Sorarus-Nov4-banner

โซลาร์เซลล์ On Grid กับ Off Grid ต่างกันอย่างไร เหมาะกับที่ไหนบ้าง

โซลาร์เซลล์มีระบบที่แตกต่างกันคือ On Grid กับ Off Grid ซึ่งออกแบบมาให้ใช้งานกับสถานที่ที่ต่างกัน จึงควรเลือกรูปแบบการใช้ให้ถูกต้อง โดยแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ระบบเป็นอย่างไร ดูกันต่อได้ในบทความนี้ เพื่อให้การใช้โซลาร์เซลล์ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

ระบบโซลาร์เซลล์แบบ On Grid

ระบบโซลาร์เซลล์แบบ On Grid

มาเริ่มต้นกันก่อนที่ ระบบโซล่าเซลล์ On Grid เป็นการใช้งานระบบผสมผสาน ที่ยังคงมีการดึงพลังงานไฟฟ้าจากทางโรงไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาใช้งานร่วมกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของระบบโซลาร์เซลล์ที่ได้ผลิตไว้ และแน่นอนว่ามิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านยังคงวิ่งอยู่ แต่จะมีการใช้พลังงานไฟฟ้าตรงจากการไฟฟ้าที่น้อยลงมาก เป็นระบบที่ได้ยินชื่อเรียกกันบ่อยๆ ว่าเป็น การใช้พลังงานผ่านหม้อแปลงไฟ ที่จะแปลงให้ไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อการใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์มากที่สุด รวมถึงเหมาะสมที่สุดในแต่ละช่วงเวลานั่นเอง

อุปกรณ์ในการติดตั้งระบบ

อุปกรณ์สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ On Grid จะมีหลักๆ ทั้งหมด ดังนี้

  •  แผงโซลาร์เซลล์
  • Grid Tie Inverter (อินเวอเตอร์สำหรับการเชื่อมสายส่ง)
  • คอนโทรลเบรกเกอร์ สำหรับทำงานในการแปลงสลับกระแสไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (DC, AC Surge)
  • สายไฟ DC ข้อต่อสาย MC4
  • อุปกรณ์การเดินสายไฟฟ้า
  • อุปกรณ์สำหรับการประกอบวัสดุในการยึดแผงโซลาร์เซลล์และโครงสร้างอุปกรณ์ต่างๆ 

การทำงานของระบบโซลาร์เซลล์ On Grid

การทำงานของระบบการจ่ายไฟจากโซล่าเซลล์แบบ On Grid จะมีการทำงานเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์พร้อมกับพลังงานจากไฟฟ้าที่รับตรงจากกระแสไฟบ้านที่นับจากมิเตอร์เท่านั้น ซึ่งระบบแบบ On grid จะดึงพลังงานโซลาร์เซลล์มาใช้งานก่อนจนกว่าพลังงานที่ดึงมาจากระบบโซลาร์เซลล์หรือพลังงานแสงอาทิตย์จะเริ่มไม่เพียงพอ จากนั้น ระบบจึงจะสลับไปดึงกระแสไฟบ้านมาใช้แทน ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์แบบ On grid จะใช้งานได้ดีมากช่วงกลางวัน แต่จะเริ่มถูกอินเวอร์เตอร์ปิดการใช้งานเมื่อเริ่มมีสภาพอากาศแบบเมฆมากหรือตอนเริ่มเป็นช่วงเวลาค่ำ กระแสไฟบ้านจะเปิดและถูกนำมาใช้งานโดยอัตโนมัติ

 

ข้อดีของระบบโซลาร์เซลล์ On Grid

 

ข้อดีของระบบโซลาร์เซลล์ On Grid

สำหรับข้อดีของการเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ On Grid สามารถยกตัวอย่างข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้ ดังนี้

  • มีแหล่งพลังงาน 2 ทาง ซึ่งมาจากการใช้งานของพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์และการดึงพลังงานไฟบ้านมาใช้ เมื่อพลังงานโซลาร์เซลล์ขาดหายไป ทำให้ไม่มีการดับของไฟฟ้าระหว่างวันอย่างแน่นอน
  • ประหยัดค่าไฟบ้านได้มากขึ้น เพราะระบบ On grid จะดึงพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์มาใช้เป็นหลักก่อน และยังสามารถทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าได้ เพื่อขายไฟคืนเมื่อระบบมีการดึงไฟมาใช้เกินความต้องการภายในบ้าน
  • ค่าซ่อมบำรุงหรือค่าดูแลรักษาน้อยมาก
  • ไม่ต้องสำรองแบตเตอรี่เป็นพลังงานเพิ่มเติม
  • ไม่ต้องสลับระบบไฟฟ้าก็สามารถใช้งานอุปกรณ์ได้ทุกอย่าง

ข้อเสียของระบบโซลาร์เซลล์ On Grid

ข้อเสียในการเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ On Grid สามารถยกตัวอย่างข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมได้ มีดังนี้

  • กรณีที่เกิดเหตุการณ์ไฟดับ ระบบการจ่ายไฟฟ้าด้วยแผงโซลาร์เซลล์ก็จะหยุดการทำงานลงด้วย เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าช็อตหรือเกิดความเสียหายอื่นๆ ต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าที่ต้องมาซ่อมแซม เพราะยังคงเป็นระบบที่ต้องพึ่งพาทั้งโซลาร์เซลล์และไฟฟ้าจากการไฟฟ้าโดยตรงอยู่พร้อมกัน
  • การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าจะเป็นไปตามมาตรฐานของหน่วยงานการไฟฟ้า
  • ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้ง และต้องรู้ถึงปริมาณที่จะใช้รับพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานโดยขั้นต่ำต่อวันให้ได้อย่างเพียงพอ

ระบบโซลาร์เซลล์ On Grid เหมาะกับสถานที่ใด

สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ On Grid จะเหมาะกับสถานที่ที่ต้องมีการเน้นใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมากในช่วงเช้า ช่วงกลางวันเป็นหลัก เช่น หน่วยงานต่างๆ ทั้งที่เป็นสำนักงานหรือออฟฟิศทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศขนาดเล็กหรือสำนักงานขนาดใหญ่ เพราะต้องมีการใช้เครื่องปรับอากาศจำนวนมาก รวมถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าถึงเย็น จึงเหมาะกับการเลือกติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบ On grid อย่างมาก หรือจะเป็นบ้านที่มีผู้อยู่อาศัยช่วงพักผ่อนหรือต้องการใช้งานในตอนกลางวันมากที่สุดก็เช่นกัน และสถาบันอื่นๆ ที่ให้บริการช่วงเช้า – กลางวัน เช่น วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย และอื่นๆ อีกมากมาย เป็นต้น ไม่เหมาะกับช่วงค่ำขึ้นไป เพราะระบบ On Grid ไม่มีการจัดเก็บพลังงานสำรองในแบตเตอรี่ 

 

ระบบโซลาร์เซลล์แบบ Off Grid

ระบบโซลาร์เซลล์แบบ Off Grid

ระบบโซล่าเซลล์ แบบ Off Grid จะเป็นระบบที่มีการรับพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า แล้วดึงมาใช้งานโดยตรงเข้าสู่อุปกรณ์ต่างๆ ตามการใช้งานในขณะนั้นทันที แล้วจะนำกระไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการส่งต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆ สลับมาจัดเก็บยังตัวแบตเตอรี่ เพื่อให้มีใช้งานในเวลาสำรองตอนที่โซลาร์เซลล์ไม่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรงได้แล้ว สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านได้ทั้งหมด จึงไม่เป็นปัญหาในช่วงวันที่มีเมฆหนาหรือช่วงเวลากลางคืน

อุปกรณ์ในการติดตั้งระบบ

อุปกรณ์สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ Off Grid จะมีหลักๆ ทั้งหมด ดังนี้

  • แผงโซลาร์เซลล์ (อุปกรณ์การประกอบ Solar Modules ทั้งหมด)
  •  Charge Controller (อุปกรณ์ในส่วนเครื่องควบคุมประจุแบตเตอรี่)
  •  แบตเตอรี่ เพื่อใช้ในการกักเก็บพลังงาน เป็นจุดเด่นของระบบโซลาร์เซลล์แบบ Off Grid
  • อินเวอร์เตอร์ (อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และระบบมากที่สุด)

การทำงานของระบบโซลาร์เซลล์ Off Grid

แผงโซลาร์เซลล์จะทำงานเป็นหลัก เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าแล้วนำจ่ายไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการใช้พลังงานโดยตรง จากนั้นจะมีการแบ่งส่วนพลังงานไฟฟ้าที่เกินจำเป็นมาสู่แบตเตอรี่เพื่อจัดเก็บประจุกำลังไฟในส่วนที่เหลือไว้เป็นพลังงานสำรอง ส่วนพลังงานแรงดันไฟฟ้าที่จะจ่ายเพื่อใช้งานจากโซลาร์เซลล์ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ที่เลือกติดตั้งด้วยเช่นกันว่าเลือกใช้งานแบบ 12V , 24V หรือ 48V สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งานในการนำมาติดตั้งได้ และเมื่อไรที่พลังงานแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอต่อแผงโซลาร์เซลล์เพื่อให้ระบบดึงไปใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าแล้ว ตัวแบตเตอรี่ที่ได้กักเก็บพลังงานไว้ระหว่างวันจะดึงพลังงานตรงนี้ออกมาใช้แทน จึงไม่ค่อยเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับให้เห็นเท่าไรสำหรับระบบโซล่าเซลล์ Off Grid

 

ข้อดีของระบบโซลาร์เซลล์ Off Grid

ข้อดีของระบบโซลาร์เซลล์ Off Grid

สำหรับข้อดีของการเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ Off Grid สามารถยกตัวอย่างข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้ ดังนี้

  • ระบบ Off Grid แทบไม่มีโอกาสได้เห็นไฟดับ หรือไฟฟ้าไม่พอใช้ เพราะพลังงานจะถูกดึงมาจากแบตเตอรี่ในยามฉุกเฉินอยู่ตลอด รวมถึงตอนที่ไฟตกก็เช่นกัน และพอเข้ากลางวันก็จะมีพลังงานตรงจากโซลาร์เซลล์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ต่อเนื่อง
  • สามารถติดตั้งระบบ Off Grid ได้เอง ไม่ต้องใช้มาตรฐานหน่วยงานการไฟฟ้า
  • อุปกรณ์ทั้งหมดในการติดตั้งมีราคาถูกและสามารถหาซื้อได้ทั่วไป

ข้อเสียของระบบโซลาร์เซลล์ Off Grid

ข้อเสียในการเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ Off Grid สามารถยกตัวอย่างข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมได้ มีดังนี้

  • ไม่สามารถขายกระแสไฟฟ้าส่วนเกินคืนให้กับทางหน่วยงานการไฟฟ้าได้
  • ต้องมีการบำรุงรักษาด้วยการเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกๆ 5 – 10 ปี
  • กรณีที่แบตเตอรี่เต็มระหว่างวัน แล้วไม่มีการดึงพลังงานตรงนี้ไปใช้จะเหมือนกับการรับพลังงานที่ค่อนข้างสูญเปล่า และทำให้แบตเตอรี่ทำงานหนักขึ้น มีโอกาสต้องบำรุงรักษาไวขึ้นขั้นต่ำสุดคือ 5 ปี

ระบบโซลาร์เซลล์ Off Grid เหมาะกับสถานที่ใด

สำหรับการเลือกใช้งานระบบโซล่าเซลล์ แบบ Off Grid นี้ เหมาะกับตั้งแต่ผู้ที่อยู่อาศัยกันเป็นครอบครัวใหญ่ ที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ ควรแยกระบบไฟฟ้าเป็นแบบ Off Grid ไปเลย เพื่อให้มีกระแสไฟฟ้าใช้ได้อย่างต่อเนื่องทั้งหมด ส่วนบ้านที่อยู่อาศัยขนาดเล็กก็สามารถติดตั้งระบบแบบ Off Grid ได้อย่างไม่มีปัญหาเช่นกัน และเหมาะกับการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องมีการใช้งานทั้งกลางวันและกลางคืนจะเป็นการดึงพลังงานได้อย่างคุ้มค่ามากกว่า ดังนั้น บ้านขนาดเล็กก็จะได้รับการใช้งานระบบ Off Grid เต็มที่มากกว่าบ้านใหญ่ เพราะบ้านใหญ่อาจต้องมีการติดตั้งระบบ Hybrid เสริมด้วยจะเป็นการเพิ่มงบประมาณที่มากขึ้นอีกหลายเท่าจึงแนะนำสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยทั่วๆ ไป ติดตั้งระบบนี้จะคุ้มมากกว่า แต่ไม่ควรต่อร่วมกับระบบ On Grid เด็ดขาด

ความแตกต่างระหว่างระบบแบบ On Grid กับ Off Grid

ความแตกต่างระหว่างระบบแบบ On Grid กับ Off Grid

ในด้านความแตกต่างของระบบโซล่าเซลล์ On Grid กับ Off Grid สามารถอธิบายแยกได้อย่างชัดเจน เพื่อประกอบการพิจารณาและความคุ้มค่าของการติดตั้งได้ ดังนี้

ระบบโซลาร์เซลล์แบบ On Grid จะมีการแปลงพลังงานไฟฟ้าด้วยอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Grid Tie Inverter เพื่อดึงพลังงานไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ โดยตรง และมีการเชื่อมต่อระบบการจ่ายพลังงานเข้ากับสายกระแสตรงของพลังงานจากทางการไฟฟ้า ทำให้ระบบการควบคุมกำลังไฟต่างๆ จะตรงตามมาตรฐานและใช้พลังงานอย่างถูกต้อง ลดความยุ่งยากได้มากในเรื่องการควบคุมและลดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น สำหรับระบบโซลาร์เซลล์แบบ Off Grid จะเป็นการนำอุปกรณ์ Inverter ช่วยแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรงไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการต่อตรงไปรับกระแสจากการไฟฟ้าแต่อย่างใด พร้อมกับมีการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินที่ได้จากโซลาร์เซลล์มาจัดเก็บในตัวแบตเตอรี่เพื่อใช้งานต่อไปในช่วงที่แสงอาทิตย์หมดลงได้

สำหรับระบบการทำงานของ On Grid จะใช้การดึงพลังงานโดยตรง ใช้งานต่อเนื่องได้ตลอดทั้งวัน และเมื่อแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอก็จะนำพลังงานที่ต่อตรงกับทางการไฟฟ้ามาใช้ แต่ระบบจะต้องมีทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ของโซลาร์เซลล์และพลังงานไฟฟ้าจากทางการไฟฟ้าโดยตรง ระบบ On Grid จึงจะทำงานได้ หากพลังงานตรงไหนขาดหายไป ระบบจะตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าทันที ส่วนระบบการทำงานของ Off Grid จะเป็นการใช้พลังงานโดยตรงจากโซลาร์เซลล์เช่นกัน แต่จะมีการสำรองเก็บพลังงานที่เหลือไปยังแบตเตอรี่ และเมื่อพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ ก็จะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้งานจ่ายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ต่อได้ โดยไม่ต้องมีการยุ่งเกี่ยวกับระบบของทางการไฟฟ้าใดๆ ทั้งสิ้น

หากสถานที่เป็นพื้นที่ใหญ่ หน่วยงานใหญ่ องค์กรใหญ่ๆ หรือออฟฟิศขนาดเล็กแต่ต้องใช้จำนวนพลังงานไฟฟ้าเยอะมาก เช่น มีเครื่องปรับอากาศหลายตัว และมีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะมากนั้น รวมถึงบ้านที่เป็นครอบครัวใหญ่อยู่กันหลายคน ใช้พื้นที่ห้องและเครื่องใช้ไฟฟ้าแยกกันจำนวนมาก แนะนำให้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ On Grid จะคุ้มค่าและใช้พลังงานได้เต็มประสิทธิภาพมากกว่า ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยทั่วไป เป็นบ้านขนาดเล็กที่อยู่อาศัยกัน 1 – 3 คน หรือออฟฟิศรูปแบบขนาดเล็กมากประเภทโฮมออฟฟิศ แนะนำให้ใช้การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ Off Grid จะได้รับความคุ้มค่าสูงสุด

ควรติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ On Grid หรือ Off Grid

ในการตัดสินใจว่าควรเลือกติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบไหนดีมากกว่ากัน ระหว่าง โซล่าเซลล์ On Grid กับ Off Grid สำหรับส่วนนี้ต้องขอแนะนำให้ดูจากการช่วงเวลาของการใช้งานไฟฟ้าเป็นหลัก รวมถึง ขนาดพื้นที่อยู่อาศัย หรือขนาดขององค์กรต่างๆ ซึ่งหากเน้นการใช้งานระบบไฟฟ้าช่วงกลางวันเยอะมากและเป็นหน่วยงานใหญ่ หรือมีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนเยอะๆ ในเวลากลางวัน ควรติดตั้งแบบ On Grid จะลดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น และยังต่อตรงกับระบบจ่ายไฟของทางหน่วยงานการไฟฟ้า จะง่ายต่อการช่วยเหลือเมื่อมีการเกิดไฟดับขึ้น ส่วนพื้นที่ที่ค่อนข้างห่างไกลจากการจ่ายไฟฟ้าของทางหน่วยงาน รวมถึงบ้านเล็กๆ ที่อยู่อาศัยกันไม่มากแล้วต้องการประหยัดค่าไฟบ้านมากที่สุด แนะนำให้เลือกใช้เป็นระบบ Off Grid จะคุ้มค่าและตอบโจทย์มากกว่า 

สรุป

ความเหมาะสมของการเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ on grid กับ off grid นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสถานที่แบบไหน มีการใช้ไฟฟ้าอย่างไร รวมถึงช่วงเวลาที่มีการใช้งานไฟฟ้ามากที่สุด ควรดูข้อมูลการใช้งานภาพรวมก่อนเลือกติดตั้งเพื่อให้ถูกจุดประสงค์และใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับงบประมาณอย่างยาวนานด้วยเช่นกัน แต่หากไม่แน่ใจว่าจะติดตั้งระบบไหนดี ทาง Sorarus มีทีมงานที่พร้อมให้คำปรึกษา มีการลงพื้นที่ก่อนเพื่อเข้าไปดูสถานที่และสภาพแวดล้อม จะได้ประเมิน รวมถึงแนะนำว่าควรติดตั้งระบบไหน รวมถึงยังจัดจำหน่ายโซลาร์เซลล์ที่ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีประกันและบริการหลังการขายอีกด้วย

Sorarus - Oct 5-01-cover

มาดู 13 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด พร้อมเคล็ดลับใช้ไฟให้ประหยัด

รู้หรือไม่? เครื่องใช้ไฟฟ้าไหนที่กินไฟมากที่สุดในบ้าน แม้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา แต่เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะยังไม่เคยได้สังเกตว่าในแต่ละเดือนที่ผ่านมานั้น มีการใช้จ่ายพลังงานที่สามารถคิดเป็นเงิน ต่อชั่วโมง ต่อวัน หรือต่อเดือนเท่าไรแล้วบ้าง ซึ่งวันนี้ Sorarus จะพามาเฉลยว่าใน 1 ชั่วโมง เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ทำเงินในกระเป๋าเราหายไปเท่าไร พร้อมเคล็ดลับการใช้ไฟให้ประหยัด และลดโลกร้อนไปพร้อมกันได้ในบทความนี้

เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า

อันดับ 1 เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า

เครื่องทําน้ำอุ่น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจำเป็น โดยเฉพาะในหน้าหนาวที่อากาศจะเย็นมาก การมีเครื่องทำน้ำอุ่นไว้ใช้ในบ้าน ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราง่ายขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเครื่องทําน้ำอุ่นทั่วๆ ไปจะใช้ไฟประมาณ 2,500-12,000 วัตต์โดยเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟประมาณ 10-47 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดในบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้านเลยทีเดียว

วิธีการประหยัดไฟ

โดยทั่วไปแล้วเราจะได้ใช้งานเครื่องทำน้ำอุ่นอย่างต่อเนื่องในช่วงหน้าหนาว นั่นเพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน จึงอาจไม่มีโอกาสได้ใช้งานมากนัก แต่สำหรับใครที่ชอบอาบน้ำอุ่นอยู่บ่อยๆ คำแนะนำต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ในการลดภาระค่าไฟ และเพื่อให้สามารถใช้งานได้ถูกวิธีอีกด้วย 

  •  ไม่ควรเปิดทิ้งไว้ตลอดเวลา
  • ตั้งอุณหภูมิน้ําที่ 35-60 องศา ไม่ควรเปิดให้น้ําร้อนจัด เพราะจะสิ้นเปลืองไฟมากเกินจำเป็น
  • ปิดสวิตช์เมื่อไม่ได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการรั่วไหลของไฟ
  • ตรวจสอบการรั่วไหลของไฟด้วยการตรวจสอบสายดินก่อนใช้งานทุกครั้ง

เตารีดไฟฟ้า

อันดับ 2 เตารีดไฟฟ้า

รองลงมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดนั่นก็คือ เตารีดไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลายๆ บ้านคงมีกันติดบ้านอย่างแน่นอน เพราะช่วยอํานวยความสะดวกในการรีดผ้า ทําให้ผ้าเรียบ และเพิ่มความมั่นใจให้กับการแต่งกายของเราได้มากขึ้น ซึ่งเตารีดไฟฟ้าจะใช้ไฟประมาณ 1000-2500 วัตต์โดยเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟประมาณ 3-8 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

ในการใช้งานเตารีดผ้าอย่างถูกวิธี จะช่วยถนอมคุณภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า และช่วยให้ประหยัดไฟได้อีกด้วย 

  • ใช้ความร้อนปานกลาง ไม่ต้องรีดด้วยอุณหภูมิสูงสุด
  • รีดผ้าทีละหลายๆ ตัว ในการใช้งานแต่ละครั้ง วิธีนี้จะช่วยประหยัดได้มากกว่าการรีดทีละไม่กี่ตัว
  • ใช้น้ำพรมที่ผ้าทุกครั้งในการรีด เพราะความร้อนจากเตารีดจะถ่ายเทได้ดี ช่วยให้ไม่ต้องใช้ไฟที่สูงมาก
  • ทําความสะอาดแผ่นเตารีดเป็นประจํา เพื่อให้ถ่ายเทความร้อนในขณะรีดผ้าได้ดี
  • ปิดเตารีดทันทีเมื่อเลิกใช้งาน และถอดปลั๊กออกด้วย

ไดร์เป่าผม

อันดับ 3 ไดร์เป่าผม

ไดร์เป่าผมเป็นอันดับ 3 ของ Top 3 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด รองจากเครื่องทำน้ำอุ่น และเตารีดไฟฟ้า โดยไดร์เป่าผมเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเป่าผมให้แห้งได้อย่างรวดเร็ว ทําให้ประหยัดเวลาไปได้อย่างมาก โดยทั่วไปแล้ว ไดร์เป่าผมจะใช้ไฟประมาณ 1000-1800 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 3-8 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีการใช้งานไดร์เป่าผมอย่างถูกต้อง และช่วยประหยัดไฟ มีดังนี้

  • ใช้ผ้าเช็ดผมให้แห้งหมาดก่อนไดร์ผม เพื่อลดเวลาในการใช้ไดร์เป่าผม
  • เป่าผมด้วยอุณหภูมิปานกลาง อย่าใช้ระดับความร้อนที่มากเกินไปโดยไม่จําเป็น
  • ทําความสะอาดตะแกรงไดร์เป็นประจํา เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก 
  • ถอดปลั๊กทันทีหลังใช้งานเสร็จแล้ว

เตาไมโครเวฟ

อันดับ 4 เตาไมโครเวฟ

เตาไมโครเวฟ ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประโยชน์อย่างมากในครัวเรือน เพราะช่วยอุ่นอาหารได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลานานในการใช้แก๊สหุงต้ม แต่ถ้าหากใช้งานอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยประหยัดเวลา และพลังงานได้เป็นอย่างดี โดยไมโครเวฟทั่วไปจะใช้ไฟประมาณ 700-1200 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 2-4 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

สําหรับวิธีประหยัดไฟจากการใช้เตาไมโครเวฟ มีดังนี้

  • ใช้ระดับไฟในการอุ่นหรือทำอาหารให้เหมาะสม เช่น ใช้โหมดละลายน้ำแข็งสำหรับการอุ่นอาหารแช่แข็ง เป็นต้น
  • อย่าอุ่นอาหารมากเกินไป เพราะจะทำให้เครื่องทำงานหนัก และทำให้เปลืองไฟได้
  • ทําความสะอาดเตาไมโครเวฟเป็นประจํา เพื่อการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • อย่าเปิดฝาตัวเครื่องก่อนกำหนดเวลา เพราะจะทําให้ความร้อนรั่วไหลได้

เครื่องปรับอากาศ

อันดับ 5 เครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศ ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจําเป็นมากในบ้าน เพราะช่วยทําให้อากาศเย็นสบายในช่วงที่อากาศร้อนอบอ้าว ทําให้เราสามารถพักผ่อนได้อย่างสบายใจ โดยทั่วไปแล้ว เครื่องปรับอากาศมีขนาด 12,000-24,000 BTU จะใช้ไฟประมาณ 1,500-3,500 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 4-10 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟในการใช้เครื่องปรับอากาศ มีดังนี้

  • ตั้งอุณหภูมิที่ 25-26 องศา ไม่ต้องเย็นจัดเกินไป
  • สำหรับเครื่องปรับอากาศที่มีโหมดประหยัดพลังงาน แนะนำให้เปิดใช้โหมดนั้นๆ อยู่เสมอ จะช่วยให้ประหยัดไฟได้อย่างมาก
  • ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
  • ทําความสะอาดแผงกรองอากาศเป็นประจํา
  • ไม่วางเฟอร์นิเจอร์บังช่องลม
  • ตั้งเวลาเปิด-ปิดอัตโนมัติ ตามช่วงเวลาที่จะใช้งาน 

เครื่องดูดฝุ่น

อันดับ 6 เครื่องดูดฝุ่น

เครื่องดูดฝุ่นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยทําความสะอาดบ้านให้ปราศจากฝุ่นละอองได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ประหยัดแรงจากการใช้ไม้กวาดพื้นทั่วไป ซึ่งเครื่องดูดฝุ่นโดยทั่วไปมักใช้ไฟประมาณ 1000-2000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 2-5 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟในการใช้งานเครื่องดูดฝุ่น มีดังนี้

  • ใช้งานเท่าที่จําเป็น ไม่ต้องดูดฝุ่นบ่อยเกินไป
  • ใช้แปรงปัดฝุ่นก่อน เพื่อลดปริมาณฝุ่นที่ต้องดูด
  • ทําความสะอาดถุงดักฝุ่นเป็นประจํา เพื่อให้ดูดฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปิดเครื่องทันทีเมื่อเลิกใช้งาน และถอดปลั๊กออกด้วย

เครื่องปิ้งขนมปัง

อันดับ 7 เครื่องปิ้งขนมปัง

เครื่องปิ้งขนมปังเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ค่อนข้างจําเป็นในครัวเรือน เพราะช่วยให้เราสามารถทานขนมปังปิ้งได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องนำไปปิ้งบนเตาอีกต่อไป เครื่องปิ้งขนมปังส่วนใหญ่จะใช้ไฟอยู่ที่ประมาณ 700-1200 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 2-3 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟสําหรับเครื่องปิ้งขนมปัง มีดังนี้

  • เปิดใช้งานเท่าที่จําเป็น ไม่ควรเปิดทิ้งไว้
  • อย่าใส่ขนมปังเต็มถาดจนเกินไป
  • ทําความสะอาดเป็นประจํา เพื่อให้เครื่องทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ถอดปลั๊กออกทันทีเมื่อเลิกใช้งาน

เครื่องซักผ้า

อันดับ 8 เครื่องซักผ้า

เครื่องซักผ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะช่วยให้สามารถซักผ้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลานั่งซักมืออีกต่อไป ทําให้ประหยัดทั้งแรงและเวลาไปได้อีกมากเช่นกัน โดยเครื่องซักผ้าทั่วไปจะมีขนาด 8-12 กิโลกรัม มีการใช้ไฟประมาณ 500-800 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 3-6 บาทต่อชั่วโมง (อัตราไฟฟ้า 4 บาท/หน่วย)

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้เครื่องซักผ้า มีดังนี้

  • ใส่ผ้าเต็มถังในการซักแต่ละครั้ง ไม่ควรซักผ้าน้อยๆ และบ่อยครั้ง
  • ใช้น้ํายาซักผ้าตามคําแนะนํา ไม่ต้องใส่มากเกินไป
  • ซักด้วยน้ําเย็นหรือน้ำอุ่น ห้ามซักด้วยน้ำร้อนจัด
  • ทําความสะอาดและล้างทําความสะอาดตัวเครื่องเป็นประจํา

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

อันดับ 9 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจําเป็นสําหรับครัวเรือน เพราะเมืองไทยนิยมทานข้าวเป็นอาหารมื้อหลัก โดยหม้อหุงข้าวช่วยทําให้การหุงข้าวสะดวกรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องนั่งรอข้าวสุกนานๆ หม้อหุงข้าวไฟฟ้าขนาด 1-1.8 ลิตร โดยทั่วไปจะใช้ไฟประมาณ 500-1500 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 2-6 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีดังนี้

  • ใส่ข้าวตามปริมาณที่จะรับประทาน ไม่ควรหุงมากเกินไป
  • หุงข้าวด้วยโหมดอุ่น โดยไม่ใช้โหมดหุงสุกทันที
  • ทําความสะอาดหม้อหุงเป็นประจํา เพื่อให้ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน

กาต้มน้ำร้อน

อันดับ 10 กาต้มน้ำร้อน

กาต้มน้ําร้อนเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ค่อนข้างจําเป็นในบ้าน เพราะช่วยให้มีน้ําร้อนได้ใช้ตลอดเวลา หากต้องการดื่มน้ำร้อน น้ําชา หรือกาแฟ โดยไม่ต้องรอน้ําให้เดือดบนเตา กาต้มน้ำร้อนถือว่าตอบโจทย์มากเลยทีเดียว โดยทั่วไปแล้ว กาต้มน้ําร้อนส่วนใหญ่จะใช้ไฟประมาณ 800-1500 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 2-3 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้กาต้มน้ําร้อน มีดังนี้

  • เปิดใช้งานเมื่อจําเป็น ห้ามเปิดทิ้งไว้ตลอดเวลา
  • ตั้งอุณหภูมิน้ําไม่ให้ร้อนจัดเกินไป ประมาณ 80-90 องศา
  • ทําความสะอาดเครื่องเป็นประจํา เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ถอดปลั๊กออกเมื่อเลิกใช้งาน

เตาไฟฟ้า

อันดับ 11 เตาไฟฟ้า

เตาไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับการทำอาหารในครัวเรือน เพราะช่วยในการทําอาหารได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้เตาถ่าน ทําให้ประหยัดเวลาในการประกอบอาหารมากขึ้น ซึ่งเตาไฟฟ้าทั่วไปจะใช้ไฟประมาณ 1000-3000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 3-8 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้เตาไฟฟ้า มีดังนี้

  • เลือกใช้ขนาดเตาตามปริมาณอาหาร
  • ทําความสะอาดเตาเป็นประจํา เพื่อให้เตาทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปิดเตาทันทีเมื่อทําอาหารเสร็จแล้ว และควรถอดปลั๊กออกด้วย

ตู้เย็น

อันดับ 12 ตู้เย็น

ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จําเป็นอย่างมากในทุกบ้าน เพราะช่วยเก็บอาหารให้คงสภาพความสดได้นานขึ้น ทําให้อาหารไม่เน่าเสียง่าย สะดวกในการเก็บรักษาอาหาร ไม่จำเป็นต้องออกไปซื้อบ่อยๆ ตู้เย็นขนาด 7-10 คิว โดยทั่วไปจะใช้ไฟประมาณ 100-200 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 0.60-0.80 บาทต่อชั่วโมง (อัตราไฟฟ้า 4 บาท/หน่วย)

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้ตู้เย็น มีดังนี้

  • ตั้งอุณหภูมิตู้เย็นที่ 5-8 องศา ซึ่งไม่ควรเย็นจัดเกินไป
  • ปิดฝาตู้ให้สนิททุกครั้งหลังเปิดออก
  • ไม่ควรเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยเกินไป
  • ทําความสะอาดแผงระบายความร้อนด้านหลังตู้เย็นเป็นประจํา
  • ถอดปลั๊กออก เมื่อไม่ได้ใช้ตู้เย็นเป็นเวลานาน

พัดลมไฟฟ้า

อันดับ 13 พัดลมไฟฟ้า

พัดลมไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจําเป็นสําหรับหลายบ้าน โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อน เพราะจะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเย็นสบายมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปพัดลมไฟฟ้าขนาด 16-24 นิ้วส่วนใหญ่จะใช้ไฟประมาณ 60-100 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 0.15-0.25 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้พัดลม มีดังนี้

  • เปิดใช้เฉพาะตอนที่อยู่ในห้องเท่านั้น
  • หากอากาศไม่ร้อนมาก ควรใช้ที่เบอร์ 1-2 เพื่อระบายอากาศ
  • ทําความสะอาดใบพัดเป็นประจํา เพื่อให้พัดลมทํางานได้ดี
  • ปิดสวิตช์ทันทีเมื่อไม่ได้ใช้งาน

สรุป

การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างที่กินไฟอย่างมาก อาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้งานได้ แต่ถ้าหากใช้งานอย่างถูกวิธี ก็สามารถประหยัดไฟเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย และลดภาวะโลกร้อนควบคู่กันไปได้ 

หากใครที่กำลังมองหาพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจอย่างการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่คุ้มค่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงประโยชน์อีกมาก เช่น ช่วยประหยัดค่าไฟ ลดมลภาวะ และได้มีกระแสไฟฟ้าไว้ใช้เอง ทาง Sorarus เองก็มีบริการออกแบบการติดตั้ง ซ่อมบำรุง และให้คำปรึกษาหลังการขายอย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่าเป็นสินค้าที่คุ้มค่า คุ้มราคา แถมยังมีไฟฟ้าไว้ใช้เองได้อีกด้วย

Sorarus - Nov 5 (ใช้โซล่าเซลล์ร่วมกับไฟบ้าน)-02

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ใช้ระบบอะไร ปลอดภัย และทำได้หรือไม่

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าหลายคนหันมาสนใจติดโซลาร์เซลล์กันมากขึ้น  เนื่องจากการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์นั้น จะเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสำรองไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ทำให้สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นการช่วยลดค่าไฟได้ แต่หลายๆ คนคงสงสัยว่าหากติดแผงโซลาร์เซลล์ แล้วในฤดูฝนที่มักจะมีแสงแดดน้อย จะสลับการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านได้หรือไม่ มาหาคำตอบได้ในบทความนี้ไปพร้อมๆ กัน

 

แผงโซลาร์เซลล์ใช้กับไฟบ้าน ระบบออนกริดคืออะไร

 

แผงโซลาร์เซลล์ใช้กับไฟบ้าน ระบบออนกริดคืออะไร

สำหรับการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน จะเป็นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด ที่ทำงานแบบต่อเข้ากับระบบสายส่งจากการไฟฟ้าโดยตรง ทำให้ระบบไฟฟ้าภายในบ้านจะมี 2 ระบบ คือ ระบบไฟฟ้าที่มาจากโซลาร์เซลล์ และ ระบบไฟบ้านปกติ ซึ่งทั้งสองระบบทำงานควบคู่กันบนสายไฟฟ้าเดียวกันที่ถูกติดตั้งไว้ตั้งแต่เริ่มแรก สำหรับระบบไฟฟ้าที่มาจากโซลาร์เซลล์ จะทำการผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีแสงแดดมาก ซึ่งจะเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์มาจ่ายไฟให้กับ Grid Tie Inverter (หม้อแปลงไฟ) แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) มาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) และต่อเข้าระบบไฟฟ้าของบ้าน ทำให้สามารถใช้งานอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าภายในบ้านได้ แต่เมื่อในวันที่มีแสงแดดน้อย หรือวันที่ฝนตก พลังงานไฟฟ้าที่มาจากโซลาร์เซลล์หมด ไฟฟ้าภายในบ้านก็จะเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟบ้านปกติแบบอัตโนมัติทันที โดยไม่ต้องสลับเอง

 

ระบบการทำงานของโซลาร์เซลล์ ระบบออนกริด

 

ระบบการทำงานของโซลาร์เซลล์ ระบบออนกริด

ระบบออนกริด จะเชื่อมต่อและขนานไฟกับระบบไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีระบบการทำงาน คือจะเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์มาจ่ายไฟให้กับ Grid Tie Inverter (หม้อแปลงไฟ) แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) มาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และต่อเข้าระบบไฟฟ้าของบ้าน ระบบออนกริดนี้ สามารถใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ทำให้ใช้ไฟฟ้าได้ตลอด แม้ในวันที่มีแสงแดดน้อย วันที่ฝนตกหรือพลังงานไฟฟ้าที่มาจากโซลาร์เซลล์หมด เพราะระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจะทำงานทันที เมื่อไม่ได้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ แต่ถ้าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับลง ระบบไฟฟ้าในบ้านก็จะดับด้วย ซึ่งแตกต่างกับระบบออฟกริด ที่โซลาร์เซลล์นั้นจะไม่เชื่อมต่อกับระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ทำได้อย่างไร

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ทำได้อย่างไร

หากบ้านเชื่อมต่อกับแหล่งไฟฟ้าทั้งสองแห่ง คือ โซลาร์เซลล์และไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เมื่อแสงแดดกระทบแผงโซลาร์เซลล์ผ่านอินเวอร์เตอร์ จะเกิดการเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้ แต่เมื่อแสงแดดหมดลงหรือมีเมฆมาก ทำให้โซลาร์เซลล์ไม่ทำงานหรือมีพลังงานไฟฟ้าไม่มากพอ ระบบไฟฟ้าของบ้านที่มาจากการไฟฟ้า ก็จะทำการจ่ายไฟทันที และเมื่อแหล่งพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เก็บพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากพอ ระบบไฟฟ้าก็จะเปลี่ยนกลับไปใช้แบบเดิม

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน จะมีปัญหาเรื่องการใช้ไฟไหม

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน จะมีปัญหาเรื่องการใช้ไฟไหม

เมื่อมีการเปลี่ยนจากพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบโซลาร์เซลล์ไปใช้ไฟฟ้าแบบเดิม ในวันที่มีเมฆมากหรือแสงแดดน้อย แทบจะไม่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ และจะไม่ประสบปัญหาไฟฟ้าขัดข้องในระหว่างที่สลับไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไปใช้ไฟบ้าน เช่น ไฟฟ้าที่มาจากระบบโซลาร์เซลล์ดับชั่วคราว ระบบการทำงานของไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ก็จะทำงานทันที แต่สำหรับบ้านที่อยู่ในพื้นที่ชนบท ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง จะเหมาะสำหรับการใช้โซลาร์เซลล์ระบบออฟกริด ที่สามารถสำรองแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดี

 

บ้านแบบไหนที่ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านได้

 

บ้านแบบไหนที่ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านได้

บ้านที่เหมาะสำหรับใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านนั้น จะต้องเป็นบ้านที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเข้าถึง เพราะโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทันที มีประสิทธิภาพผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในตอนกลางวันได้ดีที่สุด โดยระบบนี้ไม่สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอร์รี่เพื่อใช้งานในภายหลังได้ เมื่อวันที่มีแสงแดดน้อยหรือวันที่ฝนตก ทำให้โซลาร์เซลล์ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอ กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ก็จะทำงานต่อเนื่องทันที

 

ข้อดีของการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน

 

ข้อดีของการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน

เหตุผลที่ควรเลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด เพื่อใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน มีข้อดีดังนี้

  • เพิ่มมูลค่าของบ้าน สำหรับบ้านที่ต้องการปรับปรุงและซ่อมแซมที่จะเพิ่มมูลค่าของบ้านเมื่อพร้อมขาย การติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่สามารถใช้ร่วมกับไฟบ้าน จะช่วยเพิ่มจุดขายของบ้าน เพราะเป็นเทคโนโลยีและทันสมัยมากขึ้น ซึ่งจะดึงดูดผู้ซื้อได้มากขึ้น
  • ขายไฟคืนเข้าระบบ การใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ถ้ามีการผลิตไฟได้เกินความต้องการใช้ในบ้าน สามารถขายไฟคืนเข้าระบบได้
  • ใช้ไฟฟ้าได้ตลอด เพราะการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน ระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจะทำงานทันที เมื่อไม่ได้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์
  • ราคาถูก การติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ร่วมกับไฟบ้าน มีราคาไม่แพงมากและง่ายต่อการสร้างและบำรุงรักษา เนื่องจากไม่จำเป็นต้องซื้อแบตเตอรี่ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่มีราคาแพง จึงไม่ต้องกังวลว่าแบตเตอรี่จะเสียหายจากการชาร์จไฟน้อยเกินไปหรือมากเกินไปและไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษาเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อยๆ
  • ช่วยประหยัดค่าไฟ การใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน สามารถช่วยประหยัดค่าไฟในบางส่วนได้ เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เป็นหลักแทนการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า อีกทั้งยังไม่ต้องพะวงว่าต้องใช้ไฟฟ้ามากขนาดไหน เพราะเมื่อใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตได้จนหมดแล้ว กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ก็จะทำงานต่อเนื่องทันที
  • เพิ่มความปลอดภัย การติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ร่วมกับไฟบ้าน หากเกิดปัญหาไฟดับ เจ้าหน้าที่สามารถเข้ามาซ่อมและแก้ไขสายไฟโดยไม่ต้องรบกวนระบบโซลาร์เซลล์เลย ช่วยให้เกิดความปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านอย่างไร ให้ประหยัด

 

ใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านอย่างไร ให้ประหยัด

การใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านให้ประหยัด จะมีเคล็ดลับอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

ใช้ไฟฟ้าตอนกลางวัน

โซลาร์เซลล์สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทันที มีประสิทธิภาพผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในตอนกลางวันที่ดีที่สุด หากต้องการใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านให้ประหยัด ควรใช้ไฟกลางวันมากกว่ากลางคืน อย่างเช่น การรีดผ้า ซักผ้า ทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรือทำอย่างอื่นที่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้แบบสบายๆ เลย

ลงทุนซื้อแบตเตอรี่สำรอง

การลงทุนซื้อแบตเตอรี่สำรอง เพื่อสำรองพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้แทนระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟได้ดี เป็นการลงทุนที่นับว่าคุ้มค่า

ขายไฟฟ้าส่วนเกินให้การไฟฟ้า

การใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้านนั้น หากมีการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์เซลล์มากเกินความจำเป็น สามารถนำไฟฟ้าเหล่านั้นมาขายเป็นไฟฟ้าส่วนเกินให้กับการไฟฟ้าได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ผู้ที่ต้องการขายไฟให้ดำเนินการสมัครบัญชีผู้ใช้งานในระบบ PPIM แล้วก็ลงทะเบียนเพื่อเข้าระบบให้เรียบร้อย ลงทะเบียนยื่นความจำนงได้ที่ โครงการพลังงานหมุนเวียน หรือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (PPIM)
  2. ผู้ยื่น หรือ ผู้ขายระบบโซลาร์เซลล์ที่ได้รับมอบอำนาจ อัปโหลดเอกสาร หลังจากนั้นจะต้องรอการไฟฟ้า พิจารณาแบบคำขอขายไฟฟ้า ประมาณ 7-10 วัน พร้อมทั้งตรวจสอบ Capacity หรือขนาดพิกัดสูงสุดของหม้อแปลงว่าสามารถรับกำลังผลิตระบบโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่
  3. หลังจากนั้นจะแจ้งผล ซึ่งตั้งแต่เริ่มการยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้า จนถึงประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เมื่อเสร็จแล้วจะต้องดำเนินการชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่เขตพื้นที่การไฟฟ้าที่ให้การดูแล โดยเริ่มต้นที่ประมาณ 8,000 บาท มี (ราคานี้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)  และ ลงนามซื้อขาย
  4. การไฟฟ้าจะพิจารณาเอกสารต่างๆ แล้วแจ้งผลการพิจารณาให้กับผู้ยื่นขอขายไฟผ่านทางอีเมล
  5. การไฟฟ้าจะประกาศผลการคัดเลือกในระบบ PPIM ภายใน 45 วัน
  6. ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องชำระค่าเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า และจัดส่งต้นฉบับแบบคำขอขายไฟฟ้าพร้อมเอกสารประกอบตามที่การไฟฟ้ากำหนด ที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบภายใน 30 วัน หากพ้นกำหนดคำขอจะถูกยกเลิก
  7. ผู้ผ่านการคัดเลือกลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยมีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายใน 270 วัน
  8. ผู้ยืนขอทำการตรวจสอบระบบ และติดตั้งระบบต่างๆ ให้ตรงกับรายละเอียดที่ยื่นไว้กับการไฟฟ้า และขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าในเขตพื้นที่ให้เรียบร้อย
  9. ทางการไฟฟ้าจะเข้าทำการตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า และเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ พร้อมกับทดสอบการเชื่อมต่อเข้าระบบโครงค่ายไฟฟ้า

ข้อดีของการขายไฟฟ้าส่วนเกิน

  • มีรายได้กลับมาหลังจากลงติดตั้งโซลาร์เซลล์
  • ไม่ทิ้งส่วนไฟที่ผลิตเกินออกมา สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
  • เป็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

ข้อเสียของการขายไฟฟ้าส่วนเกิน

  • ใช้เวลาดำเนินเรื่องการขายคืนนาน ต้องรอหลายวัน
  • การไฟฟ้าเปิดรับซื้อในโควตาที่จำกัดในแต่ละพื้นที่

 

ปัญหาที่ควรระวังของแผงโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด

 

ปัญหาที่ควรระวังของแผงโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด

ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบใดๆ ก็ตาม ย่อมมีปัญหาตามมาเสมอ หากติดตั้งไม่ถูกต้องหรือมีความประมาท เลินเล่อ โดยปัญหาที่พบบ่อย มีดังนี้

ติดแบบไม่ได้ขออนุญาต และมีกันย้อน

ถ้าเราติดแบบไม่ได้ขออนุญาตและมีกันย้อน เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้น จะถูกปล่อยทิ้งไปเฉยๆ หากเราติดระบบออนกริดที่ใหญ่เกินความต้องการ ก็จะไม่ได้ลดค่าใช้จ่ายอะไรให้กับบ้านเลย

ติดแบบไม่ได้ขออนุญาต และไม่มีกันย้อน

ถ้าเราติดแบบไม่ได้ขออนุญาตและไม่มีกันย้อนสิ่งที่เกิดขึ้นคือมิเตอร์จะหมุนถอยหลังช่วงที่ไม่มีการใช้ไฟ หากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาเห็นพอดีว่ามันหมุนถอยหลัง อาจจะโดนแจ้งให้เราถอดระบบ หรือให้เอามิเตอร์มาเปลี่ยนเป็นมิเตอร์ดิจิตอลแทน ดังนั้น ควรขออนุญาตการติดตั้ง เพื่อการติดตั้งที่ถูกต้องและปลอดภัย เพื่อป้องกันปัญญาดังกล่าว

สรุป

การใช้โซลาร์เซลล์ร่วมกับไฟบ้าน เป็นการติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด ที่ทำงานแบบต่อเข้ากับระบบไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การติดตั้งนั้นจะต้องขออนุญาต 3 หน่วยงานด้วยกัน ได้แก่ หน่วยงานราชการปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานและยื่นขอขนานไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งการติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด สามารถขายระบบไฟฟ้าที่ผลิตออกมาเกินความต้องการ คืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย นอกจากการช่วยเพิ่มรายได้แล้ว การเลือกติดแผงโซลาร์เซลล์ยังช่วยลดค่าไฟในเวลากลางวันได้อีกด้วย หากสนใจอยากติดแผงโซลาร์เซลล์ ต้องแผงโซลาร์เซลล์ของ Sorarus ผู้นำด้านบริการประหยัดพลังงานความร้อนครบวงจร มีบริการให้คำปรึกษาฟรี พร้อมออกแบบการติดตั้ง ซ่อมบำรุง และให้คำปรึกษาหลังการขาย มั่นใจได้ว่าโซลาร์เซลล์ที่คุณติดตั้งจะไม่มีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน

Oct2-banner

สรุปขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ควรรู้ไว้ก่อนติดตั้ง

การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนลงมือติดตั้งโซลาร์เซลล์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง แต่เหตุผลว่าทำไมต้องทำการขออนุญาตและจะทำการขออนุญาตได้อย่างไร ในบทความนี้มีคำตอบ

 

ทำไมต้องขออนุญาตก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์

 

ทำไมต้องขออนุญาตก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์

การขออนุญาตก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าจะการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน (Solar Rooftop) หรือการทำโซล่าฟาร์ม (Solar farm) โดยวัตถุประสงค์ของ การขออนุญาตสำหรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ คือ เพื่อความปลอดภัย และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างใช้งานโซลาร์เซลล์ในภายหลัง แต่การขออนุญาตสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้งาน จะต้องมีการขออนุญาตเฉพาะกับระบบโซลาร์เซลล์ ที่ต้องทำงานคู่กันระบบการไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งจะหมายถึงระบบโซลาร์เซลล์แบบออนกริด (On Grid) และระบบไฮบริด (Hybrid) ที่ใช้งานระบบออนกริดและออฟกริดควบคู่กัน แต่การขออนุญาตสำหรับระบบไฮบริด จะมีการขออนุญาตเป็นบางรุ่นเท่านั้น

หากมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ทำงานคู่กับระบบไฟฟ้า แล้วไม่มีการขอนุญาตก่อนการติดตั้ง หรือแจ้งสามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะทำให้เกิดปัญหาในภายหลังได้ เพราะกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ กระแสไฟฟ้าเหล่านี้ จะไหลเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า ส่งผลให้มิเตอร์ไฟฟ้ามีการไหลกลับ และการไฟฟ้าก็จะทราบว่าเจ้าของบ้านมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยที่ไม่มีการขออนุญาตจากสามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเจ้าของบ้านจะถูกแจ้งให้ถอดแผงโซลาร์เซลล์ และมีการเสียค่าปรับในราคาที่สูงมาก โดยค่าปรับที่ต้องเสีย จะคำนวณจากค่าไฟฟ้าที่ถูกผลิตได้จากโซลาร์เซลล์และคำนวนพร้อมดอกเบี้ย

 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ผิดกฎหมายไหม

 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ผิดกฎหมายไหม

การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้งานนั้นไม่ผิดกฎหมาย แต่เจ้าของบ้าน ต้องมีการยื่นขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างถูกต้อง โดยยื่นขอกับหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ซึ่งระบบที่ต้องยื่นขอการติดตั้ง จะเป็นระบบโซลาร์เซลล์ออนกริด (On Grid) และระบบโซลาร์เซลล์ไฮบริด (Hybrid) เพราะสองระบบนี้จะต้องมีการทำงานและใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า ส่วนการติดตั้งจะต้องมีวิศวกรไฟฟ้าเซ็นต์รับรองก่อนการติดตั้ง

 

ติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบไหน ไม่ต้องขออนุญาต

 

ติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบไหน ไม่ต้องขออนุญาต

สำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบออฟกริด (off grid) ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต เพราะเป็นระบบโซลาร์เซลล์แบบอิสระ (Stand Alone) ที่ไม่ได้ใช้ไฟจากการไฟฟ้า หรือเชื่อมต่อระบบไฟของการไฟฟ้า จึงทำให้เมื่อติดตั้งแล้ว สามารถใช้งานได้เลย ซึ่งโซลาร์เซลล์ระบบออฟกริด ที่เจ้าของบ้านสามารถติดตั้งเองได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เช่น โคมไฟโซลาร์เซลล์ที่เป็นทั้งโคมไฟริมรั้ว หรือโคมไฟติดตั้งในสวน หลอดไฟโซลาร์เซลล์ หรือปั๊มน้ำโซลาร์เซลล์ เป็นต้น รวมถึงโซลาร์เซลล์แบบออฟกริด ที่ต้องใช้แบตเตอรี่ในการเก็บพลังงาน ก็ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตการติดตั้งเช่นกัน แต่หากต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าเพื่อใช้งานอย่าง hybrid off grid ต้องมีการขออนุญาตจากสามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในการใช้งาน

 

สรุป 4 ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทำได้อย่างไร

 

สรุป 4 ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทำได้อย่างไร

เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และทำให้การติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นไปอย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีการขออนุญาตก่อนการติดตั้ง โดยการขออนุญาตก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีด้วยกันหลักๆ 4 ขั้นตอน ดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 1 ยื่นใบอนุญาตก่อสร้าง

เจ้าของบ้านต้องมีการยื่นใบขออนุญาตก่อนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยการยื่นคำขอสำหรับการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1) และนำเอกสารไปยื่นกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ เช่น สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล หรืออบต. เพื่อขออนุญาตดัดแปลงโครงสร้างบนหลังคา ก่อนทำการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1 คือ แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร สามารถขอแบบฟอร์มได้ที่ฝ่ายโยธา โดยขอผ่านเว็บไซต์สำนักงานเขต หรือสำนักงานเทศบาลในเขตพื้นที่ ที่ตนเองอาศัยอยู่
  • แบบแปลนแสดงแผนผังการติดตั้ง แบบโครงสร้างหลังคา แบบโครงสร้างสำหรับการติดตั้ง และโครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์ พร้อมรายละเอียดทั้งหมดของการติดตั้ง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร และเอกสารรับรองของวิศวกรโยธา ที่ควบคุมงานและออกแบบ

 

ขั้นตอนที่ 2 ลงทะเบียน

ให้เจ้าบ้านลงทะเบียนขออนุญาตหลังจากติดตั้งโซลาร์เซลล์เสร็จ ที่สำนักงาน กกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) หรือหากใครไม่สะดวกเดินทาง ก็สามารถลงทะเบียนผ่านระบบเว็บไซต์ออนไลน์ได้ที่ www.erc.or.th (กกพ.) เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • สำเนาบัตรประชาชนที่ตรงกับชื่อผู้ใช้ไฟและบิลค่าไฟ
  • สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง รวมถึงอินเวอร์เตอร์ ต้องเป็นรุ่นที่มีการขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้าหรือเป็นรุ่นที่ได้มาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
  • แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
  • แบบ Single Line Diagram (แผนภูมิระบบไฟฟ้า) พร้อมการรับรองของวิศวกรไฟฟ้ากำลัง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร และเอกสารรับรองของวิศวกรโยธา ที่ควบคุมงานและออกแบบ
  • ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์แบบครบชุดและอินเวอร์เตอร์
  • เอกสารมอบอำนาจ (กรณีมีการมอบอำนาจ)
  • ติดต่อการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในเขตพื้นที่ของการติดตั้ง เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อ

 

ขั้นตอนที่ 3 แจ้งไปที่ กฟน. หรือ กฟภ. (PEA)

หลังจากที่ได้รับหนังสืออนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต จากทาง กกพ. เรียบร้อยแล้ว เจ้าบ้านจะต้องนำหนังสือขออนุญาตการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในเขตพื้นที่ของการติดตั้ง หรือยื่นต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ และทดสอบการเชื่อมต่อระบบโซลาร์เซลล์กับระบบไฟของการไฟฟ้า พร้อมทั้งชำระค่าใช้จ่าย เพื่อให้สำนักงาน กกพ. ออกหนังสือแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • แบบคำขอ ข.1 คือ แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
  • บัตรประชาชนของผู้ใช้ไฟฟ้า พร้อมหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า ตามใบแจ้งหนี้จากการไฟฟ้า
  • ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง และอินเวอร์เตอร์ ที่มีการขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า หรือเป็นรุ่นที่ได้มาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
  • ข้อมูลของแผนที่บ้าน รูปถ่ายหน้าบ้าน และรูปถ่ายที่เห็นแผงโซลาร์เซลล์ครบทุกแผง
  • แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา
  • แบบโครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์ พร้อมรายละเอียดการติดตั้ง
  • รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร และเอกสารรับรองของวิศวกรโยธา ที่ควบคุมงานและออกแบบ
  • แบบ Single Line Diagram (แผนภูมิระบบไฟฟ้า) พร้อมการรับรองของวิศวกรไฟฟ้ากำลัง พร้อมแนบสำเนาใบประกอบวิชาชีพ (ใบกว.)
  • เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ)

 

ขั้นตอนที่ 4  ยื่นหนังสือรับ

ขั้นตอนสุดท้ายของการขออนุญาตสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ คือ นำหลักฐานการตรวจสอบ และการทดสอบระบบของโซลาร์เซลล์ ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า พร้อมเอกสารการชำระเงินจากการไฟฟ้า และนำไปยื่นต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อรับหนังสือยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต และหลังจากได้รับหนังสือยกเว้น ก็นำไปยื่นต่อที่การไฟฟ้า เพื่อให้การไฟฟ้าเข้ามาตรวจสอบตามข้อกำหนด และเมื่อผ่านตามข้อกำหนด การไฟฟ้าก็จะเปลี่ยนประเภทมิเตอร์ไฟฟ้า ให้เป็นมิเตอร์สำหรับโซลาร์เซลล์ จากนั้นเจ้าบ้านก็สามารถเริ่มใช้งานไฟฟ้าจากระบบโซลาร์เซลล์ได้เลย

โดยขั้นตอนการยื่นจะมีระยะเวลาการพิจารณา ประมาณ 30 วัน และค่าใช้จ่ายในการยื่นขออนุญาต 9,095 บาท (8,500 บาท + VAT 595 บาท) เป็นค่าเปลี่ยน Smart Meter

 

กฟน. และ กฟภ. มีที่ไหนบ้าง

กฟน. และ กฟภ. มีที่ไหนบ้าง

ในขั้นตอนการแจ้งติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)  และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)  ควรศึกษาเขตพื้นที่ให้ดีว่าพื้นที่ที่จะติดตั้งอยู่ที่ไหน เพื่อที่จะแจ้งได้ถูกเขต โดยมีดังนี้

กฟน. 18 เขตพื้นที่

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ และแบ่งออกเป็น 18 เขตพื้นที่ มีดังนี้

  1. เขตคลองเตย
  2. เขตวัดเลียบ
  3. เขตยานนาวา
  4. เขตสามเสน
  5. เขตลาดพร้าว
  6. เขตบางกะปิ
  7. เขตธนบุรี
  8. เขตราษฎร์บูรณะ
  9. บางขุนเทียน
  10. เขตนนทบุรี
  11. เขตบางใหญ่
  12. เขตบางบัวทอง
  13. เขตบางเขน
  14. เขตสมุทรปราการ
  15. เขตมีนบุรี
  16. เขตลาดกระบัง
  17. เขตประเวศ
  18. เขตบางพลี

กฟภ. 12 เขตพื้นที่

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แบ่งออกเป็น 4 ภาค โดยแต่ละภาค แบ่งเป็น 3 เขตย่อย ทำให้มีกฟภ. 12 เขตพื้นที่ มีดังนี้

ภาคเหนือ

  • กฟน.1 เชียงใหม่ มีพื้นที่บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง และลำพูน
  • กฟน.2 พิษณุโลก มีพื้นที่บริการ 8 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์
  • กฟน.3 ลพบุรี มีพื้นที่บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • กฟฉ.1 อุดรธานี มีพื้นที่บริการ 8 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น หนองบัวลำภู เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร
  • กฟฉ.2 อุบลราชธานี มีพื้นที่บริการ 8 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร และศรีสะเกษ
  • กฟฉ.3 นครราชสีมา มีพื้นที่บริการ 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง

  • กฟก.1 พระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่บริการ 7 จังหวัด  ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สระบุรี ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
  • กฟก.2 ชลบุรี มีพื้นที่บริการ 5 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด
  • กฟก.3 นครปฐม มีพื้นที่บริการ 4 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี (เฉพาะอำเภอบ้านโป่ง)

ภาคใต้

  • กฟต.1 เพชรบุรี มีพื้นที่บริการ 6 จังหวัด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สมุทรสงคราม และราชบุรี (ยกเว้นอำเภอบ้านโป่ง)
  • กฟต.2 นครศรีธรรมราช มีพื้นที่บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ ภูเก็ต พังงา และสุราษฎร์ธานี
  • กฟต.3 ยะลา มีพื้นที่บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี สงขลา สตูล และพัทลุง

 

สรุป

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งาน จึงทำให้มีพลังงานหมุนเวียนใช้ได้อย่างไม่มีวันหมด อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ที่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนด้วย แต่หากใครวางแผนจะติดตั้ง ควรจะขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ก่อน สามารถทำโดยการยื่นใบขออนุญาติการติดตั้งโซลาร์เซลล์ กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานเขต หรือสำนักงานเทศบาล พร้อมทั้งลงทะเบียน เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงาน ที่สำนักงาน กกพ. และแจ้งต่อการไฟฟ้า เพื่อให้เจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้า มาตรวจสอบให้ได้ตามข้อกำหนด เพื่อให้ใช้งานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่ถูกต้องตามข้อกำหนด ป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาภายหลัง เช่น ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ จะไหลเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า เมื่อไฟมีการไหลเข้าสู่ระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าก็จะทราบเรื่องว่าไม่มีการขออนุญาตก่อนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ก็จะทำให้ถูกถอดแผงโซลาร์เซลล์ และการเสียค่าปรับพร้อมดอกเบี้ย ดังนั้น หากใครที่กำลังวางแผนจะติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบออนกริด (On Grid) ระบบไฮบริด (Hybrid) หรือระบบที่ต้องใช้ไฟฟ้าควบคู่กันไปด้วย ก็ควรทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้

 

Oct4-banner

รวมทริคเลือกบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างไร ให้คุ้มค่า และได้มาตรฐาน

ค่าไฟถือเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่หลายคนต้องแบกรับเป็นอย่างมากในปัจจุบัน จึงทำให้โซลาร์เซลล์กลายเป็นพลังงานทางเลือกที่หลายคนเลือกใช้ เนื่องจากผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถช่วยให้ประหยัดไฟได้จริง อีกทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานที่สะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังมีความยั่งยืน ใช้งานได้ยาวนานอีกด้วย ถ้าเป็นในสมัยก่อน การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ดูจะเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากซับซ้อน และมีขั้นตอนมากมาย ทำให้หลายคนเกิดความกังวลใจที่จะติดตั้ง เพราะกลัวว่าจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไม่ละเอียด หรือเข้าใจได้ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้การติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้น มีปัญหาตามมาในอนาคต

แต่ในปัจจุบันนี้ มีบริษัทโซลาร์เซลล์ เกิดขึ้นมามากมาย โดยคุณสามารถให้บริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ คอยดูแลหลังการขายได้อย่างครบครัน ไม่ต้องเสียเวลามาดำเนินการเอง แต่เนื่องจากการใช้บริการจากบริษัทโซลาร์เซลล์นั้น ยังอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง จึงควรบริษัทโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน บทความนี้จะพาไปดูเทคนิคและวิธีการเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสมและคุ้มค่ากับราคาที่จ่าย มาเป็นความรู้ประกอบการตัดสินใจเลือกบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ดี และได้มาตรฐาน หมดปัญหากวนใจในอนาคต

โซลาร์เซลล์ดีอย่างไร ทำไมต้องติดตั้ง

โซลาร์เซลล์ดีอย่างไร ทำไมต้องติดตั้ง

ก่อนที่จะไปดูว่าวิธีการเลือก บริษัทโซลาร์เซลล์นั้นจะต้องดูจากอะไรบ้าง มาดูว่าโซลาร์เซลล์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง อะไรที่ทำให้หลายคนหันมาติดตั้งโซลาร์เซลล์กันมากขึ้น โดยข้อดีของการติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีดังนี้  

เป็นพลังงานราคาถูก

โซลาร์เซลล์ เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ดังนั้นจึงมีแหล่งพลังงานหลักคือ แสงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีปริมาณมากที่สุด โดยการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ คุณสามารถใช้ได้ฟรี ไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จึงมีเพียงการติดตั้งและบำรุงรักษาเพียงไม่กี่ครั้ง นอกจากนี้โซลาร์เซลล์ยังเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน ที่มีให้ใช้อย่างไม่มีวันหมด สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร เป็นประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณที่มาก จึงยิ่งทำให้การอาศัยอยู่ในประเทศไทย เหมาะที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

 

โซลาร์เซลล์ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มีการวิจัยมาแล้วว่าราคาต่อหน่วยถูกที่สุด เมื่อเทียบกับพลังงานจากแหล่งอื่นๆ ทำให้นอกจากจะมีการใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ในครัวเรือนทั่วๆ ไปแล้ว สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ ต้องใช้พลังงานไปกับระบบและเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงาน ก็สามารถใช้โซลาร์เซลล์เพื่อลดต้นทุนในการผลิตได้ด้วยเช่นกัน

คุ้มค่ากับการลงทุน

แม้ว่าการใช้โซลาร์เซลล์ จะไม่มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนสำหรับการใช้ไฟฟ้า ที่มากเท่ากับการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทั่วไป แต่ก็ยังคงต้องมีการลงทุนค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงในช่วงเริ่มแรกของการติดตั้ง ทำให้หลายคนเกิดความลังเลใจว่า การลงทุนในจำนวนมากจะมีความคุ้มค่าในระยะยาวหรือไม่ แต่จากการคำนวณระยะเวลาคืนทุนมาแล้ว ผลปรากฏว่าการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ใช้เวลาคืนทุนอยู่ที่ราวๆ 12 ปี แต่โซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 25 ปี นั่นหมายความว่าระยะเวลากว่า 13 ปีที่เหลือคือช่วงเวลาที่คุณจะได้กำไรจากการลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์นั่นเอง

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โซลาร์เซลล์ต่างจากการใช้พลังงานในรูปแบบอื่นๆ เช่นการใช้พลังงานจากแหล่งฟอสซิล ที่จะต้องมีการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อใช้ในการผลิตพลังงาน โดยแหล่งฟอสซิลเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ใช้แล้วมีวันหมดไป แต่ยังมีราคาที่สูง และยังมีผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทำให้การใช้โซลาร์เซลล์นั้นจะช่วยให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปในตัว และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่จำเป็นลงไปได้อีกด้วย

 

นอกจากนี้โซลาร์เซลล์ ยังเป็นระบบที่สามารถติดตั้งเพื่อใช้ในพื้นที่ของตัวเอง ไม่ต้องผ่านการสร้างโรงไฟฟ้า หรือเขื่อนขนาดใหญ่ จึงเป็นพลังงานทดแทน ที่สามารถลดการสร้างผลกระทบที่จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศโดยรอบได้อีกด้วย

ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ

พลังงานแสงอาทิตย์เอง ก็ถือเป็น Clean Energy หรือเป็นแหล่งพลังงานที่สะอาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ไม่เหมือนกับการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งฟอสซิล เช่น ถ่านหิน หรือเชื้อเพลิง ที่นอกจากจะมีการสูญเสียทรัพยากรแล้ว ยังปล่อยมลพิษมากมายมารบกวนสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโซลาร์เซลล์ จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น Clean Technology ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่างๆ ให้กับโลก 

ช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้น

การติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้น ไม่ใช่แค่สามารถช่วยประหยัดค่าไฟ โดยการนำแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่บริเวณหลังคาของบ้านมีส่วนช่วยในการสะท้อนความร้อนที่มาจากแสงอาทิตย์ออกไป ทำให้ลดการสะสมและไหลเวียนของความร้อนเข้าสู่ที่อยู่อาศัย นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่าสามารถลดอุณหภูมิและความร้อนลงได้โดยประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส เป็นการลดการเปิดเครื่องปรับอากาศ และช่วยประหยัดไฟฟ้าไปในตัว

เหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกขนาด

เหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกขนาด

หน้าที่ของโซลาร์เซลล์ คือการแปลงแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งสามารถใช้ได้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนขนาดเล็กหรือใหญ่ แม้กระทั่งเครื่องจักร หรือระบบควบคุมไฟฟ้าต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม หรืออาคารสำนักงานต่างๆ ก็ใช้งานได้ด้วยเช่นกัน 

 

ดังนั้นการใช้โซลาร์เซลล์ จึงไม่ใช่แค่เป็นทางเลือกในการประหยัดค่าไฟสำหรับผู้ใช้ทั่วไปในครัวเรือนอย่างเดียวเท่านั้น แต่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ การใช้โซลาร์เซลล์ ยังช่วยให้สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตลง เพื่อกระตุ้นให้มีศักยภาพในการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมมากขึ้นอีกด้วย 

ช่วยประหยัดค่าไฟ

เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้หลายคนหันมาเลือกใช้โซลาร์เซลล์ ก็คือการช่วยประหยัดค่าไฟนั่นเอง เนื่องจากการใช้ไฟฟ้าของคนเราโดยส่วนใหญ่นั้น มีแต่แนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ที่มักจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้ามาก โดยเฉพาะบ้านที่อยู่เป็นครอบครัวใหญ่ ต้องมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงสภาพอากาศของประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน มีอุณหภูมิสูง ต้องมีการใช้เครื่องปรับอากาศอย่างเป็นประจำ จึงทำให้ต้องจ่ายค่าไฟที่สูงด้วยเช่นกัน ถ้าหากเปลี่ยนการใช้ไฟฟ้าทั่วไป มาเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ จะพบว่า สามารถประหยัดค่าไฟที่คุณจะต้องจ่ายต่อเดือน ไปได้สูงสุดถึง 60% 

ติดตั้งง่าย และสะดวก

ในปัจจุบันที่ผู้คนนิยมหันมาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้มีโรงงานโซลาร์เซลล์ และบริษัทผลิตโซลาร์เซลล์เกิดขึ้นมามากมาย เพิ่มตัวเลือกในการติดตั้งให้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยนอกจากบริษัทรับติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้ว ยังอาจจะมีการให้บริการหลังการขาย ที่คอยให้ความช่วยเหลือตลอดเวลาที่มีการโซลาร์เซลล์อีกด้วย จึงสะดวกต่อการบำรุงรักษา เป็นการติดตั้งที่คุ้มค่าเพื่ออนาคต

แนะนำเคล็ดลับ เลือกบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างไรให้คุ้มค่า

แนะนำเคล็ดลับ เลือกบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างไรให้คุ้มค่า

โซลาร์เซลล์ นั้นกลายเป็น พลังงานทดแทนที่มีประโยชน์มากมายตามที่เราได้แนะนำกันไป ทั้งในเรื่องของการช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญในปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย แต่การจะเลือกบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ดีๆ สักที่นั้น ต้องพิจารณาเลือกให้ดีๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า เงินลงทุนที่คุณใช้จ่ายเพื่อติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์นั้นจะคุ้มค่า และสามารถใช้งานได้จริง การเลือกบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ควรดูจากอะไรบ้าง มีอะไรที่ต้องพิจารณา และพิจารณาได้อย่างไร ไปดูกัน

บริษัทต้องน่าเชื่อถือ

ความน่าเชื่อถือ คือเรื่องสำคัญลำดับแรก ในการพิจารณาเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ เนื่องจากคุณจะต้องมีการจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อติดตั้งระบบดังกล่าว จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะถูกหลอกลวงได้ง่าย ถ้าหากเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยคุณสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้จากข้อมูลของบริษัทโซลาร์เซลล์เป็นหลัก ว่ามีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และมีการจัดตั้งมานานแค่ไหน อีกทั้งยังสามารถดูได้จากลูกค้าของบริษัทโซลาร์เซลล์ดังกล่าว ว่าเป็นใครบ้าง ยิ่งถ้าลูกค้าของบริษัทโซลาร์เซลล์นั้นเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ก็จะยิ่งมีความน่าเชื่อถือที่ดีมากขึ้น นอกจากนี้ Social Media หรือช่องทางประชาสัมพันธ์ของบริษัทนั้น ยังถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่คุณต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันนี้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรมีการใช้ Social Media เป็นเครื่องมือสื่อสาร ถ้าหากเป็นบริษัทโซลาร์เซลล์ที่มีการเคลื่อนไหวทาง Social Media มาก และมี Engagement จากลูกค้าที่มาใช้บริการเป็นจำนวนเยอะ ก็จะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทโซลาร์เซลล์ดังกล่าวมากขึ้น 

 

นอกจากนี้บริษัทโซลาร์เซลล์ควรจะต้องมีหน้าร้าน หรือสำนักงานของบริษัท ที่คุณสามารถเข้าไปติดต่อได้จริง หลีกเลี่ยงการใช้บริการกับบริษัทโซลาร์เซลล์ที่ไม่มีสำนักงาน หรือเป็นแค่ตัวแทนที่สามารถติดต่อผ่านทางช่องทางออนไลน์เท่านั้น เนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะถูกหลอกลวง 

มีประสบการณ์และชำนาญด้านนี้โดยเฉพาะ

นอกจากจะต้องเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ที่มีความน่าเชื่อถือแล้ว ประสบการณ์และความชำนาญในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ของบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยจะต้องประกอบไปด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญมายาวนาน เนื่องจากการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์นั้นจะต้องอาศัยความรู้ความชำนาญโดยเฉพาะ โดยดูได้จากโปรไฟล์ หรือประวัติ ของทีมงานจากบริษัทโซลาร์เซลล์ ที่จะมาช่วยทำการติดตั้ง ว่าเป็นใคร จบการศึกษามาจากไหน และมีประสบการณ์ทางด้านนี้จริงๆ หรือไม่ ที่สำคัญคือควรต้องดูจากผลงานการติดตั้งที่ผ่านมาของบริษัทโซลาร์เซลล์ดังกล่าว ว่าเป็นอย่างไร มีใครเป็นลูกค้าบ้าง โดยผลงานการติดตั้ง ควรจะเป็นรูปถ่ายหรือวิดีโอ ที่มีความชัดเจน พร้อมทั้งรายละเอียดในการติดตั้งว่า มีการดำเนินการติดตั้งอย่างไรบ้าง บริษัทโซลาร์เซลล์ที่มีผลงานการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เป็นจำนวนมาก และมีการดำเนินการมายาวนาน ก็ย่อมจะเป็นบริษัทโซลาร์เซลล์ที่คุณควรพิจารณาเลือกเป็นลำดับแรกๆ มากกว่าบริษัทโซลาร์เซลล์ ที่ไม่เคยมีผลงานการติดตั้งใดๆ มาก่อนเลย

บริการครบวงจร

บริการครบวงจร

ควรจะเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ ที่ให้การบริการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร ตั้งแต่ก่อนการติดตั้ง ไปจนถึงหลังการติดตั้ง เนื่องจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้น ประกอบไปด้วยขั้นตอนการติดตั้งมากมาย ซึ่งแต่ละขั้นตอนก็จำเป็นต้องอาศัยบริษัทโซลาร์เซลล์มืออาชีพมาช่วย ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจพื้นที่ การวางแผนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การขอใบอนุญาตการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จากหน่วยงานของรัฐบาล การจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ การดำเนินการติดตั้งโซลาร์เซลล์ และการบริการบำรุงรักษาหลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ดังนั้นการเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ที่ให้บริการเต็มรูปแบบหรือครบวงจร ก็จะยิ่งเพิ่มทั้งความสะดวก ประหยัดเวลา ทำให้ขั้นตอนต่างๆ นั้นเป็นไปอย่างราบรื่น อีกทั้งบางครั้ง ยังอาจจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบางอย่างลงไปได้อีกด้วย 

มีรีวิวที่น่าเชื่อถือ

ประสบการณ์และความน่าเชื่อถือของบริษัทโซลาร์เซลล์นั้น ไม่ได้มาจากคำพูดโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์จากบริษัทโซลาร์เซลล์เพียงฝ่ายเดียว แต่รีวิวและความเห็นจากลูกค้าที่เคยใช้บริการนั้น ก็มีน้ำหนักที่มากด้วยเช่นกัน โดยปกติแล้วบริษัทโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่จะต้องมีการโพสต์ผลงานการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ผ่านมา พร้อมกับความเห็นของลูกค้าที่ได้ใช้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ จากบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์กันอยู่แล้ว ว่าให้บริการเป็นอย่างไร ใช้งานแล้วมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน แต่รีวิวเหล่านี้ที่มีการคัดเลือกมาแล้วนั้นอาจจะยังไม่เพียงพอ ควรจะดูรีวิวความเห็นที่อยู่ตาม Social Media ต่างๆ ของทางบริษัทโซลาร์เซลล์ด้วยว่าเป็นอย่างไร มีความเห็นในเชิงบวกหรือลบ ถ้าหากมีลูกค้าที่ให้การตอบรับ หรือแนะนำชื่อของบริษัทโซลาร์เซลล์เป็นจำนวนมาก ก็จะยิ่งทำให้บริษัทโซลาร์เซลล์ดังกล่าวนั้นน่าเชื่อถืออีกด้วย

ผ่านการรับรองจากมาตรฐานสากล

บริษัทโซลาร์เซลล์ที่คุณเลือก ควรจะผ่านการรับรองจากมาตรฐานสากล เพื่อให้มั่นใจว่า ระบบโซลาร์เซลล์ที่คุณติดตั้งจะมีคุณภาพ สามารถใช้งานได้จริง และมีความปลอดภัย โดยมาตรฐานของบริษัทโซลาร์เซลล์นั้น สามารถดูได้จาก ใบอนุญาตตามกฎหมายให้เป็นผู้ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ หรือ Social Energy Provider และยังควรจะมีมาตรฐานสากลอย่าง ISO 9001 ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ (QMS) ที่ได้รับการยอมรับระดับสากล ว่าระบบการจัดการดังกล่าวนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรทุกขนาด และ ISO 50001 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ที่ว่าด้วยเรื่องของการช่วยลดการใช้พลังงาน อีกทั้งยังลดการปล่อยคาร์บอน ให้เหลือในปริมาณที่น้อยที่สุด พร้อมทั้งยังลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน มีการส่งเสริมการใช้พลังงานที่ยั่งยืน

เป็นตัวแทนจำหน่ายโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ

เป็นตัวแทนจำหน่ายโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ

คุณภาพของโซลาร์เซลล์ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณจะต้องพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับบริษัทโซลาร์เซลล์ที่ให้บริการแบบครบวงจร มักจะเป็นตัวแทนจำหน่ายโซลาร์เซลล์ยี่ห้อต่างๆ ด้วย และบางครั้งบริษัทโซลาร์เซลล์เองก็จะเลือกแนะนำโซลาร์เซลล์ที่ตัวเองได้ประโยชน์จากกำไรส่วนแบ่งมากกว่าคุณภาพที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้โซลาร์เซลล์ ดังนั้นคุณจึงควรรู้จักคุณภาพของโซลาร์เซลล์แต่ละยี่ห้อเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้โดนหลอกขายนั่นเอง โดยสามารถพิจารณาจากการจัดอันดับของ Bloomberg PV Module Maker Tiering System ได้มีการจัดแบ่งระดับคุณภาพของบริษัทผลิตโซลาร์เซลล์ เป็นทั้งหมด 3 ระดับ โดยจะตัดสินจากสถานะทางการเงินของบริษัทผลิตโซลาร์เซลล์ ซึ่งระดับ Tier 1 และ Tier 2 ถือเป็นระดับของบริษัทผลิตโซลาร์เซลล์ที่มีความมั่นคงทางการเงิน และมีความน่าเชื่อถือ แต่ในส่วนของคุณภาพอาจจะต้องพิจารณาร่วมกับการประเมินของสถาบันผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังงาน อย่างเช่น RINA, ATA Renewables หรือ Wood Plc เป็นต้น ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ ควรจะผ่านการประเมินและรับรอง ทางด้านการวิจัยและพัฒนามาไม่ต่ำกว่า 5 ปี เพราะแผงโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ ควรจะมีอายุการใช้งานที่ยืนยาว

 

การเลือกซื้อโซลาร์เซลล์ที่บริษัทโซลาร์เซลล์เป็นตัวแทนจำหน่าย ถึงแม้ว่าตัวแทนจำหน่ายจะได้ประโยชน์จากกำไรส่วนแบ่ง แต่คุณในฐานะลูกค้า ก็อาจจะได้เปรียบและสามารถต่อรองราคาของแผงโซลาร์เซลล์ในราคาที่ต่ำกว่าตลาด เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายมักจะมีส่วนลดหรือสิทธิประโยชน์พิเศษที่เหนือกว่า การซื้อโซลาร์เซลล์จากร้านค้าทั่วไป 

ราคาในการติดตั้ง

ในปัจจุบันที่โซลาร์เซลล์ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้มีบริษัทโซลาร์เซลล์ บริษัทผลิตโซลาร์เซลล์ และบริษัทรับติดตั้งโซลาร์เซลล์เกิดขึ้นมามากมายนั้น ก็ทำให้มีการแข่งขันมากขึ้น ราคาในการติดตั้งโซลาร์เซลล์จึงถูกลง โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนแผ่นของโซลาร์เซลล์ รวมทั้งความยากง่ายในการติดตั้ง ควรเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ที่มีการระบุราคาของแผงโซลาร์เซลล์ และรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอย่างชัดเจน และควรจะทำการเปรียบเทียบกับบริษัทโซลาร์เซลล์อื่นๆ อีกสัก 2-3 บริษัท เพื่อจะได้ราคาที่เหมาะสมและอยู่ในงบประมาณที่คุณตั้งเอาไว้ให้มากที่สุด 

รับประกันหลังการขาย

รับประกันหลังการขาย

เพราะอายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์นั้นจะอยู่ที่ 25 ปี ดังนั้นจึงถือเป็นระบบพลังงานที่คุณต้องใช้เป็นระยะเวลายาวนาน การเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ จึงไม่ควรเลือกแค่มาติดตั้งแล้วจบลงไป จะต้องพิจารณาเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ที่มีการรับประกันหลังการขายด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้มั่นใจว่าบริษัทเหล่านี้จะมีการดูแลและให้บริการระบบโซลาร์เซลล์อย่างต่อเนื่อง และสามารถแก้ไขปัญหาได้หากใช้งานระบบโซลาร์เซลล์ได้ ซึ่งการรับประกันหลังการขายโดยส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การรับประกันสินค้าที่ 10 ปี และการรับประกันประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ที่ 25 ปี โดยบางบริษัทโซลาร์เซลล์เอง ก็อาจจะมีการรับประกันเพิ่มขึ้นให้กับอุปกรณ์เสริมที่ต้องใช้งานในระบบโซลาร์เซลล์เช่น คอนโทรลเลอร์ อินเวอร์เตอร์ หรือชาร์จเจอร์สำหรับโซลาร์เซลล์ ที่ประมาณ 1 ปี เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถเลือกพิจารณาไปพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ดูว่าคุ้มค่าหรือไม่ 

ชำระเงินได้หลายรูปแบบ

การเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์เอง ก็ควรจะเลือกบริษัทที่มีช่องทางชำระเงินในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของเงินสด หรือบัตรเครดิต โดยควรจะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม หรือคิดค่าธรรมเนียมต่ำ นอกจากนี้การติดตั้งโซลาร์เซลล์มักจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง และยังเป็นการลงทุนในระยะยาว จึงอาจจะทำให้หลายคนไม่อยากจะจ่ายเงินก้อนทีเดียวจนหมด เนื่องจากอาจจะยังมีภาระค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ที่จะต้องรับผิดชอบ ดังนั้นให้ลองเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ หรือบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่มีช่องทางการชำระเงินแบบผ่อนชำระเป็นงวดๆ จะช่วยให้คุณไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายสูงภายในครั้งเดียว แต่สามารถแบ่งจ่ายเป็นก้อนย่อยๆ ที่อยู่ในงบประมาณการใช้จ่ายในแต่ละเดือน ซึ่งในปัจจุบันเองก็มีบริษัทโซลาร์เซลล์หลายแห่ง ที่เปิดให้มีการชำระเงินในรูปแบบของการผ่อนชำระ แต่คุณควรจะต้องระมัดระวังในเรื่องของดอกเบี้ย เนื่องจากการผ่อนชำระบางครั้งอาจจะมีดอกเบี้ย รวมไปถึงค่าปรับหากผิดนัดชำระ ซึ่งอาจจะกลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแฝงมาด้วย 

 

นอกจากช่องทางการชำระเงินแล้ว ควรจะเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ ที่มีส่วนลดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าอะไหล่ หรือค่าบริการ เพื่อจะได้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้น้อยลงได้อีกด้วย และที่สำคัญมากๆ ควรตรวจสอบช่องทางการชำระเงินให้ดี ว่าจะต้องอยู่ภายใต้บัญชีที่เป็นชื่อของบริษัทโซลาร์เซลล์ ไม่ใช่การจ่ายเงินให้กับตัวแทนพนักงานในบริษัทที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันการถูกหลอกหรือโดนโกง 

มีการรับประกันแผงโซลาร์เซลล์และมีบริการหลังการขาย

การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์นั้นจะต้องมีการใช้งานเป็นระยะเวลายาวนาน แค่อายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์เองก็จะอยู่ที่ 25 ปี นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในแต่ละครั้ง ทำให้หลายๆ คนคงไม่อยากจะเปลี่ยน หรือติดตั้งโซลาร์เซลล์ใหม่ๆ อยู่บ่อยครั้ง จึงควรจะพิจารณาเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ ที่มีการรับประกันแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งอายุในการรับประกันก็ควรจะมีระยะยาวนาน และควรจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงหากมีปัญหาเกิดขึ้นในระหว่างระยะรับประกัน เพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่สำหรับระบบโซลาร์เซลล์ 

นอกจากนี้บริษัทโซลาร์เซลล์ที่คุณเลือกก็ควรจะมีการให้บริการหลังการขายที่มีประสิทธิภาพ และมีช่องทางในการติดต่อที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว บริษัทโซลาร์เซลล์ก็ต้องมีทีมงานครบครัน ที่พร้อมจะดูแลเสมอเวลาที่มีปัญหา และมาแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันทีที่มีการแจ้งเข้าไป โดยคุณอาจจะลองเลือกพิจารณาจากรีวิว หรือความเห็นของลูกค้าที่กำลังใช้บริการกับบริษัทโซลาร์เซลล์ดังกล่าว ว่ามีการให้บริการหลังการขายเป็นอย่างไร นอกจากนี้บริษัทโซลาร์เซลล์ก็ควรจะมีทีมงานที่สามารถให้คำแนะนำ และคำปรึกษาเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้อย่างเหมาะสม และมีความรู้จริงๆ ไม่ใช่เน้นแต่การขายสินค้าเพียงอย่างเดียว เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพและคุ้มค่ากับเงินลงทุน 

สรุป

การติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้น มีข้อดีในเรื่องของการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานเป็นอย่างมาก สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และลดต้นทุน แต่คุณก็ยังคงต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงในขั้นต้นสำหรับการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ดังนั้นการเลือกบริษัทโซลาร์เซลล์ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยคุณควรจะต้องพิจารณาดูให้ดีทั้งในเรื่องของคุณภาพโซลาร์เซลล์หรืออะไหล่ที่เลือกใช้ ความเชี่ยวชาญและความชำนาญของทีมงานจากบริษัทโซลาร์เซลล์ดังกล่าว รวมไปถึงการรับประกันและการบริการหลังการขายที่ควรจะต้องมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อได้ง่าย ซึ่งคุณสามารถพิจารณาให้รอบคอบจากการอ่านความเห็นหรือรีวิวของลูกค้าที่เคยมาใช้บริการเป็นหลักว่าบริษัทโซลาร์เซลล์นั้นมีคุณภาพหรือไม่ ให้บริการเป็นอย่างไร

 

ถ้าหากคุณเลือกใช้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์กับ Sorarus รับรองได้เลยว่าจะไม่ผิดหวัง เพราะเราคือผู้นำทางด้านการประหยัดพลังงานความร้อนแบบครบวงจร ซึ่งประกอบไปด้วยทีมงานผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มากมาย ที่ผ่านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้กับทั้งระดับครัวเรือนทั่วไปไม่ว่าจะเป็นคอนโด อพาร์ตเมนต์ และบ้าน รวมไปถึงสำนักงาน อาคาร ของภาคธุรกิจอย่าง โรงแรม รีสอร์ต โรงพยาบาล สถานบริการ สระว่ายน้ำ และสโมสรกีฬา มาอย่างยาวนาน โดยทางบริษัทโซลาร์เซลล์ของเรายังใช้อุปกรณ์ และเทคโนโลยีคุณภาพดี มาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งยังเป็นตัวแทนจำหน่ายโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ ผ่านการรับรองจากสถาบันระดับโลก บริษัทโซลาร์เซลล์ของเรายังพร้อมให้การรับประกันและบริการหลังการขายอย่างครบครัน เพื่อจะได้ให้คุณมั่นใจว่า จะได้รับการติดตั้งระบบโวลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย ใช้งานได้ยาวนานอย่างแน่นอน 

Sorarus - Nov 3 (การคํานวณโซล่า เซลล์ on grid)-01-cover

วิธีการคำนวณไฟฟ้าโซล่าเซลล์ On-Grid และ Off-Grid ให้คุ้มค่า ฉบับเข้าใจง่าย

การติดตั้งโซล่าเซลล์ On-Grid และ Off-Grid กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดพลังงาน และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย แต่ก่อนจะเลือกใช้หรือติดตั้งโซลล่าเซลล์นั้น มีเรื่องสำคัญอยู่หนึ่งอย่างที่ต้องรู้เสียก่อน ซึ่งนั่นก็คือ การคำนวณการใช้ไฟฟ้าเพื่อดูความเหมาะสมในการใช้งานโซลล่าเซลล์ขนาดต่าง ๆ นั่นเอง โดยในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านมาหาคำตอบในการคำนวณไฟฟ้าโซล่าเซลล์ On-Grid และ Off-Grid อย่างไรให้คุ้มค่า ไปพร้อมๆ กัน

ความแตกต่างของโซล่าเซลล์ On-Grid และ Off-Grid

ความแตกต่างของโซล่าเซลล์ On-Grid และ Off-Grid

โซล่าเซลล์ on grid กับ off grid มีความต่างกันคือระบบโซล่าเซลล์แบบ On-Grid นั้น เป็นระบบที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลักของการไฟฟ้า

ซึ่งเหมาะสําหรับบ้านเรือนทั่วไปในเขตเมือง ทำให้เรามีไฟฟ้าใช้ได้แม้ในช่วงที่มีเมฆมาก เพราะไฟฟ้าจากระบบการไฟฟ้าจะไหลเข้ามาเป็นพลังงานให้กับโซล่าเซลล์ได้นั่นเอง และหากเราสามารถผลิตไฟได้เกินความต้องการใช้ในบ้าน ก็สามารถขายไฟฟ้าคืนเข้าระบบการไฟฟ้าได้อีกด้วย แต่ข้อเสียของระบบ On Grid ก็มีด้วยเช่นกัน เพราะหากเกิดเหตุไฟฟ้าดับจากการไฟฟ้า ระบบจากโซล่าเซลล์ของเราก็จะดับไปด้วย นอกจากนี้ยังอาจมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงที่อาจเกิดขึ้น เมื่อไม่ได้รับการเชื่อมต่อระบบตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนดอีกด้วย

 

ในส่วนของโซล่าเซลล์ระบบ Off-Grid นั้น จะเป็นระบบ Standalone ที่ไม่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลัก

โดยจะต้องเก็บสํารองไฟฟ้าไว้ใช้เองด้วยแบตเตอรี่ มักจะเหมาะสําหรับการใช้งานในพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าและเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่มีไฟฟ้าขัดข้อง ไฟดับ หรือไฟตกอยู่บ่อยครั้ง แต่ระบบนี้ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน ซึ่งหากเราไม่ได้สำรองไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ก็อาจเกิดปัญหาแบตเตอรี่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานในวันที่มีเมฆหมอกบดบังแสงอาทิตย์ได้ นอกจากนี้ เงินลงทุนในระบบ off-grid ก็มีราคาสูงกว่าระบบ on grid ด้วยเช่นกัน 

การคำนวณไฟฟ้าก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ สำคัญอย่างไร

การคำนวณไฟฟ้าก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ สำคัญอย่างไร

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าการคำนวณไฟฟ้าก่อนการติดตั้งโซล่าเซลล์นั้น มีความสําคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยให้เราได้รู้ถึงขนาดของระบบโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น

  • ช่วยให้รู้ถึงขนาดของโซลาร์เซลล์ว่าต้องคิดตั้งกี่กิโลวัตต์ จึงจะผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อการใช้งาน
  • ช่วยประเมินว่าระบบโซลาร์เซลล์แบบใด (ออนกริดหรือออฟกริด) ถึงจะเหมาะสมและคุ้มค่ากับการใช้งาน
  • การคํานวณสําหรับโซล่าเซลล์ระบบออนกริดและออฟกริดนั้นมีความแตกต่างกัน จึงต้องเลือกระบบที่เหมาะสม

ดังนั้น การคํานวณให้ละเอียดรอบคอบก่อนทำการติดตั้งจะช่วยให้ได้ระบบโซลาร์เซลล์ที่มีขนาดเหมาะสม คุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาวได้ดีที่สุด

วิธีคำนวณไฟฟ้า การติดตั้งโซล่าเซลล์ On-Grid

วิธีคำนวณไฟฟ้า การติดตั้งโซล่าเซลล์ On-Grid

การติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบออนกริดนั้น ส่วนใหญ่คนมักจะคํานวณการใช้ไฟฟ้าแบบคร่าว ๆ ซึ่งอาจทําให้การติดตั้งระบบเกิดความคลาดเคลื่อน ติดตั้งในขนาดที่ไม่เหมาะสม และไม่คุ้มค่าได้

วันนี้เราจึงอยากพาทุกท่านไปดูวิธีการคํานวณโซลาร์เซลล์ On-Grid แบบง่ายๆ และแม่นยํา ที่จะช่วยให้ได้ทราบถึงการติดตั้งเพื่อการใช้งานได้อย่างเหมาะสม โดยเราจะอธิบายรายละเอียดของแต่ละวิธีต่างๆ พร้อมตัวอย่างการคํานวณ ดังต่อไปนี้

วิธีที่ 1 สำหรับการใช้ไฟในช่วงกลางวันเยอะ

วิธีการคํานวณนี้เหมาะสําหรับบ้าน หรือ อาคารที่มีการใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในช่วงเวลากลางวัน เช่น

บ้านพักอาศัยทั่วไป ที่สมาชิกในบ้านอยู่กันตอนกลางวัน อาคารสํานักงาน ที่ทํางานในช่วงเวลาปกติ เป็นต้น

โดยวิธีการคํานวณ มีขั้นตอนดังนี้

 

ดูยอดการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน (ประมาณ 09:00 – 16:00 น.) จากใบแจ้งหนี้

คํานวณหาร้อยละของการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันต่อการใช้ไฟฟ้าทั้งวัน

เลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ผลิตไฟได้ 90-100% ของสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน

 

ตัวอย่างเช่น

การใช้ไฟฟ้ากลางวันต่อ 1 เดือน ÷ 30 วัน = หน่วยการใช้ไฟต่อวัน 

สมมติให้การใช้ไฟต่อเดือน คือ  4,211 หน่วย / 30 วัน = 141 หน่วย (ต่อวัน)

หลังจากที่ได้หน่วยไฟฟ้าต่อวันแล้ว จึงนำมาคำนวนถึงชั่วโมงที่ใช้แสงอาทิตย์ เพื่อเป็นวิธีในการเลือกใช้โซลาร์เซลล์ ซึ่งในช่วงกลางวันเราจะใช้ไฟประมาณ 50% (ในที่นี่คิดเป็น 70 หน่วย)

นำ (หน่วยใช้ไฟต่อวัน คิดจาก 50% ของ 141 หน่วย) 70 ÷ 4 (ชั่วโมงแสงอาทิตย์) = 17 kW 

หมายความว่า เราสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ถึง 17 kW นั่นเอง

วิธีที่ 2 สำหรับการใช้ไฟช่วงกลางวันน้อย

การคำนวณไฟฟ้าสำหรับการใช้ไฟช่วงกลางวันน้อย วิธีนี้จะเหมาะสำหรับบ้านหรืออาคารที่ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันน้อย เช่น อาคารสํานักงานที่ทํางานในช่วงเวลาปกติ 

 

การคํานวณขนาดโซลาร์เซลล์ On-Grid สามารถทำได้โดยการดูยอดการใช้ไฟฟ้ารายเดือนจากใบแจ้งหนี้ โดยเลือกดูที่ยอดใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยในช่วงเวลากลางวัน (09:00 – 16:00 น.) จากนั้นจึงคํานวณหาร้อยละของการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันต่อการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด

เลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ผลิตไฟได้ 80-100% ของสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน

 

ตัวอย่างเช่น

ใช้ไฟฟ้ากลางวัน 50 หน่วย จากการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 100 หน่วย ซึ่งคิดเป็น 50% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด

ติดตั้งโซลาร์เซลล์ 50 kWp เพื่อผลิตไฟครอบคลุม 100% ของการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน

วิธีนี้จะช่วยให้ได้ขนาดระบบโซลาร์เซลล์ที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวมากยิ่งขึ้น

วิธีที่ 3 สำหรับการใช้ไฟที่ไม่ค่อยคงที่ 

วิธีการคํานวณนี้เหมาะสําหรับบ้านหรืออาคารที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่คงที่ เช่น

บ้านพักอาศัยทั่วไปที่สมาชิกในบ้านแต่ละคนมีกิจกรรมที่ใช้ไฟฟ้าไม่ตรงกัน

อาคารสำนักงานที่มีผู้ใช้บริการไม่แน่นอน หรือมีการใช้งานไฟฟ้าในวันหยุด เป็นต้น

 

โดยวิธีการคํานวณสามารถทำได้ ดังนี้

บันทึกการใช้ไฟฟ้าทุกๆ 1 วัน เป็นเวลา 3-7 วัน

หาค่าเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าต่อวัน (kWh/day)

เลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ผลิตไฟได้ 90-100% ของค่าเฉลี่ยต่อวัน

 

ตัวอย่างเช่น

ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อวัน = 15 kW

เลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ 15 kW เพื่อผลิตไฟได้ 100% ของค่าเฉลี่ยต่อวัน

วิธีนี้จะทําให้ได้ขนาดระบบโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสม แม้การใช้ไฟฟ้าจะไม่คงที่ก็ตาม

วิธีที่ 4 สำหรับการคำนวณจากบิลค่าไฟ

วิธีการคํานวณนี้เหมาะกับที่อยู่อาศัยที่ใช้ไฟในอัตราค่อนข้างคงที่ เช่น บ้านพักอาศัยทั่วไปที่คนในบ้านใช้ไฟไม่มาก แต่มีการใช้ไฟเหมือนกันในทุกวัน โดยจะมีการวัดจากมิเตอร์ไฟฟ้า และเมื่อได้ผลลัพธ์แล้วจึงค่อยนำไปใช้ในการคํานวณการติดตั้งโซล่าเซลล์ในภายหลังได้

 

โดยวิธีการคํานวณสามารถทำได้ ดังนี้ 

ดูข้อมูลจากบิลค่าไฟ แยกออกเป็น A – ค่าพลังงานไฟฟ้า B – ค่าบริการรายเดือน C – ค่า ft D – รวมเงินค่าไฟฟ้า E – ภาษีมูลค่าเพิ่ม F – รวมเงินค่าไฟฟ้าเดือนปัจจุบัน

ค่าไฟฟ้ารวมทั้งหมด จาก A+B+C+E หรือ  D+E ออกมาเป็น F

 

ยกตัวอย่างการคำนวณ

ค่า A+B+C = D
3,010.74 + 38.22 + (-84.91) = 2,964.05 บาท

D + E = F
2,964.05 + 207.48 บาท = 3,171.53 บาท

 

สรุปได้ว่า การคํานวณโซลาร์เซลล์ On Grid ที่หลายคนยังสงสัยนั้นมีมากมายหลายวิธี โดยแต่ละวิธีก็จะเหมาะสมตามการใช้งานที่แตกต่างกันไป เช่น

วิธีที่ 1 : คํานวณจากปริมาณการใช้ไฟในช่วงกลางวัน เหมาะสําหรับบ้านที่ใช้ไฟมากในตอนกลางวัน

วิธีที่ 2 : คํานวณจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ใช้สําหรับบ้านทั่วไป

วิธีที่ 3 : สํารวจการใช้ไฟเฉลี่ยต่อวัน เหมาะสําหรับบ้านที่ใช้ไฟไม่สม่ําเสมอ

วิธีที่ 4 : คํานวณจากยอดใช้ไฟในใบแจ้งหนี้ เหมาะสําหรับบ้านที่ใช้ไฟค่อนข้างคงที่

 

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โซลาร์เซลล์ออนกริด จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 2.5 – 3.5 หมื่นบาทต่อ kW ซึ่งก็จะใช้เวลาคืนทุนประมาณ 5-7 ปี โดยขึ้นอยู่กับขนาดของระบบและการใช้งานด้วยนั่นเอง

วิธีคำนวณไฟฟ้า การติดตั้งโซล่าเซลล์ Off-Grid

วิธีคำนวณไฟฟ้า การติดตั้งโซล่าเซลล์ Off-Grid

เนื่องจากระบบออฟกริดเป็นระบบ Standalone ที่ไม่เชื่อมต่อกับสายส่งไฟฟ้าหลัก หลายคนอาจคิดว่าการคํานวณโซล่าเซลล์ออฟกริดนั้นดูซับซ้อน แต่จริง ๆ แล้วเราสามารถคํานวณได้ค่อนข้างง่าย ถ้าเข้าใจองค์ประกอบหลักๆ ของระบบเสียก่อน

ซึ่งองค์ประกอบหลักของระบบโซลาร์เซลล์ออฟกริด ประกอบด้วย

  • พลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า (Load)
  • แผงโซลาร์เซลล์
  • แบตเตอรี่
  • อินเวอร์เตอร์
  • โซลาร์ชาร์จคอนโทรลเลอร์

 

เมื่อเข้าใจหลักการและองค์ประกอบแล้ว ก็จะสามารถคํานวณหาขนาดที่เหมาะสมของแต่ละองค์ประกอบ เพื่อให้ระบบโซลาร์เซลล์ออฟกริดสามารถจ่ายไฟได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะอธิบายวิธีการคํานวณในแต่ละส่วนตามหัวข้อต่อไปนี้

การคำนวณพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า (Load)

ก่อนที่จะคํานวณหาขนาดระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริดที่เหมาะสม สิ่งสําคัญคือเราต้องรู้พลังงานไฟฟ้าที่จะใช้ (Load) ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านหรืออาคารก่อน เพื่อให้ระบบโซลาร์เซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อการใช้งานนั่นเอง ซึ่งการคํานวณ Load ของอุปกรณ์ไฟฟ้า สามารถทําได้โดยดูจากกําลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ (Watt หรือ W) คูณด้วยชั่วโมงการใช้งานต่อวัน 

 

ตัวอย่างเช่น
1.) หลอดไฟ LED 10 หลอด x กําลังไฟฟ้า 10 วัตต์/หลอด x เปิดใช้งานวันละ 5 ชั่วโมง

พลังงานไฟฟ้าที่ต้องการ (Load)  = 10 x 10 x 5 = 500 W /วัน

2.)  ตู้เย็น = กําลังไฟฟ้า 150 วัตต์ x เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง

พลังงานไฟฟ้าที่ต้องการ (Load) = 150 x 24 = 3,600 W /วัน

เมื่อรวม Load ทั้งหมดของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ แล้ว จากนั้นจึงนําไปใช้ในการคํานวณหาขนาดระบบโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมต่อไป

การคำนวณแบตเตอรี่

แบตเตอรี่ในระบบโซลาร์เซลล์ จะทําหน้าที่เก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากแผงโซลาร์เซลล์ในช่วงกลางวัน เพื่อจ่ายไฟฟ้าในช่วงกลางคืนหรือวันที่มีเมฆมากหรือฝนตก 

โดยการคํานวณขนาดแบตเตอรี่ ให้ดูจากปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต่อวัน (Load) คูณด้วยจํานวนวันเก็บสํารอง (Days of Autonomy) ที่ต้องการ เช่น 3-5 วัน

 

ตัวอย่างเช่น

Load ต่อวัน = 3,000 Wh

ต้องการเก็บสํารองไฟฟ้าไว้ใช้ได้ 4 วัน

ขนาดแบตเตอรี่ = Load x วันเก็บสํารอง = 3,000 x 4 = 12,000 Wh หรือ 12 kWh

 

ดังนั้น จะต้องเลือกใช้แบตเตอรี่ที่มีความจุไฟฟ้ารวมอย่างน้อย 12 kWh จึงจะมั่นใจว่ามีไฟฟ้าใช้ได้อย่างต่อเนื่องตลอด 4 วัน แม้ในวันที่ไม่มีแสงแดดให้ชาร์จแบตเตอรี่ได้อย่างเพียงพอก็ตาม

การคำนวณ ขนาดแผงโซล่าเซลล์

แผงโซลาร์เซลล์ ทําหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า

โดยการคํานวณขนาดแผงโซลาร์ ให้นําความจุของแบตเตอรี่หารด้วยชั่วโมงแสงอาทิตย์

 

ตัวอย่างเช่น

ความจุแบตเตอรี่ต่อวัน = 3,500 วัตต์

ชั่วโมงแสงอาทิตย์ = 4 ชม. /วัน

ขนาดแผงโซลาร์ = ความจุแบตเตอรี่ ÷ ชั่วโมงแสงอาทิตย์ = 3,000 ÷ 4  = 875 W

 

ดังนั้น ต้องเลือกติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ขนาด 350 W จำนวน 3 แผง จึงจะผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอกับการใช้งานตลอดทั้งวัน

การคำนวณ Solar Charge Controller

Solar Charge Controller  คือ อุปกรณ์ควบคุมการชาร์จแบตเตอรี่จากแผงโซลาร์เซลล์ โดยใช้ควบคุมกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่ ไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป

และตัดการชาร์จแบตเตอรี่ เมื่อแบตเตอรี่ชาร์จเต็มแล้ว รวมถึงช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าย้อนกลับจากแบตเตอรี่ถึงแผงโซลาร์เซลล์ในตอนกลางคืนอีกด้วย 

ซึ่งการเลือกใช้ Solar Charge Controller ควรมีกําลังไฟฟ้า 1.25 – 1.3 เท่า ของกําลังไฟฟ้ารวมของแผงโซลาร์เซลล์ เช่น

แผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1,000 W

กําลังไฟฟ้า Solar Charge Controller ที่เหมาะสม = 1,000 x 1.25 = 1,250 W

 

ดังนั้น ควรเลือกใช้ Solar Charge Controller ที่มีกําลังไฟฟ้ามากกว่า 1,250 W ขึ้นไปนั่นเอง

การคำนวณ Inverter

Inverter เป็นอุปกรณ์ที่แปลงกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) เพื่อจ่ายให้กับภาระใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหรืออาคารได้

โดยการคํานวณขนาด Inverter มีหลักการดังนี้

คํานวณกําลังไฟฟ้ารวมที่ใช้ (Total Watt) ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด

เลือก Inverter ที่มีกําลังไฟฟ้าประมาณ 20% มากกว่ากําลังไฟฟ้ารวมที่คํานวณได้

 

ตัวอย่างเช่น

กําลังไฟฟ้ารวมของอุปกรณ์ไฟฟ้า = 1,000 W

กําลังไฟฟ้า Inverter ที่เลือกใช้ = 1,000 x 1.2 = 1,200 W

 

ดังนั้น ควรเลือก Inverter ที่มีกําลังไฟฟ้าตั้งแต่ 1,200 W ขึ้นไป ซึ่งจะมีความเหมาะสมกับภาระการใช้งานมากที่สุด

 

จึงสรุปได้ว่า การคํานวณโซลาร์เซลล์ออฟกริดนั้น มีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

  • คํานวณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ (Load) ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด
  • คํานวณขนาดแบตเตอรี่จาก Load คูณจํานวนวันเก็บสํารองไฟฟ้า
  • คํานวณขนาดแผงโซลาร์เซลล์จาก Load หารด้วยชั่วโมงแสงอาทิตย์
  • เลือก Solar Charge Controller, Inverter ที่มีกําลังไฟฟ้าเหมาะสม

ซึ่งโซลาร์เซลล์ออฟกริด มักจะราคาอยู่ที่ประมาณ 3.5-4.5 หมื่นบาทต่อ kW โดยใช้เวลาคืนทุนประมาณ 5-7 ปี ขึ้นกับขนาดระบบและการใช้งานด้วยนั่นเอง

สรุป

การคำนวณโซล่าเซลล์ระบบ On Grid กับ Off Grid นั้น มีความแตกต่างกันตามความเหมาะสมในการใช้งาน โดยการคำนวณระบบแบบ On Grid จะเน้นที่การคำนวณพลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานโซล่าเซลล์ ในขณะที่การคำนวณโซล่าเซลล์แบบออฟกริด จะให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปอย่างถูกจดประสงค์ เราควรเลือกโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับพื้นที่อยู่อาศัย หรือพื้นที่ใช้งานอย่างรอบคอบ เพื่อความคุ้มค่า และเพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยได้มากที่สุดด้วยนั่นเอง 

หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะคำนวณโซล่าเซลล์อย่างไร หรือต้องติดตั้งระบบไหนดี Sorarus  มีทีมงานที่พร้อมให้คำปรึกษาและลงพื้นที่เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการติดตั้งระบบต่าง ๆ ที่จะเหมาะสมต่อการใช้งานของลูกค้าได้ดีที่สุด ด้วยสินค้าโซลาร์เซลล์ที่ได้มาตรฐาน และการบริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ถึงที่ พร้อมการรับประกันสินค้าและบริการหลังการขายอีกด้วย รู้อย่างนี้ก็รอช้าไม่ได้แล้ว ไปดูกันเลย

Sorarus-Nov2-banner

มารู้จัก โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร การเกษตรสมัยใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ระบบโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร เป็นการเกษตรรูปแบบใหม่ในปัจจุบันที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แทนระบบไฟฟ้าปกติ มีคุณประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานอย่างมากเพราะช่วยประหยัดพลังงานให้กับเกษตรกร ดังนั้น มารู้จักว่าระบบ การใช้โซล่าเซลล์ในการเกษตร นี้คืออะไร มีข้อดีอย่างไร พร้อมตัวอย่างได้ในบทความนี้เลย

ทำความรู้จัก โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร คืออะไร

ทำความรู้จัก โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร คืออะไร

การใช้งานระบบโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตรนั้น เป็นรูปแบบการทำเกษตรสมัยใหม่ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าให้กับทุกระบบหลักของการผลิตทางการเกษตร และเป็นระบบใหม่ล่าสุดที่เข้ามาช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก ซึ่งในการเลือกใช้งานระบบโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตรนี้ ครอบคลุมทุกด้านในการทำเกษตรทั้งหมด ตั้งแต่ เกษตรรูปแบบของพืชพันธุ์ การประมง รวมถึง การเลี้ยงสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยเช่นกัน มีประโยชน์หลายด้านอย่างมาก และเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าระยะยาวให้กับเกษตรกรด้วยเช่นกัน สำหรับยุคนี้เป็นการลงทุนที่ราคาไม่สูงอีกต่อไป เนื่องจากเทคโนโลยีเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์มีการพัฒนาอย่างแพร่หลายมากขึ้น จึงตอบโจทย์ด้านการใช้งานสำหรับเกษตรกรรมมากขึ้น 

ประโยชน์ของ โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร มีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของ โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร มีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการเลือกนำระบบโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตรมาช่วยงานด้านต่างๆ มีดังนี้

ช่วยประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้า

ต้นทุนหลักของการทำเกษตรกรรมต่างๆ แต่ละด้านนั้น ต้องยอมรับว่าเป็นต้นทุนที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าเยอะมากที่สุด ทั้งด้านดูแลด้านการเกษตรพืชพันธุ์ การทำประมง หรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อการเกษตรก็ตาม ทุกอย่างถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือและพลังงานไฟฟ้าเข้าช่วย ดังนั้น การเลือกนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้กับการเกษตร จึงกลายเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับธุรกิจการเกษตรอย่างมาก เพราะพลังงานไฟฟ้าจะถูกผลิตขึ้นจากพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงระบบการจัดเก็บพลังงานไว้ใช้อย่างจำเป็น จึงทำให้การใช้แผงโซลาร์เซลล์ประหยัดงบค่าไฟฟ้าได้มากขึ้นหลายเท่า ช่วยให้มีเงินทุนเหลือใช้ต่อยอดทำอย่างอื่นในธุรกิจได้อีกมากมาย และการลงทุนเพื่อติดตั้งระบบแผงโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตรในครั้งเดียว คุ้มค่ากับทุนระยะยาวได้ตลอดอย่างแน่นอน เป็นการลงทุนที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

เพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตร

พลังงานแสงอาทิตย์ที่มาจากการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ในการทำการเกษตรนั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำเกษตรกรรมได้ครบวงจรทุกด้าน เช่น การใช้พลังงานโซลาร์เซลล์กับระบบปั๊มน้ำ ที่เป็นปัจจัยหลักในการทำการเกษตรทุกรูปแบบ สามารถปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นระบบชลประทานจากในดินช่วยได้ และลดการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างสิ้นเปลือง ลดการก่อปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการขับเคลื่อนพลังงานเชื้อเพลิงต่างๆ ก็สามารถใช้ระบบโซลาร์เซลล์เข้าช่วยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเช่นกัน ทำให้ผลผลิตของพืชพันธุ์ต่างๆ เติบโตอย่างสมบูรณ์ ได้รับจำนวนผลผลิตที่มากขึ้นกว่าเดิม หรือแม้แต่ระบบการระบายอากาศของการทำเกษตรเกี่ยวกับสัตว์ก็ได้รับพลังงานอย่างเต็มที่โดยไม่สิ้นเปลืองงบด้านค่าไฟฟ้า เป็นการนำพลังงานธรรมชาติมาช่วยดูแลธุรกิจด้านธรรมชาติอย่างสมบูรณ์แบบ

เพิ่มความยั่งยืน

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากระบบโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร ยังมีประโยชน์เรื่องการช่วยเพิ่มความยั่งยืนให้กับเกษตรกรมากขึ้น เพราะการเลือกติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์จะเป็นการนำพลังงานธรรมชาติมาหมุนเวียนในการขับเคลื่อนแทนเชื้อเพลิงต่างๆ ทำให้ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อโลก ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เป็นการทำอุตสาหกรรมการเกษตรที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมของโลก และยังเป็นการลงทุนครั้งเดียวแล้วช่วยให้เกษตรกรประหยัดงบประมาณได้หลายล้านบาทต่อปีอย่างแน่นอน เป็นการใช้งานที่เป็นประโยชน์ทั้งกับปัจจุบันและในอนาคต

ได้แหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้

พลังงานแสงอาทิตย์ของระบบโซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้ โดยเฉพาะกับการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ห่างไกลที่ไฟฟ้าไม่สามารถเข้าถึงได้ จึงทำให้การใช้งานแผงโซลาร์เซลล์ที่รับตรงพลังงานของแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าและกักเก็บพลังงานสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉินได้ เป็นแหล่งพลังงานที่มีความสม่ำเสมอและเชื่อถือได้จริงนั่นเอง รับตรงจากธรรมชาติสู่ธรรมชาติ เรียกได้ว่าการใช้ระบบโซลาร์เซลล์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเกษตรกรที่ต้องพึ่งพาพลังงานในการช่วยเหลือการทำเกษตรอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยในระบบชลประทาน การช่วยในด้านระบบแสงสว่าง และการช่วยในระบบระบายอากาศ เป็นต้น

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การใช้งานโซลาร์เซลล์สำหรับการทำเกษตรกรรมนั้น เกษตรกรสามารถนำพลังงานมาใช้ได้อย่างเต็มที่ทุกด้าน เพราะระบบโซลาร์เซลล์ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาระยะยาวต่อโลกอย่างแน่นอน ดีมากกว่าการใช้ระบบพลังงานเครือข่ายไฟฟ้าปกติที่มาจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีการเผาผลาญตลอด ทำให้แหล่งพลังงานอื่นๆ จะหมดไปอย่างสิ้นเปลืองในอนาคต ดังนั้น การใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนด้วยระบบโซลาร์เซลล์จึงดีต่อทั้งการทำเกษตรและต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าอย่างแน่นอน เป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถรับประกันความยั่งยืนของภาคเกษตรกรรมได้เช่นกัน ประหยัดงบได้หลายเท่า

เป็นการลงทุนระยะยาว

การลงทุนด้านระบบพลังงานแสงอาทิตย์นี้ ถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่ดีอย่างมากสำหรับเกษตรกร เพราะแผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งาน 25 – 30 ปี ซึ่งหมายความว่า งบประมาณด้านค่าไฟฟ้ารวมถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นในด้านเกษตรกรรม จะอยู่กับการลงทุนได้อย่างยาวนานระดับนี้แน่นอน โดยไม่มีค่าซ่อมบำรุงอื่นๆ เพิ่มเติมอีกด้วย และยิ่งในปัจจุบันนี้ ราคาในด้านติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการทำเกษตรสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้นานหลายปี นอกจากนี้ ต้นทุนของแผงโซลาร์เซลล์ได้ลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการทำเกษตรพอเพียงด้วยโซล่าเซลล์

โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตรในปัจจุบัน มีกี่ประเภท

โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตรในปัจจุบัน มีกี่ประเภท

ในปัจจุบัน มีการใช้โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตรมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ได้แก่ กระแสตรง และ กระแสสลับ โดยทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกันที่สามารถอธิบายได้ง่ายๆ ดังนี้

ระบบไฟฟ้ากระแสตรง (DC)

แผงโซลาร์เซลล์แบบนี้เป็นระบบที่ประหยัดมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้านต้นทุนการลงทุนติดตั้ง หรือระบบเสริมอื่นๆ เพราะกระแสตรงคือการนำพลังงานแสงอาทิตย์ที่รับเข้ามายังโซลาร์เซลล์ ดึงไปใช้กับอุปกรณ์หรือระบบต่างๆ ที่ต้องใช้ไฟฟ้าในทันที จะไม่มีการแบ่งกักเก็บตัวพลังงานไว้ ดังนั้น ข้อจำกัดของระบบไฟฟ้ากระแสตรงจะเป็นการใช้งานที่สามารถใช้ได้เฉพาะในตอนกลางวันและใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ใช้งานได้ต่อเนื่องตลอดโดยไม่ต้องมีแบตเตอรี่ สามารถใช้ได้กับทุกระบบ ทุกอุปกรณ์ด้านการเกษตร แม้แต่ระบบปั๊มน้ำ จึงทำให้ระบบนี้ได้รับความนิยมสำหรับการใช้งานร่วมกับการรดน้ำเข้าแปลง การสูบน้ำเข้าแปลง การทำระบบปั๊มน้ำแสงอาทิตย์อย่างเต็มรูปแบบ

ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)

ระบบนี้จะมีหลักการทำงานและการดึงพลังงานมาใช้ทันทีคล้ายกับระบบไฟฟ้ากระแสตรง และข้อแตกต่างของระบบไฟฟ้ากระแสสลับจะอยู่ที่การใช้อินเวอร์เตอร์มาช่วยแปลงกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้สามารถจัดเก็บพลังงานแบ่งไปใช้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ได้ เช่น การทำการเกษตรควบคู่กับการใช้พลังงานไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น เหมาะกับเกษตรกรที่มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่รองรับระบบนี้อยู่แล้ว จะคุ้มค่าในการติดตั้งระบบไฟฟ้ากระแสสลับอย่างมาก อาจใช้เป็นการทำปั๊มน้ำสำหรับการเกษตร ควบคู่กับการใช้ปั๊มน้ำภายในบ้านแบบนี้ก็ได้เช่นกัน เป็นการนำพลังงานมาใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ตัวอย่างการใช้โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร

ตัวอย่างการใช้โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร

เพื่อให้เห็นภาพในการนำระบบโซล่าเซลล์เข้ามาใช้ในด้านการเกษตรมากขึ้น บทความนี้จึงได้รวบรวมตัวอย่างการใช้โซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตรมาให้กับเกษตรกรได้เข้าใจมากขึ้น จะมีอะไรบ้าง ไปดูเลย

ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

การทำปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เรียกได้ว่าเป็นระบบหลักที่เกษตรกรมักจะทำเป็นระบบแรกสำหรับการใช้งานโซลาร์เซลล์ร่วมในทันที โดยเฉพาะกับพื้นที่การเกษตรในเขตห่างไกลที่พลังงานไฟฟ้าเข้าไม่ถึง จำเป็นต้องใช้โซลาร์เซลล์เข้าช่วยทำระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและยังประหยัดงบประมาณสูงสุดด้วยเช่นกัน เพราะปั๊มน้ำเป็นระบบสำคัญในการทำเกษตรทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะกับแปลงพืชผัก แปลงนา การทำประมง หรือการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสามารถใช้เป็นระบบโซลาร์เซลล์ไฟฟ้ากระแสตรงได้เลย พลังงานแสงอาทิตย์จะถูกดึงมาทันที และใช้งานเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดตลอดทั้งวัน ไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่เพราะน้ำจะต้องสูบไปยังแหล่งแปลงนาแปลงผักอยู่แล้ว อีกทั้งระบบโซลาร์เซลล์ใช้ได้กับทุกระบบใหญ่ๆ ได้แน่นอน คุ้มค่าทั้งการเลือกใช้กระแสตรง หรือกระแสสลับให้เข้ากับงานที่ต้องการ

ระบบระบายความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์

การทำระบบระบายความร้อนและระบบการทำความเย็นต่างๆ สำหรับใช้ช่วยเหลือในภาคเกษตรกรรมนั้น เหมาะกับงานด้านการทำปศุสัตว์การเลี้ยงสัตว์อย่างมาก เพราะการทำเกษตรรูปแบบนี้จะเป็นการทำงานในพื้นที่ปิดล้อม จึงต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและการควบคุมอากาศของฟาร์มอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันเรื่องโรคระบาด การเจ็บป่วย รวมถึงผลผลิตที่ได้รับจากสัตว์ในฟาร์มทั้งหมด นอกจากนี้การทำระบบระบายความร้อนสำคัญมากกับการกำจัดฝุ่น ความชื้น หรือกลิ่นพิษทุกรูปแบบ จึงทำให้ระบบโซลาร์เซลล์เข้ามาช่วยให้งบประมาณด้านการดูแลสัตว์เลี้ยงและการทำปศุสัตว์ประหยัดมากขึ้น แต่ได้รับประสิทธิภาพเต็มที่เท่าเดิม เนื่องจากระบบการระบายอากาศแบบนี้ ใช้พลังงานเยอะมากที่สุด จึงตอบโจทย์กับการเลือกโซลาร์เซลล์มาช่วยอย่างมาก ยิ่งกับการทำฟาร์มโคนมนั้นจะเสียงบประมาณด้านนี้สูงที่สุด จึงแนะนำว่าระบบโซลาร์เซลล์แก้ปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอีกด้วย

ระบบให้แสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์

ระบบให้แสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์

ระบบแสงสว่างที่ใช้โซลาร์เซลล์เข้าช่วยด้านการเกษตรจะเป็นการออกแบบมาสำหรับการทำแปลงพืชในร่ม เพราะพืชผักเหล่านี้จะต้องการแสงในการเติบโตช่วงเริ่มต้นเท่านั้น จึงต้องมีการใช้ระบบควบคุมแสงต่างๆ อย่างเหมาะสม เป็นการลงทุนที่ค่อนข้างใช้งบพอสมควร ดังนั้นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาจัดเก็บแล้วปรับเปลี่ยนให้เข้ากับอุปกรณ์ของระบบนี้จึงเป็นประโยชน์สำหรับการควบคุมงบอย่างมากเช่นกัน แถมยังคุ้มค่าที่จะติดตั้งเป็นระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่สามารถใช้พลังงานไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ได้ทั่วทั้งแปลง และเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนตัวภายในบ้านก็ได้อีกด้วย โดยเฉพาะฤดูหนาวหรือฤดูฝนที่แสงแดดเข้ามาค่อนข้างน้อย จึงทำให้โซลาร์เซลล์สำคัญต่อระบบให้แสงสว่างอย่างมาก ช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตพืชผลได้ตลอดปี 

ระบบพ่นยาฆ่าแมลงพลังงานแสงอาทิตย์

เครื่องพ่นยาฆ่าแมลงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์นี้ เป็นการพัฒนาระบบช่วยเหลือเกษตรรายย่อยที่ตอบโจทย์อย่างมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลพืชผลได้อย่างเต็มที่ และประหยัดงบประมาณในด้านการดูแลพืชพันธุ์ได้อีกหลายเท่า ทำให้ผลลัพธ์ด้านพืชผักออกมามีคุณภาพ ส่วนระบบพ่นยาฆ่าแมลงด้วยโซลาร์เซลล์จะเป็นการดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ผ่านแบตเตอรี่ หรือการชาร์จแบตเตอรี่จากพลังงานแสงอาทิตย์ก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่เลือกใช้ แต่ไม่ว่าจะเป็นประเภทเครื่องพ่นแบบไหนก็สามารถรองรับโซลาร์เซลล์ได้

รถแทรกเตอร์พลังงานแสงอาทิตย์

รถแทรกเตอร์เป็นเครื่องจักรพื้นฐานในการเกษตรที่ใช้พลังงานค่อนข้างมาก ทั้งพลังงานเชื้อเพลิงและพลังงานขับเคลื่อนอื่นๆ เพื่อช่วยให้การทำฟาร์มง่ายมากขึ้น และเพิ่มผลผลิตจากพืชต่างๆ ได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการใช้งานรถแทรกเตอร์จากพลังงานแสงอาทิตย์ จะเป็นการใช้ระบบโซลาร์เซลล์แทนพลังงานน้ำมันไปเลยทั้งหมด ทำให้การวิ่งของรถแทรกเตอร์สามารถใช้งานได้ยาวนาน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และประหยัดค่าน้ำมันได้มากขึ้นหลายเท่า แถมยังมีการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานไว้ใช้วิ่งตอนกลางคืนได้แล้วตอนนี้ เพราะฉะนั้น แม้ว่ารถแทรกเตอร์พลังงานแสงอาทิตย์จะยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้ก็ตาม แต่ผลลัพธ์ที่มีการทดลองมาใช้งานก็เป็นโอกาสที่ชัดเจนสำหรับอนาคตในการทำการเกษตรอย่างมาก 

สรุป

โซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร คือการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้แทนพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ ในอุปกรณ์ด้านการทำเกษตรกรรมอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้เกษตรกรประหยัดงบประมาณมากขึ้นหลายเท่าในทุกๆ ปี ทุกๆ เดือน แถมยังเป็นการลงทุนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว เห็นผลทันทีตั้งแต่การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร รวมถึง ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดการเกิดภาวะเรือนกระจกได้ จึงเหมาะกับการลงทุนอย่างมาก โดยเฉพาะกับเขตการทำเกษตรกรรมพื้นที่ห่างไกล ระบบโซลาร์เซลล์เรียกได้ว่าเป็นเครื่องทุ่นแรงและลดงบประมาณได้มากที่สุดนั่นเอง 

Sorarus - Nov 1 (เปิดแอร์ประหยัด ไฟ)-01-cover

รวม 9 เทคนิค เปิดแอร์ให้ประหยัดไฟ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แอร์กลายเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยกับค่าใช้จ่ายที่สูงด้วยเช่นกัน ใครที่กำลังมองหาวิธีเปิดแอร์ประหยัดไฟ ในบทความนี้ได้รวบรวม 9 เทคนิคมาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดีต่อทั้งเงินในกระเป๋าและส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม 

ประเภทของแอร์ และการเลือกให้เหมาะกับห้อง

ประเภทของแอร์ และการเลือกให้เหมาะกับห้อง

สิ่งแรกที่ทุกคนควรรู้จักกันก่อนเลยคือ ประเภทของแอร์ เพราะแอร์มีหลากหลายประเภท และที่สำคัญแต่ละประเภทจะมีความเหมาะสมกับขนาดห้องที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกประเภทของแอร์ได้อย่างเหมาะสม และตอบโจทย์ต่อการใช้ชีวิต ไปรู้จักกับประเภทของแอร์กันได้เลย ดังนี้ 

แอร์ติดผนัง

แอร์ประเภทนี้มักพบเห็นได้บ่อยตามบ้าน และคอนโด เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัด และดูสวยงามเหมาะกับสถานที่ที่มีขนาดจำกัด ด้านฟังก์ชันการใช้งานมีความหลากหลายตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น โหมดประหยัดไฟที่ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ หรือจะเป็นโหมดกรองฝุ่นที่ในบางรุ่นสามารถที่จะจัดการกับฝุ่น PM 2.5 ได้ ทำให้ผู้ใช้งานวางใจได้ว่าอากาศที่หายใจเข้าไปนั้นสะอาดบริสุทธิ์ 

แอร์แขวนเพดาน

แอร์แขวนเพดานเป็นอีกหนึ่งประเภทที่มีกระแสนิยม และผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากช่วยทำให้ห้องดูเรียบร้อย และหรูหรามากขึ้น แต่การติดตั้งแอร์ประเภทนี้จะเหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่อย่างห้องประชุม หรืออาคารสำนักงาน เพราะแอร์แขวนเพดานจะกระจายความเย็นได้ดี รวมถึงใช้ระยะเวลาน้อยกว่าแอร์ประเภทอื่นๆ 

แอร์ตั้งพื้น

แอร์ตั้งพื้นเป็นแอร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากเป็นแอร์เพียงประเภทเดียวที่ต้องใช้พื้นที่ในห้อง สำหรับการวางตั้งเพื่อกระจายความเย็น ในส่วนนี้ทำให้แอร์ประเภทนี้ทำความสะอาดได้ง่าย และเหมาะกับการเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ต้องการความเย็นเป็นพิเศษ 

อย่างไรก็ดีทำให้แอร์ตั้งพื้นไม่เป็นที่นิยมเท่ากับแอร์ประเภทอื่น เพราะแอร์ตั้งพื้นต้องใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของห้องในการจัดวาง แอร์ประเภทนี้เหมาะกับห้องที่มีความสูงจากพื้นถึงเพดานที่พอดี ไม่สูงมาก หรือเป็นห้องขนาดกว้าง เนื่องจากเครื่องปรับอากาศที่ไม่สามารถกระจายความเย็นได้เร็ว และแรงเท่ากับประเภทอื่นๆ นั่นเอง 

แอร์ฝังฝ้าเพดาน

หนึ่งในเทรนด์แอร์ที่กำลังโด่งดัง และเป็นที่สนใจของผู้คนในตอนนี้ คงหนีไม่พ้นกับแอร์ฝังฝ้าเพดาน ด้วยลักษณะการติดตั้งที่ช่วยทำให้ห้องดูเป็นระเบียบ ไม่รกสายตา อีกทั้งยังกระจายความเย็นได้เร็ว และทั่วถึง ทำให้แอร์ประเภทนี้เหมาะกับห้องที่มีพื้นที่กว้าง และเพดานสูง แต่จุดสังเกตที่คุณควรทราบคือ แอร์ฝังฝ้าเพดานนี้มีราคาเครื่องต่อ BPU สูง และมีค่าใช้จ่ายสำหรับการบำรุงรักษาที่แพงมากกว่าแอร์ทั่วไป

9 วิธี เปิดแอร์ให้ประหยัดไฟ ประหยัดเงิน และดีต่อโลก

9 วิธี เปิดแอร์ให้ประหยัดไฟ ประหยัดเงิน และดีต่อโลก

ในตอนนี้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับแอร์แต่ละประเภทไปเป็นที่เรียบร้อย หากเลือกใช้แอร์ที่เหมาะสมกับขนาดห้อง และตอบโจทย์ต่อลักษณะการใช้งาน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไปได้ ยิ่งถ้ารู้วิธีในการเปิดแอร์ให้ประหยัดค่าไฟที่เป็นเทคนิคในการใช้แอร์ให้เต็มประสิทธิภาพด้วยแล้ว จะทำให้คุณได้ประหยัดเงิน และดีต่อสภาพแวดล้อมไปในเวลาเดียวกัน ในเนื้อหาส่วนนี้จะมีเทคนิคเปิดแอร์อย่างไรให้ประหยัดค่าไฟบ้างนั้น ไปติดตามกันได้เลย 

ล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอ

1. ล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอ

การล้างแอร์เป็นการบำรุงเครื่องปรับอากาศให้ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือการล้างแอร์ยังช่วยประหยัดค่าไฟได้ด้วย เพราะตลอดการใช้งานที่คุณเปิดแอร์จะมีฝุ่น และสิ่งสกปรกเข้าไปในเครื่องปรับอากาศ เมื่อมีการสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้แอร์ทำงานหนัก กินไฟ และทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายได้แบบที่คุณไม่รู้ตัว 

การล้างแอร์จึงมีความสำคัญอย่างมาก และเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ผู้ใช้งานควรทำ โดยกำหนดการล้างแอร์ และเปลี่ยนไส้กรองควรเป็นทุกๆ 6 เดือน เพื่อไม่ให้มีฝุ่น หรือสิ่งสกปรกอัดแน่นในไส้กรอง และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแอร์ให้ทำได้อย่างเต็มที่ ยิ่งไส้กรองสะอาดจะยิ่งเพิ่มการใช้พลังงานของแอร์ได้มากถึง 15 เปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว 

ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสม

2. ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสม

โดยปกติแล้วหลายคนจะคุ้นเคยกับการตั้งอุณหภูมิแอร์ให้อยู่ที่ 25 องศา เพราะหลายสื่อเคยบอกว่านี่เป็นอุณหภูมิที่ประหยัด และให้ความเย็นสบาย แต่อันที่จริงแล้วอุณหภูมิที่ช่วยในการประหยัดไฟจากการเปิดแอร์คือ 26-27 องศา โดยอุณหภูมิในช่วงนี้จะลดการทำงานของแอร์ และประหยัดค่าไฟได้อย่างเห็นผล แนะนำเทคนิคเพิ่มเติมคือ คุณควรตั้งเวลาปิดแอร์ก่อนเวลาตื่นนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อลดการใช้งานของแอร์ โดยที่ห้องยังสามารถเย็นได้ต่อเนื่องจนคุณตื่นนั้นเอง 

เลี่ยงการใช้แอร์ในห้องเปิด

 

3. เลี่ยงการใช้แอร์ในห้องเปิด

หากต้องการให้แอร์ทำงานได้เต็มที่ และไม่สิ้นเปลืองค่าไฟควรใช้แอร์ในพื้นที่ปิด ไม่ควรเปิดแอร์ในพื้นที่โล่ง โถงห้องขนาดใหญ่ หรือพื้นที่ที่มีบันได เนื่องจากแอร์จะต้องทำงานหนัก และเย็นได้ช้า หากต้องการใช้งานในพื้นที่ดังกล่าวจริงๆ ควรหาฉากกั้นมาปิด เพื่อให้แอร์สามารถกระจายความเย็นได้เร็ว และลดการใช้พลังงานจากแอร์ด้วย 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ พยายามลดความร้อนในพื้นที่ก่อนเปิดแอร์ หากเปิดหน้าม่านอยู่ ควรปิดผ้าม่านเพื่อลดความร้อนที่จะเข้ามาในพื้นที่ เพื่อให้แอร์ทำงานน้อยมากที่สุด และคุณจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของค่าไฟที่ลดลงได้อย่างชัดเจน 

ใช้พัดลมคู่กับแอร์

4. ใช้พัดลมคู่กับแอร์

หนึ่งในเทคนิคที่หลายคนไม่รู้คือการเปิดพัดลมควบคู่กับการเปิดแอร์ ช่วยประหยัดไฟไปได้มากแบบที่คุณจะคาดไม่ถึง ขั้นตอนในการทำก็แสนง่าย เพียงแค่เปิดพัดลมก่อนเปิดแอร์ เพื่อลดความร้อนในห้องลงมาในเบื้องต้น เมื่อคุณเปิดแอร์ เครื่องปรับอากาศจะทำงานได้เต็มที่ และไม่หนักเกินไป ลดการกินไฟของแอร์ไปได้อย่างมาก ยิ่งถ้าคุณใช้วิธีก่อนหน้าโดยเปิดแอร์ไปที่ 26 องศา และเปิดควบคู่กับพัดลม ก็จะช่วยทำให้ห้องกระจายความเย็นได้เร็ว และทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

เลี่ยงการนำของร้อนเข้าห้องแอร์

5. เลี่ยงการนำของร้อนเข้าห้องแอร์

แน่นอนว่าการนำของร้อนเข้าห้องแอร์ จะทำให้แอร์ต้องทำงานหนักกว่าปกติ เนื่องจากต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการทำให้อุณหภูมิลดลง นอกจากของร้อนแล้ว ไอเทมที่มีความชื้นอย่างต้นไม้ ภาชนะใส่ของเหลว หรือเสื้อผ้าที่เปียกก็เป็นสิ่งเร้าที่ทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้นเช่นเดียวกัน 

หลักการทำงานของแอร์คือ การใช้พลังงาน 30 เปอร์เซ็นต์ในการลดอุณหภูมิของห้อง และอีก 70 เปอร์เซ็นต์จัดการกับความชื้นในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นของร้อน หรือของที่มีความชื้นควรหลีกเลี่ยงในการนำเข้าห้องที่ต้องการเปิดแอร์จะเป็นการดีที่สุด 

เลือกแอร์ที่มีขนาดเหมาะสม

6. เลือกแอร์ที่มีขนาดเหมาะสม

ตามเนื้อหาที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าแอร์มีหลายประเภท ผู้ใช้งานควรเลือกแอร์ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง และตอบโจทย์กับการใช้งานมากที่สุด เพราะการเลือกแอร์ที่มีขนาดเล็ก ไม่สมดุลกับขนาดห้อง จะทำให้แอร์ต้องทำงานหนักเป็นพิเศษเพื่อให้ทั่วทั้งห้องเกิดความเย็น เช่นเดียวกันกับการเลือกแอร์ที่มีขนาดใหญ่เกิดพื้นที่ นี่ก็จะเป็นการใช้พลังงานเกินความจำเป็น ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจากการเปิดแอร์สูงกว่าปกติได้อีกด้วย

ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้

7. ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้

พื้นฐานของการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดคือ เมื่อไม่ใช้งานแล้ว ให้คุณปิดเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยไปได้ เช่นเดียวกับการเปิดแอร์  ที่หากไม่ต้องการใช้งานก็ควรจะปิดแอร์เพื่อประหยัดค่าไฟ หรือใครที่ชอบเปิดแอร์เพราะความเคยชิน เมื่อกลับบ้านแล้วเปิดแอร์เป็นอันดับแรกทั้งๆ ที่อุณหภูมิของห้องไม่ได้ร้อนมากนัก ก็ควรเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นการเปิดพัดลมแทนก่อนในช่วงแรก เพื่อไล่อากาศร้อนออกไปเสียก่อน จะได้ช่วยลดการทำงานของแอร์เสียก่อน 

หากมีสมาชิกในครอบครัวที่ต้องการเปิดแอร์ ควรจะเลือกนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน และเปิดแอร์ เพื่อลดค่าใช้จ่าย นี่ก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีในการควบคุมค่าใช้จ่ายจากการเปิดแอร์ได้อย่างเห็นผล

ใช้เทอร์โมสตัท (Thermostat) เพื่อประหยัดไฟ

8. ใช้เทอร์โมสตัท (Thermostat) เพื่อประหยัดไฟ

เทอร์โมสตัท คือ อุปกรณ์สำหรับควบคุมอุณหภูมิ นี่เป็นหนึ่งในตัวช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าไฟจากการเปิดแอร์ได้เป็นอย่างดี เทอร์โมสตัทนี้จะคอยสังเกต และวัดอุณหภูมิเพื่อให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานเกินความจำเป็นอีกต่อไป เพราะทันทีที่เครื่องปรับอากาศทำงานไปจนถึงอุณหภูมิที่ตั้งค่าไว้ในระบบของเทอร์โมสตัท สิ่งนี้จะตัดกำลังไฟของแอร์ลง ลดพลังงานของแอร์ให้คุณประหยัดค่าไฟไปได้อีก 

ตั้งเวลาเปิด-ปิดแอร์

 

9. ตั้งเวลาเปิด-ปิดแอร์

เทคนิคสุดท้ายที่จะฝากทุกคนไว้คือ การตั้งเวลาในการเปิด-ปิดแอร์ คุณควรที่จะตั้งเวลาในการใช้งานไว้ เพื่อลดการเปิดที่ไม่จำเป็น และเป็นการสร้างนิสัยที่ดีในการใช้แอร์ อีกทั้งยังช่วยในการเผลอลืมปิดจากการนอนหลับลึกอีกด้วย คำแนะนำสำหรับการตั้งเวลาในการปิด คุณควรตั้งเวลาปิดก่อนเวลาตื่นจริง 1 ชั่วโมง เพื่อให้ความเย็นที่หลงเหลือมอบความเย็นต่อก่อนช่วงเวลาที่คุณจะตื่น และประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนค่าไฟได้เพิ่มเติม 

สรุป

ปัจจุบันแอร์เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แทบจะมีในทุกครัวเรือน และอาคารกันเลยก็ว่าได้ แน่นอนว่าแอร์เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น แต่ผลกระทบที่ตามมาคือปัญหาค่าใช้จ่ายจากค่าใช้ไฟฟ้า และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทุกๆ การใช้งานแอร์จะปล่อย CO2 ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนอย่างในทุกวันนี้ 

การเลิกเปิดแอร์คงเป็นไปได้ยาก แต่ทุกคนสามารถที่จะใช้แอร์ได้อย่างถูกวิธีทั้งในแง่ของการช่วยโลกให้ยังคงอยู่กับมนุษย์ได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น และลดค่าไฟจากการเปิดแอร์ได้ด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่จะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญการติดตั้งโซลาร์เซลล์คุณภาพอย่าง Sorarus ที่สามารถติดตั้งให้ได้ทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน พร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือตลอดการใช้งาน ปลอดภัย ประหยัดค่าไฟได้ในระยะยาว ให้คุณลดค่าใช้จ่าย และรักษ์โลกไปด้วยกัน

Cover-oct1

ทำความรู้จัก พลังงานแสงอาทิตย์ กับข้อดีและข้อเสียที่คุณไม่เคยรู้

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานที่มีข้อดีมากมาย และถือได้ว่าเป็นพลังงานที่ยั่งยืนต่ออนาคตของโลกเรา การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไม่เพียงแต่ช่วยลดการใช้พลังงานจากแหล่งที่มีมลภาวะ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผลกระทบที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในหลายด้านด้วย ในบทความนี้เราจะพูดถึง พลังงานแสงอาทิตย์ มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ทำไมคุณควรสนับสนุนและใช้ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้

พลังงานแสงอาทิตย์ คืออะไร

พลังงานแสงอาทิตย์ คืออะไร

พลังงานแสงอาทิตย์คือพลังงานที่เกิดขึ้นจากแสงแดดที่มาจากดวงอาทิตย์ และใช้ในการสร้างไฟฟ้าหรือความร้อน พลังงานแสงอาทิตย์ถูกค้นพบครั้งแรกจากการสังเกตแสง พบว่าพลังงานนี้สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้โดยปรากฏการณ์ที่เรียกว่าโฟโตโวลตาอิก (photovoltaic effect) การทดลองแรกที่แสดงปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1839 โดยนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อ A.E. Becquerel ที่ใช้แผ่นเหล็กไฮดรอกไซด์และแผ่นเหล็กในน้ำเป็นตัวตั้งกระแสไฟฟ้า และใช้แสงอาทิตย์เพิ่มกระแสไฟฟ้าของระบบ

 

พลังงานแสงอาทิตย์ อาจจะมีข้อเสีย แต่ข้อดี ที่สำคัญคือ เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดและยั่งยืนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการปล่อยมลภาวะ และมีศักยภาพในการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความเป็นอิสระในการผลิตพลังงานในหลายส่วนของโลก การพัฒนาและการนวัตกรรมในเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ยังยั่งยืนต่ออนาคตที่ยั่งยืนของการผลิตพลังงานในโลกของเราด้วยความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายและเสริมความมั่นคงของระบบพลังงานทั่วโลกอีกด้วย

พลังงานแสงอาทิตย์ ทำงานอย่างไร

พลังงานแสงอาทิตย์ ทำงานอย่างไร

พลังงานแสงอาทิตย์ มีข้อดี ข้อเสีย มากมาย หนึ่งในนั้นคือเรื่องของทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดที่สามารถใช้แทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ในหลายทาง เช่น การผลิตความร้อน ปฏิกิริยาทางเคมี และการสร้างกระแสไฟฟ้า เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์สามารถปรับใช้ได้อย่างยืดหยุ่นตามขนาดและช่วยให้เกิดพลังงานที่เก็บสะสมไว้สำหรับการใช้งานในภายหลังได้เร็วขึ้น

ปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่มาถึงโลกในแต่ละวันนั้นมากกว่าความต้องการพลังงานในปัจจุบันและในอนาคตที่คาดหวัง คำถามคือว่าเราจะควบคุมศักยภาพนี้อย่างไร และเพื่อให้เข้าใจกับสิ่งนี้ เราจึงต้องศึกษาวิธีการทำงานของพลังงานแสงอาทิตย์อย่างละเอียดและชัดเจน

มนุษย์จึงได้ผลิตอุปกรณ์ที่ทำงานกับพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการใช้ความร้อนจากแสงแดด เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยความร้อน กระบวนการนี้เกิดขึ้นด้วยตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้น เราเรียกอุปกรณ์นี้เรียกว่า “โซลาร์เซลล์” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแปลงแสงแดดเป็นพลังงานที่ใช้งานได้

พลังงานแสงอาทิตย์ มีกี่ประเภท

พลังงานแสงอาทิตย์ มีกี่ประเภท

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นวิธีที่ยั่งยืนและเพื่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่มีการปล่อยก๊าซเสียหายต่อชั้นบรรยากาศ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตพลังงานในระยะยาว ซึ่งการพัฒนาและการสร้างนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ยังเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในส่วนของการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์และการนำเสนอแบบใหม่ในการใช้งานในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักตาม ประโยชน์ของ การใข้ พลังงานแสงอาทิตย์ ดังนี้

พลังงานที่เกิดจากแสง

พลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบพลังงานแสงมีลักษณะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ตามรูปแบบของการใช้และประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับวิธีการจับพลังงานแสงและการแปลงเป็นพลังงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

  1. พลังงานแสงอาทิตย์แบบแอคทีพโซลาร์: รูปแบบพลังงานนี้คือการใช้โฟโตโวลตาอิคส์หรือ solar thermal เพื่อจับและแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือความร้อนโดยตรง โดยใช้ตัวแปรอุณหภูมิเพื่อผลิตพลังงานหรือเก็บพลังงานในระหว่างวันเพื่อใช้งานในช่วงกลางคืนหรือในสถานการณ์ที่จำเป็น
  2. พลังงานแสงอาทิตย์แบบพาสีฟ: รูปแบบพลังงานนี้ ใช้ในงานอาคารที่ต้องการกำลังไฟจำนวนมาก กระจายความร้อนในประเทศเมืองหนาว ทำให้รูปแบบนี้มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพสูงในการรับแสงแดดโดยตรง โดยวัสดุที่ใช้จะสามารถสะสมความร้อน (thermal mass) เพื่อควบคุมอุณหภูมิในอาคาร หรือใช้วัสดุที่กระจายแสงอาทิตย์เพื่อลดความร้อนภายในอาคาร นอกจากนี้ยังรวมถึงการออกแบบพื้นที่ว่างให้การหมุนเวียนอากาศโดยธรรมชาติเพื่อลดการใช้พลังงานเพิ่มเติมในการควบคุมอากาศในอาคาร

พลังงานที่เกิดจากความร้อน

พลังงานที่เกิดจากความร้อนคือพลังงานที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในบ้าน หรือครัวเรือนทั่วไป พลังงานในกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นพลังงานที่เกิดจากธรรมชาติได้ทั่วไป โดยวิธีการทำให้เกิดความร้อนไม่ได้มาจากแค่การใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์เท่านั้น แต่สามารถให้ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีได้ ยกตัวอย่างเช่น พลังงานน้ำ พลังงานลมจากกังหันลม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นข้อดีของ การใช้ พลังงานแสงอาทิตย์ แทนพลังงานไฟฟ้าประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์

ประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ 

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาของโลกเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แต่ก็มีทั้งข้อดี ข้อเสียมากมาย แต่พลังงานแสงอาทิตย์ก็ยังคงได้รับความสนใจมากขึ้น ในภายหลังจากการตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อสภาพแวดล้อมและความจำเป็นในการลดปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เรามาทำความเข้าใจกันเพิ่มเติมว่าพลังงานแสงอาทิตย์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ผลิตกระแสไฟฟ้า

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความสนใจในการตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของโลกในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งมีทั้งข้อดี ข้อเสียของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ก็ถือได้ว่ามีประโยชน์อย่างมากทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ หนึ่งในวิธีการที่ได้รับความสนใจมมากที่สุดคือการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อน ซึ่งมีประโยชน์ในหลายมิติดังนี้

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อสภาพแวดล้อมในรูปของก๊าซเรือนกระจก การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเรื่องสำคัญในการทำให้สภาพภูมิอากาศมีความเสียหายน้อยลง และลดโอกาสเกิดปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่อโลกและมนุษย์ และนี่คือ ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
  • ลดค่าใช้จ่ายในพลังงาน: การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานที่ต่ำกว่าพลังงานจากแหล่งพลังงานที่ไม่ใช่มิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อติดตั้งระบบแสงอาทิตย์แล้ว ค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าเท่ากับศูนย์ และมีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนาน สิ่งนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในพลังงานสำหรับบริษัทหรือผู้บริโภค
  • ลดพลังงานที่นำเข้า: การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยลดอัตราการนำเข้าพลังงานจากแหล่งนำเข้าต่างประเทศ ที่อาจมีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เช่น ราคาน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ ที่เป็นส่วนเพิ่มค่าใช้ง่ายต่อพลังงานทั้งสิ้น
  • สร้างงานและส่งเสริมเศรษฐกิจ: การพัฒนาและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยสร้างงานให้กลับกลายมาเป็นสาขาอาชีพที่มีความเกี่ยวข้อง และยังส่งเสริมเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นและชาติ อาจถือได้ว่าเป็นโอกาสในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานที่มีความยั่งยืน

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้ามีประโยชน์มากมาย ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเสริมสร้างความมั่นคงและลดความขึ้นอยู่กับพลังงานที่นำเข้า ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนทั้งสำหรับโลกและสังคมของเราในระยะยาว

ผลิตความร้อน

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตความร้อนเป็นหนึ่งในวิธีที่ยอดเยี่ยมในการลดการใช้พลังงานจากแหล่งที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดค่าใช้จ่ายในการทำความร้อนสำหรับอุปกรณ์และสถานที่ต่างๆ ซึ่งข้อดีของ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มีประโยชน์มากมายทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ การผลิตความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

  • ลดการใช้พลังงานไม่ยั่งยืน: การผลิตความร้อนจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ต้องพึ่งพาพลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงสิ่งที่เป็นทรัพยากรจำกัดและมีผลกระทบต่ออุปกรณ์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม การลดการใช้พลังงานไม่ยั่งยืนนี้ ช่วยลดการเกิดมลภาวะทางอากาศ และยังเป็นประโยชน์สิ่งแวดล้อม
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย: การลงทุนในระบบพลังงานแสงอาทิตย์สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตความร้อนในระยะยาว ระบบพลังงานแสงอาทิตย์มักมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นสูง แต่หลังจากติดตั้งและใช้งานเป็นประจำ จะช่วยประหยัดเงินในการจ่ายค่าพลังงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเพราะระบบพลังงานแสงอาทิตย์มักมีอุปกรณ์ที่คงทนและไม่ต้องการการบำรุงรักษาเป็นประจำอย่าง Sorarus เองก็คือหนึ่งในแบรนด์ที่มีบริการติดตั้งอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานความร้อนที่ได้คุณภาพสูง จนคุณสามารถผลิตและใช้งานน้ำร้อนได้ด้วยตัวเองเลย และที่สำคัญยังมีช่างผู้ชำนาญคอยดูแลให้คุณ

ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์

ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์ 

พลังงานแสงอาทิตย์ คือ แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นจากแสงและความร้อนของแสงอาทิตย์ที่มีทั้งประโยชน์และความสำคัญมากในชีวิตประจำวันของเรา ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์ มีหลายส่วนที่คุณควรรู้

  • พลังงานที่สะอาดและยั่งยืน: พลังงานแสงอาทิตย์เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพลังงานที่สะอาดและไม่ส่งผลต่อมลพิษในบรรยากาศ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไม่ต้องใช้พลังงานจากแหล่งน้ำมันหรือถ่านหิน ซึ่งมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์และเป็นพลังที่ไม่ยั่งยืน การลดการใช้พลังงานไม่ยั่งยืนนี้เองก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวิธีในการรักษาโลกของเรา
  • ลดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงาน: การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าและความร้อน โดยเฉพาะในระยะยาว หากมีระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของบ้านหรืออาคาร คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจ่ายบิลไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบพลังงานแสงอาทิตย์เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่คงทนและไม่ต้องการการบำรุงรักษาเป็นประจำ
  • ความเสถียรและความยืดหยุ่น: การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยเพิ่มความเสถียรในการจัดหาพลังงาน โดยเฉพาะในสถานที่ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน โดยเราสามารถเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบกักเก็บพลังงานใช้ในช่วงเวลาคืนหรือวันที่มีต้องการแดด

ข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์

ข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์ 

พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นแหล่งพลังงานที่มีหลายข้อดี แต่ก็ยังมีข้อเสียบางอย่างที่คุณควรรู้ และข้อเสียบางอย่างส่งผลต่อการใช้งานของคุณ ซึ่งคุณควรทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ไว้และเรียบเทียบระหว่าง ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์ ก่อนเลือกนำมาใช้งาน ซึ่งข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์มีดังนี้

  • การผลิตกระแสไฟขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ: การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นอยู่กับแสงแดด ซึ่งหมายความว่าการใช้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงเวลาที่มีแสงแดดมาก เช่นในวันที่มีอากาศแจ่มใส มีเมฆครอบคลุมหรือการใช้งานในกลางคืนอาจทำให้ประสิทธิภาพลดลง ซึ่งอาจมีผลให้ไม่มีการผลิตพลังงานในบางช่วงเวลา
  • ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง: ระบบพลังงานแสงอาทิตย์มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่สูง ซึ่งรวมถึงการซื้อและติดตั้งโครงสร้างการส่งน้ำไปยังถังเก็บพลังงาน และระบบเชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้า ข้อนี้อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายในระยะยาวที่สูงกว่าการใช้พลังงานแบบเดิม
  • พื้นที่ที่จำเป็น: ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ต้องใช้พื้นที่สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์หรือแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ในบางกรณี การใช้พื้นที่นี้อาจเป็นปัญหาในพื้นที่ที่มีพื้นที่จำกัดหรือที่ต้องใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

พลังงานแสงอาทิตย์ กับ โซลาร์เซลล์

พลังงานแสงอาทิตย์ กับ โซลาร์เซลล์

ระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Photovoltaic System) เป็นระบบที่ใช้โซลาร์เซลล์ (solar cells) เพื่อแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ โซลาร์เซลล์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดูดอิเล็กตรอนจากแสงอาทิตย์และแปลงมันเป็นกระแสไฟฟ้า ระบบโซลาร์เซลล์ประกอบด้วยอุปกรณ์และส่วนประกอบหลายชนิดที่ทำงานร่วมกันเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบนี้มีลักษณะการทำงานแบบเชื่อมต่อกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของไฟฟ้าที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง ประโยชน์ของโซลาร์เซลล์ สำหรับคนที่ติดตั้งไว้ในบ้านจะเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้ามากเกินจำเป็น นอกจากนี้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับโซลาร์เซลล์ ยังคงต้องคำนึงถึงเรื่องของการติดตั้งเป็นสำคัญอีกด้วย Sorarus คือหนึ่งในตัวเลือกที่หลายคนมองหา เพราะเรามีบริการติดตั้งโดยช่างผู้ชำนาญการมืออาชีพ ที่จะทำให้บ้านของคุณปลอดภัย และมีไฟฟ้าใช้ในตอนกลางคืน

สรุป

พลังงานจากแสงอาทิตย์ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ให้ได้พิจารณา แต่ก็ถือได้ว่าเป็นพลังงานสะอาด ที่มีความบริสุทธิ์สูง ซึ่งเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน ส่วนสำคัญของการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์คือแผงโซลาร์เซลล์ อุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งเท่านั้น การใช้กระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยให้คุณลดค่าใช้จ่าย และช่วยรักษาให้สิ่งแวดล้อมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย

Sorarus - May Article 5 (โซ ล่า รู ฟ ท็ อป)-01-cover

โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ? พร้อมการทำงาน เหมาะกับใครบ้าง

ด้วยสภาวะโลกร้อนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำให้ผู้คนเกิดการตื่นตัวจนเป็นกระแสในการลดภาระการใช้พลังงานเชื้อเพลิง โดยหลายประเทศที่มีแดดจัดได้หันมาใช้ โซลาร์รูฟท็อปกันมากขึ้น ซึ่งโซลาร์รูฟท็อปเป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน รับแสงอาทิตย์ในยามกลางวันนำมาเป็นพลังงาน โดยในบทความนี้จะพาไปรู้จักว่าโซลาร์รูฟท็อปคืออะไร มีหลักการในการทำงานเพื่อผลิตไฟฟ้าแบบไหน แล้วเหมาะสำหรับใครบ้าง 

โซลาร์รูฟท็อปคืออะไร

โซลาร์รูฟท็อปคืออะไร

โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ การนำแผงพลังงานแสงอาทิตย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ แผงโซลาร์เซลล์ มาติดตั้งบนหลังคาที่พักอาศัย โรงงานอุตสาหกรรม หรืออาคารต่างๆ จุดเด่นของโซลาร์รูฟท็อปอยู่ที่ระบบการทำงานที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์กลับมาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ลักษณะการทำงานของโซลาร์รูฟท็อปตัวแผงที่ติดตั้งจะผลิตไฟฟ้าเป็นกระแสตรง (DC) ออกมาแล้วส่งเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟกระแสสลับ (AC) เพื่อให้สามารถนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้งานได้จะต้องมีตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) ที่ทำหน้าที่ควบคุมและจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ภายในบ้านหรือสถานที่ติดตั้ง เพียงเท่านี้ก็จะมีพลังงานไฟฟ้าพร้อมใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น ทีวี เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น นอกจากการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ได้เองแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้จากการส่งขายไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์รูฟท็อปคืนให้กับหน่วยงานของรัฐตามโครงการที่จัดขึ้นเป็นรอบ ๆ ได้อีกด้วย 

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อป

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อป

ก่อนที่จะนำพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์รูฟท็อปมาใช้งาน ต้องรู้ถึงหลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อปก่อนว่ามีขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าอย่างไร โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. แผงพลังงานแสงอาทิตย์หรือแผงโซลาร์เซลล์จะรับแสงจากดวงอาทิตย์
  2. กระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์จะส่งผ่านอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (DC Fuse) แล้วส่งต่อไปยังเครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter)
  3. เครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter) จะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นกระแสสลับ (AC) และส่งผ่านต่อไปยังอุปกรณ์ป้องกันแรงดันกระชาก (AC Surge Protector)
  4. อุปกรณ์ป้องกันแรงดันกระชาก (AC Surge Protector) จะส่งกระแสไฟผ่านตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน
  5. ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมการส่งกระแสไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆ ของบ้านที่ใช้ไฟฟ้ารวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ 

ระบบที่มีของโซลาร์รูฟท็อป

ระบบที่มีของโซลาร์รูฟท็อป

โดยทั่วไปแล้ว โซลาร์รูฟท็อปมีด้วยกันอยู่ 3 ระบบ ดังนี้

ระบบออนกริด (On-Grid System)

โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริด (On-Grid System) เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เหมาะกับอาคาร บ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าช่วงเวลากลางวันมากที่สุด โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดสามารถผลิตไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ โดยเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า หากมีไฟฟ้าเหลือจากการผลิตสามารถส่งขายให้กับภาครัฐได้ 

หลักการทำงานระบบออนกริด (On-Grid System)

หลักการทำงานของ โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริด มีดังนี้

  •  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะเริ่มทำงานทันทีเมื่อมีแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์
  • แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นส่งผ่านเครื่องแปลงไฟฟ้าเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
  • จากนั้นไฟฟ้ากระแสสลับจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  • เมื่อดวงอาทิตย์หรี่แสง และการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะไม่ใช้ไฟจากการไฟฟ้า และไฟที่ผลิตได้จะไม่ไหลย้อนกลับไปยังการไฟฟ้าเนื่องจากมีอุปกรณ์ป้องกันการไหลย้อนกลับของกระแสไฟ
  • หากมีเงาบังแสงอาทิตย์เครื่องอินเวอร์เตอร์จะประมวลผลการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก โซลาร์รูฟท็อปและการไฟฟ้ามาใช้ร่วมกันเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
  • ช่วงที่ไม่มีแสงในเวลากลางคืน  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะหยุดทำงานแล้วสลับกลับมาใช้ไฟฟ้าตามปกติ
  • ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์ โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออนกริดจะกลับมาทำงานอีกครั้ง โดยลดการใช้ไฟฟ้าปกติแล้วเริ่มใช้ไฟฟ้าที่ผลิตโดยโซลาร์รูฟท็อปอีกครั้ง

ระบบออฟกริด (Off-Grid System)

โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออฟกริด (Off-Grid System) เหมาะกับบ้านที่ยังไม่มีระบบไฟฟ้ารองรับ โดยเป็นระบบที่โซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยเก็บกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ในช่วงกลางวันอินเวอร์เตอร์จะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน พลังงานไฟฟ้าที่เหลือจะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้ในตอนกลางคืน อีกทั้งไม่มีการเชื่อมต่อกับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าโดยตรง  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออฟกริดจึงจำเป็นต้องมีแบตเตอรี่เพื่อใช้สำรองไฟฟ้าที่จะใช้ในตอนกลางคืน 

หลักการทำงานระบบออฟกริด (Off-Grid System)

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อประบบออฟกริด มีดังนี้

  •  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบออฟกริดจะเริ่มทำงานทันทีเมื่อมีแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์
  • แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรงจากนั้นส่งผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์เพื่อชาร์จแบตเตอรี่
  • ขณะเดียวกัน ระบบจะดึงไฟจากแบตเตอรี่เพื่อจ่ายไฟฟ้าเป็นกระแสสลับผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์เพื่อจ่ายกระแสไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  • ในช่วงกลางคืนระบบจะดึงไฟจากแบตเตอรี่ที่เก็บพลังงานในตอนกลางวันมาใช้งานผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์เพื่อจ่ายกระแสไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  • หากแบตเตอรี่หมดโซลาร์รูฟท็อประบบออฟกริดจะไม่สามารถผลิตไฟได้ ทำให้ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้

ระบบไฮบริด (Hybrid System)

โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบไฮบริด (Hybrid System) เป็นระบบที่บริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เหมาะกับอาคาร บ้านเรือนที่พบกับปัญหาไฟตกบ่อย เพราะมีระบบสำรองไฟฟ้าเพื่อใช้ในช่วงที่ไฟฟ้าดับ เมื่อแผงโซลาร์เซลล์ได้รับแสงจะทำการผลิตพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงแล้วส่งไปยังไฮบริดอินเวอร์เตอร์ ซึ่งจะทำการแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแล้วจ่ายไฟให้กับเครื่องใช้ภายในบ้าน ไฟฟ้าส่วนที่เหลือจะถูกนำไปเก็บที่แบตเตอรี่เพื่อสำรองไฟฟ้าไว้ใช้ 

หลักการทำงานระบบไฮบริด (Hybrid System)

หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อประบบไฮบริด มีดังนี้

  •  โซลาร์รูฟท็อปแบบระบบไฮบริดจะเริ่มทำงานทันทีเมื่อมีแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์
  • แผงโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้ากระแสตรงผ่านอินเวอร์เตอร์เพื่อทำการชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จนเต็ม
  • ขณะเดียวกัน อินเวอร์เตอร์ก็จะจ่ายไฟกระแสสลับ โดยส่งไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน
  • หากมีเงาบังแสงอาทิตย์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น อินเวอร์เตอร์จะทำการประมวลผลใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์รูฟท็อปและการไฟฟ้ามาใช้ร่วมกันเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
  • ช่วงเวลากลางคืนโซลาร์รูฟท็อปแบบระบบไฮบริดจะหยุดทำงานและสลับไปใช้ไฟฟ้าปกติจากการไฟฟ้าแทน
  • กรณีไฟดับ ระบบจะนำพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้จนหมด

โซลาร์รูฟท็อปเหมาะสำหรับใคร

โซลาร์รูฟท็อปเหมาะสำหรับใคร

ก่อนที่จะใช้โซลาร์รูฟท็อปจะต้องพิจารณาการใช้ไฟของสถานที่ก่อน เพราะแต่ละที่มีการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งการจะใช้โซลาร์รูฟท็อปให้คุ้มค่าจะต้องเป็นที่ที่ใช้ไฟฟ้ากันเป็นจำนวนมากในตอนกลางวัน อย่างที่พักอาศัย บ้านเรือนที่ทำเป็นโฮมออฟฟิศ ผู้อาศัยที่ทำงาน WFH หรือแม้กระทั่งโรงงานขนาดเล็ก ด้วยเหตุผลนี้เองจึงเป็นผู้ที่เหมาะกับการใช้โซลาร์รูฟท็อปเพราะสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่

ข้อดีของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป

ข้อดีของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป

การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปนั้นมีข้อดีหลายอย่าง ตั้งแต่การช่วยประหยัดไฟฟ้าไปจนถึงช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดังนี้

  1. ประหยัดค่าไฟได้มากขึ้นเพราะสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ 
  2. มีรายได้จากการนำไฟฟ้าส่วนที่เหลือขายให้กับหน่วยงานของรัฐ
  3. อุณหภูมิภายในสถานที่ที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปลดลง เพราะแผงโซลาร์เซลล์จะช่วยบังแสงแดดไม่ให้ส่องมายังหลังคาโดยตรง
  4. คืนทุนได้ในระยะเวลาภายใน 8 ปี
  5. ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมุ

ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปประหยัดแค่ไหน

ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปประหยัดแค่ไหน

หากต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด จะต้องดูจากพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก โดยพิจารณาช่วงเวลาการใช้ไฟฟ้าและปริมาณความต้องการใช้ไฟ จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบกัน หากใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันมากกว่า การคืนทุนย่อมเร็วและคุ้มกว่า ซึ่งการผลิตไฟฟ้าใช้เองได้สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้ 3.80 บาทต่อหน่วย และถ้าเหลือไฟฟ้าจากการใช้งานสามารถขายกับภาครัฐได้ในอัตราไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วย

สรุป

 โซลาร์รูฟท็อป คือ ระบบที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือน อาคารต่างๆ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม โดยโซลาร์รูฟท็อป ได้แก่ ระบบออนกริดที่เหมาะกับผู้ที่ใช้ไฟในตอนกลางวันในปริมาณมาก ระบบออฟกริดที่เหมาะกับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง และระบบไฮบริดซึ่งเหมาะกับผู้ที่พบเจอปัญหาไฟตกบ่อย เรียกได้ว่าโซลาร์รูฟท็อปถือเป็นการใช้พลังงานทางเลือกที่ช่วยลดโลกร้อนและประหยัดค่าไฟได้

หากสนใจต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป สามารถใช้บริการจาก Sorarus ได้ ทีมงานและวิศวกรจาก Sorarus มีประสบการณ์ในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมาแล้วกว่า 1,000 ไซต์งาน ครอบคลุมตั้งแต่บ้านไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่ พร้อมให้คำปรึกษาด้านประหยัดพลังงานกับทุกธุรกิจและองค์กร 

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด