Cover

อาคารสีเขียวคืออะไร? รวม 10 วิธีออกแบบโรงงานให้ประหยัดพลังงาน

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ‘โลกร้อน’ ได้กลายเป็นหนึ่งปัญหาหนักที่สร้างความเสียหายทั่วโลก ทั้งปัญหาภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ภาวะขาดแคลนอาหาร ปัญหาภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงมากขึ้น ปัญหาสุขภาพ ความความยากจน และสิ่งมีชีวิตเสี่ยงสูญพันธุ์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั่วโลกหันมาโฟกัสและพยายามหาทางแก้ปัญหานี้ร่วมกัน โดยหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาแบบยั่งยืนที่หลาย ๆ ประเทศเริ่มให้ความสนใจคือ การสร้างมาตรฐานอาคารสีเขียวหรืออาคารประหยัดพลังงาน

อาคารสีเขียว คืออะไร

ทำความรู้จัก! อาคารประหยัดพลังงาน หรือ อาคารสีเขียว คืออะไร?

ถ้าพูดถึง ‘อาคารสีเขียว’ คนส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่าหมายถึงอาคารแนว Vertical Forest หรืออาคารป่าแนวตั้งที่ออกแบบพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ได้จำนวนมากเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว อย่างอาคาร Bosco Verticale มิลาน ประเทศอิตาลี The Nanjing Green Towers นานกิง ประเทศจีน โครงการ 1000 Trees เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน หรืออพาร์ตเมนต์ M6B2 Tower ปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่ในความจริงแล้วความหมายของอาคารสีเขียวหรืออาคารประหยัดพลังงาน คือ อาคารแบบยั่งยืน (Sustainability) ที่วางแนวทางปฏิบัติให้เกิดการใช้ทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการจัดการทรัพยากรน้ำ ไฟฟ้า พื้นที่ การก่อสร้าง การจัดการของเสีย โดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวคิดอาคารประหยัดพลังงาน สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับอาคารเก่าและอาคารใหม่ สำหรับกรณีอาคารเก่าเป็นการนำระบบและวัสดุใหม่เข้าไปแทนระบบเก่าหรือวัสดุเก่าที่ขาดประสิทธิภาพ ในขณะที่การสร้างอาคารใหม่ ควรเริ่มวางแผนการตั้งแต่การออกแบบและวางระบบการระบบการจัดการพลังงานภายในอาคารให้ตรงตามมาตรฐานอาคารสีเขียว

มาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน

มาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานมีอะไรบ้าง

  • TREES หรือ Thai’s Rating of Energy and Environment Sustainability: 
  • LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design: 
  • EDGE หรือ Excellence in Design for Greater Efficiencies: 
  • WELL Building Standard

สำหรับการระบุว่าอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมใดได้มาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน ไม่ได้พิจารณาแค่ว่าเป็นอาคารที่ใช้พลังงานน้อย ใช้เฉพาะพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีการจัดการระบบของเสียที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ต้องผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาอาคารประหยัดพลังงาน ได้แก่

  • TREES หรือ Thai’s Rating of Energy and Environment Sustainability: เป็นหลักเกณฑ์การประเมินของสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) ประเทศไทย 

หน่วยงานอิสระที่ไม่แสวงผลกำไร จดทะเบียนนิติบุคคลภายใต้มูลนิธิอาคารเขียวไทย โดยทางสถาบันฯ จะยึดการประเมินตามแนวทางความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอิงตามหลักเกณฑ์เดียวมาตรฐานสากลที่ใช้ในประเทศต่างๆ แต่ปรับให้เหมาะสมกับประเทศไทยมากขึ้น ด้วยการระบุให้ผู้ประกอบการสามารถใช้วัสดุก่อสร้างที่ผลิตในประเทศไทยได้

  • LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design: เป็นหลักเกณฑ์การประเมินอาคารประหยัดพลังงานหรือสิ่งก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ U.S. Green Building Council (USGBC) ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถใช้ประเมินได้ทั้งอาคารที่อยู่ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นทั่วโลก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ LEED เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ได้รับนิยมมากที่สุด รวมทั้งยังถูกนำไปใช้แนวทางในสร้างมาตรฐานการรับรองอาคารประหยัดพลังงานของประเทศต่าง ๆ อีกด้วย ปัจจุบันการขอใบรับรองอาคารประหยัดพลังงานจาก LEED สามารถยื่นเอกสารเพื่อขอการรับรองที่ผ่านทางเว็บไซต์ของ LEED ถ้าคะแนนถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับใบรับรองแบบถาวร   
  • EDGE หรือ Excellence in Design for Greater Efficiencies: เป็นหลักเกณฑ์การประเมินอาคารประหยัดพลังงาน การวัดผลการก่อสร้างอย่างยั่งยืน และนวัตกรรมในการรับรองมาตรฐานความเป็นเลิศในการออกแบบอาคาร สำหรับตลาดเกิดใหม่ของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศหรือ IFC (International Finance Corporation) ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจะคล้ายคลึงกับเกณฑ์ของ LEED แต่เพิ่มการประเมินปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย เนื่องจากมีแอพพลิเคชั่นในการประเมินด้วยตัวเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งหลังจากผ่านการประเมินอาคารจาก EDGE Auditor เรียบร้อยแล้ว อาคารที่ผ่านการประเมินจะได้รับใบรับรองถาวร เช่นเดียวกับ LEED
  • WELL Building Standard เป็นหลักเกณฑ์การประเมินอาคารประหยัดพลังงานของประเทศแคนาดา จากสถาบันสถาบัน IWBI (International WELL Building Institute) ที่เกิดจากความร่วมมือกับผู้พัฒนาหลักเกณฑ์มาตรฐาน LEED เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินคุณภาพผู้อยู่อาศัยในอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ในการประเมินทั้งหมด 10 ข้อ สำหรับการขอใบรับรองจาก WELL Building Standard นอกจากส่งเอกสารแล้ว ยังต้องรับการประเมินจากผู้ตรวจ หากอาคารผ่านการประเมินจะได้รับใบรับรอง แต่มาตรฐาน WELL Building Standard จะต้องต่ออายุใบรับรองทุก 3 ปี

ออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงาน

อยากออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงาน ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

ตามหลักเกณฑ์อาคารประหยัดพลังงานแบบต่าง ๆ ไม่ว่า TREES, LEED, EDGE หรือ WELL Building Standard เห็นได้ว่าการสร้างอาคารที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรม หรือปรับปรุงอาคารเดิมเพื่อให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานอาคารสีเขียว ต้องให้ความสำคัญและใส่ใจทั้งการออกแบบโครงสร้าง การเลือกวัสดุก่อสร้าง และการวางระบบการจัดการพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งถึงแม้ว่าไม่สามารถทำได้ครบในทุกข้อ แต่การเริ่มเปลี่ยนก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการลดการใช้พลังงานในอาคาร นำไปสู่การลดค่าใช้จ่าย การจัดการแบบยั่งยืน พร้อมก้าวไปเป็นอาคารสีเขียวแบบสมบูรณ์แบบ สำหรับวิธีการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานควรคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ

การสร้างอาคารประหยัดพลังงานใหม่ค่อนข้างจัดการได้ง่ายกว่า ในเรื่องการวางตำแหน่งของอาคารให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เพราะสามารถกำหนดทิศทางของอาคารที่ส่งผลดีต่อการประหยัดพลังงานในอาคารแบบยั่งยืนได้ง่ายกว่าอาคารเก่า โดยในการออกแบบอาคารควรตรวจสอบตำแหน่งทิศทางของลม ทิศทางของแสงและการลาดเอียงของพื้นดินก่อนเขียนแบบอาคาร เช่น

  • การออกแบบส่วนที่มีความแคบน้อยไปทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกเพื่อให้อาคารโดนแสงอาทิตย์น้อยลง ลดการสะสมความร้อนภายใน 
  • การวางตำแหน่งอาคารด้านที่มีหน้าต่างให้รับลมประจำถิ่นได้ง่ายขึ้น กรณีประเทศไทย ลมฤดูร้อนจะพัดจากทางทิศใต้หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขณะที่ลมฤดูหนาวพัดจากทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 
  • การปรับปรุงพื้นที่โดยรอบด้วยการสร้างแหล่งน้ำ เพื่อให้กระแสลมพัดไปยังอาคาร การปรับเนินดินให้กระแสลมผ่านได้ง่ายขึ้นหรือการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างความร่มรื่น

2. การจัดการกับปริมาณแสง

สิ่งสำคัญที่สุดของการจัดการกับปริมาณแสงคือ คุณภาพของแสงที่ส่งผ่านเข้าไปในอาคารต้องเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้งาน จึงทำให้ค่อนข้างยากต่อการลดจำนวนอุปกรณ์ให้แสงสว่างโดยเฉพาะการประหยัดพลังงานในโรงงาน เนื่องจากอาจส่งผลกระทบและเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในอาคาร ดังนั้นการจัดการกับปริมาณแสงที่ง่าย ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบน้อยที่สุดคือ การเลือกใช้หลอดไฟที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับพื้นที่ การเลือกใช้หลอดไฟอัตโนมัติ การปิดเมื่อไม่มีการใช้งาน และการดูแลรักษาให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

3. การถ่ายเทอากาศ

ข้อดีแรกของการวางระบบการถ่ายเทอากาศในอาคารประหยัดพลังงาน คือ ช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศในระยะยาว ซึ่งสิ่งเหมาะสมที่สุดคือ การสร้างช่องลมระบายอากาศให้สูง เพื่อให้ลมลอยขึ้นไปและระบายออกสู่ตัวอาคาร อย่างไรก็ตามการสร้างช่องเปิดตามธรรมชาติเพื่อรับแสง รับลม หรือระบายอากาศ ต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณแสงและความร้อนที่เข้ามา ไม่ควรสร้างช่องลม ช่องแสงขนาดใหญ่ แต่หากจำเป็นต้องออกแบบให้กว้าง ควรติดตั้งอุปกรณ์บังแดด เพื่อลดความร้อนที่ไหลเข้ามา

4. รูปร่างและรูปทรงของตัวอาคาร

สำหรับลักษณะของอาคารประหยัดพลังงานที่มีประสิทธิภาพเป็นอาคารที่มีอัตราส่วนพื้นที่ต่ำ พื้นที่ใช้สอยน้อย และรูปทรงโค้งมน เพราะจะทำให้การรั่วซึมของอากาศเย็นภายในน้อยกว่าอาคารขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ใช้สอยสูง ซึ่งถ้าเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก คือ ทรง Cylinder ทรง Cube ทรง Box และ ทรง Complex form แต่ทั้งนี้หากปรับเป็นการออกแบบอาคารในลักษณะจั่วสูงก็จะช่วยระบายอากาศและความร้อนได้ดีมากขึ้น

5. การใช้ผนังทึบและผนังใสในบริเวณต่าง ๆ 

ความแตกต่างระหว่างการใช้ผนังทึบกับผนังใสคือ การต้านทานความร้อน โดยผนังแบบทึบสามารถต้านทานความร้อนได้มากกว่าผนังใสหรือกระจกใส ดังนั้นอาคารประหยัดพลังงานจึงนิยมใช้เป็นผนังทึบที่มีการติดตั้งฉนวนความร้อน ใช้สีโทนอ่อนที่มีการดูดกลืนความร้อนน้อยกว่าโทนเข้มเพื่อเพิ่มคุณสมบัติการต้านทานความร้อนให้กับอาคารมากขึ้น แต่กรณีเลือกใช้ผนังโปร่งหรือกระจกเพื่อความสวยงาม ควรเลือกใช้กระจกที่มีคุณสมบัติกันความร้อนทดแทน เช่น

  • กระจกเคลือบผิวสะท้อนแสง (Reflecting Metallic Coating) ลดได้ทั้งความร้อนและแสงสว่าง แต่ข้อเสียคือ สามารถแผ่ความร้อนภายในห้องได้ จึงไม่เหมาะกับประเทศในเขตร้อน
  • กระจกสองชั้น (Double Glazing) สามารถลดความร้อนได้สูงถึง 80% และแสงผ่านได้ดี ป้องกันรังสี UV จึงช่วยทั้งลดความร้อนและประหยัดพลังงานจากอุปกรณ์ส่องสว่าง แต่ข้อเสียคือ มีราคาสูงกว่ากระจกประเภทอื่น
  • กระจกติดฟิล์ม Low E (Low Emissivity) กระจกใสที่มีการเคลือบ Sun Protection ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การแผ่รังสีต่ำ จึงคุณสมบัติเด่นเรื่องช่วยลดความร้อนเข้าสู่อาคาร
  • กระจกลามิเนต ช่วยป้องกันความร้อนได้ดี อีกทั้งยังลดอันตรายเวลาแตก เพราะเศษกระจกยังยึดเกาะกัน ไม่ร่วงหล่นเหมือนกระจกแบบอื่น เหมาะสำหรับส่วนที่ไม่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ

6. ระบบปรับอากาศ

จากข้อมูลจากสถาบันอาคารเขียวไทยพบว่าระบบปรับอากาศเป็นการใช้พลังงานที่มากที่สุดในอาคาร โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 65% จากการใช้พลังงานทั้งหมด ดังนั้นหากต้องการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคาร นอกจากต้องปรับลดการใช้พลังงานส่วนนี้ลงแล้ว ต้องให้ความสำคัญกับการเลือกเครื่องปรับอากาศที่ได้มาตรฐานประหยัดพลังงาน ขนาด และประเภทของเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่ สำหรับประเภทเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่

  • เครื่องปรับอากาศติดผนัง ขนาดเล็กกระทัดรัด ดูแลรักษาง่าย เหมาะสำหรับห้องที่มีขนาดเล็ก 
  • เครื่องปรับอากาศแขวนใต้ฝ้า กระจายความเย็นได้ทั่วถึง เหมาะสำหรับห้องที่มีคนจำนวนมาก อย่างห้องสำนักงาน โซนให้บริการลูกค้า หรือร้านขายของ
  • เครื่องปรับอากาศฝังในเพดาน เป็นเครื่องปรับอากาศที่ซ่อนส่วนของตัวเครื่องและท่อต่าง ๆ ในฝ้าเพดาน เหมาะกับห้องที่ต้องการความสวยงาม
  • เครื่องปรับอากาศแบบตู้ตั้งพื้น เป็นแบบที่กระจายความเย็นได้ดี แข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับใช้งานในห้องขนาดใหญ่ที่มีคนใช้งานจำนวนมาก อย่างในโรงงานอุตสาหกรรมหรือห้องประชุมขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตามนอกจากประเภทแล้ว ควรดูขนาด BTU หรือขนาดการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศให้สัมพันธ์กับขนาดห้องด้วย เพราะหากเลือกขนาด BTU ต่ำเกินไปก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก อายุการทำงานสั้นลง แต่ถ้าเลือกขนาด BTU สูงกว่าขนาดพื้นที่คอมเพรสเซอร์จะตัดบ่อยเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น 

7. วัสดุของหลังคา

หลังคาเป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับแสงโดยตรง เพราะฉะนั้นหากต้องการปรับให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานแบบยั่งยืน ควรเลือกหลังคาทึบสีอ่อนที่มีมวลสารน้อยรวมถึงสะสมความร้อนน้อยด้วย และที่สำคัญต้องมีการบุฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ซึ่งจะช่วยสะท้อนความร้อนและลดการสะสมของความร้อนในอาคาร สำหรับฉนวนกันความร้อนที่นิยม ได้แก่

  • ฉนวนใยแก้ว เรียกอีกชื่อว่าไฟเบอร์กลาส กันความร้อน ไม่ลามไฟ  กันเสียงได้ดี
  • ฉนวนโฟม PE ป้องกันและสะท้อนความร้อนได้พร้อมกัน 
  • ร็อควูล คุณสมบัติใกล้เคียงกับฉนวนใยแก้ว แต่ทนไฟและซับเสียงได้ดีกว่า
  • อลูมินั่มฟอยล์ สะท้อนความร้อนได้สูงสุด 97% ทนแรงดึง แข็งแรงไม่ฉีกขาดง่าย
  • แอร์บับเบิ้ล ป้องกันและสะท้อนความร้อนได้พร้อมกัน สามารถติดตั้งกับหลังคาได้หลายส่วน

8. อุปกรณ์บังแดดภายนอกและการปลูกต้นไม้

หากต้องการปรับปรุงอาคารเดิมให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานหรือติดข้อจำกัดด้านการออกแบบ สามารถแก้ไขด้วยการเสริมอุปกรณ์บังแดดแบบถาวรในจุดที่รับแสงอาทิตย์ แต่กรณีที่ไม่ต้องการให้อุปกรณ์บังแดดบดบังความสวยงามของภูมิทัศน์ อาจเลือกเป็นการเปลี่ยนพื้นที่โดยรอบให้เป็นสวนที่มีความร่มรื่น ด้วยการปลูกพืชคลุมดิน ไม้พุ่ม และแหล่งน้ำ เพื่อปรับบรรยากาศโดยรอบให้เย็นลง

9. ใช้พลังงานหมุนเวียน

นอกจากการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าจะเป็นหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณารับรองอาคารประหยัดพลังงานของสถาบันต่าง ๆ การวางระบบเพื่อหมุนเวียนยังเป็นการลดการใช้พลังงานและประหยัดค่าใช้จ่ายต่อปีได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย สำหรับระบบการหมุนเวียนพลังงานที่นิยมใช้การลดพลังงานในโรงงานหรืออาคารประเภทต่าง ๆ ได้แก่

  • ระบบการจัดการน้ำ ปัจจุบันมีทั้งการรีไซเคิลน้ำประปาเพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ล้างสุขภัณฑ์ ช่วยประหยัดน้ำประปา การกักเก็บน้ำฝนเพื่อใช้ในการรดน้ำต้นไม้
  • การติดต้้งสารแผงโซลาเซลล์ (Solar Cell) เพื่อผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งข้อดีนอกจากจะเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีวันหมดแล้ว ยังเป็นการลงทุนวางระบบครั้งเดียวที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวอีกด้วย

10. ติดตั้งระบบ SCADA

เพื่อประสิทธิภาพที่มากขึ้นในการประหยัดพลังงานในโรงงานหรือองค์กร ระบบ SCADA หรือ Supervisory Control and Data Acquisition ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ขาดไม่ได้ในการบริหารจัดการระบบควบคุมการใช้พลังงาน เพราะระบบ SCADA คือ ซอฟแวร์ที่ทำให้จัดการ ตรวจสอบ ติดตาม และวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานภายในอาคารแบบ Real-Time ทำให้การควบคุมพลังงานได้ง่ายและครอบคลุมมากขึ้น

สรุป

จะเห็นได้ว่าอาคารประหยัดพลังงานมีประโยชน์ ทั้งในแง่ของการประหยัดต้นทุน ประหยัดพลังงาน และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างหรือเปลี่ยนอาคารเก่าให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน เพราะแม้ว่าต้องลงทุนในด้านการออกแบบและวางระบบจัดการมากขึ้น แต่สามารถคืนทุนได้ภายใน 3 – 5 ปี หลังจากนั้นเป็นการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในระยะยาว 

ซึ่งผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติและกำลังสร้างอาคารประหยัดพลังงานหรือเปลี่ยนอาคารเก่าให้เป็นอาคารสีเขียวแบบยั่งยืน แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหน แนะนำ  Sorarus ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบประหยัดพลังงาน คร่ำหวอดอยู่ในวงการด้านการผลิตน้ำร้อนจากพลังงานทดแทนและให้ปรึกษากับภาคธุรกิจมากว่า 40 ปี ติดตั้งมาแล้วกว่า 1,000 แห่ง การันตีวัสดุติดตั้งใช้งานได้นานกว่า 100 ปี รับประกันคืนทุนไวและประหยัดต้นทุนทรัพยากรได้มากถึง 50-70% แน่นอน

Sorarus-Feb4-banner

มาทำความรู้จักกับ Carbon Footprint คืออะไร

ในปัจจุบัน โลกของเรามีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมามากมาย ซึ่งก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปมากด้วยเช่นกัน มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศต่างๆ เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นเราทุกคนต้องรีบหันมาใส่ใจกับปัญหานี้ โดยบทความนี้จะพูดถึงเรื่องของ Carbon Footprint ที่จะเป็นส่วนช่วยให้เราได้ประเมินว่าสิ่งต่างๆ มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนเท่าไหร่ เพื่อทำให้เราตระหนักถึงสิ่งที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แล้ว Carbon Footprint คืออะไร มาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่า

carbon footprint คืออะไร

Carbon Footprint คืออะไร

คาร์บอนฟุตพรินท์ (Carbon Footprint : CF) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากพฤติกรรมของมนุษย์เรา การใช้ชีวิตกระจำวันต่าง ๆ การคมนาคม อุตสาหกรรมการผลิตสินค้า ปศุสัตว์ การใช้ไฟฟ้า รวมไปถึงของเสียที่เกิดจากอาหาร ล้วนก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งนั้น

โดย Carbon Footprint จะมาช่วยเป็นแนวทางที่ใช้ประเมินว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ชนิด คือ 1.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.ก๊าซมีเทน 3.ก๊าซไนตรัสออกไซด์ 4.กลุ่มก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน 5.กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน 6.ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ 7.ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ ซึ่งก๊าซแต่ละชนิดจะมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อนแตกต่างกันไป

โดยการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น มีทั้งทางตรงและทางอ้อม

  • ทางตรง เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง รวมไปถึงการใช้พลังงานในบ้าน และการใช้รถยนต์
  • ทางอ้อม เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่เราใช้โดยคำนวณรวมทั้งกระบวนการผลิต จนถึงการกำจัดของเสีย ซึ่งก็คือตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA : Life Cycle Assessment)

ซึ่งเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินท์ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่าตลอดทุก ๆ กระบวนการของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกในปริมาณเท่าไหร่บ้าง ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของกระบวนการ ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อให้แก่ผู้บริโภค และสร้างความตื่นตัวในกลุ่มผู้บริโภคให้เลือกสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า โดยสามารถเปรียบเทียบได้จากสินค้าชนิดเดียวกันแต่คนละแบรนด์

Carbon Footprint ถูกแนะนำขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ภายใต้การดูแลของ Carbon Trust โดยคาดหวังว่าการดำเนินโครงการนี้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต การขนส่ง หรือบรรจุภัณฑ์
ในหลาย ๆ ประเทศได้เริ่มมีการทำ Carbon Footprint มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศศ สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น ซึ่งการลงทุนที่เกี่ยวกับการช่วยลดภาวะโลกร้อนนี้จะช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้เป็นอย่างมาก เพราะมันจะแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม การรับรู้ และช่วยให้มีการสื่อสารที่ดีระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคอีกด้วย

carbon footprint เกิดจากอะไรได้บ้าง

Carbon Footprint เกิดจากอะไรได้บ้าง

คาร์บอนฟุตพรินท์ นั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย อย่างที่ได้เกริ่นไปช่วงต้นว่าเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ หรือจากอุตสาหกรรมมากมาย เพราะฉะนั้นในส่วนนี้เรามาดูสาเหตุของคาร์บอนฟุตพรินท์ เพื่อจะได้นำไปแก้ปัญหาได้ถูกจุด โดยสาเหตุหลัก ๆ จะมีดังนี้

คาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กร

คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมการดำเนินงานต่าง ๆ ภายในองค์กร เช่น การใช้เชื้อเพลิงภายในองค์กร เป็นต้น

คาร์บอนฟุตพรินท์ของบริการ

คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาในการให้บริการนั้น ๆ โดยจะมาจากทั้งผลิตภัณฑ์และองค์กร เช่น กิจกรรมการพักผ่อนต่าง ๆ เป็นต้น

คาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์

คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมากตลอดวัฏจักรผลิตภัณฑ์ พูดง่าย ๆ คือ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การคมนาคมขนส่ง การใช้งานผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการกำจัดของเสียเมื่อหมดอายุการใช้งาน
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์จะมีเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินท์แสดงข้อมูลก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตลอดกระบวนการของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาให้ปริมาณเท่าไหร่บ้าง เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

การคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์

การคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์

​​คาร์บอนมีส่วนทำให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้นได้ ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อมนุษย์เราอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นการรู้ว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมานั้นมีเท่าไหร่บ้าง จะช่วยทำให้เราตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นตามมา ในส่วนนี้เราเลยจะแนะนำวิธีการคำนวนคาร์บอนฟุตพรินท์ว่าทำอย่างไร

ทางคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ได้กำหนดค่าที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนของแต่ละก๊าซให้เทียบกับศักยภาพการเกิดภาวะโลกร้อนของก๊าซคาร์บอนออกไซด์ 

โดยต้องเข้าใจก่อนว่าก๊าซเรือนกระจกมีหลายชนิด การที่จะสามารถบอกปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ จำเป็นจะต้องนำมาเทียบและแปลงค่าก๊าซทุกตัวให้มีหน่วยเดียวกัน เพราะฉะนั้นการคำนวนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมานั้นจะใช้หน่วยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ในการคำนวน

ก๊าซมีเทน (CH4) มีค่าที่ทำให้โลกร้อน 28 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีค่าทำให้โลกร้อน 256 เท่าของก๊าซคาร์ไดออกไซด์

ดังนั้นหากเราปล่อยก๊าซมีเทน 1 kg หมายความว่า ค่าที่เราปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์ = 28 kgCO2e
และหากเราปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ 1 kg จะหมายความว่าค่าที่เราปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์ = 256 kgCO2e

โดยวิธีการคำนวน Carbon Footprint คือ นำข้อมูลของกิจกรรมที่ทำ (Activity Data) ที่เกิดจากมนุษย์ทั้งหลาย x ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้ในการแปลงค่าข้อมูลเบื้องต้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อคิดเป็นค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมนั้น ๆ

ยกตัวอย่างเช่น หากเราใช้ไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์/ชั่วโมง (kWh) โดยค่า Emission factor ของไฟฟ้าคือ 0.4999 kgCO2e
จะหมายความว่า ค่าที่เราปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้า คือ 1 x 0.4999 = 0.4999 kgCO2e

ซึ่งโดยปกติแล้วกิจกรรมที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซพิษมากที่สุด เช่น

  • การใช้เชื้อเพลงภายในองค์กรหรือภายในบ้านเรือน
  • กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจต่าง ๆ
  • บริการสาธารณะ
  • การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • การคมนาคมขนส่ง
  • การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
  • โรงงานรถยนต์
  • การเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบิน
  • อาหารและเครื่องดื่ม

แนวทางที่ช่วยลด carbon

แนวทางที่ช่วยลด Carbon

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์เรา จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันต่าง ๆ มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสม โดยจะส่งผลให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย และทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศต่าง ๆ รวมถึงเศรษฐกิจและสังคม เพราะฉะนั้นหากเราไม่ช่วยกันป้องกัน และลดจำนวน Carbon Footprint อาจจะส่งผลที่รุนแรงในภายหลังก็เป็นได้ ดังนั้น ตอนนี้เรามาดูสิ่งที่เราสามารถเริ่มต้นทำกันได้ง่าย ๆ เพื่อช่วยโลกของเรากันเถอะ

ใช้พลังงานสะอาด

​​การประหยัดพลังงานโดยอาจจะเริ่มจากอะไรง่าย ๆ เช่น เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือไฟ LED ในขนาดที่พอเหมาะ หรือการถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้งานเสร็จแล้ว เป็นต้น นอกจากนี้การเลือกใช้พลังงานสะอาด อย่างเช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม ก็มีส่วนช่วยลดคาร์บอนได้ และอาจจะถึงเวลาที่ต้องเริ่มใช้พลังงานหมุนเวียนกันอย่างจริงจังแล้ว นอกจากนี้การใช้โซลาเซลล์ก็สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ประมาณ 101 ต้นเลยทีเดียว ซึ่งโซลาเซลล์เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด ขอแค่มีแสงก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้เรื่อย ๆ แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

แนวทางที่ช่วยลดคาร์บอน

ปรับพฤติกรรมการกิน

เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ปรับมากินอาการที่เป็นพืชออแกนิค และกินเนื้อแต่พอดี สัดส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนปศุสัตว์สูงสุดอยู่ที่ 18% และอาจจะสูงขึ้นอีกถึง 51% และต้นเหตุนั้นมาจากกระบวนการในการผลิตเนื้อ โดยเฉพาะการทำไร่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ทำให้พื้นที่ป่าไม้ที่คอยดูดซับก๊าซคาร์บอนก็น้อยลง การหันมากินพืชออแกนิค จะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีที่ผ่านการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีส่วนทำให้เกิดคาร์บอน นอกจากนี้ การกินอาหารให้หมด จะช่วยลดปริมาณเศษอาหารที่เหลือ ช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการย่อยสลายเศษอาหารอีกด้วย

ซื้อของท้องถิ่น สนับสนุนชุมชน

การซื้อของในท้องถิ่น กินของที่มีอยู่ในชุมชน จะช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการคมนาคมขนส่ง ที่ต้องขนส่งจากสถานที่ไกล ๆ ซึ่งจะเป็นการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งได้ แถมได้อาหารที่สดใหม่ ปลอดสารพิษ ปลอดสารกันบูด และยังเป็นการไม่สนับสนุนผลผลิตที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูกอีกด้วย

ลด carbon footprint

ปลูกต้นไม้

การปลูกต้นไม้ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การปลูกต้นไม้ 1 ต้น สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 9-15 kgCO2 ต่อปี และยังช่วยผลิตออกซิเจนอีกด้วย ยิ่งปลูกต้นไม้ก็จะยิ่งช่วยลดวิกฤตโลกร้อนได้มากขึ้น ซึ่งอาจจะเริ่มจากปลูกต้นไม้ในสวนที่บ้าน หรือเสนอโครงการออฟฟิศสีเขียวที่บริษัท เป็นต้น

ลดการใช้ยานพาหนะ

การเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ และเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ เพราะฉะนั้นการลดการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว หันมาเดินทางโดยขนส่งสาธารณะ หรือเลือกปั่นจักรยาน หรือเดินแทนการใช้รถยนต์ เพราะจะช่วยลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากรถยนต์ที่มีมากบนถนน และในอนาคตควรมีการผลักดันให้พัฒนาเทคโนโลยีที่ผลิตก๊าซคาร์บอนต่ำให้เร็วที่สุด

สรุป

Carbon Footprint คือสิ่งที่เอาไว้บอกปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันของเราทุกคน ทั้งการบริโภคอาหาร การใช้ไฟฟ้า น้ำประปา เติมน้ำมัน หรือการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน ล้วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดอุณหภูมิโลกสูงขึ้น ระบบนิเวศก็จะเปลี่ยนแปลง

ซึ่งหากมีการวางแผน ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตก็จะสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ จากการเลือกบริโภค การปลูกต้นไม้ การคิดก่อนใช้ และพยายามใช้ทรัพยากรทุกอย่างให้คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด เท่านี้ก็สามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยของก๊าซเรือนกระจก หรือ Carbon Footprint ได้เป็นอย่างมากเลยล่ะ นอกจากนี้การใช้พลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์อย่างการใช้โซลาเซลล์ก็สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดีเลยทีเดียว นอกจากจะช่วยลด Carbon Footprint แล้ว โซลาเซลล์จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แถมสามารถผลิตพลังงานได้เรื่อย ๆ ขอเพียงแค่มีแสงอาทิตย์

Cover

ก่อนติดตั้งโซลาเซลล์ต้องรู้! แบตเตอรี่โซลาเซลล์สำคัญอย่างไร

ปัจจุบันมนุษย์มีการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ช่วยจัดเก็บพลังงานไว้ใช้ต่อไป จึงมีการนำแบตเตอรี่มาใช้กับอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมไปถึงระบบไฟฟ้าภายในบ้านอย่างแบตเตอรี่โซลาเซลล์ด้วยเช่นกัน เพราะสามารถลดค่าไฟฟ้าภายในครัวเรือนและมีประโยชน์อีกมากมาย หลาย ๆ คนจึงเลือกที่จะติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานส่วนเกินไว้ใช้ บทความนี้จึงจะพามาทำความรู้จักกับแบตเตอรี่โซลาเซลล์ พร้อมบอกวิธีบำรุงรักษาเพื่อให้แบตเตอรี่โซลาเซลล์มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น

แบตเตอรี่โซลาเซลล์คืออะไร

แบตเตอรี่โซลาเซลล์คืออะไร

แบตเตอรี่โซลาเซลล์ (Solar Battery) คือ อุปกรณ์เสริมของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ภายในบ้าน ทำหน้าที่จัดเก็บไฟฟ้า โดยในระหว่างวันแผงโซลาเซลล์จะผลิตพลังงานไฟฟ้าออกมา พลังงานส่วนที่เกินจะถูกกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่โซลาเซลล์นั่นเอง ซึ่งเป็นการสำรองพลังงานสะสมไว้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าในตอนที่ไฟฟ้าดับ หรือแผงโซลาเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอ รวมถึงในตอนกลางคืน วันที่มีฝนตก หรือมีเมฆมากด้วยเช่นกัน ทั้งนี้หากไม่ได้ติดตั้งแบตเตอรี่โซลาเซลล์ พลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกส่งไปยังกริดที่เป็นเครือข่ายเชื่อมต่อสำหรับการจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งหมายความว่าคุณกำลังผลิตไฟฟ้าและนำไปจ่ายให้กับบ้านของผู้อื่นใช้แทน

ประเภทของแบตเตอรี่โซลาเซลล์

ประเภทของแบตเตอรี่โซลาเซลล์

แบตเตอรี่โซลาเซลล์นั้นมีความแตกต่างและมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป สามารถเลือกใช้แบตเตอรี่ตามความต้องการได้

แบตเตอรี่ตะกั่วกรด (Lead-Acid)

แบตเตอรี่ตะกั่วกรด เป็นแบตเตอรี่ที่ถูกเลือกใช้มานาน และเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับแบตเตอรี่ที่นิยมใช้กับยานยนต์และอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย มีความทนทานสูง ราคาไม่แพงมาก ดูแลรักษาง่าย เพราะไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และมีค่า DoD (Depth of Discharge) ต่ำ แม้ว่าอายุการใช้งานแบตเตอรี่โซลาเซลล์ประเภทนี้มีระยะเวลาสั้นกว่าประเภทอื่น ๆ แต่ปัจจุบันก็มีการพัฒนาปรับปรุงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ตะกั่วกรด และยังคงเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือได้สำหรับการใช้งานในการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ภายในบ้าน

แบตเตอรี่ลิเธียม (Lithium-Ion)

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เป็นแบตเตอรี่โซลาเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูง และได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ จึงสามารกักเก็บพลังงานได้เป็นจำนวนมากทั้งที่มีขนาดกะทัดรัด มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่แรงและคงที่ ระยะเวลาในการชาร์จไฟฟ้าเต็มได้เร็ว รวมถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้จึงทำให้แบตเตอรี่ลิเธียมมีราคาแพงกว่าแบตเตอรี่โซลาเซลล์ประเภทอื่น ๆ

แบตเตอรี่นิกเกิล (Nickel-Cadmium)

แบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียม เป็นแบตเตอรี่ที่พบเห็นการติดตั้งได้น้อยภายในที่อยู่อาศัย แต่นิยมใช้มากที่สุดในการใช้งานในสายการบินและอุตสาหกรรม เพราะมีความทนทานสูง สามารถทนความร้อนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งไม่ต้องการการดูแลบำรุงรักษามากเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียมมีองค์ประกอบที่เป็นมลพิษสูง หากไม่ได้กำจัดมลพิษนั้นอย่างเหมาะสมก็อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมได้

แบตเตอรี่เหลว (Flow)

แบตเตอรี่เหลว เป็นแบตเตอรี่ที่มีการทำงานขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาทางเคมี โดยพลังงานจะถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยสารละลายอิเล็กโทรไลต์ซึ่งเป็นของเหลวที่ไหลไปมาระหว่างสองห้องภายในตัวแบตเตอรี่ ถึงแม้แบตเตอรี่เหลวจะมีประสิทธิภาพสูง สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ดี แต่พลังงานนั้นมีความหนาแน่นต่ำ นั่นหมายความว่าต้องมีถังบรรจุสารละลายอิเล็กโทรไลต์ขนาดใหญ่ เพื่อกักเก็บพลังงานให้ได้จำนวนมาก จึงทำให้แบตเตอรี่เหลวเป็นตัวเลือกที่มีราคาแพง และไม่เหมาะกับการติดตั้งใช้งานภายในครัวเรือน

แบตเตอรี่กับโซลาเซลล์ดีอย่างไร

ใช้แบตเตอรี่กับโซลาเซลล์ดีอย่างไร

การใช้แบตเตอรี่กับโซลาเซลล์นั้นนอกจากจะช่วยเพิ่มความเสถียรภาพของระบบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ยังมีประโยชน์มากมายทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เช่น

กักเก็บพลังงานสำรองไว้ใช้ในครัวเรือน

การที่มีแบตเตอรี่สำรองพลังงานไว้จะช่วยให้สามารถดึงพลังงานไฟฟ้ามาใช้ได้ในตอนกลางคืน และตอนที่ฝนตก หรือมีเมฆมาบดบังแสงอาทิตย์ ซึ่งแผงโซลาเซลล์จะทำงานได้ไม่เต็มที่ และรวมถึงในกรณีฉุกเฉินอย่างไฟฟ้าดับ ก็ยังมีกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่โซลาเซลล์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานจากกริดของเครือข่ายไฟฟ้า

ลดการพึ่งพาพลังงานจากโรงไฟฟ้า และประหยัดค่าไฟภายในครัวเรือน

หากอยู่ในพื้นที่ที่มีกระแสไฟฟ้าไม่เสถียรจากเครือข่ายโรงไฟฟ้า หรือเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับบ่อย การใช้แบตเตอรี่โซลาเซลล์สามารถช่วยจ่ายพลังงานเข้าไปในระบบไฟฟ้าภายในบ้านได้อย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมง ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของระบบไฟฟ้าภายในบ้านอีกด้วย

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

พลังงานไฟฟ้าจากกริดของโรงไฟฟ้า ส่วนใหญ่ถูกผลิตขึ้นจากถ่านหินและฟอสซิล ซึ่งกระบวนการผลิตเป็น Carbon Footprint ที่ทำให้โลกร้อน การใช้แบตเตอรี่กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานบริสุทธิ์นั้น จึงช่วยลดสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนได้ และเพิ่มโอกาสในการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

ไม่ก่อมลพิษทั้งทางเสียงและอากาศ

กระบวนการผลิตไฟฟ้าของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงและอากาศ เพราะใช้แสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าและสำรองไว้ในแบตเตอรี่ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องเสียงรบกวนเพื่อนบ้านและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

สิ่งที่ควรรู้ วิธีเลือกแบตเตอรี่โซลาเซลล์

แนะสิ่งที่ควรรู้ วิธีเลือกแบตเตอรี่โซลาเซลล์

การเลือกแบตเตอรี่สำหรับใช้กับโซลาเซลล์นั้นต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายสิ่ง เพราะแบตเตอรี่โซลาเซลล์มีต้นทุนที่แตกต่างไปตามความจุของแบตเตอรี่และระดับพลังงาน จึงจำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดว่าแบตเตอรี่โซลาเซลล์ทำงานอย่างไร สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานภายในครัวเรือนได้หรือไม่ ไม่เช่นนั้นหากเลือกแบตเตอรี่ที่ไม่เหมาะสมมาใช้ อาจทำให้แบตเตอรี่โซลาเซลล์เสื่อมได้ไว จนต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่โซลาเซลล์หลายครั้งซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลายได้ โดยราคาแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

  • วัสดุและวิธีการผลิต
  • อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ (Battery Life Cycle)
  • ความจุของแบตเตอรี่ (Storage Capacity)
  • ความจุที่ใช้ได้ (Usable Capacity)

แบตเตอรี่โซลาเซลล์สำหรับใช้ภายในบ้านมีหลายขนาด ตามหน่วยความจุเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh: Kilowatt-hour) คือ ปริมาณพลังงานที่ถูกใช้ 1,000 วัตต์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แบตเตอรี่โซลาเซลล์ส่วนใหญ่มีความจุคงที่เริ่มต้นที่ประมาณ 2 – 14 กิโลวัตต์ชั่วโมง ทั้งยังสามารถเพิ่มความจุพลังงานได้ด้วยการสร้างโมดูลแบตเตอรี่เสริมบนระบบเพื่อเพิ่มการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์

แบตเตอรี่โซลาเซลล์มีอายุการใช้งานนานเท่าไร

แบตเตอรี่โซลาเซลล์ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉพาะ ทำให้ระบบมีความเสถียรภาพมากขึ้น เก็บพลังงานไฟฟ้าได้นาน และสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมง อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่โซลาเซลล์ก็มีอายุการใช้งานด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยเฉลี่ยสามารถใช้งานได้ตั้งแต่ 5 – 6 ปี หรือ 10 – 15 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดแบตเตอรี่และขนาด เช่น แบตเตอรี่แบบลิเธียมจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการบำรุงรักษาอีกด้วย หากมีการใช้งานและแบตเตอรี่โซลาเซลล์มีค่าคายประจุสูง (DoD) จะส่งผลให้รอบการใช้งานของแบตเตอรี่ลดลง หรือการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส จะทำให้อายุการใช้ของแบตเตอรี่โซลาเซลล์ลดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้แบตเตอรี่โซลาเซลล์มีอายุการใช้งานนาน ๆ ไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่โซลาเซลล์บ่อยครั้ง จึงต้องคำนึงถึงทั้งการเลือกแบตเตอรี่ สภาพแวดล้อมการทำงาน และการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม

สรุป

แบตเตอรี่โซลาเซลล์ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมพลังงานจากกระแสไฟฟ้าที่ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตได้ในระหว่างวัน ซึ่งมีประโยชน์ในการสำรองไว้เพื่อนำไปใช้ในช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานได้ เป็นการช่วยลดค่าไฟฟ้าภายในครัวเรือน อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งทางเสียงและอากาศอีกด้วย สำหรับแบตเตอรี่โซลาเซลล์นั้นมีอายุการใช้งานประมาณ 5 – 6 ปี โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ชนิดและขนาดของแบตเตอรี่ สภาพแวดล้อมการใช้งานและการบำรุงรักษา เป็นต้น

Sorarus-Feb2-banner

5 ประโยชน์ของแผงโซล่าเซลล์ พลังงานทางเลือกที่ไม่ได้มีดีแค่ผลิตไฟฟ้า

ปัจจุบันนี้ภาวะโลกร้อนได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นและยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปนั้นถูกใช้ไปจนเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ พลังงานทางเลือกจึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนเริ่มให้ความสนใจและได้รับความนิยมมากขึ้น หนึ่งในพลังงานทางเลือกที่หลายคนเลือกใช้นั่นก็คือ “การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์” ที่นอกจากช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังมีข้อดีอีกมากมาย ประโยชน์ของโซล่าเซลล์ที่ทุกคนควรรู้ มีด้วยกัน 5 ข้อ ดังนี้

ประโยชน์ของโซล่าเซลล์ ประหยัดไฟ

1. ช่วยคุณประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว

หนึ่งในประโยชน์ของโซล่าเซลล์ที่หลาย ๆ คนทราบกันดีอยู่แล้วคือสามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ เพราะส่วนใหญ่ในบ้านมักใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ากันอยู่เป็นประจำ นั่นหมายความว่าทุก ๆ วันจะต้องมีการใช้ไฟฟ้าอยู่แล้ว

หากติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังไฟฟ้าได้ ก็จะลดการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งอื่น ทำให้บิลค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนลดลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ การที่คุณสามารถผลิตไฟฟ้ามาใช้เองได้นั้น เท่ากับว่าไม่ต้องรับผลกระทบจากการเพิ่มราคาค่าไฟต่อหน่วยเลย

ประโยชน์ของแผงโซล่าเซลล์

2. เป็นพลังงานที่ไม่จำกัด

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป (Inexhaustible natural resources) ทำให้โซล่าเซลล์สามารถดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ได้อย่างไม่จำกัด นอกจากนั้นประเทศไทยยังเป็นเมืองร้อนที่มีแสงแดดแทบตลอดทั้งปี จึงทำให้ประเทศไทยเหมาะแก่การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อย่างมาก เพราะมีแสงให้ดึงมาใช้ได้ตลอด ไม่ต้องกังวลเรื่องการขาดแคลนพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวอย่างประเทศแถบตะวันตก

ประโยชน์โซล่าเซลล์

3.  พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด

โดยปกติแล้วการผลิตพลังงานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันจะมีกระบวนการหลายขั้นตอน ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากและยังก่อให้เกิดมลภาวะอีกด้วย แต่กระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์นั้นไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อชั้นบรรยากาศ เรียกได้ว่าประโยชน์ของโซล่าเซลล์คือการใช้พลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยไม่ทำร้ายโลกและสิ่งแวดล้อมก็ว่าได้

 ข้อดีของโซล่าเซลล์

4. หมดข้อกังวลใจเมื่อไฟฟ้าดับ

การมีแผงโซล่าเซลล์ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องไฟฟ้าดับอีกต่อไป เพราะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากแหล่งอื่น หรือสามารถควบคุมได้ว่าจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งใด ทั้งจากแผงโซล่าเซลล์ จากแบตเตอรี่สำรอง หรือจากการไฟฟ้าแบบปกติก็สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ เพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เพื่อให้บ้านหรือชุมชนบริเวณนั้นมีไฟฟ้าใช้ได้ตลอดเวลา อาจกล่าวได้ว่า ข้อดีของโซล่าเซลล์ไม่ใช่แค่การตัดปัญหาเรื่องไฟฟ้าดับ แต่ยังเป็นการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนให้สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้อีกด้วย

แผงโซล่าเซลล์ ประโยชน์

5. ได้ลดหย่อนภาษีจากการขอ BOI

ประโยชน์ของโซล่าเซลล์ที่น่าสนใจอีกข้อ คือสำหรับนักลงทุนหรือผู้ที่มีกิจการของตัวเอง การติดตั้งโซล่าเซลล์สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากภาครัฐสนับสนุนให้ใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด จึงมีนโยบายการลดหย่อนภาษี โดยการให้นักลงทุนขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI สำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีนำเข้าอุปกรณ์ติดตั้ง ทั้งในส่วนบริษัทผลิตไฟฟ้าและการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อลดค่าไฟฟ้าของตัวเอง

โดยกิจการที่สามารถขอ BOI ได้นั้นต้องเป็นกิจการตามประเภทที่ BOI กำหนดไว้ สามารถยื่นคำขอได้ที่สำนักงาน BOI หรือช่องทางออนไลน์ตามความสะดวก

ข้อดีของโซล่าเซลล์

4 ข้อควรรู้ก่อนติดตั้งแผงโซลาเซลล์

ทราบกันไปแล้วว่าประโยชน์ของโซล่าเซลล์นั้นมีอะไรบ้าง แต่อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์ในทันที เพราะการติดตั้งโซล่าเซลล์ก็เหมือนกับการลงทุนที่ย่อมมีความเสี่ยง ก่อนติดตั้งควรศึกษาเกี่ยวกับโซล่าเซลล์ก่อนว่ามีประเภทใดบ้าง ควรคำนึงถึงเรื่องผู้ให้บริการติดตั้ง การทำเรื่องขอติดตั้ง และการดูแลหลังติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้ดีเสียก่อน ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

1. ทำความรู้จักแผงโซล่าเซลล์แต่ละประเภท

ระบบโซล่าเซลล์มีด้วยกัน 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกันไป ตามรายละเอียดดังนี้

  • โซล่าเซลล์ระบบออนกริด (On Grid) เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่เชื่อมสายเข้ากับการไฟฟ้า โดยในช่วงกลางวันใช้แผงโซล่าเซลล์เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จากนั้นส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ แล้วจึงนำไฟฟ้ามาใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในอาคาร ส่วนในเวลากลางคืนสลับมาใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าแทน ระบบนี้เหมาะสำหรับสถานที่ที่มีการใช้งานไฟฟ้าจำนวนมากในช่วงกลางวัน เช่น บ้านเรือนทั่วไป ออฟฟิศ สถานศึกษา เป็นต้น
  • โซล่าเซลล์ระบบออฟกริด (Off Grid) เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่มีอิสระ สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าเซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสตรงเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าได้โดยตรง โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้า มีการสำรองไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน ระบบนี้จึงเหมาะกับสถานประกอบการที่ต้องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องหรือสถานที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ในยามจำเป็น
  • โซล่าเซลล์ระบบไฮบริด (Hybrid) เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ประยุกต์จากระบบ On Grid และ Off Grid มารวมกัน ทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าโดยตรงได้ทั้งจากแผงโซล่าเซลล์ จากแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้า และจากระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้ ทำให้มีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง ระบบนี้จึงเหมาะกับสถานที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง รวมไปถึงสถานที่ที่มีปัญหาไฟตกบ่อย ๆ ด้วย

2. เลือกผู้ให้บริการรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

แน่นอนว่าแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งจะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ด้วย เทคนิคในการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งสามารถดูได้ดังนี้

ให้บริการแบบครบวงจร

ขั้นตอนการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มีหลายขั้นตอนมาก ทั้งการสำรวจบริเวณรอบๆ การคำนวณพื้นที่ การเขียนแบบวางแผนการติดตั้งที่ต้องได้รับการรับรองจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ การเดินเอกสารขออนุญาตติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ รวมถึงยังต้องเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการติดตั้งอีก เพื่อลดปัญหาความยุ่งยากเหล่านี้ ควรเลือกบริษัทรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่ให้บริการแบบครบวงจร จะช่วยให้ขั้นตอนต่าง ๆ ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว

เลือกผู้เชี่ยวชาญด้านโซล่าเซลล์

แม้ว่าในปัจจุบันเราสามารถหาข้อมูลเรื่องการติดตั้งโซล่าเซลล์ด้วยตัวเองได้ แต่ทางที่ดีควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโซล่าเซลล์เป็นผู้ติดตั้งให้จะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากจะสามารถให้คำปรึกษา คำแนะนำ และตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานโซล่าเซลล์ได้ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญสามารถเลือกเครื่องมือและอุปกรณ์ติดตั้งที่มีคุณภาพตามเกณฑ์กำหนดได้อย่างถูกต้อง ทำให้มั่นใจได้ว่าปลอดภัยแน่นอน

ให้บริการหลังการขาย พร้อมการรับประกัน

เพราะการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้นมีราคาสูง จึงควรเลือกบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ให้บริการหลังการขายและมีการรับประกันสินค้า พร้อมศึกษาเงื่อนไขการบริการหลังการขายอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดปัญหาในการใช้งาน บริษัทที่ติดตั้งจะสามารถมาติดตาม ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพราะการแก้ไขปัญหาที่ล่าช้า อาจนำไปสู่ความเสียหายหรือทำให้เสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากได้

3. ทำเรื่องขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

ขั้นตอนสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้ คือ การขออนุญาตติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เหตุผลที่ต้องทำเรื่องขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ แม้ว่าจะติดตั้งในบ้านของตนเองก็ตาม เนื่องจากการติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องใช้ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า จึงต้องยื่นขออนุญาตและมีการรับรองจากวิศวกรไฟฟ้า เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลังและเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน โดยวิธีการขออนุญาตนั้น ต้องยื่นขอกับหน่วยงานรัฐ 3 หน่วยงาน มีเอกสารต่างๆ ที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • หน่วยงานส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาลท้องถิ่น อบต. ให้ทำการยื่นเรื่องขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร โดยเตรียมเอกสารดังนี้
    • แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ( ข.1 ) 
    • เอกสารแบบแปลนที่แสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
    • เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบ 
  • คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หลังจากได้รับอนุญาตจากหน่วยงานท้องถิ่นแล้ว ให้ทำการขออนุญาตประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต ณ สำนักงาน กกพ. หรือลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.erc.or.th พร้อมด้วยเอกสารดังนี้
    • สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานท้องถิ่น
    • รูปถ่ายการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
    • เอกสาร Single Line Diagram ที่มีวิศวกรไฟฟ้าลงชื่อรับรอง
    • เอกสารแบบแปลนที่แสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
    • เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบ 
  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หลังจากได้รับหนังสืออนุญาตจาก กกพ. แล้ว ให้แจ้งการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่ในการติดตั้ง ให้เข้ามาตรวจสอบระบบและการเชื่อมต่อของโซล่าเซลล์ และชำระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้าได้กำหนดไว้ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
    • แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร ( ข.1 ) 
    • เอกสารแบบแปลนที่แสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
    • เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบ 

ทั้งนี้ เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาตติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาคารและลักษณะการติดตั้ง ดังนั้นเพื่อลดภาระในการเดินเรื่องเอกสาร ควรเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่มีความเชี่ยวชาญ จะสามารถช่วยประหยัดเวลาและลดความวุ่นวายในการดำเนินเรื่องขออนุญาตได้

4. การดูแลแผงโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์ก็เหมือนกับข้าวของเครื่องใช้ในบ้านอื่น ๆ ที่ต้องให้ความใส่ใจในการดูแลรักษา เพราะแผงโซล่าเซลล์คืออุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าที่ต้องเผชิญทั้งแสงแดด ลม ฝน ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา หากคราบสกปรกสะสมอยู่ที่แผงโซล่าเซลล์มาก ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าลดลง ดังนั้นหากพบว่าแผงโซล่าเซลล์เต็มไปด้วยสิ่งสกปรก ก็สามารถทำความสะอาดได้โดยการใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสบู่อ่อนหรือใช้แปรงขนนุ่มชุบน้ำเปล่า ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ให้สะอาดเหมือนใหม่ได้ นอกจากนั้นควรหมั่นดูแลและตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำ หากมีการชำรุดหรือเกิดความเสียหายบนแผงโซล่าเซลล์ จะได้แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

สรุป

ประโยชน์ของโซล่าเซลล์นั้นมีมากมาย เพราะสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดมาใช้ได้ไม่จำกัด ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง เป็นการประหยัดค่าไฟฟ้า หมดกังวลเรื่องไฟฟ้าดับ และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด จึงไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นตัวการทำร้ายโลกได้ 

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะดีหรือคุ้มค่าหรือไม่นั้น ควรศึกษาวิธีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อย่างละเอียด รวมไปถึงเลือกผู้ให้บริการติดตั้งที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างที่ Sorarus มีทีมงานและวิศวกรที่มากด้วยประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษา ติดตั้ง และบริการซ่อมบำรุงแผงโซล่าเซลล์อย่างครบวงจร เพื่อให้คุณได้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าการลงทุน มั่นใจได้ว่าปลอดภัย

Cover

Power Purchase Agreement การขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าคืออะไร?

ในปัจจุบันอุปกรณ์สร้างพลังงานทดแทนบางประเภทมีราคาที่ถูกลง จนประชาชน คนทั่วไป หรือเอกชนสามารถติดตั้งและผลิตไฟฟ้าใช้งานได้เอง แต่ในบางครั้งไฟฟ้าที่ผลิตออกมาอาจมีมากเกินกว่าที่ใช้ ทำให้การทำข้อตกลง Power Purchase Agreement (PPA) คือ วิธีที่เกิดขึ้น เพื่อจัดการกับพลังงานส่วนเกินนี้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถขายไฟให้การไฟฟ้าได้นั่นเอง

ppa คือ

Power Purchase Agreement คืออะไร?

Power Purchase Agreement (PPA) คือ เอกสารสัญญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า (Power generator) กับผู้ซื้อพลังงานไฟฟ้า (Power purchaser) โดยในสัญญานี้ระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขการจัดซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างสองฝ่าย รวมถึงราคาซื้อขาย ระยะเวลาของสัญญา การส่งมอบพลังงานไฟฟ้า การรับประกันคุณภาพของพลังงานไฟฟ้า การแก้ไขข้อผิดพลาดและการชดเชย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เป็นต้น

สัญญา PPA มักถูกใช้ในการสร้างโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล เพื่อให้ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า สามารถขายพลังงานไฟฟ้าให้กับผู้ซื้อพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงในการรับรู้กำไรและลดความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วย

PPA vs Private PPA ต่างกันอย่างไร?

PPA (Power Purchase Agreement) คือ ข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าขึ้นมาใช้เอง เช่น ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจที่มีพลังงานหมุนเวียนและสามารถผลิตไฟฟ้าได้ และธุรกิจที่ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในภาคธุรกิจหรือการใช้งานในครัวเรือน

ส่วน Private PPA เป็นข้อตกลงการซื้อขายพลังงานหมุนเวียนระหว่างเอกชนกับเอกชน โดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาดหรือบริษัทที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์พร้อมสัญญา เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ที่สนใจ โดยไม่ต้องไปติดต่อกับทางภาครัฐเอง

power purchase agreement คือ

PPA ในไทย ครอบคลุมถึงพลังงานแบบไหนบ้าง?

ในปัจจุบันการใช้พลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญอย่างมาก ในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในธุรกิจต่างๆ ในไทย การทำ PPA (Power Purchase Agreement) คือวิธีหนึ่งที่ดีในการต่อยอดธุรกิจและช่วยลดการใช้พลังงานที่มาจากแหล่งพลังงานที่เป็นแหล่งหมุนเวียน ดังนั้น PPA ในไทยจึงครอบคลุมถึงพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ได้แก่

  • พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่มีอยู่มากมายในธรรมชาติ สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) โดยที่โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์และระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำมีอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ รวมไปถึงสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อสาธิตและศึกษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์อีกด้วย
  • พลังงานลม เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิและความกดอากาศ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ทำให้อากาศเคลื่อนที่ และนำพลังงานลมมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยใช้เทคโนโลยีกังหันลม เมื่อลมพัดมาปะทะกับใบพัดของกังหันลม จะทำให้เกิดการเปลี่ยนพลังงานลมเป็นพลังงานกลและนำพลังงานกลนี้ไปใช้งานได้ทันที ระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานลม ในปัจจุบันมีตั้งอยู่หลายที่ในประเทศ เช่น กังหันลมผลิตไฟฟ้าที่แหลมพรหมเทพ ภูเก็ตและกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่อ่างพักน้ำตอนบน โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา นครราชสีมา
  • พลังงานความร้อนใต้พิภพ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหิน น้ำฝนที่ไหลลงไปใต้ดินจึงได้รับความร้อนจากชั้นหิน สะสมเป็นน้ำร้อนหรือไอน้ำร้อน น้ำร้อนนี้สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ โดยการถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลวหรือสารทำงานที่มีจุดเดือดต่ำ จนกระทั่งเป็นไอ แล้วนำไอนี้ไปหมุนกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป ปรากฏในรูปของบ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน ไอน้ำร้อน บ่อโคลนเดือดและแก๊ส เป็นต้น
  • พลังงานชีวมวล (Biomass) เก็บเกี่ยวจากเศษซากพืชหรือวัสดุเหลือใช้จากเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น มูลสัตว์ ไม้โตเร็ว ฟางข้าว กาบและกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยมีวิธีการผลิตเป็น 2 ประเภท คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลโดยตรง (Direct Combustion) และกระบวนการเคมีความร้อนเพื่อสร้างก๊าซชีวภาพ (Thermochemical Conversion) เช่น การหมักกากมันสำปะหลังหรือน้ำเสียจากอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (Biogas Power Plant)

ข้อดีของการใช้พลังงานสะอาดและข้อตกลง ppa

ข้อดีของการใช้พลังงานสะอาดและข้อตกลง PPA

การใช้พลังงานสะอาดเป็นวิธีการที่เมื่อผนวกเข้ากับข้อตกลง PPA แล้วมีข้อดีอยู่หลายด้าน เช่น 

  • ช่วยชะลอภาวะโลกร้อน การหันมาใช้พลังงานสะอาดในการผลิตไฟฟ้าจะช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และการใช้เชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงานสิ้นเปลืองให้น้อยลง ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสุขภาพที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัยโดยรอบได้มากขึ้นอีกด้วย
  • ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย การทำสัญญา PPA มีหลักการคิดค่าไฟฟ้าแบบเฉลี่ยคงที่ (Flat Rate) จึงช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก การใช้พลังงานแสงอาทิตย์และการทำข้อตกลง PPA กับภาครัฐให้ชัดเจน ยังช่วยให้มีการกำหนดและลดงบประมาณต่อปีได้มหาศาล โดยการทำ PPA จะช่วยลดความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของราคาเชื้อเพลิงด้วย
  • นำพลังงานหมุนเวียนเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ การใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า ไม่เพียงช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์แต่ยังช่วยนำพลังงานที่เหลือใช้จากการผลิตธุรกิจหรืออุตสาหกรรมมาใช้ประโยชน์ ซึ่งถ้าไม่นำมาใช้ต้องมีการจ่ายเงินเพิ่มเติมในการจัดการหรือกำจัดพลังงานเหลือใช้ จึงไม่เพียงช่วยลดค่าใช้จ่ายแต่ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจด้วย
  • กระจายอำนาจการผลิตและป้องกันความเสี่ยง การใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า เป็นการกระจายอำนาจการผลิตไฟฟ้าออกไปให้กับบุคคลหรือธุรกิจที่ต้องการใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีภัยพิบัติหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลให้ภาครัฐไม่สามารถจัดหาไฟฟ้าได้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนหรือธุรกิจได้

ความสำคัญของข้อตกลง ppa

ทำไมการทำข้อตกลง PPA จึงมีความสำคัญกับผู้ที่ต้องการผลิตไฟฟ้าเอง

เรื่องการผลิตพลังงานไฟฟ้าเองกลายเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากมีความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นและสภาพแวดล้อมที่ก้าวหน้าขึ้น แต่การผลิตพลังงานไฟฟ้าเองมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ต้นทุนการลงทุนในอุปกรณ์และเทคโนโลยีสูง การบำบัดและจัดการกับขยะอุตสาหกรรม และการจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเอง

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกที่ทำให้การทำข้อตกลง PPA (Power Purchase Agreement) คือสิ่งสำคัญที่ผู้ต้องการผลิตไฟฟ้าเองควรพิจารณา เพราะ PPA เป็นสัญญาที่ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเองทำกับผู้ซื้อพลังงานไฟฟ้า ในที่นี้คือผู้ใช้ไฟฟ้า เพื่อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น โดยมีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับอัตราการชำระเงินและระยะเวลาของสัญญา ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและประหยัดต้นทุนในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเองได้

นอกจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลังงานไฟฟ้าเองที่ได้กล่าวมาแล้ว การทำข้อตกลง PPA ยังช่วยแก้ไขปัญหาอื่นๆ ด้วย อย่างการจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเองอาจไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้า ถ้าผู้ผลิตไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงใกล้เคียง แล้วต้องนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า การนำเข้าแหล่งเชื้อเพลิงนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายสูงและเป็นกังวลเกี่ยวกับการหมดไปของแหล่งเชื้อเพลิงในอนาคต

เนื่องจากการทำข้อตกลง PPA เป็นการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีอัตราการชำระเงินและระยะเวลาของสัญญาที่ถูกกำหนดไว้ การทำข้อตกลง PPA จึงช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเอง โดยลดความเสี่ยงในด้านการขาดแรงจูงใจในการผลิตพลังงานไฟฟ้า การเสียเงินจากค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์และเทคโนโลยี

ทำความรู้จัก! Solar PPA ที่หลายคนให้ความสนใจ

Solar PPA หรือ Solar Power Purchase Agreement คือ การเช่าพื้นที่บนหลังคาของเจ้าของสถานที่กับผู้ให้บริการ Solar ซึ่งจะติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา มีหน้าที่ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อจำหน่ายไปยังเจ้าของสถานที่ในราคาต่ำ โดย Solar PPA ก็มีข้อดีมากมาย เช่น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงาน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยป้องกันการเสียหายจากภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น อุทกภัยและไฟป่า และช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากการใช้พลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โดยในปัจจุบันนี้เรามีหลายทางเลือกในการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานน้ำหรือกังหันลม แต่หากเทียบกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่มาจาก Solar PPA นั้นมีข้อดีบางอย่างที่ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์น่าสนใจมากกว่า เช่น

  • ราคาถูกกว่า พลังงานแสงอาทิตย์มีราคาถูกกว่าพลังงานน้ำหรือกังหันลม ซึ่งทำให้การใช้ Solar PPA เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากกว่าในการลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงาน
  • ติดตั้งง่าย การติดตั้ง Solar PPA ไม่จำเป็นต้องมีการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่เหมือนกับการใช้พลังงานน้ำหรือกังหันลม ทำให้การติดตั้งง่ายและรวดเร็วขึ้น

จึงไม่แปลกเลยที่ Solar PPA จะเป็นที่สนใจมากกว่าทางเลือกอื่น ๆ

การขายพลังงานไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า

รวมสิ่งที่ต้องรู้ในการขายพลังงานไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า

หากมีการติดตั้งโซลาเซลล์หรือผลิตพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เองจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าลงไปได้ โดยหากยังมีพลังงานเหลือจากการใช้งานยังสามารถนำไปขายได้อีกด้วย โดยผู้ที่สนใจจะขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA) ก็ควรจะรู้สิ่งเหล่านี้ไว้ด้วย ได้แก่

  • ราคาที่ PEA รับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจะอยู่ที่ 2.2 บาท/หน่วย (kWh) ระยะเวลา 10 ปี
  • ผู้ยื่นขอขายไฟฟ้าจะเป็นผู้ลงทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เองทั้งหมด
  • PEA จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบ ภายหลังได้รับการพิจารณา ในราคา 2,000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

นอกเหนือจากนั้นแล้ว ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาควรรู้เงื่อนไขต่อไปนี้ด้วย

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการยื่น

ผู้ที่ต้องการยื่นขายไฟให้การไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 บ้านอยู่อาศัยกับ PEA ดูได้จากใบแจ้งค่าไฟฟ้า PEA และตัวเลขแรกคือประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า เช่น 1125
  • ยังคงสถานะใช้ไฟฟ้า (ไม่ถูกตัดมิเตอร์)
  • ชื่อผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าต้องตรงกับชื่อในใบแจ้งค่าไฟฟ้า
  • ที่อยู่บิลค่าไฟฟ้าต้องตรงกับบ้านเลขที่ตามทะเบียนบ้านที่เป็นปัจจุบัน
  • ระดับแรงดันที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 10 kW
  • รูปแบบไฟฟ้าแรงดันต่ำกว่า 400 V

 เตรียมข้อมูล และเอกสาร

การขายไฟให้การไฟฟ้าก็ต้องเตรียมข้อมูล ดังนี้

  • บิลค่าไฟฟ้าหรือหลักฐานการเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน (บิลค่าไฟฟ้าไม่ควรเกิน 3 เดือน) สอดคล้องกับข้อมูลผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการและผู้ใช้ไฟฟ้า 
  • ข้อมูลชื่อ-นามสกุล
  • ข้อมูลเลขที่บ้านที่ติดตั้ง
  • ข้อมูลประเภทใช้ไฟฟ้า

หากข้อมูลดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ต้องติดต่อสำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่ใช้ไฟฟ้า ตามที่ปรากฏในบิลค่าไฟฟ้า เพื่อขอแก้ไขข้อมูลให้เสร็จสิ้น ก่อนเข้าร่วมโครงการ

ซึ่งการขายไฟให้การไฟฟ้าก็ต้องตรียมเอกสาร ดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการพร้อมกับรับรองสำเนาถูกต้อง ที่เป็นเจ้าของเครื่องวัดไฟฟ้า
  • สำเนาใบแจ้งค่าไฟฟ้าของบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ หรือหลักฐานแสดงหมายเลขเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า
  • สำเนาแบบ ภ.พ01 หรือ แบบ ภ.พ20 (ถ้ามี)
  • รูปถ่ายบ้านที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ตั้งของที่อยู่อาศัยที่จะติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์
  • แนบบิลค่าไฟฟ้าในรอบเดือนล่าสุดหรือไม่ควรย้อนหลังเกิน 3 เดือน พร้อมทั้งภาพถ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า
  • เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
  • หนังสือมอบอำนาจให้ผู้มายื่นแบบคำขอแทน (ในกรณีที่มอบอำนาจให้ยืนแบบคำขอขายไฟฟ้าแทน)

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่มอบอำนาจให้ยืนแบบคำขอขายไฟฟ้าแทน)

เตรียมค่าใช้จ่าย

การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ผู้ติดตั้งต้องออกค่าใช้จ่ายเองกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยค่าดำเนินการไม่รวมภาษี อยู่ที่ 2,000 บาท รวมกับภาษี 7.00% มูลค่า 140 บาท เป็นค่าดำเนินการรวมภาษีทั้งหมด 2,140 บาท

ขั้นตอนการขออนุญาต

การขายไฟให้การไฟฟ้ามีขั้นตอน ดังนี้

  1. ลงทะเบียนใช้งาน (Log in) ในระบบ PPIM
  2. กรณีเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเป็นผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเอง ให้เลือกหมายเลข CA ที่ประสงค์จะขอยื่นผลิตไฟฟ้า พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดตามแบบคำขอและอัปโหลดเอกสารรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายแบบคำขอขายไฟฟ้า
  3. กรณีเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าไม่ได้เป็นผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเอง  ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจกรอกหมายเลข CA และรายละเอียดตามแบบคำขอขายไฟฟ้า พร้อมทั้งอัปโหลดเอกสารรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายแบบคำขอขายไฟฟ้า
  4. จะมี E-mail แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าทราบ
  5. PEA จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกในระบบ PPIM ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ยื่นคำขอขายไฟฟ้า
  6. ผู้ผ่านการคัดเลือกชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าและจัดส่งต้นฉบับแบบคำขอขายไฟฟ้าพร้อมเอกสารประกอบแบบคำขอ รายการเอกสารประกอบการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และสำเนาใบเสร็จค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ ภายใน 30 วับ นับจากวันประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก หากพ้นกำหนดถือว่าคำขอขายไฟฟ้าเป็นอันยกเลิก
  7. นามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ภายใน 270 วัน นับจากวันที่ทำสัญญาฯ
  8. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากตรวจสอบ ติดตั้งระบบให้เป็นไปตามที่ยื่นไว้ และขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ
  9. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
  10. PEA เข้าตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า เปลี่ยนมิเตอร์ และทดสอบวันเชื่อมต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าครั้งแรก (First Synchronization)
  11. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ไม่เกินวัน SCOD ตามข้อ 7

สรุป

PPA (Power Purchase Agreement) คือ ข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าขึ้นมาใช้เอง นอกจากจะให้ประโยชน์ในด้านการลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังอาจเป็นรายได้เสริมเพิ่มให้กับเอกชนอีกด้วย โดยที่การซื้อขายที่นิยมก็จะอยู่ในรูปของ Solar PPA ที่จะใช้การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าขึ้นมา 

ซึ่งในประเทศไทยเองก็จะมีโครงการที่ประชาชนสามารถขายไฟให้กับการไฟฟ้าผ่านโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งหากใครสนใจการติดตั้งพลังงานทดแทนเหล่านี้ ทาง Sorarus เองเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดีในการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมอย่างครบวงจร ในการประหยัดพลังงาน

1-5-banner

ทิศไหนทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

ทิศไหนทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์? ใครจะรู้ว่าก่อนที่เราจะติดตั้งโซล่าเซลล์ทิศทางนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าในแต่ละพื้นที่หรือบ้านแต่ละหลังสามารถรับแสงแดดแตกต่างกัน ทำให้ทิศที่เหมาะสำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แตกต่างกันไปด้วย ซึ่งถ้าหากเราติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในทิศทางที่ไม่ถูกต้องก็จะทำให้แผงโซล่าเซลล์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ 

แต่อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องโชคดีอีกหนึ่งอย่างคือประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรเป็นอย่างมาก ทำให้ปริมาณแสงแดดที่ส่องตรงมายังประเทศไทยมีปริมาณที่เข้มข้น ทว่าก่อนที่คิดจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ต้องรู้ว่าแผงโซล่าเซลล์หันไปทางทิศไหนถึงจะดีที่สุด เพื่อให้แผงโซล่าสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด  โดยสามารถมาหาคำตอบนี้ได้จากบทความนี้

 

ทิศทางในการติดตั้งโซล่าเซลล์กับปริมาณแสงแดดที่ได้รับ

 

ทิศทางในการหันโซล่าเซลล์แตกต่างกันอย่างไร

อย่างที่เกริ่นไปทิศติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ส่งผลอย่างมากในเรื่องประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ โดยมาดูกันว่าทิศทางในการหันโซล่าเซลล์แตกต่างกันอย่างไร ? ดังนี้ 

ทิศเหนือ 

ทิศเหนือเป็นทิศที่ได้รับแสงแดดน้อยที่สุด หากบ้านใดคิดจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งทางทิศเหนือ เพราะพระอาทิตย์ที่เราเห็นอยู่ในแต่ละวันจะขื้นทางทิศตะวันออก และอ้อมไปทางทิศใต้ โดยที่ทิศเหนือไม่ได้หันทำมุมการตั้งฉากกับพระอาทิตย์ทำให้การตั้งแผงโซล่าเซลล์ในทิศทางนี้จะทำให้แสงบางส่วนถูกสะท้อนออกไป  ทำให้ทิศเหนือได้รับแสงแดดน้อยที่สุดนั่นเอง ดังนั้น เราจึงควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในทางทิศเหนือ 

ทิศใต้ 

แผงโซล่าเซลล์หันไปทางทิศไหนถึงจะดีที่สุด คำตอบคือทิศใต้ เพราะดวงอาทิตย์ที่อ้อมไปทางทิศใต้ทำให้ทิศใต้ได้รับแสงแดดเข้มข้นมากที่สุด โดยองศาสำหรับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แต่ละพื้นที่ควรเป็นไปตามภูมิศาสตร์ของพื้นที่นั้น โดวยกรุงเทพควรทำองศาหรือเอียงแผงประมาณ 13.5 องศา และเชียงใหม่ควรเอียงประมาณ 18.4 องศา จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น 

ทิศตะวันออก 

ตั้งแผงโซล่าเซลล์ทิศตะวันออก ปริมาณแสงแดดที่ได้รับจะอยู่ในระดับปานกลาง โดยจะรับแสงแดดมากสุดในช่วงเช้า-เที่ยง ซึ่งหากเราติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในทิศทางนี้จะทำให้โซล่าเซลล์ทำงานไม่เต็ม 100% ซึ่งส่งผลต่อการให้แสงสว่างในตอนกลางคืน 

ทิศตะวันตก 

สำหรับการตั้งแผงโซล่าเซลล์ทิศตะวันตก จะได้รับแสงอาทิตย์ในช่วงครึ่งเช้าเหมือนกับการตั้งแผงโซล่าเซลล์ทิศตะวันออก ดังนั้นจึงได้รับปริมาณแสงอาทิตย์ในระดับปานกลาง ซึ่งส่งผลต่อการให้แสงสว่างในเวลากลางคืนเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่ทางทิศใต้มีต้นไม้บังหรือตึกบัง สามารถเลี่ยงไปติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในทางทิศตะวันออกและตะวันตกแทนได้

 

องศาที่เหมาะกับการติดตั้ง Solar Cell

 

องศาที่เหมาะกับการติดตั้ง Solar Cell 

สาเหตุของการติดตั้ง solar cell แล้วไม่ได้ไฟฟ้าตามที่คาดหวัง หรือค่าไฟไม่ได้ลดลง ให้คาดเดาไว้เลยว่าอาจเกิดจากการออกแบบการวางแผงโซล่าเซลล์ที่ทำมุมไม่ถูกต้อง เพราะถ้าหากวางแผงได้ถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 5% 

โดยการกำหนดองศาที่เหมาะสมจะพิจารณาจากละติจูดทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ที่เราติดตั้ง โดยการทำมุมที่ถูกต้องแผงโซล่าเซลล์จะถูกวางในองศาเดียวกับละติจูดทางภูมิศาสตร์ของในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด

 

ทิศในการติดตั้งหันตามดวงอาทิตย์ Solar Tracker

 

ติดตั้งหันตามดวงอาทิตย์ Solar Tracker  

Solar Tracker เป็นระบบติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้หันหรือหมุนไปตามดวงอาทิตย์ โดยระบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ให้ได้พลังงานจากแสงแดดมากขึ้น 20-30% เลยทีเดียว โดย Solar Tracker  เป็นระบบที่สามารถติดตั้งได้ทุกพื้นที่ ทั้งบนพื้นดินที่ไร้สิ่งกีดขวาง หรือติดตั้งบนที่พักอาศัย หรืออาคารพาณิชย์ต่างๆ โดยนิยมติดตั้งบนหลังคาบ้าน เพราะประหยัดเนื้อที่ภายในบ้าน และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า โดยระบบ Solar Tracker มี 2 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้ 

  • แบบแกนเดียว (Single Axis Tracking System) โดยเป็นระบบที่หมุนตามพระอาทิตย์จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกในแต่ละวัน 
  • แบบแกนคู่  (Dual Axis Tracking System) โดยแกนแรกจะหมุนตามพระอาทิตย์จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกในแต่ละวัน ส่วนแกนที่สองจะปรับให้หมุนจากแนวทิศเหนือไปยังทิศใต้ เพราะในแต่ละเดือนมุมของดวงอาทิตย์จะมีองศาที่แตกต่างกัน การทำแบบนี้จะทำให้แผงโซล่าเซลล์ตั้งฉากกับดวงอาทิตย์มากที่สุด

ข้อดีข้อเสียติดตั้งหันตามดวงอาทิตย์ Solar Tracker  

  • Solar Tracker ช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า Fixed Systemถึง 10-25% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางองศาของแผงโซล่าเซลล์ 
  • ในพื้นที่ขนาดเท่ากัน Solar Tracker สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า Fixed System ดังนั้น Solar Tracker จะใช้พื้นที่ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์น้อยกว่าแต่กลับได้พลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้นหรือเท่ากันเมื่อเทียบกับระบบ Fixed System ที่ใช้พื้นที่มากกว่า 
  • สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตลอดทั้งวัน และทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น

 

ทิศการติดตั้ง solar cell แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed System)

 

แบบติดตั้งอยู่กับที่ Fixed System   

การติดตั้งแบบคงที่ หรือ Fixed System คือการติดตั้งแผงโซล่าแบบคงที่ โดยจะเน้นที่ไปการวางองศาของแผงโซล่าเซลล์ที่สมบูรณ์แบบในบางช่วงเวลาเท่านั้น ทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงแดดได้อย่างเต็มที่ จึงมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการติดตั้งแบบ Solar Tracker

 

ทำไมทิศใต้ถึงเป็นทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์

 

ทำไมทิศใต้ถึงเป็นทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์

ทำไมทิศใต้ถึงเป็นทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์ ? อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้วว่าทิศใต้เป็นทิศที่ได้รับแสงแดดในแต่ละวันมากที่สุด ซึ่งถ้าหากเราวางแผงโซล่าเซลล์ในองศาที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยเราจะมาเจาะถึงเหตุผลที่แท้จริงว่าทิศติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ใช่ทิศใต้จริงๆ หรือไม่?

โดยปกติแล้วพระอาทิตย์จะส่องตรงมายังพื้นที่ที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรตลอดทั้งปี แต่อย่างไรก็ตามหากบางประเทศที่อาศัยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไป พระอาทิตย์ก็จะส่องไปยังพื้นที่ดังกล่าวในทางทิศใต้เช่นกัน ทำให้ทิศใต้ได้รับปริมาณแสงอาทิตย์มากที่สุดแม้อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ส่วนประเทศทางแถบอเมริกา ดวงอาทิตย์ก็จะเคลื่อยผ่านทางซีกโลกใต้เช่นกัน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทิศใต้ถึงเป็นทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์

อีกทั้งปริมาณแสงโดยรวมที่ได้รับในแต่ละวัน โดยทำการทดลองการตั้งแผงโซล่าเซลล์ทิศทางแตกต่างกัน  พบว่าปริมาณแสงอาทิตย์ที่ได้รับมากที่สุดและมีศักยภาพในการนำมาผลิตเป็นไฟฟ้ามากที่สุดคือการวางแผงโซล่าเซลล์ไว้บนตำแหน่งทางทิศใต้ 

ส่วนการวางแผงโซล่าเซลล์ทางทิศใต้ยังดีอย่างมากต่อระบบแบตเตอรี่ เพราะการวางตำแหน่งบนทิศทางนี้จะทำให้มีพลังงานส่วนเกินมากพอในการชาร์จแบตเตอรี่จึงลดการพึ่งพาพลังงานส่วนอื่นลงไปได้มาก 

อีกทั้งในแง่ของการประหยัด ยังช่วยเราในการหาแนวทางเหมาะสมในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากบางประเทศใช้หลักเกณฑ์การคิดค่าไฟแบบ TOU หรือ อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff) เมื่อเราติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เราสามารถใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วง Peak  หรือช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาสูงได้ทำให้เราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้ เพราะว่าการวางแผงทางทิศใต้จะทำให้เรามีไฟฟ้ามากเพียงพอต่อการใช้งานภายในบ้าน

สรุปจาก SORARUS

สิ่งสำคัญในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์คือทิศติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพราะประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์จะทำงานได้ดีหรือไม่นั้นทิศทางคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้น การติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องดูทิศทางที่ถูกต้อง ต้องคำนึงถึงแสงที่ได้รับจากพระอาทิตย์มาจากทิศทางใด ซึ่งในบทความนี้บอกถึงทิศทางที่ดีที่สุดที่จะได้รับแสงตลอดทั้งวัน รวมถึงประเภทของทิศทางการติดตั้ง เพื่อนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ และคุยกับผู้รับติดตั้งได้ดีขึ้นนั่นเอง

 

 

1-4-banner

รู้หรือยัง!! กลางคืนโซล่าเซลล์ก็ผลิตไฟฟ้าได้ ด้วย Anti-Solar Cell

ตอนนี้โลกของเรากำลังพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “พลังงานทดแทน” เข้ามาแทนที่น้ำมัน หรือถ่านหินที่เราใช้เป็นพลังงานหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า อย่างพลังงานจากแสงอาทิตย์ก็เป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า ผ่านอุปกรณ์ที่เราเรียกว่าโซล่าเซลล์

โดยหลายคนมักจะคิดว่าโซล่าเซลล์นั้นผลิตไฟได้เฉพาะช่วงเวลากลางวันที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น แต่ใครจะคิดว่าโซล่าเซลล์ที่เรารู้จักกันนั้นสามารถผลิตไฟฟ้าในเวลากลางคืนได้ด้วย ภายใต้ชื่อที่เรียกว่า Anti Solar Cells ถือเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญที่ทำให้เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพียงเราติดตั้ง Anti Solar Cells ไปยังแผงโซล่าเซลล์ที่มีอยู่เดิม อุปกรณ์ดังกล่าวจะสามารถดูดซับพลังงานรังสีอินฟราเรดใต้ผิวเปลือกโลก ซึ่งเป็นพลังงานความร้อนในตอนกลางคืนมาเป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า โดยวันนี้เราจะพาไปดูหลักการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าในตอนกลางคืนนี้กัน

 

Anti Solar Cell คืออะไร

 

Anti Solar Cell คืออะไร

Anti Solar Cell หรือแผงโซล่าเซลล์กลางคืน คือโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืนโดยการดูดซับพลังงานรังสีอินฟราเรดที่โลกปล่อยออกมาในช่วงเวลากลางคืนแล้วเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งเรื่องนี้เกิดจากความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ ที่คิดค้นแผงวงจรที่สามารถดึงพลังงานความร้อนที่โลกกักเก็บเอาในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งความร้อนดังกล่าวสามารถนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้ จึงเกิดเป็น Solar Energy แนวใหม่ ที่เราเรียกว่า Anti Solar Cell นั่นเอง 

หลักการการทำงานของ Anti Solar Cell  นั้นเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการแห่งชาติ รัฐไอดาโฮ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นวัสดุที่สามารถดูดซับรังสีอินฟราเรดให้เปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า  โดยรังสีอินฟราเรดดังกล่าวเกิดจากการดูดซับความร้อนของโลกในเวลากลางวัน แล้วถูกคายออกมาในเวลากลางคืนเป็นรังสีอินฟราเรด ซึ่งมีคุณสมบัติเดียวกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าโดยเราสามารถนำแผง Anti Solar Cell มาประกอบเข้าด้วยกันกับแผงโซล่าเซลล์ที่มีอยู่เดิม เพื่อสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

เส้นเป็ดโค้ง (Duck Curve) คืออะไร?

 

Duck Curve คืออะไร? จุดเริ่มต้นมาจากไหน

เส้นเป็ดโค้ง (Duck Curve) หรือปรากฏการณ์การใช้ไฟฟ้าลดลงในเวลากลางวัน ซึ่งเป็นกราฟที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหลังเป็ด ปรากฏการณ์นี้เกิดจากผู้คนหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น จึงมีการใช้ไฟฟ้ากระแสหลักลดลงในเวลากลางวัน และกลับมาใช้ไฟฟ้ากระแสหลักมากขึ้นในเวลากลางคืน ทำให้เส้นกราฟมีการขึ้น-ลงคล้ายรูปเป็ด โดยในเรื่องนี้ส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อต้องการในแต่ละวัน และการแบกรับต้นทุนของโรงงานผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีความพยายามที่จะเพิ่มกำลังผลิตของโรงงานผลิตไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่น รวมถึงลดอัตราค่าไฟฟ้าในเวลากลางวันลงมา เพื่อจูงใจให้คนกลับมาใช้ไฟฟ้ากระแสหลักเหมือนเดิม

อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์เส้นเป็ดโค้ง (Duck Curve) ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ถ้าหากว่าแผงโซล่าเซลล์ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นก็อาจถึงคราวที่บ้านเราจะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้นบ้าง

 

Anti Solar Cell ทำงานอย่างไร

 

Anti Solar Cell ทำงานอย่างไร

อย่างที่รู้กันว่าแผงโซล่าเซลล์ที่เรารู้จักกันดีจะดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในเวลากลางวัน ในทางตรงข้าม Anti Solar Cell หรือแผงโซล่าเซลล์กลางคืน คือโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืนนั่นเอง โดยแผงโซล่าเซลล์ใช้กลางคืนนั่นมีการค้นคว้าพัฒนาตั้งแต่ 2020 โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานที่ต้องการแก้ปัญหาการผลิตไฟฟ้าหลังพระอาทิตย์ตกดิน จึงได้ตั้งชื่อ Solar Energy แนวใหม่ นี้ว่า Anti Solar Cell 

โดยการผลิตไฟฟ้าในเวลากลางคืน เป็นแนวคิดที่มีวิธีการทำงานง่ายๆ เพราะโลกในการระบายความร้อนออกมาในช่วงเวลากลางคืนในรูปแบบของรังสีอินฟราเรด เพื่อให้อุณหภูมิของโลกคงที่ โดยการผลิตพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อนแบบนี้เคยมีมาก่อนแล้ว เราเรียกว่า Thermoradiative Cell :ซึ่งเป็นพลังงานที่เกิดจากการแผ่รังสีความร้อนเหมือนกัน แต่นำมาใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความร้อนสูงโดยนักวิทยาศาสตร์จึงผลิตแผงโซล่าเซลล์เซลล์แบบย้อนกลับ โดยการประยุกต์ใช้กับแผงโซล่าเซลล์แบบเดิมเพื่อลบข้อจำกัดด้านช่วงเวลาในการผลิตไฟฟ้า โดยเปลี่ยนวัสดุชิ้นใหม่ที่ดูดซับรังสีอินฟราเรดได้เพิ่มเข้าไปยังแผงโซล่าเซลล์ โดยใช้ความแตกต่างของอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนมาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง  

สำหรับ แผงโซล่าเซลล์ใช้กลางคืน สามารถสร้างพลังงานได้มากถึง 50 วัตต์ต่อตารางเมตร หรือเป็น 1 ใน 4 ของแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในเวลากลางวัน โดยเป็นพลังงานเพียงพอสำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือ แต่ทว่าในอนาคต Anti Solar Cell  ต้องมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นพลังงานกระแสหลัก หรือถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภทถือว่าเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ที่ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อทดแทนพลังงานเดิมที่กำลังลดลงเรื่อยๆ

วิธีผลิตไฟฟ้าในตอนกลางคืนของ Anti Solar Cell 

วิธีผลิตไฟฟ้าของ แผงโซล่าเซลล์ใช้กลางคืน เป็นการนำประโยชน์ของการระบายของร้อนโลกที่อยู่ในรูปแบบของรังสีอินฟราเรดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งหากนำรังสีดังกล่าวมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้จะทำให้คนสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดที่ทั้งประหยัด ราคาถูก และยั่งยืน นักวิทยาศาสตร์จึงนำแผนการดังกล่าวมาพัฒนาเพื่อต่อยอดการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าในเวลากลางคืน 

ผ่านการสร้างแบบจำลองเทอร์โมไดนามิกส์ โดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นกําลังไฟฟ้าโดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ โดยนำพิสูจน์บนดาดฟ้าจึงพบว่าแบบจำลองนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2.2 วัตต์ต่อตารางเมตร และยังมีการทดลองผลิตไฟฟ้าในเวลากลางคืนอีกหลายครั้ง ซึ่งพบว่าสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น เทียบเท่ากับประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่ทำความร้อนได้เลย  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้การผลิตไฟฟ้าด้วย Anti Solar Cell   กำลังเข้าใกล้ความเป็นจริง และสามารถทำให้เป็นความจริงได้ในอนาคต

Anti Solar Cell แตกต่างจากโซล่าเซลล์แบบธรรมดาอย่างไร

หลายคนคงอยากทราบแล้วว่า แผงโซล่าเซลล์ใช้กลางคืน ต่างจากโซล่าเซลล์แบบธรรมดาอย่างไรบ้าง เดี๋ยวจะมาอธิบายให้อย่างชัดเจนขึ้นกันดีกว่า ดังนี้

  • ช่วงเวลาในการผลิตไฟฟ้า สำหรับ Anti Solar Cell  เป็นโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน ต่างจากโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ช่วงเวลากลางวัน 
  • การดูดซับพลังงาน โดย Anti Solar Cell  มีการดูดซับรังสีอินฟราเรดที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิของโลกและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ในขณะที่โซล่าเซลล์ปกติดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยตรง 
  • หลักการทำงาน แผง  Anti Solar Cell ดูดซับพลังงานจากกระบวนการแผ่รังสีความร้อน ในขณะที่โซล่าเซลล์แบบธรรมดาดูดซับพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์

 

ข้อดีของ แผงโซล่าเซลล์กลางคืน(Anti Solar Cell)

 

Anti Solar Cell มีข้อดีอะไรบ้าง

มาถึงข้อดีของ แผงโซล่าเซลล์กลางคืน หรือ Anti Solar Cellของเรา อย่างที่ทราบกันว่าพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ทั่วโลกมีความต้องการมากที่สุด จึงมีการคิดค้นพลังงานทดแทนมาใช้อยู่เสมอ การคิดค้น Anti Solar Cell ก็เป็นหนึ่งในความพยายามดังกล่าว ดังนั้นจึงมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาต่อไปในอนาคต

  •  แผงโซล่าเซลล์กลางคืน สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดทั้งคืนภายใต้สภาวะที่เอื้ออำนวย 
  • ในอนาคตสามารถนำมาติดตั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนเพื่อใช้กันภายในประเทศ 
  • เป็นพลังงานสะอาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

Anti Solar Cell มีข้อเสียอะไรบ้าง

ในปัจจุบัน Anti solar cell  กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานหลักของโลกได้ เพราะผลิตไฟฟ้าได้เพียง 1 ใน 4 ของแผงโซล่าเซลล์แบบปกติเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบัน ซึ่งหนทางในการปรับปรุงพัฒนา Anti Solar Cell ยังอีกยาวไกลในการนำมาประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน แต่ต่อไปต้องมีประสิทธิภาพและศักยภาพที่จะนำมาปรับใช้ได้จริงอย่างแน่นอน

 

Anti Solar Cell จะเป็นอนาคตของโลกในด้านพลังงานสะอาดได้หรือไม่

 

ทำไม Anti Solar Cell จะเป็นอนาคตของโลกในด้านพลังงานสะอาด

ในปัจจุบันนี้ความร้อนที่เกิดขึ้นในภาคการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นและทำลายชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งการพัฒนา Anti Solar Cell  ที่ดูดซับพลังงานความร้อนมาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ รวมถึงช่วยสร้างความสมดุลระหว่างการปล่อยคาร์บอนในโรงงานอุตสาหกรรมกับการกำจัดคาร์บอนด้วยการดูดซับพลังงานของ Anti Solar Cell  นอกจากนี้แผง Anti Solar Cell   ยังเป็นพลังงานที่ปราศจากคาร์บอน จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการพัฒนาต่อไปในอนาคต และลดปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ด้วย ถ้าหากเครื่องดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน

สรุปจาก SORARUS

Anti solar cell เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางคืนของโซล่าเซลล์ และลดข้อจำกัดในการผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะช่วงเวลากลางวันเท่านั้น ซึ่งปัญหาที่หลายคนค้างคาใจกันว่าเมื่อทำการติดตั้งโซล่ารูฟท็อป(Solar Rooftop) แล้วจะสามารถผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางคืนได้ไหม และมีวิธีการผลิตอย่างไร ซึ่งวันนี้เรารู้แล้วว่ากระบวนการกักเก็บความร้อนแล้วนำมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานในช่วงเวลากลางคืน สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่า anti solar cell และหวังว่า anti solar cell  จะมีประสิทธิภาพที่มากขึ้น และคนทั่วไปสามารถเข้าถึงและนำมาใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ

 

 

1-2-banner

มารู้จักขั้นตอนทั้งหมดในการผลิตโซล่าเซลล์ มีกระบวนการอย่างไรก่อนนำมาใช้งาน

ในยุคปัจจุบันเราคงจะได้ยินคำว่าโซล่าเซลล์ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ กันบ่อยมากขึ้น เพราะโซล่าเซลล์คือนวัตกรรมเทคโนโลยีในยุคใหม่ เป็นพลังงานสะอาดที่สามารถเปลี่ยนแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้งานทั่วๆ ไปได้นั่นเอง โดยหลายๆ ประเทศทั่วโลกต่างให้ความสนใจและพัฒนากระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ ให้เป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนแบบยั่งยืน โดยมีแผงโซล่าเซลล์เป็นอุปกรณ์หลักในการผลิตไฟฟ้ากระแสตรง พัฒนาการของกระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2497 โดยในช่วงแรกๆ นั้นเป็นการใช้เทคโนโลยีแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิคอนจนได้เซลล์แสงอาทิตย์ ต่อมากระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ ได้มีการพัฒนาจนก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก 

ปัจจุบันกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์มีทั้งหมด 2 วิธีหลักๆ ด้วยกัน คือ การผลิตเวเฟอร์ซิลิคอนแล้วนำเวเฟอร์ซิลิคอนมาผลิตโซล่าเซลล์ วันนี้เราจะพาไปดูรายละเอียด รู้จักกับขั้นตอนทั้งหมดในการผลิตโซล่าเซลล์ว่า มีกระบวนการอย่างไรก่อนนำมาใช้งาน

 

กระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ ขั้นตอนที่ 1

 

กระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ ขั้นตอนที่ 1 การผลิตแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอน

สารซิลิคอน (SILICON) เป็นสารกึ่งตัวนำที่หาได้ง่าย มีความทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน และมีราคาที่ไม่สูงจนเกินไป เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่ใช้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์ และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ นิยมนำมาใช้ในกระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์กันอย่างแพร่หลายมากกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ โดยซิลิคอนบริสุทธิ์จะถูกนำไปหลอมละลายในเตาอุณหภูมิสูง เพื่อสร้างแท่งผลึกเดี่ยวขนาดใหญ่ พร้อมใส่สารประกอบเพื่อให้เกิดการจับตัวกันเป็นผลึก จากนั้นจะดึงแท่งผลึกออกจากเตาหลอม จะได้ผลึกเดี่ยว ก่อนจะตัดแท่งผลึกให้เป็นแผ่นบางด้วยลวดตัดเพชร หลังจากได้แผ่นผลึกที่มีความหนาตามต้องการ จะนำมาขัดผิวให้เรียบ และเจือสารที่ทำให้เกิดรอยเชื่อมต่อระหว่างสารกึ่งตัวนำสองประเภท ได้แก่ สารแบบ P-type และแบบ N-type ภายในผลึกกึ่งตัวนำเดี่ยว เรียกว่าการ P-NJunction ด้วยการ Diffusion ที่อุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส

เวเฟอร์ซิลิคอนที่ได้มานั้น จะเป็นพาหะนำแสงอาทิตย์ โดยเวเฟอร์ซิลิคอนที่มีคุณภาพ จะเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพในการแปลงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ในการนำมาใช้งานจริงนั่นเอง เท่ากับว่าหลังจากที่เราได้แผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนมาแล้ว ก็จะนำผลึกที่ได้ไปต่อขั้ววงจรไฟฟ้า โดยผิวด้านบนจะเป็นขั้วลบ ส่วนผิวด้านล่างจะเป็นขั้วบวก ก่อนจะเคลือบฟิล์มผิวหน้า เพื่อป้องกันให้เกิดการสะท้อนแสงน้อยที่สุด เพื่อให้ได้เซลล์ที่สมบูรณ์แบบ จากนั้นจึงนำไปประกอบเข้าเป็นแผงโดยการใช้กระจกปิดทับเพื่อป้องกันแผ่นเซลล์ แล้วยิงซิลิโคนและอีวีเอ (Ethelele Vinyl Acetate) ช่วยป้องกันความชื้น จากนั้นจะผ่านการ Lamination เคลือบให้เป็นแผ่นเดียวกัน แล้วนำไปประกอบขึ้นเป็นเฟรมแผงโซล่าเซลล์

 

ขั้นตอนการนำแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนมาผลิตแผงโซล่าเซลล์

 

กระบวนการผลิตโซลล่าเซลล์ ขั้นตอนที่ 2 การนำแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนมาผลิตโซล่าเซลล์

จากนั้นก็จะถึงกระบวนการนำแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนมาผลิตเป็นแผงโซล่าเซลล์ โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบและปรับสภาพเบื้องต้น

การตรวจสอบและปรับสภาพเบื้องต้นในการผลิตโซล่าเซลล์ เริ่มตั้งแต่การวัดค่าพารามิเตอร์ทางเทคนิคเวเฟอร์ซิลิคอน เช่น ความหยาบผิวหน้า อายุการใช้งาน และความต้านทาน เพื่อให้ได้เวเฟอร์ซิลิคอนที่มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างพื้นผิว

การสร้างพื้นผิวในการผลิตโซล่าเซลล์ ต้องมีการเตรียมพื้นผิวซิลิคอน โดยการใช้การกัดกร่อนแบบแอนไอโซโทรปิก เพื่อสร้างโครงสร้างพีระมิดสี่ด้านนับล้านๆ บนพื้นผิวซิลิคอนทุกตารางเซนติเมตร เพื่อให้เกิดการสะท้อนแสงและดูดซับแสงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า

ขั้นตอนที่ 3 การทำความสะอาดด้วยกรด

การทำความสะอาดด้วยกรดในการผลิตโซล่าเซลล์ เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ เพื่อป้องกันปัญหาการกัดกร่อนของซิลิคอน ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ลิเธียมไฮดรอกไซด์ และเอธิลเนเดียม ในการทำความสะอาดซิลิคอน โดยใช้อุณหภูมิกัดกร่อนประมาณ 70-85 องศาเซลเซียส

ขั้นตอนที่ 4 การเพิ่มสารเจือปน

การเพิ่มสารเจือปนเป็นกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการเพิ่มสารเจือปนฟอสฟอรัสลงบนผลึกเวเฟอร์ซิลิคอน เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น

ขั้นตอนที่ 5 การแกะสลักและการแยกขอบ

ไม่เพียงเฉพาะแผ่นผลึกเวเฟอร์ซิลิคอนเท่านั้นที่ต้องเพิ่มสารเจือปน แต่ยังรวมไปถึงบริเวณขอบของแผ่นเวเฟอร์และบริเวณด้านหลังด้วย เพื่อช่วยให้เส้นทางวงจรกระแสไฟฟ้าทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่วนการแยกขอบจะเป็นการจำกัดเส้นทางวงจรไฟฟ้ารอบขอบแผ่นเวเฟอร์ โดยจะวางแผ่นเซลล์ไว้ด้านบนของกันและกัน จากนั้นจึงนำเซลล์ไปแกะสลักด้วยพลาสมาเพื่อกัดขอบที่เปิดออก

ขั้นตอนที่ 6 การซักล้างหลังการแกะสลัก

หลังจากการแกะสลักด้วยพลาสมาในขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้ว อนุภาคอาจยังคงตกค้างอยู่บนผลึกและขอบเวเฟอร์ ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการล้างเวเฟอร์ครั้งที่ 2 เพื่อกำจัดอนุภาคให้หมดไป

ขั้นตอนที่ 7 การเคลือบป้องกันแสงสะท้อน

หลังจากการซักล้างครั้งที่ 2 ขั้นตอนต่อไปคือการนำไปเคลือบสารป้องกันแสงสะท้อน (Anti-reflective Coating) หรือการเคลือบ AR เพื่อลดการสะท้อนแสงบนพื้นผิวเวเฟอร์ซิลิคอน และการเคลือบป้องกันแสงสะท้อนยังช่วยเพิ่มปริมาณการดูดซับแสงอาทิตย์เข้าสู่ผลึกเซลล์ โดยใช้จะใช้ซิลิคอนไนไตรด์ (Si3N4) สำหรับเคลือบแบบบาง และใช้ไททาเนียมออกไซด์ (TiO2) สำหรับเคลือบแบบหนา จะสังเกตได้ว่าสีของแผ่นโซล่าเซลล์จะขึ้นอยู่กับการเคลือบป้องกันแสงสะท้อนด้วยเช่นกัน โดยการเคลือบป้องกันแสงสะท้อนเกี่ยวกับสารกึ่งตัวนำนั้น แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

  •       Atmospheric Pressure Chemical Vapor Deposition (APCVD) เป็นการเคลือบ AR โดยใช้อุณหภูมิสูง
  •       Low-Pressure Chemical Vapor Deposition (LPCVD) เป็นการเคลือบ AR โดยกระบวนการตกตะกอนในเตาหลอมแบบท่อเช่นเดียวกับวิธี APCVD และต้องใช้อุณหภูมิสูง
  •       Plasma Enhanced Chemical Vapor Deposition (PECVD) เป็นการเคลือบ AR บนแผ่นเวเฟอร์โดยใช้สารเคลือบบาง ที่มีสถานะเป็นก๊าซและผ่านกระบวนการทำปฏิกิริยาเคมีจนแข็งตัวบนแผ่นเวเฟอร์

ขั้นตอนที่ 8 การพิมพ์และการอบแห้ง

ในขั้นตอนต่อมา จะนำเวเฟอร์ซิลิคอนไปเข้าเฟรมโลหะ โดยการพิมพ์ลงที่ด้านหลังของเวเฟอร์ อุปกรณ์การพิมพ์สกรีนแบบพิเศษ หลังจากนั้นจะนำแผ่นเวเฟอร์ไปผ่านกระบวนการทำให้แห้ง เมื่อแห้งดีแล้วจะนำไปพิมพ์หน้าสัมผัสด้านหน้า และผ่านกระบวนการทำให้แห้งอีกครั้ง เมื่อหน้าสัมผัสแห้งดีแล้ว ทั้งด้านหหน้าและด้านหลังแผ่นเวเฟอร์จะถูกส่งผ่านเตาเผาผนึก หลังจากเวเฟอร์ถูกทำให้เย็นลง ก็จะเป็นกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ที่สมบูรณ์แบบ

 ขั้นตอนที่ 9 ทดสอบและการเรียงลำดับเซลล์

กระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์ในขั้นสุดท้าย หลังจากประกอบแล้ว คือ การทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของเซลล์ โดยอุปกรณ์ทดสอบเซลล์แสงอาทิตย์จำลอง เพื่อจำแนกเกรดและจัดเรียงคุณภาพ ให้มีความพร้อมสำหรับการใช้งานทั่วไป

 

ประเภทของการตรวจสอบในขั้นตอนการผลิตโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้าง

โดยหลักการแล้ว ในกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์จะแบ่งการตรวจสอบออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกัน ได้แก่ การตรวจสอบก่อนการผลิต หลังการผลิต และการติดตามผลการผลิต

 

ขั้นตอนการตรวจสอบในการผลิตโซล่าเซลล์

 

ขั้นตอนการตรวจสอบก่อนการผลิต

คือ การตรวจสอบคุณภาพวัสดุอุปกรณ์ กำหนดระยะเวลาให้แน่นอนทั้งในด้านการควบคุม การวางแผนการผลิต เพื่อให้ได้แผงโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน รวมถึงความปลอดภัยในระหว่างการผลิตด้วย

 

ขั้นตอนการตรวจสอบหลังการผลิตแผงโซล่าเซลล์

 

ขั้นตอนการตรวจสอบหลังการผลิต

การตรวจสอบหลังการผลิต จะเป็นการตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตเสร็จแล้วให้ครบถ้วนรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ สายไฟ อินเวอร์เตอร์ รวมถึงความถูกต้องเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ พร้อมๆ กับดำเนินการเพื่อให้แผงโซล่าเซลล์เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ดังนี้

  •         ตรวจสอบภายนอก หรือการตรวจสอบด้วยสายตา เช่น ตรวจดูแผงโซล่าเซลล์ว่าไม่มีรอยแตก สายไฟมีความยาวตามมาตรฐานกำหนด ขอบแนวไม่มีรอยแหว่งติดแน่นทุกส่วน รวมไปถึงแบตเตอรี่ อินเวอร์เตอร์  ฉลาก ขนาด ความกว้าง ความยาว ให้เป็นไปตามที่กำหนด และไม่มีความเสียหายใดๆ
  •         ตรวจสอบวงจรการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ ด้วยการจ่ายกระแสไฟเพื่อดูว่ามีความร้อนมากกว่าปกติหรือไม่ รวมทั้งดูส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย
  •         ตรวจสอบการติดฉลากต่างๆ เช่น บาร์โค้ด โลโก้สินค้า ฉลากที่ระบุประเภท ขนาด การใช้งาน และข้อกำหนดต่างๆ
  •         ตรวจสอบก่อนการจัดส่ง ซึ่งจะประกอบไปด้วย การบรรจุแผงโซล่าเซลล์ อุปกรณ์ และชิ้นส่วนอื่นๆ ครบถ้วน กล่องมีคุณภาพมาตรฐาน ชื่อที่อยู่ผู้รับ และรายละเอียดอื่นๆ ให้ถูกต้อง

 

ขั้นตอนการติดตามผลการผลิต Solar Cell

 

ขั้นตอนการติดตามผลการผลิต

ในส่วนของขั้นตอนการติดตามผล หลังจากกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์เสร็จสิ้น และถือว่าเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของแผงโซล่าเซลล์ที่นำไปใช้งาน ซึ่งจะเป็นการรวบข้อมูลด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาการผลิต ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กระบวนการผลิตโซล่าเซลล์กำหนดไว้ รวมถึงต้องมีการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อได้คุณภาพ ประสิทธิภาพ และปลอดภัยขณะใช้งาน

 

ปัญหาที่พบในกระบวนการผลิตแผงโซลล่าเซลล์

 

ปัญหาด้านคุณภาพที่มักพบในกระบวนการผลิตแผงโซลล่าเซลล์

สิ่งที่ต้องคำนึงอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ ต้องมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ หากไม่ได้มาตรฐานอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังอีกหลายๆ ด้าน เช่น

  •         น้ำเข้าไปในแผงโซล่าเซลล์
  •         สีของเซลล์ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากการเคลือบสะท้อนแสง
  •         ความเสียหายต่อแผงวงจร
  •         ฟองอากาศบนแผง
  •         สิ่งแปลกปลอมภายในเซลล์
  •         ร่องรอยกาวบนกล่องรวมสัญญาณ
  •         รอยแตกขนาดเล็กบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์
  •         เซลล์แสงอาทิตย์อาจเกิดแตกหักหรือบิ่น
  •         รอยขีดข่วนบนกระจก
  •         การจัดตำแหน่งสตริงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่เหมาะสม ไม่เรียงตัวอย่างถูกต้อง
  •         ขนาดที่ไม่ได้มาตรฐาน
  •         ความยาวสายเคเบิลไม่ตรงตามที่กำหนด อาจจะสั้นหรือยาวเกินไป
  •         ความต้านทานของฉนวนไม่ดีพอ ซึ่งเกิดจากฉนวนไม่มีคุณภาพ
  •         ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ อินเวอร์เตอร์ ตัวแปลงไฟ ขาดประสิทธิภาพในการประจุไฟ

 

สรุปจาก SORARUS

ในกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์นั้น หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า จริงๆ แล้วแผงโซล่าเซลล์ไม่ได้เป็นแผงที่สามารถนำมาติดตั้งใช้งานได้เลยตั้งแต่แรก แต่จะมีกระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์ก่อนหน้านั้นอีกหลายขั้นตอนมาก ๆ ตั้งแต่การสกัดสารซิลิคอน ผ่านกระบวนการต่างๆ ขึ้นรูปแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอน ผ่านการทดสอบทั้งก่อนและหลังการผลิต จนกระทั่งเป็นแผงโซล่าเซลล์ในแบบที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จนกระทั่งปัจจุบันการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าใช้นั้น กำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการใช้พลังงานสะอาด ช่วยลดภาวะโลกร้อน และเป็นการใช้พลังงานทางเลือกที่คุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง

 

 

 

 

1-3-banner

วิธีทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ที่ กระชับ เข้าใจง่าย จาก SORARUS

ต้องยอมรับจริงๆ ว่าในปัจจุบันการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก หลายๆ บ้านเลือกติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไว้ที่บริเวณหลังคา หรือที่เราเรียกว่า “โซล่ารูฟท็อป” (Solar Rooftop) เพราะเป็นจุดรับแสงอาทิตย์ได้ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตามปัญหาชวนปวดหัวสำหรับบ้านที่มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ต้องเจอก็คือ การทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ โดยหลายคนอาจมองว่ายุ่งยาก แต่ถ้าเราไม่ทำความสะอาดเลยก็อาจจะเจอกับสิ่งที่ยุ่งยากยิ่งกว่า เนื่องจากบริเวณหลังคาเป็นแหล่งรวมตัวของบรรดาสิ่งสกปรกมากมายทั้งมูลสัตว์ ฝุ่นละออง คราบน้ำ และเขม่าควันต่างๆ ที่อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ลดลง 

 

ดังนั้น ทุกบ้านที่มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อยู่เสมอ โดยวิธีทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด เราเลยจะขาเผยหมดเปลือกถึงการทำความสะอาดและการบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ แต่ทำอย่างไรบ้างนั้นมาหาคำตอบกัน

 

6 เหตุผลที่ควรทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

 

ทำไมเราต้องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

แน่นอนว่าเหตุผลสำคัญของการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์คือการรักษาความสะอาด แต่ยังมีเหตุผลอื่นๆ อยู่อีกมากมาย โดยมีเหตุผลอยู่ 5 ข้อที่เราจะมาบอกทุกคนว่าทำไมเราต้องทำความสะอาดแผงโซลล่าเซลล์ ดังนี้ 

ส่งผลต่อการรับประกัน

หลายคนคงไม่ทราบว่าการทำความสะอาดแผงเซลล์โซล่าเซลล์ส่งผลต่ออายุการรับประกันสินค้าและการที่เราไม่ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลดลงถึง 20% อีกด้วย จึงทำให้เมื่อมีปัญหาขัดข้องเกิดขึ้นจากที่เราไม่ดูแลรักษาอาจทำให้เราไม่สามารถเคลมประกันได้ และแน่นอนว่าสิ่งนี้ก็จะส่งผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องอีกด้วย เราจึงควรมีการทำความสะอาดและมีการบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์อยู่เสมอ โดยอาจจ้างช่างผู้เชี่ยวชาญหรือจะทำความสะอาดด้วยตนเองแต่ต้องตามคู่มือที่ระบุไว้อย่างครบถ้วน เพราะอาจส่งผลถึงเงื่อนไขการรับประกันสินค้าด้วยเช่นกัน

อย่าคิดว่าฝนช่วยทำความสะอาดโซล่าเซลล์ 

เนื่องจากน้ำฝนที่ตกลงมาจะมีอนุภาคของฝุ่นละอองเล็กๆ ปะปนมาด้วยเสมอ จึงทำให้แผงโซล่าเซลล์ไม่ได้สะอาดอย่างที่ทุกคนเข้าใจ ซึ่งหากใครเคยเอารถตากฝนคงทราบดี เพราะเมื่อน้ำฝนระเหยออกไปจนหมดเราจะเห็นคราบฝุ่นสีขาวเกาะที่กระจก ซึ่งถ้าคิดตามหลักการเดียวกันน้ำฝนไม่ได้ทำให้แผงโซล่าเซลล์ของคุณสะอาด ในทางกลับกันกลับทำให้แผงโซล่าเซลล์สกปรกมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซล่าเซลล์อีกด้วย 

ตรวจสอบสถาพของโซล่าเซลล์ไปในตัว

ผลดีที่ตามมาของการที่เราขึ้นไปทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ คือการที่เราได้ตรวจสอบการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ไปในตัว ซึ่งทำให้เราได้เช็กทั้งจอแสดงผลอินเวอร์เตอร์ ระบบการทำงานส่วนอื่นๆ เพราะบางทีระบบการทำงานบางส่วนของเครื่องมีความขัดข้องโดยที่เราไม่ทันได้สังเกตเห็น จนเวลาล่วงเลยไประบบที่อาจขัดข้องเพียงจุดเล็กๆ อาจลุกลามเป็นปัญหาที่ยากเกินแก้ จนทำให้เราเสียเงินมากกว่าที่เราควรเสียก็ได้ 

ทำให้โซล่าเซลล์ทำงานได้ประสิทธิภาพดีขึ้น

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าบ้านไหนที่ไม่ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ อาจทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลดลงถึง 25%-30% แต่ในทางกลับกันถ้าหากเราทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำและสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้ดีขึ้นเป็น 2 เท่า 

ตรวจสอบและป้องการปัญหาที่เกิดจากการชำรุดของโซล่าเซลล์

ผลร้ายที่ตามมาของการที่ละเลยการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ คือการที่เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าแผงโซล่าเซลล์มีส่วนที่ชำรุดหรือเสียหายตรงไหนบ้าง? เพราะมีหลายครั้งที่แผงโซล่าเซลล์เกิดชำรุดและเสียหาย ทั้งกระจกแตกร้าว สายไฟขาด น้ำเข้า ไฟดูด ไฟช็อต ซึ่งในส่วนที่กล่าวมาเป็นเรื่องอันตรายอย่างมากเราจึงมีควรเช็กแผงโซล่าเซลล์อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ก็ช่วยให้เราตรวจสอบความเสียหายของเครื่องไปในตัว และทำให้อายุการใช้งานของเครื่องทำงานได้ยาวนานขึ้นอีกด้วย 

สาเหตุที่เราต้องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

นอกจากเหตุผลด้านบนที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น สาเหตุจริงๆ ของการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ คือสิ่งสกปรกต่างๆ มากมาย โดยเรามักจะเจอสิ่งสกปรกเหล่านี้ติดอยู่บนแผงโซล่าเซลล์ของคุณ

  • ขี้นก

อยากจะบอกเลยว่าขี้นกเป็นสิ่งสกปรกแรกๆ ที่อาจทำให้คุณต้องทำความสะอาดแผงโซล่าบ่อยขึ้น ยิ่งบางบ้านที่เต็มไปด้วยต้นไม้ก็มักจะมีนกหลากหลายสายพันธุ์เลือกทำรังอยู่ในบริเวณนั้น และแน่นอนว่านกพวกนั้นอาจปล่อยมูลลงมาที่แผงโซล่าเซลล์ และเมื่อขี้นกแข็งตัวและสะสมอยู่บนแผงโซล่าเซลล์จะส่งผลต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าได้

  • เศษใบไม้

ยังมีเศษใบไม้ที่ทำให้แผงโซล่าเซลล์สกปรก และใบไม้นี่แหละที่ทำให้แสงอาทิตย์ส่องไปยังแผงโซล่าเซลล์ได้ไม่เต็มที่ จนทำให้แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าลดลง โดนเฉพาะใบไม้เปียกที่ติดแน่นอยู่กับแผงโซล่าเซลล์ ดังนั้นการทำความสะอาดเป็นประจำจึงเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง 

  • ฝุ่นและสิ่งสกปรก

นอกจากขี้นกและใบไม้แล้ว ฝุ่นละอองต่างๆ นี่ตัวดีเลย เพราะสิ่งนี้อาจทำให้เราคิดว่าแผงโซล่าเซลล์ไม่ได้สกปรกขนาดนั้น จึงละเลยการทำความสะอาดไป แต่หารู้ไม่ว่าละอองฝุ่นที่สะสมจนเป็นชั้นหนาอาจทำให้แสงอาทิตย์ส่องลงไปยังแผงได้ยากขึ้น จนส่งผลต่อกำลังการผลิตไฟฟ้านั่นเอง

  • คราบโคลนจากน้ำฝน 

คราบน้ำก็เป็นสิ่งที่ทำให้แผงโซล่าเซลล์ของคุณสกปรกด้วยเช่นกัน เพราะมักปะปนมาพร้อมกับโคลน และอนุภาคฝุ่นอยู่เสมอ ดังนั้นควรมันเช็กและทำความสะอาดเพื่อให้แผงโซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่

 

การทำความสะอาดแผงโซลล่าเซลล์ ควรทำบ่อยแค่ไหน

เราควรทำความสะอาดแผงโซลล่าเซลล์บ่อยแค่ไหน

โดยปกติแล้วเราควรทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเราสามารถทำได้บ่อยกว่านั้น ถ้าหากบริเวณที่เราอยู่อาศัยเต็มไปด้วยละอองฝุ่นจนทำให้แผงโซล่าเซลล์มีสิ่งสกปรกสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก เราก็สามารถทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ได้ตามความเหมาะสม

 

สิ่งที่ต้องรู้และเตรียมตัวก่อนทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

 

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

สำหรับคนที่ต้องการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ด้วยตัวเอง เพราะไม่อยากจ้างช่างทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ เพราะราคาสูง เราเลยขอแนะนำวิธีและสิ่งที่ต้องรู้ก่อนทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ ดังนี้

1. ปิดระบบการทำงานทั้งหมด: 

ก่อนที่จะทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์เราต้องปิดระบบการทำงานทั้งหมดก่อนเพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่คู่มือระบุไว้ให้ครบทุกข้อ รวมถึงตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบทั้งหมดปิดสนิทแล้วหรือไม่? 

2. ตัดการเชื่อมต่อกับระบบรางน้ำที่เชื่อมไปยังถังเก็บน้ำฝน: 

สำหรับบ้านที่มีถังเก็บน้ำฝนจำเป็นต้องถอดสายหรือถอดรางน้ำก่อนชั่วคราวเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกจากการล้างทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ไหลลงไปปะปนกับน้ำฝนหรือน้ำสะอาดเราเก็บเอาไว้ 

3. ทำความสะอาดในช่วงเวลาที่เหมาะสม: 

โดยช่วงเวลาในการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ที่ดีที่สุด คือช่วงที่มีอากาศเย็นอย่างตอนเช้าตรู่ เพราะน้ำค้างที่ในตอนเช้าจะทำให้สิ่งสกปรกที่เกาะบนแผงโซล่าเซลล์อ่อนนุ่มและเช็ดทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น โดยเราไม่ควรทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ในช่วงที่มีอากาศร้อนหรือมีแดดร้อนจัด เพราะความเย็นของน้ำเมื่อกระทบถูกแผงโซล่าเซลล์ร้อนๆ อาจทำให้กระจกเกิดรอยร้าวเนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงกะทันหันได้ 

4. ฉีดน้ำพุ่งขึ้นไปบนแผงโซล่าเซลล์: 

โดยการฉีดน้ำพุ่งขึ้นไปโดยที่ตัวของเราอยู่ที่พื้นเป็นการทำความสะอาดที่ปลอดภัยมากที่สุด เพียงแต่เราต้องเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสม เพื่อให้กระแสน้ำถูกส่งขึ้นไปถึงแผงโซล่าเซลล์ 

5. ระวังอย่าให้น้ำเข้าไปยังตัวเครื่อง: 

โดยตัวเครื่องซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ามักจะอยู่บริเวณด้านหลังของแผงโซล่าเซลล์ เป็นส่วนที่ไม่ควรถูกน้ำเพราะอาจทำให้มีความเสียหายเกิดขึ้น ดังนั้นเราควรฉีดน้ำบริเวณแผงโซล่าเซลล์เพื่อที่จะทำความสะอาดเท่านั้น

ยืดอายุการใช้งานโซล่าเซลล์ด้วยวิธีทำความสะอาดที่ถูกต้อง

6. ใช้สบู่อ่อนและผ้านุ่ม เช็ดทำความสะอาด: 

เราสามารถใช้ผ้านุ่มๆ ชุบน้ำสบู่เช็ดเบาๆ บริเวณแผงโซล่าเซลล์ จากนั้นก็เป่าลมหรือใช้ผ้าแห้งสะอาดเช็ดให้แห้งสนิท แผงโซล่าเซลล์ก็ดูดีเหมือนซื้อมาใหม่แล้ว 

7. มีอุปกรณ์ Safety: 

สำหรับบางบ้านที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในบริเวณหลังคา ควรมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเอง 

8. เปิดระบบการทำงานทั้งหมด: 

เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยก็อย่าลืมเปิดระบบการใช้งานให้กลับมาเป็นปกติ เพื่อให้เราได้ใช้งานระบบโซล่าเซลล์เหมือนเดิม

สิ่งที่ห้ามทำขณะทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

เมื่อทุกคนทราบวิธีทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อย่างละเอียดแล้ว มาถึงสิ่งที่ห้ามทำอย่างเด็ดขาดในขณะที่ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้างมาดูกัน

  • ห้ามใช้น้ำกระด้าง(Hard water) ในการล้างแผงโซล่าเซลล์ อย่างเช่น น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำบาดาลที่มักมีละอองฝุ่นปะปนมากับน้ำ เพราะอาจทำให้แผงโซล่าเซลล์สกปรกมากยิ่งกว่าเดิม รวมถึงทิ้งคราบแห้งเกรอะติดแผงโซล่าเซลล์เอาไว้อีกด้วย 
  • ห้ามใช้ฟองน้ำแบบหยาบหรือแบบแข็ง เพราะอาจสร้างความเสียหายต่อแผงโซล่าเซลล์ รวมถึงทำให้แผงโซล่าเซลล์มีรอยขีดข่วนได้ 
  • ห้ามใช้น้ำแรงดันสูง เพราะอาจทำให้โครงสร้างของแผงโซล่าเซลล์เสียหายได้ รวมถึงใช้น้ำอุณหูภูมิปานกลางล้างทำความสะอาด 
  • ห้ามใช้น้ำเย็นล้างทำความสะอาด เพราะอาจทำลายแผงโซล่าเซลล์อย่างถาวร ควรใช้น้ำที่มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับแผงโซล่าเซลล์ในการล้างทำความสะอาดแทน 
  • ห้ามน้ำยาซักฟอกหรือตัวทำละลาย เพราะอาจทำให้พื้นผิวที่รับแสงอาทิตย์เกิดความเสียหายได้

เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

 

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้าง มาดูกัน 

บันไดและสายรัดตัว: 

อุปกรณ์สำหรับ Safety มีความสำคัญมากที่สุดในการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ โดยต้องหาบันไดและสายรัดที่แข็งแรงสำหรับปีนขึ้นไปทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ และสามารถรองรับน้ำหนักตัวของผู้ที่ทำความสะอาดได้ 

ลูกกลิ้งยางหรือไม้กวาดหุ้มยางสำหรับทำความสะอาด: 

เพื่อช่วยในการกวาดหรือเช็ดน้ำออกแบบไม่ทำลายพื้นผิวของแผงโซล่าเซลล์ 

น้ำยาทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์แบบไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน: 

รวมถึงสามารถใช้น้ำสบู่อ่อนๆ ในการทำความสะอาดได้ ซึ่งจะช่วยในการทำให้แผงโซล่าเซลล์สะอาดโดยไม่ทำลายผื้นผิวของแผง 

แปรงขนอ่อน: 

การทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ต้องใช้แปรงขนนุ่มหรือแปลงขนอ่อนเท่านั้น เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังทำความสะอาด 

แปรงทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ: 

เป็นแปรงสำหรับทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ เพราะจะมีขนที่นุ่มจะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สรุป

เห็นได้ชัดว่าการทำความสะอาดแผงโซล่าไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก โดยคุณก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองได้ เพียงทำตามวิธีทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้การทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะโดยปกติแผงโซล่าเซลล์หลังจากการติดตั้งแล้ว และมีการรับประกันอายุการใช้งานขั้นต่ำที่ 20 ปีขึ้นไป แต่ไม่ใช่ว่าในตลอดช่วงอายุเวลานั้นเราจะไม่ทำการบำรุงรักษาและทำความสะอาดโซล่าเซลล์เลย เพราะการที่ไม่ทำความสะอาดโซล่าเซลล์นั้นอาจจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นสิ่งสกปรก การแตกหักชำรุดของโซล่าเซลล์ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของโซล่าเซลล์ลดลงนั่นเอง เพราะฉะนั้นการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์จึงเป็นการตรวจสอบและดูแลรักษาให้แผงโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานที่มากขึ้นนั่นเอง และทำให้คุณสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณได้อย่างแท้จริง

Cover

ก่อนติดตั้งต้องรู้ ระบบโซล่าเซลล์มีกี่แบบ เลือกให้เหมาะสมก่อนใช้งาน

การใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยระบบโซล่าเซลล์นั้น กำลังเป็นเทรนด์ยอดนิยมเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน เพราะนอกจากจะเป็นทางเลือกที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถมีไฟฟ้าใช้ได้ตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน

แต่สำหรับใครที่สนใจลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ควรรู้ไว้ก่อนว่าจริงๆ แล้วโซล่าเซลล์มีกี่ระบบ ระบบไหนที่เหมาะกับการใช้งานมากที่สุด โดยระบบที่ได้รับความนิยมนั้นมีทั้งระบบ on grid, off-grid และ hybrid วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาฝากกัน เพื่อประกอบการพิจารณาว่าควรติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แบบไหน และเลือกแบบไหนถึงจะเหมาะสมต่อการใช้งานที่สุด เพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุน

 

โซล่าระบบออนกริด (On Grid)

โซล่าเซลล์ระบบออนกริด (On Grid)

ระบบ on grid คือระบบโซล่าเซลล์ที่เชื่อมสายส่งเข้ากับการไฟฟ้าที่ใช้งานในบ้าน โดยมีแผงโซล่าเซลล์ในการให้กำเนิดไฟฟ้า จากนั้นก็จะส่งเข้าสู่อินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ สำหรับใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน โดยระบบออนกริดจะเหมาะสำหรับใช้งานในเวลากลางวันมากกว่า ส่วนในเวลาการคืนที่ไม่มีพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ก็จะสลับมาใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้านั่นเอง

ข้อดีของโซล่าเซลล์ระบบออนกริด (On Grid solar cell)

การใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ระบบออนกริด เป็นระบบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีข้อดีดังนี้

  1. มีไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา เพราะมีแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากทั้ง 2 ทาง คือ จากระบบโซล่าเซลล์และใช้ไฟจากการไฟฟ้าโดยตรง
  2. ช่วยประหยัดเงิน ช่วยลดค่าไฟฟ้าภายในบ้าน
  3. หากสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มาก ผู้ใช้โซล่าเซลล์สามารถสร้างรายได้ ด้วยการขายไฟฟ้าคืนให้กับทางการไฟฟ้าได้เช่นกัน แต่ในกรณีนี้จะต้องทำสัญญาซื้อขายกับการไฟฟ้าก่อน
  4. ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาไม่สูง
  5. ไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่สำรองไฟ

ข้อจำกัดของโซล่าเซลล์ระบบออนกริด (On Grid)

แม้การใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ระบบออนกริดจะมีข้อดีมากมายก็ตาม แต่ก็ยังมีข้อจำกัด ดังนี้

  1.  ระบบออนกริด จะไม่สามารถใช้งานในเวลากลางคืน หรือช่วงเวลาที่มีแสงอาทิตย์น้อยได้
  2.  เมื่อไฟจากการไฟฟ้าดับหรือตัดไป ตัวอินเวอร์เตอร์ก็จะหยุดทำงาน ไม่จ่ายไฟไปที่สายส่ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันไฟฟ้าดูดเพื่อความปลอดภัย

 

โซล่าเซลล์ระบบออนกริด (On Grid) เหมาะกับการใช้งานแบบไหน

ระบบออนกริด (On Grid) เหมาะกับการใช้งานแบบไหน

ระบบออนกริดเหมาะกับการใช้งานในช่วงเวลากลางวัน ดังนั้น จึงเหมาะกับการใช้งานบ้านเรือนทั่ว ๆ ไป ออฟฟิศสำนักงาน โรงเรือน โรงงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรืออาคารต่างๆ ที่ใช้งานในเวลากลางวันเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าโดยเฉพาะบ้านเรือนที่ใช้ไฟเป็นจำนวนมากในเวลากลางวัน ระบบนี้ก็เหมาะสมเพราะจะช่วยลดค่าไฟ ประหยัดงบประมาณได้เป็นอย่างมาก

 on grid solar cell ในแต่ละฤดูทำงานอย่างไร

โซล่าเซลล์ระบบออนกริดมีการทำงานในแต่ละฤดูที่แตกต่างกันโดยเฉพาะในฤดูฝน ประสิทธิภาพในการใช้งานอาจจะด้อยกว่าการใช้งานในฤดูร้อนหรือฤดูหนาวที่มีแสงแดดจัดกว่า สำหรับปัญหาที่หลายๆ คนกังวลว่าช่วงฤดูฝนที่ฝนตกหนักๆ จะมีผลให้แผงระบบโซล่าเซลล์ชำรุดเสียหายหรือไม่ ก็ต้องบอกเลยว่าถึงแม้ว่าฝนตกหนักก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน เพราะระบบโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพส่วนใหญ่ จะถูกออกแบบมาให้กันน้ำกันฝุ่นตามมาตรฐานการป้องกันฝุ่นและน้ำ (Ingress Protection Ratings) ได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว

อีกหนึ่งปัญหาในฤดูฝนที่หลายคนเป็นกังวลก็คือเรื่องฟ้าผ่า บอกเลยว่าไม่มีปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะแผงโซล่าเซลล์ไม่ได้ผลิตขึ้นมาจากวัสดุนำไฟฟ้า ไม่เป็นสายล่อฟ้าที่จะล่อให้ฟ้าผ่าลงหลังคาบ้านอย่างแน่นอน โดยเฉพาะหากเป็นระบบโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพ จะช่วยเสริมความมั่นใจ ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ฯลฯ มาพร้อมเช่นกัน

 

โซล่าระบบออฟกริด (Off Grid)

โซล่าระบบออฟกริด (Off Grid)

โซล่าเซลล์ระบบ Off Grid คือ ระบบอิสระที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์มาใช้งาน โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง ผู้ใช้งานสามารถใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงระบบโซล่าเซลล์ได้โดยตรง เช่น ไฟทางเดิน ไฟปั๊มน้ำ หรือไฟภายในอาคารบ้านเรือน แต่เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์ระบบ Off Grid คือ ไฟฟ้ากระแสตรง จึงต้องเลือกใช้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถรับไฟฟ้ากระแสตรงได้ หรือต้องใช้อินเวอร์เตอร์ (inverter) เพื่อช่วยแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ สำหรับใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปนั่นเอง

 

โซล่าเซลล์ระบบออฟกริด (Off Grid) ทำงานอย่างไร

โซล่าเซลล์ระบบออฟกริด (Off Grid) ทำงานอย่างไร

การทำงานของระบบออฟกริดมีจุดเด่นตรงที่ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาช่วย เป็นระบบอิสระที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้โดยตรง คือ แปลงพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซล่าเซลล์ตรงเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆ ไปในอาคารบ้านเรือนได้เลย แต่ต้องเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถรองรับกระแสไฟตรงได้เท่านั้น การใช้งานในระบบ off grid ยังแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ

แบบที่ 1 ใช้งานโดยที่ไม่ใช้แบตเตอรี่ ลักษณะการใช้งาน คือ เมื่อได้รับแสงอาทิตย์ แผงระบบโซล่าเซลล์จะเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า แล้วส่งตรงเพื่อต่อเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อใช้งานได้เลย แต่จะใช้งานได้เฉพาะเวลากลางวันที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น และจะไม่มีระบบเก็บสำรองไฟไว้ใช้ การใช้งานระบบนี้ยังต้องแยกอีกด้วยว่า จะต่อเข้าไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) หรืออุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) โดยจะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมในการแปลงกระแสไฟฟ้า ดังนี้

  •       เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) จำเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า ที่เรียกกันว่าอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อแปลงจากไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อสามารถใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แต่ปัญหาในการแปลงกระแสไฟนั้น จะทำให้กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ลดประสิทธิภาพลงไปบางส่วน
  •       เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) เป็นระบบที่สามารถส่งตรงไปใช้งานได้เลย โดยไม่ต้องผ่านเครื่องแปลง หรืออินเวอร์เตอร์ ทำให้สามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตได้มาใช้งานอย่างคุ้มค่า

 

แบบที่ 2 ใช้งานโดยใช้แบตเตอรี่ ลักษณะการใช้งาน คือ การนำกระแสไฟฟ้าที่ได้รับมาจากแผงระบบโซล่าเซลล์ มาเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ก่อน จุดเด่นของระบบนี้ทำให้มีไฟฟ้าสำรอง หรือสามารถใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืนได้ ส่วนการนำไฟฟ้าที่ได้ออกมาใช้งานนั้น สามารถเลือกได้เช่นกันว่าจะจ่ายไฟให้กับเครื่องใช้ไฟกระแสตรงหรือเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ โดยเลือกได้ดังนี้

  •       การใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสตรง สามารถใช้งานได้เลย เป็นระบบการใช้งานที่คุ้มค่า เพราะไม่มีการลดประสิทธิภาพของกำลังไฟจากการแปลงกระแสไฟฟ้าลงไป แต่ต้องเลือกใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟกระแสตรงได้เท่านั้น
  • ·        การใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ จะเป็นการใช้งานที่เหมือนกับระบบใช้งานโดยไม่ใช้แบตเตอรี่นั่นเอง คือ ต้องใช้อินเวอร์เตอร์ในการช่วยแปลงไฟ จากไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ก่อนที่จะนำมาใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

 

ข้อดีของโซล่าเซลล์ระบบออฟกริด (Off Grid)

ข้อดีของโซล่าเซลล์ระบบออฟกริด (Off Grid)

  1. สามารถมีไฟฟ้าสำรอง หรือมีไฟฟ้าไว้ใช้งานได้ในเวลากลางคืน หรือในยามฉุกเฉิน เช่น ไฟดับ ไฟตก ฯลฯ ได้
  2. การติดตั้งระบบออฟกริดส่วนใหญ่ จะใช้อุปกรณ์ที่มีราคาไม่แพง และหาซื้อได้ง่าย
  3. สามารถติดตั้งระบบนี้เพื่อใช้งานได้เองเลย โดยไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาตจากการไฟฟ้า

ข้อจำกัดของโซล่าเซลล์ระบบออฟกริด (Off Grid)

  1. เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ส่วนระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริดจะเป็นการผลิตไฟฟ้ากระแสตรง จึงต้องใช้อินเวอร์เตอร์ในการแปลงกระแสไฟฟ้าก่อนใช้งาน
  2. ไม่สามารถขายไฟฟ้าที่ผลิตได้คืนให้กับการไฟฟ้า เมื่อประจุแบตเตอรี่เต็มหรือไม่ได้ใช้ไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะสูญเปล่า
  3. ระยะเวลาการคืนทุนไม่มีความแน่นอน ถ้าใช้แบตเตอรี่ก็จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก ๆ 5-10 ปี

 

ระบบ off grid เหมาะกับการใช้งานแบบไหน

ระบบ off grid เหมาะกับการใช้งานแบบไหน

อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า ระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริดคือการผลิตไฟฟ้าแบบอิสระ ที่มีการสำรองพลังงานเก็บไว้ในแบตเตอรี่ แล้วค่อยนำไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้งาน ทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน ในยามฉุกเฉิน หรือใช้ผลิตไฟฟ้าในสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง หรือสถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ต้องมีการสำรองไฟไว้ใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

 

โซล่าระบบไฮบริด (Hybrid)

โซล่าระบบไฮบริด (Hybrid)

ระบบโซล่าเซลล์แบบผสม หรือที่เรียกกันว่าโซล่าระบบไฮบริด (Hybrid System) เป็นการประยุกต์เอานวัตกรรมของโซล่าเซลล์ทั้งสองระบบข้างต้น คือ โซล่าเซลล์ระบบออนกริด (On Grid) กับโซล่าเซลล์ระบบออฟกริด (Off Grid) มารวมกันนั่นเอง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ไฟฟ้าได้โดยตรงจากแผงโซล่าเซลล์ ทั้งไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ที่เก็บไฟจากโซล่าเซลล์ และจากการไฟฟ้าระบบโซล่าเซลล์แบบไฮบริด (Hybrid System) จึงมีจุดเด่นตรงที่สามารถมีไฟฟ้าใช้ได้แบบต่อเนื่องตลอดเวลานั่นเอง

 

โซล่าเซลล์ระบบไฮบริด (Hybrid) ทำงานอย่างไร

การทำงานหลัก ๆ ของระบบโซล่าเซลล์แบบไฮบริด คือ เมื่อได้รับแสงอาทิตย์ ไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซล่าเซลล์จะถูกส่งมายัง ไฮบริด อินเวอร์เตอร์ โดยตัวไฮบริด อินเวอร์เตอร์ จะทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าให้เป็นกระแสสลับเชื่อมต่อกับไฟฟ้าของการไฟฟ้า และไฟฟ้าอีกขั้วจะเชื่อมต่อโดยตรงกับแบตเตอรี่ เพื่อสำรองไฟไว้ใช้งาน และเชื่อมต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

ในเวลากลางวันเมื่อมีการผลิตไฟฟ้าจากระบบ solar cell พลังงานไฟฟ้าที่ได้จะถูกส่งผ่านระบบไฮบริด และส่งเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือหากผลิตกระแสไฟฟ้าได้มาก ระบบจะนำกระแสไฟฟ้าไปเก็บสำรองไว้ที่แบตเตอรี่ เพื่อสำรองไว้ใช้งานต่อไป ส่วนในกรณีที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าไม่พอต่อการใช้งาน ระบบไฮบริดจะดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้า หรือดึงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้งานได้อย่างต่อเนื่องทันที 

ในเวลากลางคืนระบบโซล่าเซลล์แบบไฮบริด สามารถตั้งค่าให้เลือกใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้งานจนหมดก่อน แล้วค่อยใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าก็ได้ หรือตั้งระบบให้ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าสำหรับเวลากลางคืนก็ได้ โดยหากเกิดไฟฟ้าจากการไฟฟ้าขัดข้อง ระบบโซล่าเซลล์แบบไฮบริดจะดึงไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่มาใช้งานทดแทนทันที

 

ข้อดีของโซล่าเซลล์ระบบไฮบริด (Hybrid)

ข้อดีของโซล่าเซลล์ระบบไฮบริด (Hybrid)

  •       มีไฟฟ้าใช้งานต่อเนื่องตลอดเวลา เพราะโซล่าเซลล์ระบบไฮบริดสามารถสลับพลังงานไฟฟ้ามาใช้งานได้ จากทั้งแผงโซล่าเซลล์ จากแบตเตอรี่สำรอง และไฟฟ้าจากการไฟฟ้า
  •       ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดค่าไฟจากการไฟฟ้า
  •       สามารถนำพลังงานทดแทน หรือพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

ข้อจำกัดของโซล่าเซลล์ระบบไฮบริด (Hybrid)

  •       การติดตั้งโซล่าเซลล์ด้วยระบบไฮบริดยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริด และระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริด
  •       ระยะเวลาคืนทุนค่อนข้างนานหรืออาจจะไม่คืนทุนเลย
  •       โซล่าเซลล์ระบบไฮบริด ไม่สามารถขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้

 

โซล่าระบบไฮบริด (Hybrid) เหมาะกับการใช้งานแบบไหน

โซล่าระบบไฮบริด (Hybrid) เหมาะกับการใช้งานแบบไหน

พูดง่ายๆ ว่าระบบโซล่าเซลล์แบบไฮบริด คือ ช่วยให้มีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน เหมาะกับอาคารบ้านเรือนต่างๆ รวมไปถึงหน่วยงาน บริษัท โรงงาน โรงพยาบาล โกดัง ห้องเย็น ฯลฯ หรือสถานประกอบการที่ต้องการใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะสถานที่ที่มีกระแสไฟฟ้าดับหรือไฟตกบ่อยๆ เพราะระบบโซล่าเซลล์แบบไฮบริดจะสามารถช่วยลดปัญหา รวมทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายจากค่าไฟฟ้าในระยะยาวได้เป็นอย่างดี

ในยุคที่ต้นทุนการใช้ค่าไฟฟ้ามีราคาแพงมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับการใช้ไฟฟ้าของอาคารบ้านเรือน หรือสถานประกอบการต่างๆ มีปริมาณการใช้ไฟที่สูงขึ้นในอนาคต การลงทุนติดตั้งพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ เช่น ระบบโซล่าเซลล์จึงถือว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่ตอบโจทย์ต่อการใช้ไฟฟ้าในยุคใหม่ แต่ก่อนที่จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนว่า ระบบโซล่าเซลล์ที่จะนำมาใช้งานนั้นมีกี่ระบบ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และพื้นที่ของเราเหมาะกับการใช้งานแบบไหนมากกว่ากัน เพื่อจะได้เลือกใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และคุ้มค่าต่อการใช้งาน

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด