Sorarus-May 1-01 cover

11 เคล็ดไม่ลับ วิธีประหยัดไฟฟ้าเห็นผล ลดค่าใช้จ่าย สบายกระเป๋าตังค์

ด้วยสภาพอากาศของเมืองไทยที่ร้อนจัด อีกทั้งปัญหาสภาพอากาศในปัจจุบัน ทั้งปัญหาฝุ่นละออง และปัญหามลพิษทางอากาศ ทำให้คนเราต้องหาวิธีคลายร้อนด้วยการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดแอร์ เครื่องฟอกอากาศ หรือพัดลม สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ค่าไฟสูงขึ้นทั้งนั้น ในบทความนี้ทาง Sorarus จะมาแชร์เคล็ดไม่ลับ 11 วิธีประหยัดไฟฟ้าอย่างเห็นผลกัน! 

คำนวณค่าไฟด้วยตนเอง เพื่อวางแผนการใช้ไฟฟ้า

1. คำนวณค่าไฟด้วยตนเอง เพื่อวางแผนการใช้ไฟฟ้า

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 1 ลองคำนวณค่าไฟด้วยตนเอง เพื่อวางแผนประหยัดค่าไฟ โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละตัว มีกำลังไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า ‘จำนวนวัตต์’ ที่แตกต่างกันออกไป โดยให้ใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

ยกตัวอย่างการคำนวณ ดังนี้

    • หลอดไฟขนาด 50 วัตต์ จำนวน 4 ดวง เปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง =  50 x 4 ÷  1000 x 8 = 1.6 ยูนิตต่อวัน (เดือนละ 48 หน่วย)
    • ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง = 125 x 1 ÷  1000 x 24 = 3 ยูนิตต่อวัน (เดือนละ 90 หน่วย)
    • แอร์ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน 3 เครื่อง เปิดใช้งาน 10 ชั่วโมง = 1,200 x 3 ÷  1000 x 10 = 36 ยูนิตต่อวัน (เดือนละ 1,080 หน่วย)

รวมทั้งสิ้นเดือนละ 1,218 หน่วย

นำหน่วยที่ได้มาเทียบกับอัตราค่าบริการตามค่าพลังงานไฟฟ้า 

    • 35 หน่วยแรก หน่วยละ 3.2405 = 35 x 3.2405 = 113.5 บาท
    • 115 หน่วยถัดไป หน่วยละ 3.7171 = 115 x 3.7171 = 427.5 บาท
    • 250 หน่วยถัดไป หน่วยละ 4.2218 = 250 x 4.2218 = 1,055.5 บาท
    • เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 4.4217 = (1,080 – 400 หน่วย = 680 หน่วย) นำ 680 x 4.4217 = 3,007 บาท

ค่าไฟต่อเดือนจะอยู่ที่ 4,603.5 บาท โดยราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่การไฟฟ้าเรียกเก็บ สำหรับใครที่อยากประมาณค่าไฟของทางการไฟฟ้าผ่านระบบคำนวณ สามารถเข้าไปใช้ระบบคำนวณค่าไฟของการไฟฟ้านครหลวง และระบบคำนวณค่าไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เลย

ลดการใช้แอร์

2. ลดการใช้แอร์

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 2 ลดการใช้แอร์ แน่นอนว่าเครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในชีวิตประจำวัน การลดใช้แอร์ แล้วหันมาใช้พัดลม หรือเปิดหน้าต่างรับลม ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการประหยัดค่าไฟฟ้า หากเริ่มทำแรกๆ อาจจะยังไม่ชิน แนะนำให้ลองปรับระยะเวลาการใช้งานในแต่ละวันดูก่อน เช่น จากเดิมเปิดแอร์ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นการหันมาเปิดแอร์ 12 ชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น ก็จะประหยัดค่าไฟได้หลายบาทเลยทีเดียว หรืออีกวิธีที่ช่วยลดการใช้แอร์ได้คือการเปิดแอร์อุณหภูมิไม่ต่ำมากพร้อมกับเปิดพัดลม จะช่วยให้แอร์ไม่ต้องทำงานหนัก และสามารถลดค่าไฟได้อีกด้วย

จัดตู้เย็นเป็นระเบียบ

3. จัดตู้เย็นเป็นระเบียบ

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 3 การจัดระเบียบตู้เย็น เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยประหยัดค่าไฟได้ หากตู้เย็นของคุณเต็มไปด้วยสิ่งของต่างๆ ทั้งที่แกะแล้วหรือยังไม่แกะ จะทำให้ตู้เย็นทำงานหนักขึ้นหลายเท่า อีกทั้งยังมีเชื้อแบคทีเรียสะสมในตู้เย็นด้วย การจัดระเบียบตู้เย็นให้เรียบร้อย วางสิ่งของให้เป็นระเบียบ ก็จะช่วยให้ตู้เย็นกินไฟน้อยลงได้นั่นเอง

วางแผนซักรีดให้ดี

4. วางแผนซักรีดให้ดี

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 4 วางแผนการซักรีดให้ดี อีกหนึ่งปัญหาที่เพิ่มค่าไฟภายในบ้านอยู่ตลอด เพราะต้องใช้ทั้งเครื่องซักผ้า เตารีด หรือบางบ้านอาจมีเครื่องอบผ้าอีก การซักผ้าบ่อยๆ จะทำให้ค่าไฟเพิ่มมากขึ้น และยังเปลืองน้ำอีกด้วย การจัดตารางซักรีดให้ดี ซักผ้าทีละเยอะๆ และไม่ซักบ่อยๆ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีลดค่าไฟฟ้าในบ้านได้ดีอีกด้วย ดังนั้นจึงควรวางแผนว่าปริมาณเสื้อผ้ามีมากน้อยขนาดไหน สามารถรวมซักครั้งเดียวสัปดาห์ละ 1 ครั้งได้หรือไม่? หากมีเสื้อผ้าค่อนข้างเยอะจนซักแค่ครั้งเดียวต่อสัปดาห์ไม่ไหว แนะนำให้ลองซักทุกๆ 3 วันดูก่อน แล้วจึงปรับลดจำนวนวันที่จะซักผ้าตามความเหมาะสม

วางแผนซักรีดให้ดี

5. ถอดปลั๊กทุกครั้งที่ไม่ใช้งาน

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 5 ถอดปลั๊กหลังใช้งานเสร็จทุกครั้ง บางคนอาจยังเข้าใจผิดอยู่ว่า การเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ไม่ได้กินไฟแต่อย่างใด ซึ่งการเสียบปลั๊กทิ้งไว้ แต่ไม่ได้ใช้งาน เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะว่ากระแสไฟฟ้าอาจกำลังไหลวนอยู่ระหว่างเต้ารับกับสายไฟก็ได้ พฤติกรรมนี้นอกจากจะกินไฟแล้วยังเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรอีกด้วย จึงควรถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อให้บ้านมีระเบียบ ปลอดภัย และประหยัดค่าไฟมากขึ้น

ลดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ

6. ลดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 6 ลดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น เครื่องซักผ้า หรือเครื่องอบผ้า เครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องปรับอากาศ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟอันดับต้นๆ ในบ้าน หากเราสามารถลดการใช้งานพวกนี้ได้ก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดค่าไฟฟ้าในบ้านได้ด้วย ลองหันมาดูดฝุ่นสัปดาห์ละครั้ง รวมผ้ามาซักสัปดาห์ละครั้งถึงสองครั้ง หรือตั้งเวลาเปิดปิดแอร์ให้เหมาะสม เท่านี้ค่าไฟก็จะช่วยลดค่าไฟได้แล้ว

หมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า

7. หมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 7 ยิ่งทำความสะอาด ยิ่งประหยัด! เครื่องใช้ไฟฟ้ายิ่งมีฝุ่นเยอะเท่าไร การทำงานก็จะหนักขึ้นแล้วค่าไฟเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น จึงควรหันมาทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอเช่น ควรล้างแอร์ทุก 6 เดือน เพื่อนำเศษฝุ่นและสิ่งสกปรกออกมา เพื่อให้แอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังช่วยลดค่าไฟได้อีกด้วย 

ติดตั้งเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว

8. ติดตั้งเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 8 ติดเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวภายในบ้านช่วยประหยัดค่าไฟ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีอาการหลงๆ ลืมๆ อาจลืมปิดไฟก่อนออกจากบ้าน เซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวจะทำการปิดไฟ และปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นให้แบบอัตโนมัตินั่นเอง

เลือกใช้หลอดไฟ LED

9. เลือกใช้หลอดไฟ LED

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 9 เลือกใช้หลอดไฟ LED โดยเฉลี่ยแล้วการเลือกใช้หลอดไฟ LED ช่วยประหยัดค่าไฟไปได้ถึง 50-80% เมื่อเทียบกับการใช้ไฟแบบปกติ นอกจากนี้หลอดไฟ LED ช่วยให้บ้านดูสว่างมากขึ้น แล้วยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานเฉลี่ย 50,000 ชั่วโมง หรือมากกว่า 5 ปี ดังนั้นยิ่งเปลี่ยนหลอดไฟภายในบ้านเป็นหลอดไฟ LED ได้มากเท่าไหร่ จะยิ่งประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีประหยัดค่าไฟที่คนส่วนใหญ่เริ่มเปลี่ยนเป็นอันดับแรก

เลือกใช้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

10. เลือกใช้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 10 เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า ‘เวลาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้เลือกใช้เครื่องที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5’ ซึ่งจริงๆ แล้วฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นฉลากที่มีการระบุข้อมูลเบื้องต้น ทั้งยังมีการคำนวณค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปี รวมถึงประสิทธิภาพของสินค้า ทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจในคุณภาพสินค้าที่ได้รับมาตรฐานจากสลากเบอร์ 5 และสามารถคำนวณค่าไฟได้ง่ายขึ้นเพื่อวางแผนลดค่าไฟฟ้าอีกด้วย

ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

11. ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

วิธีประหยัดไฟฟ้าวิธีที่ 11 เลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอีกหนึ่งวิธีประหยัดค่าไฟที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากโซลาร์เซลล์สามารถลดค่าไฟได้มากถึง 40-60% จากราคาค่าไฟปกติ ทำให้คนเริ่มหันมาใช้โซลาร์เซลล์กันมากขึ้น โดยโซลาร์เซลล์มีข้อดีหลักๆ ดังนี้

    • โซลาร์เซลล์เป็นระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้ได้แบบไม่มีวันหมด อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นเมืองร้อน ทำให้หมดกังวลว่าจะไม่มีแสงแดดในการผลิตไฟฟ้า
    • ช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้น แผงโซลาร์เซลล์สามารถสะท้อนความร้อนออกไป ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้มากถึง 3-5 องศาเซลเซียส
    • โซลาร์เซลล์ติดตั้งได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ในปัจจุบันสามารถสั่งซื้อแผงโซลาร์เซลล์มาติดตามบ้านได้เลย โดยหลังจากการติดตั้งสามารถใช้งานได้ทันที ซึ่งทาง Sorarus เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำด้านโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะที่มีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี ที่พร้อมดูแลตลอดทุกขั้นตอนตั้งแต่การติดตั้ง จนถึงบริการหลังการขาย หากสนใจติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทาง Sorarus ได้เลย

สรุป

จากที่ได้รู้เคล็ดไม่ลับทั้ง 11 วิธีประหยัดค่าไฟฟ้ากันไปครบแล้ว จะเห็นว่าการวางแผนการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นสิ่งสำคัญ หากเรารู้จักปรับลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น และสำหรับใครที่สนใจอยากติดโซลาร์เซลล์เพื่อลดค่าไฟ ไม่ว่าจะเป็นติดตั้งที่บ้าน หรือที่บริษัท สามารถติดต่อทาง Sorarus ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์คุณภาพ พร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือตลอดการใช้งาน ให้คุณได้ประหยัดเงินในระยะยาว และได้ใช้ไฟอย่างเต็มที่

Cover

อาคารสีเขียวคืออะไร? รวม 10 วิธีออกแบบโรงงานให้ประหยัดพลังงาน

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ‘โลกร้อน’ ได้กลายเป็นหนึ่งปัญหาหนักที่สร้างความเสียหายทั่วโลก ทั้งปัญหาภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ภาวะขาดแคลนอาหาร ปัญหาภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงมากขึ้น ปัญหาสุขภาพ ความความยากจน และสิ่งมีชีวิตเสี่ยงสูญพันธุ์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั่วโลกหันมาโฟกัสและพยายามหาทางแก้ปัญหานี้ร่วมกัน โดยหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาแบบยั่งยืนที่หลาย ๆ ประเทศเริ่มให้ความสนใจคือ การสร้างมาตรฐานอาคารสีเขียวหรืออาคารประหยัดพลังงาน

อาคารสีเขียว คืออะไร

ทำความรู้จัก! อาคารประหยัดพลังงาน หรือ อาคารสีเขียว คืออะไร?

ถ้าพูดถึง ‘อาคารสีเขียว’ คนส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่าหมายถึงอาคารแนว Vertical Forest หรืออาคารป่าแนวตั้งที่ออกแบบพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ได้จำนวนมากเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว อย่างอาคาร Bosco Verticale มิลาน ประเทศอิตาลี The Nanjing Green Towers นานกิง ประเทศจีน โครงการ 1000 Trees เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน หรืออพาร์ตเมนต์ M6B2 Tower ปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่ในความจริงแล้วความหมายของอาคารสีเขียวหรืออาคารประหยัดพลังงาน คือ อาคารแบบยั่งยืน (Sustainability) ที่วางแนวทางปฏิบัติให้เกิดการใช้ทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการจัดการทรัพยากรน้ำ ไฟฟ้า พื้นที่ การก่อสร้าง การจัดการของเสีย โดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวคิดอาคารประหยัดพลังงาน สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับอาคารเก่าและอาคารใหม่ สำหรับกรณีอาคารเก่าเป็นการนำระบบและวัสดุใหม่เข้าไปแทนระบบเก่าหรือวัสดุเก่าที่ขาดประสิทธิภาพ ในขณะที่การสร้างอาคารใหม่ ควรเริ่มวางแผนการตั้งแต่การออกแบบและวางระบบการระบบการจัดการพลังงานภายในอาคารให้ตรงตามมาตรฐานอาคารสีเขียว

มาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน

มาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานมีอะไรบ้าง

  • TREES หรือ Thai’s Rating of Energy and Environment Sustainability: 
  • LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design: 
  • EDGE หรือ Excellence in Design for Greater Efficiencies: 
  • WELL Building Standard

สำหรับการระบุว่าอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมใดได้มาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน ไม่ได้พิจารณาแค่ว่าเป็นอาคารที่ใช้พลังงานน้อย ใช้เฉพาะพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีการจัดการระบบของเสียที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ต้องผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาอาคารประหยัดพลังงาน ได้แก่

  • TREES หรือ Thai’s Rating of Energy and Environment Sustainability: เป็นหลักเกณฑ์การประเมินของสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) ประเทศไทย 

หน่วยงานอิสระที่ไม่แสวงผลกำไร จดทะเบียนนิติบุคคลภายใต้มูลนิธิอาคารเขียวไทย โดยทางสถาบันฯ จะยึดการประเมินตามแนวทางความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอิงตามหลักเกณฑ์เดียวมาตรฐานสากลที่ใช้ในประเทศต่างๆ แต่ปรับให้เหมาะสมกับประเทศไทยมากขึ้น ด้วยการระบุให้ผู้ประกอบการสามารถใช้วัสดุก่อสร้างที่ผลิตในประเทศไทยได้

  • LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design: เป็นหลักเกณฑ์การประเมินอาคารประหยัดพลังงานหรือสิ่งก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ U.S. Green Building Council (USGBC) ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถใช้ประเมินได้ทั้งอาคารที่อยู่ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นทั่วโลก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ LEED เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ได้รับนิยมมากที่สุด รวมทั้งยังถูกนำไปใช้แนวทางในสร้างมาตรฐานการรับรองอาคารประหยัดพลังงานของประเทศต่าง ๆ อีกด้วย ปัจจุบันการขอใบรับรองอาคารประหยัดพลังงานจาก LEED สามารถยื่นเอกสารเพื่อขอการรับรองที่ผ่านทางเว็บไซต์ของ LEED ถ้าคะแนนถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับใบรับรองแบบถาวร   
  • EDGE หรือ Excellence in Design for Greater Efficiencies: เป็นหลักเกณฑ์การประเมินอาคารประหยัดพลังงาน การวัดผลการก่อสร้างอย่างยั่งยืน และนวัตกรรมในการรับรองมาตรฐานความเป็นเลิศในการออกแบบอาคาร สำหรับตลาดเกิดใหม่ของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศหรือ IFC (International Finance Corporation) ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจะคล้ายคลึงกับเกณฑ์ของ LEED แต่เพิ่มการประเมินปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย เนื่องจากมีแอพพลิเคชั่นในการประเมินด้วยตัวเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งหลังจากผ่านการประเมินอาคารจาก EDGE Auditor เรียบร้อยแล้ว อาคารที่ผ่านการประเมินจะได้รับใบรับรองถาวร เช่นเดียวกับ LEED
  • WELL Building Standard เป็นหลักเกณฑ์การประเมินอาคารประหยัดพลังงานของประเทศแคนาดา จากสถาบันสถาบัน IWBI (International WELL Building Institute) ที่เกิดจากความร่วมมือกับผู้พัฒนาหลักเกณฑ์มาตรฐาน LEED เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินคุณภาพผู้อยู่อาศัยในอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ในการประเมินทั้งหมด 10 ข้อ สำหรับการขอใบรับรองจาก WELL Building Standard นอกจากส่งเอกสารแล้ว ยังต้องรับการประเมินจากผู้ตรวจ หากอาคารผ่านการประเมินจะได้รับใบรับรอง แต่มาตรฐาน WELL Building Standard จะต้องต่ออายุใบรับรองทุก 3 ปี

ออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงาน

อยากออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงาน ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

ตามหลักเกณฑ์อาคารประหยัดพลังงานแบบต่าง ๆ ไม่ว่า TREES, LEED, EDGE หรือ WELL Building Standard เห็นได้ว่าการสร้างอาคารที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรม หรือปรับปรุงอาคารเดิมเพื่อให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานอาคารสีเขียว ต้องให้ความสำคัญและใส่ใจทั้งการออกแบบโครงสร้าง การเลือกวัสดุก่อสร้าง และการวางระบบการจัดการพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งถึงแม้ว่าไม่สามารถทำได้ครบในทุกข้อ แต่การเริ่มเปลี่ยนก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการลดการใช้พลังงานในอาคาร นำไปสู่การลดค่าใช้จ่าย การจัดการแบบยั่งยืน พร้อมก้าวไปเป็นอาคารสีเขียวแบบสมบูรณ์แบบ สำหรับวิธีการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานควรคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ

การสร้างอาคารประหยัดพลังงานใหม่ค่อนข้างจัดการได้ง่ายกว่า ในเรื่องการวางตำแหน่งของอาคารให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เพราะสามารถกำหนดทิศทางของอาคารที่ส่งผลดีต่อการประหยัดพลังงานในอาคารแบบยั่งยืนได้ง่ายกว่าอาคารเก่า โดยในการออกแบบอาคารควรตรวจสอบตำแหน่งทิศทางของลม ทิศทางของแสงและการลาดเอียงของพื้นดินก่อนเขียนแบบอาคาร เช่น

  • การออกแบบส่วนที่มีความแคบน้อยไปทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกเพื่อให้อาคารโดนแสงอาทิตย์น้อยลง ลดการสะสมความร้อนภายใน 
  • การวางตำแหน่งอาคารด้านที่มีหน้าต่างให้รับลมประจำถิ่นได้ง่ายขึ้น กรณีประเทศไทย ลมฤดูร้อนจะพัดจากทางทิศใต้หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขณะที่ลมฤดูหนาวพัดจากทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 
  • การปรับปรุงพื้นที่โดยรอบด้วยการสร้างแหล่งน้ำ เพื่อให้กระแสลมพัดไปยังอาคาร การปรับเนินดินให้กระแสลมผ่านได้ง่ายขึ้นหรือการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างความร่มรื่น

2. การจัดการกับปริมาณแสง

สิ่งสำคัญที่สุดของการจัดการกับปริมาณแสงคือ คุณภาพของแสงที่ส่งผ่านเข้าไปในอาคารต้องเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้งาน จึงทำให้ค่อนข้างยากต่อการลดจำนวนอุปกรณ์ให้แสงสว่างโดยเฉพาะการประหยัดพลังงานในโรงงาน เนื่องจากอาจส่งผลกระทบและเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในอาคาร ดังนั้นการจัดการกับปริมาณแสงที่ง่าย ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบน้อยที่สุดคือ การเลือกใช้หลอดไฟที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับพื้นที่ การเลือกใช้หลอดไฟอัตโนมัติ การปิดเมื่อไม่มีการใช้งาน และการดูแลรักษาให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

3. การถ่ายเทอากาศ

ข้อดีแรกของการวางระบบการถ่ายเทอากาศในอาคารประหยัดพลังงาน คือ ช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศในระยะยาว ซึ่งสิ่งเหมาะสมที่สุดคือ การสร้างช่องลมระบายอากาศให้สูง เพื่อให้ลมลอยขึ้นไปและระบายออกสู่ตัวอาคาร อย่างไรก็ตามการสร้างช่องเปิดตามธรรมชาติเพื่อรับแสง รับลม หรือระบายอากาศ ต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณแสงและความร้อนที่เข้ามา ไม่ควรสร้างช่องลม ช่องแสงขนาดใหญ่ แต่หากจำเป็นต้องออกแบบให้กว้าง ควรติดตั้งอุปกรณ์บังแดด เพื่อลดความร้อนที่ไหลเข้ามา

4. รูปร่างและรูปทรงของตัวอาคาร

สำหรับลักษณะของอาคารประหยัดพลังงานที่มีประสิทธิภาพเป็นอาคารที่มีอัตราส่วนพื้นที่ต่ำ พื้นที่ใช้สอยน้อย และรูปทรงโค้งมน เพราะจะทำให้การรั่วซึมของอากาศเย็นภายในน้อยกว่าอาคารขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ใช้สอยสูง ซึ่งถ้าเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก คือ ทรง Cylinder ทรง Cube ทรง Box และ ทรง Complex form แต่ทั้งนี้หากปรับเป็นการออกแบบอาคารในลักษณะจั่วสูงก็จะช่วยระบายอากาศและความร้อนได้ดีมากขึ้น

5. การใช้ผนังทึบและผนังใสในบริเวณต่าง ๆ 

ความแตกต่างระหว่างการใช้ผนังทึบกับผนังใสคือ การต้านทานความร้อน โดยผนังแบบทึบสามารถต้านทานความร้อนได้มากกว่าผนังใสหรือกระจกใส ดังนั้นอาคารประหยัดพลังงานจึงนิยมใช้เป็นผนังทึบที่มีการติดตั้งฉนวนความร้อน ใช้สีโทนอ่อนที่มีการดูดกลืนความร้อนน้อยกว่าโทนเข้มเพื่อเพิ่มคุณสมบัติการต้านทานความร้อนให้กับอาคารมากขึ้น แต่กรณีเลือกใช้ผนังโปร่งหรือกระจกเพื่อความสวยงาม ควรเลือกใช้กระจกที่มีคุณสมบัติกันความร้อนทดแทน เช่น

  • กระจกเคลือบผิวสะท้อนแสง (Reflecting Metallic Coating) ลดได้ทั้งความร้อนและแสงสว่าง แต่ข้อเสียคือ สามารถแผ่ความร้อนภายในห้องได้ จึงไม่เหมาะกับประเทศในเขตร้อน
  • กระจกสองชั้น (Double Glazing) สามารถลดความร้อนได้สูงถึง 80% และแสงผ่านได้ดี ป้องกันรังสี UV จึงช่วยทั้งลดความร้อนและประหยัดพลังงานจากอุปกรณ์ส่องสว่าง แต่ข้อเสียคือ มีราคาสูงกว่ากระจกประเภทอื่น
  • กระจกติดฟิล์ม Low E (Low Emissivity) กระจกใสที่มีการเคลือบ Sun Protection ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การแผ่รังสีต่ำ จึงคุณสมบัติเด่นเรื่องช่วยลดความร้อนเข้าสู่อาคาร
  • กระจกลามิเนต ช่วยป้องกันความร้อนได้ดี อีกทั้งยังลดอันตรายเวลาแตก เพราะเศษกระจกยังยึดเกาะกัน ไม่ร่วงหล่นเหมือนกระจกแบบอื่น เหมาะสำหรับส่วนที่ไม่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ

6. ระบบปรับอากาศ

จากข้อมูลจากสถาบันอาคารเขียวไทยพบว่าระบบปรับอากาศเป็นการใช้พลังงานที่มากที่สุดในอาคาร โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 65% จากการใช้พลังงานทั้งหมด ดังนั้นหากต้องการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคาร นอกจากต้องปรับลดการใช้พลังงานส่วนนี้ลงแล้ว ต้องให้ความสำคัญกับการเลือกเครื่องปรับอากาศที่ได้มาตรฐานประหยัดพลังงาน ขนาด และประเภทของเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่ สำหรับประเภทเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่

  • เครื่องปรับอากาศติดผนัง ขนาดเล็กกระทัดรัด ดูแลรักษาง่าย เหมาะสำหรับห้องที่มีขนาดเล็ก 
  • เครื่องปรับอากาศแขวนใต้ฝ้า กระจายความเย็นได้ทั่วถึง เหมาะสำหรับห้องที่มีคนจำนวนมาก อย่างห้องสำนักงาน โซนให้บริการลูกค้า หรือร้านขายของ
  • เครื่องปรับอากาศฝังในเพดาน เป็นเครื่องปรับอากาศที่ซ่อนส่วนของตัวเครื่องและท่อต่าง ๆ ในฝ้าเพดาน เหมาะกับห้องที่ต้องการความสวยงาม
  • เครื่องปรับอากาศแบบตู้ตั้งพื้น เป็นแบบที่กระจายความเย็นได้ดี แข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับใช้งานในห้องขนาดใหญ่ที่มีคนใช้งานจำนวนมาก อย่างในโรงงานอุตสาหกรรมหรือห้องประชุมขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตามนอกจากประเภทแล้ว ควรดูขนาด BTU หรือขนาดการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศให้สัมพันธ์กับขนาดห้องด้วย เพราะหากเลือกขนาด BTU ต่ำเกินไปก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก อายุการทำงานสั้นลง แต่ถ้าเลือกขนาด BTU สูงกว่าขนาดพื้นที่คอมเพรสเซอร์จะตัดบ่อยเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น 

7. วัสดุของหลังคา

หลังคาเป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับแสงโดยตรง เพราะฉะนั้นหากต้องการปรับให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานแบบยั่งยืน ควรเลือกหลังคาทึบสีอ่อนที่มีมวลสารน้อยรวมถึงสะสมความร้อนน้อยด้วย และที่สำคัญต้องมีการบุฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ซึ่งจะช่วยสะท้อนความร้อนและลดการสะสมของความร้อนในอาคาร สำหรับฉนวนกันความร้อนที่นิยม ได้แก่

  • ฉนวนใยแก้ว เรียกอีกชื่อว่าไฟเบอร์กลาส กันความร้อน ไม่ลามไฟ  กันเสียงได้ดี
  • ฉนวนโฟม PE ป้องกันและสะท้อนความร้อนได้พร้อมกัน 
  • ร็อควูล คุณสมบัติใกล้เคียงกับฉนวนใยแก้ว แต่ทนไฟและซับเสียงได้ดีกว่า
  • อลูมินั่มฟอยล์ สะท้อนความร้อนได้สูงสุด 97% ทนแรงดึง แข็งแรงไม่ฉีกขาดง่าย
  • แอร์บับเบิ้ล ป้องกันและสะท้อนความร้อนได้พร้อมกัน สามารถติดตั้งกับหลังคาได้หลายส่วน

8. อุปกรณ์บังแดดภายนอกและการปลูกต้นไม้

หากต้องการปรับปรุงอาคารเดิมให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานหรือติดข้อจำกัดด้านการออกแบบ สามารถแก้ไขด้วยการเสริมอุปกรณ์บังแดดแบบถาวรในจุดที่รับแสงอาทิตย์ แต่กรณีที่ไม่ต้องการให้อุปกรณ์บังแดดบดบังความสวยงามของภูมิทัศน์ อาจเลือกเป็นการเปลี่ยนพื้นที่โดยรอบให้เป็นสวนที่มีความร่มรื่น ด้วยการปลูกพืชคลุมดิน ไม้พุ่ม และแหล่งน้ำ เพื่อปรับบรรยากาศโดยรอบให้เย็นลง

9. ใช้พลังงานหมุนเวียน

นอกจากการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าจะเป็นหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณารับรองอาคารประหยัดพลังงานของสถาบันต่าง ๆ การวางระบบเพื่อหมุนเวียนยังเป็นการลดการใช้พลังงานและประหยัดค่าใช้จ่ายต่อปีได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย สำหรับระบบการหมุนเวียนพลังงานที่นิยมใช้การลดพลังงานในโรงงานหรืออาคารประเภทต่าง ๆ ได้แก่

  • ระบบการจัดการน้ำ ปัจจุบันมีทั้งการรีไซเคิลน้ำประปาเพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ล้างสุขภัณฑ์ ช่วยประหยัดน้ำประปา การกักเก็บน้ำฝนเพื่อใช้ในการรดน้ำต้นไม้
  • การติดต้้งสารแผงโซลาเซลล์ (Solar Cell) เพื่อผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งข้อดีนอกจากจะเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีวันหมดแล้ว ยังเป็นการลงทุนวางระบบครั้งเดียวที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวอีกด้วย

10. ติดตั้งระบบ SCADA

เพื่อประสิทธิภาพที่มากขึ้นในการประหยัดพลังงานในโรงงานหรือองค์กร ระบบ SCADA หรือ Supervisory Control and Data Acquisition ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ขาดไม่ได้ในการบริหารจัดการระบบควบคุมการใช้พลังงาน เพราะระบบ SCADA คือ ซอฟแวร์ที่ทำให้จัดการ ตรวจสอบ ติดตาม และวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานภายในอาคารแบบ Real-Time ทำให้การควบคุมพลังงานได้ง่ายและครอบคลุมมากขึ้น

สรุป

จะเห็นได้ว่าอาคารประหยัดพลังงานมีประโยชน์ ทั้งในแง่ของการประหยัดต้นทุน ประหยัดพลังงาน และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างหรือเปลี่ยนอาคารเก่าให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน เพราะแม้ว่าต้องลงทุนในด้านการออกแบบและวางระบบจัดการมากขึ้น แต่สามารถคืนทุนได้ภายใน 3 – 5 ปี หลังจากนั้นเป็นการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในระยะยาว 

ซึ่งผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติและกำลังสร้างอาคารประหยัดพลังงานหรือเปลี่ยนอาคารเก่าให้เป็นอาคารสีเขียวแบบยั่งยืน แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหน แนะนำ  Sorarus ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบประหยัดพลังงาน คร่ำหวอดอยู่ในวงการด้านการผลิตน้ำร้อนจากพลังงานทดแทนและให้ปรึกษากับภาคธุรกิจมากว่า 40 ปี ติดตั้งมาแล้วกว่า 1,000 แห่ง การันตีวัสดุติดตั้งใช้งานได้นานกว่า 100 ปี รับประกันคืนทุนไวและประหยัดต้นทุนทรัพยากรได้มากถึง 50-70% แน่นอน

Sorarus-Feb4-banner

มาทำความรู้จักกับ Carbon Footprint คืออะไร

ในปัจจุบัน โลกของเรามีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมามากมาย ซึ่งก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปมากด้วยเช่นกัน มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศต่างๆ เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นเราทุกคนต้องรีบหันมาใส่ใจกับปัญหานี้ โดยบทความนี้จะพูดถึงเรื่องของ Carbon Footprint ที่จะเป็นส่วนช่วยให้เราได้ประเมินว่าสิ่งต่างๆ มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนเท่าไหร่ เพื่อทำให้เราตระหนักถึงสิ่งที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แล้ว Carbon Footprint คืออะไร มาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่า

carbon footprint คืออะไร

Carbon Footprint คืออะไร

คาร์บอนฟุตพรินท์ (Carbon Footprint : CF) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากพฤติกรรมของมนุษย์เรา การใช้ชีวิตกระจำวันต่าง ๆ การคมนาคม อุตสาหกรรมการผลิตสินค้า ปศุสัตว์ การใช้ไฟฟ้า รวมไปถึงของเสียที่เกิดจากอาหาร ล้วนก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งนั้น

โดย Carbon Footprint จะมาช่วยเป็นแนวทางที่ใช้ประเมินว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ชนิด คือ 1.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.ก๊าซมีเทน 3.ก๊าซไนตรัสออกไซด์ 4.กลุ่มก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน 5.กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน 6.ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ 7.ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ ซึ่งก๊าซแต่ละชนิดจะมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อนแตกต่างกันไป

โดยการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น มีทั้งทางตรงและทางอ้อม

  • ทางตรง เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง รวมไปถึงการใช้พลังงานในบ้าน และการใช้รถยนต์
  • ทางอ้อม เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่เราใช้โดยคำนวณรวมทั้งกระบวนการผลิต จนถึงการกำจัดของเสีย ซึ่งก็คือตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA : Life Cycle Assessment)

ซึ่งเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินท์ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่าตลอดทุก ๆ กระบวนการของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกในปริมาณเท่าไหร่บ้าง ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของกระบวนการ ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อให้แก่ผู้บริโภค และสร้างความตื่นตัวในกลุ่มผู้บริโภคให้เลือกสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า โดยสามารถเปรียบเทียบได้จากสินค้าชนิดเดียวกันแต่คนละแบรนด์

Carbon Footprint ถูกแนะนำขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ภายใต้การดูแลของ Carbon Trust โดยคาดหวังว่าการดำเนินโครงการนี้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต การขนส่ง หรือบรรจุภัณฑ์
ในหลาย ๆ ประเทศได้เริ่มมีการทำ Carbon Footprint มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศศ สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น ซึ่งการลงทุนที่เกี่ยวกับการช่วยลดภาวะโลกร้อนนี้จะช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้เป็นอย่างมาก เพราะมันจะแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม การรับรู้ และช่วยให้มีการสื่อสารที่ดีระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคอีกด้วย

carbon footprint เกิดจากอะไรได้บ้าง

Carbon Footprint เกิดจากอะไรได้บ้าง

คาร์บอนฟุตพรินท์ นั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย อย่างที่ได้เกริ่นไปช่วงต้นว่าเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ หรือจากอุตสาหกรรมมากมาย เพราะฉะนั้นในส่วนนี้เรามาดูสาเหตุของคาร์บอนฟุตพรินท์ เพื่อจะได้นำไปแก้ปัญหาได้ถูกจุด โดยสาเหตุหลัก ๆ จะมีดังนี้

คาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กร

คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมการดำเนินงานต่าง ๆ ภายในองค์กร เช่น การใช้เชื้อเพลิงภายในองค์กร เป็นต้น

คาร์บอนฟุตพรินท์ของบริการ

คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาในการให้บริการนั้น ๆ โดยจะมาจากทั้งผลิตภัณฑ์และองค์กร เช่น กิจกรรมการพักผ่อนต่าง ๆ เป็นต้น

คาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์

คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมากตลอดวัฏจักรผลิตภัณฑ์ พูดง่าย ๆ คือ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การคมนาคมขนส่ง การใช้งานผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการกำจัดของเสียเมื่อหมดอายุการใช้งาน
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์จะมีเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินท์แสดงข้อมูลก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตลอดกระบวนการของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาให้ปริมาณเท่าไหร่บ้าง เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

การคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์

การคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์

​​คาร์บอนมีส่วนทำให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้นได้ ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อมนุษย์เราอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นการรู้ว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมานั้นมีเท่าไหร่บ้าง จะช่วยทำให้เราตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นตามมา ในส่วนนี้เราเลยจะแนะนำวิธีการคำนวนคาร์บอนฟุตพรินท์ว่าทำอย่างไร

ทางคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ได้กำหนดค่าที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนของแต่ละก๊าซให้เทียบกับศักยภาพการเกิดภาวะโลกร้อนของก๊าซคาร์บอนออกไซด์ 

โดยต้องเข้าใจก่อนว่าก๊าซเรือนกระจกมีหลายชนิด การที่จะสามารถบอกปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ จำเป็นจะต้องนำมาเทียบและแปลงค่าก๊าซทุกตัวให้มีหน่วยเดียวกัน เพราะฉะนั้นการคำนวนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมานั้นจะใช้หน่วยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ในการคำนวน

ก๊าซมีเทน (CH4) มีค่าที่ทำให้โลกร้อน 28 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีค่าทำให้โลกร้อน 256 เท่าของก๊าซคาร์ไดออกไซด์

ดังนั้นหากเราปล่อยก๊าซมีเทน 1 kg หมายความว่า ค่าที่เราปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์ = 28 kgCO2e
และหากเราปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ 1 kg จะหมายความว่าค่าที่เราปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์ = 256 kgCO2e

โดยวิธีการคำนวน Carbon Footprint คือ นำข้อมูลของกิจกรรมที่ทำ (Activity Data) ที่เกิดจากมนุษย์ทั้งหลาย x ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้ในการแปลงค่าข้อมูลเบื้องต้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อคิดเป็นค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมนั้น ๆ

ยกตัวอย่างเช่น หากเราใช้ไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์/ชั่วโมง (kWh) โดยค่า Emission factor ของไฟฟ้าคือ 0.4999 kgCO2e
จะหมายความว่า ค่าที่เราปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้า คือ 1 x 0.4999 = 0.4999 kgCO2e

ซึ่งโดยปกติแล้วกิจกรรมที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซพิษมากที่สุด เช่น

  • การใช้เชื้อเพลงภายในองค์กรหรือภายในบ้านเรือน
  • กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจต่าง ๆ
  • บริการสาธารณะ
  • การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • การคมนาคมขนส่ง
  • การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
  • โรงงานรถยนต์
  • การเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบิน
  • อาหารและเครื่องดื่ม

แนวทางที่ช่วยลด carbon

แนวทางที่ช่วยลด Carbon

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์เรา จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันต่าง ๆ มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสม โดยจะส่งผลให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย และทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศต่าง ๆ รวมถึงเศรษฐกิจและสังคม เพราะฉะนั้นหากเราไม่ช่วยกันป้องกัน และลดจำนวน Carbon Footprint อาจจะส่งผลที่รุนแรงในภายหลังก็เป็นได้ ดังนั้น ตอนนี้เรามาดูสิ่งที่เราสามารถเริ่มต้นทำกันได้ง่าย ๆ เพื่อช่วยโลกของเรากันเถอะ

ใช้พลังงานสะอาด

​​การประหยัดพลังงานโดยอาจจะเริ่มจากอะไรง่าย ๆ เช่น เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือไฟ LED ในขนาดที่พอเหมาะ หรือการถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้งานเสร็จแล้ว เป็นต้น นอกจากนี้การเลือกใช้พลังงานสะอาด อย่างเช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม ก็มีส่วนช่วยลดคาร์บอนได้ และอาจจะถึงเวลาที่ต้องเริ่มใช้พลังงานหมุนเวียนกันอย่างจริงจังแล้ว นอกจากนี้การใช้โซลาเซลล์ก็สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ประมาณ 101 ต้นเลยทีเดียว ซึ่งโซลาเซลล์เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด ขอแค่มีแสงก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้เรื่อย ๆ แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

แนวทางที่ช่วยลดคาร์บอน

ปรับพฤติกรรมการกิน

เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ปรับมากินอาการที่เป็นพืชออแกนิค และกินเนื้อแต่พอดี สัดส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนปศุสัตว์สูงสุดอยู่ที่ 18% และอาจจะสูงขึ้นอีกถึง 51% และต้นเหตุนั้นมาจากกระบวนการในการผลิตเนื้อ โดยเฉพาะการทำไร่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ทำให้พื้นที่ป่าไม้ที่คอยดูดซับก๊าซคาร์บอนก็น้อยลง การหันมากินพืชออแกนิค จะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีที่ผ่านการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีส่วนทำให้เกิดคาร์บอน นอกจากนี้ การกินอาหารให้หมด จะช่วยลดปริมาณเศษอาหารที่เหลือ ช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการย่อยสลายเศษอาหารอีกด้วย

ซื้อของท้องถิ่น สนับสนุนชุมชน

การซื้อของในท้องถิ่น กินของที่มีอยู่ในชุมชน จะช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการคมนาคมขนส่ง ที่ต้องขนส่งจากสถานที่ไกล ๆ ซึ่งจะเป็นการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งได้ แถมได้อาหารที่สดใหม่ ปลอดสารพิษ ปลอดสารกันบูด และยังเป็นการไม่สนับสนุนผลผลิตที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูกอีกด้วย

ลด carbon footprint

ปลูกต้นไม้

การปลูกต้นไม้ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การปลูกต้นไม้ 1 ต้น สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 9-15 kgCO2 ต่อปี และยังช่วยผลิตออกซิเจนอีกด้วย ยิ่งปลูกต้นไม้ก็จะยิ่งช่วยลดวิกฤตโลกร้อนได้มากขึ้น ซึ่งอาจจะเริ่มจากปลูกต้นไม้ในสวนที่บ้าน หรือเสนอโครงการออฟฟิศสีเขียวที่บริษัท เป็นต้น

ลดการใช้ยานพาหนะ

การเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ และเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ เพราะฉะนั้นการลดการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว หันมาเดินทางโดยขนส่งสาธารณะ หรือเลือกปั่นจักรยาน หรือเดินแทนการใช้รถยนต์ เพราะจะช่วยลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากรถยนต์ที่มีมากบนถนน และในอนาคตควรมีการผลักดันให้พัฒนาเทคโนโลยีที่ผลิตก๊าซคาร์บอนต่ำให้เร็วที่สุด

สรุป

Carbon Footprint คือสิ่งที่เอาไว้บอกปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันของเราทุกคน ทั้งการบริโภคอาหาร การใช้ไฟฟ้า น้ำประปา เติมน้ำมัน หรือการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน ล้วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดอุณหภูมิโลกสูงขึ้น ระบบนิเวศก็จะเปลี่ยนแปลง

ซึ่งหากมีการวางแผน ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตก็จะสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ จากการเลือกบริโภค การปลูกต้นไม้ การคิดก่อนใช้ และพยายามใช้ทรัพยากรทุกอย่างให้คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด เท่านี้ก็สามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยของก๊าซเรือนกระจก หรือ Carbon Footprint ได้เป็นอย่างมากเลยล่ะ นอกจากนี้การใช้พลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์อย่างการใช้โซลาเซลล์ก็สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดีเลยทีเดียว นอกจากจะช่วยลด Carbon Footprint แล้ว โซลาเซลล์จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แถมสามารถผลิตพลังงานได้เรื่อย ๆ ขอเพียงแค่มีแสงอาทิตย์

Cover

ก่อนติดตั้งโซลาเซลล์ต้องรู้! แบตเตอรี่โซลาเซลล์สำคัญอย่างไร

ปัจจุบันมนุษย์มีการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ช่วยจัดเก็บพลังงานไว้ใช้ต่อไป จึงมีการนำแบตเตอรี่มาใช้กับอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมไปถึงระบบไฟฟ้าภายในบ้านอย่างแบตเตอรี่โซลาเซลล์ด้วยเช่นกัน เพราะสามารถลดค่าไฟฟ้าภายในครัวเรือนและมีประโยชน์อีกมากมาย หลาย ๆ คนจึงเลือกที่จะติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานส่วนเกินไว้ใช้ บทความนี้จึงจะพามาทำความรู้จักกับแบตเตอรี่โซลาเซลล์ พร้อมบอกวิธีบำรุงรักษาเพื่อให้แบตเตอรี่โซลาเซลล์มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น

แบตเตอรี่โซลาเซลล์คืออะไร

แบตเตอรี่โซลาเซลล์คืออะไร

แบตเตอรี่โซลาเซลล์ (Solar Battery) คือ อุปกรณ์เสริมของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ภายในบ้าน ทำหน้าที่จัดเก็บไฟฟ้า โดยในระหว่างวันแผงโซลาเซลล์จะผลิตพลังงานไฟฟ้าออกมา พลังงานส่วนที่เกินจะถูกกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่โซลาเซลล์นั่นเอง ซึ่งเป็นการสำรองพลังงานสะสมไว้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าในตอนที่ไฟฟ้าดับ หรือแผงโซลาเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอ รวมถึงในตอนกลางคืน วันที่มีฝนตก หรือมีเมฆมากด้วยเช่นกัน ทั้งนี้หากไม่ได้ติดตั้งแบตเตอรี่โซลาเซลล์ พลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกส่งไปยังกริดที่เป็นเครือข่ายเชื่อมต่อสำหรับการจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งหมายความว่าคุณกำลังผลิตไฟฟ้าและนำไปจ่ายให้กับบ้านของผู้อื่นใช้แทน

ประเภทของแบตเตอรี่โซลาเซลล์

ประเภทของแบตเตอรี่โซลาเซลล์

แบตเตอรี่โซลาเซลล์นั้นมีความแตกต่างและมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป สามารถเลือกใช้แบตเตอรี่ตามความต้องการได้

แบตเตอรี่ตะกั่วกรด (Lead-Acid)

แบตเตอรี่ตะกั่วกรด เป็นแบตเตอรี่ที่ถูกเลือกใช้มานาน และเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับแบตเตอรี่ที่นิยมใช้กับยานยนต์และอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย มีความทนทานสูง ราคาไม่แพงมาก ดูแลรักษาง่าย เพราะไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และมีค่า DoD (Depth of Discharge) ต่ำ แม้ว่าอายุการใช้งานแบตเตอรี่โซลาเซลล์ประเภทนี้มีระยะเวลาสั้นกว่าประเภทอื่น ๆ แต่ปัจจุบันก็มีการพัฒนาปรับปรุงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ตะกั่วกรด และยังคงเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือได้สำหรับการใช้งานในการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ภายในบ้าน

แบตเตอรี่ลิเธียม (Lithium-Ion)

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เป็นแบตเตอรี่โซลาเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูง และได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ จึงสามารกักเก็บพลังงานได้เป็นจำนวนมากทั้งที่มีขนาดกะทัดรัด มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่แรงและคงที่ ระยะเวลาในการชาร์จไฟฟ้าเต็มได้เร็ว รวมถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้จึงทำให้แบตเตอรี่ลิเธียมมีราคาแพงกว่าแบตเตอรี่โซลาเซลล์ประเภทอื่น ๆ

แบตเตอรี่นิกเกิล (Nickel-Cadmium)

แบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียม เป็นแบตเตอรี่ที่พบเห็นการติดตั้งได้น้อยภายในที่อยู่อาศัย แต่นิยมใช้มากที่สุดในการใช้งานในสายการบินและอุตสาหกรรม เพราะมีความทนทานสูง สามารถทนความร้อนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งไม่ต้องการการดูแลบำรุงรักษามากเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่นิกเกิล-แคดเมียมมีองค์ประกอบที่เป็นมลพิษสูง หากไม่ได้กำจัดมลพิษนั้นอย่างเหมาะสมก็อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมได้

แบตเตอรี่เหลว (Flow)

แบตเตอรี่เหลว เป็นแบตเตอรี่ที่มีการทำงานขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาทางเคมี โดยพลังงานจะถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยสารละลายอิเล็กโทรไลต์ซึ่งเป็นของเหลวที่ไหลไปมาระหว่างสองห้องภายในตัวแบตเตอรี่ ถึงแม้แบตเตอรี่เหลวจะมีประสิทธิภาพสูง สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ดี แต่พลังงานนั้นมีความหนาแน่นต่ำ นั่นหมายความว่าต้องมีถังบรรจุสารละลายอิเล็กโทรไลต์ขนาดใหญ่ เพื่อกักเก็บพลังงานให้ได้จำนวนมาก จึงทำให้แบตเตอรี่เหลวเป็นตัวเลือกที่มีราคาแพง และไม่เหมาะกับการติดตั้งใช้งานภายในครัวเรือน

แบตเตอรี่กับโซลาเซลล์ดีอย่างไร

ใช้แบตเตอรี่กับโซลาเซลล์ดีอย่างไร

การใช้แบตเตอรี่กับโซลาเซลล์นั้นนอกจากจะช่วยเพิ่มความเสถียรภาพของระบบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ยังมีประโยชน์มากมายทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เช่น

กักเก็บพลังงานสำรองไว้ใช้ในครัวเรือน

การที่มีแบตเตอรี่สำรองพลังงานไว้จะช่วยให้สามารถดึงพลังงานไฟฟ้ามาใช้ได้ในตอนกลางคืน และตอนที่ฝนตก หรือมีเมฆมาบดบังแสงอาทิตย์ ซึ่งแผงโซลาเซลล์จะทำงานได้ไม่เต็มที่ และรวมถึงในกรณีฉุกเฉินอย่างไฟฟ้าดับ ก็ยังมีกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่โซลาเซลล์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานจากกริดของเครือข่ายไฟฟ้า

ลดการพึ่งพาพลังงานจากโรงไฟฟ้า และประหยัดค่าไฟภายในครัวเรือน

หากอยู่ในพื้นที่ที่มีกระแสไฟฟ้าไม่เสถียรจากเครือข่ายโรงไฟฟ้า หรือเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับบ่อย การใช้แบตเตอรี่โซลาเซลล์สามารถช่วยจ่ายพลังงานเข้าไปในระบบไฟฟ้าภายในบ้านได้อย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมง ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของระบบไฟฟ้าภายในบ้านอีกด้วย

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

พลังงานไฟฟ้าจากกริดของโรงไฟฟ้า ส่วนใหญ่ถูกผลิตขึ้นจากถ่านหินและฟอสซิล ซึ่งกระบวนการผลิตเป็น Carbon Footprint ที่ทำให้โลกร้อน การใช้แบตเตอรี่กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานบริสุทธิ์นั้น จึงช่วยลดสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนได้ และเพิ่มโอกาสในการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

ไม่ก่อมลพิษทั้งทางเสียงและอากาศ

กระบวนการผลิตไฟฟ้าของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงและอากาศ เพราะใช้แสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าและสำรองไว้ในแบตเตอรี่ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องเสียงรบกวนเพื่อนบ้านและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

สิ่งที่ควรรู้ วิธีเลือกแบตเตอรี่โซลาเซลล์

แนะสิ่งที่ควรรู้ วิธีเลือกแบตเตอรี่โซลาเซลล์

การเลือกแบตเตอรี่สำหรับใช้กับโซลาเซลล์นั้นต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายสิ่ง เพราะแบตเตอรี่โซลาเซลล์มีต้นทุนที่แตกต่างไปตามความจุของแบตเตอรี่และระดับพลังงาน จึงจำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดว่าแบตเตอรี่โซลาเซลล์ทำงานอย่างไร สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานภายในครัวเรือนได้หรือไม่ ไม่เช่นนั้นหากเลือกแบตเตอรี่ที่ไม่เหมาะสมมาใช้ อาจทำให้แบตเตอรี่โซลาเซลล์เสื่อมได้ไว จนต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่โซลาเซลล์หลายครั้งซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลายได้ โดยราคาแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

  • วัสดุและวิธีการผลิต
  • อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ (Battery Life Cycle)
  • ความจุของแบตเตอรี่ (Storage Capacity)
  • ความจุที่ใช้ได้ (Usable Capacity)

แบตเตอรี่โซลาเซลล์สำหรับใช้ภายในบ้านมีหลายขนาด ตามหน่วยความจุเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh: Kilowatt-hour) คือ ปริมาณพลังงานที่ถูกใช้ 1,000 วัตต์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แบตเตอรี่โซลาเซลล์ส่วนใหญ่มีความจุคงที่เริ่มต้นที่ประมาณ 2 – 14 กิโลวัตต์ชั่วโมง ทั้งยังสามารถเพิ่มความจุพลังงานได้ด้วยการสร้างโมดูลแบตเตอรี่เสริมบนระบบเพื่อเพิ่มการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์

แบตเตอรี่โซลาเซลล์มีอายุการใช้งานนานเท่าไร

แบตเตอรี่โซลาเซลล์ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉพาะ ทำให้ระบบมีความเสถียรภาพมากขึ้น เก็บพลังงานไฟฟ้าได้นาน และสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมง อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่โซลาเซลล์ก็มีอายุการใช้งานด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยเฉลี่ยสามารถใช้งานได้ตั้งแต่ 5 – 6 ปี หรือ 10 – 15 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดแบตเตอรี่และขนาด เช่น แบตเตอรี่แบบลิเธียมจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการบำรุงรักษาอีกด้วย หากมีการใช้งานและแบตเตอรี่โซลาเซลล์มีค่าคายประจุสูง (DoD) จะส่งผลให้รอบการใช้งานของแบตเตอรี่ลดลง หรือการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส จะทำให้อายุการใช้ของแบตเตอรี่โซลาเซลล์ลดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้แบตเตอรี่โซลาเซลล์มีอายุการใช้งานนาน ๆ ไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่โซลาเซลล์บ่อยครั้ง จึงต้องคำนึงถึงทั้งการเลือกแบตเตอรี่ สภาพแวดล้อมการทำงาน และการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม

สรุป

แบตเตอรี่โซลาเซลล์ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมพลังงานจากกระแสไฟฟ้าที่ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตได้ในระหว่างวัน ซึ่งมีประโยชน์ในการสำรองไว้เพื่อนำไปใช้ในช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานได้ เป็นการช่วยลดค่าไฟฟ้าภายในครัวเรือน อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งทางเสียงและอากาศอีกด้วย สำหรับแบตเตอรี่โซลาเซลล์นั้นมีอายุการใช้งานประมาณ 5 – 6 ปี โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ชนิดและขนาดของแบตเตอรี่ สภาพแวดล้อมการใช้งานและการบำรุงรักษา เป็นต้น

Sorarus-Feb2-banner

5 ประโยชน์ของแผงโซล่าเซลล์ พลังงานทางเลือกที่ไม่ได้มีดีแค่ผลิตไฟฟ้า

ปัจจุบันนี้ภาวะโลกร้อนได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นและยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปนั้นถูกใช้ไปจนเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ พลังงานทางเลือกจึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนเริ่มให้ความสนใจและได้รับความนิยมมากขึ้น หนึ่งในพลังงานทางเลือกที่หลายคนเลือกใช้นั่นก็คือ “การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์” ที่นอกจากช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังมีข้อดีอีกมากมาย ประโยชน์ของโซล่าเซลล์ที่ทุกคนควรรู้ มีด้วยกัน 5 ข้อ ดังนี้

ประโยชน์ของโซล่าเซลล์ ประหยัดไฟ

1. ช่วยคุณประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว

หนึ่งในประโยชน์ของโซล่าเซลล์ที่หลาย ๆ คนทราบกันดีอยู่แล้วคือสามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ เพราะส่วนใหญ่ในบ้านมักใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ากันอยู่เป็นประจำ นั่นหมายความว่าทุก ๆ วันจะต้องมีการใช้ไฟฟ้าอยู่แล้ว

หากติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังไฟฟ้าได้ ก็จะลดการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งอื่น ทำให้บิลค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนลดลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ การที่คุณสามารถผลิตไฟฟ้ามาใช้เองได้นั้น เท่ากับว่าไม่ต้องรับผลกระทบจากการเพิ่มราคาค่าไฟต่อหน่วยเลย

ประโยชน์ของแผงโซล่าเซลล์

2. เป็นพลังงานที่ไม่จำกัด

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป (Inexhaustible natural resources) ทำให้โซล่าเซลล์สามารถดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ได้อย่างไม่จำกัด นอกจากนั้นประเทศไทยยังเป็นเมืองร้อนที่มีแสงแดดแทบตลอดทั้งปี จึงทำให้ประเทศไทยเหมาะแก่การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อย่างมาก เพราะมีแสงให้ดึงมาใช้ได้ตลอด ไม่ต้องกังวลเรื่องการขาดแคลนพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวอย่างประเทศแถบตะวันตก

ประโยชน์โซล่าเซลล์

3.  พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด

โดยปกติแล้วการผลิตพลังงานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันจะมีกระบวนการหลายขั้นตอน ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากและยังก่อให้เกิดมลภาวะอีกด้วย แต่กระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์นั้นไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อชั้นบรรยากาศ เรียกได้ว่าประโยชน์ของโซล่าเซลล์คือการใช้พลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยไม่ทำร้ายโลกและสิ่งแวดล้อมก็ว่าได้

 ข้อดีของโซล่าเซลล์

4. หมดข้อกังวลใจเมื่อไฟฟ้าดับ

การมีแผงโซล่าเซลล์ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องไฟฟ้าดับอีกต่อไป เพราะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากแหล่งอื่น หรือสามารถควบคุมได้ว่าจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งใด ทั้งจากแผงโซล่าเซลล์ จากแบตเตอรี่สำรอง หรือจากการไฟฟ้าแบบปกติก็สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ เพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เพื่อให้บ้านหรือชุมชนบริเวณนั้นมีไฟฟ้าใช้ได้ตลอดเวลา อาจกล่าวได้ว่า ข้อดีของโซล่าเซลล์ไม่ใช่แค่การตัดปัญหาเรื่องไฟฟ้าดับ แต่ยังเป็นการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนให้สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้อีกด้วย

แผงโซล่าเซลล์ ประโยชน์

5. ได้ลดหย่อนภาษีจากการขอ BOI

ประโยชน์ของโซล่าเซลล์ที่น่าสนใจอีกข้อ คือสำหรับนักลงทุนหรือผู้ที่มีกิจการของตัวเอง การติดตั้งโซล่าเซลล์สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากภาครัฐสนับสนุนให้ใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด จึงมีนโยบายการลดหย่อนภาษี โดยการให้นักลงทุนขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI สำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีนำเข้าอุปกรณ์ติดตั้ง ทั้งในส่วนบริษัทผลิตไฟฟ้าและการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อลดค่าไฟฟ้าของตัวเอง

โดยกิจการที่สามารถขอ BOI ได้นั้นต้องเป็นกิจการตามประเภทที่ BOI กำหนดไว้ สามารถยื่นคำขอได้ที่สำนักงาน BOI หรือช่องทางออนไลน์ตามความสะดวก

ข้อดีของโซล่าเซลล์

4 ข้อควรรู้ก่อนติดตั้งแผงโซลาเซลล์

ทราบกันไปแล้วว่าประโยชน์ของโซล่าเซลล์นั้นมีอะไรบ้าง แต่อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์ในทันที เพราะการติดตั้งโซล่าเซลล์ก็เหมือนกับการลงทุนที่ย่อมมีความเสี่ยง ก่อนติดตั้งควรศึกษาเกี่ยวกับโซล่าเซลล์ก่อนว่ามีประเภทใดบ้าง ควรคำนึงถึงเรื่องผู้ให้บริการติดตั้ง การทำเรื่องขอติดตั้ง และการดูแลหลังติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้ดีเสียก่อน ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

1. ทำความรู้จักแผงโซล่าเซลล์แต่ละประเภท

ระบบโซล่าเซลล์มีด้วยกัน 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกันไป ตามรายละเอียดดังนี้

  • โซล่าเซลล์ระบบออนกริด (On Grid) เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่เชื่อมสายเข้ากับการไฟฟ้า โดยในช่วงกลางวันใช้แผงโซล่าเซลล์เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จากนั้นส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ แล้วจึงนำไฟฟ้ามาใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในอาคาร ส่วนในเวลากลางคืนสลับมาใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าแทน ระบบนี้เหมาะสำหรับสถานที่ที่มีการใช้งานไฟฟ้าจำนวนมากในช่วงกลางวัน เช่น บ้านเรือนทั่วไป ออฟฟิศ สถานศึกษา เป็นต้น
  • โซล่าเซลล์ระบบออฟกริด (Off Grid) เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่มีอิสระ สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าเซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสตรงเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าได้โดยตรง โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้า มีการสำรองไฟฟ้าในแบตเตอรี่ ทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน ระบบนี้จึงเหมาะกับสถานประกอบการที่ต้องใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องหรือสถานที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ในยามจำเป็น
  • โซล่าเซลล์ระบบไฮบริด (Hybrid) เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ประยุกต์จากระบบ On Grid และ Off Grid มารวมกัน ทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าโดยตรงได้ทั้งจากแผงโซล่าเซลล์ จากแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้า และจากระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้ ทำให้มีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง ระบบนี้จึงเหมาะกับสถานที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง รวมไปถึงสถานที่ที่มีปัญหาไฟตกบ่อย ๆ ด้วย

2. เลือกผู้ให้บริการรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

แน่นอนว่าแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งจะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ด้วย เทคนิคในการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งสามารถดูได้ดังนี้

ให้บริการแบบครบวงจร

ขั้นตอนการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มีหลายขั้นตอนมาก ทั้งการสำรวจบริเวณรอบๆ การคำนวณพื้นที่ การเขียนแบบวางแผนการติดตั้งที่ต้องได้รับการรับรองจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ การเดินเอกสารขออนุญาตติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ รวมถึงยังต้องเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการติดตั้งอีก เพื่อลดปัญหาความยุ่งยากเหล่านี้ ควรเลือกบริษัทรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่ให้บริการแบบครบวงจร จะช่วยให้ขั้นตอนต่าง ๆ ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว

เลือกผู้เชี่ยวชาญด้านโซล่าเซลล์

แม้ว่าในปัจจุบันเราสามารถหาข้อมูลเรื่องการติดตั้งโซล่าเซลล์ด้วยตัวเองได้ แต่ทางที่ดีควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโซล่าเซลล์เป็นผู้ติดตั้งให้จะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากจะสามารถให้คำปรึกษา คำแนะนำ และตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานโซล่าเซลล์ได้ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญสามารถเลือกเครื่องมือและอุปกรณ์ติดตั้งที่มีคุณภาพตามเกณฑ์กำหนดได้อย่างถูกต้อง ทำให้มั่นใจได้ว่าปลอดภัยแน่นอน

ให้บริการหลังการขาย พร้อมการรับประกัน

เพราะการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้นมีราคาสูง จึงควรเลือกบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ให้บริการหลังการขายและมีการรับประกันสินค้า พร้อมศึกษาเงื่อนไขการบริการหลังการขายอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดปัญหาในการใช้งาน บริษัทที่ติดตั้งจะสามารถมาติดตาม ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพราะการแก้ไขปัญหาที่ล่าช้า อาจนำไปสู่ความเสียหายหรือทำให้เสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากได้

3. ทำเรื่องขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

ขั้นตอนสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้ คือ การขออนุญาตติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เหตุผลที่ต้องทำเรื่องขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ แม้ว่าจะติดตั้งในบ้านของตนเองก็ตาม เนื่องจากการติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องใช้ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า จึงต้องยื่นขออนุญาตและมีการรับรองจากวิศวกรไฟฟ้า เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลังและเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน โดยวิธีการขออนุญาตนั้น ต้องยื่นขอกับหน่วยงานรัฐ 3 หน่วยงาน มีเอกสารต่างๆ ที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • หน่วยงานส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาลท้องถิ่น อบต. ให้ทำการยื่นเรื่องขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร โดยเตรียมเอกสารดังนี้
    • แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ( ข.1 ) 
    • เอกสารแบบแปลนที่แสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
    • เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบ 
  • คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หลังจากได้รับอนุญาตจากหน่วยงานท้องถิ่นแล้ว ให้ทำการขออนุญาตประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต ณ สำนักงาน กกพ. หรือลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.erc.or.th พร้อมด้วยเอกสารดังนี้
    • สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานท้องถิ่น
    • รูปถ่ายการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
    • เอกสาร Single Line Diagram ที่มีวิศวกรไฟฟ้าลงชื่อรับรอง
    • เอกสารแบบแปลนที่แสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
    • เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบ 
  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หลังจากได้รับหนังสืออนุญาตจาก กกพ. แล้ว ให้แจ้งการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่ในการติดตั้ง ให้เข้ามาตรวจสอบระบบและการเชื่อมต่อของโซล่าเซลล์ และชำระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้าได้กำหนดไว้ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
    • แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร ( ข.1 ) 
    • เอกสารแบบแปลนที่แสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง
    • เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบ 

ทั้งนี้ เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาตติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาคารและลักษณะการติดตั้ง ดังนั้นเพื่อลดภาระในการเดินเรื่องเอกสาร ควรเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่มีความเชี่ยวชาญ จะสามารถช่วยประหยัดเวลาและลดความวุ่นวายในการดำเนินเรื่องขออนุญาตได้

4. การดูแลแผงโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์ก็เหมือนกับข้าวของเครื่องใช้ในบ้านอื่น ๆ ที่ต้องให้ความใส่ใจในการดูแลรักษา เพราะแผงโซล่าเซลล์คืออุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าที่ต้องเผชิญทั้งแสงแดด ลม ฝน ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา หากคราบสกปรกสะสมอยู่ที่แผงโซล่าเซลล์มาก ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าลดลง ดังนั้นหากพบว่าแผงโซล่าเซลล์เต็มไปด้วยสิ่งสกปรก ก็สามารถทำความสะอาดได้โดยการใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสบู่อ่อนหรือใช้แปรงขนนุ่มชุบน้ำเปล่า ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ให้สะอาดเหมือนใหม่ได้ นอกจากนั้นควรหมั่นดูแลและตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำ หากมีการชำรุดหรือเกิดความเสียหายบนแผงโซล่าเซลล์ จะได้แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

สรุป

ประโยชน์ของโซล่าเซลล์นั้นมีมากมาย เพราะสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดมาใช้ได้ไม่จำกัด ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง เป็นการประหยัดค่าไฟฟ้า หมดกังวลเรื่องไฟฟ้าดับ และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด จึงไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นตัวการทำร้ายโลกได้ 

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะดีหรือคุ้มค่าหรือไม่นั้น ควรศึกษาวิธีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อย่างละเอียด รวมไปถึงเลือกผู้ให้บริการติดตั้งที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างที่ Sorarus มีทีมงานและวิศวกรที่มากด้วยประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษา ติดตั้ง และบริการซ่อมบำรุงแผงโซล่าเซลล์อย่างครบวงจร เพื่อให้คุณได้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าการลงทุน มั่นใจได้ว่าปลอดภัย

Cover

Power Purchase Agreement การขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าคืออะไร?

ในปัจจุบันอุปกรณ์สร้างพลังงานทดแทนบางประเภทมีราคาที่ถูกลง จนประชาชน คนทั่วไป หรือเอกชนสามารถติดตั้งและผลิตไฟฟ้าใช้งานได้เอง แต่ในบางครั้งไฟฟ้าที่ผลิตออกมาอาจมีมากเกินกว่าที่ใช้ ทำให้การทำข้อตกลง Power Purchase Agreement (PPA) คือ วิธีที่เกิดขึ้น เพื่อจัดการกับพลังงานส่วนเกินนี้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถขายไฟให้การไฟฟ้าได้นั่นเอง

ppa คือ

Power Purchase Agreement คืออะไร?

Power Purchase Agreement (PPA) คือ เอกสารสัญญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า (Power generator) กับผู้ซื้อพลังงานไฟฟ้า (Power purchaser) โดยในสัญญานี้ระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขการจัดซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างสองฝ่าย รวมถึงราคาซื้อขาย ระยะเวลาของสัญญา การส่งมอบพลังงานไฟฟ้า การรับประกันคุณภาพของพลังงานไฟฟ้า การแก้ไขข้อผิดพลาดและการชดเชย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เป็นต้น

สัญญา PPA มักถูกใช้ในการสร้างโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล เพื่อให้ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า สามารถขายพลังงานไฟฟ้าให้กับผู้ซื้อพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงในการรับรู้กำไรและลดความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วย

PPA vs Private PPA ต่างกันอย่างไร?

PPA (Power Purchase Agreement) คือ ข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าขึ้นมาใช้เอง เช่น ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจที่มีพลังงานหมุนเวียนและสามารถผลิตไฟฟ้าได้ และธุรกิจที่ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในภาคธุรกิจหรือการใช้งานในครัวเรือน

ส่วน Private PPA เป็นข้อตกลงการซื้อขายพลังงานหมุนเวียนระหว่างเอกชนกับเอกชน โดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาดหรือบริษัทที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์พร้อมสัญญา เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ที่สนใจ โดยไม่ต้องไปติดต่อกับทางภาครัฐเอง

power purchase agreement คือ

PPA ในไทย ครอบคลุมถึงพลังงานแบบไหนบ้าง?

ในปัจจุบันการใช้พลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญอย่างมาก ในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในธุรกิจต่างๆ ในไทย การทำ PPA (Power Purchase Agreement) คือวิธีหนึ่งที่ดีในการต่อยอดธุรกิจและช่วยลดการใช้พลังงานที่มาจากแหล่งพลังงานที่เป็นแหล่งหมุนเวียน ดังนั้น PPA ในไทยจึงครอบคลุมถึงพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ได้แก่

  • พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่มีอยู่มากมายในธรรมชาติ สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) โดยที่โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์และระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำมีอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ รวมไปถึงสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อสาธิตและศึกษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์อีกด้วย
  • พลังงานลม เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิและความกดอากาศ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ทำให้อากาศเคลื่อนที่ และนำพลังงานลมมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยใช้เทคโนโลยีกังหันลม เมื่อลมพัดมาปะทะกับใบพัดของกังหันลม จะทำให้เกิดการเปลี่ยนพลังงานลมเป็นพลังงานกลและนำพลังงานกลนี้ไปใช้งานได้ทันที ระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานลม ในปัจจุบันมีตั้งอยู่หลายที่ในประเทศ เช่น กังหันลมผลิตไฟฟ้าที่แหลมพรหมเทพ ภูเก็ตและกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่อ่างพักน้ำตอนบน โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา นครราชสีมา
  • พลังงานความร้อนใต้พิภพ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหิน น้ำฝนที่ไหลลงไปใต้ดินจึงได้รับความร้อนจากชั้นหิน สะสมเป็นน้ำร้อนหรือไอน้ำร้อน น้ำร้อนนี้สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ โดยการถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลวหรือสารทำงานที่มีจุดเดือดต่ำ จนกระทั่งเป็นไอ แล้วนำไอนี้ไปหมุนกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป ปรากฏในรูปของบ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน ไอน้ำร้อน บ่อโคลนเดือดและแก๊ส เป็นต้น
  • พลังงานชีวมวล (Biomass) เก็บเกี่ยวจากเศษซากพืชหรือวัสดุเหลือใช้จากเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น มูลสัตว์ ไม้โตเร็ว ฟางข้าว กาบและกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยมีวิธีการผลิตเป็น 2 ประเภท คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลโดยตรง (Direct Combustion) และกระบวนการเคมีความร้อนเพื่อสร้างก๊าซชีวภาพ (Thermochemical Conversion) เช่น การหมักกากมันสำปะหลังหรือน้ำเสียจากอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (Biogas Power Plant)

ข้อดีของการใช้พลังงานสะอาดและข้อตกลง ppa

ข้อดีของการใช้พลังงานสะอาดและข้อตกลง PPA

การใช้พลังงานสะอาดเป็นวิธีการที่เมื่อผนวกเข้ากับข้อตกลง PPA แล้วมีข้อดีอยู่หลายด้าน เช่น 

  • ช่วยชะลอภาวะโลกร้อน การหันมาใช้พลังงานสะอาดในการผลิตไฟฟ้าจะช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และการใช้เชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงานสิ้นเปลืองให้น้อยลง ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสุขภาพที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัยโดยรอบได้มากขึ้นอีกด้วย
  • ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย การทำสัญญา PPA มีหลักการคิดค่าไฟฟ้าแบบเฉลี่ยคงที่ (Flat Rate) จึงช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก การใช้พลังงานแสงอาทิตย์และการทำข้อตกลง PPA กับภาครัฐให้ชัดเจน ยังช่วยให้มีการกำหนดและลดงบประมาณต่อปีได้มหาศาล โดยการทำ PPA จะช่วยลดความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของราคาเชื้อเพลิงด้วย
  • นำพลังงานหมุนเวียนเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ การใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า ไม่เพียงช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์แต่ยังช่วยนำพลังงานที่เหลือใช้จากการผลิตธุรกิจหรืออุตสาหกรรมมาใช้ประโยชน์ ซึ่งถ้าไม่นำมาใช้ต้องมีการจ่ายเงินเพิ่มเติมในการจัดการหรือกำจัดพลังงานเหลือใช้ จึงไม่เพียงช่วยลดค่าใช้จ่ายแต่ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจด้วย
  • กระจายอำนาจการผลิตและป้องกันความเสี่ยง การใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า เป็นการกระจายอำนาจการผลิตไฟฟ้าออกไปให้กับบุคคลหรือธุรกิจที่ต้องการใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีภัยพิบัติหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลให้ภาครัฐไม่สามารถจัดหาไฟฟ้าได้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนหรือธุรกิจได้

ความสำคัญของข้อตกลง ppa

ทำไมการทำข้อตกลง PPA จึงมีความสำคัญกับผู้ที่ต้องการผลิตไฟฟ้าเอง

เรื่องการผลิตพลังงานไฟฟ้าเองกลายเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากมีความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นและสภาพแวดล้อมที่ก้าวหน้าขึ้น แต่การผลิตพลังงานไฟฟ้าเองมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ต้นทุนการลงทุนในอุปกรณ์และเทคโนโลยีสูง การบำบัดและจัดการกับขยะอุตสาหกรรม และการจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเอง

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกที่ทำให้การทำข้อตกลง PPA (Power Purchase Agreement) คือสิ่งสำคัญที่ผู้ต้องการผลิตไฟฟ้าเองควรพิจารณา เพราะ PPA เป็นสัญญาที่ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเองทำกับผู้ซื้อพลังงานไฟฟ้า ในที่นี้คือผู้ใช้ไฟฟ้า เพื่อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น โดยมีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับอัตราการชำระเงินและระยะเวลาของสัญญา ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและประหยัดต้นทุนในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเองได้

นอกจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลังงานไฟฟ้าเองที่ได้กล่าวมาแล้ว การทำข้อตกลง PPA ยังช่วยแก้ไขปัญหาอื่นๆ ด้วย อย่างการจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเองอาจไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้า ถ้าผู้ผลิตไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงใกล้เคียง แล้วต้องนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า การนำเข้าแหล่งเชื้อเพลิงนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายสูงและเป็นกังวลเกี่ยวกับการหมดไปของแหล่งเชื้อเพลิงในอนาคต

เนื่องจากการทำข้อตกลง PPA เป็นการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีอัตราการชำระเงินและระยะเวลาของสัญญาที่ถูกกำหนดไว้ การทำข้อตกลง PPA จึงช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเอง โดยลดความเสี่ยงในด้านการขาดแรงจูงใจในการผลิตพลังงานไฟฟ้า การเสียเงินจากค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์และเทคโนโลยี

ทำความรู้จัก! Solar PPA ที่หลายคนให้ความสนใจ

Solar PPA หรือ Solar Power Purchase Agreement คือ การเช่าพื้นที่บนหลังคาของเจ้าของสถานที่กับผู้ให้บริการ Solar ซึ่งจะติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา มีหน้าที่ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อจำหน่ายไปยังเจ้าของสถานที่ในราคาต่ำ โดย Solar PPA ก็มีข้อดีมากมาย เช่น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงาน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยป้องกันการเสียหายจากภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น อุทกภัยและไฟป่า และช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากการใช้พลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โดยในปัจจุบันนี้เรามีหลายทางเลือกในการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานน้ำหรือกังหันลม แต่หากเทียบกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่มาจาก Solar PPA นั้นมีข้อดีบางอย่างที่ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์น่าสนใจมากกว่า เช่น

  • ราคาถูกกว่า พลังงานแสงอาทิตย์มีราคาถูกกว่าพลังงานน้ำหรือกังหันลม ซึ่งทำให้การใช้ Solar PPA เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากกว่าในการลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงาน
  • ติดตั้งง่าย การติดตั้ง Solar PPA ไม่จำเป็นต้องมีการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่เหมือนกับการใช้พลังงานน้ำหรือกังหันลม ทำให้การติดตั้งง่ายและรวดเร็วขึ้น

จึงไม่แปลกเลยที่ Solar PPA จะเป็นที่สนใจมากกว่าทางเลือกอื่น ๆ

การขายพลังงานไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า

รวมสิ่งที่ต้องรู้ในการขายพลังงานไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า

หากมีการติดตั้งโซลาเซลล์หรือผลิตพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เองจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าลงไปได้ โดยหากยังมีพลังงานเหลือจากการใช้งานยังสามารถนำไปขายได้อีกด้วย โดยผู้ที่สนใจจะขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA) ก็ควรจะรู้สิ่งเหล่านี้ไว้ด้วย ได้แก่

  • ราคาที่ PEA รับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจะอยู่ที่ 2.2 บาท/หน่วย (kWh) ระยะเวลา 10 ปี
  • ผู้ยื่นขอขายไฟฟ้าจะเป็นผู้ลงทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เองทั้งหมด
  • PEA จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบ ภายหลังได้รับการพิจารณา ในราคา 2,000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

นอกเหนือจากนั้นแล้ว ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาควรรู้เงื่อนไขต่อไปนี้ด้วย

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการยื่น

ผู้ที่ต้องการยื่นขายไฟให้การไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 บ้านอยู่อาศัยกับ PEA ดูได้จากใบแจ้งค่าไฟฟ้า PEA และตัวเลขแรกคือประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า เช่น 1125
  • ยังคงสถานะใช้ไฟฟ้า (ไม่ถูกตัดมิเตอร์)
  • ชื่อผู้ยื่นคำขอขายไฟฟ้าต้องตรงกับชื่อในใบแจ้งค่าไฟฟ้า
  • ที่อยู่บิลค่าไฟฟ้าต้องตรงกับบ้านเลขที่ตามทะเบียนบ้านที่เป็นปัจจุบัน
  • ระดับแรงดันที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 10 kW
  • รูปแบบไฟฟ้าแรงดันต่ำกว่า 400 V

 เตรียมข้อมูล และเอกสาร

การขายไฟให้การไฟฟ้าก็ต้องเตรียมข้อมูล ดังนี้

  • บิลค่าไฟฟ้าหรือหลักฐานการเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน (บิลค่าไฟฟ้าไม่ควรเกิน 3 เดือน) สอดคล้องกับข้อมูลผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการและผู้ใช้ไฟฟ้า 
  • ข้อมูลชื่อ-นามสกุล
  • ข้อมูลเลขที่บ้านที่ติดตั้ง
  • ข้อมูลประเภทใช้ไฟฟ้า

หากข้อมูลดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ต้องติดต่อสำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่ใช้ไฟฟ้า ตามที่ปรากฏในบิลค่าไฟฟ้า เพื่อขอแก้ไขข้อมูลให้เสร็จสิ้น ก่อนเข้าร่วมโครงการ

ซึ่งการขายไฟให้การไฟฟ้าก็ต้องตรียมเอกสาร ดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการพร้อมกับรับรองสำเนาถูกต้อง ที่เป็นเจ้าของเครื่องวัดไฟฟ้า
  • สำเนาใบแจ้งค่าไฟฟ้าของบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ หรือหลักฐานแสดงหมายเลขเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า
  • สำเนาแบบ ภ.พ01 หรือ แบบ ภ.พ20 (ถ้ามี)
  • รูปถ่ายบ้านที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ตั้งของที่อยู่อาศัยที่จะติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์
  • แนบบิลค่าไฟฟ้าในรอบเดือนล่าสุดหรือไม่ควรย้อนหลังเกิน 3 เดือน พร้อมทั้งภาพถ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า
  • เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
  • หนังสือมอบอำนาจให้ผู้มายื่นแบบคำขอแทน (ในกรณีที่มอบอำนาจให้ยืนแบบคำขอขายไฟฟ้าแทน)

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่มอบอำนาจให้ยืนแบบคำขอขายไฟฟ้าแทน)

เตรียมค่าใช้จ่าย

การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ผู้ติดตั้งต้องออกค่าใช้จ่ายเองกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยค่าดำเนินการไม่รวมภาษี อยู่ที่ 2,000 บาท รวมกับภาษี 7.00% มูลค่า 140 บาท เป็นค่าดำเนินการรวมภาษีทั้งหมด 2,140 บาท

ขั้นตอนการขออนุญาต

การขายไฟให้การไฟฟ้ามีขั้นตอน ดังนี้

  1. ลงทะเบียนใช้งาน (Log in) ในระบบ PPIM
  2. กรณีเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเป็นผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเอง ให้เลือกหมายเลข CA ที่ประสงค์จะขอยื่นผลิตไฟฟ้า พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดตามแบบคำขอและอัปโหลดเอกสารรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายแบบคำขอขายไฟฟ้า
  3. กรณีเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าไม่ได้เป็นผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเอง  ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจกรอกหมายเลข CA และรายละเอียดตามแบบคำขอขายไฟฟ้า พร้อมทั้งอัปโหลดเอกสารรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายแบบคำขอขายไฟฟ้า
  4. จะมี E-mail แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าทราบ
  5. PEA จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกในระบบ PPIM ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ยื่นคำขอขายไฟฟ้า
  6. ผู้ผ่านการคัดเลือกชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าและจัดส่งต้นฉบับแบบคำขอขายไฟฟ้าพร้อมเอกสารประกอบแบบคำขอ รายการเอกสารประกอบการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และสำเนาใบเสร็จค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ ภายใน 30 วับ นับจากวันประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก หากพ้นกำหนดถือว่าคำขอขายไฟฟ้าเป็นอันยกเลิก
  7. นามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ภายใน 270 วัน นับจากวันที่ทำสัญญาฯ
  8. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากตรวจสอบ ติดตั้งระบบให้เป็นไปตามที่ยื่นไว้ และขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ
  9. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
  10. PEA เข้าตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า เปลี่ยนมิเตอร์ และทดสอบวันเชื่อมต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าครั้งแรก (First Synchronization)
  11. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ไม่เกินวัน SCOD ตามข้อ 7

สรุป

PPA (Power Purchase Agreement) คือ ข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าขึ้นมาใช้เอง นอกจากจะให้ประโยชน์ในด้านการลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังอาจเป็นรายได้เสริมเพิ่มให้กับเอกชนอีกด้วย โดยที่การซื้อขายที่นิยมก็จะอยู่ในรูปของ Solar PPA ที่จะใช้การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าขึ้นมา 

ซึ่งในประเทศไทยเองก็จะมีโครงการที่ประชาชนสามารถขายไฟให้กับการไฟฟ้าผ่านโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งหากใครสนใจการติดตั้งพลังงานทดแทนเหล่านี้ ทาง Sorarus เองเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดีในการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมอย่างครบวงจร ในการประหยัดพลังงาน

1-5-banner

ทิศไหนทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

ทิศไหนทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์? ใครจะรู้ว่าก่อนที่เราจะติดตั้งโซล่าเซลล์ทิศทางนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าในแต่ละพื้นที่หรือบ้านแต่ละหลังสามารถรับแสงแดดแตกต่างกัน ทำให้ทิศที่เหมาะสำหรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แตกต่างกันไปด้วย ซึ่งถ้าหากเราติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในทิศทางที่ไม่ถูกต้องก็จะทำให้แผงโซล่าเซลล์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ 

แต่อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องโชคดีอีกหนึ่งอย่างคือประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรเป็นอย่างมาก ทำให้ปริมาณแสงแดดที่ส่องตรงมายังประเทศไทยมีปริมาณที่เข้มข้น ทว่าก่อนที่คิดจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ต้องรู้ว่าแผงโซล่าเซลล์หันไปทางทิศไหนถึงจะดีที่สุด เพื่อให้แผงโซล่าสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด  โดยสามารถมาหาคำตอบนี้ได้จากบทความนี้

 

ทิศทางในการติดตั้งโซล่าเซลล์กับปริมาณแสงแดดที่ได้รับ

 

ทิศทางในการหันโซล่าเซลล์แตกต่างกันอย่างไร

อย่างที่เกริ่นไปทิศติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ส่งผลอย่างมากในเรื่องประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ โดยมาดูกันว่าทิศทางในการหันโซล่าเซลล์แตกต่างกันอย่างไร ? ดังนี้ 

ทิศเหนือ 

ทิศเหนือเป็นทิศที่ได้รับแสงแดดน้อยที่สุด หากบ้านใดคิดจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งทางทิศเหนือ เพราะพระอาทิตย์ที่เราเห็นอยู่ในแต่ละวันจะขื้นทางทิศตะวันออก และอ้อมไปทางทิศใต้ โดยที่ทิศเหนือไม่ได้หันทำมุมการตั้งฉากกับพระอาทิตย์ทำให้การตั้งแผงโซล่าเซลล์ในทิศทางนี้จะทำให้แสงบางส่วนถูกสะท้อนออกไป  ทำให้ทิศเหนือได้รับแสงแดดน้อยที่สุดนั่นเอง ดังนั้น เราจึงควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในทางทิศเหนือ 

ทิศใต้ 

แผงโซล่าเซลล์หันไปทางทิศไหนถึงจะดีที่สุด คำตอบคือทิศใต้ เพราะดวงอาทิตย์ที่อ้อมไปทางทิศใต้ทำให้ทิศใต้ได้รับแสงแดดเข้มข้นมากที่สุด โดยองศาสำหรับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แต่ละพื้นที่ควรเป็นไปตามภูมิศาสตร์ของพื้นที่นั้น โดวยกรุงเทพควรทำองศาหรือเอียงแผงประมาณ 13.5 องศา และเชียงใหม่ควรเอียงประมาณ 18.4 องศา จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น 

ทิศตะวันออก 

ตั้งแผงโซล่าเซลล์ทิศตะวันออก ปริมาณแสงแดดที่ได้รับจะอยู่ในระดับปานกลาง โดยจะรับแสงแดดมากสุดในช่วงเช้า-เที่ยง ซึ่งหากเราติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในทิศทางนี้จะทำให้โซล่าเซลล์ทำงานไม่เต็ม 100% ซึ่งส่งผลต่อการให้แสงสว่างในตอนกลางคืน 

ทิศตะวันตก 

สำหรับการตั้งแผงโซล่าเซลล์ทิศตะวันตก จะได้รับแสงอาทิตย์ในช่วงครึ่งเช้าเหมือนกับการตั้งแผงโซล่าเซลล์ทิศตะวันออก ดังนั้นจึงได้รับปริมาณแสงอาทิตย์ในระดับปานกลาง ซึ่งส่งผลต่อการให้แสงสว่างในเวลากลางคืนเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่ทางทิศใต้มีต้นไม้บังหรือตึกบัง สามารถเลี่ยงไปติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในทางทิศตะวันออกและตะวันตกแทนได้

 

องศาที่เหมาะกับการติดตั้ง Solar Cell

 

องศาที่เหมาะกับการติดตั้ง Solar Cell 

สาเหตุของการติดตั้ง solar cell แล้วไม่ได้ไฟฟ้าตามที่คาดหวัง หรือค่าไฟไม่ได้ลดลง ให้คาดเดาไว้เลยว่าอาจเกิดจากการออกแบบการวางแผงโซล่าเซลล์ที่ทำมุมไม่ถูกต้อง เพราะถ้าหากวางแผงได้ถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 5% 

โดยการกำหนดองศาที่เหมาะสมจะพิจารณาจากละติจูดทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ที่เราติดตั้ง โดยการทำมุมที่ถูกต้องแผงโซล่าเซลล์จะถูกวางในองศาเดียวกับละติจูดทางภูมิศาสตร์ของในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด

 

ทิศในการติดตั้งหันตามดวงอาทิตย์ Solar Tracker

 

ติดตั้งหันตามดวงอาทิตย์ Solar Tracker  

Solar Tracker เป็นระบบติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้หันหรือหมุนไปตามดวงอาทิตย์ โดยระบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ให้ได้พลังงานจากแสงแดดมากขึ้น 20-30% เลยทีเดียว โดย Solar Tracker  เป็นระบบที่สามารถติดตั้งได้ทุกพื้นที่ ทั้งบนพื้นดินที่ไร้สิ่งกีดขวาง หรือติดตั้งบนที่พักอาศัย หรืออาคารพาณิชย์ต่างๆ โดยนิยมติดตั้งบนหลังคาบ้าน เพราะประหยัดเนื้อที่ภายในบ้าน และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า โดยระบบ Solar Tracker มี 2 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้ 

  • แบบแกนเดียว (Single Axis Tracking System) โดยเป็นระบบที่หมุนตามพระอาทิตย์จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกในแต่ละวัน 
  • แบบแกนคู่  (Dual Axis Tracking System) โดยแกนแรกจะหมุนตามพระอาทิตย์จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกในแต่ละวัน ส่วนแกนที่สองจะปรับให้หมุนจากแนวทิศเหนือไปยังทิศใต้ เพราะในแต่ละเดือนมุมของดวงอาทิตย์จะมีองศาที่แตกต่างกัน การทำแบบนี้จะทำให้แผงโซล่าเซลล์ตั้งฉากกับดวงอาทิตย์มากที่สุด

ข้อดีข้อเสียติดตั้งหันตามดวงอาทิตย์ Solar Tracker  

  • Solar Tracker ช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า Fixed Systemถึง 10-25% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางองศาของแผงโซล่าเซลล์ 
  • ในพื้นที่ขนาดเท่ากัน Solar Tracker สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า Fixed System ดังนั้น Solar Tracker จะใช้พื้นที่ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์น้อยกว่าแต่กลับได้พลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้นหรือเท่ากันเมื่อเทียบกับระบบ Fixed System ที่ใช้พื้นที่มากกว่า 
  • สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตลอดทั้งวัน และทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น

 

ทิศการติดตั้ง solar cell แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed System)

 

แบบติดตั้งอยู่กับที่ Fixed System   

การติดตั้งแบบคงที่ หรือ Fixed System คือการติดตั้งแผงโซล่าแบบคงที่ โดยจะเน้นที่ไปการวางองศาของแผงโซล่าเซลล์ที่สมบูรณ์แบบในบางช่วงเวลาเท่านั้น ทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงแดดได้อย่างเต็มที่ จึงมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการติดตั้งแบบ Solar Tracker

 

ทำไมทิศใต้ถึงเป็นทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์

 

ทำไมทิศใต้ถึงเป็นทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์

ทำไมทิศใต้ถึงเป็นทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์ ? อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้วว่าทิศใต้เป็นทิศที่ได้รับแสงแดดในแต่ละวันมากที่สุด ซึ่งถ้าหากเราวางแผงโซล่าเซลล์ในองศาที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยเราจะมาเจาะถึงเหตุผลที่แท้จริงว่าทิศติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ใช่ทิศใต้จริงๆ หรือไม่?

โดยปกติแล้วพระอาทิตย์จะส่องตรงมายังพื้นที่ที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรตลอดทั้งปี แต่อย่างไรก็ตามหากบางประเทศที่อาศัยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไป พระอาทิตย์ก็จะส่องไปยังพื้นที่ดังกล่าวในทางทิศใต้เช่นกัน ทำให้ทิศใต้ได้รับปริมาณแสงอาทิตย์มากที่สุดแม้อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ส่วนประเทศทางแถบอเมริกา ดวงอาทิตย์ก็จะเคลื่อยผ่านทางซีกโลกใต้เช่นกัน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทิศใต้ถึงเป็นทิศที่ดีที่สุดในการติดตั้งโซล่าเซลล์

อีกทั้งปริมาณแสงโดยรวมที่ได้รับในแต่ละวัน โดยทำการทดลองการตั้งแผงโซล่าเซลล์ทิศทางแตกต่างกัน  พบว่าปริมาณแสงอาทิตย์ที่ได้รับมากที่สุดและมีศักยภาพในการนำมาผลิตเป็นไฟฟ้ามากที่สุดคือการวางแผงโซล่าเซลล์ไว้บนตำแหน่งทางทิศใต้ 

ส่วนการวางแผงโซล่าเซลล์ทางทิศใต้ยังดีอย่างมากต่อระบบแบตเตอรี่ เพราะการวางตำแหน่งบนทิศทางนี้จะทำให้มีพลังงานส่วนเกินมากพอในการชาร์จแบตเตอรี่จึงลดการพึ่งพาพลังงานส่วนอื่นลงไปได้มาก 

อีกทั้งในแง่ของการประหยัด ยังช่วยเราในการหาแนวทางเหมาะสมในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากบางประเทศใช้หลักเกณฑ์การคิดค่าไฟแบบ TOU หรือ อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff) เมื่อเราติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เราสามารถใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วง Peak  หรือช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาสูงได้ทำให้เราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้ เพราะว่าการวางแผงทางทิศใต้จะทำให้เรามีไฟฟ้ามากเพียงพอต่อการใช้งานภายในบ้าน

สรุปจาก SORARUS

สิ่งสำคัญในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์คือทิศติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพราะประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์จะทำงานได้ดีหรือไม่นั้นทิศทางคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้น การติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องดูทิศทางที่ถูกต้อง ต้องคำนึงถึงแสงที่ได้รับจากพระอาทิตย์มาจากทิศทางใด ซึ่งในบทความนี้บอกถึงทิศทางที่ดีที่สุดที่จะได้รับแสงตลอดทั้งวัน รวมถึงประเภทของทิศทางการติดตั้ง เพื่อนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ และคุยกับผู้รับติดตั้งได้ดีขึ้นนั่นเอง

 

 

1-4-banner

รู้หรือยัง!! กลางคืนโซล่าเซลล์ก็ผลิตไฟฟ้าได้ ด้วย Anti-Solar Cell

ตอนนี้โลกของเรากำลังพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “พลังงานทดแทน” เข้ามาแทนที่น้ำมัน หรือถ่านหินที่เราใช้เป็นพลังงานหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า อย่างพลังงานจากแสงอาทิตย์ก็เป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า ผ่านอุปกรณ์ที่เราเรียกว่าโซล่าเซลล์

โดยหลายคนมักจะคิดว่าโซล่าเซลล์นั้นผลิตไฟได้เฉพาะช่วงเวลากลางวันที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น แต่ใครจะคิดว่าโซล่าเซลล์ที่เรารู้จักกันนั้นสามารถผลิตไฟฟ้าในเวลากลางคืนได้ด้วย ภายใต้ชื่อที่เรียกว่า Anti Solar Cells ถือเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญที่ทำให้เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพียงเราติดตั้ง Anti Solar Cells ไปยังแผงโซล่าเซลล์ที่มีอยู่เดิม อุปกรณ์ดังกล่าวจะสามารถดูดซับพลังงานรังสีอินฟราเรดใต้ผิวเปลือกโลก ซึ่งเป็นพลังงานความร้อนในตอนกลางคืนมาเป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า โดยวันนี้เราจะพาไปดูหลักการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าในตอนกลางคืนนี้กัน

 

Anti Solar Cell คืออะไร

 

Anti Solar Cell คืออะไร

Anti Solar Cell หรือแผงโซล่าเซลล์กลางคืน คือโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืนโดยการดูดซับพลังงานรังสีอินฟราเรดที่โลกปล่อยออกมาในช่วงเวลากลางคืนแล้วเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งเรื่องนี้เกิดจากความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ ที่คิดค้นแผงวงจรที่สามารถดึงพลังงานความร้อนที่โลกกักเก็บเอาในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งความร้อนดังกล่าวสามารถนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้ จึงเกิดเป็น Solar Energy แนวใหม่ ที่เราเรียกว่า Anti Solar Cell นั่นเอง 

หลักการการทำงานของ Anti Solar Cell  นั้นเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการแห่งชาติ รัฐไอดาโฮ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นวัสดุที่สามารถดูดซับรังสีอินฟราเรดให้เปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า  โดยรังสีอินฟราเรดดังกล่าวเกิดจากการดูดซับความร้อนของโลกในเวลากลางวัน แล้วถูกคายออกมาในเวลากลางคืนเป็นรังสีอินฟราเรด ซึ่งมีคุณสมบัติเดียวกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าโดยเราสามารถนำแผง Anti Solar Cell มาประกอบเข้าด้วยกันกับแผงโซล่าเซลล์ที่มีอยู่เดิม เพื่อสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

เส้นเป็ดโค้ง (Duck Curve) คืออะไร?

 

Duck Curve คืออะไร? จุดเริ่มต้นมาจากไหน

เส้นเป็ดโค้ง (Duck Curve) หรือปรากฏการณ์การใช้ไฟฟ้าลดลงในเวลากลางวัน ซึ่งเป็นกราฟที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหลังเป็ด ปรากฏการณ์นี้เกิดจากผู้คนหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น จึงมีการใช้ไฟฟ้ากระแสหลักลดลงในเวลากลางวัน และกลับมาใช้ไฟฟ้ากระแสหลักมากขึ้นในเวลากลางคืน ทำให้เส้นกราฟมีการขึ้น-ลงคล้ายรูปเป็ด โดยในเรื่องนี้ส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อต้องการในแต่ละวัน และการแบกรับต้นทุนของโรงงานผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีความพยายามที่จะเพิ่มกำลังผลิตของโรงงานผลิตไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่น รวมถึงลดอัตราค่าไฟฟ้าในเวลากลางวันลงมา เพื่อจูงใจให้คนกลับมาใช้ไฟฟ้ากระแสหลักเหมือนเดิม

อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์เส้นเป็ดโค้ง (Duck Curve) ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ถ้าหากว่าแผงโซล่าเซลล์ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นก็อาจถึงคราวที่บ้านเราจะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้นบ้าง

 

Anti Solar Cell ทำงานอย่างไร

 

Anti Solar Cell ทำงานอย่างไร

อย่างที่รู้กันว่าแผงโซล่าเซลล์ที่เรารู้จักกันดีจะดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในเวลากลางวัน ในทางตรงข้าม Anti Solar Cell หรือแผงโซล่าเซลล์กลางคืน คือโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืนนั่นเอง โดยแผงโซล่าเซลล์ใช้กลางคืนนั่นมีการค้นคว้าพัฒนาตั้งแต่ 2020 โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานที่ต้องการแก้ปัญหาการผลิตไฟฟ้าหลังพระอาทิตย์ตกดิน จึงได้ตั้งชื่อ Solar Energy แนวใหม่ นี้ว่า Anti Solar Cell 

โดยการผลิตไฟฟ้าในเวลากลางคืน เป็นแนวคิดที่มีวิธีการทำงานง่ายๆ เพราะโลกในการระบายความร้อนออกมาในช่วงเวลากลางคืนในรูปแบบของรังสีอินฟราเรด เพื่อให้อุณหภูมิของโลกคงที่ โดยการผลิตพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อนแบบนี้เคยมีมาก่อนแล้ว เราเรียกว่า Thermoradiative Cell :ซึ่งเป็นพลังงานที่เกิดจากการแผ่รังสีความร้อนเหมือนกัน แต่นำมาใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความร้อนสูงโดยนักวิทยาศาสตร์จึงผลิตแผงโซล่าเซลล์เซลล์แบบย้อนกลับ โดยการประยุกต์ใช้กับแผงโซล่าเซลล์แบบเดิมเพื่อลบข้อจำกัดด้านช่วงเวลาในการผลิตไฟฟ้า โดยเปลี่ยนวัสดุชิ้นใหม่ที่ดูดซับรังสีอินฟราเรดได้เพิ่มเข้าไปยังแผงโซล่าเซลล์ โดยใช้ความแตกต่างของอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนมาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง  

สำหรับ แผงโซล่าเซลล์ใช้กลางคืน สามารถสร้างพลังงานได้มากถึง 50 วัตต์ต่อตารางเมตร หรือเป็น 1 ใน 4 ของแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในเวลากลางวัน โดยเป็นพลังงานเพียงพอสำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือ แต่ทว่าในอนาคต Anti Solar Cell  ต้องมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นพลังงานกระแสหลัก หรือถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภทถือว่าเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ที่ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อทดแทนพลังงานเดิมที่กำลังลดลงเรื่อยๆ

วิธีผลิตไฟฟ้าในตอนกลางคืนของ Anti Solar Cell 

วิธีผลิตไฟฟ้าของ แผงโซล่าเซลล์ใช้กลางคืน เป็นการนำประโยชน์ของการระบายของร้อนโลกที่อยู่ในรูปแบบของรังสีอินฟราเรดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งหากนำรังสีดังกล่าวมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้จะทำให้คนสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดที่ทั้งประหยัด ราคาถูก และยั่งยืน นักวิทยาศาสตร์จึงนำแผนการดังกล่าวมาพัฒนาเพื่อต่อยอดการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าในเวลากลางคืน 

ผ่านการสร้างแบบจำลองเทอร์โมไดนามิกส์ โดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นกําลังไฟฟ้าโดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ โดยนำพิสูจน์บนดาดฟ้าจึงพบว่าแบบจำลองนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2.2 วัตต์ต่อตารางเมตร และยังมีการทดลองผลิตไฟฟ้าในเวลากลางคืนอีกหลายครั้ง ซึ่งพบว่าสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น เทียบเท่ากับประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่ทำความร้อนได้เลย  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้การผลิตไฟฟ้าด้วย Anti Solar Cell   กำลังเข้าใกล้ความเป็นจริง และสามารถทำให้เป็นความจริงได้ในอนาคต

Anti Solar Cell แตกต่างจากโซล่าเซลล์แบบธรรมดาอย่างไร

หลายคนคงอยากทราบแล้วว่า แผงโซล่าเซลล์ใช้กลางคืน ต่างจากโซล่าเซลล์แบบธรรมดาอย่างไรบ้าง เดี๋ยวจะมาอธิบายให้อย่างชัดเจนขึ้นกันดีกว่า ดังนี้

  • ช่วงเวลาในการผลิตไฟฟ้า สำหรับ Anti Solar Cell  เป็นโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน ต่างจากโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ช่วงเวลากลางวัน 
  • การดูดซับพลังงาน โดย Anti Solar Cell  มีการดูดซับรังสีอินฟราเรดที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิของโลกและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ในขณะที่โซล่าเซลล์ปกติดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยตรง 
  • หลักการทำงาน แผง  Anti Solar Cell ดูดซับพลังงานจากกระบวนการแผ่รังสีความร้อน ในขณะที่โซล่าเซลล์แบบธรรมดาดูดซับพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์

 

ข้อดีของ แผงโซล่าเซลล์กลางคืน(Anti Solar Cell)

 

Anti Solar Cell มีข้อดีอะไรบ้าง

มาถึงข้อดีของ แผงโซล่าเซลล์กลางคืน หรือ Anti Solar Cellของเรา อย่างที่ทราบกันว่าพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ทั่วโลกมีความต้องการมากที่สุด จึงมีการคิดค้นพลังงานทดแทนมาใช้อยู่เสมอ การคิดค้น Anti Solar Cell ก็เป็นหนึ่งในความพยายามดังกล่าว ดังนั้นจึงมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาต่อไปในอนาคต

  •  แผงโซล่าเซลล์กลางคืน สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดทั้งคืนภายใต้สภาวะที่เอื้ออำนวย 
  • ในอนาคตสามารถนำมาติดตั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนเพื่อใช้กันภายในประเทศ 
  • เป็นพลังงานสะอาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

Anti Solar Cell มีข้อเสียอะไรบ้าง

ในปัจจุบัน Anti solar cell  กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานหลักของโลกได้ เพราะผลิตไฟฟ้าได้เพียง 1 ใน 4 ของแผงโซล่าเซลล์แบบปกติเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบัน ซึ่งหนทางในการปรับปรุงพัฒนา Anti Solar Cell ยังอีกยาวไกลในการนำมาประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน แต่ต่อไปต้องมีประสิทธิภาพและศักยภาพที่จะนำมาปรับใช้ได้จริงอย่างแน่นอน

 

Anti Solar Cell จะเป็นอนาคตของโลกในด้านพลังงานสะอาดได้หรือไม่

 

ทำไม Anti Solar Cell จะเป็นอนาคตของโลกในด้านพลังงานสะอาด

ในปัจจุบันนี้ความร้อนที่เกิดขึ้นในภาคการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นและทำลายชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งการพัฒนา Anti Solar Cell  ที่ดูดซับพลังงานความร้อนมาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ รวมถึงช่วยสร้างความสมดุลระหว่างการปล่อยคาร์บอนในโรงงานอุตสาหกรรมกับการกำจัดคาร์บอนด้วยการดูดซับพลังงานของ Anti Solar Cell  นอกจากนี้แผง Anti Solar Cell   ยังเป็นพลังงานที่ปราศจากคาร์บอน จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการพัฒนาต่อไปในอนาคต และลดปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ด้วย ถ้าหากเครื่องดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน

สรุปจาก SORARUS

Anti solar cell เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางคืนของโซล่าเซลล์ และลดข้อจำกัดในการผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะช่วงเวลากลางวันเท่านั้น ซึ่งปัญหาที่หลายคนค้างคาใจกันว่าเมื่อทำการติดตั้งโซล่ารูฟท็อป(Solar Rooftop) แล้วจะสามารถผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางคืนได้ไหม และมีวิธีการผลิตอย่างไร ซึ่งวันนี้เรารู้แล้วว่ากระบวนการกักเก็บความร้อนแล้วนำมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานในช่วงเวลากลางคืน สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่า anti solar cell และหวังว่า anti solar cell  จะมีประสิทธิภาพที่มากขึ้น และคนทั่วไปสามารถเข้าถึงและนำมาใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ

 

 

1-2-banner

มารู้จักขั้นตอนทั้งหมดในการผลิตโซล่าเซลล์ มีกระบวนการอย่างไรก่อนนำมาใช้งาน

ในยุคปัจจุบันเราคงจะได้ยินคำว่าโซล่าเซลล์ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ กันบ่อยมากขึ้น เพราะโซล่าเซลล์คือนวัตกรรมเทคโนโลยีในยุคใหม่ เป็นพลังงานสะอาดที่สามารถเปลี่ยนแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้งานทั่วๆ ไปได้นั่นเอง โดยหลายๆ ประเทศทั่วโลกต่างให้ความสนใจและพัฒนากระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ ให้เป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนแบบยั่งยืน โดยมีแผงโซล่าเซลล์เป็นอุปกรณ์หลักในการผลิตไฟฟ้ากระแสตรง พัฒนาการของกระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2497 โดยในช่วงแรกๆ นั้นเป็นการใช้เทคโนโลยีแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิคอนจนได้เซลล์แสงอาทิตย์ ต่อมากระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ ได้มีการพัฒนาจนก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก 

ปัจจุบันกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์มีทั้งหมด 2 วิธีหลักๆ ด้วยกัน คือ การผลิตเวเฟอร์ซิลิคอนแล้วนำเวเฟอร์ซิลิคอนมาผลิตโซล่าเซลล์ วันนี้เราจะพาไปดูรายละเอียด รู้จักกับขั้นตอนทั้งหมดในการผลิตโซล่าเซลล์ว่า มีกระบวนการอย่างไรก่อนนำมาใช้งาน

 

กระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ ขั้นตอนที่ 1

 

กระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ ขั้นตอนที่ 1 การผลิตแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอน

สารซิลิคอน (SILICON) เป็นสารกึ่งตัวนำที่หาได้ง่าย มีความทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน และมีราคาที่ไม่สูงจนเกินไป เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่ใช้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์ และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ นิยมนำมาใช้ในกระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์กันอย่างแพร่หลายมากกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ โดยซิลิคอนบริสุทธิ์จะถูกนำไปหลอมละลายในเตาอุณหภูมิสูง เพื่อสร้างแท่งผลึกเดี่ยวขนาดใหญ่ พร้อมใส่สารประกอบเพื่อให้เกิดการจับตัวกันเป็นผลึก จากนั้นจะดึงแท่งผลึกออกจากเตาหลอม จะได้ผลึกเดี่ยว ก่อนจะตัดแท่งผลึกให้เป็นแผ่นบางด้วยลวดตัดเพชร หลังจากได้แผ่นผลึกที่มีความหนาตามต้องการ จะนำมาขัดผิวให้เรียบ และเจือสารที่ทำให้เกิดรอยเชื่อมต่อระหว่างสารกึ่งตัวนำสองประเภท ได้แก่ สารแบบ P-type และแบบ N-type ภายในผลึกกึ่งตัวนำเดี่ยว เรียกว่าการ P-NJunction ด้วยการ Diffusion ที่อุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส

เวเฟอร์ซิลิคอนที่ได้มานั้น จะเป็นพาหะนำแสงอาทิตย์ โดยเวเฟอร์ซิลิคอนที่มีคุณภาพ จะเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพในการแปลงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ในการนำมาใช้งานจริงนั่นเอง เท่ากับว่าหลังจากที่เราได้แผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนมาแล้ว ก็จะนำผลึกที่ได้ไปต่อขั้ววงจรไฟฟ้า โดยผิวด้านบนจะเป็นขั้วลบ ส่วนผิวด้านล่างจะเป็นขั้วบวก ก่อนจะเคลือบฟิล์มผิวหน้า เพื่อป้องกันให้เกิดการสะท้อนแสงน้อยที่สุด เพื่อให้ได้เซลล์ที่สมบูรณ์แบบ จากนั้นจึงนำไปประกอบเข้าเป็นแผงโดยการใช้กระจกปิดทับเพื่อป้องกันแผ่นเซลล์ แล้วยิงซิลิโคนและอีวีเอ (Ethelele Vinyl Acetate) ช่วยป้องกันความชื้น จากนั้นจะผ่านการ Lamination เคลือบให้เป็นแผ่นเดียวกัน แล้วนำไปประกอบขึ้นเป็นเฟรมแผงโซล่าเซลล์

 

ขั้นตอนการนำแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนมาผลิตแผงโซล่าเซลล์

 

กระบวนการผลิตโซลล่าเซลล์ ขั้นตอนที่ 2 การนำแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนมาผลิตโซล่าเซลล์

จากนั้นก็จะถึงกระบวนการนำแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนมาผลิตเป็นแผงโซล่าเซลล์ โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบและปรับสภาพเบื้องต้น

การตรวจสอบและปรับสภาพเบื้องต้นในการผลิตโซล่าเซลล์ เริ่มตั้งแต่การวัดค่าพารามิเตอร์ทางเทคนิคเวเฟอร์ซิลิคอน เช่น ความหยาบผิวหน้า อายุการใช้งาน และความต้านทาน เพื่อให้ได้เวเฟอร์ซิลิคอนที่มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างพื้นผิว

การสร้างพื้นผิวในการผลิตโซล่าเซลล์ ต้องมีการเตรียมพื้นผิวซิลิคอน โดยการใช้การกัดกร่อนแบบแอนไอโซโทรปิก เพื่อสร้างโครงสร้างพีระมิดสี่ด้านนับล้านๆ บนพื้นผิวซิลิคอนทุกตารางเซนติเมตร เพื่อให้เกิดการสะท้อนแสงและดูดซับแสงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า

ขั้นตอนที่ 3 การทำความสะอาดด้วยกรด

การทำความสะอาดด้วยกรดในการผลิตโซล่าเซลล์ เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ เพื่อป้องกันปัญหาการกัดกร่อนของซิลิคอน ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ลิเธียมไฮดรอกไซด์ และเอธิลเนเดียม ในการทำความสะอาดซิลิคอน โดยใช้อุณหภูมิกัดกร่อนประมาณ 70-85 องศาเซลเซียส

ขั้นตอนที่ 4 การเพิ่มสารเจือปน

การเพิ่มสารเจือปนเป็นกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการเพิ่มสารเจือปนฟอสฟอรัสลงบนผลึกเวเฟอร์ซิลิคอน เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น

ขั้นตอนที่ 5 การแกะสลักและการแยกขอบ

ไม่เพียงเฉพาะแผ่นผลึกเวเฟอร์ซิลิคอนเท่านั้นที่ต้องเพิ่มสารเจือปน แต่ยังรวมไปถึงบริเวณขอบของแผ่นเวเฟอร์และบริเวณด้านหลังด้วย เพื่อช่วยให้เส้นทางวงจรกระแสไฟฟ้าทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่วนการแยกขอบจะเป็นการจำกัดเส้นทางวงจรไฟฟ้ารอบขอบแผ่นเวเฟอร์ โดยจะวางแผ่นเซลล์ไว้ด้านบนของกันและกัน จากนั้นจึงนำเซลล์ไปแกะสลักด้วยพลาสมาเพื่อกัดขอบที่เปิดออก

ขั้นตอนที่ 6 การซักล้างหลังการแกะสลัก

หลังจากการแกะสลักด้วยพลาสมาในขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้ว อนุภาคอาจยังคงตกค้างอยู่บนผลึกและขอบเวเฟอร์ ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการล้างเวเฟอร์ครั้งที่ 2 เพื่อกำจัดอนุภาคให้หมดไป

ขั้นตอนที่ 7 การเคลือบป้องกันแสงสะท้อน

หลังจากการซักล้างครั้งที่ 2 ขั้นตอนต่อไปคือการนำไปเคลือบสารป้องกันแสงสะท้อน (Anti-reflective Coating) หรือการเคลือบ AR เพื่อลดการสะท้อนแสงบนพื้นผิวเวเฟอร์ซิลิคอน และการเคลือบป้องกันแสงสะท้อนยังช่วยเพิ่มปริมาณการดูดซับแสงอาทิตย์เข้าสู่ผลึกเซลล์ โดยใช้จะใช้ซิลิคอนไนไตรด์ (Si3N4) สำหรับเคลือบแบบบาง และใช้ไททาเนียมออกไซด์ (TiO2) สำหรับเคลือบแบบหนา จะสังเกตได้ว่าสีของแผ่นโซล่าเซลล์จะขึ้นอยู่กับการเคลือบป้องกันแสงสะท้อนด้วยเช่นกัน โดยการเคลือบป้องกันแสงสะท้อนเกี่ยวกับสารกึ่งตัวนำนั้น แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

  •       Atmospheric Pressure Chemical Vapor Deposition (APCVD) เป็นการเคลือบ AR โดยใช้อุณหภูมิสูง
  •       Low-Pressure Chemical Vapor Deposition (LPCVD) เป็นการเคลือบ AR โดยกระบวนการตกตะกอนในเตาหลอมแบบท่อเช่นเดียวกับวิธี APCVD และต้องใช้อุณหภูมิสูง
  •       Plasma Enhanced Chemical Vapor Deposition (PECVD) เป็นการเคลือบ AR บนแผ่นเวเฟอร์โดยใช้สารเคลือบบาง ที่มีสถานะเป็นก๊าซและผ่านกระบวนการทำปฏิกิริยาเคมีจนแข็งตัวบนแผ่นเวเฟอร์

ขั้นตอนที่ 8 การพิมพ์และการอบแห้ง

ในขั้นตอนต่อมา จะนำเวเฟอร์ซิลิคอนไปเข้าเฟรมโลหะ โดยการพิมพ์ลงที่ด้านหลังของเวเฟอร์ อุปกรณ์การพิมพ์สกรีนแบบพิเศษ หลังจากนั้นจะนำแผ่นเวเฟอร์ไปผ่านกระบวนการทำให้แห้ง เมื่อแห้งดีแล้วจะนำไปพิมพ์หน้าสัมผัสด้านหน้า และผ่านกระบวนการทำให้แห้งอีกครั้ง เมื่อหน้าสัมผัสแห้งดีแล้ว ทั้งด้านหหน้าและด้านหลังแผ่นเวเฟอร์จะถูกส่งผ่านเตาเผาผนึก หลังจากเวเฟอร์ถูกทำให้เย็นลง ก็จะเป็นกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ที่สมบูรณ์แบบ

 ขั้นตอนที่ 9 ทดสอบและการเรียงลำดับเซลล์

กระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์ในขั้นสุดท้าย หลังจากประกอบแล้ว คือ การทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของเซลล์ โดยอุปกรณ์ทดสอบเซลล์แสงอาทิตย์จำลอง เพื่อจำแนกเกรดและจัดเรียงคุณภาพ ให้มีความพร้อมสำหรับการใช้งานทั่วไป

 

ประเภทของการตรวจสอบในขั้นตอนการผลิตโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้าง

โดยหลักการแล้ว ในกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์จะแบ่งการตรวจสอบออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกัน ได้แก่ การตรวจสอบก่อนการผลิต หลังการผลิต และการติดตามผลการผลิต

 

ขั้นตอนการตรวจสอบในการผลิตโซล่าเซลล์

 

ขั้นตอนการตรวจสอบก่อนการผลิต

คือ การตรวจสอบคุณภาพวัสดุอุปกรณ์ กำหนดระยะเวลาให้แน่นอนทั้งในด้านการควบคุม การวางแผนการผลิต เพื่อให้ได้แผงโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน รวมถึงความปลอดภัยในระหว่างการผลิตด้วย

 

ขั้นตอนการตรวจสอบหลังการผลิตแผงโซล่าเซลล์

 

ขั้นตอนการตรวจสอบหลังการผลิต

การตรวจสอบหลังการผลิต จะเป็นการตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตเสร็จแล้วให้ครบถ้วนรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ สายไฟ อินเวอร์เตอร์ รวมถึงความถูกต้องเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ พร้อมๆ กับดำเนินการเพื่อให้แผงโซล่าเซลล์เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ดังนี้

  •         ตรวจสอบภายนอก หรือการตรวจสอบด้วยสายตา เช่น ตรวจดูแผงโซล่าเซลล์ว่าไม่มีรอยแตก สายไฟมีความยาวตามมาตรฐานกำหนด ขอบแนวไม่มีรอยแหว่งติดแน่นทุกส่วน รวมไปถึงแบตเตอรี่ อินเวอร์เตอร์  ฉลาก ขนาด ความกว้าง ความยาว ให้เป็นไปตามที่กำหนด และไม่มีความเสียหายใดๆ
  •         ตรวจสอบวงจรการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ ด้วยการจ่ายกระแสไฟเพื่อดูว่ามีความร้อนมากกว่าปกติหรือไม่ รวมทั้งดูส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย
  •         ตรวจสอบการติดฉลากต่างๆ เช่น บาร์โค้ด โลโก้สินค้า ฉลากที่ระบุประเภท ขนาด การใช้งาน และข้อกำหนดต่างๆ
  •         ตรวจสอบก่อนการจัดส่ง ซึ่งจะประกอบไปด้วย การบรรจุแผงโซล่าเซลล์ อุปกรณ์ และชิ้นส่วนอื่นๆ ครบถ้วน กล่องมีคุณภาพมาตรฐาน ชื่อที่อยู่ผู้รับ และรายละเอียดอื่นๆ ให้ถูกต้อง

 

ขั้นตอนการติดตามผลการผลิต Solar Cell

 

ขั้นตอนการติดตามผลการผลิต

ในส่วนของขั้นตอนการติดตามผล หลังจากกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์เสร็จสิ้น และถือว่าเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของแผงโซล่าเซลล์ที่นำไปใช้งาน ซึ่งจะเป็นการรวบข้อมูลด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาการผลิต ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กระบวนการผลิตโซล่าเซลล์กำหนดไว้ รวมถึงต้องมีการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อได้คุณภาพ ประสิทธิภาพ และปลอดภัยขณะใช้งาน

 

ปัญหาที่พบในกระบวนการผลิตแผงโซลล่าเซลล์

 

ปัญหาด้านคุณภาพที่มักพบในกระบวนการผลิตแผงโซลล่าเซลล์

สิ่งที่ต้องคำนึงอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ ต้องมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ หากไม่ได้มาตรฐานอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังอีกหลายๆ ด้าน เช่น

  •         น้ำเข้าไปในแผงโซล่าเซลล์
  •         สีของเซลล์ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากการเคลือบสะท้อนแสง
  •         ความเสียหายต่อแผงวงจร
  •         ฟองอากาศบนแผง
  •         สิ่งแปลกปลอมภายในเซลล์
  •         ร่องรอยกาวบนกล่องรวมสัญญาณ
  •         รอยแตกขนาดเล็กบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์
  •         เซลล์แสงอาทิตย์อาจเกิดแตกหักหรือบิ่น
  •         รอยขีดข่วนบนกระจก
  •         การจัดตำแหน่งสตริงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่เหมาะสม ไม่เรียงตัวอย่างถูกต้อง
  •         ขนาดที่ไม่ได้มาตรฐาน
  •         ความยาวสายเคเบิลไม่ตรงตามที่กำหนด อาจจะสั้นหรือยาวเกินไป
  •         ความต้านทานของฉนวนไม่ดีพอ ซึ่งเกิดจากฉนวนไม่มีคุณภาพ
  •         ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ อินเวอร์เตอร์ ตัวแปลงไฟ ขาดประสิทธิภาพในการประจุไฟ

 

สรุปจาก SORARUS

ในกระบวนการผลิตโซล่าเซลล์นั้น หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า จริงๆ แล้วแผงโซล่าเซลล์ไม่ได้เป็นแผงที่สามารถนำมาติดตั้งใช้งานได้เลยตั้งแต่แรก แต่จะมีกระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์ก่อนหน้านั้นอีกหลายขั้นตอนมาก ๆ ตั้งแต่การสกัดสารซิลิคอน ผ่านกระบวนการต่างๆ ขึ้นรูปแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอน ผ่านการทดสอบทั้งก่อนและหลังการผลิต จนกระทั่งเป็นแผงโซล่าเซลล์ในแบบที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จนกระทั่งปัจจุบันการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าใช้นั้น กำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการใช้พลังงานสะอาด ช่วยลดภาวะโลกร้อน และเป็นการใช้พลังงานทางเลือกที่คุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง

 

 

 

 

1-3-banner

วิธีทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ที่ กระชับ เข้าใจง่าย จาก SORARUS

ต้องยอมรับจริงๆ ว่าในปัจจุบันการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก หลายๆ บ้านเลือกติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไว้ที่บริเวณหลังคา หรือที่เราเรียกว่า “โซล่ารูฟท็อป” (Solar Rooftop) เพราะเป็นจุดรับแสงอาทิตย์ได้ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตามปัญหาชวนปวดหัวสำหรับบ้านที่มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ต้องเจอก็คือ การทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ โดยหลายคนอาจมองว่ายุ่งยาก แต่ถ้าเราไม่ทำความสะอาดเลยก็อาจจะเจอกับสิ่งที่ยุ่งยากยิ่งกว่า เนื่องจากบริเวณหลังคาเป็นแหล่งรวมตัวของบรรดาสิ่งสกปรกมากมายทั้งมูลสัตว์ ฝุ่นละออง คราบน้ำ และเขม่าควันต่างๆ ที่อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ลดลง 

 

ดังนั้น ทุกบ้านที่มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อยู่เสมอ โดยวิธีทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด เราเลยจะขาเผยหมดเปลือกถึงการทำความสะอาดและการบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ แต่ทำอย่างไรบ้างนั้นมาหาคำตอบกัน

 

6 เหตุผลที่ควรทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

 

ทำไมเราต้องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

แน่นอนว่าเหตุผลสำคัญของการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์คือการรักษาความสะอาด แต่ยังมีเหตุผลอื่นๆ อยู่อีกมากมาย โดยมีเหตุผลอยู่ 5 ข้อที่เราจะมาบอกทุกคนว่าทำไมเราต้องทำความสะอาดแผงโซลล่าเซลล์ ดังนี้ 

ส่งผลต่อการรับประกัน

หลายคนคงไม่ทราบว่าการทำความสะอาดแผงเซลล์โซล่าเซลล์ส่งผลต่ออายุการรับประกันสินค้าและการที่เราไม่ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลดลงถึง 20% อีกด้วย จึงทำให้เมื่อมีปัญหาขัดข้องเกิดขึ้นจากที่เราไม่ดูแลรักษาอาจทำให้เราไม่สามารถเคลมประกันได้ และแน่นอนว่าสิ่งนี้ก็จะส่งผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องอีกด้วย เราจึงควรมีการทำความสะอาดและมีการบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์อยู่เสมอ โดยอาจจ้างช่างผู้เชี่ยวชาญหรือจะทำความสะอาดด้วยตนเองแต่ต้องตามคู่มือที่ระบุไว้อย่างครบถ้วน เพราะอาจส่งผลถึงเงื่อนไขการรับประกันสินค้าด้วยเช่นกัน

อย่าคิดว่าฝนช่วยทำความสะอาดโซล่าเซลล์ 

เนื่องจากน้ำฝนที่ตกลงมาจะมีอนุภาคของฝุ่นละอองเล็กๆ ปะปนมาด้วยเสมอ จึงทำให้แผงโซล่าเซลล์ไม่ได้สะอาดอย่างที่ทุกคนเข้าใจ ซึ่งหากใครเคยเอารถตากฝนคงทราบดี เพราะเมื่อน้ำฝนระเหยออกไปจนหมดเราจะเห็นคราบฝุ่นสีขาวเกาะที่กระจก ซึ่งถ้าคิดตามหลักการเดียวกันน้ำฝนไม่ได้ทำให้แผงโซล่าเซลล์ของคุณสะอาด ในทางกลับกันกลับทำให้แผงโซล่าเซลล์สกปรกมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซล่าเซลล์อีกด้วย 

ตรวจสอบสถาพของโซล่าเซลล์ไปในตัว

ผลดีที่ตามมาของการที่เราขึ้นไปทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ คือการที่เราได้ตรวจสอบการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ไปในตัว ซึ่งทำให้เราได้เช็กทั้งจอแสดงผลอินเวอร์เตอร์ ระบบการทำงานส่วนอื่นๆ เพราะบางทีระบบการทำงานบางส่วนของเครื่องมีความขัดข้องโดยที่เราไม่ทันได้สังเกตเห็น จนเวลาล่วงเลยไประบบที่อาจขัดข้องเพียงจุดเล็กๆ อาจลุกลามเป็นปัญหาที่ยากเกินแก้ จนทำให้เราเสียเงินมากกว่าที่เราควรเสียก็ได้ 

ทำให้โซล่าเซลล์ทำงานได้ประสิทธิภาพดีขึ้น

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าบ้านไหนที่ไม่ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ อาจทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลดลงถึง 25%-30% แต่ในทางกลับกันถ้าหากเราทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำและสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้ดีขึ้นเป็น 2 เท่า 

ตรวจสอบและป้องการปัญหาที่เกิดจากการชำรุดของโซล่าเซลล์

ผลร้ายที่ตามมาของการที่ละเลยการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ คือการที่เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าแผงโซล่าเซลล์มีส่วนที่ชำรุดหรือเสียหายตรงไหนบ้าง? เพราะมีหลายครั้งที่แผงโซล่าเซลล์เกิดชำรุดและเสียหาย ทั้งกระจกแตกร้าว สายไฟขาด น้ำเข้า ไฟดูด ไฟช็อต ซึ่งในส่วนที่กล่าวมาเป็นเรื่องอันตรายอย่างมากเราจึงมีควรเช็กแผงโซล่าเซลล์อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ก็ช่วยให้เราตรวจสอบความเสียหายของเครื่องไปในตัว และทำให้อายุการใช้งานของเครื่องทำงานได้ยาวนานขึ้นอีกด้วย 

สาเหตุที่เราต้องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

นอกจากเหตุผลด้านบนที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น สาเหตุจริงๆ ของการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ คือสิ่งสกปรกต่างๆ มากมาย โดยเรามักจะเจอสิ่งสกปรกเหล่านี้ติดอยู่บนแผงโซล่าเซลล์ของคุณ

  • ขี้นก

อยากจะบอกเลยว่าขี้นกเป็นสิ่งสกปรกแรกๆ ที่อาจทำให้คุณต้องทำความสะอาดแผงโซล่าบ่อยขึ้น ยิ่งบางบ้านที่เต็มไปด้วยต้นไม้ก็มักจะมีนกหลากหลายสายพันธุ์เลือกทำรังอยู่ในบริเวณนั้น และแน่นอนว่านกพวกนั้นอาจปล่อยมูลลงมาที่แผงโซล่าเซลล์ และเมื่อขี้นกแข็งตัวและสะสมอยู่บนแผงโซล่าเซลล์จะส่งผลต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าได้

  • เศษใบไม้

ยังมีเศษใบไม้ที่ทำให้แผงโซล่าเซลล์สกปรก และใบไม้นี่แหละที่ทำให้แสงอาทิตย์ส่องไปยังแผงโซล่าเซลล์ได้ไม่เต็มที่ จนทำให้แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าลดลง โดนเฉพาะใบไม้เปียกที่ติดแน่นอยู่กับแผงโซล่าเซลล์ ดังนั้นการทำความสะอาดเป็นประจำจึงเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง 

  • ฝุ่นและสิ่งสกปรก

นอกจากขี้นกและใบไม้แล้ว ฝุ่นละอองต่างๆ นี่ตัวดีเลย เพราะสิ่งนี้อาจทำให้เราคิดว่าแผงโซล่าเซลล์ไม่ได้สกปรกขนาดนั้น จึงละเลยการทำความสะอาดไป แต่หารู้ไม่ว่าละอองฝุ่นที่สะสมจนเป็นชั้นหนาอาจทำให้แสงอาทิตย์ส่องลงไปยังแผงได้ยากขึ้น จนส่งผลต่อกำลังการผลิตไฟฟ้านั่นเอง

  • คราบโคลนจากน้ำฝน 

คราบน้ำก็เป็นสิ่งที่ทำให้แผงโซล่าเซลล์ของคุณสกปรกด้วยเช่นกัน เพราะมักปะปนมาพร้อมกับโคลน และอนุภาคฝุ่นอยู่เสมอ ดังนั้นควรมันเช็กและทำความสะอาดเพื่อให้แผงโซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่

 

การทำความสะอาดแผงโซลล่าเซลล์ ควรทำบ่อยแค่ไหน

เราควรทำความสะอาดแผงโซลล่าเซลล์บ่อยแค่ไหน

โดยปกติแล้วเราควรทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเราสามารถทำได้บ่อยกว่านั้น ถ้าหากบริเวณที่เราอยู่อาศัยเต็มไปด้วยละอองฝุ่นจนทำให้แผงโซล่าเซลล์มีสิ่งสกปรกสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก เราก็สามารถทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ได้ตามความเหมาะสม

 

สิ่งที่ต้องรู้และเตรียมตัวก่อนทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

 

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

สำหรับคนที่ต้องการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ด้วยตัวเอง เพราะไม่อยากจ้างช่างทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ เพราะราคาสูง เราเลยขอแนะนำวิธีและสิ่งที่ต้องรู้ก่อนทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ ดังนี้

1. ปิดระบบการทำงานทั้งหมด: 

ก่อนที่จะทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์เราต้องปิดระบบการทำงานทั้งหมดก่อนเพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่คู่มือระบุไว้ให้ครบทุกข้อ รวมถึงตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบทั้งหมดปิดสนิทแล้วหรือไม่? 

2. ตัดการเชื่อมต่อกับระบบรางน้ำที่เชื่อมไปยังถังเก็บน้ำฝน: 

สำหรับบ้านที่มีถังเก็บน้ำฝนจำเป็นต้องถอดสายหรือถอดรางน้ำก่อนชั่วคราวเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกจากการล้างทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ไหลลงไปปะปนกับน้ำฝนหรือน้ำสะอาดเราเก็บเอาไว้ 

3. ทำความสะอาดในช่วงเวลาที่เหมาะสม: 

โดยช่วงเวลาในการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ที่ดีที่สุด คือช่วงที่มีอากาศเย็นอย่างตอนเช้าตรู่ เพราะน้ำค้างที่ในตอนเช้าจะทำให้สิ่งสกปรกที่เกาะบนแผงโซล่าเซลล์อ่อนนุ่มและเช็ดทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น โดยเราไม่ควรทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ในช่วงที่มีอากาศร้อนหรือมีแดดร้อนจัด เพราะความเย็นของน้ำเมื่อกระทบถูกแผงโซล่าเซลล์ร้อนๆ อาจทำให้กระจกเกิดรอยร้าวเนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงกะทันหันได้ 

4. ฉีดน้ำพุ่งขึ้นไปบนแผงโซล่าเซลล์: 

โดยการฉีดน้ำพุ่งขึ้นไปโดยที่ตัวของเราอยู่ที่พื้นเป็นการทำความสะอาดที่ปลอดภัยมากที่สุด เพียงแต่เราต้องเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสม เพื่อให้กระแสน้ำถูกส่งขึ้นไปถึงแผงโซล่าเซลล์ 

5. ระวังอย่าให้น้ำเข้าไปยังตัวเครื่อง: 

โดยตัวเครื่องซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ามักจะอยู่บริเวณด้านหลังของแผงโซล่าเซลล์ เป็นส่วนที่ไม่ควรถูกน้ำเพราะอาจทำให้มีความเสียหายเกิดขึ้น ดังนั้นเราควรฉีดน้ำบริเวณแผงโซล่าเซลล์เพื่อที่จะทำความสะอาดเท่านั้น

ยืดอายุการใช้งานโซล่าเซลล์ด้วยวิธีทำความสะอาดที่ถูกต้อง

6. ใช้สบู่อ่อนและผ้านุ่ม เช็ดทำความสะอาด: 

เราสามารถใช้ผ้านุ่มๆ ชุบน้ำสบู่เช็ดเบาๆ บริเวณแผงโซล่าเซลล์ จากนั้นก็เป่าลมหรือใช้ผ้าแห้งสะอาดเช็ดให้แห้งสนิท แผงโซล่าเซลล์ก็ดูดีเหมือนซื้อมาใหม่แล้ว 

7. มีอุปกรณ์ Safety: 

สำหรับบางบ้านที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในบริเวณหลังคา ควรมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเอง 

8. เปิดระบบการทำงานทั้งหมด: 

เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยก็อย่าลืมเปิดระบบการใช้งานให้กลับมาเป็นปกติ เพื่อให้เราได้ใช้งานระบบโซล่าเซลล์เหมือนเดิม

สิ่งที่ห้ามทำขณะทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

เมื่อทุกคนทราบวิธีทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อย่างละเอียดแล้ว มาถึงสิ่งที่ห้ามทำอย่างเด็ดขาดในขณะที่ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้างมาดูกัน

  • ห้ามใช้น้ำกระด้าง(Hard water) ในการล้างแผงโซล่าเซลล์ อย่างเช่น น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำบาดาลที่มักมีละอองฝุ่นปะปนมากับน้ำ เพราะอาจทำให้แผงโซล่าเซลล์สกปรกมากยิ่งกว่าเดิม รวมถึงทิ้งคราบแห้งเกรอะติดแผงโซล่าเซลล์เอาไว้อีกด้วย 
  • ห้ามใช้ฟองน้ำแบบหยาบหรือแบบแข็ง เพราะอาจสร้างความเสียหายต่อแผงโซล่าเซลล์ รวมถึงทำให้แผงโซล่าเซลล์มีรอยขีดข่วนได้ 
  • ห้ามใช้น้ำแรงดันสูง เพราะอาจทำให้โครงสร้างของแผงโซล่าเซลล์เสียหายได้ รวมถึงใช้น้ำอุณหูภูมิปานกลางล้างทำความสะอาด 
  • ห้ามใช้น้ำเย็นล้างทำความสะอาด เพราะอาจทำลายแผงโซล่าเซลล์อย่างถาวร ควรใช้น้ำที่มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับแผงโซล่าเซลล์ในการล้างทำความสะอาดแทน 
  • ห้ามน้ำยาซักฟอกหรือตัวทำละลาย เพราะอาจทำให้พื้นผิวที่รับแสงอาทิตย์เกิดความเสียหายได้

เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

 

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้าง มาดูกัน 

บันไดและสายรัดตัว: 

อุปกรณ์สำหรับ Safety มีความสำคัญมากที่สุดในการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ โดยต้องหาบันไดและสายรัดที่แข็งแรงสำหรับปีนขึ้นไปทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ และสามารถรองรับน้ำหนักตัวของผู้ที่ทำความสะอาดได้ 

ลูกกลิ้งยางหรือไม้กวาดหุ้มยางสำหรับทำความสะอาด: 

เพื่อช่วยในการกวาดหรือเช็ดน้ำออกแบบไม่ทำลายพื้นผิวของแผงโซล่าเซลล์ 

น้ำยาทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์แบบไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน: 

รวมถึงสามารถใช้น้ำสบู่อ่อนๆ ในการทำความสะอาดได้ ซึ่งจะช่วยในการทำให้แผงโซล่าเซลล์สะอาดโดยไม่ทำลายผื้นผิวของแผง 

แปรงขนอ่อน: 

การทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ต้องใช้แปรงขนนุ่มหรือแปลงขนอ่อนเท่านั้น เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังทำความสะอาด 

แปรงทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ: 

เป็นแปรงสำหรับทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ เพราะจะมีขนที่นุ่มจะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สรุป

เห็นได้ชัดว่าการทำความสะอาดแผงโซล่าไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก โดยคุณก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองได้ เพียงทำตามวิธีทําความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้การทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะโดยปกติแผงโซล่าเซลล์หลังจากการติดตั้งแล้ว และมีการรับประกันอายุการใช้งานขั้นต่ำที่ 20 ปีขึ้นไป แต่ไม่ใช่ว่าในตลอดช่วงอายุเวลานั้นเราจะไม่ทำการบำรุงรักษาและทำความสะอาดโซล่าเซลล์เลย เพราะการที่ไม่ทำความสะอาดโซล่าเซลล์นั้นอาจจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นสิ่งสกปรก การแตกหักชำรุดของโซล่าเซลล์ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของโซล่าเซลล์ลดลงนั่นเอง เพราะฉะนั้นการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์จึงเป็นการตรวจสอบและดูแลรักษาให้แผงโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานที่มากขึ้นนั่นเอง และทำให้คุณสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณได้อย่างแท้จริง

โฟร์โมสต์
betagen
minor-food-group
singha
centara-grand-hotels-resorts
BJC

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด