รู้ไว้ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าในบ้าน ใช้แบบไหนถึงคุ้มค่าไฟ

รถไฟฟ้าเป็นยานพาหนะที่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย แต่การชาร์จรถไฟฟ้าอาจใช้เวลานาน และเสียค่าไฟเพิ่มขึ้น หลายบ้านจึงเลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่เป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สร้างไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ แถมโซลาร์เซลล์ยังใช้ชาร์จรถไฟฟ้าได้อีกด้วย แต่ก่อนจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ต้องดูหลายองค์ประกอบมาก ตั้งแต่การเลือกขนาดโซลาร์เซลล์ ดูพื้นที่ในการติดตั้ง การเปลี่ยนระบบไฟฟ้า บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ให้แล้ว

โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า คืออะไร 

การใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า คือการนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งที่บ้าน และต่อกับเครื่องชาร์จ EV ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้า โดยเมื่อมีแดด แผงโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งไปยังตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน จากนั้นตู้ควบคุมไฟฟ้าจะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และส่งไฟฟ้ามาที่เครื่องชาร์จ EV ทำให้สามารถชาร์จรถไฟฟ้าได้ 

การใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าแตกต่างจากโซลาร์เซลล์ทั่วไปตรงที่โซลาร์เซลล์ทั่วไปจะมีการผลิตไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งเหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงอย่างเช่น หลอดไฟ LED หรือพัดลม แต่เครื่องชาร์จ EV จะต้องเป็นกระแสสลับ จึงจำเป็นต้องพึ่งพาตู้ควบคุมไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนให้เป็นกระแสสลับก่อนนั่นเอง

Solar Cell ชาร์จรถไฟฟ้า ควรใช้ขนาดกี่วัตต์

Solar Cell ชาร์จรถไฟฟ้า ควรใช้ขนาดกี่วัตต์ 

ในประเทศไทยแสงอาทิตย์เฉลี่ยใน 1 วัน มีประมาณ 5 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่แผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุด ถ้ารถยนต์ไฟฟ้ามีความจุแบตเตอรี่ 40 kWh หรือ 40,000 Wh ต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ 40,000 Wh ใน 5 ชั่วโมง นั่นคือ 8,000 Wh ต่อชั่วโมง หรือ 8 kW

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลดลง เช่น มุมการติดตั้ง ทิศทางของแผงโซลาร์เซลล์ อุณหภูมิ ฝุ่น มลพิษ การสะท้อนของแสง ดังนั้นควรเพิ่มขนาดของแผงโซลาร์เซลล์อีกประมาณ 20-30% เพื่อให้มีการผลิตไฟฟ้าที่เพียงพอ หรือกล่าวโดยสรุปได้ว่า Solar Cell ชาร์จรถไฟฟ้าควรใช้ขนาดประมาณ 10-11 วัตต์/ชั่วโมง  

วิธีคำนวณเพื่อเลือกใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า

วิธีคำนวณเพื่อเลือกใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า

วิธีคำนวณเพื่อเลือกใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ต้องอาศัยความจุแบตเตอรี่ของรถยนต์ และระยะทางที่รถยนต์วิ่งในแต่ละวันเป็นตัวกำหนด คือ

กำลังวัตต์ของโซลาร์เซลล์ = (ความจุของแบตเตอรี่ x อัตราการใช้งานรถยนต์) / อัตราการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ 

ยกตัวอย่างเช่น หากใช้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งเฉลี่ย 50 กม. ต่อวัน และรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ 6 กม. ต่อ 1 kWh หมายความว่าใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 50/6 = 8.33 kWh ต่อวัน หรือ 8,333 Wh ต่อวัน ทำให้ต้องการแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ 8,333/5 = 1,667 Wh ต่อชม. หรือ 1.67 kW ต่อชม.

ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าขนาด 40 kWh ที่วิ่งเฉลี่ย 50 กม. ต่อวัน จำเป็นต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์ขนาดประมาณ 2-2.2 kW ซึ่งจะต้องมีพื้นที่การติดตั้งที่เหมาะสมและถูกต้อง 

การเปลี่ยนระบบไฟฟ้าเพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า 

หากอยากเปลี่ยนมาใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ควรเริ่มจากการเปลี่ยนระบบไฟฟ้าก่อน โดยสิ่งที่ต้องเปลี่ยนมีดังนี้

  • การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ต้องเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าให้มีขนาด 30 แอมป์ เพื่อป้องกันการใช้ไฟเกิน 
  • เปลี่ยนสาย Main และ Circuit Breaker ให้มีขนาด 25 ตารางเมตร และ 100 แอมป์ ตามลำดับเพื่อให้รองรับกำลังไฟฟ้าที่สูงขึ้น
  • ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) และสายดิน เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว 

ตำแหน่งสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า

ตำแหน่งสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า 

เพื่อให้โซลาร์เซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากเพียงพอสำหรับการชาร์จรถไฟฟ้า นอกจากจำนวนแผงโซลาร์เซลล์แล้ว ตำแหน่งสำหรับการติดตั้งเองก็สำคัญเช่นกัน โดยควรเลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ตามตำแหน่งดังนี้

  • การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรเลือกพื้นที่ที่มีแสงอาทิตย์เต็มที่ ไม่มีอุปสรรคใดๆ บดบัง และห่างไกลจากต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้โซลาร์เซลล์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และง่ายต่อการทำความสะอาด 
  • เลือกทิศใต้เป็นทิศหลักในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้าน เพราะจะได้รับแสงอาทิตย์ตลอดวัน และสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากที่สุด
  • เลือกบริเวณที่มีอุณหภูมิที่ไม่สูงเกินไป เพราะความร้อนสูงจะทำให้โซลาร์เซลล์ทำงานได้น้อยลง และควรมีการถ่ายเทอากาศที่ดี เพื่อลดความร้อนของระบบโซลาร์เซลล์ 

ข้อควรรู้ ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน

ข้อควรรู้ ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน 

เมื่อได้รู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนระบบไฟฟ้า และตำแหน่งสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้ชาร์จรถไฟฟ้าแล้ว มาดูข้อควรรู้อื่นๆ เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ดังนี้

  • หลังคา: ประเภทและขนาดของหลังคาจะมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าได้ไหม หลังคาจะเข้าถึงได้มากน้อยเพียงใด และจะพอดีกับหลังคาจำนวนเท่าใด 
  • ช่วงเวลาแดดจัด: ทุกพื้นที่ได้รับแสงแดดเฉลี่ยในแต่ละวันที่แตกต่างกัน ซึ่งควรรู้ว่าบ้านจะได้รับแสงแดดมากเพียงใด ช่วงเวลาไหนที่มีแดดเยอะที่สุด เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจเลือกจำนวนแผงโซลาร์เซลล์
  • สภาพอากาศ: รูปแบบสภาพอากาศในท้องถิ่นส่งผลกระทบต่อแสงแดดบนแผงโซลาร์เซลล์ แต่แผงยังคงสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในวันที่มีเมฆมาก ผู้ติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์สามารถคำนวณจำนวนแผงที่ต้องใช้เพื่อจ่ายไฟให้กับบ้านโดยพิจารณาจากรูปแบบสภาพอากาศวันที่ผ่านมา 

จำนวนโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่ควรติดตั้ง

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ควรพิจารณาถึงการใช้รถว่าใช้เดินทางเท่าไร ละชาร์จไฟบ่อยแค่ไหน เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกจำนวนแผงโซลาร์เซลล์ที่ต้องการ เพราะยิ่งใช้รถมาก ยิ่งต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์มาก นอกจากนี้ยังควรเลือกบริษัทติดตั้งโวลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บ้าน อย่าง Sorarus ที่มีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษา ติดตั้งโซลาร์เซลล์ด้วยทีมช่างมืออาชีพ และมีบริการหลังการขายอย่างดี 

ข้อดีของการใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า

ข้อดีของการใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า

การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการรถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แม้จะต้องมีการเตรียมพร้อม และปรับเปลี่ยนอยู่หลายอย่าง แต่ข้อดีที่จะได้จากการใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าในบ้านนั้นก็คุ้มค่าที่จะเปลี่ยนเช่นกัน

1. ช่วยประหยัดค่าไฟ

โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าไม่เพียงแต่ลดค่าไฟจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) แต่ยังช่วยลดการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ในบ้านได้ด้วย ซึ่งการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้านต้องการเงินลงทุนเพียงครั้งเดียว แต่สามารถใช้งานได้นานถึง 10 ปีขึ้นไป ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้แล้ว ยังเป็นการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

2. สะดวกและรวดเร็ว 

โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า นอกจากจะสะดวกสบายในการชาร์จไฟฟ้า โดยไม่ต้องเดินทางไปสถานีบริการที่ มีจำนวนเครื่องชาร์จจำกัดแล้ว ยังเป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ และไม่มีการสิ้นเปลือง ซึ่งการชาร์จไฟฟ้าให้เต็มแบตเตอรี่ใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับรุ่นของรถยนต์  

3. ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

โซลาร์เซลล์บ้านเป็นระบบที่ใช้แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า โดยไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือมลพิษอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลภาวะ นอกจากนี้การใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าก็ไม่มีการปล่อยมลพิษจากการใช้เชื้อเพลิง ทำให้สามารถรักษาสิ่งแวดล้อม สุขภาพของคน สัตว์ และระบบนิเวศน์ได้ 

4. เป็นพลังงานที่ยั่งยืน 

อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าเป็นผู้นำในการสร้างความยั่งยืน โดยลดความต้องการใช้น้ำมัน ส่วนใหญ่มาจากการเผาก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานยั่งยืน ไม่มีวันหมด จึงเป็นทางออกที่ดี ดังนั้นผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าและผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าจึงมีส่วนร่วมในการปกป้องโลก และสร้างอนาคตที่ดีของการเดินทางด้านพลังงานและยานพาหนะ 

5. ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากส่วนกลาง 

ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่อาจส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วต่อค่าไฟฟ้ารายเดือน เช่นในปี 2563 ที่ผ่านมาจะเห็นว่าค่าไฟนั้นมีการปรับอัตราต่อหน่วยขึ้นอยู่เสมอจึงทำให้ค่าไฟแต่ละเดือนนั้นก็ขึ้นด้วยเช่นกัน หากติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า จะเป็นการลงทุนครั้งเดียว แต่สามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้าจากส่วนกลาง และประหยัดค่าไฟฟ้าในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ 

6. เพิ่มมูลค่าบ้าน

การลงทุนในแผงโซลาร์เซลล์และที่ชาร์จ EV สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับบ้านได้ ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์ถูกมองว่าเป็นคุณสมบัติที่ผู้ซื้อบ้านต้องการ เพราะช่วยประหยัดพลังงานในระยะยาว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพราะการใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ยอดเยี่ยม ซึ่งรองรับเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในตลาด 

สรุป

โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า คือการใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งที่บ้าน ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และเชื่อมต่อกับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าจากส่วนกลาง ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเลือกใช้โซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ควรพิจารณาถึงความจุของแบตเตอรี่ในรถยนต์ และการใช้งานรถยนต์ ควรใช้โซลาร์เซลล์ที่มีกำลังวัตต์มากกว่าความจุของแบตเตอรี่ และเพียงพอต่อการใช้งานรถยนต์ในแต่ละวัน และเมื่อได้โซลาร์เซลล์มาแล้วก็ต้องเปลี่ยนระบบไฟ รวมถึงหาที่ตั้งที่เหมาะสม

แม้ว่าโซลาร์เซลล์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นจะมีทั้งข้อดีมากมายทั้งตัวผู้ติดตั้งเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว แต่ก่อนการเลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็ควรเลือกบริษัทที่มีความเชื่อถือ เชี่ยวชาญเฉพาะทางในเรื่องโซลาร์เซลล์อย่าง Sorarus ที่มีบริการติดตั้ง พร้อมออกแบบระบบ โดยทีมงานที่มีประสบการณ์ มีประกันรับรองและบริการหลังการขาย 

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด