Sorarus - Nov 1 (เปิดแอร์ประหยัด ไฟ)-01-cover

รวม 9 เทคนิค เปิดแอร์ให้ประหยัดไฟ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แอร์กลายเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยกับค่าใช้จ่ายที่สูงด้วยเช่นกัน ใครที่กำลังมองหาวิธีเปิดแอร์ประหยัดไฟ ในบทความนี้ได้รวบรวม 9 เทคนิคมาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดีต่อทั้งเงินในกระเป๋าและส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม 

ประเภทของแอร์ และการเลือกให้เหมาะกับห้อง

ประเภทของแอร์ และการเลือกให้เหมาะกับห้อง

สิ่งแรกที่ทุกคนควรรู้จักกันก่อนเลยคือ ประเภทของแอร์ เพราะแอร์มีหลากหลายประเภท และที่สำคัญแต่ละประเภทจะมีความเหมาะสมกับขนาดห้องที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกประเภทของแอร์ได้อย่างเหมาะสม และตอบโจทย์ต่อการใช้ชีวิต ไปรู้จักกับประเภทของแอร์กันได้เลย ดังนี้ 

แอร์ติดผนัง

แอร์ประเภทนี้มักพบเห็นได้บ่อยตามบ้าน และคอนโด เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัด และดูสวยงามเหมาะกับสถานที่ที่มีขนาดจำกัด ด้านฟังก์ชันการใช้งานมีความหลากหลายตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น โหมดประหยัดไฟที่ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ หรือจะเป็นโหมดกรองฝุ่นที่ในบางรุ่นสามารถที่จะจัดการกับฝุ่น PM 2.5 ได้ ทำให้ผู้ใช้งานวางใจได้ว่าอากาศที่หายใจเข้าไปนั้นสะอาดบริสุทธิ์ 

แอร์แขวนเพดาน

แอร์แขวนเพดานเป็นอีกหนึ่งประเภทที่มีกระแสนิยม และผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากช่วยทำให้ห้องดูเรียบร้อย และหรูหรามากขึ้น แต่การติดตั้งแอร์ประเภทนี้จะเหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่อย่างห้องประชุม หรืออาคารสำนักงาน เพราะแอร์แขวนเพดานจะกระจายความเย็นได้ดี รวมถึงใช้ระยะเวลาน้อยกว่าแอร์ประเภทอื่นๆ 

แอร์ตั้งพื้น

แอร์ตั้งพื้นเป็นแอร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากเป็นแอร์เพียงประเภทเดียวที่ต้องใช้พื้นที่ในห้อง สำหรับการวางตั้งเพื่อกระจายความเย็น ในส่วนนี้ทำให้แอร์ประเภทนี้ทำความสะอาดได้ง่าย และเหมาะกับการเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ต้องการความเย็นเป็นพิเศษ 

อย่างไรก็ดีทำให้แอร์ตั้งพื้นไม่เป็นที่นิยมเท่ากับแอร์ประเภทอื่น เพราะแอร์ตั้งพื้นต้องใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของห้องในการจัดวาง แอร์ประเภทนี้เหมาะกับห้องที่มีความสูงจากพื้นถึงเพดานที่พอดี ไม่สูงมาก หรือเป็นห้องขนาดกว้าง เนื่องจากเครื่องปรับอากาศที่ไม่สามารถกระจายความเย็นได้เร็ว และแรงเท่ากับประเภทอื่นๆ นั่นเอง 

แอร์ฝังฝ้าเพดาน

หนึ่งในเทรนด์แอร์ที่กำลังโด่งดัง และเป็นที่สนใจของผู้คนในตอนนี้ คงหนีไม่พ้นกับแอร์ฝังฝ้าเพดาน ด้วยลักษณะการติดตั้งที่ช่วยทำให้ห้องดูเป็นระเบียบ ไม่รกสายตา อีกทั้งยังกระจายความเย็นได้เร็ว และทั่วถึง ทำให้แอร์ประเภทนี้เหมาะกับห้องที่มีพื้นที่กว้าง และเพดานสูง แต่จุดสังเกตที่คุณควรทราบคือ แอร์ฝังฝ้าเพดานนี้มีราคาเครื่องต่อ BPU สูง และมีค่าใช้จ่ายสำหรับการบำรุงรักษาที่แพงมากกว่าแอร์ทั่วไป

9 วิธี เปิดแอร์ให้ประหยัดไฟ ประหยัดเงิน และดีต่อโลก

9 วิธี เปิดแอร์ให้ประหยัดไฟ ประหยัดเงิน และดีต่อโลก

ในตอนนี้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับแอร์แต่ละประเภทไปเป็นที่เรียบร้อย หากเลือกใช้แอร์ที่เหมาะสมกับขนาดห้อง และตอบโจทย์ต่อลักษณะการใช้งาน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไปได้ ยิ่งถ้ารู้วิธีในการเปิดแอร์ให้ประหยัดค่าไฟที่เป็นเทคนิคในการใช้แอร์ให้เต็มประสิทธิภาพด้วยแล้ว จะทำให้คุณได้ประหยัดเงิน และดีต่อสภาพแวดล้อมไปในเวลาเดียวกัน ในเนื้อหาส่วนนี้จะมีเทคนิคเปิดแอร์อย่างไรให้ประหยัดค่าไฟบ้างนั้น ไปติดตามกันได้เลย 

ล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอ

1. ล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอ

การล้างแอร์เป็นการบำรุงเครื่องปรับอากาศให้ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือการล้างแอร์ยังช่วยประหยัดค่าไฟได้ด้วย เพราะตลอดการใช้งานที่คุณเปิดแอร์จะมีฝุ่น และสิ่งสกปรกเข้าไปในเครื่องปรับอากาศ เมื่อมีการสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้แอร์ทำงานหนัก กินไฟ และทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายได้แบบที่คุณไม่รู้ตัว 

การล้างแอร์จึงมีความสำคัญอย่างมาก และเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ผู้ใช้งานควรทำ โดยกำหนดการล้างแอร์ และเปลี่ยนไส้กรองควรเป็นทุกๆ 6 เดือน เพื่อไม่ให้มีฝุ่น หรือสิ่งสกปรกอัดแน่นในไส้กรอง และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแอร์ให้ทำได้อย่างเต็มที่ ยิ่งไส้กรองสะอาดจะยิ่งเพิ่มการใช้พลังงานของแอร์ได้มากถึง 15 เปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว 

ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสม

2. ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสม

โดยปกติแล้วหลายคนจะคุ้นเคยกับการตั้งอุณหภูมิแอร์ให้อยู่ที่ 25 องศา เพราะหลายสื่อเคยบอกว่านี่เป็นอุณหภูมิที่ประหยัด และให้ความเย็นสบาย แต่อันที่จริงแล้วอุณหภูมิที่ช่วยในการประหยัดไฟจากการเปิดแอร์คือ 26-27 องศา โดยอุณหภูมิในช่วงนี้จะลดการทำงานของแอร์ และประหยัดค่าไฟได้อย่างเห็นผล แนะนำเทคนิคเพิ่มเติมคือ คุณควรตั้งเวลาปิดแอร์ก่อนเวลาตื่นนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อลดการใช้งานของแอร์ โดยที่ห้องยังสามารถเย็นได้ต่อเนื่องจนคุณตื่นนั้นเอง 

เลี่ยงการใช้แอร์ในห้องเปิด

 

3. เลี่ยงการใช้แอร์ในห้องเปิด

หากต้องการให้แอร์ทำงานได้เต็มที่ และไม่สิ้นเปลืองค่าไฟควรใช้แอร์ในพื้นที่ปิด ไม่ควรเปิดแอร์ในพื้นที่โล่ง โถงห้องขนาดใหญ่ หรือพื้นที่ที่มีบันได เนื่องจากแอร์จะต้องทำงานหนัก และเย็นได้ช้า หากต้องการใช้งานในพื้นที่ดังกล่าวจริงๆ ควรหาฉากกั้นมาปิด เพื่อให้แอร์สามารถกระจายความเย็นได้เร็ว และลดการใช้พลังงานจากแอร์ด้วย 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ พยายามลดความร้อนในพื้นที่ก่อนเปิดแอร์ หากเปิดหน้าม่านอยู่ ควรปิดผ้าม่านเพื่อลดความร้อนที่จะเข้ามาในพื้นที่ เพื่อให้แอร์ทำงานน้อยมากที่สุด และคุณจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของค่าไฟที่ลดลงได้อย่างชัดเจน 

ใช้พัดลมคู่กับแอร์

4. ใช้พัดลมคู่กับแอร์

หนึ่งในเทคนิคที่หลายคนไม่รู้คือการเปิดพัดลมควบคู่กับการเปิดแอร์ ช่วยประหยัดไฟไปได้มากแบบที่คุณจะคาดไม่ถึง ขั้นตอนในการทำก็แสนง่าย เพียงแค่เปิดพัดลมก่อนเปิดแอร์ เพื่อลดความร้อนในห้องลงมาในเบื้องต้น เมื่อคุณเปิดแอร์ เครื่องปรับอากาศจะทำงานได้เต็มที่ และไม่หนักเกินไป ลดการกินไฟของแอร์ไปได้อย่างมาก ยิ่งถ้าคุณใช้วิธีก่อนหน้าโดยเปิดแอร์ไปที่ 26 องศา และเปิดควบคู่กับพัดลม ก็จะช่วยทำให้ห้องกระจายความเย็นได้เร็ว และทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

เลี่ยงการนำของร้อนเข้าห้องแอร์

5. เลี่ยงการนำของร้อนเข้าห้องแอร์

แน่นอนว่าการนำของร้อนเข้าห้องแอร์ จะทำให้แอร์ต้องทำงานหนักกว่าปกติ เนื่องจากต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการทำให้อุณหภูมิลดลง นอกจากของร้อนแล้ว ไอเทมที่มีความชื้นอย่างต้นไม้ ภาชนะใส่ของเหลว หรือเสื้อผ้าที่เปียกก็เป็นสิ่งเร้าที่ทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้นเช่นเดียวกัน 

หลักการทำงานของแอร์คือ การใช้พลังงาน 30 เปอร์เซ็นต์ในการลดอุณหภูมิของห้อง และอีก 70 เปอร์เซ็นต์จัดการกับความชื้นในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นของร้อน หรือของที่มีความชื้นควรหลีกเลี่ยงในการนำเข้าห้องที่ต้องการเปิดแอร์จะเป็นการดีที่สุด 

เลือกแอร์ที่มีขนาดเหมาะสม

6. เลือกแอร์ที่มีขนาดเหมาะสม

ตามเนื้อหาที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าแอร์มีหลายประเภท ผู้ใช้งานควรเลือกแอร์ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง และตอบโจทย์กับการใช้งานมากที่สุด เพราะการเลือกแอร์ที่มีขนาดเล็ก ไม่สมดุลกับขนาดห้อง จะทำให้แอร์ต้องทำงานหนักเป็นพิเศษเพื่อให้ทั่วทั้งห้องเกิดความเย็น เช่นเดียวกันกับการเลือกแอร์ที่มีขนาดใหญ่เกิดพื้นที่ นี่ก็จะเป็นการใช้พลังงานเกินความจำเป็น ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจากการเปิดแอร์สูงกว่าปกติได้อีกด้วย

ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้

7. ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้

พื้นฐานของการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดคือ เมื่อไม่ใช้งานแล้ว ให้คุณปิดเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยไปได้ เช่นเดียวกับการเปิดแอร์  ที่หากไม่ต้องการใช้งานก็ควรจะปิดแอร์เพื่อประหยัดค่าไฟ หรือใครที่ชอบเปิดแอร์เพราะความเคยชิน เมื่อกลับบ้านแล้วเปิดแอร์เป็นอันดับแรกทั้งๆ ที่อุณหภูมิของห้องไม่ได้ร้อนมากนัก ก็ควรเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นการเปิดพัดลมแทนก่อนในช่วงแรก เพื่อไล่อากาศร้อนออกไปเสียก่อน จะได้ช่วยลดการทำงานของแอร์เสียก่อน 

หากมีสมาชิกในครอบครัวที่ต้องการเปิดแอร์ ควรจะเลือกนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน และเปิดแอร์ เพื่อลดค่าใช้จ่าย นี่ก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีในการควบคุมค่าใช้จ่ายจากการเปิดแอร์ได้อย่างเห็นผล

ใช้เทอร์โมสตัท (Thermostat) เพื่อประหยัดไฟ

8. ใช้เทอร์โมสตัท (Thermostat) เพื่อประหยัดไฟ

เทอร์โมสตัท คือ อุปกรณ์สำหรับควบคุมอุณหภูมิ นี่เป็นหนึ่งในตัวช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าไฟจากการเปิดแอร์ได้เป็นอย่างดี เทอร์โมสตัทนี้จะคอยสังเกต และวัดอุณหภูมิเพื่อให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานเกินความจำเป็นอีกต่อไป เพราะทันทีที่เครื่องปรับอากาศทำงานไปจนถึงอุณหภูมิที่ตั้งค่าไว้ในระบบของเทอร์โมสตัท สิ่งนี้จะตัดกำลังไฟของแอร์ลง ลดพลังงานของแอร์ให้คุณประหยัดค่าไฟไปได้อีก 

ตั้งเวลาเปิด-ปิดแอร์

 

9. ตั้งเวลาเปิด-ปิดแอร์

เทคนิคสุดท้ายที่จะฝากทุกคนไว้คือ การตั้งเวลาในการเปิด-ปิดแอร์ คุณควรที่จะตั้งเวลาในการใช้งานไว้ เพื่อลดการเปิดที่ไม่จำเป็น และเป็นการสร้างนิสัยที่ดีในการใช้แอร์ อีกทั้งยังช่วยในการเผลอลืมปิดจากการนอนหลับลึกอีกด้วย คำแนะนำสำหรับการตั้งเวลาในการปิด คุณควรตั้งเวลาปิดก่อนเวลาตื่นจริง 1 ชั่วโมง เพื่อให้ความเย็นที่หลงเหลือมอบความเย็นต่อก่อนช่วงเวลาที่คุณจะตื่น และประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนค่าไฟได้เพิ่มเติม 

สรุป

ปัจจุบันแอร์เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แทบจะมีในทุกครัวเรือน และอาคารกันเลยก็ว่าได้ แน่นอนว่าแอร์เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น แต่ผลกระทบที่ตามมาคือปัญหาค่าใช้จ่ายจากค่าใช้ไฟฟ้า และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทุกๆ การใช้งานแอร์จะปล่อย CO2 ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนอย่างในทุกวันนี้ 

การเลิกเปิดแอร์คงเป็นไปได้ยาก แต่ทุกคนสามารถที่จะใช้แอร์ได้อย่างถูกวิธีทั้งในแง่ของการช่วยโลกให้ยังคงอยู่กับมนุษย์ได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น และลดค่าไฟจากการเปิดแอร์ได้ด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่จะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญการติดตั้งโซลาร์เซลล์คุณภาพอย่าง Sorarus ที่สามารถติดตั้งให้ได้ทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน พร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือตลอดการใช้งาน ปลอดภัย ประหยัดค่าไฟได้ในระยะยาว ให้คุณลดค่าใช้จ่าย และรักษ์โลกไปด้วยกัน

Cover-oct1

ทำความรู้จัก พลังงานแสงอาทิตย์ กับข้อดีและข้อเสียที่คุณไม่เคยรู้

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานที่มีข้อดีมากมาย และถือได้ว่าเป็นพลังงานที่ยั่งยืนต่ออนาคตของโลกเรา การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไม่เพียงแต่ช่วยลดการใช้พลังงานจากแหล่งที่มีมลภาวะ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผลกระทบที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในหลายด้านด้วย ในบทความนี้เราจะพูดถึง พลังงานแสงอาทิตย์ มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ทำไมคุณควรสนับสนุนและใช้ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้

พลังงานแสงอาทิตย์ คืออะไร

พลังงานแสงอาทิตย์ คืออะไร

พลังงานแสงอาทิตย์คือพลังงานที่เกิดขึ้นจากแสงแดดที่มาจากดวงอาทิตย์ และใช้ในการสร้างไฟฟ้าหรือความร้อน พลังงานแสงอาทิตย์ถูกค้นพบครั้งแรกจากการสังเกตแสง พบว่าพลังงานนี้สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้โดยปรากฏการณ์ที่เรียกว่าโฟโตโวลตาอิก (photovoltaic effect) การทดลองแรกที่แสดงปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1839 โดยนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อ A.E. Becquerel ที่ใช้แผ่นเหล็กไฮดรอกไซด์และแผ่นเหล็กในน้ำเป็นตัวตั้งกระแสไฟฟ้า และใช้แสงอาทิตย์เพิ่มกระแสไฟฟ้าของระบบ

 

พลังงานแสงอาทิตย์ อาจจะมีข้อเสีย แต่ข้อดี ที่สำคัญคือ เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดและยั่งยืนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการปล่อยมลภาวะ และมีศักยภาพในการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความเป็นอิสระในการผลิตพลังงานในหลายส่วนของโลก การพัฒนาและการนวัตกรรมในเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ยังยั่งยืนต่ออนาคตที่ยั่งยืนของการผลิตพลังงานในโลกของเราด้วยความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายและเสริมความมั่นคงของระบบพลังงานทั่วโลกอีกด้วย

พลังงานแสงอาทิตย์ ทำงานอย่างไร

พลังงานแสงอาทิตย์ ทำงานอย่างไร

พลังงานแสงอาทิตย์ มีข้อดี ข้อเสีย มากมาย หนึ่งในนั้นคือเรื่องของทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดที่สามารถใช้แทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ในหลายทาง เช่น การผลิตความร้อน ปฏิกิริยาทางเคมี และการสร้างกระแสไฟฟ้า เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์สามารถปรับใช้ได้อย่างยืดหยุ่นตามขนาดและช่วยให้เกิดพลังงานที่เก็บสะสมไว้สำหรับการใช้งานในภายหลังได้เร็วขึ้น

ปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่มาถึงโลกในแต่ละวันนั้นมากกว่าความต้องการพลังงานในปัจจุบันและในอนาคตที่คาดหวัง คำถามคือว่าเราจะควบคุมศักยภาพนี้อย่างไร และเพื่อให้เข้าใจกับสิ่งนี้ เราจึงต้องศึกษาวิธีการทำงานของพลังงานแสงอาทิตย์อย่างละเอียดและชัดเจน

มนุษย์จึงได้ผลิตอุปกรณ์ที่ทำงานกับพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการใช้ความร้อนจากแสงแดด เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยความร้อน กระบวนการนี้เกิดขึ้นด้วยตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้น เราเรียกอุปกรณ์นี้เรียกว่า “โซลาร์เซลล์” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแปลงแสงแดดเป็นพลังงานที่ใช้งานได้

พลังงานแสงอาทิตย์ มีกี่ประเภท

พลังงานแสงอาทิตย์ มีกี่ประเภท

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นวิธีที่ยั่งยืนและเพื่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่มีการปล่อยก๊าซเสียหายต่อชั้นบรรยากาศ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตพลังงานในระยะยาว ซึ่งการพัฒนาและการสร้างนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ยังเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในส่วนของการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์และการนำเสนอแบบใหม่ในการใช้งานในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักตาม ประโยชน์ของ การใข้ พลังงานแสงอาทิตย์ ดังนี้

พลังงานที่เกิดจากแสง

พลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบพลังงานแสงมีลักษณะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ตามรูปแบบของการใช้และประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับวิธีการจับพลังงานแสงและการแปลงเป็นพลังงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

  1. พลังงานแสงอาทิตย์แบบแอคทีพโซลาร์: รูปแบบพลังงานนี้คือการใช้โฟโตโวลตาอิคส์หรือ solar thermal เพื่อจับและแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือความร้อนโดยตรง โดยใช้ตัวแปรอุณหภูมิเพื่อผลิตพลังงานหรือเก็บพลังงานในระหว่างวันเพื่อใช้งานในช่วงกลางคืนหรือในสถานการณ์ที่จำเป็น
  2. พลังงานแสงอาทิตย์แบบพาสีฟ: รูปแบบพลังงานนี้ ใช้ในงานอาคารที่ต้องการกำลังไฟจำนวนมาก กระจายความร้อนในประเทศเมืองหนาว ทำให้รูปแบบนี้มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพสูงในการรับแสงแดดโดยตรง โดยวัสดุที่ใช้จะสามารถสะสมความร้อน (thermal mass) เพื่อควบคุมอุณหภูมิในอาคาร หรือใช้วัสดุที่กระจายแสงอาทิตย์เพื่อลดความร้อนภายในอาคาร นอกจากนี้ยังรวมถึงการออกแบบพื้นที่ว่างให้การหมุนเวียนอากาศโดยธรรมชาติเพื่อลดการใช้พลังงานเพิ่มเติมในการควบคุมอากาศในอาคาร

พลังงานที่เกิดจากความร้อน

พลังงานที่เกิดจากความร้อนคือพลังงานที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในบ้าน หรือครัวเรือนทั่วไป พลังงานในกลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นพลังงานที่เกิดจากธรรมชาติได้ทั่วไป โดยวิธีการทำให้เกิดความร้อนไม่ได้มาจากแค่การใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์เท่านั้น แต่สามารถให้ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีได้ ยกตัวอย่างเช่น พลังงานน้ำ พลังงานลมจากกังหันลม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นข้อดีของ การใช้ พลังงานแสงอาทิตย์ แทนพลังงานไฟฟ้าประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์

ประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ 

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาของโลกเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แต่ก็มีทั้งข้อดี ข้อเสียมากมาย แต่พลังงานแสงอาทิตย์ก็ยังคงได้รับความสนใจมากขึ้น ในภายหลังจากการตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อสภาพแวดล้อมและความจำเป็นในการลดปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เรามาทำความเข้าใจกันเพิ่มเติมว่าพลังงานแสงอาทิตย์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ผลิตกระแสไฟฟ้า

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความสนใจในการตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของโลกในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งมีทั้งข้อดี ข้อเสียของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ก็ถือได้ว่ามีประโยชน์อย่างมากทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ หนึ่งในวิธีการที่ได้รับความสนใจมมากที่สุดคือการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อน ซึ่งมีประโยชน์ในหลายมิติดังนี้

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อสภาพแวดล้อมในรูปของก๊าซเรือนกระจก การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเรื่องสำคัญในการทำให้สภาพภูมิอากาศมีความเสียหายน้อยลง และลดโอกาสเกิดปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่อโลกและมนุษย์ และนี่คือ ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
  • ลดค่าใช้จ่ายในพลังงาน: การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานที่ต่ำกว่าพลังงานจากแหล่งพลังงานที่ไม่ใช่มิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อติดตั้งระบบแสงอาทิตย์แล้ว ค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าเท่ากับศูนย์ และมีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนาน สิ่งนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในพลังงานสำหรับบริษัทหรือผู้บริโภค
  • ลดพลังงานที่นำเข้า: การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยลดอัตราการนำเข้าพลังงานจากแหล่งนำเข้าต่างประเทศ ที่อาจมีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เช่น ราคาน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ ที่เป็นส่วนเพิ่มค่าใช้ง่ายต่อพลังงานทั้งสิ้น
  • สร้างงานและส่งเสริมเศรษฐกิจ: การพัฒนาและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยสร้างงานให้กลับกลายมาเป็นสาขาอาชีพที่มีความเกี่ยวข้อง และยังส่งเสริมเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นและชาติ อาจถือได้ว่าเป็นโอกาสในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานที่มีความยั่งยืน

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้ามีประโยชน์มากมาย ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเสริมสร้างความมั่นคงและลดความขึ้นอยู่กับพลังงานที่นำเข้า ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนทั้งสำหรับโลกและสังคมของเราในระยะยาว

ผลิตความร้อน

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตความร้อนเป็นหนึ่งในวิธีที่ยอดเยี่ยมในการลดการใช้พลังงานจากแหล่งที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดค่าใช้จ่ายในการทำความร้อนสำหรับอุปกรณ์และสถานที่ต่างๆ ซึ่งข้อดีของ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มีประโยชน์มากมายทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ การผลิตความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

  • ลดการใช้พลังงานไม่ยั่งยืน: การผลิตความร้อนจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ต้องพึ่งพาพลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงสิ่งที่เป็นทรัพยากรจำกัดและมีผลกระทบต่ออุปกรณ์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม การลดการใช้พลังงานไม่ยั่งยืนนี้ ช่วยลดการเกิดมลภาวะทางอากาศ และยังเป็นประโยชน์สิ่งแวดล้อม
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย: การลงทุนในระบบพลังงานแสงอาทิตย์สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตความร้อนในระยะยาว ระบบพลังงานแสงอาทิตย์มักมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นสูง แต่หลังจากติดตั้งและใช้งานเป็นประจำ จะช่วยประหยัดเงินในการจ่ายค่าพลังงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเพราะระบบพลังงานแสงอาทิตย์มักมีอุปกรณ์ที่คงทนและไม่ต้องการการบำรุงรักษาเป็นประจำอย่าง Sorarus เองก็คือหนึ่งในแบรนด์ที่มีบริการติดตั้งอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานความร้อนที่ได้คุณภาพสูง จนคุณสามารถผลิตและใช้งานน้ำร้อนได้ด้วยตัวเองเลย และที่สำคัญยังมีช่างผู้ชำนาญคอยดูแลให้คุณ

ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์

ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์ 

พลังงานแสงอาทิตย์ คือ แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นจากแสงและความร้อนของแสงอาทิตย์ที่มีทั้งประโยชน์และความสำคัญมากในชีวิตประจำวันของเรา ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์ มีหลายส่วนที่คุณควรรู้

  • พลังงานที่สะอาดและยั่งยืน: พลังงานแสงอาทิตย์เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพลังงานที่สะอาดและไม่ส่งผลต่อมลพิษในบรรยากาศ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไม่ต้องใช้พลังงานจากแหล่งน้ำมันหรือถ่านหิน ซึ่งมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์และเป็นพลังที่ไม่ยั่งยืน การลดการใช้พลังงานไม่ยั่งยืนนี้เองก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวิธีในการรักษาโลกของเรา
  • ลดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงาน: การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าและความร้อน โดยเฉพาะในระยะยาว หากมีระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของบ้านหรืออาคาร คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจ่ายบิลไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบพลังงานแสงอาทิตย์เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่คงทนและไม่ต้องการการบำรุงรักษาเป็นประจำ
  • ความเสถียรและความยืดหยุ่น: การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ช่วยเพิ่มความเสถียรในการจัดหาพลังงาน โดยเฉพาะในสถานที่ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน โดยเราสามารถเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบกักเก็บพลังงานใช้ในช่วงเวลาคืนหรือวันที่มีต้องการแดด

ข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์

ข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์ 

พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นแหล่งพลังงานที่มีหลายข้อดี แต่ก็ยังมีข้อเสียบางอย่างที่คุณควรรู้ และข้อเสียบางอย่างส่งผลต่อการใช้งานของคุณ ซึ่งคุณควรทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ไว้และเรียบเทียบระหว่าง ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์ ก่อนเลือกนำมาใช้งาน ซึ่งข้อเสียของพลังงานแสงอาทิตย์มีดังนี้

  • การผลิตกระแสไฟขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ: การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นอยู่กับแสงแดด ซึ่งหมายความว่าการใช้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงเวลาที่มีแสงแดดมาก เช่นในวันที่มีอากาศแจ่มใส มีเมฆครอบคลุมหรือการใช้งานในกลางคืนอาจทำให้ประสิทธิภาพลดลง ซึ่งอาจมีผลให้ไม่มีการผลิตพลังงานในบางช่วงเวลา
  • ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง: ระบบพลังงานแสงอาทิตย์มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่สูง ซึ่งรวมถึงการซื้อและติดตั้งโครงสร้างการส่งน้ำไปยังถังเก็บพลังงาน และระบบเชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้า ข้อนี้อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายในระยะยาวที่สูงกว่าการใช้พลังงานแบบเดิม
  • พื้นที่ที่จำเป็น: ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ต้องใช้พื้นที่สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์หรือแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ในบางกรณี การใช้พื้นที่นี้อาจเป็นปัญหาในพื้นที่ที่มีพื้นที่จำกัดหรือที่ต้องใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

พลังงานแสงอาทิตย์ กับ โซลาร์เซลล์

พลังงานแสงอาทิตย์ กับ โซลาร์เซลล์

ระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Photovoltaic System) เป็นระบบที่ใช้โซลาร์เซลล์ (solar cells) เพื่อแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ โซลาร์เซลล์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดูดอิเล็กตรอนจากแสงอาทิตย์และแปลงมันเป็นกระแสไฟฟ้า ระบบโซลาร์เซลล์ประกอบด้วยอุปกรณ์และส่วนประกอบหลายชนิดที่ทำงานร่วมกันเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบนี้มีลักษณะการทำงานแบบเชื่อมต่อกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของไฟฟ้าที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง ประโยชน์ของโซลาร์เซลล์ สำหรับคนที่ติดตั้งไว้ในบ้านจะเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้ามากเกินจำเป็น นอกจากนี้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับโซลาร์เซลล์ ยังคงต้องคำนึงถึงเรื่องของการติดตั้งเป็นสำคัญอีกด้วย Sorarus คือหนึ่งในตัวเลือกที่หลายคนมองหา เพราะเรามีบริการติดตั้งโดยช่างผู้ชำนาญการมืออาชีพ ที่จะทำให้บ้านของคุณปลอดภัย และมีไฟฟ้าใช้ในตอนกลางคืน

สรุป

พลังงานจากแสงอาทิตย์ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ให้ได้พิจารณา แต่ก็ถือได้ว่าเป็นพลังงานสะอาด ที่มีความบริสุทธิ์สูง ซึ่งเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน ส่วนสำคัญของการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์คือแผงโซลาร์เซลล์ อุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งเท่านั้น การใช้กระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยให้คุณลดค่าใช้จ่าย และช่วยรักษาให้สิ่งแวดล้อมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด