ที่ทำการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ จะต้องมีการติดตั้งระบบป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยของชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้งานไฟฟ้า 

การเลือกติดตั้งระบบ RCBO ที่มีไฟฟ้ากระแสพิกัด 125A สำหรับระบบโซลาร์เซลล์ในบ้านเรือน หรือที่พักอาศัยทั่วไป จึงถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสม โดยการติดตั้ง RCBO สำหรับระบบโซลาร์เซลล์สามารถทำได้ ดังนี้

  • เลือกขนาดพิกัดไฟรั่ว (ความไว) ของ RCBO ให้เป็นไปตามระบบที่จะทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยต้องคำนึงถึงกระแสรั่วแบบ Capacitive ตามที่ผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์แนะนำ
  • จากนั้นให้เลือกชนิดของ RCBO ที่มีความเหมาะสม
  • เลือกพิกัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร โดย RCBO ที่ใช้สำหรับการป้องกันวงจรย่อยในตู้ประธาน ควรมีพิกัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรไม่ต่ำกว่า 6kA และหาก RCBO เป็น Main Switch ก็ควรมีพิกัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรไม่ต่ำกว่า 10kA
  • ตำแหน่งการติดตั้ง RCBO สำหรับโซลาร์เซลล์ แนะนำให้เป็นแบบ Type B โดยจะมีความสามารถเหมือนกับ Type F แต่เพิ่มความสามารถในการตรวจจับไฟรั่วที่มีความถี่สูงถึง 1,000 Hz และมีขนาดของกระแสไฟฟ้ารั่วไหล AC ที่ซ้อนทับกันบนระบบไฟฟ้ากระแสตรงได้ถึง 0.4 เท่าของกระแสไฟฟ้าพิกัดไฟรั่ว จึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับอินเวอร์เตอร์ของแผงโซลาร์เซลล์
  • หากพบว่าระบบไฟฟ้าเดิมมีเครื่องป้องกันไฟฟ้ารั่วขนาด 30mA อยู่แล้ว ก็ต้องเชื่อมต่ออินเวอร์เตอร์เข้ากับระบบไฟฟ้าของบ้านผ่านเซอร์กิตเบรกเกอร์ธรรมดา เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เครื่องป้องกันไฟฟ้ารั่วทำงานผิดพลาด

สรุป

RCCB กับ RCBO เป็นเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าและออกไม่เท่ากัน โดยจะเป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว เมื่อเกิดการรั่วของกระแสไฟฟ้าก็จะทำงานตัดวงจรไฟฟ้าทันที ซึ่งมีการอาศัยหลักการทำงานของระบบ Core Balance Transformer และ Tripping Machanism ที่มีความแม่นยำ นอกจากนี้ RCBO ก็ได้มีการออกแบบมาเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน กระแสไฟฟ้ารั่ว และกระแสไฟฟ้าลัดวงจร โดยรวมแล้วได้มีการนำเอาคุณสมบัติของ MCB และ RCCB มารวมไว้ในตัวเดียวกัน เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่กำลังมองหา และต้องการที่จะทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ พร้อมระบบตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ สามารถเลือกใช้บริการของ Sorarus ได้ ซึ่งเรามีบริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์โดยผู้เชี่ยวชาญ มีบริการให้ปรึกษา ตลอดจนการดูแลแบบครบทุกวงจร

Sorarus - Jan 2 1-1

ไขข้อสงสัย? ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้านคุ้มไหม แล้วติดกี่ปีถึงจะคืนทุน

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้านคุ้มไหม? แล้วติดโซลาร์เซลล์กี่ปีคืนทุน? คำถามนี้อาจเป็นคำถามจากหลายคนที่สนใจในการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์อยากทราบ รวมถึงเป็นข้อสงสัยที่ทำให้คนหลายคนลังเลในการลงทุน ในบทความนี้จะมาช่วยไขข้อสงสัยเหล่านี้ และทำให้เห็นว่าการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้านนั้นไม่ได้ยากหรือแพงเหมือนที่คิด แถมยังเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

โซลาร์เซลล์ หนึ่งในพลังงานทางเลือก 

โซลาร์เซลล์หรือเซลล์โพโตวอลเทอิก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าตรง โดยอุปกรณ์นี้จะติดตั้งอยู่ในแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเมื่อมีแสงอาทิตย์ส่องถึงจะทำให้อิเล็กตรอนในสารกึ่งตัวนำได้รับพลังงานและเคลื่อนที่ไปยังขั้วลบของแผง ในขณะที่โฮลจะได้รับอิเล็กตรอนจากขั้วบวกของแผงจึงสร้างกระแสไฟฟ้าที่สามารถนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้  

โซลาร์เซลล์มีประโยชน์อย่างมากในการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่สะอาด ไม่มีค่าใช้จ่าย มีอยู่ทุกที่ และไม่มีวันหมด จึงเป็นพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน นอกจากนี้โซลาร์เซลล์ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม 

ด้วยประโยชน์ที่หลากหลายทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีแสงอาทิตย์เพียงพอและมีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ฉะนั้นหากสงสัยว่าติดโซลาร์เซลล์บ้านคุ้มไหม ต้องบอกเลยว่าคุ้มมากเพราะทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตและใช้ไฟฟ้า และยังเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้โซลาร์เซลล์กลายมาเป็นพลังงานทางเลือกที่นิยมนั่นเอง 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์มีกี่ระบบ

การติดตั้งโซลาร์เซลล์มีกี่ระบบ 

แม้ว่าการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแนวทางหนึ่งในการประหยัดค่าไฟฟ้าและลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่หลายๆ คนก็อาจยังสงสัยว่าโซลาร์เซลล์กี่ปีคืนทุน หากติดโซลาร์เซลล์คุ้มไหม ควรติดตั้งแบบไหนถึงจะคุ้ม ก่อนอื่นต้องรู้ประเภทของการติดตั้งโซลาร์เซลล์เสียก่อน โดยมีดังนี้ 

ระบบออนกริด (On Grid) 

ระบบที่ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าและไฟฟ้าจากโซลาร์ (Solar) ร่วมกัน ใช้ได้กับบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เมื่อผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ได้ก็สามารถใช้หรือขายคืนให้การไฟฟ้าได้ (สำหรับไฟ 1 เฟส : ระบบไม่เกิน 5kW. สำหรับไฟ 3 เฟส : ระบบไม่เกิน 10 kW.) แต่ต้องขออนุญาตการไฟฟ้าก่อนติดตั้ง  แต่หากถามว่าติดโซลาร์เซลล์ระบบออนกริดคุ้มไหม คำตอบคือระบบออนกริดสามารถคืนทุนได้เร็วกว่า จึงคุ้มกว่าระบบไฮบริด (Hybrid) ที่ต้องใช้แบตเตอรี่ที่ราคาสูง 

ข้อดี 

  • มีต้นทุนที่ต่ำจึงทำให้เป็นที่นิยมมาก 
  • ไม่ต้องทำระบบสลับไฟให้ยุ่งยากก็สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทุกชนิด 
  • สามารถลดค่าไฟฟ้าได้  
  • ไม่ต้องสำรองแบตเตอรี่ 

ข้อเสีย 

  • หากไฟฟ้าจะการไฟฟ้าดับ ระบบนี้จะหยุดทำงานด้วยเพื่อเป็นการป้องกันการดูดไฟจากการไฟฟ้า 

ระบบออฟกริด (Off Grid) 

เป็นระบบที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ซึ่งเหมาะอย่างมากสำหรับสถานที่ที่ไฟฟ้าไปไม่ถึง เช่น ที่ห่างไกล หรือที่สูง และยังไม่ต้องขออนุญาตจากกการไฟฟ้าอีกด้วย แต่หากสงสัยว่าติดโซลาร์เซลล์ระบบออฟกริดคุ้มไหม ต้องบอกเลยว่าคุ้มค่าอย่างแน่นอนสำหรับการลงทุนในระยะยาว เพราะไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า รวมทั้งยังสามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอดเวลา แม้ว่าระบบออฟกริดจะมีราคาสูงกว่าระบบออนกริด เพราะต้องใช้แบตเตอรี่ที่มีราคาแพงและต้องดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอก็ตาม 

ข้อดี 

  • ไม่ต้องขออนุญาตการไฟฟ้า ลดความยุ่งยากในการดำเนินการ 
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าเป็นรายเดือน 
  • มีไฟฟ้าใช้งานได้ตลอดเวลา  

ข้อเสีย 

  • มีข้อจำกัดในการใช้ไฟฟ้า เพราะต้องอยู่ในขีดจำกัดของความจุของแบตเตอรี่ 
  • อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการกำจัดแบตเตอรี่เมื่อหมดอายุการใช้งาน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

ระบบไฮบริด (Hybrid Grid) 

ระบบไฮบริด (Hybrid) เป็นระบบโซลาร์ (Solar) ที่ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า แผงโซลาร์ และแบตเตอรี่ ซึ่งในช่วงกลางวันนั้นแผงโซลาร์จะผลิตไฟฟ้าให้กับการใช้งาน และหากมีการผลิตไฟฟ้าเกินหรือเหลือใช้ก็จะเก็บไว้ในแบตเตอรี่ซึ่งสามารถนำไปใช้ในเวลากลางคืนได้ แต่ระบบนี้ไม่สามารถขายไฟฟ้าคืนให้การไฟฟ้าได้ หากสงสัยว่าติดโซลาร์เซลล์ระบบไฮบริดจะคุ้มไหม แน่นอนว่าคุ้มค่าในการลงทุนในระยะยาวแต่จะคืนทุนช้ากว่าประเภทอื่น เพราะต้องใช้แบตเตอรี่ที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง แถมยังมีค่าใช้จ่ายในเรืรองของการติดตั้งและบำรุงรักษา แต่อย่างไรก็ตามระบบไฮบริดก็ช่วยในเรื่องของประหยัดค่าไฟได้ และยังสามารถใช้ได้ตลอดเวลาอีกด้วย 

ข้อดี 

  • สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอดเวลา 
  • สามารถลดค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้า โดยใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์และแบตเตอรี่ในช่วงกลางวัน และใช้ไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าส่วนกลางเมื่อจำเป็น 
  • แม้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจะดับ แต่ก็ยังสามารถใช้ไปจากแบตเตอรี่ได้ 

ข้อเสีย 

  • มีราคาสูงกว่าระบบออนกริด เพราะต้องใช้แบตเตอรี่และอินเวอร์เตอร์ที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง 
  • ไม่สามารถขายไฟฟ้าคืนให้การไฟฟ้าได้ เนื่องจากไม่ได้รับโควต้า 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีค่าใช้จ่ายเท่าไร

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีค่าใช้จ่ายเท่าไร 

สำหรับใครที่สงสัยว่าติดโซลาร์เซลล์คุ้มไหม ต้องมาเริ่มดูที่ทุนก่อนว่าติดโซล่าเซลล์กี่ปีถึงคืนทุน เพราะค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ประกอบด้วยค่าอุปกรณ์ ค่าติดตั้ง และค่าบำรุงรักษา โดยค่าอุปกรณ์จะขึ้นอยู่กับขนาด ประเภท และคุณภาพของแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ และแบตเตอรี่ (หากมี) ค่าติดตั้งจะขึ้นอยู่กับลักษณะของหลังคา ระยะสายไฟ และค่าขออนุญาต ค่าบำรุงรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความถี่ของการตรวจสอบและล้างแผงโซลาร์เซลล์  

โดยยู่ที่ประมาณ 25-40 บาทต่อวัตต์ หรือ 25,000-40,000 บาทต่อกิโลวัตต์ ซึ่งหมายความว่า หากต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 5 กิโลวัตต์ ซึ่งอาจจะต้องจ่ายประมาณ 125,000-200,000 บาท แต่หากต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 10 กิโลวัตต์ อาจต้องจ่ายประมาณ 250,000-400,000 บาท 

อย่างไรก็ตามราคานี้เป็นเพียงการประมาณค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย และอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทหรือแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงขนาดของระบบโซลาร์เซลล์ ประเภทของระบบโซลาร์เซลล์ และขนาดบ้านกับจำนวนโซลาร์เซลล์ที่จะต้องใช้อีกด้วย 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์คุ้มหรือไม่

การติดตั้งโซลาร์เซลล์คุ้มหรือไม่  

หากสงสัยว่าติด Solar Cell คุ้มไหม ติดโซลาร์เซลล์กี่ปีถึงจะคืนทุน สำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านนั้น ระยะเวลาคืนทุนขึ้นอยู่กับขนาดระบบและการใช้ไฟของแต่ละบ้าน ซึ่งโดยปกติแล้วโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปี และช่วยลดค่าไปได้มากถึง 30-70% (ขึ้นอยู่กับปริมาณการติดตั้ง) ฉะนั้นหากบ้านไหนมีการใช้ไฟในช่วงกลางวันมากขึ้นก็จะสามารถคืนทุนได้เร็วกว่านั่นเอง 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์กี่ปีจึงจะคืนทุน 

หลายคนคงสนใจที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ แต่ในขณะเดียวกันก็คงสงสัยว่าเมื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์กี่ปีคืนทุน ซึ่งการคำนวณความคุ้มค่าของการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันและค่าไฟฟ้าจากระบบกลางปกติ โดยควรเลือกขนาดและระบบของโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมกับความต้องการ และเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ลงทุนกับค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ แต่โดยเฉลี่ยแล้วการติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้นจะสามารถคืนทุนใน 3-5 ปี 

ประโยชน์ของการติดตั้งโซลาร์เซลล์

ประโยชน์ของการติดตั้งโซลาร์เซลล์  

นอกจากนี้คำถามที่ว่าโซลาร์เซลล์กี่ปีคืนทุน ติดโซลาร์เซลล์บ้านคุ้มไหม อีกหนึ่งคำถามที่หลายๆ คนอยากรู้คือ การติดตั้งโซลาร์เซลล์มีประโยชน์อย่างไร? แม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่ไม่ได้ถือว่าใหม่สำหรับไทย แต่ยังมีคนไม่ทราบว่ามีประโยชน์หลายอย่าง โดยสามารถส่งผลดีต่างๆ ต่อเจ้าของบ้าน สังคม และประเทศได้ โดยการติดตั้งโซลาร์เซลล์ช่วยแก้ปัญหาได้ ดังนี้ 

ประหยัดค่าไฟได้ในระยะยาว 

การใช้โซลาร์เซลล์ช่วยลดค่าไฟฟ้าให้กับบ้านและหน่วยงาน โดยการนำพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้มาผลิตไฟฟ้าใช้เอง โซล่าเซลล์กี่ปีคืนทุน การติดตั้งโซลาร์เซลล์จะคุ้มทุนใน 3-5 ปี และมีอายุการใช้งานของแผง 20-25 ปี ซึ่งเหมาะสำหรับบ้านหรือหน่วยงานที่ใช้ไฟฟ้ามากในช่วงกลางวัน 

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

โซลาร์เซลล์ 1 กิโลวัตต์ ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ 1,300 kWh ต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 901.3 kgCO2e ต่อปี ซึ่งเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 101 ต้นเลยทีเดียว โดยไม่จำเป็นต้องรู้ว่า ติดตั้งโซล่าเซลล์กี่ปีถึงจะคืนทุนก็ได้ เพราะโซลาร์เซลล์คุ้มมากต่อการประหยัดค่าไฟ แถมยังช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างยั่งยืน 

แก้ปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ ในพื้นที่ห่างไกล 

การเติบโตทางเศรษฐกิจและประชากรทำให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมไปถึงจำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ในปัจจุบันไทยยังต้องนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในหน้าร้อนที่อากาศร้อนจัดของประเทศไทย หากใครถามว่าติดตั้งโซลาร์เซลล์คุ้มไหมคำตอบก็คือคุ้ม เพราะการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ช่วยให้ผลิตไฟฟ้าใช้เองเป็นอีกทางเลือกที่สามารถแก้ปัญหาด้านนี้ได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการขาดแคลนพลังงานได้แล้ว ยังสามารถช่วยประเทศได้อีกด้วย 

ลดการใช้พลังงานฟอสซิล 

การผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์เป็นการใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่มากและไม่มีการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติ โดยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ช่วยให้สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง ทำให้ไม่ต้องมากังวลว่าติดโซลาร์เซลล์ไปแล้วอีกกี่ปีจึงคืนทุน เพราะระหว่างติดก็เหมือนได้ทุนคืนแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากโซลาร์เซลล์ช่วยประหยัดค่าไฟคือไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่การผลิตไฟฟ้าจากหน่วยงานนี้จะใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลัก การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนี้มีข้อเสียหลายประการ เช่น มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน และมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต  

ดังนั้นการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า จึงเป็นการแก้ปัญหาที่สำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านพลังงาน ลดการสร้างมลภาวะ และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน 

การดูแลรักษาโซลาร์เซลล์ เพื่อยืดอายุการใช้งาน

การดูแลรักษาโซลาร์เซลล์ เพื่อยืดอายุการใช้งาน 

แม้ว่าโดยปกติแล้วโซลาร์เซลล์จะสามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 25 ปี หากยิ่งได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องก็จะสามารถยืดอายุการใช้งาน ซึ่งจะหมดคำถามที่ว่าโซลาร์เซลล์กี่ปีคืนทุน หรือโซลาร์เซลล์คุ้มไหมอย่างแน่นอน เพราะบางทีหากได้รับการดูแลที่ดีและสม่ำเสมอก็สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 25-30 ปีเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังและช่วยให้แผงโซลาร์เซลล์มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีเหมือนเดิมได้อีกด้วย ซึ่งมีวิธีดังนี้ 

  • ล้างแผงโซลาร์เซลล์ อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง โดยใช้น้ำสะอาดฉีดล้างและเช็ดคราบสกปรกออก ห้ามใช้น้ำยา แปรง หรือวัสดุที่มีความแข็งทำความสะอาดผิวของแผง จะทำให้เกิดรอยขีดข่วน หรือทำลายสารซิลิโคนบนแผง การล้างแผงโซลาร์เซลล์ควรทำในเวลากลางคืน หรือเช้ามืด เมื่อแผงยังไม่ผลิตไฟฟ้า และมีน้ำค้างเกาะที่แผง จะทำให้คราบสกปรกออกได้ง่ายขึ้น และปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน 
  • ตรวจสอบความแตกร้าวของแผงโซลาร์เซลล์ โดยสังเกตว่ามีรอยแตก หรือรอยรั่วของน้ำภายในผิวแผง หากพบเห็นควรแจ้งผู้ให้บริการเพื่อทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแผงใหม่ การใช้แผงที่มีสภาพไม่ดี อาจทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลดลง หรือเกิดอันตรายได้ 
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับแผงโซลาร์เซลล์ เช่น เคเบิล ขั้วต่อ ฟิวส์ อินเวอร์เตอร์ คอนโทรลเลอร์ แบตเตอรี่ เป็นต้น ว่ามีสภาพที่ปราศจากฝุ่น สกปรก หรือการเกิดประกายไฟ หากพบเห็นควรทำความสะอาดหรือแก้ไขให้เร็วที่สุด 
  • บันทึกและติดตามผลการผลิตไฟฟ้าของระบบโซลาร์เซลล์อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้แอปพลิเคชัน หรือเครื่องมือวัด ที่ผู้ให้บริการมอบให้ หากพบว่ามีการผลิตไฟฟ้าที่น้อยลง หรือผิดปกติควรแจ้งผู้ให้บริการเพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหา 

สรุป 

สำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้นจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 25,000-400,000 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดบ้าน ประเภทโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง และอุปกรณ์ที่ติดตั้งด้วย แล โซลาร์เซลล์กี่ปีคืนทุน หรือ โซลาร์เซลล์คุ้มไหม ต้องบอกเลยว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้นสามารถใช้งานได้นานถึง 25 ปี ทำให้เหมาะอย่างมากกับบ้านหรือหน่วยงานที่ใช้ไฟมากในช่วงเวลากลางวัน เพราะช่วยประหยัดค่าไฟซึ่งคุ้มค่ามากในระยะยาว  

แต่ทั้งนี้อายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและการหมั่นทำความสะอาดให้เหมาะสมด้วย หากสนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่บ้าน ที่ Sorarus มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานร่วมกับโซลาร์เซลล์มากมาย ครบวงจร พร้อมให้บริการ หรือหากมีข้อสงสัยในเรื่องการประหยัดพลังงานเพิ่มเติม ทาง Sorarus ยังมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านนี้อีกด้วย  

Sorarus - Jan 1 1-1

รู้ไว้ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าในบ้าน ใช้แบบไหนถึงคุ้มค่าไฟ

รถไฟฟ้าเป็นยานพาหนะที่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย แต่การชาร์จรถไฟฟ้าอาจใช้เวลานาน และเสียค่าไฟเพิ่มขึ้น หลายบ้านจึงเลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่เป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สร้างไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ แถมโซลาร์เซลล์ยังใช้ชาร์จรถไฟฟ้าได้อีกด้วย แต่ก่อนจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ต้องดูหลายองค์ประกอบมาก ตั้งแต่การเลือกขนาดโซลาร์เซลล์ ดูพื้นที่ในการติดตั้ง การเปลี่ยนระบบไฟฟ้า บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ให้แล้ว

โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า คืออะไร 

การใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า คือการนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งที่บ้าน และต่อกับเครื่องชาร์จ EV ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้า โดยเมื่อมีแดด แผงโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งไปยังตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน จากนั้นตู้ควบคุมไฟฟ้าจะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และส่งไฟฟ้ามาที่เครื่องชาร์จ EV ทำให้สามารถชาร์จรถไฟฟ้าได้ 

การใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าแตกต่างจากโซลาร์เซลล์ทั่วไปตรงที่โซลาร์เซลล์ทั่วไปจะมีการผลิตไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งเหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงอย่างเช่น หลอดไฟ LED หรือพัดลม แต่เครื่องชาร์จ EV จะต้องเป็นกระแสสลับ จึงจำเป็นต้องพึ่งพาตู้ควบคุมไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนให้เป็นกระแสสลับก่อนนั่นเอง

Solar Cell ชาร์จรถไฟฟ้า ควรใช้ขนาดกี่วัตต์

Solar Cell ชาร์จรถไฟฟ้า ควรใช้ขนาดกี่วัตต์ 

ในประเทศไทยแสงอาทิตย์เฉลี่ยใน 1 วัน มีประมาณ 5 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่แผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุด ถ้ารถยนต์ไฟฟ้ามีความจุแบตเตอรี่ 40 kWh หรือ 40,000 Wh ต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ 40,000 Wh ใน 5 ชั่วโมง นั่นคือ 8,000 Wh ต่อชั่วโมง หรือ 8 kW

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลดลง เช่น มุมการติดตั้ง ทิศทางของแผงโซลาร์เซลล์ อุณหภูมิ ฝุ่น มลพิษ การสะท้อนของแสง ดังนั้นควรเพิ่มขนาดของแผงโซลาร์เซลล์อีกประมาณ 20-30% เพื่อให้มีการผลิตไฟฟ้าที่เพียงพอ หรือกล่าวโดยสรุปได้ว่า Solar Cell ชาร์จรถไฟฟ้าควรใช้ขนาดประมาณ 10-11 วัตต์/ชั่วโมง  

วิธีคำนวณเพื่อเลือกใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า

วิธีคำนวณเพื่อเลือกใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า

วิธีคำนวณเพื่อเลือกใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ต้องอาศัยความจุแบตเตอรี่ของรถยนต์ และระยะทางที่รถยนต์วิ่งในแต่ละวันเป็นตัวกำหนด คือ

กำลังวัตต์ของโซลาร์เซลล์ = (ความจุของแบตเตอรี่ x อัตราการใช้งานรถยนต์) / อัตราการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ 

ยกตัวอย่างเช่น หากใช้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งเฉลี่ย 50 กม. ต่อวัน และรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ 6 กม. ต่อ 1 kWh หมายความว่าใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 50/6 = 8.33 kWh ต่อวัน หรือ 8,333 Wh ต่อวัน ทำให้ต้องการแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ 8,333/5 = 1,667 Wh ต่อชม. หรือ 1.67 kW ต่อชม.

ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าขนาด 40 kWh ที่วิ่งเฉลี่ย 50 กม. ต่อวัน จำเป็นต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์ขนาดประมาณ 2-2.2 kW ซึ่งจะต้องมีพื้นที่การติดตั้งที่เหมาะสมและถูกต้อง 

การเปลี่ยนระบบไฟฟ้าเพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า 

หากอยากเปลี่ยนมาใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ควรเริ่มจากการเปลี่ยนระบบไฟฟ้าก่อน โดยสิ่งที่ต้องเปลี่ยนมีดังนี้

  • การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ต้องเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าให้มีขนาด 30 แอมป์ เพื่อป้องกันการใช้ไฟเกิน 
  • เปลี่ยนสาย Main และ Circuit Breaker ให้มีขนาด 25 ตารางเมตร และ 100 แอมป์ ตามลำดับเพื่อให้รองรับกำลังไฟฟ้าที่สูงขึ้น
  • ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) และสายดิน เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว 

ตำแหน่งสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า

ตำแหน่งสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า 

เพื่อให้โซลาร์เซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากเพียงพอสำหรับการชาร์จรถไฟฟ้า นอกจากจำนวนแผงโซลาร์เซลล์แล้ว ตำแหน่งสำหรับการติดตั้งเองก็สำคัญเช่นกัน โดยควรเลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ตามตำแหน่งดังนี้

  • การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรเลือกพื้นที่ที่มีแสงอาทิตย์เต็มที่ ไม่มีอุปสรรคใดๆ บดบัง และห่างไกลจากต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้โซลาร์เซลล์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และง่ายต่อการทำความสะอาด 
  • เลือกทิศใต้เป็นทิศหลักในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้าน เพราะจะได้รับแสงอาทิตย์ตลอดวัน และสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากที่สุด
  • เลือกบริเวณที่มีอุณหภูมิที่ไม่สูงเกินไป เพราะความร้อนสูงจะทำให้โซลาร์เซลล์ทำงานได้น้อยลง และควรมีการถ่ายเทอากาศที่ดี เพื่อลดความร้อนของระบบโซลาร์เซลล์ 

ข้อควรรู้ ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน

ข้อควรรู้ ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน 

เมื่อได้รู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนระบบไฟฟ้า และตำแหน่งสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้ชาร์จรถไฟฟ้าแล้ว มาดูข้อควรรู้อื่นๆ เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ดังนี้

  • หลังคา: ประเภทและขนาดของหลังคาจะมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าได้ไหม หลังคาจะเข้าถึงได้มากน้อยเพียงใด และจะพอดีกับหลังคาจำนวนเท่าใด 
  • ช่วงเวลาแดดจัด: ทุกพื้นที่ได้รับแสงแดดเฉลี่ยในแต่ละวันที่แตกต่างกัน ซึ่งควรรู้ว่าบ้านจะได้รับแสงแดดมากเพียงใด ช่วงเวลาไหนที่มีแดดเยอะที่สุด เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจเลือกจำนวนแผงโซลาร์เซลล์
  • สภาพอากาศ: รูปแบบสภาพอากาศในท้องถิ่นส่งผลกระทบต่อแสงแดดบนแผงโซลาร์เซลล์ แต่แผงยังคงสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในวันที่มีเมฆมาก ผู้ติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์สามารถคำนวณจำนวนแผงที่ต้องใช้เพื่อจ่ายไฟให้กับบ้านโดยพิจารณาจากรูปแบบสภาพอากาศวันที่ผ่านมา 

จำนวนโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่ควรติดตั้ง

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ควรพิจารณาถึงการใช้รถว่าใช้เดินทางเท่าไร ละชาร์จไฟบ่อยแค่ไหน เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกจำนวนแผงโซลาร์เซลล์ที่ต้องการ เพราะยิ่งใช้รถมาก ยิ่งต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์มาก นอกจากนี้ยังควรเลือกบริษัทติดตั้งโวลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บ้าน อย่าง Sorarus ที่มีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษา ติดตั้งโซลาร์เซลล์ด้วยทีมช่างมืออาชีพ และมีบริการหลังการขายอย่างดี 

ข้อดีของการใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า

ข้อดีของการใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า

การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการรถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แม้จะต้องมีการเตรียมพร้อม และปรับเปลี่ยนอยู่หลายอย่าง แต่ข้อดีที่จะได้จากการใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าในบ้านนั้นก็คุ้มค่าที่จะเปลี่ยนเช่นกัน

1. ช่วยประหยัดค่าไฟ

โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าไม่เพียงแต่ลดค่าไฟจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) แต่ยังช่วยลดการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ในบ้านได้ด้วย ซึ่งการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้านต้องการเงินลงทุนเพียงครั้งเดียว แต่สามารถใช้งานได้นานถึง 10 ปีขึ้นไป ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้แล้ว ยังเป็นการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

2. สะดวกและรวดเร็ว 

โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า นอกจากจะสะดวกสบายในการชาร์จไฟฟ้า โดยไม่ต้องเดินทางไปสถานีบริการที่ มีจำนวนเครื่องชาร์จจำกัดแล้ว ยังเป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ และไม่มีการสิ้นเปลือง ซึ่งการชาร์จไฟฟ้าให้เต็มแบตเตอรี่ใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับรุ่นของรถยนต์  

3. ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

โซลาร์เซลล์บ้านเป็นระบบที่ใช้แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า โดยไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือมลพิษอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลภาวะ นอกจากนี้การใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าก็ไม่มีการปล่อยมลพิษจากการใช้เชื้อเพลิง ทำให้สามารถรักษาสิ่งแวดล้อม สุขภาพของคน สัตว์ และระบบนิเวศน์ได้ 

4. เป็นพลังงานที่ยั่งยืน 

อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าเป็นผู้นำในการสร้างความยั่งยืน โดยลดความต้องการใช้น้ำมัน ส่วนใหญ่มาจากการเผาก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานยั่งยืน ไม่มีวันหมด จึงเป็นทางออกที่ดี ดังนั้นผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าและผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าจึงมีส่วนร่วมในการปกป้องโลก และสร้างอนาคตที่ดีของการเดินทางด้านพลังงานและยานพาหนะ 

5. ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากส่วนกลาง 

ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่อาจส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วต่อค่าไฟฟ้ารายเดือน เช่นในปี 2563 ที่ผ่านมาจะเห็นว่าค่าไฟนั้นมีการปรับอัตราต่อหน่วยขึ้นอยู่เสมอจึงทำให้ค่าไฟแต่ละเดือนนั้นก็ขึ้นด้วยเช่นกัน หากติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า จะเป็นการลงทุนครั้งเดียว แต่สามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้าจากส่วนกลาง และประหยัดค่าไฟฟ้าในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ 

6. เพิ่มมูลค่าบ้าน

การลงทุนในแผงโซลาร์เซลล์และที่ชาร์จ EV สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับบ้านได้ ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์ถูกมองว่าเป็นคุณสมบัติที่ผู้ซื้อบ้านต้องการ เพราะช่วยประหยัดพลังงานในระยะยาว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพราะการใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ยอดเยี่ยม ซึ่งรองรับเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในตลาด 

สรุป

โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า คือการใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งที่บ้าน ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และเชื่อมต่อกับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าจากส่วนกลาง ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเลือกใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ควรพิจารณาถึงความจุของแบตเตอรี่ในรถยนต์ และการใช้งานรถยนต์ ควรใช้โซลาร์เซลล์ที่มีกำลังวัตต์มากกว่าความจุของแบตเตอรี่ และเพียงพอต่อการใช้งานรถยนต์ในแต่ละวัน และเมื่อได้โซลาร์เซลล์มาแล้วก็ต้องเปลี่ยนระบบไฟ รวมถึงหาที่ตั้งที่เหมาะสม

แม้ว่าโซลาร์เซลล์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นจะมีทั้งข้อดีมากมายทั้งตัวผู้ติดตั้งเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว แต่ก่อนการเลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็ควรเลือกบริษัทที่มีความเชื่อถือ เชี่ยวชาญเฉพาะทางในเรื่องโซลาร์เซลล์อย่าง Sorarus ที่มีบริการติดตั้ง พร้อมออกแบบระบบ โดยทีมงานที่มีประสบการณ์ มีประกันรับรองและบริการหลังการขาย 

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด