Sorarus - Dec 5 1-1

ใช้ไฟเยอะต้องรู้! ไฟ 3 เฟส ตัวช่วยไฟเสถียร พร้อมช่วยประหยัดค่าไฟ

ระบบไฟ 3 เฟส เป็นระบบที่เหมาะกับบ้านขนาดใหญ่ อาคารสถานที่ที่ต้องใช้ไฟเยอะๆ หรือโรงงานที่ต้องใช้ไฟทีละมากๆ เนื่องจากระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะช่วยทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนต่างๆ ของอาคารสถานที่มีความเสถียร และหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นไฟฟ้าก็ยังคงทำงานได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วยเช่นกัน มารู้จักไฟ 3 เฟสให้มากขึ้นได้ที่บทความนี้กันเลย

ระบบไฟฟ้า คืออะไร?

ไฟฟ้าเป็นพลังงานอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของพวกเราอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสังคมยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยการใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ต่างต้องการพลังงานจากกระแสไฟฟ้าทั้งนั้น

ระบบไฟฟ้าที่ถูกใช้งานมากที่สุดคือระบบไฟฟ้า 1 เฟส กับ 3 เฟส โดยระบบไฟฟ้า 1 เฟส เหมาะสำหรับการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่ไม่ต้องการกระแสไฟมากนัก เพียงแต่ใช้กระแสไฟตามความต้องการในการดำเนินชีวิต ในขณะที่ ไฟ 3 เฟส เหมาะสำหรับการใช้กระแสไฟฟ้าในระบบอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้กระแสไฟเป็นจำนวนมากนั่นเอง  

ระบบไฟ 3 เฟส คืออะไร?

ระบบไฟ 3 เฟส คืออะไร?

ระบบไฟ 3 เฟส เป็นการที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่าง สายไลน์กับไลน์ 380 – 400 โวลต์ พร้อมการทำงานของแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์และสายนิวทรอลในขนาด 220 – 230 โวลต์ โดยมีความถี่อยู่ที่ 50 Hz ซึ่งจะมีสายไฟในระบบจำนวน 4 สาย ได้แก่ สายไลน์ (มีไฟ) 3 เส้น และ สายนิวทรอล (ไม่มีไฟ) 1 เส้น 

อย่างที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้นแล้วว่าไฟ 3 เฟส มักใช้กับไฟฟ้าในระบบอุตสาหกรรม เนื่องจากมักต้องใช้กระแสไฟและแรงดันไฟฟ้าสูง อีกทั้งโรงงานอุตสาหกรรมมักต้องการใช้ไฟพร้อมกันในอัตราที่มากๆ ไม่ว่าจะเป็นกระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องจักร สำหรับสำนักงาน หรือเพื่อให้แสงสว่างในโรงงานด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้ไฟ 3 เฟส ในครัวเรือนก็สามารถทำได้ แต่ลักษณะการทำงานจะเป็นการที่นำไฟ 3 เฟส แบ่งเป็น 3 ชุด ชุดละ 1 เฟส เพื่อกระจายกระแสไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆ ของบ้าน

ความแตกต่างของระบบไฟ 1 เฟส กับระบบไฟ 3 เฟส

ความแตกต่างของระบบไฟ 1 เฟส กับระบบไฟ 3 เฟส

ระบบไฟ 1 เฟส มีกระแสแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 220 – 230 โวลต์ มีความถี่ 50 Hz โดยมีสายไฟ 2 เส้น ได้แก่ สายไลน์ หรือ สายไฟ และสายนิวทรอล ซึ่งไฟ 1 เฟส เหมาะแก่การใช้งานภายในครัวเรือน เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่ต้องการแรงดันไฟฟ้าที่ 220 โวลต์

ไฟ 1 เฟส กับ ไฟ 3 เฟส มีกำลังแรงดันไฟที่แตกต่างกัน ลักษณะการใช้งานก็แตกต่างกัน เนื่องจากไฟ 1 เฟส เหมาะกับการใช้ภายในครัวเรือน ส่วนไฟ 3 เฟส จะเหมาะกับโรงงานนั่นเอง 

ระบบไฟ 3 เฟส จำเป็นอย่างไร?

ระบบไฟ 3 เฟส จำเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้งานกระแสไฟฟ้าในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน หรือโรงพยาบาล ที่ต้องการใช้ไฟจำนวนมาก เนื่องจากไฟ 3 เฟส จะช่วยให้กำลังในการส่งกระแสแรงดันไฟฟ้ามีความเสถียร สถานที่ต่างๆ จึงสามารถใช้ไฟได้อย่างไม่ติดขัด หรือหากเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ ก็จะยังมีกระแสไฟมากพอที่จะช่วยให้การทำงานไม่ขัดข้อง อีกทั้งไฟ 3 เฟสแม้ว่าอาจจะต้องเริ่มลงทุนในระยะแรก แต่ในระยะยาวแล้วการเลือกใช้ไฟ 3 เฟส จะช่วยให้ประหยัดได้มากกว่า

ระบบไฟฟ้า 3 เฟสดีกว่าอย่างไร?

ระบบไฟฟ้า 3 เฟสดีกว่าอย่างไร?

เมื่อได้รู้จักกับระบบไฟ 3 เฟสกันไปแล้วว่าคืออะไร เหมาะกับการใช้งานแบบไหน มาดูข้อดีของระบบไฟ 3 เฟสเพิ่มเติมกันได้เลย

1. ราคาที่ถูกกว่า

เนื่องจากไฟ 3 เฟส สามารถกระจายและส่งออกกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณมาก หากเมื่อนำมาเปรียบเทียบราคาก็จะเห็นได้ถึงความคุ้มค่าคุ้มราคามากกว่า อีกทั้งหากเลือกใช้ไฟ 3 เฟส ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 

2. ให้พลังงานที่มากกว่า

แน่นอนว่าการใช้ไฟ 3 เฟส จะให้แรงดันกระแสไฟที่มากกว่า สามารถจ่ายไฟฟ้า และพลังงานได้มากกว่าระบบไฟฟ้าอื่นๆ จึงทำให้ระบบไฟ 3 เฟส เหมาะกับการนำไปใช้ในระบบอุตสาหกรรม หรือสถานที่ที่ต้องใช้ไฟจำนวนมากเป็นอย่างยิ่ง 

3. พลังงานที่เสถียรยิ่งขึ้น

ไฟ 3 เฟส นั้นสามารถให้กระแสไฟได้มากยิ่งกว่าระบบไฟ 1 เฟส จึงทำให้ช่วยลดปัญหาการจ่ายไฟที่ไม่เสถียรได้ และหากใช้งานร่วมกับเครื่องสำรองไฟ จะช่วยป้องกันเหตุไฟฟ้าขัดข้องอย่างไฟดับ ไฟตก หรือไฟกระชากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องคอยกังวลใจว่าปัญหาเหล่านี้จะทำให้การใช้งานไฟฟ้าติดขัด

4. ใช้ไฟฟ้าน้อยลงกว่าที่เคย

ในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกระแสไฟจำนวนมาก หรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ หากเลือกใช้ไฟ 1 เฟส จะต้องทำให้จ่ายไฟมากกว่าที่ควรเป็น หากแต่เมื่อใช้ไฟ 3 เฟส ก็จะช่วยให้การจ่ายไฟสามารถกระจายได้อย่างเหมาะสม และไม่ต้องจ่ายไฟมากเท่าระบบไฟ 1 เฟส 

5. การทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีขึ้น

การทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงาน โรงงาน หรือสถานที่ต่างๆ อาจต้องใช้ไฟเป็นจำนวนมาก หรือเครื่องใช้บางประเภทจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟในปริมาณมากแตกต่างไปจากอุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นการทำงานและการจ่ายไฟของไฟ 3 เฟส จะช่วยทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

6. แก้ไขปัญหาไฟฟ้าติดขัดได้ดี

บางครั้งการใช้ไฟ 1 เฟส อาจพบปัญหาขัดข้องอยู่บ้างในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นจากระบบไฟฟ้าเอง หรือจากปัจจัยอื่นๆ ในขณะที่ไฟ 3 เฟส มีการจ่ายกระแสไฟที่สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง จึงทำให้กระแสไฟฟ้ามีความคงที่มากยิ่งขึ้น 

7. ไม่ต้องซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าบ่อยๆ

เนื่องจากไฟ 3 เฟส มีการทำงานที่เสถียร สม่ำเสมอ และคงที่ จึงทำให้ระบบไฟฟ้าสามารถทำงานได้อย่างไหลลื่นตามประสิทธิภาพของระบบไฟ จึงทำให้ช่วยยืดอายุการทำงาน และรักษาประสิทธิภาพของการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ระบบไฟ 3 เฟส ดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าอย่างไร

ระบบไฟ 3 เฟส นั่นส่งผลกระทบที่ดีต่อโลกและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไฟ 3 เฟส จะช่วยทำให้การทำงานของระบบไฟฟ้าสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้ว่าระบบไฟ 3 เฟส อาจไม่สามารถเป็นพลังงานสะอาดได้เท่าพลังงานจากธรรมชาติ แต่นับได้ว่าไฟ 3 เฟส จะช่วยทำให้ในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีหนทางในการเลือกใช้ระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ในปริมาณที่น้อยที่สุด

แผงโซลาร์เซลล์ กับระบบไฟ 3 เฟส เพื่อคุณภาพที่ดีกว่า

แผงโซลาร์เซลล์ กับระบบไฟ 3 เฟส เพื่อคุณภาพที่ดีกว่า

การใช้ระบบไฟ 3 เฟส ควบคู่กับแผงโซลาร์เซลล์ จะช่วยให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีความเสถียร คุ้มค่า และสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งหากใช้ร่วมกันกับแผงโซลาร์เซลล์ก็จะช่วยในการประหยัดพลังงานและช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อย่างดีมากยิ่งขึ้น

สรุป

กล่าวได้ว่าไฟ 1 เฟส คือไฟสำหรับครัวเรือน ที่จะจ่ายกระแสไฟได้ทีละไม่มากนัก ในขณะที่ไฟ 3 เฟส สามารถจ่ายกระแสไฟได้มากกว่า และมีความเสถียรมากกว่า ซึ่งจะช่วยลดความขัดข้องในระหว่างการทำงานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหากนำไฟ 3 เฟส มาใช้ควบคู่กับโซลาร์เซลล์ก็จะช่วยในด้านของประสิทธิภาพในการทำงานของระบบไฟฟ้าได้ดีมากยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

โดย Sorarus มีบริการรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ พร้อมกับการดูแล และซ่อมบำรุง อีกทั้งจะช่วยในการให้คำปรึกษาฟรีสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องโซลาร์เซลล์ และผู้ที่สนใจหันมาเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานไฟฟ้าให้คุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อโลกและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด

Sorarus - Dec 4 1-1

การเลือกขนาด Heat Pump เครื่องทำน้ำร้อนประหยัดพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพ

ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล สถานพยาบาลต่างๆ จำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานความร้อน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องฮีทปั๊มมาใช้งาน เพราะนอกจากจะสร้างพลังงานความร้อนได้เป็นอย่างดีแล้วยังช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายได้ด้วยเช่นกัน ในบทความนี้เราจะพามารู้จักกับฮีทปั๊มมากยิ่งขึ้นว่าคืออะไร มีวิธีเลือก Heat Pump อย่างไร เพื่อนำไปปรับใช้กับธุรกิจต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม 

เครื่องทำความร้อน (Heat Pump) คืออะไร

ฮีทปั๊ม (Heat Pump) หรือ ปั๊มให้ความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้ความร้อนจากแหล่งที่มีอุณหภูมิต่ำไปยังแหล่งที่ต้องการอุณหภูมิที่สูงขึ้น โดยสามารถให้ความร้อนได้ 3-5 เท่า ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ซึ่งอุณหภูมิปกติของฮีทปั๊มจะทำความร้อนได้ไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส ในอุตสาหกรรม ธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างเช่น โรงแรม โรงพยาบาล จำเป็นที่จะต้องใช้ฮีทปั๊มเพื่อสร้างความร้อน ไม่ว่าจะเพื่อใช้ทำความร้อนในเครื่องทำน้ำอุ่น ความร้อนสำหรับเครื่องอบผ้า หรือสำหรับเครื่องให้ความร้อนในการฆ่าเชื้อ เป็นต้น 

ฮีทปั๊มนั้นสามารถให้ความร้อนได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันหากมีวิธีการเลือก Heat Pump ที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นขนาด มาตรฐาน รวมไปถึงสถานที่ติดตั้ง ก็ช่วยประหยัดพลังงานและลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ด้วยเช่นกัน จึงทำให้ในธุรกิจขนาดใหญ่หลากหลายแห่งเลือกที่จะติดตั้งฮีทปั๊มเพื่อให้ความร้อนในการทำงานของอุปกรณ์และระบบต่างๆ ของธุรกิจ

หลักการทำงานของ Heat Pump

ฮีทปั๊มมีหลักการทำงานโดยการถ่ายความร้อนจากอีกตำแหน่งไปสู่อีกตำแหน่งที่มีความต้องการใช้ความร้อน โดยเป็นการทำงานแบบวัฏจักรแบบเทอร์โมไดนามิก ที่เรียกว่า Carnot Cycle 

การทำงานแบบวัฏจักรของฮีทปั๊มนั้นคล้ายกับการทำงานแบบอัดไอ (Mechanical Vapour Compression System) ที่ให้ความเย็นในเครื่องปรับอากาศ แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่ระบบของฮีทปั๊มจะเป็นการให้ความร้อนแทน

วิธีเลือก Heat Pump ให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

วิธีเลือก Heat Pump ให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

วิธีเลือกฮีทปั๊มให้เหมาะสมกับการใช้งานและเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีหลักการในการเลือกดังต่อไปนี้ 

1. เลือกขนาดของ Heat Pump ให้เหมาะสม

การเลือกขนาดของ Heat pump ให้เหมาะสม เป็นหนึ่งในข้อสำคัญที่ควรพิจารณาในการเลือกติดตั้งฮีทปั๊ม โดยวัดจากความต้องการในการใช้งานและการผลิตความร้อนให้เหมาะสมกับขนาดและกำลังของฮีทปั๊ม เพื่อที่จะทำให้การทำความร้อนสามารถกระจายไปได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ 

2. เลือก Heat Pump ที่มีมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัย

อีกหนึ่งวิธีเลือกซื้อ Heat Pump ที่ไม่ควรละเลย คือการเลือกซื้อฮีทปี๊มที่ได้มาจรฐาน โดยมาตรฐานที่ดีของฮีทปั๊มจะต้องดูตามค่า COP ที่จะต้องมากกว่า 4.0 โดยระบบควบคุมของอุปกรณ์จะต้องใช้งานได้ง่ายและสามารถบอกค่า Error ได้ อีกทั้งวัสดุและอุปกรณ์ของเครื่องฮีทปั๊มควรจะต้องได้มาตรฐานสากล

3. เลือกสถานที่ติดตั้ง Heat Pump ที่มีอากาศถ่ายเท

เมื่อรู้ว่าวิธีเลือกฮีทปั๊มที่ดี จะต้องมีขนาดเหมาะสม และมีมาตรฐานแล้ว อย่าลืมว่าสถานที่ติดตั้งฮีทปั๊มเองก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้เช่นกัน สถานที่ที่เหมาะสมกับการติดตั้งฮีทปั๊มคือสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ว่าจะเป็นภายนอกอาคาร ใต้หลังคา หรือภายในห้องที่มีการระบายและการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม โดยจะต้องเป็นที่ที่สามารถเข้าไปเซอร์วิส และดูแลเครื่องฮีทปั๊มได้อย่างสะดวกด้วยเช่นกัน 

4. เลือกซื้อ Heat Pump กับบริษัทผู้เชี่ยวชาญ

มือใหม่ที่กำลังมองหาวิธีเลือกซื้อ Heat Pump พิจารณาเลือกซื้อ Heat Pump กับบริษัทผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากจะได้รับการดูแลและการให้คำแนะนำตั้งแต่ก่อนการติดตั้งไปจนถึงการให้บริการหลังการขาย อีกทั้งยังได้รับการดูแลและการซ่อมบำรุงเพื่อทำให้ฮีทปั๊มสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วเช่นกัน

โดย SORARUS มีบริการให้คำปรึกษาในการแนะนำฮีทปั๊มให้เหมาะสมกับการใช้งาน รวมทั้งยังมีบริการติดตั้งและช่วยดูแลฮีทปั๊มจากทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และมากประสบการณ์โดยเฉพาะ มั่นใจได้แน่นอน

Heat Pump ใช้กับธุรกิจประเภทใดบ้าง

Heat Pump ใช้กับธุรกิจประเภทใดบ้าง

ฮีทปั๊มเหมาะสำหรับหลากหลายธุรกิจ โดยมีประเภทของธุรกิจดังต่อไปนี้

  • ธุรกิจโรงแรม หรือที่พัก โดยมักใช้ฮีทปั๊มสำหรับการทำน้ำอุ่น น้ำร้อน หรือเครื่องอบผ้า และฆ่าเชื้อโรคเป็นต้น
  • สถานพยาบาล และโรงพยาบาล ใช้ฮีทปั๊มสำหรับระบบน้ำร้อน และการให้ความร้อนสำหรับฆ่าเชื้อโรคเพื่อความสะอาดและความปลอดภัย
  • ธุรกิจร้านอาหาร โดยมักจะใช้ฮีทปั๊มเพื่อนำน้ำร้อนสำหรับล้างภาชนะ ซึ่งช่วยในการลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี 
  • โรงงานอุตสาหกรรม บางประเภทที่ต้องการการผลิตความร้อน หรือระบบนำร้อนในการผลิต และการใช้งาน

ประโยชน์ของ Heat Pump ที่มีต่อโลกและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของ Heat Pump ที่มีต่อโลกและสิ่งแวดล้อม

ฮีทปั๊มนั้นนับได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยผลิตความร้อน โดยประโยชน์ของฮีทปั๊มนั้นนอกจากจะดีต่อผู้ใช้งานแล้วยังส่งผลดีต่อโลกและสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เมื่อได้รู้วิธีการเลือกซื้อ Heat Pump กันไปแล้ว มาดูประโยชน์ของฮีทปี๊มว่ามีอะไรบ้าง ดังนี้

1. ช่วยประหยัดพลังงาน

เครื่องฮีทปั๊มทำงานด้วยการนำความร้อนจากภายนอกมายังเครื่องเพื่อผลิตความร้อนและส่งออกไป ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าชิดอื่นจำเป็นที่จะต้องผลิตความร้อนโดยระบบและอุปกรณ์ภายในอยู่ตลอดเวลา และนอกจากนี้แล้วฮีทปั๊มยังใช้พลังงานเพียงแค่ 20-30% ในการสร้างความร้อน นับได้ว่าเป็นการใช้พลังงานที่น้อยมากๆ 

2. ลดมลภาวะทางอากาศ

ฮีทปั๊มมีรูปแบบการทำงานที่ไม่สร้างพิษและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้ระบบการทำงานโดยการถ่ายเทความร้อนด้วยสารทำความเย็นซึ่งมีคุณสมบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน

3. นำลมเย็นกลับมาใช้งานได้

การทำงานของฮีทปั๊มจะระบายลมเย็นออกมา ซึ่งสามารถนำลมเย็นไปใช้งานและใช้ประโยชน์ได้ต่อ เช่น นำลมเย็นมาให้ความเย็นแทนแอร์ ซึ่งจะช่วยในการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี 

4. ดูแลรักษาได้ง่าย

เครื่องฮีทปั๊มเป็นอุปกรณ์ที่ดูแลรักษาได้ง่าย เนื่องจากระบบการทำงานมีความคล้ายคลึงกับเครื่องปรับอากาศ โดยสามารถทำความสะอาดได้ง่ายๆ จากการทำความสะอาดและรักษาแผ่นกรองไม่ให้มีสิ่งสกปรกมาอุดตันเพียงเท่านั้น

5. มีความปลอดภัยสูง

ฮีทปั๊มสามารถทำงานให้ความร้อนกับน้ำได้โดยที่น้ำไม่ต้องเข้าไปอยู่ในระบบและไม่ต้องสัมผัสกับระบบไฟฟ้าโดยตรง จึงทำให้ลดโอกาสเสี่ยงที่จะถูกไฟดูดได้ ซึ่งนี่นับว่าเป็นหนึ่งในข้อดีอย่างยิ่งของการใช้ฮีทปั๊ม

ข้อดีของการใช้ Heat Pump

ข้อดีของการใช้ฮีทปั๊มมีหลายประการด้วยกัน ดังนี้

  • ใช้ไฟน้อยกว่าฮีทเตอร์ไฟฟ้ากว่า 3 – 4เท่า 
  • ประหยัดพลังงานมากกว่าอีทเตอร์ไฟฟ้า 
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ไม่เป็นพิษทำลายสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มทางเลือกในการผลิตน้ำร้อนและยังช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี
  • ลดความเสี่ยงมนการรั่วไหลของไฟฟ้า และลดโอกาสการถูกไฟช็อต เนื่องจากน้ำร้อนไม่ได้สัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยตรง
  • สามารถนำความเย็นที่ระบายออกมาไปใช้ในการให้ความเย็นแทนเครื่องปรับอากาศได้

Heat Pump ใช้งานร่วมกับแผงโซลาร์เซลล์ได้ไหม

Heat Pump ใช้งานร่วมกับแผงโซลาร์เซลล์ได้ไหม

เราสามารถนำแผงโซลาร์เซลล์มาใช้ร่วมกันกับฮีทปั๊มได้ โดยการเลือกแผงโซลาร์เซลล์นันจะเข้ามาช่วยในการผลิตพลังงานเพื่อการทำงานของฮีทปั๊ม ซึ่งขนาดของแผงโซลาร์เซลล์จะปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการใช้พลังงานของฮีทปั๊ม การเลือกใช้การให้พลังงานความร้อนเพื่อการทำน้ำร้อนในระบบอุตสาหกรรมหรือธุรกิจขนาดใหญ่นั้น ควรเลือกใช้ฮีทปั๊มในการผลิตพลังงานความร้อน เพราะทำให้สามารถผลิตพลังงานความร้อนได้มาก แต่ในขณะเดียวกันก็ประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหากนำมาใช้ควบคู่กับแผงโซลาร์เซลล์ก็จะช่วยทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และได้ใช้พลังงานจากธรรมชาติได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

SORARUS มีการให้บริการแนะนำให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการเลือกติดตั้งโซลร์เซลล์เพื่อใช้งานควบคู่กับฮีทปั๊มให้เหมาะกับความต้องการของคุณ รวมไปถึงการการเลือกขนาด Heat Pump ให้เหมาะสม อีกทั้งยังให้บริการติดตั้ง ตลอดจนการดูแลหลังการติดตั้งด้วยเช่นกัน

 

สรุป

ฮีทปั๊มเป็นเครื่องที่จะช่วยในการผลิตความร้อน น้ำร้อน ซึ่งมีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกับเครื่องปรับอากาศ หากแต่ในขณะเดียวกันฮีทปั๊มจะนำความร้อนจากธรรมชาติมาผลิตความร้อนแทนการใช้ระบบไฟฟ้าจากตัวอุปกรณ์ จึงทำให้ประหยัดพลังงาน และมีความปลอดภัยสูง ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ อีกทั้งการทำงานของฮีทปั๊มยังไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อมของเรา 

วิธีเลือกฮีทปั๊ม จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของเรา ทั้งการเลือกขนาด Heat Pump ให้เหมาะสม เลือกฮีทปั๊มที่ได้การรับรองมาตรฐาน อีกทั้งควรเลือกซื้อและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีความเป็นมืออาชีพอย่าง SORARUS เพื่อจะช่วยให้การติดตั้ง การใช้งาน และการบำรุงรักษาฮีทปั๊ม รวมถึงการติดตั้งฮีทปั๊มควบคู่กับระบบโซลาร์เซลล์ มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานในทุกขั้นตอน 

Sorarus - Dec 3 1-1

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา เหมาะกับบ้านรูปแบบไหน มาดูกัน!

โซลาร์เซลล์คือพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ที่มีปริมาณไม่จำกัด หลายบ้านอาจสนใจและอยากที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ แต่ไม่มีพื้นที่เพียงพอ การติดบนหลังคาบ้านก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี บทความนี้จะพาไปดูว่าการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านมีประโยชน์อย่างไร การติดตั้งโซลาร์เซลล์เหมาะกับหลังคาบ้านแบบไหน

การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน มีประโยชน์อย่างไร

การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน มีประโยชน์อย่างไร

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านนั้นมีประโยชน์ในหลายด้าน มีประโยชน์ต่อทั้งเจ้าของบ้าน ต่อส่วนรวม และต่อโลก ซึ่งสามารถแจกแจงเป็นรายละเอียดได้ ดังนี้

ประโยชน์ต่อเจ้าของบ้าน

  • ช่วยลดค่าไฟในแต่ละเดือนได้ ในกรณีที่ติดตั้งเพื่อใช้ในอาคารของตนเอง
  • ช่วยสร้างรายได้พิเศษ ในกรณีที่ขายให้กับการไฟฟ้า ซึ่งจะขายได้ในราคา 6.96 บาทต่อหน่วย ในขนาดที่ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2566)
  • ช่วยลดความร้อนบนหลังคา เนื่องจากหลังคาบ้านโซลาร์เซลล์ช่วยบังแสงแดดที่ตกกระทบหลังคาได้

ประโยชน์ต่อโลก

  • ช่วยลดมลภาวะ ช่วยลดโลกร้อน เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีมลพิษ
  • ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เพราะเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์
  • ช่วยในการรณรงค์โครงการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Cut)
  • ช่วยลดการสร้างระบบสายส่งไฟฟ้า ช่วยลดการสูญเสียไฟฟ้าในระบบ 
  • ช่วยประหยัดงบประมาณในประเทศ ช่วยสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ
  • ช่วยชะลอการสร้างโรงงานไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิง น้ำ หรือนิวเคลียร์ ช่วยลดความขัดแย้งทางสังคม

หลังคาบ้านแบบไหนเหมาะที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์

หลังคาบ้านแบบไหนเหมาะที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์

ก่อนที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านนั้น ก็มีข้อควรพิจารณาถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมด้วย ดังนี้

วัสดุของหลังคา

ก่อนจะติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาก็ต้องดูที่วัสดุของหลังคาก่อน ซึ่งในความเป็นจริงแผงโซลาร์เซลล์สามารถติดตั้งได้กับวัสดุทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้อง เมทัลชีท ซีเมนต์ โลหะ ไม้ ไวนิล หินชนวน และอื่นๆ แต่เพื่อความปลอดภัยก็ควรตรวจสอบความแข็งแรงของวัสดุ และโครงสร้างของหลังคาก่อน ว่ามีชำรุดหรือเสียหายหรือไม่ สามารถรองรับน้ำหนักได้แค่ไหน โดยทั่วไปหลังคาต้องรองรับน้ำหนักได้ 50 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

อายุของหลังคา

ก่อนที่จะทำหลังคาโซลาร์เซลล์บ้านเรื่องที่จะพลาดไม่ได้เลยคือ ต้องตรวจสอบอายุของหลังคาก่อนเสมอ ว่ามีอายุการใช้งานมานานเท่าไหร่แล้ว โดยให้วิศวกรตรวจสอบว่าหลังคามีสภาพเป็นเช่นไร ต้องทำการเปลี่ยนหรือปรับปรุงก่อนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาหรือไม่ เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ และแผงโซลาร์เซลล์จะมีอายุประมาณ 25 ปี หลังการติดตั้ง ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบอายุและสภาพของหลังคาให้ดีก่อนเสมอ

ทิศทางของหลังคา

ทิศทางของหลังคาก็มีความสำคัญต่อการทำหลังคาบ้านโซลาร์เซลล์เช่นกัน เพราะมีผลต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยทิศใต้จะเป็นทิศที่เหมาะสมที่สุดในการติดตั้งในประเทศไทย เพราะจะสามารถรับแสงอาทิตย์ได้เกือบตลอดทั้งวัน แต่ทิศตะวันออกและตะวันตกก็สามารถติดตั้งได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอ

ขนาดของหลังคา

ขนาดหลังคาโซลาร์เซลล์บ้านเป็นอีกหนึ่งข้อที่ควรนำมาพิจารณาเช่นกัน ยิ่งหลังคามีขนาดพื้นที่กว้างมากเท่าใด ก็เหมาะสมสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มากขึ้นเท่านั้น โดยรูปทรงที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งมากที่สุดจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะสามารถใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นหลังติดตั้งจะต้องเผื่อพื้นที่ว่างไว้ประมาณ 20% เพื่อไว้สำหรับให้ช่างปีนขึ้นไปทำการบำรุงรักษาและซ่อมแซมในอนาคตอีกด้วย

องศาของหลังคา

องศาของหลังคาก็มีความสำคัญไม่แพ้กันสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน โดยระยะองศาที่เหมาะสมในการติดตั้งจะอยู่ที่มุมเอียงระหว่าง 15-40 องศา แต่ถึงแม้ว่าหลังคาจะมีทรงแบนแต่หากติดตั้งได้ระยะมุมองศาที่เหมาะสม ก็จะทำให้การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน

แสงกระทบ

ข้อสุดท้ายที่ควรพิจารณาสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์หลังคาบ้านก็คือแสงที่มาตกกระทบนั่นเอง หากมีเงามาบดบังอาจจะทำให้การผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ได้ประสิทธิภาพ เช่น ต้นไม้สูงที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น อาจจะต้องทำการตัดต้นไม้สูงๆ เพื่อไม่ให้เกิดเงาบนแผงโซลาร์เซลล์ และให้แสงอาทิตย์ตกกระทบได้อย่างเต็มที่

แนะนำ 4 แบบหลังคาบ้านที่เหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์

แนะนำ 4 แบบหลังคาบ้านที่เหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์

หลังคาบ้านในประเทศไทยมีมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่หลังคาที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน มีดังนี้

หลังคาบ้านทรงแบน (Flat Roof)

1. หลังคาบ้านทรงแบน (Flat Roof)

หลังคาทรงแบนจะเป็นบ้านแบบสไตล์โมเดิร์น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะทำด้วยซีเมนต์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบ้าน หรือจะเรียกว่าดาดฟ้าก็ได้เช่นกัน เป็นหลังคาที่มีลักษณะแบบเป็นพื้นราบเดียวกัน ซึ่งเป็นหลังคาที่เหมาะกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา เพราะช่างสามารถทำงานได้ง่ายและสะดวก รวมทั้งการซ่อมบำรุงอีกด้วย

หลังคาบ้านทรงจั่ว (Gable Roof)

2. หลังคาบ้านทรงจั่ว (Gable Roof)

หลังคาบ้านที่เหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์อีกแบบก็คือทรงจั่ว ซึ่งเป็นหลังคาที่มีรูปทรงคล้ายกับสี่เหลี่ยมแต่มีการตัดมุมให้กลายเป็นแปดเหลี่ยม ซึ่งจะทำให้มีความแข็งแรงและพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เพราะรวมส่วนปลายที่สูงขึ้นมาด้วย หลังคาทรงจั่วจึงเหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา เพราะมีพื้นที่และความแข็งแรงเพียงพอ

หลังคาบ้านทรงเพิงแหงน (Lean-to Roof)

3. หลังคาบ้านทรงเพิงแหงน (Lean-to Roof)

หลังคาทรงเพิงแหงนเป็นหลังคาบ้านที่คล้ายกับทรงจั่ว แต่จะแตกต่างกันตรงที่มีส่วนปลายยกขึ้น ซึ่งทำให้หลังคาทนต่อแรงลม และแรงเหวี่ยงได้ดี มีความแข็งแรง ที่สำคัญยังเป็นทรงหลังคาที่รับแสงอาทิตย์ได้ดี จึงเหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา

หลังคาบ้านทรงปั้นหยา (Hip Roof)

4. หลังคาบ้านทรงปั้นหยา (Hip Roof)

สำหรับหลังคาทรงสุดท้ายที่เหมาะกับการทำหลังคาโซลาร์เซลล์บ้านคือทรงปั้นหยา ซึ่งลักษณะโดยรวมจะดูเหมือนกับสี่เหลี่ยม แต่มีส่วนปลายที่ยกสูงขึ้นไปทั้งสองด้าน เลยมีลักษณะคล้ายกับรูปสามเหลี่ยมตั้งโต๊ะ ซึ่งหลังคาทรงปั้นหยาจะเหมาะกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มากกว่าทรงจั่ว เพราะรับแสงอาทิตย์ได้ดีกว่านั่นเอง

สรุป

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านมีประโยชน์ต่อทั้งตัวเจ้าของบ้านเอง ต่อส่วนรวม และต่อโลก เพราะเป็นการนำพลังงานธรรมชาติที่สะอาดมาใช้ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ไม่สูญเสียเชื้อเพลิง ซึ่งดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดโลกร้อน และที่สำคัญยังช่วยประหยัดค่าไฟอีกด้วย ซึ่งการจะติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาก็มีข้อควรพิจารณาหลายด้าน เช่น วัสดุหลังคา อายุ ขนาด ทิศทาง องศา และแสงที่ตกกระทบ ซึ่งมีหลังคาหลายทรงที่เหมาะแก่การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ได้แก่ ทรงแบน ทรงจั่ว ทรงเพิงแหงน ทรงปั้นหยา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเจ้าของบ้านก็ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรมาตรวจสอบโครงสร้างหลังคา ความแข็งแรง และความเหมาะสมก่อนติดตั้ง เพื่อที่จะได้ใช้งานได้อย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพ

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด