Sorarus-Nov4-banner

โซลาร์เซลล์ On Grid กับ Off Grid ต่างกันอย่างไร เหมาะกับที่ไหนบ้าง

โซลาร์เซลล์มีระบบที่แตกต่างกันคือ On Grid กับ Off Grid ซึ่งออกแบบมาให้ใช้งานกับสถานที่ที่ต่างกัน จึงควรเลือกรูปแบบการใช้ให้ถูกต้อง โดยแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ระบบเป็นอย่างไร ดูกันต่อได้ในบทความนี้ เพื่อให้การใช้โซลาร์เซลล์ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

ระบบโซลาร์เซลล์แบบ On Grid

ระบบโซลาร์เซลล์แบบ On Grid

มาเริ่มต้นกันก่อนที่ ระบบโซล่าเซลล์ On Grid เป็นการใช้งานระบบผสมผสาน ที่ยังคงมีการดึงพลังงานไฟฟ้าจากทางโรงไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาใช้งานร่วมกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของระบบโซลาร์เซลล์ที่ได้ผลิตไว้ และแน่นอนว่ามิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านยังคงวิ่งอยู่ แต่จะมีการใช้พลังงานไฟฟ้าตรงจากการไฟฟ้าที่น้อยลงมาก เป็นระบบที่ได้ยินชื่อเรียกกันบ่อยๆ ว่าเป็น การใช้พลังงานผ่านหม้อแปลงไฟ ที่จะแปลงให้ไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อการใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์มากที่สุด รวมถึงเหมาะสมที่สุดในแต่ละช่วงเวลานั่นเอง

อุปกรณ์ในการติดตั้งระบบ

อุปกรณ์สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ On Grid จะมีหลักๆ ทั้งหมด ดังนี้

  •  แผงโซลาร์เซลล์
  • Grid Tie Inverter (อินเวอเตอร์สำหรับการเชื่อมสายส่ง)
  • คอนโทรลเบรกเกอร์ สำหรับทำงานในการแปลงสลับกระแสไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (DC, AC Surge)
  • สายไฟ DC ข้อต่อสาย MC4
  • อุปกรณ์การเดินสายไฟฟ้า
  • อุปกรณ์สำหรับการประกอบวัสดุในการยึดแผงโซลาร์เซลล์และโครงสร้างอุปกรณ์ต่างๆ 

การทำงานของระบบโซลาร์เซลล์ On Grid

การทำงานของระบบการจ่ายไฟจากโซล่าเซลล์แบบ On Grid จะมีการทำงานเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์พร้อมกับพลังงานจากไฟฟ้าที่รับตรงจากกระแสไฟบ้านที่นับจากมิเตอร์เท่านั้น ซึ่งระบบแบบ On grid จะดึงพลังงานโซลาร์เซลล์มาใช้งานก่อนจนกว่าพลังงานที่ดึงมาจากระบบโซลาร์เซลล์หรือพลังงานแสงอาทิตย์จะเริ่มไม่เพียงพอ จากนั้น ระบบจึงจะสลับไปดึงกระแสไฟบ้านมาใช้แทน ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์แบบ On grid จะใช้งานได้ดีมากช่วงกลางวัน แต่จะเริ่มถูกอินเวอร์เตอร์ปิดการใช้งานเมื่อเริ่มมีสภาพอากาศแบบเมฆมากหรือตอนเริ่มเป็นช่วงเวลาค่ำ กระแสไฟบ้านจะเปิดและถูกนำมาใช้งานโดยอัตโนมัติ

 

ข้อดีของระบบโซลาร์เซลล์ On Grid

 

ข้อดีของระบบโซลาร์เซลล์ On Grid

สำหรับข้อดีของการเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ On Grid สามารถยกตัวอย่างข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้ ดังนี้

  • มีแหล่งพลังงาน 2 ทาง ซึ่งมาจากการใช้งานของพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์และการดึงพลังงานไฟบ้านมาใช้ เมื่อพลังงานโซลาร์เซลล์ขาดหายไป ทำให้ไม่มีการดับของไฟฟ้าระหว่างวันอย่างแน่นอน
  • ประหยัดค่าไฟบ้านได้มากขึ้น เพราะระบบ On grid จะดึงพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์มาใช้เป็นหลักก่อน และยังสามารถทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าได้ เพื่อขายไฟคืนเมื่อระบบมีการดึงไฟมาใช้เกินความต้องการภายในบ้าน
  • ค่าซ่อมบำรุงหรือค่าดูแลรักษาน้อยมาก
  • ไม่ต้องสำรองแบตเตอรี่เป็นพลังงานเพิ่มเติม
  • ไม่ต้องสลับระบบไฟฟ้าก็สามารถใช้งานอุปกรณ์ได้ทุกอย่าง

ข้อเสียของระบบโซลาร์เซลล์ On Grid

ข้อเสียในการเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ On Grid สามารถยกตัวอย่างข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมได้ มีดังนี้

  • กรณีที่เกิดเหตุการณ์ไฟดับ ระบบการจ่ายไฟฟ้าด้วยแผงโซลาร์เซลล์ก็จะหยุดการทำงานลงด้วย เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าช็อตหรือเกิดความเสียหายอื่นๆ ต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าที่ต้องมาซ่อมแซม เพราะยังคงเป็นระบบที่ต้องพึ่งพาทั้งโซลาร์เซลล์และไฟฟ้าจากการไฟฟ้าโดยตรงอยู่พร้อมกัน
  • การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าจะเป็นไปตามมาตรฐานของหน่วยงานการไฟฟ้า
  • ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้ง และต้องรู้ถึงปริมาณที่จะใช้รับพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานโดยขั้นต่ำต่อวันให้ได้อย่างเพียงพอ

ระบบโซลาร์เซลล์ On Grid เหมาะกับสถานที่ใด

สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ On Grid จะเหมาะกับสถานที่ที่ต้องมีการเน้นใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมากในช่วงเช้า ช่วงกลางวันเป็นหลัก เช่น หน่วยงานต่างๆ ทั้งที่เป็นสำนักงานหรือออฟฟิศทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศขนาดเล็กหรือสำนักงานขนาดใหญ่ เพราะต้องมีการใช้เครื่องปรับอากาศจำนวนมาก รวมถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าถึงเย็น จึงเหมาะกับการเลือกติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบ On grid อย่างมาก หรือจะเป็นบ้านที่มีผู้อยู่อาศัยช่วงพักผ่อนหรือต้องการใช้งานในตอนกลางวันมากที่สุดก็เช่นกัน และสถาบันอื่นๆ ที่ให้บริการช่วงเช้า – กลางวัน เช่น วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย และอื่นๆ อีกมากมาย เป็นต้น ไม่เหมาะกับช่วงค่ำขึ้นไป เพราะระบบ On Grid ไม่มีการจัดเก็บพลังงานสำรองในแบตเตอรี่ 

 

ระบบโซลาร์เซลล์แบบ Off Grid

ระบบโซลาร์เซลล์แบบ Off Grid

ระบบโซล่าเซลล์ แบบ Off Grid จะเป็นระบบที่มีการรับพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า แล้วดึงมาใช้งานโดยตรงเข้าสู่อุปกรณ์ต่างๆ ตามการใช้งานในขณะนั้นทันที แล้วจะนำกระไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการส่งต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆ สลับมาจัดเก็บยังตัวแบตเตอรี่ เพื่อให้มีใช้งานในเวลาสำรองตอนที่โซลาร์เซลล์ไม่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรงได้แล้ว สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านได้ทั้งหมด จึงไม่เป็นปัญหาในช่วงวันที่มีเมฆหนาหรือช่วงเวลากลางคืน

อุปกรณ์ในการติดตั้งระบบ

อุปกรณ์สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ Off Grid จะมีหลักๆ ทั้งหมด ดังนี้

  • แผงโซลาร์เซลล์ (อุปกรณ์การประกอบ Solar Modules ทั้งหมด)
  •  Charge Controller (อุปกรณ์ในส่วนเครื่องควบคุมประจุแบตเตอรี่)
  •  แบตเตอรี่ เพื่อใช้ในการกักเก็บพลังงาน เป็นจุดเด่นของระบบโซลาร์เซลล์แบบ Off Grid
  • อินเวอร์เตอร์ (อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และระบบมากที่สุด)

การทำงานของระบบโซลาร์เซลล์ Off Grid

แผงโซลาร์เซลล์จะทำงานเป็นหลัก เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าแล้วนำจ่ายไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการใช้พลังงานโดยตรง จากนั้นจะมีการแบ่งส่วนพลังงานไฟฟ้าที่เกินจำเป็นมาสู่แบตเตอรี่เพื่อจัดเก็บประจุกำลังไฟในส่วนที่เหลือไว้เป็นพลังงานสำรอง ส่วนพลังงานแรงดันไฟฟ้าที่จะจ่ายเพื่อใช้งานจากโซลาร์เซลล์ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ที่เลือกติดตั้งด้วยเช่นกันว่าเลือกใช้งานแบบ 12V , 24V หรือ 48V สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งานในการนำมาติดตั้งได้ และเมื่อไรที่พลังงานแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอต่อแผงโซลาร์เซลล์เพื่อให้ระบบดึงไปใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าแล้ว ตัวแบตเตอรี่ที่ได้กักเก็บพลังงานไว้ระหว่างวันจะดึงพลังงานตรงนี้ออกมาใช้แทน จึงไม่ค่อยเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับให้เห็นเท่าไรสำหรับระบบโซล่าเซลล์ Off Grid

 

ข้อดีของระบบโซลาร์เซลล์ Off Grid

ข้อดีของระบบโซลาร์เซลล์ Off Grid

สำหรับข้อดีของการเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ Off Grid สามารถยกตัวอย่างข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้ ดังนี้

  • ระบบ Off Grid แทบไม่มีโอกาสได้เห็นไฟดับ หรือไฟฟ้าไม่พอใช้ เพราะพลังงานจะถูกดึงมาจากแบตเตอรี่ในยามฉุกเฉินอยู่ตลอด รวมถึงตอนที่ไฟตกก็เช่นกัน และพอเข้ากลางวันก็จะมีพลังงานตรงจากโซลาร์เซลล์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ต่อเนื่อง
  • สามารถติดตั้งระบบ Off Grid ได้เอง ไม่ต้องใช้มาตรฐานหน่วยงานการไฟฟ้า
  • อุปกรณ์ทั้งหมดในการติดตั้งมีราคาถูกและสามารถหาซื้อได้ทั่วไป

ข้อเสียของระบบโซลาร์เซลล์ Off Grid

ข้อเสียในการเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ Off Grid สามารถยกตัวอย่างข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมได้ มีดังนี้

  • ไม่สามารถขายกระแสไฟฟ้าส่วนเกินคืนให้กับทางหน่วยงานการไฟฟ้าได้
  • ต้องมีการบำรุงรักษาด้วยการเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกๆ 5 – 10 ปี
  • กรณีที่แบตเตอรี่เต็มระหว่างวัน แล้วไม่มีการดึงพลังงานตรงนี้ไปใช้จะเหมือนกับการรับพลังงานที่ค่อนข้างสูญเปล่า และทำให้แบตเตอรี่ทำงานหนักขึ้น มีโอกาสต้องบำรุงรักษาไวขึ้นขั้นต่ำสุดคือ 5 ปี

ระบบโซลาร์เซลล์ Off Grid เหมาะกับสถานที่ใด

สำหรับการเลือกใช้งานระบบโซล่าเซลล์ แบบ Off Grid นี้ เหมาะกับตั้งแต่ผู้ที่อยู่อาศัยกันเป็นครอบครัวใหญ่ ที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ ควรแยกระบบไฟฟ้าเป็นแบบ Off Grid ไปเลย เพื่อให้มีกระแสไฟฟ้าใช้ได้อย่างต่อเนื่องทั้งหมด ส่วนบ้านที่อยู่อาศัยขนาดเล็กก็สามารถติดตั้งระบบแบบ Off Grid ได้อย่างไม่มีปัญหาเช่นกัน และเหมาะกับการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องมีการใช้งานทั้งกลางวันและกลางคืนจะเป็นการดึงพลังงานได้อย่างคุ้มค่ามากกว่า ดังนั้น บ้านขนาดเล็กก็จะได้รับการใช้งานระบบ Off Grid เต็มที่มากกว่าบ้านใหญ่ เพราะบ้านใหญ่อาจต้องมีการติดตั้งระบบ Hybrid เสริมด้วยจะเป็นการเพิ่มงบประมาณที่มากขึ้นอีกหลายเท่าจึงแนะนำสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยทั่วๆ ไป ติดตั้งระบบนี้จะคุ้มมากกว่า แต่ไม่ควรต่อร่วมกับระบบ On Grid เด็ดขาด

ความแตกต่างระหว่างระบบแบบ On Grid กับ Off Grid

ความแตกต่างระหว่างระบบแบบ On Grid กับ Off Grid

ในด้านความแตกต่างของระบบโซล่าเซลล์ On Grid กับ Off Grid สามารถอธิบายแยกได้อย่างชัดเจน เพื่อประกอบการพิจารณาและความคุ้มค่าของการติดตั้งได้ ดังนี้

ระบบโซลาร์เซลล์แบบ On Grid จะมีการแปลงพลังงานไฟฟ้าด้วยอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Grid Tie Inverter เพื่อดึงพลังงานไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ โดยตรง และมีการเชื่อมต่อระบบการจ่ายพลังงานเข้ากับสายกระแสตรงของพลังงานจากทางการไฟฟ้า ทำให้ระบบการควบคุมกำลังไฟต่างๆ จะตรงตามมาตรฐานและใช้พลังงานอย่างถูกต้อง ลดความยุ่งยากได้มากในเรื่องการควบคุมและลดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น สำหรับระบบโซลาร์เซลล์แบบ Off Grid จะเป็นการนำอุปกรณ์ Inverter ช่วยแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรงไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการต่อตรงไปรับกระแสจากการไฟฟ้าแต่อย่างใด พร้อมกับมีการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินที่ได้จากโซลาร์เซลล์มาจัดเก็บในตัวแบตเตอรี่เพื่อใช้งานต่อไปในช่วงที่แสงอาทิตย์หมดลงได้

สำหรับระบบการทำงานของ On Grid จะใช้การดึงพลังงานโดยตรง ใช้งานต่อเนื่องได้ตลอดทั้งวัน และเมื่อแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอก็จะนำพลังงานที่ต่อตรงกับทางการไฟฟ้ามาใช้ แต่ระบบจะต้องมีทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ของโซลาร์เซลล์และพลังงานไฟฟ้าจากทางการไฟฟ้าโดยตรง ระบบ On Grid จึงจะทำงานได้ หากพลังงานตรงไหนขาดหายไป ระบบจะตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าทันที ส่วนระบบการทำงานของ Off Grid จะเป็นการใช้พลังงานโดยตรงจากโซลาร์เซลล์เช่นกัน แต่จะมีการสำรองเก็บพลังงานที่เหลือไปยังแบตเตอรี่ และเมื่อพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ ก็จะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้งานจ่ายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ต่อได้ โดยไม่ต้องมีการยุ่งเกี่ยวกับระบบของทางการไฟฟ้าใดๆ ทั้งสิ้น

หากสถานที่เป็นพื้นที่ใหญ่ หน่วยงานใหญ่ องค์กรใหญ่ๆ หรือออฟฟิศขนาดเล็กแต่ต้องใช้จำนวนพลังงานไฟฟ้าเยอะมาก เช่น มีเครื่องปรับอากาศหลายตัว และมีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะมากนั้น รวมถึงบ้านที่เป็นครอบครัวใหญ่อยู่กันหลายคน ใช้พื้นที่ห้องและเครื่องใช้ไฟฟ้าแยกกันจำนวนมาก แนะนำให้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ On Grid จะคุ้มค่าและใช้พลังงานได้เต็มประสิทธิภาพมากกว่า ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยทั่วไป เป็นบ้านขนาดเล็กที่อยู่อาศัยกัน 1 – 3 คน หรือออฟฟิศรูปแบบขนาดเล็กมากประเภทโฮมออฟฟิศ แนะนำให้ใช้การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบ Off Grid จะได้รับความคุ้มค่าสูงสุด

ควรติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ On Grid หรือ Off Grid

ในการตัดสินใจว่าควรเลือกติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบไหนดีมากกว่ากัน ระหว่าง โซล่าเซลล์ On Grid กับ Off Grid สำหรับส่วนนี้ต้องขอแนะนำให้ดูจากการช่วงเวลาของการใช้งานไฟฟ้าเป็นหลัก รวมถึง ขนาดพื้นที่อยู่อาศัย หรือขนาดขององค์กรต่างๆ ซึ่งหากเน้นการใช้งานระบบไฟฟ้าช่วงกลางวันเยอะมากและเป็นหน่วยงานใหญ่ หรือมีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนเยอะๆ ในเวลากลางวัน ควรติดตั้งแบบ On Grid จะลดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น และยังต่อตรงกับระบบจ่ายไฟของทางหน่วยงานการไฟฟ้า จะง่ายต่อการช่วยเหลือเมื่อมีการเกิดไฟดับขึ้น ส่วนพื้นที่ที่ค่อนข้างห่างไกลจากการจ่ายไฟฟ้าของทางหน่วยงาน รวมถึงบ้านเล็กๆ ที่อยู่อาศัยกันไม่มากแล้วต้องการประหยัดค่าไฟบ้านมากที่สุด แนะนำให้เลือกใช้เป็นระบบ Off Grid จะคุ้มค่าและตอบโจทย์มากกว่า 

สรุป

ความเหมาะสมของการเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ on grid กับ off grid นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสถานที่แบบไหน มีการใช้ไฟฟ้าอย่างไร รวมถึงช่วงเวลาที่มีการใช้งานไฟฟ้ามากที่สุด ควรดูข้อมูลการใช้งานภาพรวมก่อนเลือกติดตั้งเพื่อให้ถูกจุดประสงค์และใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับงบประมาณอย่างยาวนานด้วยเช่นกัน แต่หากไม่แน่ใจว่าจะติดตั้งระบบไหนดี ทาง Sorarus มีทีมงานที่พร้อมให้คำปรึกษา มีการลงพื้นที่ก่อนเพื่อเข้าไปดูสถานที่และสภาพแวดล้อม จะได้ประเมิน รวมถึงแนะนำว่าควรติดตั้งระบบไหน รวมถึงยังจัดจำหน่ายโซลาร์เซลล์ที่ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีประกันและบริการหลังการขายอีกด้วย

Sorarus - Oct 3-01-cover

คนใช้รถไฟฟ้า สายรักษ์โลกควรรู้! โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าได้จริงไหม

ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะรถยนต์ไฟฟ้าใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นหลัก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะไม่มีการเผาไหม้ของพลังงานเชื้อเพลิง และชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากับเครื่องชาร์จ EV ได้อย่างสะดวก รวมถึงสามารถนำเครื่องชาร์จนั้นมาใช้ร่วมกับระบบโซลาร์เซลล์ได้อีกด้วย สำหรับใครที่เป็นเจ้าของรถไฟฟ้า (EV) บทความนี้มีวิธีการใช้งานโซลาร์เซลล์กับรถยนต์ไฟฟ้าว่าเป็นอย่างไร มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง เพื่อให้การติดตั้งถูกต้องเหมาะสมและช่วยประหยัดค่าไฟในระยะยาว ไปดูกันเลย

 

ทำความรู้จัก รถยนต์ไฟฟ้า (EV) คืออะไร

 

ทำความรู้จัก รถยนต์ไฟฟ้า (EV) คืออะไร

รถยนต์ไฟฟ้า มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Electric Vehicle คือ รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก แทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากน้ำมันดีเซล เบนซิน หรือพลังงานอื่นๆ ในการขับเคลื่อน เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้พลังงานน้ำมันกับรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้รถไฟฟ้ามีข้อได้เปรียบเรื่องของกลไกการทำงาน มีเสียงเครื่องยนต์ที่เงียบ ไม่มีการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ลดปัญหามลพิษจากควันจากท่อไอเสีย ปัจจุบัน รถยนต์ EV ก็ได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle : HEV) คือ รถยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป ร่วมกับการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำกว่าการใช้เครื่องยนต์หลักการทำงาน คือรถยนต์จะมีแบตเตอรี่ไว้คอยเก็บพลังงาน โดยพลังงานที่ได้จะมาจาก การเหยียบเบรก บางส่วนของพลังงานจะถูกจัดเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และจะถูกนำมาใช้ในบางสถานการณ์ ที่สามารถใช้พลังงานมอเตอร์ไฟฟ้าร่วมกับการทำงานของเครื่องยนต์เชื้อเพลิง จึงช่วยเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่รถไฟฟ้าแบบไฮบริดจะไม่สามารถชาร์จไฟจากภายนอกได้
  • รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้า PHEV ประเภทเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด HEV ที่มีการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และการใช้พลังงานไฟฟ้า มีแบตเตอรี่ในการเก็บพลังงาน และเมื่อแบตเตอรี่หมด รถยนต์ก็จะทำงานคล้ายกับระบบไฮบริดแบบ HEV แต่มีข้อแตกต่าง คือ รถยนต์ไฟฟ้า PHEV สามารถชาร์จไฟจากภายนอกได้ เช่น โซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งที่บ้าน หรือ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า และเมื่อชาร์จพลังงานจนเต็ม ก็สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าล้วนในการขับเคลื่อน โดยจะได้ระยะทางที่มากกว่าระบบไฮบริดแบบ HEV
  • รถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวในการขับเคลื่อน (Plug-in Electric Vehicles : PEVs) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่คล้ายกับรถยนต์ไฟฟ้า PHEV แต่จะใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่เป็นแหล่งพลังงานหลักและเก็บพลังงาน ทำให้เมื่อแบตเตอรี่หมด จะต้องเสียบชาร์จใหม่จึงจะทำให้ใช้งานต่อไปได้ 

 

การใช้โซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ กับรถยนต์ไฟฟ้า

 

การใช้โซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ กับรถยนต์ไฟฟ้า

การใช้โซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์กับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สามารถทำได้โดยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้านสำหรับการรับพลังงานแสงอาทิตย์ และติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charger โดยการทำงานของเครื่องชาร์จ EV คล้ายกับการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้าน คือเมื่อมีโซลาร์เซลล์มีการรับพลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า และส่งต่อพลังงานไฟฟ้าไฟฟ้าที่ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน และจากนั้นจะส่งพลังงานไฟฟ้ามาที่เครื่องชาร์จ EV ให้สามารถชาร์จรถด้วยพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งโซลาร์เซลล์เข้ามาช่วยผลิตไฟฟ้าตรงนี้ได้ ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และความจุของแบตเตอรี่ในปัจจุบัน ก็มีตั้งแต่ 1.57-275 กิโลวัตต์ ทำให้การใช้โซลาร์เซลล์สำหรับชาร์จรถไฟฟ้าจะต้องใช้กำลังวัตต์ที่มากกว่าความจุของแบตเตอรี่

 

การคำนวณไฟฟ้าที่ต้องใช้ในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

 

การคำนวณไฟฟ้าที่ต้องใช้ในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

เมื่อรู้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ได้แล้ว ก็มีวิธีการคำนวณการใช้ไฟฟ้าว่าต้องใช้กี่วัตต์ และต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์กี่ตัว ดังนี้

ตัวอย่างการคำนวณโดยมีตัวแปรต้นดังนี้

  • รถยนต์ไฟฟ้ามีความจุแบตเตอรี่ 53 kWh 
  • ระยะทางทางไป – กลับ เฉลี่ย 30 กิโลเมตรต่อวัน
  • อัตราสิ้นเปลือง 6 kWh
  • พลังงานแสงแดด 5 ชั่วโมงต่อวัน
  • แผงโซลาร์เซลล์  500 วัตต์

การคำนวณใช้ไฟฟ้าว่าต้องใช้กี่วัตต์ จะคำนวณได้ดังนี้

คำนวณจาก เฉลี่ยระยะทางต่อวัน ÷ อัตราสิ้นเปลือง = พลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้ต่อวัน เป็น 30 ÷ 6 = พลังงานไฟฟ้า 5 kWh โดย 1 กิโลวัตต์เท่ากับ 1,000 วัตต์ ดังนั้น เมื่อได้ 5 kWh = 5000 วัตต์

จากนั้นหาค่าพลังงานที่โซลาร์เซลล์ต้องผลิตได้ต่อวัน คือ พลังงานไฟฟ้า ÷ พลังงานแสงแดดต่อวัน เป็น 5 ÷ 5 = 1 kWh หมายความว่า ต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่จ่ายไฟฟ้าถึง 1,000 วัตต์ เป็นต้น

คำนวณแผงโซลาร์เซลล์ ได้ดังนี้

คำนวณพลังงานที่โซลาร์เซลล์ผลิตได้ คือ พลังงานแสงแดด X แผงโซลาร์เซลล์ = พลังงานกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อวัน เป็น 5 X 500 = 2,500 วัตต์ต่อชั่วโมง หรือ 2.5 kWh

และคำนวณการใช้แผงโซลาร์เซลล์ จาก พลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้ต่อวัน ÷ พลังงานกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อวัน = จำนวนแผงโซลาร์เซลล์ เป็น 5 kWh ÷ 2.5 kWh = ต้องใช้จำนวนโซลาร์เซลล์ 2 แผง

สรุปได้ว่า รถยนต์ไฟฟ้ามีความจุแบตเตอรี่ 53 kWh ระยะทางไป-กลับ เฉลี่ย 30 กิโลเมตรต่อวัน ต้องใช้โซลาร์เซลล์ 500 วัตต์ จำนวน 2 แผง ที่มีการจ่ายไฟฟ้าถึง 1 กิโลวัตต์ หรือ 1000 วัตต์ โดยการติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องติดตั้งประมาณ 1,000-1,500 วัตต์ขึ้นไป

 

ข้อดีของการใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

 

ข้อดีของการใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

การใช้รถไฟฟ้าก็ถือว่ามีผลดีต่อโลกและสิ่งแวดล้อม แถมประหยัดค่าน้ำมัน เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าที่ถูกกว่าและสะอาดกว่า แต่ถ้าอยากประหยัดไปอีก คุ้มค่าไปอีก การติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับใช้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น โดยข้อดีของการใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มีดังนี้

ประหยัดค่าไฟ

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่บ้านสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะช่วยลดค่าไฟจากการชาร์จได้อย่างมาก เพราะเป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์ มาเป็นพลังงานไฟฟ้าในการชาร์จรถยนต์ นอกจากนั้นก็ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้อีกด้วย จึงนับว่าเป็นการลงทุนในระยะยาวที่ดี

ชาร์จไฟฟ้าได้ตามต้องการ

การใช้โซลาร์เซลล์สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ตามต้องการ เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จจากแผงโซลาร์เซลล์ได้ จึงสามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ตามต้องการ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังสถานี ไม่ต้องเสียเวลารอคิว

ง่าย และสะดวกสบาย

ถึงแม้ว่าตามปั๊มน้ำมัน หรือสถานที่ต่างๆ จะมีจุดสำหรับชาร์จรถไฟฟ้าโดยเฉพาะที่เข้าใช้บริการได้เลย หรือว่าต้องจองคิวล่วงหน้า แต่ในการชาร์จก็จะใช้เวลามาก และต้องรอให้ชาร์จเสร็จก่อนถึงจะออกเดินทางต่อได้ อีกทั้งรถบางรุ่นจะใช้เวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชม. หรือมากกว่านั้น ซึ่งหากมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่บ้านสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะทำให้ช่วยประหยัดเวลาลงได้ ทำให้เดินทางไปไหนมาไปได้ง่าย ไม่มีสะดุด

ลดมลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อม

การใช้โซลาร์เซลล์สำหรับชาร์จรถไฟฟ้าจะช่วยลดมลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อม เพราะโซลาร์เซลล์คือการรับพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นพลังงานสะอาด จึงทำให้การใช้โซลาร์เซลล์สำหรับชาร์จรถไฟฟ้า ถือเป็นสิ่งที่เรียกว่ารักษ์โลกได้อย่างมาก

 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ต้องทำอย่างไร

 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ต้องทำอย่างไร

หากต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สามารถตรวจสอบ และปรับเปลี่ยนตามขั้นตอนต่างๆ ได้ดังนี้

สำรวจขนาดมิเตอร์ของบ้าน หรืออาคาร

หากต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องตรวจสอบมิเตอร์ของบ้านหรืออาคาร เพื่อให้การใช้ไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย โดยมิเตอร์ขนาดทั่วไปจะอยู่ที่ 15 แอมป์ แต่หากมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ก็ควรเปลี่ยนเป็นมิเตอร์ 30 แอมป์ เพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้าเกิน (Overload)

เปลี่ยนสายไฟ Main และ Circuit Breaker

เมื่อมีการเปลี่ยนขนาดมิเตอร์เพื่อรองรับพลังงานจากโซลาร์เซลล์เพื่อชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สายไฟก็ต้องมีการปรับขนาดด้วย เพื่อรองรับการทำงานของระบบไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยสาย Main จะปรับขนาดเป็น 25 ตารางเมตร และเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เบรกเกอร์ที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดไฟฟ้าอัตโนมัติ เพื่อป้องกันปัญหาไปรั่วหรือลัดวงจร ซึ่งเบรกเกอร์ต้องมีขนาด 100 แอมป์

เพิ่มเบรกเกอร์ และตู้ไฟฟ้าภายในบ้าน (MDB)

การใช้ชาร์จรถไฟฟ้าด้วยไฟบ้านหรือโซลาร์เซลล์ จำเป็นต้องมีเบรกเกอร์สำหรับเครื่องชาร์จ EV โดยเฉพาะ เพราะการชาร์จรถไฟฟ้าจะใช้พลังงานสูง และเพื่อป้องกันปัญหาไฟลัดวงจร ควรต้องเพิ่มเบรกเกอร์อีก 1 ช่อง ซึ่งหากช่องไม่เพียง จะต้องเพิ่มตู้ไฟฟ้าอีก 1 ตู้ เพื่อใส่เบรกเกอร์ สำหรับเครื่องชาร์จ EV โดยเฉพาะ

ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)

เพราะการชาร์จรถไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์จะต้องใช้พลังงานที่สูง จึงทำให้ต้องมีเครื่องตัดไฟรั่วติดตั้งร่วมด้วยหากเกิดไฟรั่ว เครื่องตัดไฟรั่วจะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไฟดูด หรือการเกิดไฟไหม้ และการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว จำเป็นต้องติดตั้งสายดินร่วมด้วย

สำรวจพื้นที่ใช้ในการติดตั้ง

ก่อนการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทุกครั้ง ควรต้องสำรวจพื้นที่การติดตั้งให้เหมาะสม เพื่อให้โซลาร์เซลล์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร มีการตรวจสอบอะไรบ้าง ดังนี้

  • พื้นที่ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์: พื้นที่การติดตั้งโซลาร์เซลล์ควรเป็นพื้นที่โล่ง ไม่มีอาคาร หรือต้นไม้ใหญ่ มาบดบังแสงอาทิตย์ ซึ่งหากอยู่ใกล้ต้นไม้ใหญ่ก็จะเจอกับเศษใบไม้ เศษกิ่งไม้ร่วงใส่ ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และเกิดความเสียหายได้ ทางที่ดี หากติดตั้งที่บ้าน ก็ควรคิดบนหลังคา หรือที่โล่งแจ้ง และการติดตั้งที่อาคาร ก็ควรติดบนดาดฟ้า เพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ตลอดทั้งวัน
  • ทิศในการติดตั้งโซลาร์เซลล์: ทิศที่แนะนำ คือ ทิศใต้ เพราะจะทำให้แผงโซลาร์เซลล์ได้รับแสงอาทิตย์ตลอดวัน
  • อุณหภูมิเฉลี่ยบริเวณที่ต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์: อุณหภูมิเฉลี่ยควรอยู่ที่ 25 องศา ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ไม่ร้อนเกินไป เพราะหากอุณหภูมิสูงขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าก็จะลดลงตามไปด้วย

 

ชาร์จรถไฟฟ้า ระบบโซลาร์เซลล์ ใช้เวลานานแค่ไหน

 

ชาร์จรถไฟฟ้า ระบบโซลาร์เซลล์ ใช้เวลานานแค่ไหน

การชาร์จรถไฟฟ้าด้วยระบบโซลาร์เซลล์ ขึ้นอยู่กับขนาดกำลังไฟที่แผงโซลาร์เซลล์ผลิตได้ต่อวัน ช่วงเวลาของแสงอาทิตย์และสภาพภูมิอากาศ ประเภทของเครื่องชาร์จ EV และความจุของแบตเตอรี่ และการใช้เวลาชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม 100% จะใช้เวลาประมาณ 6-8 ชม. แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของรถยนต์ด้วยเช่นกัน

 

ไขข้อข้องใจ ควรซื้ออะไรก่อนดีระหว่างรถไฟฟ้า หรือแผงโซลาร์เซลล์

 

ไขข้อข้องใจ ควรซื้ออะไรก่อนดีระหว่างรถไฟฟ้า หรือแผงโซลาร์เซลล์

ซื้อรถไฟฟ้าก่อน หรือติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ก่อน ก็สามารถทำได้ทั้งสองกรณี โดยจะแตกต่างกันดังนี้

ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าก่อน แล้วค่อยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าก่อนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ก็สามารถทำได้ ซึ่งหากตัดสินใจซื้อเป็นรถไฟฟ้าแบบ HEV หรือ PHEV ก็อาจจะตัดปัญหาเรื่องการชาร์จไฟ หรือการจองคิวเพื่อชาร์จไฟตามสถานีที่ให้บริการ แต่หากเลือกซื้อรถยนต์ที่เป็นระบบไฟฟ้าล้วน และยังไม่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ก็อาจต้องหาสถานที่สำหรับชาร์จไฟรถยนต์ก่อน อีกทั้งการชาร์จไฟก็จะใช้เวลานาน จะทำให้เสียเวลาในการรอได้ ดังนั้น หากตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าก่อน ก็ควรคำนวณอัตราสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าของรถยนต์ควบคู่ไปดวย เพื่อที่จะได้ทำการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ถูกต้อง

ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ก่อน แล้วค่อยซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

หากเลือกติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อได้รถมาใช้และต้องการชาร์จรถยนต์ ก็สามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ได้ทันที โดยไม่ต้องรอการติดตั้ง การติดตั้งก่อนการซื้อรถ จึงสะดวกและช่วยประหยัดเวลา ทำให้ไม่ต้องหาสถานีชาร์จ

สรุป

รถไฟฟ้าสามารถใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ ได้จากการรับพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานแสงอาทิตย์ถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เข้าสู่เครื่องชาร์จ EV ที่ใช้สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์นี้เอง ทำให้ช่วยประหยัดค่าไฟ เพิ่มความสะดวกสบายสามารถชาร์จรถได้ที่บ้านได้เลย และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ก็ไม่ได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แม้แต่น้อย 

หากยังไม่มั่นใจในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อชาร์จรถไฟฟ้า Sorarus มีทีมงานที่พร้อมให้คำปรึกษา ลงพื้นที่เพื่อแนะนำว่าควรติดตั้งระบบไหน รวมถึงมีโซลาร์เซลล์ที่ได้มาตรฐาน และให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ พร้อมประกันและบริการหลังการขาย ที่จะทำให้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เป็นเรื่องง่าย ไม่วุ่นวายอีกต่อไป

Sorarus - Oct 5-01-cover

มาดู 13 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด พร้อมเคล็ดลับใช้ไฟให้ประหยัด

รู้หรือไม่? เครื่องใช้ไฟฟ้าไหนที่กินไฟมากที่สุดในบ้าน แม้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา แต่เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะยังไม่เคยได้สังเกตว่าในแต่ละเดือนที่ผ่านมานั้น มีการใช้จ่ายพลังงานที่สามารถคิดเป็นเงิน ต่อชั่วโมง ต่อวัน หรือต่อเดือนเท่าไรแล้วบ้าง ซึ่งวันนี้ Sorarus จะพามาเฉลยว่าใน 1 ชั่วโมง เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ทำเงินในกระเป๋าเราหายไปเท่าไร พร้อมเคล็ดลับการใช้ไฟให้ประหยัด และลดโลกร้อนไปพร้อมกันได้ในบทความนี้

เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า

อันดับ 1 เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า

เครื่องทําน้ำอุ่น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจำเป็น โดยเฉพาะในหน้าหนาวที่อากาศจะเย็นมาก การมีเครื่องทำน้ำอุ่นไว้ใช้ในบ้าน ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราง่ายขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเครื่องทําน้ำอุ่นทั่วๆ ไปจะใช้ไฟประมาณ 2,500-12,000 วัตต์โดยเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟประมาณ 10-47 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดในบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้านเลยทีเดียว

วิธีการประหยัดไฟ

โดยทั่วไปแล้วเราจะได้ใช้งานเครื่องทำน้ำอุ่นอย่างต่อเนื่องในช่วงหน้าหนาว นั่นเพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน จึงอาจไม่มีโอกาสได้ใช้งานมากนัก แต่สำหรับใครที่ชอบอาบน้ำอุ่นอยู่บ่อยๆ คำแนะนำต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ในการลดภาระค่าไฟ และเพื่อให้สามารถใช้งานได้ถูกวิธีอีกด้วย 

  •  ไม่ควรเปิดทิ้งไว้ตลอดเวลา
  • ตั้งอุณหภูมิน้ําที่ 35-60 องศา ไม่ควรเปิดให้น้ําร้อนจัด เพราะจะสิ้นเปลืองไฟมากเกินจำเป็น
  • ปิดสวิตช์เมื่อไม่ได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการรั่วไหลของไฟ
  • ตรวจสอบการรั่วไหลของไฟด้วยการตรวจสอบสายดินก่อนใช้งานทุกครั้ง

เตารีดไฟฟ้า

อันดับ 2 เตารีดไฟฟ้า

รองลงมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดนั่นก็คือ เตารีดไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลายๆ บ้านคงมีกันติดบ้านอย่างแน่นอน เพราะช่วยอํานวยความสะดวกในการรีดผ้า ทําให้ผ้าเรียบ และเพิ่มความมั่นใจให้กับการแต่งกายของเราได้มากขึ้น ซึ่งเตารีดไฟฟ้าจะใช้ไฟประมาณ 1000-2500 วัตต์โดยเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟประมาณ 3-8 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

ในการใช้งานเตารีดผ้าอย่างถูกวิธี จะช่วยถนอมคุณภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า และช่วยให้ประหยัดไฟได้อีกด้วย 

  • ใช้ความร้อนปานกลาง ไม่ต้องรีดด้วยอุณหภูมิสูงสุด
  • รีดผ้าทีละหลายๆ ตัว ในการใช้งานแต่ละครั้ง วิธีนี้จะช่วยประหยัดได้มากกว่าการรีดทีละไม่กี่ตัว
  • ใช้น้ำพรมที่ผ้าทุกครั้งในการรีด เพราะความร้อนจากเตารีดจะถ่ายเทได้ดี ช่วยให้ไม่ต้องใช้ไฟที่สูงมาก
  • ทําความสะอาดแผ่นเตารีดเป็นประจํา เพื่อให้ถ่ายเทความร้อนในขณะรีดผ้าได้ดี
  • ปิดเตารีดทันทีเมื่อเลิกใช้งาน และถอดปลั๊กออกด้วย

ไดร์เป่าผม

อันดับ 3 ไดร์เป่าผม

ไดร์เป่าผมเป็นอันดับ 3 ของ Top 3 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด รองจากเครื่องทำน้ำอุ่น และเตารีดไฟฟ้า โดยไดร์เป่าผมเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเป่าผมให้แห้งได้อย่างรวดเร็ว ทําให้ประหยัดเวลาไปได้อย่างมาก โดยทั่วไปแล้ว ไดร์เป่าผมจะใช้ไฟประมาณ 1000-1800 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 3-8 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีการใช้งานไดร์เป่าผมอย่างถูกต้อง และช่วยประหยัดไฟ มีดังนี้

  • ใช้ผ้าเช็ดผมให้แห้งหมาดก่อนไดร์ผม เพื่อลดเวลาในการใช้ไดร์เป่าผม
  • เป่าผมด้วยอุณหภูมิปานกลาง อย่าใช้ระดับความร้อนที่มากเกินไปโดยไม่จําเป็น
  • ทําความสะอาดตะแกรงไดร์เป็นประจํา เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก 
  • ถอดปลั๊กทันทีหลังใช้งานเสร็จแล้ว

เตาไมโครเวฟ

อันดับ 4 เตาไมโครเวฟ

เตาไมโครเวฟ ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประโยชน์อย่างมากในครัวเรือน เพราะช่วยอุ่นอาหารได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลานานในการใช้แก๊สหุงต้ม แต่ถ้าหากใช้งานอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยประหยัดเวลา และพลังงานได้เป็นอย่างดี โดยไมโครเวฟทั่วไปจะใช้ไฟประมาณ 700-1200 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 2-4 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

สําหรับวิธีประหยัดไฟจากการใช้เตาไมโครเวฟ มีดังนี้

  • ใช้ระดับไฟในการอุ่นหรือทำอาหารให้เหมาะสม เช่น ใช้โหมดละลายน้ำแข็งสำหรับการอุ่นอาหารแช่แข็ง เป็นต้น
  • อย่าอุ่นอาหารมากเกินไป เพราะจะทำให้เครื่องทำงานหนัก และทำให้เปลืองไฟได้
  • ทําความสะอาดเตาไมโครเวฟเป็นประจํา เพื่อการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • อย่าเปิดฝาตัวเครื่องก่อนกำหนดเวลา เพราะจะทําให้ความร้อนรั่วไหลได้

เครื่องปรับอากาศ

อันดับ 5 เครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศ ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจําเป็นมากในบ้าน เพราะช่วยทําให้อากาศเย็นสบายในช่วงที่อากาศร้อนอบอ้าว ทําให้เราสามารถพักผ่อนได้อย่างสบายใจ โดยทั่วไปแล้ว เครื่องปรับอากาศมีขนาด 12,000-24,000 BTU จะใช้ไฟประมาณ 1,500-3,500 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 4-10 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟในการใช้เครื่องปรับอากาศ มีดังนี้

  • ตั้งอุณหภูมิที่ 25-26 องศา ไม่ต้องเย็นจัดเกินไป
  • สำหรับเครื่องปรับอากาศที่มีโหมดประหยัดพลังงาน แนะนำให้เปิดใช้โหมดนั้นๆ อยู่เสมอ จะช่วยให้ประหยัดไฟได้อย่างมาก
  • ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
  • ทําความสะอาดแผงกรองอากาศเป็นประจํา
  • ไม่วางเฟอร์นิเจอร์บังช่องลม
  • ตั้งเวลาเปิด-ปิดอัตโนมัติ ตามช่วงเวลาที่จะใช้งาน 

เครื่องดูดฝุ่น

อันดับ 6 เครื่องดูดฝุ่น

เครื่องดูดฝุ่นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยทําความสะอาดบ้านให้ปราศจากฝุ่นละอองได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ประหยัดแรงจากการใช้ไม้กวาดพื้นทั่วไป ซึ่งเครื่องดูดฝุ่นโดยทั่วไปมักใช้ไฟประมาณ 1000-2000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 2-5 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟในการใช้งานเครื่องดูดฝุ่น มีดังนี้

  • ใช้งานเท่าที่จําเป็น ไม่ต้องดูดฝุ่นบ่อยเกินไป
  • ใช้แปรงปัดฝุ่นก่อน เพื่อลดปริมาณฝุ่นที่ต้องดูด
  • ทําความสะอาดถุงดักฝุ่นเป็นประจํา เพื่อให้ดูดฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปิดเครื่องทันทีเมื่อเลิกใช้งาน และถอดปลั๊กออกด้วย

เครื่องปิ้งขนมปัง

อันดับ 7 เครื่องปิ้งขนมปัง

เครื่องปิ้งขนมปังเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ค่อนข้างจําเป็นในครัวเรือน เพราะช่วยให้เราสามารถทานขนมปังปิ้งได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องนำไปปิ้งบนเตาอีกต่อไป เครื่องปิ้งขนมปังส่วนใหญ่จะใช้ไฟอยู่ที่ประมาณ 700-1200 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 2-3 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟสําหรับเครื่องปิ้งขนมปัง มีดังนี้

  • เปิดใช้งานเท่าที่จําเป็น ไม่ควรเปิดทิ้งไว้
  • อย่าใส่ขนมปังเต็มถาดจนเกินไป
  • ทําความสะอาดเป็นประจํา เพื่อให้เครื่องทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ถอดปลั๊กออกทันทีเมื่อเลิกใช้งาน

เครื่องซักผ้า

อันดับ 8 เครื่องซักผ้า

เครื่องซักผ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะช่วยให้สามารถซักผ้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลานั่งซักมืออีกต่อไป ทําให้ประหยัดทั้งแรงและเวลาไปได้อีกมากเช่นกัน โดยเครื่องซักผ้าทั่วไปจะมีขนาด 8-12 กิโลกรัม มีการใช้ไฟประมาณ 500-800 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 3-6 บาทต่อชั่วโมง (อัตราไฟฟ้า 4 บาท/หน่วย)

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้เครื่องซักผ้า มีดังนี้

  • ใส่ผ้าเต็มถังในการซักแต่ละครั้ง ไม่ควรซักผ้าน้อยๆ และบ่อยครั้ง
  • ใช้น้ํายาซักผ้าตามคําแนะนํา ไม่ต้องใส่มากเกินไป
  • ซักด้วยน้ําเย็นหรือน้ำอุ่น ห้ามซักด้วยน้ำร้อนจัด
  • ทําความสะอาดและล้างทําความสะอาดตัวเครื่องเป็นประจํา

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

อันดับ 9 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจําเป็นสําหรับครัวเรือน เพราะเมืองไทยนิยมทานข้าวเป็นอาหารมื้อหลัก โดยหม้อหุงข้าวช่วยทําให้การหุงข้าวสะดวกรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องนั่งรอข้าวสุกนานๆ หม้อหุงข้าวไฟฟ้าขนาด 1-1.8 ลิตร โดยทั่วไปจะใช้ไฟประมาณ 500-1500 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 2-6 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีดังนี้

  • ใส่ข้าวตามปริมาณที่จะรับประทาน ไม่ควรหุงมากเกินไป
  • หุงข้าวด้วยโหมดอุ่น โดยไม่ใช้โหมดหุงสุกทันที
  • ทําความสะอาดหม้อหุงเป็นประจํา เพื่อให้ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน

กาต้มน้ำร้อน

อันดับ 10 กาต้มน้ำร้อน

กาต้มน้ําร้อนเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ค่อนข้างจําเป็นในบ้าน เพราะช่วยให้มีน้ําร้อนได้ใช้ตลอดเวลา หากต้องการดื่มน้ำร้อน น้ําชา หรือกาแฟ โดยไม่ต้องรอน้ําให้เดือดบนเตา กาต้มน้ำร้อนถือว่าตอบโจทย์มากเลยทีเดียว โดยทั่วไปแล้ว กาต้มน้ําร้อนส่วนใหญ่จะใช้ไฟประมาณ 800-1500 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 2-3 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้กาต้มน้ําร้อน มีดังนี้

  • เปิดใช้งานเมื่อจําเป็น ห้ามเปิดทิ้งไว้ตลอดเวลา
  • ตั้งอุณหภูมิน้ําไม่ให้ร้อนจัดเกินไป ประมาณ 80-90 องศา
  • ทําความสะอาดเครื่องเป็นประจํา เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ถอดปลั๊กออกเมื่อเลิกใช้งาน

เตาไฟฟ้า

อันดับ 11 เตาไฟฟ้า

เตาไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับการทำอาหารในครัวเรือน เพราะช่วยในการทําอาหารได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้เตาถ่าน ทําให้ประหยัดเวลาในการประกอบอาหารมากขึ้น ซึ่งเตาไฟฟ้าทั่วไปจะใช้ไฟประมาณ 1000-3000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 3-8 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้เตาไฟฟ้า มีดังนี้

  • เลือกใช้ขนาดเตาตามปริมาณอาหาร
  • ทําความสะอาดเตาเป็นประจํา เพื่อให้เตาทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปิดเตาทันทีเมื่อทําอาหารเสร็จแล้ว และควรถอดปลั๊กออกด้วย

ตู้เย็น

อันดับ 12 ตู้เย็น

ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จําเป็นอย่างมากในทุกบ้าน เพราะช่วยเก็บอาหารให้คงสภาพความสดได้นานขึ้น ทําให้อาหารไม่เน่าเสียง่าย สะดวกในการเก็บรักษาอาหาร ไม่จำเป็นต้องออกไปซื้อบ่อยๆ ตู้เย็นขนาด 7-10 คิว โดยทั่วไปจะใช้ไฟประมาณ 100-200 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 0.60-0.80 บาทต่อชั่วโมง (อัตราไฟฟ้า 4 บาท/หน่วย)

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้ตู้เย็น มีดังนี้

  • ตั้งอุณหภูมิตู้เย็นที่ 5-8 องศา ซึ่งไม่ควรเย็นจัดเกินไป
  • ปิดฝาตู้ให้สนิททุกครั้งหลังเปิดออก
  • ไม่ควรเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยเกินไป
  • ทําความสะอาดแผงระบายความร้อนด้านหลังตู้เย็นเป็นประจํา
  • ถอดปลั๊กออก เมื่อไม่ได้ใช้ตู้เย็นเป็นเวลานาน

พัดลมไฟฟ้า

อันดับ 13 พัดลมไฟฟ้า

พัดลมไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความจําเป็นสําหรับหลายบ้าน โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อน เพราะจะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเย็นสบายมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปพัดลมไฟฟ้าขนาด 16-24 นิ้วส่วนใหญ่จะใช้ไฟประมาณ 60-100 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟประมาณ 0.15-0.25 บาทต่อชั่วโมง

วิธีการประหยัดไฟ

วิธีประหยัดไฟจากการใช้พัดลม มีดังนี้

  • เปิดใช้เฉพาะตอนที่อยู่ในห้องเท่านั้น
  • หากอากาศไม่ร้อนมาก ควรใช้ที่เบอร์ 1-2 เพื่อระบายอากาศ
  • ทําความสะอาดใบพัดเป็นประจํา เพื่อให้พัดลมทํางานได้ดี
  • ปิดสวิตช์ทันทีเมื่อไม่ได้ใช้งาน

สรุป

การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างที่กินไฟอย่างมาก อาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้งานได้ แต่ถ้าหากใช้งานอย่างถูกวิธี ก็สามารถประหยัดไฟเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย และลดภาวะโลกร้อนควบคู่กันไปได้ 

หากใครที่กำลังมองหาพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจอย่างการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่คุ้มค่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงประโยชน์อีกมาก เช่น ช่วยประหยัดค่าไฟ ลดมลภาวะ และได้มีกระแสไฟฟ้าไว้ใช้เอง ทาง Sorarus เองก็มีบริการออกแบบการติดตั้ง ซ่อมบำรุง และให้คำปรึกษาหลังการขายอย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่าเป็นสินค้าที่คุ้มค่า คุ้มราคา แถมยังมีไฟฟ้าไว้ใช้เองได้อีกด้วย

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด